การออกกำลังกายสำหรับกลุ่มเฉพาะ....

สอบถามเทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร เชิญห้องนี้เลย
ตอบกลับ
รูปประจำตัวสมาชิก
JADE555
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 7878
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.พ. 2009, 06:31
Tel: อยากรู้ให้โทรมาถาม (- -")
team: CARBON ASS!!!
Bike: เหล็กมาร

การออกกำลังกายสำหรับกลุ่มเฉพาะ....

โพสต์ โดย JADE555 »

พอดีหาเฉพาะเกี่ยวกับโรคหัวใจ ไปเจออันนี้เข้าอ่ะคับ (ผลตรวจล่าสุดของไอ้กระผม เป็นปรกติแร้ว ดีจาย 555+)



การออกกำลังกายสำหรับกลุ่มเฉพาะ




วัยเด็ก นอกจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ก่อประโยชน์แก่ร่างกายแล้ว การขาดการออกกำลังกายอย่างเพียงพอนับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้เด็กไทยมีแนวโน้มเป็นโรคอ้วนเพิ่มสูงขึ้น โดยส่วนใหญ่พบว่า เด็กไทยใช้เวลาไปกับการดูโทรทัศน์และการเล่นเกม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เคลื่อนไหวร่างกายน้อยมาก ทำให้การเผาผลาญพลังงานอยู่ในระดับต่ำ จึงมีการสะสมไว้ในรูปของไขมัน ดังนั้นผู้ปกครองควรจัดสรรเวลาให้เด็กได้มีโอกาสออกกำลังกาย
การออกกำลังกายในเด็กนอกจากจะมีผลดีเช่นเดียวกับวัยอื่น ๆ แล้ว ยังจะช่วยเสริมสร้างมวลกระดูกให้แก่เด็กด้วย เนื่องจากวัยนี้เป็นช่วงที่ร่างกายมีการสร้างมวลกระดูกมากกว่าการสลายมวลกระดูก แต่เมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป อัตราการสลายกระดูกจะมากกว่าสร้าง ดังนั้นวัยเด็กจึงเป็นช่วงที่ควรพัฒนาการเสริมสร้างมวลกระดูก เพื่อลดภาวะกระดูกพรุนในวัยสูงอายุ ระดับความหนักในการออกกำลังกายสำหรับเด็กควรอยู่ในระดับปานกลางถึงหนัก ประมาณ 10 - 15 นาที เพื่อเป็นการเสริมสร้างพัฒนาการทางกายและสมอง รวมถึงการทำกิจกรรมกับเพื่อนยังเป็นการสร้างทักษะทางสังคมให้แก่เด็กด้วย

ผู้สูงอายุ
มีผู้สูงอายุจำนวนมากที่มักเข้าใจว่าตนเองไม่มีกำลัง ไม่สามารถออกกำลังกายได้ แต่ในความเป็นจริงการออกกำลังกายเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากการออกกำลังกายช่วยให้ร่างกายคงสมรรถภาพความแข็งแรง สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายมีความคล่องตัวมากกว่าคนที่ขาดการออกกำลังกาย
รายงานทางการแพทย์จากมลรัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกาชี้ว่า หลังจากอายุ 30 ปีไปแล้ว ในแต่ละปีคนเราจะมีพลังลดลงร้อยละ 1 หรือถ้าอายุ 60 ปี พลังจะลดลงไปร้อยละ 30 ของขณะที่อายุ 30 ปี ดังนั้นหากขาดการเคลื่อนไหวร่างกายในวัยหนุ่มสาว พลังในช่วงบั้นปลายชีวิตก็จะมีสะสมน้อยลง
แต่ในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุก็มีข้อพึงระวังหลายประการ เบื้องแรกคือจะต้องไม่ใช้แรงมากหรือหนักเกินไป เนื่องจากความแข็งแรงของกระดูก การยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อต่าง ๆ จะเสื่อมจากการสูญเสียแร่ธาตุและความแข็งแรงไปตามอายุ หรือหากมีโรคประจำตัว อาทิ โรคหัวใจ โรคความดัน ก็ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหารูปแบบการออกกำลังกายที่เป็นประโยชน์และเหมาะสม นอกจากนี้ควรหมั่นสังเกตอาการที่เกิดขึ้นขณะออกกำลังกาย หากพบอาการผิดปกติ อาทิ อาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยอย่างรุนแรง หรือรู้สึกเจ็บตามข้อ ควรยุติการออกกำลังกายทันที และในกรณีที่มีอาการรุนแรงก็ควรพบหรือปรึกษาแพทย์ด้วย
ออกกำลังกายจำเป็นต่อผู้สูงอายุเพราะ…
* ช่วยให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตทำงานได้ดี ป้องกันโรคหัวใจ ความดันโลหิตต่ำ
* ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคดีขึ้น
* ป้องกันโรคอ้วน โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคที่มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ
* ช่วยให้ทำงานได้คล่องแคล่วมากขึ้น
* ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น
* ช่วยลดความเครียดและทำให้การนอนหลับพักผ่อนดีขึ้น

