ZONE HRM

สอบถามเทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร เชิญห้องนี้เลย
ตอบกลับ
รูปประจำตัวสมาชิก
JIMBEAM
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1013
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ส.ค. 2008, 21:12
Tel: 0898345544
team: อิสระชล 2012
Bike: GIANT LOVER

ZONE HRM

โพสต์ โดย JIMBEAM »

ข้อมูลจาก
http://www.bikeloves.com/trick/trick06.shtml
ผมขอถามหน่อยครับ ไม่แน่ใจว่าเข้ใจผิดหรือเปล่า
ผม set ค่า Hart Rate ไว้คือ
ZONE 1 65-75%
Aerobic systemช่วงแรก อัตราการเต้นของหัวใจจะมีค่าอยู่ระหว่าง60(65) - 75 %
ของ MHR ซึ่งเป็นช่วงที่สบายๆ หายใจได้อย่างช้าๆสามารถพูดคุยได้ ถ้าเป็นการปั่น
จักรยานก็เป็นการปั่นในความเร็วเฉลี่ยต่ำๆ หรือเพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ

ZONE 2 75-85%
Aerobic systemช่วงที่สอง อัตราการเต้นของหัวใจจะมีค่าอยู่ระหว่าง75 - 85 %ของ
MHR อาจจะรู้สึกหนักขึ้นมา แต่ยังพอสามารถพูดคุยกันเป็นประโยคไม่ยาวนักได้

ZONE 3 85-92%
ช่วงย่างเข้าสู่ระบบanaerobic system หรือanaerobic threshold จะเริ่มมีการ
สะสมของกรด lactic จะส่งผลทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณ
เลือดมายังกล้ามเนื้อเพื่อเร่งการกำจัดกรดlacticและของเสียอื่นๆออกไป เมื่อเริ่มเข้า
สู่ช่วงนี้อัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มขึ้นโดยไม่เป็นเชิงเส้น(non-linear function
curve)โดยจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่มากกว่าwork loadที่เพิ่มขึ้นมา อัตราการเต้นของ
หัวใจจะอยู่ระหว่าง 85 - 92 % ของ MHR ในระยะนี้จะเริ่มรู้สึกเมื่อยล้ากล้ามเนื้อ
หายใจแรง ไม่ค่อยอยากจะพูดอะไรกับใคร

เราควรจะปั่นออกกำลังกายที่ ZONE 2
ZONE 3 ใช้ฝึก spint สั้นๆ เพื่อเสริมความแข็งแกร่ง
เท่ากับว่า ZONE 1 แทบไม่ได้ใช้เลย หรือเอาไว้พักฟื้นเท่านั้น
beeggs
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3183
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.ย. 2008, 16:51
Tel: 0947963336
team: kNightBIKE
Bike: oltre, cervelo s5, super6 evo, canyon ult slx
ติดต่อ:

Re: ZONE HRM

โพสต์ โดย beeggs »

เข้าไปอ่านดูเหมือนกันฮะ เข้าใจว่า

การออกกำลังกาย มีขั้นตอนเป็นรายละเอียดดังนี้
วอร์มอัพ (warm up)ร่างกายจนได้ที่
จะต้องออกกำลังกายที่ระดับความหนักหน่วงที่ทำให้หัวใจเต้นอยู่ ระหว่าง 60 - 85%
ของMHR
(Zone1-2)

การออกกำลังกายที่กล้ามเนื้ออาศัยแหล่งพลังงานจากระบบanaerobic system
แต่อัตราการเต้นของหัวใจอาจจะสูงหรือไม่สูงกว่า85 %ของMHRก็ได้
ขึ้นกับ ความหนักหน่วงและการต่อเนื่องของความหนักหน่วงนั้นๆ
การsprint การยืนโยกขึ้นเขา หรือการเร่งความเร็วเพื่อที่จะไล่แซง

มีข้อเสียอยู่เช่นกัน โดยเฉพาะการหักโหมให้เข้าไปอยู่ในพิกัดขีดแดงหรือมากกว่า
92% ของMHR เป็นระยะเวลานานๆ อาจจะทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า OverTrain ได้
วัยทำงาน มีแรง มีตังค์ ไม่มีเวลา
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร”