FULL Review Fulcrum Racing Quattro ล้อเสือหมอบคาร์บอนยางงัด ที่จัดว่าใช่ในรอบมุม

ถ้าเป็นรถหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นของเสือหมอบโดยเฉพาะ เชิญเข้าห้องนี้ครับ

ผู้ดูแล: Cycling B®y, spinbike, velocity

giro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3092
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 15:14
Tel: 0865040751
team: Team Bike And Body Cycoling
Bike: Kemo KE-R5, Giant Propel Advance SL, Specialized Alez E5 Revolution
ตำแหน่ง: ซอยอารีย์ พหลโยธิน กทม.
ติดต่อ:

FULL Review Fulcrum Racing Quattro ล้อเสือหมอบคาร์บอนยางงัด ที่จัดว่าใช่ในรอบมุม

โพสต์ โดย giro »

FULCRUM Racing Quattro

รูปภาพ
ล้อ Fulcrum บริษัทผลิตล้อรายใหญ่ที่โดดเด่นเรื่องการผลิตล้อคุณภาพสูงสัญชาติอิตาลี นับตั้งแต่ก่อตั้งมาเมื่อปี ค.ศ.2004 ก็ใช้เวลาไม่นานขึ้นมาเน้นการทำล้อเสือหมอบระดับแข่งขันออกมาสู่ตลาดระดับสูง และกระจายสายผลิตภัณฑ์มาสู่ตลาดผู้บริโภคครบทุกช่วงตลาด และในบรรดาซีรีส์ "Racing" ก็มีรุ่น Racing Quattro (เรสซิ่งควอตโตร) ถือเป็นรุ่นตลาดระดับกลาง ที่มาพร้อมกับคุณภาพที่แม้ไม่สูงเท่ากับรับดับโปร แต่ก็ถือว่า มีความลงตัวในการออกแบบเพื่อให้มีสมรรถนะและราคาที่เหมาะสมกับตลาดผู้บริโภคเป็นจุดเด่น
รูปภาพ
ซึ่งซีรีส์ Racing Quattro นี้ไม่ได้เพิ่งมีในตลาด แต่ตัวนี้เป็นตัวที่น่าสนใจด้วยการเป็น Quattro ขอบคาร์บอน ยางงัดแบบฟูลคาร์บอน มาด้วยความสูงขอบแบบเอนกประสงค์ 40 มิลลิเตมร ขอบวัดภายนอกประมาณ 24.2 มิลลิเมตร ขอบด้านใน(Rim Bed) 17 มม. รองรับหน้ายางทำงานได้ดีที่สุดที่ช่วงยาง 700x25c เนื่องจากขอบล้อและแก้มยางจะอยู๋ในแนวเดียวกัน ส่งผลให้ได้เปรียบทางอากาศพลศาสตร์สูงที่สุด แต่ก็สามารถใส่ยาง 700x28c ได้เช่นกัน ในทางกลับกันพบว่าเมื่อใส่ยาง 700x32c ก็ไม่มีปัญหา แต่ต้องอยู๋ที่เฟรมด้วยว่ามีพื้นที่เพียงพอหรือไม่ ที่สำคัญ พบว่ายาง 32 บางตัวเมื่อใส่กับ Quattro จะเกิดปัญหาหน้ายางไม่กลมจากการออกแบบทรงของยางที่เน้นใช้งานกับล้อที่มีขอบและ rim bed ที่กว้างกว่านี้
รูปภาพ
สำหรับขอบที่มีความสูง 40 มม. ถือว่าจัดอยู๋ในกลุ่มขอบล้อแบบ medium profile ที่เป็นล้อในลักษณะ aerodynamic wheels ก็จริง แต่ยังคำนึงถึงคุณลักษณะของการใช้งานที่เอนกประสงค์ สร้างอัตราเร่งได้ดีด้วย ดังนั้น ล้อชุดนี้จึงจัดได้ว่า โดยแนวความคิดในการออกแบบแล้ว ถือว่าเป็นล้อในกลุ่มใช้งานทั่วไป เหมาะกับสภาพเส้นทางที่หลากหลาย สามารถทำความเร็วได้ดีบนทางราบ มีความสามารถทางด้านแอโร่ไดนามิคส์ที่น่าพึงพอใจ รวมถึงการกระชากเร่งและใช้งานบนภูเขาที่ยังใช้งานได้ ซึ่งก่อนอื่นเดี๋ยวเรามาดูปัจจัยกันก่อนครับว่า คุณลักษณะแต่ละอย่างของล้อ มีที่มาที่ไปอย่างไร แล้วเดี๋ยวจะเข้าใจได้ว่า ทำไม Quattro ถึงได้มีความ "ครบเครื่อง" กว่าที่คิด
รูปภาพ


รูปภาพ
พุ่ง
ทุกคนต่างต้องการความ"พุ่ง"กันทั้งนั้น อยากจะใส่ล้อทั้งทีก็อยากให้มันพุ่งๆ ติดเท้า กดเป็นไป ใส่เป็นมาสินะครับ แล้วอะไรคือปัจจัยของความพุ่งของล้อกันล่ะ ? เค้าว่ากันว่าล้อนั้นพุ่งอย่างนั้น อย่างนี้ ร่ำลือกันไปต่างๆนานา แต่แท้ที่จริงมันไม่ใช่เรื่องของ"ความรู้สึก" ล้วนๆอย่างที่คนเข้าใจครับ มันมีเหตุผลทางการออกแบบรองรับเอาไว้อยู่

ปัจจัยแรกของความพุ่งได้แก่ ความเบาของล้อ ล้อคือจุดหมุนสำคัญที่สุดของการออกแรงปั่นจักรยาน ต้องเข้าใจพื้นฐานกลศาสตร์จักรยานว่า เราออกแรงขยับบันได ไปหมุนขาจาน ขาจานติดกับไสปเดอร์ติดจานที่ไปฉุดโซ่ให้ไปดึงเฟืองหลัง ซึ่งก็เป็นจุดหมุนรัศมีเล็กๆ ที่ติดกับกลไกของดุมล้อหลัง ที่จะส่งแรงไปที่ปีกดุม ไปยังซี่ลวด แล้วไปสู่ขอบก่อนจะกลายเป็นแรงเสียทางของยาง ที่ผลักเราไปข้างหน้า สังเกตุได้ว่า มันผ่านระบบทดแรงหลายต่อมากๆ เพื่อหมุนวงกลมรัศมีสั้นๆ ให้วงกลมรัศมียาวๆต้องขยับ ดังนั้น น้ำหนักของล้อ(วงกลมใหญ่) ที่แตกต่างกันเพียงน้อยนิด สามารถส่งผลกับประสิทธิภาพของแรงได้มากที่สุด และหลักพื้นฐานง่ายๆก็คือ ของที่เบาใช้แรงน้อยกว่าในการสร้างความเร่ง A ก็แปลตรงๆง่ายๆบ้านๆครับว่า ล้อเบา ออกแรงน้อยๆก็พุ่งหมุนไปได้ดีกว่าล้อหนักๆ

ยังไม่จบนะครับ ถ้าวิเคราะห์จากฟิสิกส์พื้นฐานง่ายๆก็จะพบอีกว่า น้ำหนักล้อแยกออกเป็น 2 ส่วนหลักๆคือน้ำหนักขอบและน้ำหนักล้อรวมทั้งหมด ซึ่งน้ำหนักของขอบจะส่งผลมากกว่าน้ำหนักของล้อรวมทั้งหมด ยกตัวอย่างง่ายๆว่าล้อ 2 ชุด ชุดแรกน้ำหนักล้อรวม 1400 กรัม แต่มีขอบหนัก 850 กรัม กับชุดที่สองน้ำหนักรวม 1400 กรัมเท่ากัน แต่มีขอบ 1050 กรัม ล้อชุดแรกจะตอบสนองต่อแรงกระทำได้ดีกว่า(ในมุมของน้ำหนักอย่างเดียว)

นอกจากน้ำหนัก ความพุ่งยังมากับปัจจัยสำคัญอีกด้านที่มีผลไม่แพ้กันคือ ความสติฟ เช่นเดียวกับเฟรมจักรยาน ที่ยิ่งแข็งและส่งกำลังได้ดีในจุดส่งแรง ก็จะตอบสนองต่อแรงได้ดีมากขึ้นไปด้วย ล้อเองก็เช่นกัน ขอบล้อที่สติฟกว่า ก็ย่อมตอบสนองต่อแรงได้ดีกว่า ซึ่งปัจจัยนี้รวมไปถึงซี่ล้อ การขึ้นซี่ และจุดเชื่อมของซี่ก็มีผลกับความสติฟเช่นกัน


รูปภาพ
ไหล
นี่แหละครับคือที่สุดของทั้งความจริงและความเชื่อของล้อจักรยาน ที่ต่างคนก็ต่างว่ากันไปต่างๆนานา บ้างก็ขนานนามมันว่า "เหวี่ยง" ก่อนจะไปคำว่าเหวี่ยงผมย้อนกลับมาคุยกันเรื่องไหลก่อนครับ คำว่าไหลจริงๆแล้วมันก็คือนิยามของคำว่า "รักษาโมเมนตัมการเคลื่อนที่" ได้ดี กล่าวคือ ล้อที่หมุนไปนั้นสามารถรักษาให้ตัวเองยังคงมีความเร็วรอบจุดหมุนได้ดีเช่นเดิม(สูญเสียน้อยที่สุด) ซึ่งก็ส่งผลให้ความเร็วของจักรยานเคลื่อนที่ไปได้แบบต่อเนื่อง ความเร็วตกน้อย หรือศัพท์นักปั่นเราๆเรียกกันว่า "เติมน้อย" นั่นเอง

แล้วปัจจัยของคุณลักษณะนี้คืออะไร? ต้องมาดูก่อนว่าแล้วแรงอะไรที่ทำให้ล้อสูญเสียโมเมนตั้มการเคลื่อนที่ อันดับแรกที่มองข้ามไม่ได้คือ แรงเสียดทานที่จุดหมุน ซึ่งดูเป็นแรงน้อยนิดมากๆ แต่แม้จะเอาล้อไปหมุนบนอวกาศที่ไร้ซึ่งมวลของอากาศที่มาคอยขวางเอาไว้ (เดี๋ยวมาว่ากันเรื่องแอโร่ไดนามิคส์) หมุนไปได้สักระยะก็จะต้องหยุดหมุน เพราะแรงเสียดทานที่จุดหมุนบั่นทอนโมเมนตัมการเคลื่อนที่ของล้อเอาไว้ ดังนั้น จุดหมุนที่ลื่น แรงเสียดทานต่ำ ก็เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งของความไหลที่แตกต่างของล้อแต่ละชุดนั่นเอง
รูปภาพ
เอาล่ะครับมาว่ากันสู่เรื่องอวกาศ เอ้ย อากาศ กันบ้างในหมวดของ แอโร่ไดนามิคส์ อะไรๆยุคนี้ก็ต้องแอโร่ฯไว้ก่อน ล้อแอโร่ฯ มีที่มาที่ไปทำงานอย่างไร ผมขอเล่าสั้นๆ เอาไว้เป็นอีกหนึ่งหัวบทความน่าจะเหมาะกว่า หลักการง่ายๆครับ แรงต้านของการเคลื่อนที่ที่เกิดจากอากาศแบ่งออกเป็น 2 แรงหลักๆได้แก่ แรงที่เกิดด้านหน้าและด้านข้างของล้อ หรือแรงที่ล้อต้องแหวกอากาศไปในทิศทางการเคลลื่อนที่ อีกส่วนคือแรงที่เกิดจากกระแสของอากาศที่ปั่นป่วนอยู่ด้านหลังของล้อ ที่เกิดเป็นเทอร์บูแลนซ์และแรงฉุดด้านหลัง ซึ่งมีผลมากกว่าที่คิดมากนัก ยิ่งล้อเคลื่อนที่เร็วเท่าไหร่ แรงต้านและฉุดก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

และแรงต้านและฉุดเกิดขึ้นที่ไหนมากที่สุด? หลายๆคนคงไม่เชื่อครับว่าแรงพวกนี้เกิดที่ซี่ล้อมากที่สุด มากยิ่งกว่าขอบล้อ มากกว่าดุมล้อ เพราะซี่ล้อแต่ละซี่ ต้องิ่งตัดอากาศไป คิดง่ายๆว่า 1 รอบล้อหมุนไปได้แค่ 2 เมตร วิ่งร้อยเมตร ล้อหมุนไป 50 รอบ วิ่ง 1 กิโล ล้อหมุนไป 500 รอบ และทุกๆวินาที ซี่ล้อต้องแหวกอากาศตลอดเวลา ยังไม่น่าอัศจรรย์พอครับ ลองสังเกตุภาพโสลว์ดีๆ จักรยานวิ่งไปด้วยความเร็ว 40 กม./ชม. แปลว่ามวลจักรยาน+คนทั้งหมดเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็ว 40 เท่ากัน แต่มีจุดหนึ่งที่ความเร็วสูงกว่านั้นมากครับ ลองดูที่แกนดุมล้อหน้าหลังดีๆ นึกภาพตามนะครับง่า จักรยานวิ่งไปด้วยความเร็ว 40 ตรงดุมก็ผ่านหน้าท่านไปด้วยความเร็ว 40 เช่นกัน แต่เมื่อไล่ขึ้นจากดุมไปสู่ซี่ล้อเรื่อยๆ จะพบว่า แม่เจ้าโว้ย... ยิ่งเล็งจากดุมไล่ไปปลายซี่ มันวิ่งผ่านหน้าไปด้วยความเร็วสูงมากจนน่าตกใจ ยิ่งซี่ล้อห่างจากดุมเท่าไหร่ ก็จะมีความเร็วที่แหวกอากาศ เกิดแรงต้านและแรงฉุดหลังซี่มากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นจุดสำคัญของแอโร่ไดนามิคส์ของล้อคือการ ลดแรงจากซี่ล้อนั่นเอง
รูปภาพ
ถึงได้เกิดมาเป็นล้อสามก้าน ล้อดิสค์ทึบครับ แต่จำนวนซี่ล้อมันส่งผลกับทั้งความแข็งและความแข็งแรงของล้อ ที่สำคัญในกติกาจักรยานสากลก็มีบังคับเรื่องจำนวนซี่ล้อเอาไว้ ดังนั้นผู้ผลิตล้อจึงหาทางออกด้วยการ ลดความยาวซี่ล้อลง ลดอย่างไรล่ะครับ? ก็ลดด้วยขอบล้อที่สูงขึ้นมานั่นเอง ดังนั้น ล้อขอบสูง จึงเกิดขึ้นมาด้วยประการเช่นนี้ ไอ้ที่ว่าล้อขอบสูงทำขอบมาให้เหวี่ยงนั้น ผิดเป้าไปหน่อย ไม่เช่นนั้นไม่ต้องทำขอบให้สูงหรอกครับ ล้อหนักๆก็เหวี่ยงได้
รูปภาพ
แต่น้ำหนักก็เป็นอีกปัจจัยของความไหล ข้อนี้ไม่ผิดเพี้ยน เพราะนับในปัจจัยปิดที่รูปทรงเดียวกัน มีความสามารถทางอากาศพลศาสตร์เท่ากัน แรงเสียดทานเดียวกัน ของหนักก็รักษาการเคลื่อนที่ได้ดีกว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะโมเมนตั้มแปรตามน้ำหนัก(มวล) ของวัตถุนั้นๆ ซึ่งนี่คือหลุมพรางสำคัญที่ทำให้เราเข้าใจกันว่าล้อที่ไหลดีคือล้อที่หนักและเหวี่ยงตัวเอง


รูปภาพ
หากใครเข้าใจพื้นฐาน 2 ประการข้างบน ต่อไปนี้จะเข้าสู่เจาะลึกการออกแบบของล้อ Racing Quattro กันแล้วครับ ใครไม่เข้าใจ ไม่เป็นไร อ่านต่อไปได้ครับตอนท้ายจะมาสรุปแบบย่อยง่ายๆกันอีกที (แต่ถ้าเข้าใจ จะบางอ้อได้ไม่ยาก)
รูปภาพ
เริ่มกันจุดแรกที่ซี่ลวดก่อน
ซี่ลวดด้านหน้า 18 ซี่ หลัง 21 ซี่ ใช้การขึ้นซี่แบบ 2:1 (14:7) ที่ล้อหลังด้านขับเคลื่อนใช้ซี่ 14 ซี่เพื่อส่งกำลังได้เต็มที่ในขณะที่อีกด้าน(ด้านซ้าย) ไม่ได้ส่งกำลังและรับแรงมากนัก จึงสามารถลดจำนวนซี่ลงเพื่อลดแรงต้านอากาศลงได้ โดยวิศวกรและนักออกแบบคำนวนมาแล้วว่าสัดส่วน 2:1 เป็นสัดส่วนที่ทำได้ง่ายที่สุด วัสดุซี่ลวดเป็น แสตนเลสสตีล ดับเบิลบัททรงแบนเพื่อความแอโร่ฯ และรีดให้มีน้ำหนักและรับแรงลดหลั่นลงไป 2 ระดับตามจุดรับแรงสำคัญ (หัว/ท้ายของซี่ล้อ) เพื่อลดน้ำหนัก
รูปภาพ
นิปเปิลที่ใช้เป็นแบบนิปเปิลภายนอก(External Nipples) วัสดุอลูมินั่ม ยึดกับขอบล้อคาร์บอนโดยตรง (ซึ่งจุดนี้เป็นอีกจุดที่ขอบมีจุดเด่นในการออกแบบ)


รูปภาพ
ทางด้านดุม ดุมภายนอกเป็นอลูมินั่มทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดยมีแกนดุมด้านในเป็นอลูมินั่มเช่นกัน ลูกปืนที่ใช้เป็นแบริ่งตลับโรงงาน เบอร์ 6903 ในดุมหน้า 2 ตลับ ในดุมหลัง 2 ตลับ( ส่วนโม่ใช้เบอร์ 6803 จำนวนสองตลับ)แต่เลือกใช้เสป็คเป็นแบบห่างพิเศษหรือ Low Resistance Bearing สามารถปรับตั้งความลื่นได้ ด้วยความห่างพิเศษนี้เองที่ทำให้ล้อ Racing Quattro มีแรงเสียดทานจุดหมุนที่ดุมหน้าและหลังน้อย หรือพูดง่ายๆก็คือ "ลื่น" กว่าบรรดาลูกปืนโลหะในเสป็คเดียวกัน


รูปภาพ
ขอบล้อเป็นฟูลคาร์บอนแบบ Uni-Direction (UD) เพื่อรับแรงกระทำได้ในหลายทิศทาง รองรับแรงบิดได้จากหลายๆมุมพร้อมๆกัน ตกแต่งผิวนอกสุดด้วยลายคาร์บอนแบบ 3K Weav ผิวขอบเบรคพิเศษที่มีคุณสมบัติคายความร้อนได้เร็วกว่าเนื้อคาร์บอนส่วนที่รับแรง ป้องกันอาการบวมจากความร้อนที่เกิดขึ้นจากการเบรคเป็นระยะเวลานานๆ
รูปภาพ
ที่สำคัญ ลองดูที่ฐานขอบล้อด้านในดีๆครับ ล้อ Racing Quattro นี้ ไม่มีการเจาะรูสำหรับติดตั้งนิปเปิลเข้ากับตัวขอบคาร์บอน ตัวนิปเปิลถูกสอดเข้าไปในขอบ ดังนั้นล้อทั้งวงจะถูกเจาะแค่รูเดียวเท่านั้นคือ รูสำหรับใส่หัวสูบลมยางการออกแบบนี้ทำให้ล้อสามารถพร้อมใส่ยางแบบทิวป์เลส(Tubeless) ได้ด้วย แถมด้วยความสติฟที่ได้รับจากวงล้อคาร์บอนทั้งวงที่ไร้การเจาะรู และวงล้อทั้งหมด ผ่านการถ่วงน้ำหนักชดเชยน้ำหนักหัวสูบลมมาแล้วเรียบร้อย เมื่อใส่ยางในและยางนอก ล้อจะหมุนคงที่ ไม่มีอาการเหวี่ยงโยนตัว ซึ่งนี่คือคุณลักษณะของล้อที่ดีครับ พวกล้อที่ยกมาหมุนกันแล้วเหวี่ยงโยนไปโยนมา ยิ้มร่ากันว่า ล้อนี้ดีเพราะโยนดี ต้องเรียนให้ทราบว่า นั่นแหละครับ คือล้อที่ไม่ดีใมนแง่ของวงล้อที่รักษาโมเมนตั้มได้ราบเรียบ


รูปภาพ
้น้ำหนักล้อหน้า/หลัง ชั่งจริง 650 กรัม และ 820 กรัมตามลำดับ (ไม่รวมแกนปลด) รวมทั้งชุด 1470 กรัม น้อยกว่าน้ำหนักเคลมที่ 1550 กรัมอยู่เกือบๆขีดเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าผมจะไม่ได้รื้อล้อทั้งหมดออกมาชั่งแยกระหว่างดุม ซี่ และขอบล้อ แต่จากเสป็คของซี่ล้อแสตนเลสสตีล ดับเบิลบัท และดุมอลูมินั่มล้วน (ไม่มีคาร์บอนหรือไทเทเนียมเจือปน) ก็ย่อมพอจะอนุมานได้ว่า ตัวขอบ มีน้ำหนักค่อนข้างเบา เพราะล้อที่ความสูงระดับนี้ ที่มีน้ำหนักไล่เลี่ยกัน บางค่ายเป็นดุมคาร์บอนแล้วก็มี ไม่นับว่าล้อบางตัว ยางงัดเช่นกัน ขอบก็พอๆกัน น้ำหนักก็ไล่เลี่ยกัน มากับซี่คาร์บอน ก็พอจะเหมากันได้ว่าดังนั้นขอบของ Racing Quattro น่าจะมีน้ำหนักจัดอยู๋ในกลุ่มที่น่าพอใจ
รูปภาพ

จากการทดลองใช้งานล้อ Racing Quattro จริงๆจังๆ ทั้งการปั่นเล่น ปั่นซ้อม แม้แต่ลงสนามแข่ง บนระยะทางหลักพันกิโลเมตร และร่วมกับจักรยานหลายๆคัน ด้วยยางเสป็คต่างๆ แรงดันลมหลากหลาย บนเส้นทางที่ครบทั้งทางราบลมแรง และการขึ้นเขา ผ่านการทดลองปรับตั้งแบริ่งเปรียบเทียบ แม้จะไม่สามารถนำผลการทดสอบแบบวิทยาศาสตร์มาให้ได้ว่าที่กี่วิตต์ สามารถส่งผลได้อย่างไร ที่ความเร็วเท่าไหน เซฟได้กี่วัตต์ เพราะเราก็ไม่มีสถานที่ปิดหรือสามารถควบคุมปัจจัยแวดล้อมต่างๆให้อยู๋ในมาตรฐานการทดลองได้อยู่แล้ว แต่ผลสรุปต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่ได้รับจากการใช้งานและเทียบกับล้อต่างๆมากมาย ผมคงไม่บอกหรอกครับว่าล้อไหนดีกว่าหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ เรามาดูบัคลิกภาพเด่น และด้อยของล้อชุดนี้กัน
รูปภาพ