ข้อแนะนำ การเคลื่อนไหวออกแรงสำหรับผู้สูงอายุ
* ควรเป็นประเภทที่มีแรงกระแทกต่ำ ไม่เป็นอันตรายต่อกระดูกและข้อต่อ
* ไม่ควรออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงหนักหรือเกินกำลัง แค่ระดับปานกลางก็เพียงพอ
* ไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง ทำเป็นช่วงสั้น ๆ ครั้งละ 10 นาที หลาย ๆ ครั้งจะดีกว่า
* ควรเพิ่มระยะเวลาแทนที่จะเพิ่มความแรงในการออกกำลังกาย
สตรีมีครรภ์
ผู้หญิงมีครรภ์จำนวนมากไม่กล้าออกกำลังกาย เนื่องจากกลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ ทว่าความจริงแล้วการออกกำลังกายในระดับเบา ๆ ประมาณสัปดาห์ละ 3 ครั้ง แต่ละครั้งไม่ควรเกิน 30 นาที จะเป็นผลดีมากต่อการตั้งครรภ์
จากการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้หญิงมีครรภ์ที่ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมมีแนวโน้มที่จะบรรเทาอาการแพ้ท้องในขณะตั้งครรภ์ช่วงแรกได้มากกว่าคนที่ขาดการออกกำลังกาย และยังช่วยให้รู้สึกสบายตัว นอนหลับ ไม่หงุดหงิดง่าย บรรเทาอาการปวดเมื่อย รวมถึงช่วยให้การขับถ่ายอุจจาระดีขึ้น
นอกจากนี้เมื่อเข้าสู่ช่วงใกล้คลอด คุณแม่ที่ออกกำลังกายเป็นประจำจะเจ็บปวดน้อยและคลอดได้ง่ายกว่าคุณแม่ที่ขาดการเคลื่อนไหวร่างกาย การออกกำลังกายจึงเป็นผลดีสำหรับการตั้งครรภ์อย่างมาก ที่สำคัญคือต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสมและปลอดภัย โดยก่อนออกกำลังกายควรอบอุ่นร่างกายแบบเบา ๆ เพื่อเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะการยืดเส้นยืดสายให้กล้ามเนื้อคลายตัว และให้ข้อสะโพก รวมทั้งข้อต่อต่าง ๆ ได้เคลื่อนไหวเต็มที่ก่อนออกกำลัง
รูปแบบการออกกำลังกายควรเป็นแบบเบา ๆ หมั่นสังเกตสภาพร่างกายของตนเองขณะออกกายบริหารว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ หากมีอาการ อาทิ เหนื่อย หายใจตื้น ใจสั่น เวียนศีรษะ ปวดท้องน้อย คลื่นไส้ อาเจียนตลอดเวลา ชาตามตัว ควรหยุดพัก นั่งหรือนอนแล้วหายใจเข้าออกลึก ๆ ถ้ายังพบว่ามีอาการผิดปกติหลังจากหยุดพัก 5 - 10 นาที ให้พบแพทย์ทันที
หากรู้สึกเหนื่อยล้าจากการออกกำลังกาย เริ่มรู้สึกว่าหายใจไม่ทัน ควรหยุดพัก ไม่ควรฝืนทำต่อไป เนื่องจากอาจจะเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้
รูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะกับว่าที่คุณแม่
* หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีการกระแทก
* งดกิจกรรมที่อาจทำให้ล้มหรือเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย อาทิ แบดมินตัน ขี่ม้า ดำน้ำ เป็นต้น
* หลีกเลี่ยงการยกน้ำหนัก เพราะจะเพิ่มแรงดันในช่องท้อง ซึ่งมีผลต่อเลือดที่จะไปเลี้ยงอวัยวะในช่องท้องลดลง โดยเฉพาะเลือดที่จะไปเลี้ยงมดลูก
* เลี่ยงการออกกำลังกายในช่วงที่อากาศร้อนจัด เนื่องจากอุณหภูมิในร่างกายที่สูงเกินไปอาจมีผลต่อทารกในครรภ์
* ควรเลือกกิจกรรมแบบเบา ๆ อาทิ การเดิน การเต้นแอโรบิกในน้ำ การว่ายน้ำ เป็นต้น
ผู้เป็นโรคหัวใจ
การออกกำลังกายไม่ใช่ปัญหาสำหรับผู้คนที่เป็นโรคหัวใจ ในทางการแพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากออกกำลังกายในระดับปานกลาง ไม่ทำอย่างหนักและหักโหม นับเป็นวิธีการฟื้นฟูอาการของผู้ป่วยโรคหัวใจได้เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายอย่างหนักและหักโหมอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ ดังนั้นควรหากิจกรรมที่ออกแรงในระดับปานกลาง อาทิ การวิ่งเหยาะ ๆ การเดิน ว่ายน้ำ ฯลฯ โดยมิใช่เล่นเพื่อการแข่งขัน
วิธีการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ คือต้องเริ่มช้า ๆ แล้วค่อย ๆ เร่ง เมื่อจะหยุดก็ค่อย ๆ ชะลอ โดยใช้เวลาประมาณ 20 นาที สัปดาห์ละ 2 - 3 ครั้ง

