หมวกเด็กครับ (LAZER)

จำหน่าย อะหลั่ยเสือภูเขา เสือหมอบ Shimano Cateye แว่นตา King หมวก เสื้อ กางเกง ทีมแข่ง อุปกรณ์ต่าง ๆ

ผู้ดูแล: Nai_Nueng

กฏการใช้บอร์ด
จำหน่าย อะหลั่ยเสือภูเขา เสือหมอบ Shimano Cateye
แว่นตา King หมวก เสื้อ กางเกง ทีมแข่ง อุปกรณ์ต่าง ๆ
ตอบกลับ
Nai_Nueng
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3869
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 07:06
Tel: 08-77942975

หมวกเด็กครับ (LAZER)

โพสต์ โดย Nai_Nueng »

1 ความหมายของสื่อโฆษณา

สื่อโฆษณาคือเครื่องมือทางการตลาดชิ้นหนึ่ง ที่มีหน้าที่นำพาข่าวสาร
ที่ผู้โฆษณาต้องการให้ผู้บริโภค ได้รับรู้และเกิดความต้องการในสินค้า
การที่ผู้โฆษณาจะประสบความสำเร็จทางด้านการสื่อสารผู้โฆษณาควร
ที่จะรู้จักลักษณะของสื่อโฆษณาแต่ละชนิดเพื่อให้เกิดการสื่อสาร
ที่มีประสิทธิภาพสื่อโฆษณาที่นิยมใช้โดยทั่วไป ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์

ความสำคัญของสื่อโฆษณา

สื่อโฆษณานับว่ามีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก กล่าวคือ ในการที่จะพิจารณาเลือกซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือใช้บริการเกี่ยวกับสุขภาพ ผู้บริโภคมักจะเสาะหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งจากสื่อโฆษณา ดังนั้นข้อความเชิญชวนตามสื่อโฆษณารูปแบบที่หลากหลาย จึงมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์ และใช้บริการสุขภาพนั้นๆ ดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพิจารณาสื่อโฆษณาให้ละเอียดรอบคอบว่ามีการให้ข้อมูลที่เป็นจริงหรือมีโฆษณาชวนเชื่อเกินจริงหรือไม่ เนื่องจากหากขาดการพิจารณาอย่างรอบคอบ เชื่อถือข้อความบนสื่อโฆษณาโดยปราศจากการไตร่ตรอง ประกอบกับใช้ความต้องการ ความอยากได้และความปรารถนาของจิตใจเป็นตัวนำทางในการเลือกสินค้ามากกว่าความสมเหตุสมผลจะทำให้ได้รับสินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการสุขภาพที่ไม่สมประโยชน์ และอาจเกิดผลเสียหาย มีอันตรายต่อรางกายและจิตใจของผู้บริโภคได้
================================================================================
2.ประเภทของสื่อโฆษณา

1. สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น วารสาร นิตยสาร แผ่นพับ และโปสเตอร์

2. สื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์

3. สื่อบุคคล เช่น ครู แพทย์ พยาบาล วิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำชุมชน อาสาสมัคร นักเรียน นักศึกษา ดารา และผู้มีชื่อเสียงในสังคม

4. สื่ออินเตอร์เน็ต เช่น เกมส์ออนไลน์ และเว็บไซต์

5. สื่อกิจกรรม เช่น การจัดแถลงข่าว การพาสื่อมวลชนเยี่ยมชมโรงงาน เป็นต้น

6. สื่ออื่นๆ เช่น สื่อวีดิทัศน์ สื่อซีดี แนะนำสินค้า สื่อป้ายโฆษณากลางแจ้ง สื่อโฆษณาเคลื่อนที่


องค์ประกอบของการโฆษณา


องค์ประกอบของการโฆษณาจำแนกออกเป็น 4 ประการ ได้แก่


1. ผู้โฆษณา (advertiser)

คือ เจ้าของสินค้า เจ้าของบริการ ซึ่งจะต้องประสานกับงานด้านการตลาดของหน่วยงานนั้น โฆษณาทุกชิ้นจะต้องปรากฏตัวผู้โฆษณาให้ชัดเจน และผู้โฆษณาจะต้องรับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายใน การโฆษณาทั้งหมด

2. สิ่งโฆษณา (advertisement)

คือ โฆษณาที่ทำสำเร็จรูปแล้ว หรือสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ ที่ประกอบด้วยข้อความ รูปภาพซึ่งจะสื่อ ถึงสินค้าหรือบริการ ที่เห็นอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์ นิตยสาร รวมถึงภาพยนตร์โฆษณา ทางโทรทัศน์และบทโฆษณาทางวิทยุ เป็นต้น

3. สื่อโฆษณา (advertising)

คือ สื่อที่ผู้โฆษณาเลือกใช้ในการเผยแพร่งานโฆษณาไปยังกลุ่มบริโภคเป้าหมาย เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น สื่อโฆษณาเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำโฆษณาไปยังกลุ่มผู้บริโภค สื่อโฆษณาแบ่ง เป็นประเภทต่าง ๆ ตามความเหมาะสมของสินค้าที่ต้องการนำเสนอ นักโฆษณาแบ่งสื่อโฆษณาเป็น 3 ประเภท คือ

3.1 สื่อโฆษณาประเภทสิ่งพิมพ์ (print Media)

เป็นการโฆษณาโดยใช้ตัวหนังสือเป็นตัวกลางถ่ายทอดความคิดไปสู่ประชาชน ได้แก่ หนังสือพิมพ์รายวัน หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ นิตยสาร ใบปลิว แผ่นพับ โปสเตอร์ คู่มือการใช้สินค้า แบบตัวอย่างสินค้า (catalogs) เป็นต้น

3.2 สื่อโฆษณาประเภทกระจายเสียงและแพร่ภาพ ( broadcasting media)
เป็นการโฆษณาโดยใช้เสียง ภาพ หรือตัวอักษร ได้แก่ เสียงตามสาย วิทยุ และโทรทัศน์ เป็นต้น

3.3 สื่อโฆษณาประเภทอื่น ๆ

หมายถึง สื่อโฆษณาอื่น ๆ นอกเหนือจากสื่อที่กล่าวแล้วข้างต้น เช่น ภาพยนตร์ อินเทอร์เนต สื่อที่ใช้โฆษณาที่จุดขาย รวมถึงสื่อโฆษณา นอกสถานที่ เช่น ป้ายโฆษณา ที่ติดรถโดยสาร ประจำทางหรือรถแท็กซี่ ป้ายราคาสินค้า ธงราว แผ่นป้ายต่าง ๆ ที่ติดตั้งไว้ตามอาคารสูง ๆ หรือตามสี่แยก ป้ายโฆษณาที่ป้ายรถประจำทาง หรือติดไว้ ณ ที่พักผู้โดยสาร ป้ายโฆษณารอบ ๆ สนามกีฬาเมื่อมีการแข่งขันกีฬานัดสำคัญ ๆ เป็นต้น


4. กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย (consumer)

บุคคลทั่วไปที่รับสารเกี่ยวกับงานโฆษณา ซึ่งหากเกิดความรู้สึกถูกใจ ชื่นชมหรือชอบสินค้าหรือบริการ จะนำไปสู่การตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือบริการได้ ในทางโฆษณากลุ่มผู้บริโภค เป้าหมายจะหมายรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือบริการ

=========================================================================================
3.
อิทธิพลของสื่อโฆษณาเกี่ยวกับสุขภาพ

การเลือกรับสื่อโฆษณามีผลต่อสุขภาพดังนี้

1. ด้านสุขภาพร่างกาย
ผลของการเลือกรับสื่อโฆษณาเกี่ยวกับสุขภาพทางกาย จากการที่ผู้ผลิตได้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันจำนวนมาก ทำให้เกิดการแข่งขันโดยมีการทำให้สินค้าของตนที่ผลิตออกมามีคุณภาพและราคาถูก ย่อมเป็นผลดีต่อผู้บริโภคในการเลือกพิจารณาได้หลากหลาย และสามารถเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียก่อนที่จะตัดสินใจเชื่อ ซื้อสินค้าและบริการเกี่ยวกับสุขภาพต่างๆ เมื่อมีการบริโภคแล้วโอกาสที่จะเกิดความพอใจมีสูง เนื่องจากได้สินค้าที่มีคุณภาพ แต่ถ้าสินค้าบางชนิดมีให้เลือกน้อย ในขณะที่ผู้บริโภคมีความจำเป็นต้องกินและใช้มาก จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตสามารถเอารัดเอาเปรียบได้ง่าย โดยการผลิตสินค้าที่ไม่มีคุณภาพมาขาย ทำให้ส่งผลต่อสุขภาพทางการ เช่น ดื่มนมแล้วเกิดอาการท้องเสีย ผงซักฟอกบางยี่ห้อ ซักแล้วเกิดการแพ้อย่างรุนแรง ดังนั้นสื่อโฆษณาจึงมีอิทธิพลให้คนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หรือใช้บริการต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของผู้บริโภคโดยตรง

2. ด้านสุขภาพจิต

ผลของการเลือกรับสื่อโฆษณาเกี่ยวกับสุขภาพจิต คือ ความรู้สึกพึงพอใจและความไม่พึงพอใจในการบริโภคสินค้าและบริการเกี่ยวกับสุขภาพต่างๆ มีผลอย่างยิ่งต่อสุขภาพจิตของผู้บริโภค เช่น มีการใช้สินค้าที่มีคุณภาพ มีคุณสมบัติเป็นจริงตามคำโฆษณาย่อมส่งผลให้เกิดความพึงพอใจ ส่วนสินค้าและบริการต่างๆ ที่ผู้บริโภคเลือกใช้มีคุณภาพไม่เป็นจริงตามที่ผู้ผลิตโฆษณา ส่งผลเสียหายและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ย่อมทำให้เกิดความไม่พึงพอใจในสินค้าและบริการต่างๆ นอกจากนี้ การซื้อสินค้าหรือบริการสุขภาพบางชนิดอาจมีราคาสูง เมื่อได้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ก็จะก่อให้เกิดความเครียด วิตกกังวลหรือเสียใจกับการตัดสินใจที่ผ่านมาได้ ดังนั้นสื่อโฆษณาจึงส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้บริโภคโดยตรง

3. ด้านสุขภาพสังคม
สื่อที่มีความสร้างสรรค์จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพในทางที่พึงประสงค์ ในขณะที่สื่อที่นำเสนอพฤติกรรมสุขภาพที่ไมเหมาะสม แต่พยายามนำเสนอว่าเป็นค่านิยมของสังคมที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพในทางที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การโฆษณาอาหารประเภทจานด่วน ซึ่งเป็นอาหารที่มีการแข่งขันในการโฆษณาที่สูงมากทั้งที่อาหารเหล่านี้มีปริมาณแคลอรีสูงและมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายในปริมาณต่ำ เด็กหรือเยาวชนที่รับประทานอาหารเหล่านี้มากๆ จึงเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจและโรคมะเร็งบางชนิดในช่วงชีวิตต่อไป ทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขของบุคคลในสังคมต่อไป

4. ด้านสุขภาพปัญญา

สื่อโฆษณามีอิทธิพลต่อสุขภาพทางปัญญา เพราะมีสื่อโฆษณาจำนวนมากที่ใช้กลวิธีการโฆษณาประชาสัมพันธ์จูงใจผู้บริโภคให้มีความต้องการสินค้า ส่งเสริมค้านิยมหรือแบบแผนการดำเนินชีวิตที่เป็นวัตถุนิยมแทนที่จะเป็นการใช้ชีวิตแบบพอเพียงตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เน้นการดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง ด้วนความมีเหตุผล ความรู้จักพอประมาณ และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เช่น การที่เราจะซื้อสินค้าชิ้นหนึ่งเราจะต้องตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผลที่เหมะสมว่าสมควรซื้อหรือไม่ ดังบทกลอนของสุนทรภู่ที่ว่า ”ไม่ควรซื้อก็อย่าไปพิไรซื้อ ให้เป็นมื้อเป็นคราวทังคาวหวาน” ความรู้จักพอประมาณคือซื้อในจำนวนเท่าที่จำเป็น ในราคาที่เหมาะสม การมี๓มิคุ้มกันคือ การมีสติสัมปชัญญะก่อนการตัดสินใจซื้อ ไม่หลงใหลหรือตกเป็นเหยื่อของคำโฆษณา หรือสิ่งจูงใจใดๆ ที่ผู้จำหน่ายนำมาส่งเริมการขาย เช่น ของแถม การใช้ชิ้นส่วนชิงรางวัล เป็นต้น เพราะจะทำให้เราตัดสินใจซื้อสินค้านั้นด้วยความต้องการทางจิตวิทยามากกว่าเป็นการตัดสินใจซื้อโดยใช้เหตุผลและปัญญา

============================================================================================
4
หลักการพิจารณาสื่อโฆษณาเกี่ยวกับสุขภาพ

เนื่องจากการโฆษณาผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพามสื่อต่างๆ มีผลอย่างมากต่อพฤติกรรมผู้บริโภค นักเรียนจึงควรทราบหลักการพิจารณาเพื่อการรู้เท่าทันสื่อโฆษณาเกี่ยวกับสุขภาพดังนี้

1. ฝึกแยกแยะสื่อทางบวกและทางลบ

สื่อทางบวก คือ สื่อที่มีการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ พัฒนาความคิดในเชิงสร้างสรรค์ เช่น การส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเอง การมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน การทำงานด้วนความสามัคคี เป็นต้น สื่อทางลบ คือสื่อที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ กระตุ้นให้มีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องนักเรียนจึงต้องใช้ความคิดวิเคราะห์ และใช้เหตุผลว่าสื่อเหล่านั้นเป็นสื่อทางบวกหรือทางลบ และเราควรเชื่อถือข้อมูลข่าวสารที่นำเสนอโดยสื่อนั้นหรือไม่

2. คำนึงถึงความเป็นจริง

ผู้บริโภคสื่อควรมีทักษะในการเลือกสื่อโฆษณาโดยการพิจารณาด้วยความเป็นเหตุเป็นผล และความเป็นไปได้โดยอู่บนพื้นฐานของความจริงและเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ไม่หลงเชื่อโฆษณาชวนเชื่อที่ใช้ข้อความเกินความเป็นจริง ตัวอย่างเช่น โรลออนนี้ใช้แล้วสวาๆ กรี๊ดเพราะความหอมของกลิ่นกาย ใช้ครีบยี่ห้อนี้ผิวขาวสวยภายใน 7 วัน เป็นต้น เพราะข้อความดังกล่าวมีความเป็นไปได้ต่ำ

3. มีความไวในการรับสื่อ

ผู้บริโภคควรมีพฤติกรรมในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทันเหตุการณ์ทั้งในและนอกประเทศ และมีการวิเคราะห์ข้อมูลในการโฆษณาโดยไม่ไปเชื่อสื่อโฆษณา หลงใหลไปกับสื่อทางลบซึ่งเป็นสื่อที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นการบั่นทอนสุขภาพ

4. ไม่หลงเชื่อง่าย

ข่าวสารบางเรื่องมีผลต่อสุขภาพโดยตรง ควรมีการพิจารณาให้ดีก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ ควรมีการตรวจสอบข้อมูลจากหลายแหล่งเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกันจึงตัดสินใจเชื่อ นักเรียนควรฝึกทักษะโดยการฝึกวิเคราะห์แยกแยะสื่อทางบวกและทางลบการคำนึงถึงความเป็นจริง มีความไวในการรับสื่อและไม่หลงเชื่อง่ายๆ ทักษะต่างๆ นี้จะช่วยให้นักเรียนปลอดภัยจากการถูกหลอกลวงและเป็นเหยื่อของสื่อโฆษณาที่ไม่สร้างสรรค์ได้
=============================================================================
5
บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับสื่อโฆษณา

พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรมีการอบรมสั่งสอน ดูแลบุตรหลาน โดยการชวนพูดคุย ให้คำแนะนำ สร้างแนวคิดในการเลือกสื่อโฆษณาที่ถูกต้อง และเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่บุตรหลาน



โรงเรียน และสถาบันการศึกษาต่างๆ ควรมีการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนมีความรู้เท่าทันสื่อ มีการจัดประสบการณ์ทักษะชีวิตในด้านการเลือกสื่อโฆษณาเพื่อการบริโภคเกี่ยวกับสุขภาพที่เหมาะสมและมีประโยชน์ต่อร่างกาย

ช่องทางสื่อ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการกลั่นกรองและควบคุมโฆษณาที่ผ่านสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ให้เป็นจริงเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้บริโภคถ้าสื่อเผยแพร่ออกมาไม่ดีจะทำให้เกิดการหลงเชื่อและเลียนแบบได้

ผู้ผลิตสื่อโฆษณา ควรมีการผลิตสื่อที่สร้างสรรค์และหยุดโฆษณาที่เกินความเป็นจริง มีจรรยาบรรณในการเป็นผู้ผลิตที่ดี คือ การคำนึงถึงความปลอดภัย จริงใจ และการให้ข้อมูลที่เป็นจริงแก่ผู้บริโภค

หน่วยงานภาครัฐ มีการคุ้มครองเด็กที่ได้รับผลกระทบจาดสื่อโฆษณา มีการสนับสนุนให้หน่วยงานมีส่วยช่วยในการเฝ้าระวังสื่อและให้ข้อมูลที่มีความถูกต้องแก่ผู้บริโภค
===============================================================================
6
Nai_Nueng
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3869
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 07:06
Tel: 08-77942975

Re: หมวกเด็กครับ (LAZER)

โพสต์ โดย Nai_Nueng »

ุ6
แนวทางการเลือกบริโภคอย่างฉลาดและปลอดภัย
1.ก่อนจะเลือกซื้อผลิตภัณ์ต่างๆ ผู้บริโภตจะต้องคำนึงถึงความต้องการก่อนว่าเป็นความต้องการแท้ หรือความต้องการเทียม

2.สิ่งที่ควรคำนึงก่อนเลือกซื้อและบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพทุกชนิด ควรศึกษาฉลากก่อนซื้อทุกครั้ง อย่างน้อยต้องมีฉลากภาษาไทย ชื่อของผลิตภัณฑ์และที่ตั้งของผู้ผลิต หรือ ผู้แทนจำหน่าย วันเดือนปีที่ผลิตหรือวันหมดอายุ สำหรับผลิตภัณฑ์บางชนิดจะมีการแสดงส่วนประกอบหรือตำหรับ วิธีบริโภค ข้อควรระวังในการใช้หรือข้อจำเพราะอื่นๆ ของแต่ผลิตภัณฑ์เพิ่มด้วย หากเราอ่านฉลากจะมีประโยชน์ช่วยให้เราทราบผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องสามารถหลีกเลียงสารบางชนิดที่ทำให้เกิดการแพ้เกิดปัญหาในการบริโภค เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติให้ตรงตามความต้องการได้

3.ในการซื้อผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือบริการสุขภาพจะต้องมีความระเอียดในความพิจารณาถึงประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับจากสินค้าและบริการให้ดีเสียก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการนั้นๆ อย่าให้เสียเปรียบผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการ

4.ถ้าพบว่ามีผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือบริการสุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน ควรแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบทันที่ เพื่อจะได้ดำเนินการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค

5.เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ สินค้าและบริการที่สุขภาพได้มาตรฐาน หรือมีการรับรองคุณภาพกล่าว คือ มีเครื่องหมาย มอก. หรือมีอย. เป็นต้น

6.ถ้าได้รับความไม่เป็นธรรม ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการให้ร้องเรียนได้ที่หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค
===================================================================

7
อิทธิพลของสื่อต่อพฤติกรรมสุขภาพและความรุนแรง
1. สื่อที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพและความรุนแรง

สื่อที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพและความรุนแรง มีดังนี้

1.1 อินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต เป็นสื่อที่มีอิทธิพลและมีบทบาทต่อชีวิตของคนทั่วโลก เนื่องจากเป็นสื่อที่มีความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร มีข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยให้ศึกษาค้นคว้า มีเกมและความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ จึงมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก โดยเฉพาะวัยรุ่นที่ใช้บริการเพื่อความบันเทิงต่างๆ ซึ่งการบริโภคสื่ออินเทอร์เน็ตที่ไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดการเลียนแบบและซึมซับพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง สื่ออินเทอร์เน็ตที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพและความรุนแรง มีดังนี้

