เช็คให้ดี! ซื้อใบจานที่มีค่า BCD ไม่เท่ากับขาจานอาจทำให้ท่านเสียเงินไปฟรีๆ ได้นะครับ

คุณภาพสินค้ามาตรฐาน ต้อง Bike-Boulevard

ผู้ดูแล: B Team

กฏการใช้บอร์ด
คุณภาพสินค้ามาตรฐาน ต้อง Bike-Boulevard
ตอบกลับ
B Team
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 211
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2013, 18:23
Tel: 092-452-6264

เช็คให้ดี! ซื้อใบจานที่มีค่า BCD ไม่เท่ากับขาจานอาจทำให้ท่านเสียเงินไปฟรีๆ ได้นะครับ

โพสต์ โดย B Team »

Artboard 7.jpg
Artboard 7.jpg (165.62 KiB) เข้าดูแล้ว 1520 ครั้ง
เกือบจะ 70% ของนักปั่นที่ปั่นไปได้สักระยะหนึ่งแล้วจะเริ่มมีความรู้สึกได้เลยว่า สิ่งที่มีอยู่นั้นมันไม่เท่หรือมันไม่เหมาะกับเราเอาซะเลย อัปเกรดอัพกรณ์ดีกว่าไหม? สิ่งสำคัญของการซื้ออุปกรณ์จักรยานคือความรู้ในเรื่องอุปกรณ์นั้นๆ เพราะจักรยานเสือหมอบที่เราเห็นกันจนชินตามันไม่ได้มีแค่ที่เราเห็น แต่มันกลับซ่อนรายละเอียดยิบย่อยและค่าต่างๆ ไว้มากมายเหลือเกิน ยิ่งเรารู้เยอะหรือได้ปั่นกลุ่มบ่อยขึ้น ได้เจอจักรยานสวยๆ อะไหล่ดีๆ อุปกรณ์เสริมจักรยานระดับไฮเอนด์ เราจะยิ่งอยากหาอุปกรณ์เสริมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของจักรยานเราให้ดียิ่งขึ้นครับ

ซึ่งใบจานก็เป็นอะไหล่อีกชิ้นที่นักปั่นนั้นนิยมเปลี่ยนกันมาก เพราะด้วยความเท่ที่มีเอกลักษณ์ ความสวยงาม ความแอร์โรไดนามิก ความสติ๊ฟ คุณภาพระดับพรีเมี่ยม ความมีชื่อเสียงของใบจานแต่ละแบรนด์ หรือ อยากเปลี่ยนอัตราทดเกียร์ของชุดขับ ทำให้นักปั่นนั้นมักจะเลือกซื้อใบจานมาใส่แบบข้ามรุ่นหรืออัพเกรดในแบรนด์เดียวกันให้ตัวเองนั้นปั่นได้ดีมีความมั่นใจในการปั่นมากขึ้น แต่หารู้ไม่ว่าใบจานกลับเป็นอีกกรณีหนึ่งที่ทางร้านเซอร์วิสจักรยานบอกได้เลยว่ามีการซื้อผิดแล้วใช้ร่วมกับขาจานไม่ได้เยอะมากถึงแม้จะซื้อใบจานแบรนด์เดียวกับขาจานก็ตาม เพราะเหตุใดมันจึงใช้ไม่ได้ทั้งที่มันก็เป็นแค่ใบจาน? งั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักกับค่า BCD ของใบจานที่นักปั่นหลายคนอาจมองข้ามค่านี้ไปก่อนที่จะซื้อใบจานกันครับ
Artboard 8 copy.png
Artboard 8 copy.png (792.06 KiB) เข้าดูแล้ว 1520 ครั้ง
Bolt Circle Diameter หรือ ค่า BCD ให้อธิบายแบบเข้าใจง่าย คือ ค่าเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมที่ผ่านแนวรูน็อตของใบจาน โดยการวัดนั้นจะต้องวัดจากน็อตยึดใบจาน 2 ตัวที่อยู่ใกล้กัน ถ้าหากน็อตยึดใบจานเป็นแบบ 4 รู สมมาตรที่ระยะห่างของน็อตทุกตัวนั้นห่างเท่ากัน แต่ถ้าหากน็อตยึดใบจานเป็นแบบ 5 รู จะต้องวัดจากน็อตตัวที่อยู่ข้างๆ กัน โดยอาจจะวัดจากน็อตยึดใบจานจุดหนึ่งไปถึงอีกจุด (Center to Center) ก็ได้ เราจะได้ค่าออกมาและนำไปเทียบกับตารางค่า BCD จึงจะรู้ค่า BCD ของใบจานนั้น หรืออีกวิธีสำหรับการวัดค่า BCD ใบจานที่มีน็อตยึด 5 รู คือวัดความห่างของน็อตแล้วนำค่าที่ได้ไปคูณ 1.70 เราจะได้ค่า BCD ออกมาเช่นกันครับ
Artboard 4.png
Artboard 4.png (856.33 KiB) เข้าดูแล้ว 1520 ครั้ง
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการใช้เวอร์เนียหรือไม้บรรทัดในการวัดก็อาจจะมีค่าที่คลาดเคลื่อนไปบ้างเล็กน้อยถ้าหากไม่ชำนาญหรือกะระยะไม่ดี ซึ่งปัจจุบันมีอุปกรณ์วัดค่า BCD โดยเฉพาะแล้ว

ในกรณีของใบจานและขาจาน Shimano ที่หลายๆ ท่านใช้จะสังเกตได้ว่าน็อตยึดทั้ง 4 ตัวนั้นจะไม่ได้เรียงกันแบบสมมาตรคือน็อตทั้ง 4 ด้านไม่เท่ากัน ซึ่งก็อาจจะวัดออกมาแล้วได้ค่าแปลกๆ หรือไม่ตรงกับตารางก็เป็นได้เพราะ Shimano มีค่าที่เป็นค่าของเขาเอง แต่ถ้าหากจะเปลี่ยนใบจานก็สามารถเปลี่ยนได้เพราะ Shimano มีใบจานแต่ละขนาดให้เลือกอยู่แล้วซึ่งเป็นระบบน็อตยึด 4 รูที่เป็นของ Shimano เอง แต่ต้องเป็นรหัสเดียวกัน และในปัจจุบันก็มีใบจานแบรนด์อื่นๆ ที่ทำมารองรับกับขาจาน Shimano ได้แล้ว แต่ก็จำเป็นที่ต้องเช็คระยะความห่างของน็อตแต่ละด้านให้มั่นใจว่าค่านั้นตรงกันจึงจะใส่ด้วยกันได้ครับ
Artboard 8.png
Artboard 8.png (653.29 KiB) เข้าดูแล้ว 1520 ครั้ง
คราวนี้เรามาพูดถึงกรณีที่เราได้กล่าวไปว่ามันเป็นเรื่องของการเปลี่ยนใบจานมาใส่ขาจาน ในปัจจุบันนักปั่นบางท่านนิยมใช้ใบจานและขาจานข้ามแบรนด์กัน เช่น ใช้ขาจาน Sram แต่เปลี่ยนใบจานมาใช้ Rotor หรือ ขาจาน Shimano เปลี่ยนใบไปใช้ Rotor เป็นต้น ขาจาน และ ใบจาน แต่ละแบรนด์แต่ละรุ่น มีค่า BCD ที่ต่างกัน หรือ แม้แต่ขาจานและใบจานแบรนด์เดียวกันบางรุ่นก็ไม่สามารถใช้ข้ามกันได้เพราะว่ามีค่า BCD ที่ต่างกันอีกด้วย หากซื้อใบจานโดยไม่คำนึงถึงค่า BCD ก็จะทำให้ใบจานที่ซื้อมานั้นใส่กับขาจานไม่ได้ทำให้เสียเงินไปฟรีๆ เลย ค่า BCD จึงเป็นค่าที่สำคัญอย่างมากที่นักปั่นสายอัพเกรดอุปกรณ์ต้องรู้ไว้
Artboard 3.png
Artboard 3.png (782.98 KiB) เข้าดูแล้ว 1520 ครั้ง
อย่างที่บอกไปข้างต้นว่าใบจานคนละแบรนด์ ใบจานแบรนด์เดียวกัน ใบจานขนาดเท่ากัน หรือ ขนาดต่างกัน ก็มีค่า BCD ที่ต่างกันออกไปโดยที่เรามองด้วยตาเปล่าไม่ออกเลยเพราะเป็นค่าที่ละเอียดมาก กรณีตัวอย่าง เช่น เมื่อเรามีขาจานอยู่ 2 แบรนด์ ที่เป็นระบบน็อตยึด 5 ตัวเหมือนกัน แต่ ใบจานขนาดต่างกัน คือ ขาจานอันที่ 1 เป็นอะไหล่ที่ไม่ได้ใช้งานแล้วมีใบจานขนาด 56 ฟัน และ ขาจานอันที่ 2 ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันมีใบจานขนาด 52 ฟัน เราอยากจะสลับใบจาน 56 ฟันมาใส่ในขาจานที่เราใช้อยู่ ต้องทำการวัดระยะของน็อตยึดและเทียบค่า BCD ก่อน ถ้าหากออกมาแล้วตรงกันเช่น ได้ค่า BCD อยู่ที่ 130 มม. ก็สามารถเปลี่ยนได้เลย ทางกลับกันคือถ้าค่า BCD ออกมาไม่ตรงกันก็จะไม่สามารถใช้ร่วมกันได้เพราะว่าระยะห่างของน็อตและเส้นผ่านศูนย์กลางของใบจานนั้นกว้างหรือแคบเกินไป ทำในรูน็อตไม่ตรงกันหรือเหลื่อมกันเล็กน้อยก็ไม่สามารถยึดใบจานกับขาจานได้แล้ว มันจึงต้องมีอุปกรณ์ที่วัดค่า BCD โดยเฉพาะที่สามารถรู้ได้ถึงระยะห่างของน็อตและความแม่นยำของค่า BCD ได้
Artboard 9.jpg
Artboard 9.jpg (166.48 KiB) เข้าดูแล้ว 1520 ครั้ง
ซึ่ง Park Tool มีอุปกรณ์ที่จะทำให้การวัดค่านี้เป็นเรื่องง่ายดายและแม่นยำมากๆ คือ CDG-2 Chainring Diameter Gauge เป็นอุปกรณ์ที่สามารถวัดระยะความห่างของน็อตแบบ 4 หรือ 5 รู ไปพร้อมกับบอกค่า BCD ได้เลย และยังมีตารางการเทียบค่าการวัดค่า BCD ให้อีกด้วยเพื่อเช็คความแม่นยำที่อุปกรณ์นั้นวัดได้อย่างละเอียด โดยในตารางนั้นจะบอกค่า BCD ของขาจาน ใบจาน แบบ 4 และ 5 รูที่พบเจอบ่อยและนิยมใช้กันรวมมาไว้ในตารางเดียวให้พี่ๆ ครับ CDG-2 นั้นสามารถใช้วัดค่า BCD กับขาจานและใบจานทุกแบรนด์ได้อย่างแม่นยำ เป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้ได้ทั้งในร้านเซอร์วิสและพี่ๆ นักปั่นสามารถใช้ส่วนตัวที่บ้านได้ เพราะว่าการใช้งานนั้นค่อนข้างง่าย เพียงแค่เราใช้หมุนตรงด้ามของ CDG-2 นี้เสียบไปที่รูน็อตของใบจานและรูน็อตขาจานเพื่อทำการวัด เข็มของอุปกรณ์ก็จะชี้ไปที่ค่าระยะความห่างของน็อตแบบ Center to Center และมีช่องที่สามารถบอกค่า BCD ของใบจานได้พร้อมกันเลย และนำไปวัดที่รูน็อตขาจานถ้าหากค่าที่วัดจากใบจานและขาจานตรงกันก็สามารถใช้ด้วยกันได้ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานได้สะดวกและวัดค่าได้อย่างรวดเร็วประหยัดเวลาในการทำงานของช่างซ่อมจักรยานและพี่ๆ ที่ใช้งานเองที่บ้านด้วยครับผม
รูปภาพ
ติดต่อ 092-452-6264
sales@bike-boulevard.com
Line: @bike-boulevard
คลิกเพื่อดู facebook
ตอบกลับ

กลับไปยัง “Bike-Boulevard”