ระยะเวลาผ่านไปควรตรวจเช็คส่วนไหนของจักรยานบ้าง? Pt.2

ถ้าเป็นรถหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นของเสือหมอบโดยเฉพาะ เชิญเข้าห้องนี้ครับ

ผู้ดูแล: Cycling B®y, spinbike, velocity

ตอบกลับ
B Team
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 211
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2013, 18:23
Tel: 092-452-6264

ระยะเวลาผ่านไปควรตรวจเช็คส่วนไหนของจักรยานบ้าง? Pt.2

โพสต์ โดย B Team »

Content 31-08-63_200831_5.jpg
Content 31-08-63_200831_5.jpg (167.48 KiB) เข้าดูแล้ว 1111 ครั้ง
เดินทางมาถึงพาร์ท 2 แล้วกับการแนะนำการดูแลรักษาส่วนต่างๆ ของจักรยานว่าเวลาผ่านไปนานเท่าใดเราจึงควรเปลี่ยนหรือถอดมาเซอร์วิสส่วนไหนดี ซึ่งในพาร์ทแรกเราได้พูดถึงเรื่องของชุดขับ เฟือง ใบจาน โซ่จักรยาน และ ล้อคาร์บอน กันไปแล้ว พาร์ทนี้เราจะพูดถึงส่วนไหนกันบ้างมาดูกันครับ
Content 31-08-63_200831_0.jpg
Content 31-08-63_200831_0.jpg (157.37 KiB) เข้าดูแล้ว 1111 ครั้ง
สิ่งแรกที่เราจะพูดถึงกันในวันนี้คือ “ผ้าพันแฮนด์” ครับ สิ่งที่พี่ๆ คิดอันดับแรกเลยสำหรับการซื้อผ้าพันแฮนด์น่าจะเป็นเรื่องของความทนทาน ความนุ่มหนึบมือ ความสวยงาม หรือ ซื้อของแพงๆ แบรนด์ดีๆ ไปเลยจะได้ใช้นานๆ ใช่ไหมล่ะครับ แต่ต้องบอกว่าในเรื่องของความทนทานนั้น ถึงผ้าพันแฮนด์จะมีราคาแพงแค่ไหน สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานกับวัสดุที่ใช้ผลิตอยู่ดีครับ เราจึงไม่สามารถจะการันตีอายุการใช้งานของผ้าพันแฮนด์ได้เลย แต่ปกติแล้วผ้าพันแฮนด์บางแบรนด์ก็จะเคลมอายุการใช้งานไว้ว่าใช้ได้ประมาณหนึ่งปี ยกเว้นบางกรณีหากเจอของค้างสต๊อกแล้วมาใช้งานหนักๆ มันก็ยิ่งเสื่อมสภาพไวยิ่งขึ้น การใช้งานผ้าพันแฮนด์หนักๆ ที่เราพูดถึงคืออะไร ยกตัวอย่างเช่น การปั่นตากฝนบ่อย ปั่นเรียบชายทะเล จอดจักรยานตากแดดตากลมนานๆ เป็นต้น
Content 31-08-63_200831_1.jpg
Content 31-08-63_200831_1.jpg (181.72 KiB) เข้าดูแล้ว 1111 ครั้ง
หากคุณปั่นตากฝนบ่อยๆ แล้วปล่อยให้แห้งไปตามกาลเวลา ใต้ผ้าพันแฮนด์ของคุณอาจจะมีเชื้อราสะสม หรือไม่ก็อาจจะมีขี้เกลือเป็นคราบขาวๆ อยู่ใต้ผ้าพันแฮนด์ แน่นอนว่าคราบเหล่านั้นอาจจะไม่ทำอันตรายต่อมือของคุณ แต่มันอาจจะทำให้แฮนด์ของคุณที่ทำมาจากวัสดุแบบใดก็ตามเสื่อมสภาพการใช้งานไวกว่าปกติได้
Content 31-08-63_200831_2.jpg
Content 31-08-63_200831_2.jpg (136.74 KiB) เข้าดูแล้ว 1111 ครั้ง
การจอดจักรยานไว้ในที่แดดแรงๆ ไม่ได้จอดในร่มก็สามารถทำให้ผ้าพันแฮนด์ของคุณเสื่อมสภาพได้ไวยิ่งขึ้น อย่างที่รู้กันว่าแดดประเทศไทยนั้นแรงขนาดไหน ผิวหนังของคนแบบเรายังแสบสะท้านขนาดนี้ นับประสาอะไรกับผ้าพันแฮนด์จักรยานสุดแสนสวยงามและแสนแพงที่เราอุตส่าห์ซื้อมาครับ เพราะฉะนั้นเวลาปั่นตากฝนเราจึงแนะนำว่าให้ล้างจักรยานและเป่าผ้าพันแฮนด์ให้แห้งโดยทันทีครับ เพราะในฝนไม่ได้มีแค่น้ำแต่มันอาจมีสารเคมีบางอย่างที่ติดมากับฝนก็เป็นได้ พยายามตรวจเช็คผ้าพันแฮนด์ของคุณอยู่เป็นประจำก็เป็นเรื่องที่ดีต่อวัสดุของแฮนด์จักรยานของคุณด้วยครับ
Content 31-08-63_200831_3.jpg
Content 31-08-63_200831_3.jpg (152.18 KiB) เข้าดูแล้ว 1111 ครั้ง
สิ่งต่อไปที่สภาพอากาศหรือการใช้งานก็มีผลต่อสิ่งนี้สูงมาก คือ สายสลิงเบรกหรือสายเกียร์ อย่าคิดว่าสายสลิงเบรกหรือสายเกียร์จักรยานของคุณทนทานหายห่วงขนาดนั้น เพราะสายสลิงมีการยืดได้เช่นเดียวกับโซ่ที่เราใช้ไปนานๆ ก็จะมีการยืดหรือสึกหรอไปตามสภาพ แน่นอนว่าอายุการใช้งานของสายสลิงเบรกก็ไม่ได้มีอายุการใช้งานที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับการใช้งานของคุณว่ามากน้อยเพียงใด การดูแลสายสลิงก็เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถจะบอกได้โดยละเอียดว่ามันควรจะดูแลเช่นไร แต่สิ่งที่เราแนะนำให้คุณได้คือ เมื่อคุณใช้งานจักรยานของคุณอย่างหนักหน่วง ไม่ว่าจะปั่นออแดกซ์ ปั่นแข่งขัน ปั่นตากฝน ปั่นเลีบยบชายทะเล คุณควรจะนำจักรยานไปที่ร้านเซอร์วิสจักรยาน เพื่อทำการฟูลเซอร์วิส ตรวจเช็คสภาพรถของคุณให้ครบถ้วน หากสายสลิงขาดคุณอาจจะเปลี่ยนเกียร์หรือเบรกไม่อยู่ในขณะที่ปั่นในชีวิตประจำวันซึ่งจะทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ หรือหากสายเกียร์ของคุณหย่อนเกินไปก็อาจจะทำให้เปลี่ยนเกียร์ไม่ขึ้นหรือไม่สมูทเท่าที่ควร การเช็คสภาพรถหรือฟูลเซอร์วิสบ่อยๆ ก็เป็นเรื่องที่ดีต่อจักรยานของคุณเองครับ หากอยากเช็คคร่าวๆ ให้คุณนั้นลองกำเบรกหรือเปลี่ยนเกียร์ดูว่านั่นใช่ระยะที่คุณเคยชินหรือเปล่า ความรู้สึกของคุณจะบอกได้ว่าประสิทธิภาพการเบรกนั้นลดลงหรือไม่ กำลังในการเบรกดีเท่าเดิมหรือเปล่า หรือ คุณอาจจะต้องลองสังเกตสายสลิงของคุณดูว่ามันมีขุยแล้วหรือไม่ สายสลิงมันแตกลายไม่ม้วนขดกันหรือเปล่า หากเป็นเช่นนั้นก็ถึงเวลาที่คุณจะต้องเปลี่ยนแล้วครับ
Content 31-08-63_200831_4.jpg
Content 31-08-63_200831_4.jpg (170.97 KiB) เข้าดูแล้ว 1111 ครั้ง
ส่วนสุดท้ายในคอนเทนต์นี้ที่เราอยากจะแนะนำให้คุณหมั่นดูแลรักษาคือ คอมโพแนนท์ หรือ จุดค็อกพิท เช่น สเต็ม แฮนด์ หลักอาน จุดนี้เป็นจุดที่เวลาเราออกไปปั่นนั้นมักจะมีเศษหินดินทรายเข้าไปอยู่ตามซอก นักปั่นหลายคนเมื่อไปปั่นจักรยานแบบลุยๆ มาก็มักจะล้างจักรยานเป็นประจำหลังปั่นใช่ไหมครับ แต่หลายๆ คนก็ยังคงไม่นิยมถอดจุดค็อกพิทมาทำความสะอาด เราแนะนำว่าให้ถอดสเต็มกับหลักอานออกมาทำความสะอาดด้วยครับ เพราะว่าเศษหินดินทรายต่างๆ ที่อยู่ตามซอกถ้าล้างออกไม่หมดมันอาจจะทำอันตรายต่อวัสดุของส่วนต่างๆ ของจักรยานได้ เช่น หลักอาน เมื่อปั่นลุยๆ เศษดินทรายก็จะไปติดอยู่ข้างในติดกับจาระบีที่เราทาไปครับ เมื่อเราปั่นจุดหลักอานที่เราขันแน่นไปแล้วเมื่อเรานั่งตอนปั่นจักรยานมันก็เกิดแรงบิดแรงเสียดสีตรงที่ในหลักอาน เมื่อมันยังเหลือเศษหินดินทรายอยู่ก็จะทำความเสียหายกับหลักอานได้และภายในท่อนั่งของเฟรมได้ แรกๆ อาจเป็นรอยขีดข่วนธรรมดา แต่ถ้าเราไม่ล้างให้สะอาดไปนานๆ เข้ามันอาจจะทำลายวัสดุของคุณได้โดยเฉพาะคาร์บอนไฟเบอร์ เมื่อปั่นจักรยานเราควรจะถอดสเต็มและหลักอานออกมาล้างทำความสะอาดแล้วทาจาระบีให้เรียบร้อยก่อนใส่กลับด้วยนะครับ
รูปภาพ
ติดต่อ 092-452-6264
sales@bike-boulevard.com
Line: @bike-boulevard
คลิกเพื่อดู facebook
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เสือหมอบ (roadbike)”