เรื่องเล่าจากปากโปร ตอนที่ 2 การฝึกซ้อม บรรยากาศ และวิถีแห่งโปรยุโรป

ถ้าเป็นรถหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นของเสือหมอบโดยเฉพาะ เชิญเข้าห้องนี้ครับ

ผู้ดูแล: Cycling B®y, spinbike, velocity

ตอบกลับ
giro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3092
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 15:14
Tel: 0865040751
team: Team Bike And Body Cycoling
Bike: Kemo KE-R5, Giant Propel Advance SL, Specialized Alez E5 Revolution
ตำแหน่ง: ซอยอารีย์ พหลโยธิน กทม.
ติดต่อ:

เรื่องเล่าจากปากโปร ตอนที่ 2 การฝึกซ้อม บรรยากาศ และวิถีแห่งโปรยุโรป

โพสต์ โดย giro »

เรื่องเล่าจากปากโปร ตอนที่ 2 การฝึกซ้อม บรรยากาศ และวิถีแห่งโปรยุโรป
13321152_1080453378691601_1096583604_o.jpg
13321152_1080453378691601_1096583604_o.jpg (41.37 KiB) เข้าดูแล้ว 16385 ครั้ง
สือบเนื่องจากตอนที่ 1 "ความฝัน เส้นทาง และก้าวเดินจากเด็กหนุ่มที่มีฝันสู่สัญญาโปรทีมในยุโรป" ที่เราได้ทำความรู้จักกับนักจักรยานหนุ่ม ชาวญี่ปุ่น อากิโนริ ยามามูระ ที่มาพักซ้อมกลางฤดูกาลในบ้านเรา เพื่อระเวลากลับไปแข่งรายการอาชีพให้กับต้นสังกัด ทีมอาชีพระดับ คอนติเน็นตัล ประเทศออสเตรีย กันไปแล้ว ซึ่งบทสัมภาษณ์การสนทนาในวันนั้นยังไม่จบนะครับ ยังมีเรื่องราวเข้มข้นที่น่าสนใจอยู่ ซึ่งวันนี้เราจะมาดูเนื้อหาในตอนที่ 2 ของชีวิตการได้ไปเป็นโปรจักรยานของแท้ อยู่กินและแข่งขันบนถนนของยุโรปกันว่า มีสีสันอย่างไร และการฝึกซ้อมส่วนตัว มีสาระอะไรบ้าง ที่เราน่าจะสามารถนำมาปรับใช้กันได้ ที่สำคัญ ข้อคิดบางอย่าง ของ"มืออาชีพ" ที่ทำให้นักปั่นบ้านๆอย่างเราต้องชะงักและหยุดถามตัวเองว่าตอนนี้กำลังทำอะไรกันอยู่
ย้อนอ่านตอนที่ 1 http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... &t=1442098

.................................


รูปภาพ



อะไรคือกิจวัตรการฝึกซ้อมของคุณครับ ในช่วงปิดฤดูกาล
หลังจากที่จบฤดูกาลแข่งขันช่วงเดือนกันยายนหรือตุลาคม สมาชิกในทีมจะพักประมาณ 1 เดือน ไม่มีการปั่นจักรยานเลย (หัวเราะ และผมทำหน้างงมาก) ผมใช้เวลาครึ่งหนึ่งอยู่ในยุโรปอีกครึ่งหนึ่งกลับไปบ้านที่ญี่ปุ่น ส่วนมากผมจะท่องเที่ยวไปกับเพื่อนนักปั่นอาชีพในประเทศต่างๆและชวนเพื่อนๆไปเที่ยวที่ญี่ปุ่นกับผม เราจัดปาร์ตี้ ดื่ม กิน กันเต็มที่ เพราะพวกเราใช้เวลา 11 เดือนในหนึ่งปีกับการฝึกซ้อม ควบคุมอาหาร ใช้ชีวิตบนการแข่งขันมาตลอด ร่างกายและจิตใจเราเครียดมาก หนึ่งเดือนนั้นหยุดทุกอย่าง และเริ่มอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน เราจะเริ่มต้นเดือนพฤศจิกายนด้วยการปั่นจักรยานเบาๆ ส่วนมากบนเทรนเนอร์ในบ้าน วิ่งบ้าง เดินเขาบ้าง ในเดือนธันวาคม พวกเราจะย้ายไปฝึกซ้อมในแคมป์ยาวที่สเปน เพราะที่นั่นไม่มีหิมะตก (หัวเราะ)


รูปภาพ
ในการซ้อมเดือนพฤศจิกายน ช่วงเริ่มต้นพื้นฐาน คุณใช้เวลาปั่นจักรยานมากแค่ไหนครับ?
เรื่องนี้แตกต่างกันในแต่ละบุคคล แต่สำหรับผม ผมซ้อมอย่างมากไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อครั้ง แต่เน้นไปที่การฝึกกล้ามเนื้อแกนลำตัว และการเสริมยกน้ำหนักเพื่อสร้างความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อในระยะแรกของการฝึกซ้อม ทุกอย่างทำในระดับสบายๆเท่านั้น แม้แต่การปั่นจักรยาน 2 ชม. ผมไม่ได้คุมโซนหรือฝึกเข้มข้น แค่โฟกัสไปที่การขยับขา ทำให้ร่างกายได้เริ่มกระบวนการเผาผลาญ ที่สำคัญคือเผาผลาญเอาไขมันและน้ำหนักที่ได้มาในช่วงหนึ่งเดือนที่พักฤดูกาลออกไปให้หมด (หัวเราะ) เพราะฤดูกาลแข่งขันยาวนาน เราไม่ต้องรีบร้อน



มีกระแสการฝึกซ้อมให้แนวทางเน้นการปั่นระยะยาวๆในช่วงเตรียมฤดูกาล เพื่อสร้างเอนดูแรนซ์ที่ดี คุณทำแบบนั้นหรือไม่ครับ?
ไม่เลย ช่วงพฤศจิกายนและธันวาคม ผมไม่สนใระยะเวลาการปั่น เราแค่กลับมาอยู่บนจักรยานและทำความคุ้นเคยกับมันใหม่ ผ่อนคลาย ปั่นเบาๆ เน้นการสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว (Core Muscle) และเวทเทรนเนิ่ง


รูปภาพ
มาคุยกันเรื่องของการฝึกซ้อมกันบ้างครับ แคมป์เก็บตัวของทีมอาชีพแรกเป็นอย่างไร?
แคมป์แรกคือแคมป์เอนดูแรนซ์ ระยะเวลา 1 สัปดาห์ แต่ใน 7 วันนั้นรวมถึงการแนะนำตัวสมาชิกทีมใหม่ที่เข้ามา สต๊าฟใหม่ๆที่เข้ามา และจะใช้ชีวิตร่วมกันไปอีกหนึ่งปีด้วย เราวัดตัวเพื่อเตรียมชุดจักรยานชุดใหม่สำหรับปีที่กำลังเข้ามา การฝึกซ้อมวันแรกคือการเดินเขาขึ้นไปบนยอดเขาพร้อมกันทั้งทีม นั่งดื่มและชมบรรยากาศบนเขากับสต๊าฟทั้งหมด พูดคุยแลกเปลี่ยนกัน คล้ายๆการคืนสู่เหย้ามาพบกันใหม่ ส่วนการปั่นจักรยานครั้งแรกของทีมในแคมป์ ใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ชม. ด้วยความเร็วสบายๆ เพราะ สต๊าฟทั้งหมด ทั้งทีมงาน คนขับรถ เจ้าของทีม และสปอนเซอร์ มาร่วมกันปั่นกับพวกเราด้วย (หัวเราะ) จนกระทั่งวันสุดท้าย เราปั่นสบายๆ เบาๆ 5 ชม. ไม่มีการเร่ง สปรินท์ใดๆทั้งสิ้น ทุกคนปั่นรวมกัน คุยกันไปเรื่อยๆ มีพักดื่มกาแฟ ในครั้งนั้น สต๊าฟบางคนที่ยังแข็งแรงก็ร่วมปั่นกับเราด้วย (หัวเราะ)

มันสำคัญมากๆเพราะพวกเราต้องอยู๋ด้วยกัน แข่งด้วยกันตลอดทั้งปี เราต้องทำความรู็จักกันเอาไว้ให้มาก การปั่นจักรยานกันไป คุยกันไป แวะดื่มกาแฟ จึงเป็นการทำความรู็จักกันที่ดีที่สุดสำหรับทีมเรา และอีกหลายๆทีมในยุโรปก็เป็นเช่นนี้ จากนั้น ทีมจะแยกย้ายกันไปฝึกซ้อมตามที่แต่ละคนมีโค้ชส่วนตัว สำหรับผม ผมกลับไปญี่ปุ่น เพราะที่ญี่ปุ่นอากาศดีกว่าที่ออสเตรียมาก หรือมาประเทศไทย



แผนการซ้อมของคุณอากิโนริเป็นอย่างไรครับ?
สำหรับผม โค้ชให้แผนการซ้อมของผมมาเป็นการซ้อมระยะสั้นๆมากกว่า สำหรับผมการปั่น 6 ชม. มันน่าเบื่อมาก ที่สำคัญ สำหรับนักปั่นที่ยังอายุน้อย การปั่นระยะสั้นแต่เข้มข้น มีประโยชน์มากกว่าการปั่นยาวๆ 5-6 ชั่วโมง และมากเกินไปสำหรับอายุของผม ถ้าปั่นยาวๆ โค้ชให้ผมปั่นในระยะเวลาเพียง 4 ชม. ในหนึ่งสัปดาห์ จะปั่นยาวๆเพียงแค่ 1-2 วันเท่านั้น นอกจากนั้นเป็นการปั่นคอร์สสั้นๆ อินเทอร์วัลสั้นๆ ซึ่งช่วยพัฒนาได้ดีกว่า และเหมือนกับการแข่งขันที่เราต้องเจอมากกว่าการปั่นนิ่งๆยาวๆ การปั่นสั้นแต่หนัก เราสามารถทำได้ต่อเนื่องกันมากกว่าการปั่นยาวๆ เพราะการปั่นยาวๆแม้จะปั่นเบาก็ตาม ร่างกายจะเกิดความล้าและต้องการการฟื้นตัวมากกว่า แต่การปั่นสั้นแต่หนัก แม้จะเหนื่อยและใช้แรงมาก แต่ร่างกายจะมีความล้าสะสมน้อย ฟื้นตัวได้เร็วกว่า


รูปภาพ
แน่นอนว่าคุณอากิโนริ ใช้พาวเวอร์มิเตอร์ซ้อม คุณเริ่มใช้ตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ?
ปีที่แล้วทีมเราได้รับการสนับสนุนจาก เสตจพาวเวอร์มิเตอร์ ปีนี้เราเปลี่ยนยี่ห้อที่ใช้ แต่ผมเริ่มใช้ตั้งแต่ผมอยู๋ชั้นมัธยม เมื่อครั้งยังอยู่ที่นางาซากิ ผมอ่านหนังสือและเว็บไซท์ต่างประเทศเยอะมากและตัดสินใจใช้พาวเวอร์มิเตอร์ ผมซื้อ SRM รุ่นถูกๆมาจากอีเบย์ และพยายามดูแลรักษามันด้วยตัวเองในระยะนั้น เพราะในเวลานั้น ราคาของพาวเวอร์มิเตอร์ยังสูงมาก แต่ด้วยความจำเป็น ผมจึงเก็บเงินและหามาใช้ให้ได้


รูปภาพ
มีโปรคนไหนที่ไม่ใช้พาวเวอร์มิเตอร์มั้ยครับ? เพราะผมได้เจอกับ วินเซ็นท์ อัง โปรชาวสิงคโปร์ ที่บางครั้งไม่สนแม้กระทั่งไมล์จักรยาน และไม่ได้ใช้วัตต์ในการซ้อม
มีแน่นอนครับ มันแล้วแต่คน ผมเชื่อว่ามันเป็นเรื่องสำคัญนะ สำหรับผมบางช่วงเวลาผมก็ไม่ได้ใช้มัน บางคนใช้ตัวเลขแล้วมันเวิร์ค สำหรับบางคนอาจไม่ใช่แบบนั้น เซ็ดเดอริค สตีบาร์ น่าจะไม่ได้ใช้พาวเวอร์มิเตอร์นะ(หัวเราะ) เค้าแค่กระทืบใส่แรงลงไปให้สุดขีด เราแค่มองหาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เหมาะกับเรา ในการแข่งผมไม่สนใจตัวเลขเลย ใช้แค่ความรู้สึก และบันทึกมันเอาไว้วิเคราะห์ กับส่งให้โค้ชเท่านั้น สำหรับนักแข่งบางคนเช่นคริส ฟรูม พวกเค้าต้องการใช้ตัวเลขเป็นเครื่องมือในการแข่ง แต่ก็ไม่ได้แปลว่าวัตต์เป็นสิ่งสำคัญขนาดนั้น

ในการแข่งขัน วัตต์ไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผมและอีกหลายๆคนในการแข่งอาชีพ หัวใจของการแข่งขันคือการเซฟวัตต์ที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ใช่ดูว่าออกแรงได้กี่วัตต์ ส่วนสำหรับการฝึกซ้อมนั้นเป็นอีกเรื่อง วัตต์คือสิ่งสำคัญที่สุด แต่่ก็ยังมีโปรอีกหลายๆคนที่ไม่ได้ใช้วัตต์นะครับ บางทีพวกเค้าใช้แค่ความเร็ว รอบขา และความรู้สึก



คุณมีโค้ชส่วนตัวมั้ยครับ?
ผมมีโต้ชส่วนตัว 2 คน คอยวางแผนการพัฒนาและวางแผนการซ้อมให้ผมอย่างละเอียด ทีมเราไม่มีโค้ชประจำทีม แต่มีผู้อำนวยการที่ดูแลทิศทางการซ้อมและพัฒนาของแต่ละคน จากนั้นพวกเรานักปั่นอาชีพ ต้งจ้างโค้ชส่วนตัวเพื่อนำเอาทิศทางนั้นมาออกแบบเป็นการซ้อมพิเศษเฉพาะของแต่ละคนที่แตกต่างกัน โค้ชเป็นเรื่องสำคัญมากๆ พวกเราศรัทธาโค้ชที่สุด เมื่อเปรียบเทียบการโค้ชของโค้ชส่วนตัว กับโค้ชสำเร็จรูปที่ให้แผนการซ้อมสำเร็จรูป ถ้าผมซื้อแบบการซ้อมสำเร็จรูปจากที่ไหนมา มันไม่ได้ออกแบบมาเพื่อผม และไม่ได้ยืดหยุ่นได้ แต่โค้ชส่วนตัวให้คำปรึกษาและวิเคราะห์ทุกอย่างอย่างใกล้ชิด มีการสอบถามความรู้สึกของนักปั่น ในบางวัน หากเรารู้สึกไม่ดีกับการปั่นและร่างกายของเรา โค้ชจะผนการซ้อมไม่ได้ทำมาล่วงหน้าเป็นสัปดาห์ๆ แต่จะส่งมาให้ในระยะสั้นๆไม่กี่วันล่วงหน้าเพื่อให้แน่ใจว่ายืดหยุ่นที่สุดสำหรับตัวผม

สำหรับมืออาชีพ เราต้องปรับเปลี่ยนแผนการซ้อมหากเรารู้สึกไม่ดี ดังนั้น แผนการซ้อมสำเร็จรูป แตกต่างจากการฝึกสอนส่วนตัวมาก ยิ่งพวกเรามีการแข่งขันและการเดินทางมากเท่าไหร่ โค้ชยิ่งต้องปรับแผนการซ้อมให้เรามากเท่านั้น ทุกๆการแข่งเราต้องส่งผลการแข่งที่บันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ให้โค้ช จากนั้นโค้ชจะวิเคราะห์จุดบอด จุดอ่อนของผม และออกแบบมาพิเศษ เช่นสัปดาห์นี้ผมแข่งเยอะมาก แล้วส่งข้อมูลไปให้โค้ช ในสัปดาห์ต่อไปที่ผมไม่มีตารางแข่งขัน โค้ชจะส่งแผนการซ้อมเพื่อแก้ไข พัฒนาจุดอ่อนของผมในการแข่งที่ผ่านมาให้เป็นพิเศษ ซึ่งสิ่งนี้แตกต่างจากแผนการซ้อมสำเร็จรูปมาก



แล้วคุณวางแผนจะขี่ในยุโรปไปอีกนานเท่าไหร่? ได้พบกับนักแข่งอาชีพเอเชียบ้างหรือไม่ครับ?
ผมคงจะปั่นจักรยานที่นี่ต่อไปให้ได้นานที่สุด และผมก็ไม่แน่ใจว่ามีชาวเอเชียปั่นจักรยานอาชีพในยุโรปอยู่ซักกี่คน (ผมและคุณอากิโนริ นั่งนับกัน) น่าจะประมาณ 12-15 คน แต่การแข่งอาชีพในยุโรปนั้นเยอะมากๆ และพวกเราแยกย้ายกันอาศัยอยู่ห่างกันมากๆ บางทีเราก็ได้พบกันบ้าง ผมเคยพบนักปั่นชาวจีน ผมก็รู็นะว่าเค้าคือคนจีน แต่ผมก็พูดภาษาจีนไม่เป็น (หัวเราะ) เราก็ทักทายกันตามปกติภาษานักจักรยานอาชีพที่นั่น แต่บางครั้งผมได้พบกับนักแข่งญี่ปุ่น ที่อยู๋ในยุโรป หรือทีมจากเอเชียที่ไปแข่งในยุโรป เราคุยกันเป็นภาษาญี่ปุ่นระหว่างแข่งขันได้ (หัวเราะ)


รูปภาพ
คุณรู็จักทีม Nippo Vini Fantini ที่อิตาลีใช่หรือไม่ครับ? ทีมนั้นเป็นอย่างไร?
Nippo เป็นทีมอิตาลี ที่มีสปอนเซอร์หลักเป็นบริษัทญี่ปุ่นชื่อนิปโป้ ซึ่งนิปโป้เองก็สนับสนุนทีมชาติญี่ปุ่น และการแข่งสำคัญๆในญี่ปุ่น ในทีมมีนักแข่งญี่ปุ่นอยู่หลายคน เป็นการสร้างนักปั่นญี่ปุ่นขึ้นมา แต่พวกเค้าส่วนมากไม่ได้อยู่ในยุโรปแบบผม บางคนเป็นสมาชิกทีมที่เอาไว้แข่งในรายการญี่ปุ่นและรายการเอเชียทัวร์บ้างเท่านั้น มีนักแข่งญี่ปุ่นในทีมเพียงไม่กี่คนที่อาศัยอยู๋ในยุโรปอย่างถาวร ซึ่งมันก็จะเป็นเช่นเดียวกับทีมผม หากผมช่วยให้ทีมได้รับสปอนเซอร์จากญี่ปุ่น ทีมก็ต้องเดินทางไปแข่งขันในญี่ปุ่นเช่นกัน และอาจจะต้องมีนักแข่งญี่ปุ่นในทีมมากขึ้นไปด้วย



คุณมีแผนเกี่ยวกับการแข่งชิงแชมป์ญี่ปุ่น, โอลิมปิค, เอเชี่ยนเกมส์ และชิงแชมป์เอเชียบ้างหรือไม่ครับ?
สำหรับผม ความฝันในตอนนี้คือการได้ร่วมทีมระดับดิวิชั่นสูงสุด ดังนั้นในด้านของทีมชาติน่าจะยังไม่ใช่เป้าหมายของผม ทุกคนอยากเป็นทีมชาติและอยากเป็นแชมป์แห่งชาติตนเอง แต่มันเป็นการยากสำหรับนักแข่งที่อยู่ในยุโรปแบบผม ผมใช้ชีวิตในยุโรปเป็นหลัก หากผมกลับไปแข่งชิงแชมป์ญี่ปุ่น ผมจะต้องแข่งแบบคนเดียว นักแข่งญี่ปุ่นคนอื่นๆมีเพื่อนร่วมทีม มีทีมสังกัดทั้งสมัครเล่นและอาชีพในเอเชีย พวกเค้าจะทำงานร่วมกันได้ ในขณะที่ผมอยู่คนเดียว ดังนั้นในแง่ของเกมส์มันจึงยากมาก และที่สำคัญ ผมไม่ใช่นักปั่นที่แข็งแกร่งที่สุดของญี่ปุ่น (หัวเราะ) ทีมเองก็ไม่อยากลงทุนให้กลับไปแข่งด้วย ดังนั้น นักแข่งเอเชียในยุโรปส่วนมากถึงเค้าจะแข็งแรงมาก ก็เป็นการยากที่จะได้เป็นแชมป์ของประเทศตนเอง

นักแข่งญี่ปุ่นที่แข็งแกร่งที่สุดตอนนี้ผมคิดว่าน่าจะเป็น ยูกิย่า อาราชิโร่ นะครับ เค้าแข็งแรงเป็นบ้า (หัวเราะ) เรามาซ้อมด้วยกันที่เมืองไทย ในเชียงรายด้วยกันบ่อยๆ สาเหตุคงเพราะมาจากพรสวรรค์ของเค้า และการฝึกซ้อมหนักมากๆของเค้า เค้าปั่นทุกวัน บางวัน 7 ชั่วโมง สัปดาห์หนึ่ง 20 ชั่วโมง ถ้าผมทำแบบนั้นผมคงตายแน่ๆ (หัวเราะ) ร่างกายของเค้าเหมาะสมที่จะทำแบบนั้น ตอนอายุ 18 ผมซ้อมหนักมาก เข้าใจว่ายิ่งซ้อมหนักๆยิ่งดี จนเข้าสู่อาการโอเวอร์เทรน ต่อมาเมื่อมีโค้ชส่วนตัว ผมพบว่า การซ้อมที่เหมาะสมต่างหาก คือหัวใจของการซ้อมที่ดี ไม่ใช่เอาแบบอย่างการซ้อมของคนอื่นมาเพื่อซ้อมตามอย่าง ผมฝืนจนโอเวอร์เทรนอยู๋ 1 เดือน และต้องกลับไปพื้นตัวเป็นเวลา 3-4 เดือน ส่งผลให้ผมไม่สามารถลงแข่งในรายการที่ต้องการได้ในเวลานั้น มันแย่เสียยิ่งกว่า



ในระยะหลังจากที่ไปเทิร์นโปรอยู่ยุโรป FTP ของคุณขัยบเพิ่มขึ้นมากแค่ไหนครับ?
ตอนที่ผมอายุ 18 ผมมี FTP ราวๆ 300-310 วัตต์ ตอนนี้เพิ่มมาราวๆ 40-45 วัตต์ ผมพอใจกับพัฒนาการตรงนี้แล้ว สำหรับเพื่อนร่วมทีมของผม มีคนหนึ่งจากโสลวาเนีย ตอนนี้เค้าย้ายไปอยู๋ทีมอเมริกาแล้ว เค้ามี FTP ราวๆ 410 วัตต์ ร่างกายใหญ่โตกว่าผมมากๆ เวลาบนทางราบ ผมกับเค้าต้องอยู่ข้างหน้าพร้อมๆกัน มันแตกต่างกันมาก (หัวเราะ) ถึงแม้ว่าน้ำหนักเค้าจะเยอะมาก และมีสัดส่วนต่อน้ำหนักไม่ต่างกันเท่าไหร่ แต่ในระยะยาว ผมจะเหนื่อยก่อนเค้าอย่างแน่นอนที่ความเร็วเดียวกัน

สำหรับการแข่งขัน FTP และสัดส่วนไม่ใช่สิ่งสำคัญ การสร้างวัตต์ได้เยอะๆ และทักษะในการขี่และควบคุมรถ รวมถึงเทคนิคในการแข่งสำคัญกว่า FTP คุณอาจจะไม่เยอะแต่ฝึกฝนให้ร่างกายสามารถสร้างวัตต์ออกมาในช่วงเวลาที่ต้องการได้มากย่อมมีประโยชน์มากกว่า คนยุโรปตัวใหญ่กว่าเรา มันเป็นสิ่งที่ได้เปรียบมาก เพราะเค้าออกแรงมาก็ได้วัตต์ที่สุงกว่าแล้ว ที่สำคัญ พวกเค้ามีทักษะบนจกรยานที่ดีกว่าพวกเรา มีเทคนิคการแข่งที่ดีกว่าชาวเอเชียมาก ไม่ว่าบนทางราบหรือภูเขา จริงอยู่ที่ผมขึ้นเขาได้เร็วกว่าพวกเค้า แต่ไม่มีการแข่งไหนเริ่มปล่อยตัวที่ตีนเขา (หัวเราะ) อาจเป็นทางราบไป 40-50 กม. แล้วขึ้นเขา ก่อนจะถึงภูเขา ผมก็หมดแรงไปก่อนแล้ว (หัวเราะ) แล้วก็ขึ้นเขาไม่ได้ดีกว่าพวกเค้าอยู่ดี



หน้าที่ของคุณในทีมคืออะไรครับ?
หลักๆผมเป็นโดเมสทีค (Domestique แปลว่าผู้รับใช้) ของทีม เวลาที่ผมลงไปรับน้ำที่รถทีมทางด้านหลัง ผมจะคิดในใจว่าหากไม่สามารถเอาน้ำกลับไปให้เพื่อนร่วมทีมได้ พวกเค้าจะฆ่าผมแน่ๆ (หัวเราะ) เพราะการลงไปรับน้ำที่รถทีม แบกน้ำทั้งหมดกลับมาที่เปโลตองที่ทำความเร็วสูง มันเหมือนกับการออกไปอยู๋ข้างหน้า แถมยังแบกน้ำเต็มตัวอีกต่างหาก ความเหนื่อยไม่ได้แตกต่างกัน แต่ในทีมต้องมีคนทำหน้าที่นี้ ยิ่งหากคุณลงไปรับน้ำ แล้วข้างหน้ากลุ่มมีการยิงกระชาก ทำความเร็ว มันจะเลวร้ายมาก แต่ก็มีเทคนิคในการใช้รถทีมช่วยเหลือให้เรากลับไปที่การแข่งได้โดยที่ไม่ผิดกติกา

บางครั้งผู้จัดการก็สั่งให้ผมเบรคหนีกลุ่มไป ถ้าผมโดนกลุ่มรวบได้ ก็แล้วแต่ว่าผมจะมีแรงปั่นต่อหรือไม่ ถ้าผมหมดแรงจริงๆ ก็ถอนตัวจากการแข่งไปเลยก็ได้ หน้าที่ของผมแค่หนีออกไปจากกลุ่ม เพื่อให้ทีมอื่น คนอื่นต้องทำความเร็วไล่ผม เก็บแรงให้เพื่อนในทีมเท่านั้น ไม่ได้ตั้งใจจะส่งให้ผมหนีไปจนเข้าเส้นชัยจริงๆ มันเป็นกลยุทธ และเมื่อเสร็จสิ้นหน้าที่ ผมก็ถอนตัวจากการแข่งขัน มันสิ้นสุดหน้าที่ของผมแล้ว เพื่อนๆในทีมก็เข้าใจและเราเคารพในงานของแต่ละคน เวลาที่ผมเบรคออกไปกับกลุ่มนักปั่นคนอื่น ผมไม่ได้คิดหรอกว่าผมจะชนะการแข่ง ผมเค้นแรงออกมาเต็มที่แต่คนรอบๆ นักปั่นยุโรปดูเหมือนยังปั่นได้สบายๆ (หัวเราะ) ผมแค่พยายามอยู่ตรงนั้นให้ได้นานที่สุดเพื่อเพื่อนร่วมทีม หากผมโตขึ้น แข็งแรงขึ้น ก็อาจจะเริ่มคิดถึงการชนะการแข่งบ้าง



คุณมีจักรยานกี่คันครับ?
ผมไม่มีจักรยานเลยสักคัน (หัวเราะ) จักรยานทั้งหมดเป็นของทีมเท่านั้น ผมได้รับสำหรับฝกซ้อม 1 คัน และมีอีก 2 คันสำหรับการแข่งขัน รวมทั้งรถไทม์ไทรอัลอีกหนึ่งคัน รวมทั้งสิ้น 4 คัน แต่ทั้งหมดถือเป็นสมบัติของทีมที่ให้ผมยืมใช้ในฐานะนักกีฬาของทีม ไม่ใช่จักรยานของผม จักรยานส่วนตัวของผม ที่นำมาจากญี่ปุ่นได้จากสปอนเซอร์ พังไปในการแข่งนานแล้ว พวกเรานักปั่นอาชีพ เราจะมีจักรยานก็ต่อเมื่อเรามีสัญญา นักแข่งดังๆบางคนสามารถเก็บจักรยานนั้นๆเอาไว้เป็นของส่วนตัวได้ สปอนเซอร์ให้ของมากับทีม ไม่ได้ให้มาที่เรา มันก็ตลกดี ที่นักแข่งสมัครเล่นส่วนมาก มีจักรยานมากกว่าพวกเราเสียอีก (หัวเราะ)



รายการไหนเป็นรายการที่คุณใฝ่ฝันอยากร่วมมากที่สุด?
จากการเป็นนักปั่นอาชีพ ผมไม่เคยได้ไปดูการแข่งจักรยานรายการรายการใหญ่ๆเลย (หัวเราะ) ผมก็นั่งดูจากทีวีเหมือนกัน ผมอยากร่วมรายการแกรนด์ทัวร์รายการไหนก็ได้ ผมอยากลองปั่นโมนูเม็นท์ โดยเฉพาะรายการ ลิเยจ์-บัสตอง-ลิเย่จ์ ซึ่งมีเนินเขาเยอะกว่ารายการคลาสสิคอื่นๆที่น่าจะเหมาะสมกับผม ถ้ารายการปารีส-รูเบซ์ มันเหมาะกับคนร่างกายใหญ่ๆ พลังเยอะๆมากกว่า


รูปภาพ
ถ้าคุณได้พูดกับนักแข่งไทย เกี่ยวกับเรื่องของวัตต์ คุณจะแนะนำอย่างไร?
เอาแบบนี้แล้วกัน ผมมีเพื่อนร่วมทีมในทีมอาชีพคนหนึ่ง ที่มีสัดส่วน FTP ต่อน้ำหนักอยู๋ที่แค่ 4.8 ซึ่งน้อยกว่านักแข่งสมัครเล่นเสียด้วยซ้ำ แต่เค้าเป็นนักจักรยานอาชีพที่ดีมาก เพราะเค้ามีทักษะที่สามารถประหยัดพลังได้ดี รู็จังหวะในการใช้แรงอย่างเหมาะสม และเมื่อต้องออกแรง เค้าออกแรงได้มากไม่แพ้กับคนอื่นๆ สิ่งที่แตกต่างระหว่างมืออาชีพกับสมัครเล่นคือ ความสามารถในการวางตำแหน่ง ทักษะในการขี่ และเทคนิคในการประหยัดพลังงาน ทักษะต่างๆมีความสำคัญพอๆกับเรื่องของพลัง

บางครั้งเราแข่งเสร็จแล้วมาดูผลการแข่งของแต่ละคนบนไมล์ บางคนที่ขี่มาด้วยกัน ตลอดทั้งรายการ เราจบการแข่งพอๆกัน เค้าบอกว่าการแข่งของเค้าหนักมาก ได้ค่า NP เกือบๆจะ 400 แต่พอมาดูของผม ผมกลับขี่ไปที่ NP แค่ 200 นิดๆเท่านั้น นั่นแปลว่าผมประหยัดพลังงานได้ดีกว่า ดังนั้นถ้าให้แนะนำ พลังวัตต์คือสิ่งสำคัญแต่ไม่ใช่ที่สุด มือสมัครเล่นหลายๆคนแข็งแรงกว่าผมมากอย่างแน่นอน แม้แต่โปรในเอเชียเกือบทั้งหมดก็คงแข็งแรงกว่าผม(ผัวเราะ) แต่สิ่งที่ผมเรียนรู็ในยุโรปคือการฝึกฝนทักษะต่างๆ และใช้พลังงานอย่างฉลาด มันเป็นสิ่งอันตรายนะ หากเราสนใจแต่เรื่องของวัตต์ เฝ้าฝึกฝนหาทางมุ่งเน้นไปที่ FTP อย่างเดียว ผมรู็ว่าผมจะกระทืบอย่างไรจะได้แรงเยอะๆ ตัวเลขมากๆ แต่มันไม่ใช่การออกแรงควงบันไดที่เหมาะสมและดีสำหรับการแข่ง ผมอาจจะมีค่าวัตต์บนจอที่สูง แต่เอาไปใช้แข่งไม่ได้

ผมแนะนำให้ลองไปไต่เขา ด้วยค่าวัตต์เดิมซ้ำๆกันหลายๆครั้ง ครั้งที่ 1 ใช้เวลาเท่าไหร่ ครั้งที่สองต้องให้ได้เวลาดีกว่าเดิมที่ค่าวัตต์เดิม เน้นไปที่ร่างกาย ทักษะ การออกแรง และเทคนิคต่างๆจริงๆ ผมก็เคยบ้าคลั่งกับค่าวัตต์มาก่อน แต่เมื่อผมมีโต้ช ผมก็เน้นไปที่เรื่องของทักษะ โดยเฉพาะเมื่อได้มาอยู๋ยุโรป ผมได้เห็นนักแข่งยุโรปทำของเหล่านี้ได้เป็นธรรมชาติ


รูปภาพ
คุณอากิโนริ คิดว่าการทำฟิตติ้งสำคัญขนาดไหน?
อืม.... สำหรับผม ผมสามารถขี่จักรยานคันไหนก็ได้ โทนี่ มาร์ติน ก็ชนะรายการแข่งด้วยจักรยานของเพื่อนร่วมทีมได้ สำหรับโปรแล้ว เราขี่จักรยานอะไรก็ได้ แต่คุณรู้ไหมว่าอะไรคือสาเหตุนั้น? เพราะพวกเรามีร่างกายที่ยืดหยุ่นกว่า เรามีความแข็งแรงของร่างกายและการปรับตัวได้ดี เรามีทักษะที่จะควบคุมจักรยานได้ดีกว่ามือสมัครเล่น ดังนั้น การทำฟิตติ้งจึงไม่ใช่สิ่งที่สำคัญมากสำหรับพวกเรา เราแค่ปรับจักรยานให้ลงตัว จากนั้น ร่างกายของเราจะสามารถปรับตัวได้ ลองเอาจักรยานของคุณ (หมายถึงของผม) มาให้ผมขี่ ผมคงใช้เวลาซัก 10-15 นาที ก็สามารถขี่มันได้และรู็ว่าจะออกแรงแบบไหนให้ได้ความเร็วดีที่สุด

แต่มันจำเป็นสำหรับนักปั่นสมัครเล่น โดยเฉพาะคนที่เพิ่งเริ่ม และมีอาการบาดเจ็บจากการปั่นจักรยาน แต่อย่าลืมว่า การทำฟิตติ้งจักรยานไม่ใช่การตอบโจทย์ทั้งหมด เพราะสิ่งสำคัญคือเราต้องฝึกฝนร่างกายของเราเองให้แข็งแรงและยืดหยุ่นพอที่จะปั่นจักรยานได้ดีด้วย ไม่เช่นนั้น ต่อให้เซ็ทจักรยานออกมาดีแค่ไหน แต่ไม่สามารถวางระเบียบร่างกายและเลือกใช้ท่าทางที่เหมาะสม ก็ไม่ได้ผลการขี่ที่ดี ซึ่งนี่คือสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับการจะเป็นนักขี่จักรยาน



คุณว่าใครจะชนะตูร์ เดอ ฟร็องซ์ ครับ?
(หัวเราะ) ผมเดาว่าคงเป็นคริส ฟรูมมั้ง ไม่มีใครบอกได้ครับ ผมเคยพบเค้าในญี่ปุ่น แต่ไม่เคยได้ปั่นกับเค้า เค้ารู้ว่าผมก็มาเป็นนักปั่นอาชีพในยุโรป เราได้คุยกันนิดหน่อย ก็เท่านั้น


รูปภาพ
อะไรคือช่วงเวลาที่ตลกที่สุดในการเป็นนักปั่นอาชีพของคุณ?
(หัวเราะ) ในการเข้าแคมป์ของทีมเรา เราเช่าบ้านพักอยู่บนยอดเขาที่เต็มไปด้วยหิมะ เราอาศัยอยู่บนนั้น และนั่งดื่มกันอยู๋บนนั้นจนเมา แล้วเดินลงเขาฝ่าหิมะกลับมาที่รีสอร์ทที่พัก เข้าห้องซาวน่า แล้วก็ดื่มเหล้าต่ออีก เป็นแบบนี้รวม 3 วัน 3 คืน ระหว่างแคมป์เก็บตัว (หัวเราะ) หลังจากนั้นทั้งทีมสนิทสนมกันมากขึ้น เป็นช่วงเวลาที่เฮฮาที่สุดในการเป็นนักปั่นอาชีพของผม

ส่วนการแข่งที่น่าจดจำที่สุด เป็นการแข่งในโปแลนด์ ที่อากาศหน้าวมากๆ วันนั้นอุณหภูมิติดลบ 10 องศา และการแข่งมันสุดจะเลวร้าย รายการเสตจเรส(ทัวร์) ที่จบวันแรกที่ระยะทางราวๆ 200 กม. เมื่อมาเจอกับโรงแรมที่ผุ้จัดจัดไว้ให้ มันเหมือนฝันร้าย เพราะไม่มีเครื่องทำความร้อนเลย ผมต้องเอาชุดทั้งหมดที่มี รวมถึงชุดปั่นมาสวมระหว่างนอน ไม่มีที่นอน มีเพียงพื้นปูเอาไว้ให้เท่านั้น เป็นรายการแข่งที่สำคัญของโปแลนด์นะ รายการระดับ 2.1 แต่มันเลวร้ายจนยากจะลืมจริงๆ วันต่อมาฝนตก ตกหนักมากขนาดที่แค่ออกมายืนก็เปียกแล้ว มีอุบัติเหตุเยอะมาก ผมล้มไป 3 ครั้ง เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งวันนั้น ผมแทบจะไม่สามารถขยับได้เลย ขยับนิ้วเพื่อถอดหมวกก็ไม่ได้ ทีมต้องแบกผมไปเข้าห้องอาบน้ำ วันนั้น มีคนจบเสตจแค่ 15 คน ผมจบการแข่งเป็นลำดับที่ 15 ส่วนทีมผมไม่มีคนจบเลยซักคน (หัวเราะ) วันนั้นผมรู็สึกว่าการแข่งจักรยานอาชีพมันหนักเกินไป ไม่อยากทำอีกแล้ว (หัวเราะ)

ส่วนการแข่งที่ตลกที่สุดของผม ที่ลัทเวีย หรือเอสโทเนีย นี่แหละ มีอยู๋ครั้งหนึ่งที่ผมหนีกลุ่มออกมาด้านหน้า พยายามก้มหน้าก้มตาหนีอย่างเดียว จนหลงทาง รถมาร์แชลหายไปไหนก็ไม่รู้ แต่เนื่องจากมองไปด้านหลังผมไม่เห็นเปโลตอง และผมกำลังคิดว่าผมหนีเดี่ยวมาได้ไกลมากๆ วันนี้อาจเป็นโอกาสของผม ผมปั่นต่อไปอีกราวๆ 30 นาที ก่อนที่รถยนต์ที่สิ้นสุดจากการปิดการจราจรเริ่มวิ่งมา ผมเริ่มรู้สึกว่ามันมีอะไรไม่ถูกแล้วล่ะ แต่เวลานั้นผมไม่มีโทรศัพท์ ไม่มีเงินติดตัว ก็ผมกำลังแข่งผมไม่พกของแบบนั้น การแข่งรายการนั้นเป็นรายการเล็กไม่ให้ใช้วิทยุสื่อสารด้วย ผมจึงหยุดยืนรอ แต่เมื่อเวลาผ่านไปผมรับรู้ได้ว่าผมมาผิดทางแน่ๆ ผมไม่รู็ว่าเราต้องไปทางไหน ผมจึงย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้น แต่ที่นั่นก็ไม่มีคนเหลือแล้ว จุดปล่อยตัวเก็บไปหมดแล้ว น้ำดื่มผมก็หมด ที่นั่นไม่มีใครพูดภาษาอังกฤษได้ ผมเข้าไปในร้านกาแฟ ก็ไม่มีใครเข้าใจผม แต่โชคดี มีแฟนจักรยานคนหนึ่งที่เห็นผม เห็นผมมีเบอร์ติดก็เข้ามาช่วยผม และอธิบายว่าผมต้องขี่ไปทางไหนต่อบ้าง ระยะทางแข่งวันนั้นราวๆ 200 กม. แต่ที่ผมเริ่มแข่งและหลงทางวนกลับมาก็เกิน 100 กม. แล้ว ผมคงไม่สามารถขี่ไปอีก 200 เพื่อตามไปเจอทุกคนได้แน่ ชายคนนั้นเขียนที่หมายให้ผม ไปโบกรถเพื่อไปยังเส้นชัย (หัวเราะ) เมื่อไปถึงเส้นชัย ทุกคนตามหาผม แม้แต่ตำรวจก็ออกตามหาตัวผม (หัวเราะ)


รูปภาพ
แล้วอะไรคือสิ่งที่สำคัญและมีค่าที่สุดในการเป็นนักจักรยานอาชีพครับ?
ผมมีแรงบันดาลใจสูงมากในกีฬาจักรยาน ผมเชื่อว่ามันเป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่ต้องการความแข็งแกร่งที่สุด ในยุโรป ทุกคนเชื่อว่าจักรยานเป็นกีฬาสำหรับคนแข็งแกร่งที่สุดเท่านั้น และผมได้มาเป็นนักแข่งอาชีพแบบนี้ มันสร้างความภูมิใจมาก ดังนั้น การได้เป็นนักจักรยานอาชีพ คือสิ่งที่น่าภูมิใจที่สุดสำหรับผมแล้ว


รูปภาพ
นักจักรยานยุโรปและนักจักรยานเอเชีย แตกต่างกันอย่างไรครับ?
ในมุมของนักแข่ง นักแข่งยุโรปมีทักษะสูงมากครับ พวกเค้ารู้วิธีที่จะแข่งขันให้ได้ประสิทธิภาพ แม้แต่นักแข่งสมัครเล่น ทุกคนมีเทคนิคการแข่งที่ดีมาก อาจจะใกล้เคียงกับมืออาชีพ อาจเป็นเพราะวัฒนธรรมและสังคมของนักแข่งจักรยานยุโรปที่มีทีมอาชีพและนักแข่งอาชีพกระจายอยู่มากมาย ดังนั้นนักแข่งสมัครเล่น หรือทีมสโมสร ก็จะได้รับการปลูกฝัง การสอนด้านทักษะที่ดีจากนักแข่งอาชีพสืบต่อกันมา สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่หาได้ยากในเอเชีย และเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้กีฬาจักรยานของยุโรปพัฒนาได้มั่นคงกว่า


รูปภาพ
ถ้าคุณได้พูดกับคนไทยเกี่ยวกับจักรยาน คุณจะพูดอะไรครับ?
สนุกกับจักรยานครับ อย่าซีเรียส สนุกกับเพื่อน ขี่จักรยานให้สนุก การแข่งขันไม่ใช่ทุกอย่าง การแข่งขันเป็นแค่ส่วนหนึ่งของจักรยาน แต่จักรยานมีเสน่ห์อีกหลายๆด้าน แม้แต่พวกเราที่เป็นนักแข่งอาชีพ เราซ้อมอย่างหนัก เราแข่งอย่างซีเรียส แต่เราก็สนุกแล้วมีความสุขกับการได้ขี่จักรยานเล่นๆ เพราะสิ่งที่เราชอบคือจักรยาน

**********************************

เอาล่ะครับถือเป็นการสิ้นสุดบทสัมภาษณ์ในชุดเรื่องเล่าจากปากโปร ที่คั้นเอาเนื้อมาให้เต็มๆกันถึง 2 ตอน จริงๆยังมีเนื้อหาบางส่วนที่ไม่ได้คัดนำมาเผยแพร่ ด้วยเกรงว่าจะล่อแหลมต่อสังคมนักปั่น ทั้งเรื่องการโด๊ปของนักแข่งอาชีพ รวมถึงนั่งเมสท์กันเข้มๆสำหรับแบรนด์วัตต์แบรนด์ต่างๆ พฤติกรรมการใช้ของของบรรดาโปรเป็นอย่างไร พวกนั้นหากนำมาเหลาสู่กันฟัง มันก็จะพาดพิงแบรนด์ไม่มากก็น้อย แต่ไม่ใช่สาระประเด็นสำคัญของการสนทนา ผมเชื่อว่า สิ่งที่ได้รับจากบทสัมภาษณ์ชุดนี้ ทั้งตอนที่ 1 และ 2 น่าจะเป็นทั้งแรงบันดาลใจ และสาระสะกิดใจ ให้เราหันมาคิดกันว่า เราทำอะไรอยู่ เราปั่นจักรยานกันเพื่ออะไร

คุณอาพิโนริ จะอยู่ในประเทศไทยจนถึงวันที่ 13 มิถุนายน แล้วเดินทางกลับไปแข่งที่ออสเตรีย สามารถติดตามข่าวสารของเค้าได้จาก facebook เพจส่วนตัว
https://www.facebook.com/akinori.yamamura.fan/?fref=ts[homeimg=300,250]http://www.thaimtb.com/forum/picture_mt ... 835235.jpg[/homeimg]
ฟังสาระจักรยาน Podcast
https://open.spotify.com/show/76iDUCWXgqqixg1CmoSDIp
ข่าวสารจัรกยาน
https://www.facebook.com/cyclinghubthailand/
ลิงกังปั่นหมอบ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 907
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ส.ค. 2015, 20:50

Re: เรื่องเล่าจากปากโปร ตอนที่ 2 การฝึกซ้อม บรรยากาศ และวิถีแห่งโปรยุโรป

โพสต์ โดย ลิงกังปั่นหมอบ »

อ่านแล้วได้เปิดหูเปิดตามากเลยครับ พี่ Giro

เป็นบทความที่คนไม่ใช่โปรอาชีพจะไม่มีทางเข้าใจความคิดของโปร วิธีการของโปร หลักวิถีแห่งโปร

มีค่าสำหรับผมจริง ๆ ครับ ขอบคุณพี่ Giro ที่สละเวลานั่งเขียนบทความให้อ่านครับ หาอ่านยากมาก

ส่วนเนื้อหาล่อแหลม เย้ายวนจริง ๆ ครับพี่ Giro นำเสนอเถอะ!!!! :mrgreen: :mrgreen: ผมอยากอ่านจริง ๆ นะครับ
หึม...? ผมไม่ได้ปั่นจักรยาน แต่ผมขี่ยานรบต่างหาก!
คิดให้ดี โทษเทคนิคตัวเองก่อนจะโทษจักรยาน
มันไม่ใช่เป็นเพราะจักรยานที่แกปั่น แต่อยู่ที่แกปั่นมันยังไง?
มันไม่ใช่เพราะจักรยานมันงี่เง่าเฮงซวย แต่มันคือแกทำให้มันดูงี่เง่าปัญญาอ่อน
รูปประจำตัวสมาชิก
badminton
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1665
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ส.ค. 2008, 10:38
team: Aonang Jewelry
Bike: จักรยานตราจระเข้

Re: เรื่องเล่าจากปากโปร ตอนที่ 2 การฝึกซ้อม บรรยากาศ และวิถีแห่งโปรยุโรป

โพสต์ โดย badminton »

ขอบคุณครับที่นำมาเล่าสู่กันฟัง
รูปประจำตัวสมาชิก
pranbeach
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 166
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ม.ค. 2014, 20:26
Bike: Trek 1.1, Masi PC3, Java Skeggia, Araya Federal, Dahon Route

Re: เรื่องเล่าจากปากโปร ตอนที่ 2 การฝึกซ้อม บรรยากาศ และวิถีแห่งโปรยุโรป

โพสต์ โดย pranbeach »

ขอบคุณครับ
AortoLock & AortoLock Alarm
http://www.aortolock.com/index.php
รูปประจำตัวสมาชิก
baygon
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 132
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ค. 2012, 15:40
Tel: 084-0910926
team: กลุ่มรักษ์ คลองวาฬ ประจวบฯ
Bike: Surly

Re: เรื่องเล่าจากปากโปร ตอนที่ 2 การฝึกซ้อม บรรยากาศ และวิถีแห่งโปรยุโรป

โพสต์ โดย baygon »

ขอบพระคุณมากครับ สำหรับบทความดีๆแจ้งแล้วครับผม
! .....อีกแจ็ด..โลเอง ด่อ.....!
รูปประจำตัวสมาชิก
isaidok
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 50
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ธ.ค. 2011, 17:03
ตำแหน่ง: สมุทรสาคร

Re: เรื่องเล่าจากปากโปร ตอนที่ 2 การฝึกซ้อม บรรยากาศ และวิถีแห่งโปรยุโรป

โพสต์ โดย isaidok »

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆเพื่อนักปั่นและขอบคุณทีมงานทุกท่านครับ :idea:
Run for tomorrow
โดดเดี่ยว เดียวดาย
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 313
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2013, 23:22
team: ทีมเขี้ยวตัน-นวนคร
Bike: merida scultura 400
ตำแหน่ง: แถวตลาดไท
ติดต่อ:

Re: เรื่องเล่าจากปากโปร ตอนที่ 2 การฝึกซ้อม บรรยากาศ และวิถีแห่งโปรยุโรป

โพสต์ โดย โดดเดี่ยว เดียวดาย »

ขอบคุณครับ
สองล้อพอเพียง อิๆ
Som_lux_
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2015, 16:51
ติดต่อ:

Re: เรื่องเล่าจากปากโปร ตอนที่ 2 การฝึกซ้อม บรรยากาศ และวิถีแห่งโปรยุโรป

โพสต์ โดย Som_lux_ »

เราปั่นจักรยานเพื่ออะไร
รูปประจำตัวสมาชิก
koahz
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ส.ค. 2013, 23:42
Bike: Star Fuckers

Re: เรื่องเล่าจากปากโปร ตอนที่ 2 การฝึกซ้อม บรรยากาศ และวิถีแห่งโปรยุโรป

โพสต์ โดย koahz »

ขอบคุณครับ
jiabhooligan
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 539
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.พ. 2013, 15:25
team: Crazy Bike Phuket
ติดต่อ:

Re: เรื่องเล่าจากปากโปร ตอนที่ 2 การฝึกซ้อม บรรยากาศ และวิถีแห่งโปรยุโรป

โพสต์ โดย jiabhooligan »

ปักไว้ มีประโยชน์
จักยานที่ดีที่สุดคือจักรยานที่ใช้บ่อยที่สุด
รูปประจำตัวสมาชิก
Sirichade
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 77
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ธ.ค. 2019, 22:26
Tel: 0882620547
team: None
Bike: Infinite

Re: เรื่องเล่าจากปากโปร ตอนที่ 2 การฝึกซ้อม บรรยากาศ และวิถีแห่งโปรยุโรป

โพสต์ โดย Sirichade »

มีประโยชน์มากครับ

ขอบคุณคุณgiroครับ
giro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3092
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 15:14
Tel: 0865040751
team: Team Bike And Body Cycoling
Bike: Kemo KE-R5, Giant Propel Advance SL, Specialized Alez E5 Revolution
ตำแหน่ง: ซอยอารีย์ พหลโยธิน กทม.
ติดต่อ:

Re: เรื่องเล่าจากปากโปร ตอนที่ 2 การฝึกซ้อม บรรยากาศ และวิถีแห่งโปรยุโรป

โพสต์ โดย giro »

ปัจจุบัน อากิ ย้ายจากการปั่นเสือหมอบโปรทีม ไปอยู่กับทีมไครทีเรียมอาชีพ "Red Hoo Crit" แล้วครับ ยังคงเดินทางล่าฝันอยู่ต่อไป แม้ว่าคงยากที่จะได้เห็นเขากลับมาสายเสือหมอบปกติแล้วก็ตาม
ฟังสาระจักรยาน Podcast
https://open.spotify.com/show/76iDUCWXgqqixg1CmoSDIp
ข่าวสารจัรกยาน
https://www.facebook.com/cyclinghubthailand/
รูปประจำตัวสมาชิก
Hooley
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 893
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2014, 13:41
Bike: Bianchi Impulso,Trek

Re: เรื่องเล่าจากปากโปร ตอนที่ 2 การฝึกซ้อม บรรยากาศ และวิถีแห่งโปรยุโรป

โพสต์ โดย Hooley »

ขอบคุณครับ
ธ.กรุงเทพ จำกัด พร้อมเพย์ตามเบอร์โทร 086 447 5458
Line ID : jaidee7
ขอบคุณ ThaiMTB ที่เอื้อเฟื้อพื้นที่ระบายของใช้ส่วนตัวครับ
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เสือหมอบ (roadbike)”