1. เว็บไซต์ลามก เป็นเว็บไซต์ที่มีคลิปหรือภาพลามก ซึ่งทำให้เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบและนำไปสู่ความรุนแรงทางเพศ

2. การพูดคุยกับคนที่ไม่รู้จักผ่านโปรแกรมสนทนาผ่านเครือข่าย (Chat) ซึ่งนำไปสู่อันตรายและ
ความรุนแรงทางเพศ จากการถูกล่อลวงไปข่มขืนหรือการชิงทรัพย์

3. การโฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งในเว็บไซต์จะมีการโฆษณาสินค้าประเภท เช่น เครื่องสำอาง อาหารเสริม
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยใช้ข้อความโฆษณาที่เกินจริงทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อ และการสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งให้รู้สึกสะดวก สบาย จึงได้รับความนิยมมาก บางครั้งอาจทำให้ได้รับสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ เพราะไม่ได้เลือกหรือเห็นสินค้าจริงก่อนตัดสินใจซื้อ

4. ข่าวหรือข้อมูลที่มีความรุนแรงและเป็นอันตราย เช่น ข่าวนักเรียนนักศึกษาตีกัน ข้อมูลการ
ทำระเบิด สูตรยารักษาโรค ซึ่งอาจนำไปสู่พฤติกรรมการเลียนแบบและการนำไปทดลองปฏิบัติ ซึ่งส่งผลให้เกิดอันตรายได้

1.2 เกมคอมพิวเตอร์

เกมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ความรุนแรง มีส่วนทำให้ผู้เล่นเกมนั้นใช้ความรุนแรงในชีวิตประจำวันได้โดยผู้เล่นมักคิดว่าเป็นการฝึกทักษะความว่องไว พัฒนาชั้นเชิงในการต่อสู่ไล่ล่า การเอาชนะ การทำร้ายการฆ่าฟันกันด้วยวิธีและอาวุธต่างๆ หากกระทำเป็นประจำ ก็ย่อมทำให้เกิดการซึมซับความรุนแรงไว้ในจิตใจมากขึ้น ซึ่งจะให้
ผู้เล่นมีความก้าวร้าว พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้ความรุนแรงมากขึ้น

1.3 สื่อทางลบ

สื่อต่างๆ ในสังคมมีมากมาย สำหรับสื่อทางลบคือสื่อที่อาจทำให้ผู้เสพเกิดพฤติกรรมทางลบได้
สื่อทางลบที่เป็นปัญหาอยู่ในสังคมไทย มีดังนี้

1. สื่อลามก เช่น หนังสือโป๊ หนังสือการ์ตูนลามก หนังสือที่มีภาพโป๊ วีซีดีลามก ซึ่งสื่อเหล่านี้หาซื้อ
ได้ง่าย และเมื่อวัยรุ่นส่วนใหญ่ได้เสพสื่อเหล่านี้ ก็เป็นสาเหตุที่จะนำไปสู่การกระทำรุนแรงทางเพศได้ เพราะ
จะทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศจนยับยั้งห้ามใจไม่ได้ ต้องมีการระบายอารมณ์ทางเพศ จึงเกิดเหตุการณ์ข่มขืนได้

2. ภาพยนตร์ที่นำเสนอความรุนแรง เช่น วีซีดี หรือดีวีดีภาพยนตร์ที่มีการใช้ความรุนแรงต่อสู้ ฆ่าฟันกัน
เมื่อดูเป็นประจำก็จะซึมซับอยู่ในจิตใจ และคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาจึงเกิดพฤติกรรมเลียนแบบความรุนแรงได้

3. ละครโทรทัศน์ที่นำเสนอความรุนแรง ละครที่นำเสนอเนื้อหาการใช้ความรุนแรงต่อกันตามบทบาทที่
ผู้แสดงได้รับ เช่น ฉากผู้หญิงตบตี ด่าทอ แย่งชิงคู่รักกัน ผู้ชายต่อสู้ ทำร้ายกัน การทะเลาะวิวาทกัน ซึ่งจะทำให้
ผู้ชมอยากติดตามและซึมซับความรุนแรงจากตัวละคร มีอารมณ์ร่วมด้วย จนเกิดการเลียนแบบตัวละครโดย
ไม่รู้ตัว

4. ข่าวเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรง ซึ่งปรากฏในสื่อวิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือหนังสือพิมพ์ ทำให้ผู้อ่านและผู้ชมข่าวเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงจากสื่อต่างๆ นั้น ซึมซับความรุนแรงโดยไม่รู้ตัว และอาจนำความรุนแรงที่ซึมซับไว้นั้น ไปใช้ในสังคมจนเกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น

5. หนังสือพิมพ์ที่มีภาพและเนื้อเรื่องเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงและการโฆษณาชวนเชื่อ หนังสือและ
นิตยสารบางเล่มจะมีการแพร่ภาพและเนื้อหา หรือนำข่าวที่เกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงบรรจุไว้ในหนังสือ เมื่อ
ผู้อ่านได้อ่านได้อ่านก็จะซึมซับความรุนแรงจากภาพและเนื้อเรื่อง และอาจนำความรุนแรงที่ซึมซับไว้นั้นไปใช้กับผู้อื่น นอกจากนี้นิตยสารยังมีการโฆษณาสินค้าที่ใช้ข้อความดึงดูดใจ หรือใช้ผู้โฆษณาที่มีชื่อเสียง ทำให้
ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าจากสื่อโฆษณาดังกล่าวโดยไม่พิจารณารายละเอียดของสินค้าไห้รอบคอบ



2. อิทธิพลของสื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพและความรุนแรง

สื่อต่างๆ มีอิทธิพลต่อการสร้างหรือเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมของบุคคล ทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบหรือทำตามอย่างสิ่งที่เผยแพร่ผ่านสื่อ เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่ทันสมัย ทำแล้วได้รับความสนใจ สื่อจึงมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพและความรุนแรง ดังนี้

2.1 การทะเลาะวิวาท การนำเสนอข่าวการทะเลาะวิวาทของนักเรียนหรือนักศึกษาผ่านสื่อต่างๆ ทำให้เกิด
การเลียนแบบพฤติกรรมความรุนแรง โดยเฉพาะข่าวการถ่ายคลิปวีดีโอการทำร้ายร่างกายกันที่เผยแพร่สื่อต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรทัศน์

2.2 การซื้อสินค้าตามโฆษณา การซื้อสินค้าที่โฆษณาโดยใช้ดารานักร้องที่มีชื่อเสียง โดยไม่พิจารณา
คุณภาพของสินค้า ซึ่งอาจทำให้ได้สินค้าที่ไม่ได้คุณภาพเพราะไม่ได้เห็นสินค้าจริงก่อนซื้อ

2.3 การมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง เช่น รับประทานอาหาร
เสริมแทนการรับประทานอาหาร การรับประทานอาหารฟาสต์ฟูด เพราะเห็นโฆษณาจากสื่อเป็นประจำ และคิดว่าเป็นค่านิยมที่ถูกต้องทันสมัย ทำให้มีนิสัยใช้เงินฟุ่มเฟือย และเกิดปัญหาการเจ็บป่วยจากโรคเรื้อรัง

2.4 การใช้สารเสพติด การใช้สารเสพติดที่ไม่ผิดกฎหมายอย่างบุหรี่ หรือสุรา โดยเลียนแบบจากดารา
นักร้องที่มีชื่อเสียงหรือตนเองชื่นชอบ ในละครหรือภาพยนตร์ เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่ทันสมัย

2.5 การแต่งกายตามแฟชั่น การแต่งกายของดารานักร้องหรือภาพแฟชั่นเสื้อผ้าที่ปรากฏบนนิตยสาร
หรือหนังสือบันเทิงซึ่งบางครั้งเป็นการแต่งกายที่ล่อแหลม เช่น ใส่กระโปรงหรือกางเกงขาสั้น เสื้อกล้าม
สายเดี่ยว ซึ่งส่งผลให้เกิดอันตรายทางเพศ






.
ไฟล์แนบ
114blue[1][1].jpg
114blue[1][1].jpg (68.22 KiB) เข้าดูแล้ว 1615 ครั้ง
Nai_Nueng
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3869
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 07:06
Tel: 08-77942975

Re: หมวกเด็กครับ (LAZER)

โพสต์ โดย Nai_Nueng »

:D
ตอบกลับ

กลับไปยัง “D-CyCle”