สอบถามการซ้อมลงเนิน(เขา)สามลูกศร

สอบถามเทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร เชิญห้องนี้เลย
ตอบกลับ
รูปประจำตัวสมาชิก
bdkp
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 16
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2014, 12:54
Bike: KHS Alite2000

สอบถามการซ้อมลงเนิน(เขา)สามลูกศร

โพสต์ โดย bdkp »

ผมไปอ่านเจอมาครับ
การขี่รถลงเขาให้ปลอดภัย

ขี่รถลงเขาให้ปลอดภัยสำหรับมือใหม่ มือเก่ากรุณาอ่านแล้วแก้ในจุดที่ยังไม่ถูกต้อง

การวางท่าบนรถจักรยานให้ถูกต้องคือ
1 - ยืนบนบันได เพื่อความคล่องตัวในการถ่ายน้ำหนักและลดแรงสะเทือนของพื้นถนน
2 - วางเท้าบนบันไดโดยให้ขาของจานหน้าขนานกับพื้น แต่จะให้เท้าขวาหรือซ้ายอยู่หน้า
ก็แล้วแต่ถนัด อย่าวางขาจานในแนวตั้งฉาก เพราะบรรไดอาจจะชนพื้นและน้ำหนักตัว
บนรถไม่สมดุยล์ จะเสียหลักล้มโดยง่าย
3 - มือจับแฮนด์พร้อมกับใช้นิ้วชี้ (หรือทั้งนิ้วชี้และนิ้วกลาง) จับมือเบรก

การถ่ายน้ำหนัก
การลงเขา เราจะถ่ายน้ำหนักตัวไปทางด้านหลัง เพื่อให้น้ำหนักยังคงอยู่ที่จุดศูนย์กลางรถ
ถ้ายังขี่ในท่าปรกติ น้ำหนักจะอยู่หน้ารถมากเกินไป จะทำให้เกิดโอกาสที่จะพุ่งข้ามแฮนด์
หรือล้อหลังลอยขึ้นมาได้ จากท่ายืนขี่จะทำการเอนยืดตัวไปทางด้านหลังของรถ หย่อนตัว
ลงด้านหลังของเบาะนั่ง ส่วนจะลงต่ำแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความชันของเขาที่กำลังลง ถ้าชัน
มาก ก็ต้องถ่ายน้ำหนักลงมากขึ้น จนเกือบจะนั่งลงบนล้อหลังและหน้าอกแนบกับเบาะนั่ง
ให้ลองฝึกถ่ายน้ำหนักและเอนตัวไปด้านหลังก่อนบนพื้นราบ

การใช้เบรกหน้าและเบรกหลัง
ในทางลงเขาที่เป็นทางเรียบและพื้นแน่น เช่นถนนราดยางและลูกรัง จะใช้ทั้งเบรกหน้าและ
หลัง โดยจะใช้เบรกหน้ามากกว่าเบรกหลัง เพราะว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นไปทางล้อหน้ามีมาก
กว่าการใช้เบรคหน้าจะทำให้ล้อหน้าเกิดการล๊อคได้ยากขึ้น แต่ถ้าใช้แต่เบรกหลังจะเกิดการ
ล๊อคและเสียหลักได้ง่ายกว่า การใช้เบรกหน้าหลัง อาจจะใช้ เบรกหน้าต่อเบรกหลัง 50:50,
70:30 จนถึง 80:20 บ่อยครั้งที่ลงเขา จะใช้แต่เบรกหน้าอย่างเดียวเพื่อลดความเร็ว ปลาย
สุดของทางลงเขา อาจจะปล่อยเบรกให้กลับมาที่ 50:50 อีกครั้ง ระหว่างที่ไหลลงเขา พยายาม
เบรกแล้วปล่อยเป็นช่วงๆ เพื่อให้ผ้าเบรกและขอบล้อ ได้มีโอกาสระบายความร้อนออกไป ถ้า
เบรกยาวเบรกอาจจะใหม้และเสียความฝืดไป ก็คือจะเกิดอาการเบรคลื่นได้
*สถานที่ที่น่าลอง : ลงจากจุดชมวิวเขาอีโต้

แต่ในทางที่ลงเขาชัน หรือดินร่วน จะตรงกันข้าม การใช้เบรคหน้าจะลดลง เพื่อใช้ชลอความ
เร็ว แต่จะใช้เบรคหลังบีบช่วยในการควบคุมรถให้อยู่ในเส้นทางที่ต้องการ บางครั้งอาจจะกด
ให้ล้อหลังล๊อคตายเป็นช่วงๆ ในช่วงที่ต้องการ ควบคุมทิศทางของรถให้ไปในทางที่ต้องการ
เบรคหน้าต่อเบรคหลัง 50:50 ถึง 30:70
*สถานที่น่าลอง : แถวๆลูกศรลง 3 ตัวในสนามวัดถ้ำประทุน

********** การลงเขาที่ปลอดภัยที่สุดคือ ลงจูงรถ เดินลงเขา *******************

*Idea จาก MBA dec'99

อยากสอบถามว่าการลงเนิน(เขา)แบบสามลูกศร แบบมีหินเป็นตุ่มๆลอยๆ+รากไม้
1.การทำงานของโช๊คแต่ละเกรดต่างกันมากมั้ย มีผลอะไรต่อการลงเขาบ้าง
1.1 โช๊คเดิมๆ สปริงน้ำมัน เช่นRST Blaze,หรือ Suntour
1.2 โช๊คลมระดับเริ่มต้น เช่น First,Spinner Aeris



2.ขนาดของวงล้อ
-26
-27.5
-29
"มีแรงก็แซงไป จอดขี้มะไหร่เสร็จกู"
รูปประจำตัวสมาชิก
น้องหนึ่ง
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 10797
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 04:07
Tel: 0891441866
ตำแหน่ง: http://www.thaimtb.com/forum/viewforum.php?f=528
ติดต่อ:

Re: สอบถามการซ้อมลงเนิน(เขา)สามลูกศร

โพสต์ โดย น้องหนึ่ง »

โช้คดีๆ ขี่สนุกกว่าโช้คแย่ๆ ครับ เช่น

รุ่นสูง
- ปรับความแข็งอ่อนได้พอดีกับน้ำหนักตัว
- ปรับความหนึดตอนยุบ (คอมเพรสชั่น) และความหนึดตอนยืด (รีบาวนด์) ได้ละเอียด บางรุ่นปรับได้ยี่สิบกว่าจังหวะ บางรุ่นมีปุ่มปรับหยาบ แล้วมีปุ่มปรับละเอียดไปปรับความละเอียดของปุ่มหยาบอีกที
- บางรุ่น นอกจากปรับความหนืดแยกตอนยุบกับยืดแล้ว ยังแยกตอนยุบช้ากับยุบเร็วด้วย เช่น ขี่ทางราบให้ทำงานเร็วหน่อยจะได้นุ่ม แต่ถ้าโดดแรงๆ ให้หนืดอีกหน่อย จะได้ยุบสุดช้าลง
- แกนโช้คแข็ง ล้อไม่บิดเบี้ยวเมื่อหักเลี้ยวหรือชนอุปสรรค์
- ส่วนใหญ่น้ำหนักจะเบา

รุ่นเริ่มต้น
- บางรุ่นปรับความหนืดไม่ได้
บางรุ่นปรับได้แบบหยาบๆ เช่น ปรับได้ห้าจังหวะ จังหวะแรกไม่หนึดเลย จังหวะห้าหนืดจนแข็งกลายเป็นล็อค
บางรุ่นปรับทีเดียวไปพร้อมกันทั้งตอนยืดตอนยุบ
- แกนโช้คอ่อน ตอนยืนโยกนี่เห็นล้อส่ายกันจะๆ
- ส่วนมากจะหนัก


และอยากให้เข้าใจคำว่า "น้ำมัน" อีกนิดครับ

ถึงแม้โช้คจะแบ่งเป็นลมกับสปริง คือแบ่งจากการใช้ลมหรือสปริงในการรับน้ำหนัก แต่ส่วนใหญ่ในทั้งสองแบบนั่นก็ยังใช้ "น้ำมัน" ในการสร้างความหนืดอยู่ดี

โช้คจักรยานเกือบทั้งหมด จะแบ่งการทำงานไปตามแกนทั้งสองข้างซ้ายขวา ข้างนึงเป็นสปริงรับน้ำหนัก อีกข้างเป็นระบบสร้างความหนืด ข้างนึงที่เป็นสปริง อาจใช้ลมหรือเหล็กก็ได้ ส่วนอีกข้างมักใช้น้ำมัน บังคับไหลผ่านรูเล็กๆ เพื่อสร้างความหนืด

โช้คหลายยี่ห้อมักมีโช้ครุ่นใกล้กัน ที่ระบบสร้างความหนืดเหมือนกัน ต่างกันที่สปริงลมหรือสปริงเหล็ก

โดยทั่วไปสริงเหล็กมักจะนุ่ม ลื่น ทน ดีกว่าปริงลม แต่เสียเปรียบที่น้ำหนัก และปรับเปลี่ยนความแข็งได้ยาก เพราะต้องเปลี่ยนตัวสปริงกันเลย ส่วนสปริงลมเบากว่า เพราะเป็นห้องลมว่างๆ และสามารถปรับความแข็งง่ายๆ แค่เติมลมมากน้อยเท่านั้น


กรณีอยากขี่เข้าป่า ลุยโหด แนะนำให้ดูโช้คราคาประมาณหนึ่งหมี่นบาทขึ้นไปครับ
ร้านจักรยานฝีมือดี มาดึกๆได้

www.thaimtb.com/forum/viewforum.php?f=528
www.facebook.com/HomeMadeBicycle
รูปประจำตัวสมาชิก
vuthvelo
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 367
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.ค. 2014, 02:00
Bike: MASI

Re: สอบถามการซ้อมลงเนิน(เขา)สามลูกศร

โพสต์ โดย vuthvelo »

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ :D
Live The Ride
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร”