หน้า 1 จากทั้งหมด 1

DIY # 33 ปรับตั้งระยะ SAG

โพสต์: 09 พ.ย. 2017, 04:12
โดย ตาโจ
Image-4.jpg
Image-4.jpg (115.14 KiB) เข้าดูแล้ว 10724 ครั้ง
การวัด SAG เป็นการวัดระยะยุบของโช้คจักรยานก่อนที่จะนำไปขี่ใช้งาน

ทำไมต้องมีการวัด SAG

ในการขี่รถเสือภูเขาที่มีโช้คนั้น ผู้ขี่จะต้องทำการปรับตั้งค่าความแข็งของโช้ค ให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัวของผู้ขี่ เพื่อที่จะได้ขี่อย่างมีประสิทธิภาพ โช้คไม่ยุบยวบยาบยามยืนโยก หรือ ให้โช้คเฟริมเวลาที่ขี่นั่นเอง ในอดีตโช้คใช้ยางอีลาสโตลีเมอร์เป็นสปริงรองรับแรงสะเทือน การจะเปลี่ยนความแข็งของค่าสปริงจึงทำได้ด้วยการเปลี่ยนเบอร์ลูกยาง ต่อมาได้มีการใช้ขดลวดสปริงในการเป็นสปริงในการรองรับแรง การจะเปลี่ยนค่าของแข็งก็สามารถทำได้ด้วยการเปลี่ยนสปริงที่มีความแข็งต่างกันไป

ในยุคปัจจุบันได้มีการพัฒนาโช้คจักรยานเสือภูเขาให้ใช้ลมเป็นสปริงในการรับแรงกระแทก และ พัฒนาให้โช้คลมราคาถูกลงกว่าสมัยแรกๆมาก ทำให้โช้คลมได้รับความนิยมแพร่หลายในการใช้งาน ด้วยข้อดีที่มีน้ำหนักเบากว่าโช้คแบบขดสปริง เพราะใช้ลมเป็นสปริง แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือ โช้คลมสามารถเปลี่ยนค่าความแข็งของสปริงได้ง่าย และ สะดวก ด้วยการเพิ่ม-ลด แรงดันลมในโช้คนั่นเอง

Re: DIY # 33 วัดระยะ SAG โช้คหน้า

โพสต์: 09 พ.ย. 2017, 04:35
โดย ตาโจ
[align=center]
1290524936397-k932pvyf10p7-630-354.jpg
1290524936397-k932pvyf10p7-630-354.jpg (377.9 KiB) เข้าดูแล้ว 10721 ครั้ง
[/align]


รูปแสดงโครงสร้างชิ้นส่วนภายในของโช้คหน้า โช้คหน้าโดยทั่วไปจะแบ่งการทำงานออกเป็นสองส่วนคือ
1.ส่วน Damping จะเป็นส่วนที่ใช้ในการควบคุมการเคลื่อนที่ของกระบอกโช้คในการยืด-หดเป็นหลัง โดยการใช้น้ำมันเป็นตัวช่วย การควบคุมจังหวะที่โช้คยุบตัวเราจะเรียกว่า Compression Damping ส่วนการควบคุมจังหวะที่โช้คดีดตัวกลับเราจะเรียกว่า Rebound damping

[align=center]Compression = ยุบ
Rebound = ยืด
[/align]

2.ส่วน Spring จะทำหน้าที่ในการรับแรงกระแทกในการใช้งาน ในภาพจะเห็นสปริงสองส่วนคือ
2.1 Positive Spring คือการใช้ลมแทนสปริงโดยใช้ลูกสูปเป็นตัวกั้นห้องลม Positive spring จะเป็นทำหน้าที่เป็นสปริงหลักในการรับแรงกระแทก
2.2 Negative Spring ในภาพจะใช้ขดลวดสปริงเป็นตัวรับแรงกระแทก สปริงส่วนนี้จะทำหน้าที่เป็นตัวดันให้โช้คยืดคืนตัวดีขึ้น และ ยังทำหน้าที่รับแรงกระแทกเมื่อโช้คยืดคืนตัวสุด

[align=center]
cutaway-32sc.jpg
cutaway-32sc.jpg (307.42 KiB) เข้าดูแล้ว 10721 ครั้ง
[/align]

ปัจจุบันผู้ผลิตโช้คหน้าชั้นนำอย่าง Fox หรือ Rockshox ได้พัฒนาระบบโช้คหน้าของตัวเอง ให้ใช้ลมเป็น Negative Spring โดยอาศัยเทคนิคการแบ่งลมมาจากห้อง Positive ทำให้โช้คหน้ามีน้ำหนักเบาลง และ ปรับแต่งใช้งานได้สะดวกมากขึ้น หลายๆคนอาจจะเคยได้ยินชื่อระบบ Dual Air ของ Rockshox ที่ต้องเติมลมทั้งห้องบนและห้องล่างว ที่การปรับแต่งใช้งานค่อนข้างจะวุ่นวายกว่าจะปรับได้ลงตัว

[align=center][/align]
[align=center]คลิปอธิบายระบบการทำงานของห้องลมในโช้ค Fox รุ่นปัจจุบัน[/align]

[align=center]
คลิปอธิบายระบบการทำงานของห้องลมในโช้ค Rockshox รุ่นปัจจุบัน[/align]

Re: DIY # 33 วัดระยะ SAG โช้คหน้า

โพสต์: 09 พ.ย. 2017, 04:53
โดย ตาโจ
[align=center]
คลิปแสดงการทำงานของโช้คหน้าที่มีการเซ๊ทระยะ Sag ที่เหมาะสมจะช่วยให้การขี่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ[/align]

ก่อนที่จะไปขั้นตอนการวัดระยะ Sag นั้น เรามาทบทวนถึงเรื่อง Sag กันให้เข้าใจกันก่อนแบบเป็นข้อๆให้เข้าใจง่ายๆ
1.โช้คลม คือโช้คที่ใช้ลมเป็นสปริงในการรับแรง
2.การทำให้โช้คแข็งขึ้น คือ การสูปลมให้แรงดันในโช้คสูงขึ้น
3.การทำให้โช้คอ่อนลง คือ การปล่อยลมออกจากโช้คให้แรงดันลดลง
4.หน่วยของแรงดันลมในจักรยาน จะใช้ PSI เป็นส่วนใหญ่อาจจะมี BAR บ้างแต่หน่อย
5.การสูบโช้คจักรยาน จะต้องใช้สูบโช้คเฉพาะ เพราะเป็นการสูบด้วยแรงดันสูง สูบธรรมดาอาจจะทนแรงดันใหม่ไหว
6.ก่อนสูบโช้คจะต้องคลาย Compression ของโช้คออกให้หมดก่อน เพื่อเซ็ตค่า Compression ให้เป็นศูนย์
7.เมื่อสูบลมจนได้ค่า Sag ที่เหมาะสมแล้ว ผู้ขี่สามารถเพิ่มของแข็งของโช้คได้ด้วยการปรับ Compression ให้เพิ่มขึ้น การเพิ่ม compression จะเป็นการลดขนาดรูน้ำมันของการยุบตัวให้มีขนาดเล็กลง ส่งผลให้โช้คยุบตัวได้ลำบากมากขึ้น จึงเสมือนเป็นการเพิ่มความแข็งให้โช้ค
8.Rebound ทำงานเหมือน Compression แต่กลับทิศทาง กล่าวคือ Rebound จะควบคุมการยืดคืนตัวของโช้คให้เร็ว-ช้า ด้วยการปรับขนาดของรูน้ำมันในจังหวะคือตัว ถ้าปรับรูใหญ่น้ำมันไหลได้สะดวกก็คือตัวเร็ว ถ้าปรับรูเล็กน้ำมันไหลได้ลำบากก็คือตัวช้าว่า เหตุผลที่มี Rebound ก็เพื่อป้องกันไม่ได้โช้คดีดกลับตัวเร็วเกินไป จนอาจจะส่งผลให้ผู้ขี่เสียการควบคุมรถจักรยานก็ได้
9.เราอาจจะปรับระยะ Sag ให้มากกว่าหรือน้อยกว่าค่าจากโรงงานได้นิดหน่อย ตามรสนิยมในการขี่ของแต่ละคน

[align=center]
คลิปแสดงการทำงานในระบบ Damping ของ Fox รุ่น Fit 4[/align]

Re: DIY # 33 ปรับตั้งระยะ SAG

โพสต์: 09 พ.ย. 2017, 05:41
โดย ตาโจ
ก่อนจะตั้งระยะ SAG จะต้องปรับ Compression ให้ไปอยู่ค่าที่น้อยที่สุด หรือเป็นศุนย์

[align=center]คลิปสอนการเซ็ตระยะ Sag
[/align]

แนวความคิดเรื่องการเซ็ตระยะ SAG คือการตั้งความแข็งของโช็คด้วยการเติมลมเข้าไปในโช้คด้วยค่าๆหนึงก่อน จากนั้นให้ผู้ขี่ขึ้นไปนั่งบนรถแล้วทดลองออกแรงขย่มรถดู จากนั้นให้ลงจากรถเพื่อมาตรวจสอบระยะการยุบตัวของโช้คจากวงแหวนในโช้ค (อันนี้ถ้าไม่มีให้ใช้เคเบิ้ลไทน์รัดแทน) เมื่อวัดระยะการยุบตัวของโช้คได้แล้ว ก็ให้ดูว่าได้ค่าใกล้เคียงกับที่ผู้ผลิตรถหรือผู้ผลิตโช้คแนะนำหรือเปล่า

โดยทั่วไประยะ SAG ไม่ควรจะเกิน 25 % ของระยะยุบของโช้ค ตัวอย่างเช่น โช้คหน้ามีระยะยุบ 100 มม เมื่อทดลองขึ้นไปนั่งบนรถแล้วโช้คหน้าไม่ควรยุบตัวมากกว่า 25 % ของระยะยุบทั้งหมด ก็คือ 25 มมจากระยะยุบทั้งหมด 100 มม นั่นเอง หากเราขึ้นไปนั่งแล้วได้ระยะ SAG มากไปก็ให้ปรับความแข็งของโช้คมากขึ้นด้วยการเติมลมเพิ่มแรงดันในโช้คให้สูงขึ้น ก็จะทำให้โช้คยุบตัวได้น้อยลง ส่งผลให้รถขี่เฟริมขึ้นไม่ยุบยวบยาม บางคนอาจจะชอบระยะ SAG พอดีตามค่ามาตรฐาน หรือ บางคนที่ใช้แข่งขันอาจจะชอบตั้งค่า SAG น้อยกว่ามาตรฐาน อันนี้ก็แล้วแต่รถนิยม

เมื่อได้ระยะ SAG ที่เหมาะสมแล้วให้ทดลองขี่รถดูว่ารถมีการยุบยวบยาบอยู่ใหม่ ถ้ามีก็ให้สูบโช้คให้แข็งขึ้น ถ้าไม่มีระบบกันสะเทือนทำงานได้ดี ก็แสดงว่าใช้ได้

ส่วนในการใช้งานจริง ผู้ใช้สามารถเพิ่มความแข็งของโช้คให้มีมากกว่าความแข็งจากการเติมลมได้อีก ด้วยการปรับปุ่ม Compress ของโช้คให้มีค่ามากขึ้น

Re: DIY # 33 ปรับตั้งระยะ SAG

โพสต์: 09 พ.ย. 2017, 05:52
โดย ตาโจ
สรุป

การตั้ง SAG เป็นการหาการยุบตัวของโช้คหน้า-หลัง ขณะที่เรานั่งบนรถก่อนขี่จริง เพื่อให้ได้ความแข็งของโช้คที่เหมาะสมกับน้ำหนักตัวเรา เป็นการป้องกันไม่ให้เติมลมโช้คแข็งเกินไปโช้คไม่ยุบตัว ส่งผลให้เวลาใช้งานรถดีดไปมา ทำให้เกิดควงามอ่อนล้าในการขี่ได้ง่าย และ ยังเป็นการป้องกัน ไม่ให้เซ็ตโช้คอ่อนเกินไป อันจะทำให้การขี่จักรยานไม่มีประสิทธิภาพ รถยุบยวบยาบ กดบันไดแล้วไม่พ่วง เหลือย่วยจนเสียการควบคุม

ส่วนใครที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเซ็ตระยะ SAG หรือ การปรับตั้งโช้คหน้า-หลัง ก็โพสถามในกระทู้นี้ก็แล้วกันน่ะครับ

แถมด้วยคลิปการเซ็ท SAG จาก Fox อีกคลิปครับ
[align=center][/align]

Re: DIY # 33 ปรับตั้งระยะ SAG

โพสต์: 09 พ.ย. 2017, 08:59
โดย vann09
เยี่ยม

Re: DIY # 33 ปรับตั้งระยะ SAG

โพสต์: 09 พ.ย. 2017, 11:13
โดย pomamway
ติดตามต่อไป

Re: DIY # 33 ปรับตั้งระยะ SAG

โพสต์: 09 พ.ย. 2017, 13:51
โดย น้องหนึ่ง
ขอบคุณครับ

Re: DIY # 33 ปรับตั้งระยะ SAG

โพสต์: 06 ธ.ค. 2017, 16:40
โดย peepee_po
กำลังงงอยู่ว่าวงแหวนที่เป็นยางรัดมีไว้ทำไม ขอบคุณครับ

Re: DIY # 33 ปรับตั้งระยะ SAG

โพสต์: 10 ธ.ค. 2017, 10:18
โดย jabmon
เข้าใจขึ้นเยอะขอบคุณครับ
ขอสอบถามเพิ่ม การวัด sag นี่แค่ขึ้นนั่งเฉย ๆ หรือต้องขย่มด้วยครับ

Re: DIY # 33 ปรับตั้งระยะ SAG

โพสต์: 11 ธ.ค. 2017, 10:45
โดย ตาโจ
jabmon เขียน:เข้าใจขึ้นเยอะขอบคุณครับ
ขอสอบถามเพิ่ม การวัด sag นี่แค่ขึ้นนั่งเฉย ๆ หรือต้องขย่มด้วยครับ

นั่งเฉยๆก็พอครับ
ถ้าปรับแล้ว ทดสองขี่รู้สึกโช้คนิ่มไป หรือ แข็งไปก็ยังปรับแต่งแรงดันลมได้อีก ตามรสนิยม จุดประสงค์ของการวัด Sag เพื่อป้องกันไม่ให้เติมลมแข็งเกินไปจนโช้คไม่ยุบตัว หรือ เติมลมอ่อนเกินไปจนโช้คนิ่มเกินไปครับ

Re: DIY # 33 ปรับตั้งระยะ SAG

โพสต์: 23 ธ.ค. 2017, 13:00
โดย natthapon
:D

Re: DIY # 33 ปรับตั้งระยะ SAG

โพสต์: 04 ม.ค. 2018, 16:49
โดย Tazzy21
:mrgreen:

Re: DIY # 33 ปรับตั้งระยะ SAG

โพสต์: 08 เม.ย. 2019, 08:44
โดย bia
ขอบคุณมากครับ สาระดีๆมีมาให้ตลอด ตาโจ

Re: DIY # 33 ปรับตั้งระยะ SAG

โพสต์: 08 เม.ย. 2019, 16:00
โดย WingMTB
รบกวนพี่ตาโจแนะนำเรื่อง Rebound ด้วยครับ ขอบคุณมากๆเลยคับ