ขอบคุณที่มาข้อมูลจาก :
* เจริญทัศน์ จินตนเสรี โทษของการขาดการออกกำลังกาย (เอกสารแผ่นพับ, การกีฬาแห่งประเทศไทย) 2529
* นพ. บรรลุ ศิริพานิช. การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ. สภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย. มีนาคม 2541
* มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. โรคหลอดเลือดหัวใจ 2547
* มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.การออกกำลัง หัวใจ และระบบไหลเวียน. 2546
* รศ. ศิริรัตน์ หิรัญรัตน์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ข้อแนะนำในการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ
* ผศ.นพ. พิชัย โชตินพรัตน์ภัทร. นิตยสาร Health Today. ปีที่ 4 ฉบับที่ 40 กรกฎาคม 2547
* กองการกีฬา
ปั่นต่อไป จนกว่าตูดจะไหม้เป็นเถ้าถ่าน CARBON ASS TEAM

เฟรมบุบกลาง ยางก็แบน แฮนด์ก็หลุด
โซ่สะดุด ล้อสะบัด เฟืองก็แหลม
ยางนอกโล้น ขอบล้อแตก ยางในแพลม
สนิมแจม ลูกปืนร้าว รองเท้าพัง!!
สมประสงค์
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2163
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ธ.ค. 2008, 11:54
Tel: 08-6965-7958
Bike: trek 8500
ติดต่อ:

Re: การออกกำลังกายสำหรับกลุ่มเฉพาะ....

โพสต์ โดย สมประสงค์ »

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ ครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
จุ๋ย
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 974
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 06:34
Tel: 0818075060
Bike: MONGOOSE, Specialized

Re: การออกกำลังกายสำหรับกลุ่มเฉพาะ....

โพสต์ โดย จุ๋ย »

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ :P :P :P
ช่วยลดโลกร้อน ด้วยการปั่นจักรยานไปทำงาน

Facebook http://www.facebook.com/jui3397
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร”