ข้อควรรู้ก่อนการเลือกใช้งาน Power Meter สักแบรนด์ โดยมุมมองจากผู้ใช้งานในการปั่นจริง Pt.2

คุณภาพสินค้ามาตรฐาน ต้อง Bike-Boulevard

ผู้ดูแล: B Team

กฏการใช้บอร์ด
คุณภาพสินค้ามาตรฐาน ต้อง Bike-Boulevard
ตอบกลับ
B Team
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 211
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2013, 18:23
Tel: 092-452-6264

ข้อควรรู้ก่อนการเลือกใช้งาน Power Meter สักแบรนด์ โดยมุมมองจากผู้ใช้งานในการปั่นจริง Pt.2

โพสต์ โดย B Team »

content 16-11-63_201117_5.jpg
content 16-11-63_201117_5.jpg (163.9 KiB) เข้าดูแล้ว 1055 ครั้ง
ในพาร์ทแรกเราได้พูดถึงข้อควรรู้ก่อนเริ่มต้นใช้งานพาวเวอร์มิเตอร์ในแง่มุมของส่วนประกอบที่จะทำให้สามารถวัดรอบขาได้โดยที่ไม่มีความผิดเพี้ยน และ ค่าวัตต์ที่กระโดดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ว่ามันเป็นอย่างไร มีอะไรที่น่าสนใจในเรื่องเหล่านั้น และในพาร์ทที่ 2 นี้เราจะพูดถึงเรื่องของระบบการเชื่อมต่อที่หลายๆ ท่านที่ปั่นจักรยานจะได้ยินชื่อสัญญาณนี้และคุ้นหูเป็นอย่างดีคือ ANT+ Bluetooth และเรื่อง LR Power Meter Systems ที่นักปั่นสายจริงจังค่อนข้างจะซีเรียสเรื่องนี้ครับ
content 16-11-63_201117.jpg
content 16-11-63_201117.jpg (188.02 KiB) เข้าดูแล้ว 1055 ครั้ง
ระบบการเชื่อมต่อแบบ ANT+ เป็นวิธีหลักที่อุปกรณ์เสริมจักรยานหรืออุปกรณ์สำหรับออกกำลังกายจะมีวิธีการเชื่อมต่อแบบนี้ โดยการเชื่อต่อรูปแบบนี้เป็นวิธีการใช้งานแบบง่ายมากๆ คล้ายกับการเชื่อมต่อแบบ Bluetooth แต่เป็นการจับคู่ที่ทำได้ง่ายกว่า มีความสามารถในการบันทึกอุปกรณ์ได้ดี แถมยังเป็นระบบที่เชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์ได้หลายตัวในเวลาเดียวกันอีกด้วย และมีการระบุอุปกรณ์ที่มี ANT+ ด้วยรหัสตั้งแต่ 1 ถึง 65535 สัญญาณจะสื่อสารกันโดยการส่งหน้าข้อมูลที่เป็นตัวเลขเฉพาะสำหรับหน้านั้น ตัวอย่างเช่น พาวเวอร์มิเตอร์ที่สามารถวัดค่าวัตต์และรอบขาหนึ่งตัวก็จะมีเลขรหัสสำหรับ ANT+ ระบุไว้และเมื่อเราทำการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อย่างไมล์จักรยานเราก็จะเห็นตัวเลขของสัญญาณนั้นชัดเจน
content 16-11-63_201117_0.jpg
content 16-11-63_201117_0.jpg (138.52 KiB) เข้าดูแล้ว 1055 ครั้ง
ช่องสัญญาณของระบบ ANT+ จะเกิดขึ้นที่ความถี่ 2.457 GHz เสมอ สิ่งนี้สำคัญเป็นอย่างมากเพราะช่องสัญญาณของ Wi-Fi ก็ใช้ความถี่นี้เช่นกัน หากมีผู้ใช้อุปกรณ์สองเครื่องที่ใช้ความถี่เดียวกันใกล้ๆ กันก็อาจเกิดการรบกวนได้ ซึ่งการรบกวนเป็นผลมาจากคลื่นวิทยุที่ขัดข้องซึ่งกันและกัน ทำให้ข้อมูลที่ส่งผ่านมาอาจเสียหายได้ ผู้ใช้มักจะพบปัญหานี้ในรูปแบบของการหยุดชะงักหรือความล่าช้าในการแสดงผลของค่าต่างๆ ที่ส่งเข้าไปยังไมล์จักรยานหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการปั่น ในแผนภาพด้านบนคลื่น 2.457 GHz เกิดขึ้นที่ช่องสัญญาณ Wi-Fi 10 แต่ซ้อนทับด้วยช่อง 8, 9, 11 และ 12
content 16-11-63_201117_1.jpg
content 16-11-63_201117_1.jpg (169.48 KiB) เข้าดูแล้ว 1055 ครั้ง
แต่เนื่องจากสัญญาณ ANT+ นั้นวิ่งเป็นเส้นตรงเพื่อไปหาอุปกรณ์เดียวเพื่อทำการเชื่อมต่อและมันได้รับการปรับปรุงสัญญาณที่ความถี่ 2.457 GHz จึงมีโอกาสเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่จะทำให้ค่ามีความเพี้ยนได้ ถึงแม้ว่าจะมีสัญญาณรบกวนมาจาก Wi-Fi ก็ตาม แต่การใช้พาวเวอร์มิเตอร์ก็จะไม่ได้มีผลต่อการรบกวนสัญญาณอื่นๆ หรือสัญญาณอื่นๆ ก็จะไม่ค่อยมีผลต่อพาวเวอร์มิเตอร์เลย โดยทั่วไปการเกิดสัญญาณรบกวนจะเกิดขึ้นเมื่อมีพาวเวอร์มิเตอร์ 50 ตัวขึ้นไปอยู่ใกล้กัน ซึ่งการแก้ไขปัญหานี้ก็มีหลายวิธีในการจัดการขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและการตั้งค่าการแสดงผลหลักบนจอแสดงผลส่วนตัวของผู้ใช้ (ไมล์จักรยาน) ด้วย Stages Power Gen 3 นั้นจะทำให้คุณหมดความกังวลในเรื่องของสัญญาณรบกวนไปได้เลยเพราะว่าพาวเวอร์มิเตอร์ของ Stages Cycling ได้ถูกพัฒนามารุ่นสู่รุ่นจนมาถึงปัจจุบันที่เป็น Gen 3 ที่มีสัญญาณค่อนข้างแม่นยำสูงผ่านการอัปเดตปรับปรุงแก้ไขกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่รุ่นแรกที่ทีม Sky ใช้จนถึงปัจจุบัน การันตีได้จากการได้แชมป์ TDF2020 โดยทีม UAE Emirates ก็ได้ใช้พาวเวอร์มิเตอร์ของ Stages Cycling เช่นกัน
content 16-11-63_201117_2.jpg
content 16-11-63_201117_2.jpg (182.01 KiB) เข้าดูแล้ว 1055 ครั้ง
ถ้าหากพูดถึงเรื่องระบบการเชื่อมต่อไร้สายเราก็คงต้องพูดถึงการเชื่อมต่อแบบ Bluetooth ด้วย เพราะในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์อะไรก็ตามเราก็มักจะเห็นว่ามันมีทางเลือกในการส่งถ่ายข้อมูลผ่านสัญญาณนี้เช่นกัน Bluetooth Low Energy เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อสำหรับการโอนถ่ายข้อมูลไร้สาย แต่ความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุดที่ทำให้มันค่อนข้างจะด้อยกว่า ANT+ สำหรับลูกค้าที่ใช้งาน Power Meter คือพวกเขามักจะใช้การเชื่อมต่อ Bluetooth กับพาวเวอร์มิเตอร์ แต่มันดันใช้ได้กับแค่อุปกรณ์เดียวต่อการเชื่อมต่อครั้งเดียวไม่ได้เชื่อมต่อได้หลากหลายเครื่องเหมือนระบบ ANT+ น่ะสิ ซึ่งหมายความว่าเมื่อเชื่อมต่อผ่าน Bluetooth เข้ากับอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟนหรือไมล์จักรยานแล้ว เมื่อเชื่อมแล้วก็ไม่มีอุปกรณ์อื่นใดที่จะสามารถเชื่อมต่อได้อีกจนกว่าอุปกรณ์เครื่องนั้นจะตัดการเชื่อมต่อ
content 16-11-63_201117_3.jpg
content 16-11-63_201117_3.jpg (214.28 KiB) เข้าดูแล้ว 1055 ครั้ง
ความแตกต่างอีกอย่างเกี่ยวข้องกับวิธีการทำงานของการเชื่อมต่อ Bluetooth คือในขณะที่เชื่อมต่อและส่งข้อมูลผ่าน ANT+ และ Bluetooth ไปด้วย ข้อมูลจะถูกส่งด้วยความถี่เดียวกันเสมอ หากพาวเวอร์มิเตอร์มีทั้งระบบการเชื่อมต่อแบบ Bluetooth และ ANT+ มันจะสามารถโอนถ่ายข้อมูลพร้อมกันได้ โดยย้ายไปมาระหว่างช่องสัญญาณมากมายและสามารถหลีกเลี่ยงความถี่ที่หนักหน่วงเพื่อหลบการรบกวนจากสัญญาณอื่นๆ ได้
content 16-11-63_201117_4.jpg
content 16-11-63_201117_4.jpg (149.16 KiB) เข้าดูแล้ว 1055 ครั้ง
ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ดีสำหรับพาวเวอร์มิเตอร์อย่าง Stages Power Gen 3 ที่ได้รับการพัฒนาระบบส่งสัญญาณมาอย่างดีเยี่ยม ทำให้มีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดการรบกวนกันของสัญญาณจนทำให้ข้อมูลที่ได้ออกมาผิดเพี้ยน และสามารถเชื่อมต่อได้อย่างหลากหลายเป็นอุปกรณ์ที่ครอบคลุมสำหรับการฝึกซ้อม แต่โดยทั่วไปแล้วสำหรับการรวบรวมข้อมูลการขี่จักรยานในร่มมักจะไม่ใช้ Bluetooth กันเนื่องจากมีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์พร้อมกันได้ Stages Power จึงรอบรับได้ทั้ง Bluetoorh และ ANT+ ทั้งนี้ LR Power Meter Systems ใน Stages Power Gen 3 เนื่องจากพาวเวอร์มิเตอร์ด้านซ้ายและด้านขวามีการสื่อสารกันอย่างต่อเนื่องมันจึงรู้ข้อมูลและสัญญาณของกันและกัน และมันจะสามารถทราบได้ว่าข้างใดข้างหนึ่งหยุดทำงานด้วยเหตุผลบางประการ โดยทั่วไปจะเป็นเพราะแบตเตอรี่หรือถ่านข้างใดข้างหนึ่งหมด ในกรณีนี้ถ้าหากข้างใดข้างนึงถ่านหมดอีกข้างจะทำการวัดค่าแทนเป็นสองเท่าโดยที่ยังเชื่อมต่อกับไมล์จักรยานของคุณ
ด้วยการปรับปรุงและแก้ไขมาอย่างยาวนานทำให้ Stages Power Meter Gen 3 เป็นพาวเวอร์มิเตอร์ที่นักปั่นหลายคนบอกว่ามีความเสถียรและมีความคุ้มค่าที่สุดในด้านของราคา จากที่อ่านมาด้านบนเราจะเห็นได้ว่าในเรื่องของสัญญาณนั้นทาง Stages Cycling ได้มีการทดลองและพัฒนามาอย่างดีเพื่อที่จะให้ขาจานพาวเวอร์มิเตอร์ของพวกเขานั้นเป็นขาจานที่สมบูรณ์แบบที่สุดครับ
รูปภาพ
ติดต่อ 092-452-6264
sales@bike-boulevard.com
Line: @bike-boulevard
คลิกเพื่อดู facebook
ตอบกลับ

กลับไปยัง “Bike-Boulevard”