ปั่นจักรยานรักษาโรคได้จริงหรือ

ข่าวสาร หรือ พูดคุยเรื่องทั่วไปในแวดวงจักรยาน
รูปประจำตัวสมาชิก
bikehyper
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 102
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2012, 18:07
Tel: 0914027444
team: got bike?
Bike: asics by miyata
ติดต่อ:

Re: ปั่นจักรยานรักษาโรคได้จริงหรือ

โพสต์ โดย bikehyper »

สุดๆ โชคดีที่ได้ปั่นจักรยาน :D
The more we bike, the more they bike.
https://www.facebook.com/wegotbike/timeline
รูปประจำตัวสมาชิก
ขวัญใจ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2562
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 มี.ค. 2011, 17:07
Tel: 0823974409
team: รักรถรักธรรม
Bike: scoot, fuji araya

Re: ปั่นจักรยานรักษาโรคได้จริงหรือ

โพสต์ โดย ขวัญใจ »

bikehyper เขียน:สุดๆ โชคดีที่ได้ปั่นจักรยาน :D
โชคดียังไง กรุณาช่วยขยายความหน่อยครับ จะได้เป็นกำลังใจให้คนไทยหันมาใส่ใจสุขภาพ ขอบพระคุณครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4379
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ปั่นจักรยานรักษาโรคได้จริงหรือ

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:lol: :lol: ปั่นไปกินไประวังเกิดทุกข์ได้ กินแล้วให้เกิดสุขกินอย่างไรโปรดศึกษากันครับ :) :)

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
suriyawo
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 463
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.พ. 2013, 14:41
Tel: 0918217266
team: TOT Bike
Bike: DAHON ;Bridgestone

Re: ปั่นจักรยานรักษาโรคได้จริงหรือ

โพสต์ โดย suriyawo »

มีเพื่อนๆนักปั่นคนใหนเป็นต่อมลูกหมากโตบางครับ เพราะผมเป็นโรคต่อมลูกหมากโตมาสองปีแล้วครับ แต่ก็ไปหาหมอที่รามาธิบดีทุก หกเดือนครับ ไม่ทราบว่ามีสมุนไพรที่รักษาให้หายขาดบางครับ อยากให้ผู้มีประสพการณ์แนะนำกินยาอะไรจะหายครับ ควรปั่นจักรยานต่อ หรือหยุดปั่นดีครับ แล้วอานจักรยานควรใช้แบบไหนดีครับ
ลืมบอกไปว่า ผมเป็นต่อมลูกหมากโต ก่อนจะมาปั่นจักรยานนะครับ ใครมียาดีๆช่วยโทรมาบอกด้วยจะพระคุณเป็นอย่างสูง เบอร์โทร.0893052598 สุริยะ
รูปประจำตัวสมาชิก
ขวัญใจ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2562
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 มี.ค. 2011, 17:07
Tel: 0823974409
team: รักรถรักธรรม
Bike: scoot, fuji araya

Re: ปั่นจักรยานรักษาโรคได้จริงหรือ

โพสต์ โดย ขวัญใจ »

suriyawo เขียน:มีเพื่อนๆนักปั่นคนใหนเป็นต่อมลูกหมากโตบางครับ เพราะผมเป็นโรคต่อมลูกหมากโตมาสองปีแล้วครับ แต่ก็ไปหาหมอที่รามาธิบดีทุก หกเดือนครับ ไม่ทราบว่ามีสมุนไพรที่รักษาให้หายขาดบางครับ อยากให้ผู้มีประสพการณ์แนะนำกินยาอะไรจะหายครับ ควรปั่นจักรยานต่อ หรือหยุดปั่นดีครับ แล้วอานจักรยานควรใช้แบบไหนดีครับ
ลืมบอกไปว่า ผมเป็นต่อมลูกหมากโต ก่อนจะมาปั่นจักรยานนะครับ ใครมียาดีๆช่วยโทรมาบอกด้วยจะพระคุณเป็นอย่างสูง เบอร์โทร.0893052598 สุริยะ
ก็คงต้องปั่นต่อครับ เพราะมีคนเป็นโรคนี้แล้วปั่นจักรยานหาย โดยเฉพาะท่านผู้พันแดง สารภี เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากไม่หนักกว่าหรือ ถ้ามีเวลาลองโทรสอบถามข้อมูลกับท่านว่ารักษาอย่างไร พ.ค.อ.สำราญ เพียนอก (แดงสาภี) 0814730594
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4379
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ปั่นจักรยานรักษาโรคได้จริงหรือ

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

รูปภาพ

รูปภาพ

:) :D ๑ ปี ที่แพทย์ให้อยู่แบบปกติชน เช้าวันนี้ได้ไปพบแพทย์ตามนัด เมื่อเจอหน้าหมอ หมอทำหน้าดีใจสุด ๆ ชื่นชมและขอให้รักษาสุขภาพให้ได้แบบนี้ ๑ ปีที่ผ่านมาจวบจนถึงวันนี้ ภาวะมะเร็งหยุดอยู่กับที่ไม่มีการขยายตัว การทำงานของ ตับ ไต ภาวะของเลือดปกติไม่มี คลอเลสเตอร์รอลล์ ไม่มีไขมัน หมอทราบแล้วว่าเราออกกำลังด้วยการปั่นจักรยาน และทราบว่าพวกเราปั่นจักรยานไปเที่ยวต่างแดน หมอพูดว่า "ชีวิตบั้นปลาย แบบนี้คือสุดยอดของการมีชีวิต" วันนี้มะเร็งไม่ทำร้ายทำลาย ร่างกายเราเพราะเราออกกำลังด้วยการปั่นจักรยาน สวดมนต์ ทำสมาธิภาวนา กินอาหารมังสวิรัติ( ๒๓ ปี) เราไม่ทำร้ายทำลายมะเร็ง เราให้เขาอาศัยอยู่ในร่างกายเรา แต่เราไม่เลี้ยงดูเขาด้วยเนื้อสัตว์ (อาหารคาว)ทุกชนิดแม้เนื้อปลาก็ไม่เอา นมก็ใช้นมถั่วเหลือง หมอนัดอีกปีหน้า วันที่ ๓ ก.ย.๕๗ :) :D

:lol: :lol: ขอบคุณ จักรยาน ครับ ยานวิเศษของมนุษยชาติ :o :o
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4379
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ปั่นจักรยานรักษาโรคได้จริงหรือ

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

รูปภาพ รูปภาพ รูปภาพ รูปภาพ

:idea: :idea: ผมได้เคยสนทนากับหลวงพ่อ พุธทาส ที่สวนโมกข์ หลวงพ่อเมตตาสอนว่า คนเรานี้เป็นรังแห่งโรค ทุกคนมีโรคอยู่ในร่างกายกันทุกคน และเหมือน ๆ กันเพียงแต่วิบากกรรมของใครด้วยโรคอะไร คน ๆ นั้นก็จะได้รับผลของกรรมนั้น ๆ คือเป็นโรคนั้นนั่นแหละ จะเห็นได้ว่าโรคภัยไข้เจ็บแต่ละท่านแต่ละคน ไม่เหมือนกันเลย ใช่ไหม ทีนี้หลวงพ่อท่านยังได้สาธยายให้ฟังอีกว่า โรคนั้นเราสามารถแบ่งแยกได้เป็น ๓ อย่างคือ :

๑.โรคทางกาย เป็นหน้าที่ของหมอ ของแพทย์ ที่จะต้องดูแลรักษา
๒.โรคทางจิตหรือทางใจ เป็นหน้าที่ของหมอ แพทย์เช่นกัน ที่เราเรียกว่าแพทย์เฉพาะทาง (จิตแพทย์)
๓.โรคทาง วิญญาณ นี่ ๆ คือหน้าที่ของพระพุทธเจ้าที่จะต้องรักษา เมื่อพระพุทธเจ้าไม่มีแล้ว ธรรมะ จึงคือหมอที่จะรักษาแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ฉะนั้น พวกเราพึงตระหนักและหันหน้า เข้ามาศึกษา ธรรมะ ที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนไว้มากมาย แล้วเราค่อยมาว่ากันต่อนะครับ


:lol: :lol: "มนุษย์เกิดขึ้นมาจากธรรมชาติ" เพราะฉะนั้นสิ่งใดที่มนุษย์ปฏิบัติตนผิดหลักของ ธรรมชาติแล้ว ย่อมส่งผลกระทบต่อตัวเราเอง ดังนั้นถ้าเราเข้าใจพื้นฐานของร่างกายเรา เราก็จะทราบว่าสาเหตุที่นำไปสู่การเกิดโรคภัยไข้เจ็บ และอาการที่เกิดขึ้นต่าง ๆ ในร่างกาย โดยสรุปมีดังนี้:-

1. อาหาร เนื่องจากพบว่าคนไทยในสังคมปัจจุบันมีความเจ็บป่วยเกี่ยวกับโรคทางเดินอาหารกันเป็นส่วนมาก
เชื่อมโยงไปสู่อวัยวะต่าง ๆ อย่างมากมายอันมีสาเหตุมาจากการ บริโภคอาหาร ที่ไม่ถูกต้อง จากค่านิยมที่ผิด ๆ และสาเหตุอื่น ๆ อีกมากมาย การทดลองซึ่งเป็นงานวิจัยของ ต่างชาติแต่นำมาใช้กับคนไทย ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นถิ่นกำเนิด, สายพันธุ์, ภูมิประเทศ, ภูมิอากาศ, การบริโภคและอื่น ๆ อีกมากมาย ถ้าให้ข้อมูลด้านโภชนาการที่มีอยู่ ถูกนำมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง

ร่ายกายได้รับสารอาหารที่ฟื้นฟูตัวเองในทุกระบบแบบค่อยเป็นค่อยไป รวมถึงเป็นอาหารที่ย่อยง่าย ดูดซึมทันที ทำให้ร่างกาย นำมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว ขับถ่ายง่ายไม่เหลือของเสียตกค้าง ใช้ได้กับผู้ป่วยทุกประเภทและคนปกติอย่างมีข้อจำกัดน้อยที่สุด
ปลอดภัยและมีราคาต่ำ ที่สำคัญทุกคนปฏิบัติเองได้ เช่น น้ำผักผลไม้ปั่น

2. อารมณ์ อารมณ์ตึงเครียดจะส่งผลทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนอะดรีนาลีน ( ฮอร์โมนแห่งความทุกข์) หลั่งมาจากต่อมหมวกไต ทำให้ภาวะความเป็นกรดในเลือดสูงขึ้น เลือดข้นขึ้น ความดันโลหิตสูง

ขบวนการเคมีเกิดขึ้นมากมายแต่ไม่สมดุลเกิดเซลตายจำนวนมากมาย และในขณะที่เครียด ถุงน้ำดีจะปิดการย่อยไขมันที่จะเปลี่ยนรูป เป็นพลังงาน แก่ร่างกายและเป็น ส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย

ถ้าขบวนการเผาพลาญอาหารมาเป็นพลังงานในการสร้างเซลใหม่และกำจัดของเสียเกิดไม่ทัน จะเกิดการสะสมเซลตายซึ่งเป็นสาเหตุของอาการและโรคจำนวนมากดังต่อไปนี้เช่น อาการสารพัดปวด, เนื้องอก, มะเร็ง, ภูมิแพ้, ท้องอืด, ท้องเฟ้อ, ท้องผูก, โรคกระเพาะ,โรคลำไส้, โรคไต, ผมหงอกก่อนวัย, กระดูกผุ, ปวดประจำเดือน, ความดันโลหิตสูง, อัมพฤกษ์, อัมพาต, ต้อเนื้อ, ต้อกระจก, ต้อลม, ตาพร่า ฯลฯ

3. อากาศ เราจะพบว่าคนไทยส่วนมากโดยเฉพาะในสังคมเมืองหลวงหายใจสั้นและเร็ว ทำให้การหายใจแต่ละครั้งได้ปริมาณ O2 น้อย และเอา CO2 ออกได้น้อยเช่นกัน ปอดทั้งสองข้างจะทำงานไม่ได้เต็มที่ เมื่อปล่อยให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องยาวนาน ส่งผลให้เกิดความเสื่อม ไปถึงความผิดปกติยังระบบอื่น ๆ

4. อุจจาระ การขับถ่ายของคนเราโดยเฉพาะอุจจาระนั้น ควรทำให้เป็นปกติทุกวันก่อน 7 โมงเช้า ควรขับของเสียออกให้หมด และเตรียมรับอาหารมื้อเช้า คนที่ไม่พยายามขับถ่าย ให้เป็นปกติ ปล่อยให้ท้องผูกเป็นประจำจะเป็นการปล่อยให้ร่างกายดูดซึมของเสียไปเลี้ยงร่างกาย เนื่องจากปกติอาหารที่เรากินกันอยู่ส่วนมาก ภายใน 12 ชั่วโมง ก็เริ่มบูดเน่า คนที่ท้องผูก เป็นระยะเวลานาน ๆ จะเป็นสาเหตุอันนำไปสู่อาการและโรคจำนวนมากมายหลายโรค เช่น สมองเสื่อม หลงลืม ปวดทั้งหลาย ภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ เนื้องอก มะเร็ง อัมพฤกษ์ อัมพาต หอบหืด นอนไม่หลับ ฯลฯ

5. การออกกำลังกาย ควรเลือกวิธีการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับตนเอง เวลาที่เหมาะสม กับการออกกำลังกายควรเป็นช่วง 05.00-07.00 น. ในตอนเช้า เพราะจะเป็นการช่วยให้ลำไส้ใหญ่ และไตขับของเสียออกให้หมด และพร้อมที่จะขับถ่าย และรับอาหารใหม่ในตอนเช้า

6. การนอน เวลาที่ควรให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนก็คือ ช่วงเวลา 3 ทุ่มถึงตี 3
(จะตื่นหลังตี 3 ก็ได้) แต่ไม่ควรเข้านอนเกิน 3 ทุ่ม การนอนดึกหรือการพักผ่อน
ไม่เพียงพอจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทำงานหนักและทำให้เสื่อมเร็ว การนอนดึก
จะส่งผลไปยังความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ในทุกระบบ เนื่องจากทุกอวัยวะต้องได้รับ
สารอาหารจากการไหลเวียนตลอดเวลา มีของเสียตกค้างระดับเซล ทำให้มีอาการทางผิวหนัง
แพ้ง่าย เป็นฝ้า กระ แผลพุพองจากการติดเชื้อ โรคผิวหนังต่าง ๆ และเกิดอาการปวดบริเวณ
หลังส่วนบนของร่ายกาย ได้แก่ ไหล่ ศีรษะ ไมแกรน ความจำเสื่อม สมองฝ่อ ขี้ลืม ฯลฯ

ดังนั้นจึงไม่เป็นการยากที่เราจะปฏิบัติตนและทำความเข้าใจว่า..โรคแต่ละชนิดนั้นมี
ที่มาไม่ต่างกัน ที่ต่างกันคือชื่อเท่านั้น

[ เล่าสู่กันฟัง กับ ดร.รสสุคนธ์ : ต้นเหตุของการเกิดโรค]
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
jiang
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 21
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มี.ค. 2013, 18:32
Bike: suntour

Re: ปั่นจักรยานรักษาโรคได้จริงหรือ

โพสต์ โดย jiang »

ความดันจาก 150 ลดเหลือ 130 นน.ตัว 75กก. เหลือ 64กก. เมื่อก่อนหอบง่ายเดี๋ยวนี้สบม.ครับ
ปล.ผมปั่นขึ้นดอยมาหลายเดือนแล้ว
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4379
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ปั่นจักรยานรักษาโรคได้จริงหรือ

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

jiang เขียน:ความดันจาก 150 ลดเหลือ 130 นน.ตัว 75กก. เหลือ 64กก. เมื่อก่อนหอบง่ายเดี๋ยวนี้สบม.ครับ
ปล.ผมปั่นขึ้นดอยมาหลายเดือนแล้ว
:) :D เยี่ยมครับ ... ดีจริง ๆ อย่าหยุดครับ ปั่นต่อไปจนมันเป็นวิถีชีวิตเลยครับ :) :)

:idea: :idea: เมื่อความร่ำรวยทำร้ายสุขภาพท่าน

รูปภาพ

คนมีสตางค์ทำอะไรก็ไม่ผิด?
แต่ถ้าคิดใหม่ก็คือ…
คนมีสตางค์อาจถูกเชียร์ให้รักษาสุขภาพแบบผิดๆ
ยกตัวอย่างง่ายๆว่า ถ้าท่านยังสุขภาพดีก็อาจมีคนมาเชียร์ขายวิตามินและอาหารเสริมจากทั่วทั้งยุทธภพ

แต่ถ้าลงป่วยขึ้นมาเมื่อไร ละก็…จะถูกเชียร์ให้ตรวจเยอะ ทั้งเจาะเลือด สแกนเข้าอุโมงค์ ส่องกล้อง และอะไรต่อมิอะไรอีกมาก

เมื่อถึงคราวต้องรักษา ถ้ามีสตางค์มาก ก็จะมีแนวโน้มว่าท่านจะได้รับข้อเสนอของการรักษาที่ “ครอบจักรวาล”

ยาเยอะๆ เอาให้หลายชนิดครอบจักรวาลเข้าไว้ ป้องกันมันไปเสียทุกโรค จนลืมไปว่าคนไข้อาจอิ่มยาก่อนข้าว

ไม่ค่อยอยากรอดูอาการ แต่ท่านจะถูกพาไปทำการผ่าตัดได้โดยเร็วเพราะท่านมีทุนทรัพย์รองรับอยู่เพียบ

มิหนำซ้ำตัวท่านเองก็อาจเคลิ้มๆเชื่อไปด้วยว่า ผ่าๆไปเถอะเพราะ “มันจำเป็น”
มีหลายกรณีครับที่คนไข้อยู่ในช่วงคาบเกี่ยวว่ายังไม่ต้องกินยาก็ได้หรือยังไม่ต้องผ่าตัด แต่เมื่อมีสตางค์ที่จะจ่ายได้แล้ว แพคเกจการผ่าตัดพร้อมห้องเดี่ยวสุดหรูเพื่อพักฟื้นก็จะถูกนำมาเสนอ เผลอๆกลายเป็นเรื่อง ฉุกเฉินรอไม่ได้ไป
แต่ลองไม่มีสตางค์สิครับ ข้อเสนอเปลี่ยนไปอีกแบบแน่
ยุคนี้มาเก็ตติ้งเทพยิ่งนักครับ
หรือยากินก็จะถูกเชียร์ว่าใช้ยานอกดีกว่า น่าใช้ หายได้ ตบท้ายด้วย “ราคาแพง” ส่วนการผ่าตัดนั้นก็จะถูกจัดขึ้นอย่างว่องไวเพื่อให้สบายใจทั้งคนผ่าตัดและสนองนี้ดของผู้มีทรัพย์
ส่วนผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

10 ภัยสุขภาพของคนมีตังค์
การมีเงินมากในสังคมที่มีการพาณิชย์สูงอาจไม่ใช่เรื่องดีเสมอไปครับ ความใส่ใจในเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องที่ดี แต่ท่านก็มีแนวโน้มที่จะตกหลุมดำกลายเป็น “หนูทดลอง” โดยไม่รู้ตัว

ยกตัวอย่างง่ายๆ มีการทดลองใช้ “สเต็มเซลล์” ในผู้ป่วยที่มีฐานะร่ำรวยกันมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกับโรคที่ยังไม่มีงานวิจัยรองรับ แต่คนไข้ก็ถูกพูดให้ฟังจนเคลิ้มว่าจะเป็น “ความหวังใหม่” ที่เจิดจรัส
แพงแค่ไหนก็ยอมจ่าย และยอมพลีกายเป็นหนูทดลอง
แต่อย่าลืมทีเดียวนะครับว่า ถ้ามันเป็นประกายแห่งความหวังจริง แถมยังเป็นการทดลองด้วยก็ไม่น่าจะแพงบ้าเลือดเป็นหลักแสนหลักล้าน ถ้ายังเป็นแค่การทดลองและอยากให้คนไข้หาย ก็ไม่น่าจะขายกันแพงอุตลุด

ถ้าท่านอยากจะหยุดวงจรนี้ไม่ยากครับ ขอให้อ่านเคล็ดลับต่อไปนี้ว่ามีอะไรที่จะเข้ามาหาท่านได้บ้างในชีวิตจะได้ตั้งรับไว้

1) ยาเยอะ มีแนวโน้มที่จะได้รับยาที่อ้างว่าเป็น “ยาใหม่” “ยานอก” จนฟังดูเหมือน “ยาดี” กว่าคนอื่น แต่จริงแล้วยาใหม่นั้นมีหลายชนิดที่มีผลข้างเคียงยังไม่ทราบแน่ชัดเพราะเพิ่งถูกใช้มาไม่นาน แต่คนที่มีตังค์ก็อาจได้สิทธิ์ “หนูลองยา” นั้นไปก่อนฟรีๆด้วยความเต็มใจก็ได้ครับ

2) หมอเยอะยิ่งคุณหมอเยอะก็ใช่ว่าจะยิ่งดีเสมอไปนะครับ เพราะอย่าลืมว่าคุณหมอแต่ละท่านก็มีแนวคิดของตัวเอง มันอาจมาพร้อมกับการเสียเลือดเลือด กินยาเยอะและที่สำคัญคือตรวจเยอะโดยไม่จำเป็นได้ครับ

3) ตรวจเยอะ นี่คือผลลัพธ์ที่ตามมาหลังจากท่านถูกพาไปตรวจจนช่ำปอดจากแผนกต่างๆสุดแล้วแต่ทุนทรัพย์จะอำนวยแล้ว คุณหมอผู้เชี่ยวชาญแต่ละแผนกก็จะพาท่านไปตรวจอย่างละเอียดในสำนักของท่าน ยิ่งมากสำนักท่านก็ต้องเสี่ยงกับการเสียเลือด,รับรังสีเอ็กซเรย์จากการสแกน และหนักไปกว่านั้นคือท่านอาจได้คำตอบว่า “ตรวจไม่พบความผิดปกติ” ได้ง่ายๆ

4) เสี่ยงผ่าตัดเยอะ เมื่อพบกับคุณหมอและการตรวจแล้ว การส่งตัวไปผ่าตัดก็ไม่ใช่เรื่องยากแล้ว ฟังดูว่าทุกการผ่าตัดต้องมีกฏเกณฑ์ตายตัว แต่ในความจริงไม่ใช่อย่างนั้นเลยครับ ยกตัวอย่างผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี คุณหมอท่านหนึ่งอาจบอกส่องกล้องได้ แต่อีกท่านบอกผ่าธรรมดาปลอดภัยกว่า พูดง่ายๆว่าท่านอาจเสี่ยงผ่าตัดได้มากหากปักใจเชื่อแต่คำแนะนำเดียว

5) สเต็มเซลล์และวิตามินต้านชราเยอะ คนมีเงินในยุคนี้ถูกรุมจากธุรกิจสุขภาพเยอะครับ เพราะของพวกนี้มีราคาสูงและเป็นธุรกิจใหญ่ในวงการสุขภาพมาก จึงถูกนำมาเชียร์ขายกันในหมู่ผู้มีกำลังซื้อสูง อย่างสเต็มเซลล์เพื่อชะลอวัยก็ยังไม่มีงานวิจัยรับรองแต่ก็ถูกนำมาเชียร์ขายแม้ในวงการแพทย์เอง ด้วยคำตอบเพียงอย่างเดียวคือ “เพื่อเงิน”

6) ฮอร์โมนเยอะ คนไม่อยากแก่(แต่มีเงิน)มีความหวังอยู่ในใจลึกๆว่าต้องมีของวิเศษมาช่วยชะลอวัยได้ จึงทำให้ธุรกิจ “ขายความสวย” มีเม็ดเงินสะพัดมหาศาล เรื่องการฉีดฮอร์โมนแล้วช่วยให้ไม่แก่นั้นมีอยู่จริงครับ แต่เป็นสิ่งที่ต้องแลกมา ขอท่านที่รักจำคำนี้ไว้ให้ดีครับ ว่าท่านอาจต้องแลกกับ มะเร็ง ที่มาจากฮอร์โมนและแลกกับอันตรายที่มาจากฮอร์โมนสังเคราะห์

7) เสริมสวยเยอะ ซื้อคอร์สมาก ยิ่งกระเป๋าคุณหนักก็ยิ่งเป็นเป้านิ่งของการขายคอร์สสุขภาพต่างๆนาๆ เพราะว่าธุรกิจเสริมสวยอยู่ได้ด้วยการขายคอร์สกับครีมกวนเองราคาแพงหูฉี่ ดังนั้นถ้าคุณคือคนที่พร้อมจ่าย คุณก็จะต้องจ่ายอยู่เรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าจะหยุดก็ต่อเมื่อคุณหมดตัวนั่นละครับ เรื่องเสริมสวยนี่ต่อให้มีมากเท่ามากก็หมดได้ครับ

ถูกเชียร์ให้เป็นหนูทดลองของใหม่(แต่แพง) ยาใหม่ ทรีตเมนต์ตัวใหม่ วิตามินและการล้างพิษแบบใหม่ๆที่แพงแสนแพง เกิดมาเพิ่งเคยได้ยิน อาจมีบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูน่านับถือมาชักชวนให้คุณใช้เพราะได้กลิ่นเงินที่อยู่ในกระเป๋าที่ปิดไม่มิด ชีวิตที่พร้อมจ่ายจะเข้าสู่อันตรายก็เพราะเหตุนี้ครับ ถ้าเขาทั้งรักทั้งห่วงสุขภาพของคุณจริงก็น่าจะให้ใช้ทดลองโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากกว่านะครับ

9) ผู้หวังดีเยอะ ผู้หวังดีที่ว่ามีทั้งจากคุณหมอเองและผู้หลักผู้ใหญ่ที่นับถือ พูดถึงสรรพคุณการรักษาแบบต่างๆ ทั้งล้างพิษ,คีเลชั่น,ฉีดวิตามิน,กินฮอร์โมน,สแกนเลือด,ฉีดสเต็มเซลล์ให้หนุ่ม,ร้อยไหม ใช้สารพัดวิธีที่เอามาแนะนำยามท่านป่วย ก็ขอให้ท่านใช้เทคนิคดูง่ายๆก็แล้วกันครับว่า “ถ้ามันดีจริงก็น่าจะถูกใช้กันในโรงเรียนแพทย์ด้วย” เพราะของดีย่อมเป็นสากลถูกไหมครับ

10) กินของดีซ้ำซาก ของดีจะเป็นผู้ร้ายได้ถ้าได้รับมากเกินไป คนมีสตางค์มักมีแนวโน้มกินดีอยู่ดี มีแนวโน้มที่จะมี ไขมันเกาะตับ, นอนไม่หลับเพราะอยู่ดึก, ติดอัลกอฮอล์จากไวน์และบรั่นดี ฯลฯ นอกจากนั้นความสบายอาจทำให้ลืมออกกำลังกายซึ่งเป็นวิธีล้างพิษง่ายๆขั้นมาตรฐาน ในบางท่านกินโสม,หูฉลาม,ถั่งเฉ้าหรือสมุนไพรราคาแพงบ่อยครั้งจนได้รับโลหะหนักและยาฆ่าแมลงตกค้างอย่างไม่รู้ตัว ดังนั้นการกินดีอยู่ดีที่มากเกินไปอาจจำเป็นต้องแลกมาด้วยชีวิตได้ แก้ง่ายๆคือ “กินอย่างพอดี” ดีกว่าครับ

หลายท่านที่มีสตางค์บอกว่า “เสียตังค์ไม่ว่าถ้าหาย” หรือขอให้หายป่วยเถิด ท่านที่รักทราบไหมครับว่า ความคิดนี้เองที่ทำลายสุขภาพของเราได้ เพราะในโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งนำเครื่องมือที่ยังไม่ถือเป็นมาตรฐานในการรักษามาใช้รักษามะเร็ง,รักษาโรคและสแกนหาโรคภัยไข้เจ็บ ทั้งที่รู้ดีว่ามันไม่ใช่เครื่องมือมาตรฐานทางการแพทย์ แต่ด้วยคนไข้ที่มี “สตางค์ถึง” ก็จะถูกบรรจงเชียร์ให้ใช้ให้ทดลอง
ต้องดูให้ดีนะครับ เพราะหลายอย่างมีผลข้างเคียงแต่ถูกปิดเงียบไว้
เสียตังค์น่ะไม่ว่าครับแต่ถ้าเสียสุขภาพนี่มันไม่คุ้มกันเลยครับ

ถึงบรรทัดนี้หลายท่านอาจรู้สึกว่าการแพทย์มันต้องมีหลักการทั้งการให้ยาและการผ่าตัดย่อมต้องมีกฏเกณฑ์
ถูกอยู่ครับ แต่มันไม่ตายตัว
คำสำคัญอยู่ที่ “ขึ้นกับวิจารณญาณของแพทย์”

มันก็เหมือนกับเวลาท่านเป็นหวัด ท่านก็ยังรู้สึกว่าไม่ต้องกินยาได้ แต่เพื่อนรอบข้างอาจบอกให้ท่านรีบกินยาดีกว่า เห็นไหมครับแม้ตัวท่านเองก็ยังมีความคิดที่ต่างออกไปได้
จึงไม่น่าแปลกที่คุณหมอต่างคนก็ต่างคิดของตัวเองแม้ในหลักใหญ่จะเหมือนกันแต่ในทางปฏิบัติแล้วต่างกันแน่นอนครับ เขาจึงเรียกว่าการประกอบโรค “ศิลปะ” เพราะมันเป็นศิลป์เฉพาะบุคคลจริงๆ ขอท่านที่รักอย่าคิดว่าสิ่งนี้มีหมอเท่านั้นที่ทำได้นะครับ

ตัวท่านเองต่างหากครับคือศิลปินที่เก่งสุด

เครดิตจาก : นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ (ขอบพระคุณครับ)
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
ขวัญใจ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2562
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 มี.ค. 2011, 17:07
Tel: 0823974409
team: รักรถรักธรรม
Bike: scoot, fuji araya

Re: ปั่นจักรยานรักษาโรคได้จริงหรือ

โพสต์ โดย ขวัญใจ »

ปั่นสู้โรค เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง
จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าปั่นอย่างไรจึงจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อร่างกาย ที่สำคัญรู้หรือไม่ว่าการปั่นจักรยานสู้โรคได้ด้วย

กระแสการปั่นจักรยานในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้นและ กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มคนรักสุขภาพ ทุกเพศทุกวัย โดย ผู้ที่ใช้จักรยานเป็นพาหนะคู่กายก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าปั่นอย่างไรจึงจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อร่างกาย ที่สำคัญรู้หรือไม่ว่าการปั่นจักรยานสู้โรคได้ด้วย

คุณอติกานต์ เกนี่’ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกาย โรงพยาบาลเทพธารินทร์ กล่าวว่า “การปั่นจักรยาน คือ การออกกำลังกายแบบแอโรบิก ชนิดหนึ่ง เปิดโอกาสให้กล้ามเนื้อหัวใจได้ทำงานมากกว่าขณะพัก ช่วย ให้เกิดการสูบฉีดและระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น เป็นการเพิ่มสมรรถภาพให้กับอวัยวะต่างๆ ในร่างกายให้แข็งแรงและฟิตขึ้น เช่น เพิ่มการสูบฉีดเลือดไปยังหัวใจ สมอง ปอด ข้อต่อต่างๆ เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า และกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย รวมถึงช่วยป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคภูมิแพ้ โรคไมเกรน และข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น โดยแท้จริงแล้วการปั่นจักรยานไม่สามารถสร้างกล้ามเนื้อได้โดยตรง แต่เป็นการ เผาผลาญพลังงานต่างๆ ของร่างกายออกไป

การรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับการปั่นจักรยานก็เป็นเรื่องสำคัญ นักปั่นควรรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ได้แก่ อาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล ซึ่งร่างกายจะดึงออกมาใช้เป็นแหล่งพลังงานอันดับแรก ดังนั้น หนึ่งชั่วโมงก่อนการปั่น นักปั่นควรกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงเพื่อเตรียมพลังงานเข้าสู่ร่างกาย หากปั่นเกินหนึ่งชั่วโมงควรหยุดพัก เพื่อเติมอาหารที่ให้พลังงานเสริมเข้าไป เช่น กล้วย เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือเกลือแร่ พวก energy bar ต่างๆ และเมื่อปั่นเสร็จภายใน 30 นาทีควรรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน เพื่อช่วยซ่อมแซมกล้ามเนื้อ เพราะช่วง 30 นาทีหลังการปั่นนั้นคือ ช่วงเวลาที่กล้ามเนื้อสามารถดูดซึมสารอาหารได้ดีที่สุด” มาดูกันว่าการปั่นจักรยานสู้โรคอะไรได้บ้าง

เบาหวาน ความดันสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ หัวใจและหลอดเลือด เป็นโรคเรื้อรังที่มีสาเหตุหลักจากกรรมพันธ์ความดื้อต่ออินซูลินและ ความอ้วน ขณะที่กรรมพันธุ์เป็นสิ่งที่นอกเหนือการควบคุม แต่เราสามารถควบคุมน้ำหนักได้ ดังนั้น การปั่นจักรยานจึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยเผาผลาญพลังงานและไขมันสะสมในร่างกาย น้ำหนักก็จะลดลง ทั้งยังช่วยให้ร่างกายใช้อินซูลินในการดึงน้ำตาลในเลือดไปใช้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังทั้งหลายได้

ภูมิแพ้ การปั่นจักรยานช่วยให้ความไวต่อสิ่งกระตุ้นภูมิแพ้ลดลง จึงเกิดอาการแพ้ช้าและน้อยลง ขณะปั่น ร่างกายจะเผาผลาญพลังงานและเกิดความร้อนขึ้น ช่วยให้เหงื่อออกซึ่งดีต่ออาการภูมิแพ้

ไมเกรน ลดและป้องกันอาการปวดศีรษะแบบไมเกรนได้ดีและช่วยเสริมผลการรักษาด้วยยา เพราะช่วยให้เกิดการหลั่งของสาร ‘เอนดอร์ฟิน’ ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความสุข ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น อาการเครียดคลายลง

ข้อเข่าเสื่อม การปั่นจักรยานเป็นการบริหารกล้ามเนื้อและเอ็นรอบข้อต่อให้มีการเคลื่อนไหว สร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่น ส่งผลให้ข้อเข่าแข็งแรง สามารถดูดซับแรงกระแทกได้ดีขึ้น ลดโอกาสการบาดเจ็บจากการทำกิจกรรมประจำวันได้ นอกจากนั้นยังช่วยให้เลือดในร่างกายมีการหมุนเวียนมากขึ้น สารอาหารและออกซิเจนสามารถเดินทางไปบำรุงข้อต่อได้มากขึ้น ช่วยให้ข้อเข่าเสื่อมช้าลง
นอกจากนั้น สิ่งที่นักปั่นทั้งมือโปรและมือสมัครเล่นพบเจออยู่บ่อยๆ นั่นก็คือการบาดเจ็บจากการปั่นจักรยาน ซึ่งเกิดขึ้นได้เสมอหากขาดความระมัดระวังและการเตรียมพร้อมที่ดี หรือหากมีการบาดเจ็บอยู่แล้ว ควรป้องกันการเกิดการบาดเจ็บที่เพิ่มขึ้น การบาดเจ็บที่มักเกิดขึ้นบ่อยตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่ หลัง เข่า หัวไหล่และข้อเท้า ดังนั้น นักปั่นทั้งหลายควรเตรียมพร้อมก่อนปั่น เพื่อบริหารกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ด้วยท่าการออกกำลังกายลดการบาดเจ็บดังนี้

ท่าบอดี้ เวท สควอท บริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง สะโพก ต้นขาตั้งแต่ขาหน้าลงไปรวมถึงเข่าและน่อง เริ่มต้นจากปลายเท้าชี้ไปข้างหน้า ถอยก้น แขนยืดเหยียดตรงไปด้านหน้า เพื่อรักษาสมดุล โดยให้ระดับหัวเข่าเสมอกับปลายเท้า ทำวันละ 3 รอบ รอบละ 15 ครั้ง

ท่าเฟอร์เวิร์ด ลันจ์ บริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง สะโพก ต้นขา เริ่มต้นจากก้าวเท้าข้างหนึ่งออกมาด้านหน้า มือประชิดแนบลำตัว เท้าเอว จากนั้นพับเข่าหลังลง ทำสลับทีละข้าง

ท่านั่งเอนบิดลำตัว บริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อด้านข้างและหลัง เริ่มต้นจากนั่งลงตั้งฉากกับพื้น ชันเข่าขึ้น 90 องศา เอนหลังเล็กน้อยทำมุมประมาณ 40-45 องศา มือถือลูกบอลไว้ แล้วบิดซ้ายและขวาไปมาช้าๆ สลับกัน หากไม่มีลูกบอล สามารถเหยียดมือออกไปแทนได้

ท่าแพลงค์และท่าแพลงค์ด้านข้าง บริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง หลัง และต้นขา เหมาะสำหรับคนไม่มีเวลาเพราะทำได้ง่ายและสะดวก คล้ายกับท่าวิดพื้น ควรทำบนพื้นที่เรียบและนุ่มเล็กน้อย เริ่มต้นจากมือวางขนานกันกับหัวไหล่และตั้งฉากกับข้อศอก ปลายเท้าจิกพื้น จากนั้นยกสะโพก ทำตัวให้ตรงแบบไม้กระดาน ดันส้นเท้าไปข้างหลัง ค้างไว้ประมาณ 15 วินาที ส่วนท่าแพลงค์ด้านข้างจะคล้ายกับท่าแพลงค์ โดยชันข้อศอกตั้งฉากกับพื้น มืออีกข้างหนึ่งแนบลำตัว ศีรษะมองไปข้างหน้า ยกสะโพกขึ้นในระดับตัวชี้ตรงตั้งแต่หัวจรดเท้า

ไม่ว่าคุณจะบริโภคแคลอรี่เข้าไปมากขนาดไหน เพียงคุณออกกำลังกายหรือใช้ชีวิตที่แอคทีฟเพื่อเผาผลาญพลังงานออกไป แค่นี้คุณก็มีสุขภาพที่ดีห่างไกลโรคต่างๆ ได้...ถ้าพร้อมแล้วออกไปปั่นสู้โรคกันเลย

ที่มาข้อมูล : นิตยสารเปรียว
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4379
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ปั่นจักรยานรักษาโรคได้จริงหรือ

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

รูปภาพ

:lol: :lol: แหละนี่ก็คือ ยา รักษาใจครับ :lol: :lol:
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4379
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ปั่นจักรยานรักษาโรคได้จริงหรือ

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:idea::idea: ทำไมขี่จักรยานทำให้เรามีความสุขมากขึ้น (10 ธันวาคม 2556)

หลายคนคงได้อ่านกันมาแล้วว่าการขี่จักรยานทำให้สุขภาพดีอย่างไรบ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพกาย คราวนี้จึงขอชวนกันมาเรียนรู้ว่าการขี่จักรยานทำให้สุขภาพใจดีด้วย พูดอีกอย่างหนึ่งคือ ขี่จักรยานแล้วทำให้มีความสุขมากขึ้น แน่นอนล่ะว่าส่วนหนึ่งก็มาจากสุขภาพกายที่ดี เช่น นอนหลับได้ มาดูกันนะครับ และทั้งหมดที่จะบอกนี้มีการศึกษาที่เป็นวิทยาศาสตร์มารองรับทั้งสิ้น

เรื่องแรกเลยคือ เมื่อเราเดินทางด้วยจักรยาน เราก็ไม่ต้องเครียดจากการขับรถ นสพ. เดอะ การ์เดี้ยนของอังกฤษรายงานว่าคนที่ขับรถรู้สึกว่ากุมชะตาชีวิตของตนเองมากกว่าคนที่ใช้ขนส่งสาธารณะแต่แม้จะมีความรู้สึกบวกว่าตัวเองเป็นคนกุมพวงมาลัยและได้นั่งอยู่ในสิ่งที่บ่งบอกว่าเราเป็นคนมี “ฐานะดี” พวกเขากว่าครึ่งก็ไม่ชอบการเดินทางที่ต้องทำทุกวันด้วยรถยนต์ นักวิจัยจากฮิวเล็ตต์-แพ็กการ์ดพบว่าชาวอังกฤษมีอัตราการเต้นของหัวใจสูงถึง 145 ครั้งต่อนาทีเมื่อขับรถในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน ซึ่งมากกว่าผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีตามปกติกว่าสองเท่า จริงๆ แล้ว นักวิจัยพบด้วยความประหลาดใจว่า คนขับรถเครียดมากกว่านักบันขับไล่และตำรวจปราบจลาจลเสียอีก ยิ่งกว่านั้นคนขับรถยังทุกข์กับความรู้สึก “ไร้สมรรถภาพ”อีกด้วย ซึ่งจะว่าไปก็ไม่ยากนักที่จะเข้าใจว่าทำไมคนที่ขับรถจึงรู้สึกเช่นนั้น ในเมื่อพวกเขากำลังขับเครื่องกลที่ทรงพลัง แต่กลับไปไหนไม่ได้เลยเมื่อต้องมาติดแหง็กกับการจราจร

ขี่จักรยานทำให้คุณมีพลังมากขึ้น คนเดินทางกลุ่มเดียวที่บอกว่าสนุกกับการเดินทางประจำวันคือคนในกลุ่มที่เดินทางอย่างกระฉับกระเฉง อันได้แก่ คนที่เดินหรือวิ่ง และคนที่ขี่จักรยาน และในกลุ่มนี้คนที่ขี่จักรยานไปได้เร็วที่สุด อ้าว แต่ขี่จักรยานแล้วจะไม่ทำให้คุณเหนื่อยมากขึ้นหรอกหรือ ตรงกันข้ามกับที่คนทั่วไปนึก จริงๆ แล้ว การใช้พลังงานในการขี่จักรยานทำให้ผู้ขี่รู้สึกตื่นตัวมากขึ้นและอ่อนล้าน้อยลง รายงานการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Psychotherapy and Psychosomaticsบ่งบอกว่า การขี่จักรยานลดความอ่อนล้าลงถึงร้อยละ 65 และทำให้ระดับพลังงานของผู้ขี่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20นั่นเป็นเพราะว่าเมื่อคุณขี่จักรยาน ร่างกายจะปล่อยโดพามีน (dopamine)ซึ่งเป็นสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ที่เชื่อมโยงกับพลังงานที่ร่างกายปล่อยออกมาเมื่อเราออกกำลังกาย ในขณะที่ปล่อยคอร์ติซอล (cortisol) หรือฮอร์โมนเครียดออกมาเมื่อขับรถยนต์ ยิ่งกว่านั้น การจะให้ร่างกายได้ประโยชน์จากโดพามีน คุณไม่ต้องขี่จักรยานทุกวัน แค่สัปดาห์ละ 3 วัน และไม่ต้องขี่เร็ว ช้าไปจนถึงเร็วปานกลาง ก็เพียงพอแล้ว ถ้าคุณอยากตื่นตัว ขี่จักรยานดีกว่าขับรถแน่นอน

การขี่จักรยานทำให้เรานอนหลับดีขึ้น สมาคมจิตวิทยาอเมริกันชี้ว่าการนอนหลับเพียงพอทำให้รู้สึกมีความสุข นักวิจัยของคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในสหรัฐอเมริกา พบว่าการขี่จักรยานวันละ 20-30 นาทีช่วยให้คนที่มีอาการนอนไม่หลับจากการไม่ได้เคลื่อนไหว (sedentary insomnia) หลับเร็วขึ้นสองเท่าและเพิ่มเวลาที่พวกเขาหลับได้ไปอีกเกือบหนึ่งชั่วโมง ประโยชน์ที่ได้นี้ส่วนหนึ่งอาจมาจากแสงแดดที่เราได้รับขณะที่ขี่จักรยานด้วย ศาสตราจารย์จิม ฮอร์น แห่งศูนย์วิจัยการนอนหลับ มหาวิทยาลัยลัฟโบโร ในอังกฤษ บอกว่า แสงแดดช่วยรักษาวงจรชีวิตตามธรรมชาติของคนใน 24 ชั่วโมง (natural circadian rhythms) และลดระดับคอร์ติซอลของร่างกาย ทำให้หลับลึก มีผลดีต่อการสร้างร่างกายใหม่ งานวิจัยของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ความยั่งยืน มหาวิทยาลัยซาเย็ด ยังเปิดเผยด้วยว่า แสงแดดเสริมการผลิตวิตามิน ดี ในร่างกายและทำให้อารมณ์ดีขึ้น

การขี่จักรยานทำให้ผิวหนังของคุณดีขึ้น ถ้าคุณเป็นกังวลว่าการถูกแสงแดดมากจะทำลายผิวหนังของคุณ คิดใหม่ได้เลย งานวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดอีกชิ้นรายงานว่าการขี่จักรยานช่วยปกป้องผิวหนังจากผลของรังสีอุลตราไวโอเล็ต โดยการทำให้เลือดไหลเวียนมากขึ้น ลดระดับท็อกซิน และพาออกซิเจนกับสารอาหารมาที่ผิวหนัง การออกกำลังกายยังส่งเสริมการผลิตคอลลาเจน ทำให้ผิวหนังยืดหยุ่นและช่วยซ่อมแซมผิวหนังด้วย

คนที่ขี่จักรยานสูดมลพิษในอากาศน้อยกว่า จริงๆแล้ว คนที่ขี่จักรยานเผชิญกับมลพิษน้อยกว่าคนที่อยู่ในรถยนต์ แท็กซี่ และรถประจำทาง ซึ่งตรงข้ามกับความเชื่อของคนทั่วไปเลยทีเดียว การศึกษาของ Imperial College of London พบว่าคนขี่จักรยานเผชิญกับมลพิษเพียงราว 1 ใน 5 ของระดับที่คนในรถสูดเข้าไป

การขี่จักรยานทำให้สุขภาพสมองดี เล่าผลดีของการขี่จักรยานมาตั้งหลายข้อแล้ว ถ้ายังไม่เชื่อมั่นอีกว่าการขี่จักรยานทำให้ผู้ขี่มีความสุข ก็มาดูผลของการขี่จักรยานต่อสุขภาพสมอง นักวิจัยจาก The Think Team มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ในสหรัฐอเมริกา พบว่าผู้เข้าร่วมการศึกษาทำคะแนนในการทดสอบจิตใจได้ดีขึ้นร้อยละ 15 หลังจากเพิ่มสมรรถภาพของหัวใจและระบบการหายใจขึ้นอีกเพียงร้อยละ 5 ด้วยการขี่จักรยาน พวกเขาสงสัยว่าที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องมาจากการออกกำลังกายช่วยให้สมองบริเวณที่รับผิดชอบต่อความทรงจำ คือฮิปโปแคมปัส สร้างเซลล์ใหม่ๆ ขึ้นมา ผลที่เป็นบวกนี้สามารถช่วยกันการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ในทางเดียวกัน

การขี่จักรยานทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น ประโยชน์ของการขี่จักรยานไม่ได้หยุดอยู่ที่สมองเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเปอร์ดิวในสหรัฐอเมริกายังพบว่า การขี่จักรยานสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจลงได้ถึงร้อยละ 50 ถ้าขี่อย่างสม่ำเสมอ การขี่จักรยานแม้เพียงสัปดาห์ละ 36 กิโลเมตร ก็สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจไปได้ครึ่งหนึ่งของคนที่เท่าแต่อยู่นิ่งๆ นี่เป็นข่าวดียิ่งเมื่อพิจารณาว่าการเจ็บป่วยบั่นทอนความสุขของเรามากเพียงใด

ผลการศึกษาวิจัยทั้งหมดนี้ทำให้เรามีข้อยืนยันที่เป็นวิทยาศาสตร์ต่อเรื่องเล่าจากปากคำของผู้ใช้จักรยานว่าพวกเขามีความสุขอย่างไรเมื่อได้ขี่จักรยาน

ลองขี่ดูเองสักเดือนสิครับ ผมขอท้าทาย


เรียบเรียงจาก The Science Behind Why Cycling Makes Us Happier โดย กวิน ชุติมา
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4379
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ปั่นจักรยานรักษาโรคได้จริงหรือ

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

รูปภาพ

:o :o ขอบคุณข้อมูลดีๆ ที่ผู้บริโภคอย่างเราๆ ควรต้องทราบนะครับ..

ยาสีฟันที่บ้านคุณมีแถบสีแบบนี้ไหม
รีบไปหยิบมาดูสีและเปรียบเทียบกัน
เพราะว่าแต่ละสีนั้นมีนัยแฝงบอกบางสิ่งเอาไว้

สีเขียว ทำจากธรรมชาติล้วนๆ

น้ำเงิน ทำจากธรรมชาติ + ตัวยาของแพทย์

แดง ทำจากธรรมชาติ + สารเคมี

ดำ ทำจากสารเคมีล้วนๆ
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4379
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ปั่นจักรยานรักษาโรคได้จริงหรือ

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

รูปภาพ

รูปภาพ

:lol: :lol: ธรรมใดย่อมไร้ค่าถ้าไม่ทำ และธรรมใด ๆ ย่อมมีค่าถ้าเราทำ อย่าลืมนะครับ ปฏิบัติด้วยจึงจะเห็นผลครับ โชคดีครับ :) :D
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
ตอบกลับ

กลับไปยัง “พูดคุยเรื่องทั่วไปในแวดวงจักรยาน”