การปรับรถเพียง 1 มิลลิเมตร มีผลมากไหม กี่มิลลิเมตรถึงจะเห็นผล?

คุณภาพสินค้ามาตรฐาน ต้อง Bike-Boulevard

ผู้ดูแล: B Team

กฏการใช้บอร์ด
คุณภาพสินค้ามาตรฐาน ต้อง Bike-Boulevard
ตอบกลับ
B Team
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 211
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2013, 18:23
Tel: 092-452-6264

การปรับรถเพียง 1 มิลลิเมตร มีผลมากไหม กี่มิลลิเมตรถึงจะเห็นผล?

โพสต์ โดย B Team »

29-10-63_201030_7.jpg
29-10-63_201030_7.jpg (131.54 KiB) เข้าดูแล้ว 1394 ครั้ง
ห่างหายกันไปสักพักกับคอนเทนต์เรื่องการทำ Bike Fitting วันนี้เรามีหัวข้อดีๆ เกี่ยวกับการปรับตำแหน่งของจักรยาน โดย พี่เจ๋ Professional Bike Fitter มาฝากกันครับ ในหัวข้อนี้พี่เจ๋ได้ให้สัมภาษณ์เรื่อง 1 มิลลิเมตร มีผลมากไหม กี่มิลลิเมตรจึงจะมีผล ซึ่งต้องบอกก่อนว่าคอนเทนต์นี้เป็นเรื่องของความรู้สึกของแต่ละคน ซึ่งความรู้สึกของคนเรานั้นต่างกัน ลองอ่านบทความนี้ผ่านการแนะนำของพี่เจ๋กันดูครับเพื่อเป็นแนวทางให้นักปั่นหลายๆ คนที่อยากลองปรับตำแหน่งรถจักรยาน
29-10-63_201030_0.jpg
29-10-63_201030_0.jpg (156.68 KiB) เข้าดูแล้ว 1394 ครั้ง
โดย พี่เจ๋ ได้บอกว่า ค่าที่เป็นมิลลิเมตรไม่ว่าจะเป็นในจุดไหนของจักรยาน เมื่อปรับแล้วย่อมมีผลหมด แต่จริงๆ แล้วจะมีผลต่อในแง่ของการวัดค่ามากกว่า ยกตัวอย่างเช่นในทางกายภาพ เพียงแค่ปรับความสูงเบาะเปลี่ยนไป 1 มม. ก็ทำให้แรงดันที่เกิดขึ้นบนเบาะเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน ซึ่งแค่ 1 มม. มนุษย์บางคนก็จะสามารถรับรู้ได้ แต่ความรู้สึกต้องไวและเซนส์ต้องดีระดับนักแข่งเลย แต่สำหรับนักปั่นทั่วๆ ไป โดยเฉลี่ยแล้วจากที่ Dr. Andy Pruit Bike Fitter ชื่อดังของต่างประเทศ บอกว่า คนเราจะสามารถจับความรู้สึกได้ตั้งแต่ 2.5 มม. ขึ้นไป
29-10-63_201030_1.jpg
29-10-63_201030_1.jpg (157.45 KiB) เข้าดูแล้ว 1394 ครั้ง
ซึ่งในเรื่องของการปรับนั้นต้องแยกก่อนว่า “บางจุดก็ปรับเป็นองศา” กับ “บางจุดที่ปรับเป็นมิลลิเมตร” อย่างเช่น เราปรับยกชิฟเตอร์ขึ้น 1 องศา นักปั่นทั่วไปอาจจะไม่รู้สึกก็ได้ แต่นักปั่นที่ปั่นมาสักระยะหนึ่งหรือเป็นระดับนักแข่งจะรู้สึกได้เพราะเซนส์และประสบการณ์ต่างกัน แต่ละคนเลยจะรู้สึกไม่เหมือนกัน มุมเบาะก็เหมือนกัน 0.5 – 1 องศา บางคนรู้บางคนไม่รู้ แล้วมันมีผลอะไรกับเราล่ะ? “มันมีผลในเวลาเราปรับรถ เช่น กรณีปรับชิฟเตอร์ของจักรยานเสือหมอบขึ้น 1 องศา ก็ทำให้การลงน้ำหนักที่มือเปลี่ยนไป และทำให้น้ำหนักที่ลงที่ก้นและเบาะเปลี่ยนไปด้วย เพราะว่ามันมีความสัมพันธ์ไปถึงไหล่ หลัง ก้น ตำแหน่งที่นั่ง ในบางกรณีอาจจะไม่มีผลสัมพันธ์ไปถึงหลายๆ จุด แต่บางกรณีก็มีผลสัมพันธ์ไปถึงจุดอื่นๆ ได้” ซึ่งแล้วแต่ลักษณะทางกายภาพของแต่ละบุคคล พวกแรงดันแรงกดก็จะสามารถวัดได้จากความรู้สึกเช่นกัน อุปกรณ์วัดก็จะวัดด้วยเครื่องมือสำหรับ Bike Fitter โดยเฉพาะของ Gebio Mized ว่าเวลายกชิฟเตอร์ขึ้นมา 1 องศา แรงดันที่เกิดขึ้นที่มือจะเกิดขึ้นเท่าไหร่และมีผลต่อส่วนอื่นไหม

ในหน่วยมิลลิเมตรที่เราจะปรับกันก็จะเจอในส่วนของ ระยะของชิฟเตอร์ (จากชิฟเตอร์ถึงตำแหน่งอ้างอิง) เช่น ใช้ปลายเบาะเป็นตำแหน่งอ้างอิงก็วัดจากปลายเบาะไปถึงชิฟเตอร์ ถ้ามีเครื่องมือเพิ่มเติมก็อาจจะมีระดับน้ำหรือเลเซอร์ระดับน้ำที่ใช้ฟิตติ้งเข้ามาช่วยในการวัด ถ้าไล่จากตั้งแต่ส่วนหน้าของจักรยานไปจนถึงส่วนหลังก็จะมีส่วนที่ปรับเป็นหน่วยมิลลิเมตรอีกหลายจุด เช่น ความยาวของสเต็ม ซึ่งองศาของสเต็มที่ยกขึ้นหรือก้มลงกี่องศาก็สามารถนำไปเปิดตารางเทียบเป็นมิลลิเมตรได้เช่นกันว่าสูงขึ้นหรือต่ำลงกี่มิลลิเมตร
29-10-63_201030_2.jpg
29-10-63_201030_2.jpg (143.26 KiB) เข้าดูแล้ว 1394 ครั้ง
ความยาวระยะเอื้อมของแฮนด์ (ค่า Reach) ยิ่ง Reach เยอะยิ่งเอื้อมเยอะเหมาะกับคนที่มือใหญ่และตัวสูงๆ ค่า Drop ที่เป็นระยะการก้มจับแฮนด์ด้านล่างก็เป็นมิลลิเมตรยิ่งเป็นแฮนด์ระดับนักแข่งก็จะยิ่งก้มเยอะ ความกว้างของแฮนด์จักรยาน (Center to Center) สมัยก่อนก็จะมีระยะให้เลือกน้อยแต่ปัจจุบันก็มีระยะที่ครอบคลุมแล้วเพราะคนหันมาสนใจด้านกายภาพกันมากขึ้น ปัจจุบันก็จะมีตัวเลือกมากขึ้นตั้งแต่ 34-46 ซม. แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนไหล่แคบจะต้องใช้แฮนด์แคบเสมอไป คนที่ไหล่กว้างก็ไม่จำเป็นต้องใช้แฮนด์กว้างเสมอไป ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน เช่น นักแข่งบางคนตัวใหญ่มากแต่ใช้แฮนด์กว้างแค่ 38 ซม. เพราะมันมีความแอร์โรไดนามิกมากกว่า พื้นที่ปะทะลมน้อยกว่า สปรินต์ได้ดีกว่า และ ปั่นลากทีมได้ดีกว่า

ส่วนของแหวนรองคอก็วัดกันเป็นมิลลิเมตรเช่นกัน โดยเวลาวัดตอนทำไบค์ฟิตติ้งก็จะนับรวมฝาปิดถ้วยคอไปด้วย แหวนรองคอจะมีความสูงต่างกันออกไป ส่วนมากจะเห็น 2 มม. 5 มม. แต่จริงๆ แหวนรองคอจะมีตั้งแต่ 1 มม. 2 มม. 3 มม. 5 มม. แล้วก็ไล่เขยิบขึ้นอีกทีเป็นทีละเซ็นติเมตรเลย

ถัดมาจากแหวนรองคอก็จะเป็นความยาวขาจานและความกว้างของกระโหลก (Q factor) ที่จะวัดจากตัวถังเฟรมไปถึงรูบันไดที่ขาจาน ในด้านความยาวขาจานก็เหมือนกับแฮนด์คือขึ้นอยู่กับลักษณะทางกายภาพของบุคคลว่าจะต้องใช้ขนาดเท่าไหร่ บางคนก็ขึ้นอยู่กับความชอบ แต่ในทางการทำไบค์ฟิตติ้งจะเน้นความสบายเป็นหลัก เพราะว่านักปั่นนั้นปั่นออกกำลังกาย แต่ถ้าเป็นนักปั่นระดับแข่งขันหรือปั่นจริงจังก็จะดูลักษณะทางกายภาพและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ เช่น ตัวใหญ่ขายาวแต่ความยืดหยุ่นไม่ดีก็ไม่จำเป็นต้องใช้ขาจานยาวเสมอไป ตัวเล็กขาไม่ยาวแต่ความยืดหยุ่นดีมากก็อาจจะใช้ขาจานยาวได้ เพราะฉะนั้นเรื่องขาจานไม่ได้ตายตัวขึ้นอยู่กับร่างกายผู้ปั่นด้วย
29-10-63_201030_3.jpg
29-10-63_201030_3.jpg (241.18 KiB) เข้าดูแล้ว 1394 ครั้ง
เรื่องบันไดก็จะมีเรื่องของความยาวแกนบันไดจักรยานที่เหมาะสมด้วย แต่เรื่องที่สำคัญกว่าคือความหนาของบันไดจากแกนบันไดไปถึงพื้นรองเท้า ถ้ายิ่งหนาก็จะอารมณ์เหมือนใส่รองเท้าส้นสูง คือความรู้สึกที่เราลงแรงไปจะไม่นิ่งซึ่งมีผลต่อการปั่น ตรงส่วนนี้พื้นรองเท้าก็มีผลด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างคนที่เคยใส่รองเท้าพื้นธรรมดามาตลอดแล้วเปลี่ยนมาใช้รองเท้าตัวท็อปๆ อาจจะไม่รู้สึกเท่าไหร่ แต่ถ้าคนที่ใช้รองเท้าตัวท็อปๆ พื้นคาร์บอนแข็งๆ มาตลอดแล้วเปลี่ยนมาใช้รองเท้าตัวธรรมดาก็อาจจะรู้สึกได้เลยว่ามันย้วยๆ ยวบๆ รู้สึกเหยียบไปแล้วแรงไม่ลงที่บันได เพราะฉะนั้นในการแข่งขันพื้นรองเท้ายิ่งแข็งก็จะยิ่งดี ส่วนสำหรับคนปั่นออกกำลังกายก็ใช้รุ่นที่ไม่แข็งมากและไม่หนาจนเกินไปก็ดี เพราะเรื่องของความแข็งของพื้นรองเท้าไม่ใช่ว่าแข็งแล้วจะดีเสมอไปมันต้องแข็งและไม่กระด้างด้วยถ้ามันกระด้างเวลาปั่นเจอทางที่ไม่เรียบแรงจะสะท้านถึงขาเลยซึ่งตัวช่วยในเรื่องนี้ก็จะเป็นแผ่นรองรองเท้าที่ด้านในก็จะช่วยซับแรงได้ แต่ในส่วนนี้คนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรู้สึกกันสักเท่าไหร่แต่สำคัญ
29-10-63_201030_4.jpg
29-10-63_201030_4.jpg (144.22 KiB) เข้าดูแล้ว 1394 ครั้ง
ต่อไปเรื่องความยาวเบาะ ยาวมากยาวน้อยก็มีผลต่อการขยับตัวไปข้างหน้าหรือถอยหลังในขณะปั่น ปัจจุบันเราจะเห็นว่ามีเบาะที่จมูกสั้นค่อนข้างเยอะแล้ว เบาะจมูกสั้นจะดีตรงที่ระยะจมูกมันสั้นพอปั่นแล้วทำให้จมูกเบาะไม่ไปเสียดสีกับขาในขณะปั่น แต่มันก็มีผลต่อความสบายในบางเวลาเพราะเราไม่สามารถจะขยับตัวไปข้างหน้าได้ อีกเรื่องคือความกว้างของเบาะก็ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนนั่งความกว้างเท่าไหร่แล้วสบาย ก็วัดเป็นมิลลิเมตรเช่นกัน แต่ละยี่ห้อขนาดก็จะต่างกันออกไป บางยี่ห้อก็กว้าง 130 มม. 140 มม. บางยี่ห้อก็จะ 135 มม. 144 มม. 155 มม. 168 มม. แล้วแต่ยี่ห้อว่าจะมีขนาดเท่าไหร่ ถ้าคนใช้เบาะกว้างเกินไปไม่เหมาะสมกับตัวเอง จะรู้สึกได้ว่าเวลาปั่นตัวจะขยับไปด้านหน้าอัตโนมัติเพราะพยายามจะไม่ให้ก้นไปนั่งอยู่ในตำแหน่งปลายเบาะ ในทางกลับกันคนที่ใช้เบาะแคบเกินไปเวลานั่งปั่นก็จะรู้สึกว่าตัวเองจะขยับตัวไปด้านหลังเพื่อหาตำแหน่งที่นั่งแล้วสบายก้นที่สุดจึงต้องหาเบาะที่เหมาะสมกับเราจริงๆ ในส่วนรางเบาะแต่ละยี่ห้อก็มีระยะความยาวไม่เหมือนกันซึ่งเป็นระยะที่เราสามารถปรับเดินหน้าถอยหลังได้ไม่เท่ากันอีก ต่อจากรางเบาะก็จะมีส่วนของความกว้างของแคลมป์จับเบาะหรือตัวหนีบรางเบาะแต่ละยี่ห้อก็จะมีระยะต่างกันออกไปอีก ส่วนมากจะกว้าง 4 มม. แต่บางยี่ห้อก็ 4.5-5 มม. มันทำให้การปรับเลื่อนหน้าถอยหลังได้ไม่มากก็ต้องเลือกดีๆ หรือสอบถามกับผู้ที่ทำไบค์ฟิตติ้งจะดีกว่า

ส่วนความยาวหลักอานก็จะมีหลายแบบขึ้นอยู่กับการออกแบบและเฟรมที่ใช้งานด้วย เช่น จักรยานบางทรงก็เอาหลักอานทรงกลมมาใส่ไม่ได้แต่ก็จะมีหลักอานของเขาโดยเฉพาะให้เลือกความยาวแต่ถ้าหากซื้อมาแล้วยาวเกินไปก็สามารถตัดได้ไม่มีปัญหา โดยทั่วไปแล้วหลักอานทรงกลมจะเป็นอะไรที่ง่ายๆ สบายๆ และ ยิ่งเป็นหลักอานอลูมิเนียมก็เป็นเรื่องที่ยิ่งง่ายไปกว่านั้น เพราะไม่ต้องกลัวว่ามันจะแตกแบบคาร์บอนและหาซื้อได้ง่ายตัดได้ง่าย
29-10-63_201030_5.jpg
29-10-63_201030_5.jpg (170.38 KiB) เข้าดูแล้ว 1394 ครั้ง
ส่วนถ้าถามในเรื่องจุดไหนที่เราควรปรับละเอียดเป็นพิเศษ พอปรับแค่เพียงนิดเดียวรู้สึกเลยว่ามันแตกต่างและเห็นผลทันที ต้องบอกก่อนว่าความรู้สึกของแต่ละคนแตกต่างกัน ส่วนมากเวลาปรับกันเองคนเราจะคิดกันไปเองว่าปรับนิดเดียวแต่รู้สึกดีขึ้นหรือแย่ลง บางคนเอารถไปทำไบค์ฟิตติ้ง คนทำให้ยังไม่ได้ปรับอะไรเลยแค่ขันน็อตให้นิดหน่อยแล้วให้ลองปั่นซ้ำก็รู้สึกว่ามันดีขึ้นแล้ว ซึ่งมันเป็นในเรื่องจิตวิทยาอย่างหนึ่ง คนที่มาทำไบค์ฟิตติ้งบางครั้งรถปรับมาดีในระดับหนึ่งอยู่แล้ว แต่เพียงแค่ผู้ปั่นนั้นขาดความมั่นใจเฉยๆ อย่างที่บอกไปข้างต้นเลยว่าเป็นเรื่องของความรู้สึกของผู้ปั่น เพียงแค่ 1 องศา หรือ 1 มิลลิเมตร บางคนอาจจะรู้สึก บางคนอาจจะไม่รู้สึก แต่ที่แน่ๆ คือการเอารถมาทำฟิตติ้งก็จะได้ความมั่นใจที่มากขึ้น และ ได้ระยะที่เหมาะสมกับตัวผู้ปั่น ทำให้ผู้ปั่นนั้นปั่นสนุก ปั่นสบาย และ มั่นใจในการปั่นยิ่งขึ้น เพียงแค่ 1 มิลลิเมตร ก็อาจจะทำให้คุณปั่นดีขึ้นแล้ว เช่นเรื่องเบาะหรือหลักอาน แค่ 1 มิลลิเมตรก็อาจทำให้คุณรู้สึกได้แล้วว่าแรงไปที่บันไดได้ดีกว่าเดิม หรือ บางคนปรับลงแค่ 1 มิลลิเมตร ก็ทำให้นั่งสบายกว่าเดิม แต่ความจริงแล้วเวลาไล่ระยะในการปรับรถมักจะไล่ให้ลองกันที่ 2-3 มิลลิเมตร เพื่อให้ผู้ปั่นนั้นได้รับรู้ความรู้สึกในแต่ละระยะว่าจุดไหนเป็นยังไงแล้วจุดไหนคือจุดที่พอดีสำหรับผู้ปั่น ต้องบอกก่อนว่าทำไมเราถึงต้องยึดความรู้สึกของผู้ปั่นเป็นหลักทำไมถึงไม่ยึดจากเครื่องมือทำไบค์ฟิตติ้ง เพราะบางครั้งค่าที่ได้จากอุปกรณ์ทำไบค์ฟิ้ตติ้งปรับออกมาแล้วผู้ปั่นก็อาจจะรู้สึกไม่ดีก็เป็นได้ มันเลยต้องดูประกอบกันทั้งสองอย่างทั้งความรู้สึกและค่าที่ได้จากอุปกรณ์แต่เราจะยึดความรู้สึกของผู้ปั่นเป็นหลัก อย่างนักแข่งบางคนปรับให้แค่ 1 มม. จริงๆ ความรู้สึกของเขาก็บอกได้เลยว่ามันไม่ใช่ระยะที่โอเคสำหรับเขาแล้ว

ถ้าถามเรื่องความรู้สึกว่ามันจะรู้สึกได้ยังไง คือ ก็ไม่สามารถตอบได้ เพราะความรู้สึกของแต่ละคนต่างกันอย่างที่บอกไป บางคนปรับไปแล้ว 1-2 มม. ก็ลองนั่งลองเทียบอยู่แบบนั้นไปเรื่อยๆ ปรับแล้วคิดมาก ไม่มั่นใจอยู่แบบนั้น ไม่รู้ว่าเป็นจุดที่มันดีแล้วหรือยัง บางคนปรับแล้วรู้สึกพอใจแต่ลองไปปั่นจริงก็รู้สึกได้ว่ายังไม่โอเคก็มาปรับอีกเรื่อยๆ ถ้าคนทั่วไปที่ไม่มีพื้นฐานเรื่องการวิเคราะห์เชิงกลศาสตร์ ปรับไปก็จะคิดมากอยู่แบบนั้นเพราะไม่มีหลักในการปรับ ได้แต่ลองไปเรื่อยๆ บางทีก็ปรับแล้วออกทะเลไปไกลเลย ไม่รู้ว่าจุดไหนดี แต่บางคนความรู้สึกไวปรับแล้วลองไปปั่นดูก็รู้ได้เลยว่าเราสบายขึ้นหรือแย่ลง เพราะฉะนั้นแนะนำว่าถ้าหากปรับแล้วไม่มั่นใจหรือเราไม่รู้จะปรับหรือใช้อุปกรณ์ยี่ห้อไหนระยะแบบไหน ให้เราหาที่ทำไบค์ฟิตติ้งจะดีกว่าการมานั่งปรับเอง การทำไบค์ฟิตติ้งช่วยอะไรได้มากกว่าที่คิด “นักปั่นทั่วไปที่ไม่เคยผ่านการทำไบค์ฟิตติ้งแล้วปรับรถเองบางคนจะรู้สึกได้ว่าเหมือนเราไม่มีเป้าหมาย คล้ายๆ เหมือนเรามีปืนอยู่หนึ่งกระบอกแต่เราไม่มีเป้าให้ซ้อมยิง เราก็จะไม่รู้เลยว่าเราจะยิงไปทางไหน เหมือนหลับตายิงไปโดยที่ไม่รู้เลยว่าเป้าอยู่ตรงไหน อย่างน้อยถ้าหากผ่านการทำไบค์ฟิตติ้งไปแล้วครั้งหนึ่งก็ทำให้เรารู้ความรู้สึกของตัวเองได้ว่ารถของเราควรจะรู้ในลักษณะประมาณนี้นะ ระยะแบบนี้นะเวลาปั่น”
29-10-63_201030_6.jpg
29-10-63_201030_6.jpg (153.11 KiB) เข้าดูแล้ว 1394 ครั้ง
ถ้าหากถามว่าอุปกรณ์เดิมของเราระยะมันใกล้เคียงกับค่าที่เราทำไบค์ฟิตติ้งออกมาแค่นิดเดียวแล้วเราจะต้องเปลี่ยนไหม? เพราะบางคนอาจจะไม่รู้สึกหรือรู้สึกได้ คำตอบคือบางทีอาจไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแล้วใช้วิธีการปรับส่วนอื่นชดเชยได้ เช่น ปัจจุบันใช้สเต็ม 100 แล้วค่าการทำไบค์ฟิตติ้งออกมาต้องใช้ 105 อันนี้ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนก็ได้ เราอาจจะใช้วิธีการปรับตำแหน่งมือเกียร์ชดเชย หรือ เปลี่ยนระยะของแฮนด์จักรยานเอา บางทีอะไหล่บางชิ้นระยะที่ทำไบค์ฟิตติ้งออกมามันเป็นระยะที่ประเทศเรานั้นหาซื้ออะไหล่ชิ้นนั้นที่ระยะนั้นได้ยากมากๆ เราก็ต้องปรับส่วนอื่นชดเชยเอาเพราะอย่างที่บอกไปว่าทุกส่วนของร่างกายคนเรามีผลสัมพันธ์กันหมดหลักการปรับรถจึงไม่ได้ตายตัวขึ้นอยู่กับว่าปรับแบบไหนผู้ปั่นจะปั่นสบายที่สุดรู้สึกดีที่สุดและใช้อะไหล่หรืออุปกรณ์ที่เรามีให้คุ้มค่ามากกว่าครับ
รูปภาพ
ติดต่อ 092-452-6264
sales@bike-boulevard.com
Line: @bike-boulevard
คลิกเพื่อดู facebook
ตอบกลับ

กลับไปยัง “Bike-Boulevard”