จุดเด่น

ล้อครบเครื่องทุกทาง
ล้อที่ทำความเร็วสูงได้ดี ด้วยความสูงของขอบที่ 40 มม. ขอบอวบ(ยังไม่อ้วนมากแต่ก็ไม่ผอม) ทรง U Shape แหวกลมได้ดีทั้งมุมตรงและทิศทางเฉียงๆ จาก 0-10 องศา ส่งผลเรื่องแอโร่ไดนามิคส์ได้ในระดับที่เหนือความคาดหมายของขอบ 40 มม. ควรจะทำได้เป็นเรื่องปกติ ในขณะที่น้ำหนักของชุดล้อที่ต่ำโลครึ่งฯ เป็นล้อที่ไม่ได้หนักหนาอะไรเลยสำหรับการขึ้นเขาชันๆยาวๆ ลองคิดกันเล่นๆนะครับ เมื่อราวๆ 9 ปีก่อน โปรยังเอาล้ออลูมินั่มหนัก 1.5 กก. ขึ้น ม็องต์ วองตู กันอยู่เลย ถ้าเราเอาเจ้านี่มาแล้วขึ้นไม่ได้ก็อยู่ที่คนขี่แล้วครับ ที่สำคัญ ความสติฟที่ได้รับมันเหลือเฟือสำหรับการกระแทก กระชาก หรือยืนโยกขึ้นเขา ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้จึงทำให้ Racing Quattro เป็นล้อหนึ่งที่เข้านิยาม "ล้อชุดเดียวเที่ยวทั่วไทย"
รูปภาพ
ระบบลูกปืนในดุม
ตอนแรกผมก็คาดว่าล้อน่าจะธรรมดาๆ แรกๆที่ได้มารีวิวยังไม่รันอินดี ก็ใช้งานไม่ต่างไปจากล้อทั่วไปมาก ออกจะไปทางฝืดเสียด้วยซ้ำ ใช้ๆไปก็ยังไม่รู้สึกลื่น และเตรียมใจว่า จะลองลงลูกปืนเซรามิคส์ดุซิว่าจะแตกต่างกันมากหรือไม่ แต่ก็ได้ทำการลองตั้งจี๋ล้อดูใหม่เสียก่อน เพราะล้อรุ่นเดียวกันของน้องอีกคนกลับลื่นกว่ากันเห็นได้ชัด และผลที่ได้ก็คือ ... ลื่นจนตกใจ แตกต่างจากเดิมจริงๆ เพียงแค่ปรับตั้งแบริ่งใหม่เท่านั้น ไม่ได้ทำอะไรเลย เพราะล้อสามารถตั้งให้หมุนลื่นได้มากกว่าปกติด้วยระบบลูกปืนที่เลือกใช้ในดุม และไม่มีอาการคลอน(หรือหวิดคลอน) เข้ามา และเมื่อล้อปรับตั้งใหม่ พบว่าทั้งความไหล และความสามารถในการเร่งความเร็วแตกต่างออกไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะบนทางราบ



รูปภาพ
จุดด้อย

ความคงทน
เป็นคำถามแรกที่เกิดขึ้น ซึ่งยังหาคำตอบไม่ได้ แต่โดยทฤษฏีแล้ว ระบบลูกปืนห่างแบบนี้ น่าจะส่งผลกับอายุการใช้งานของดุมอยู่บ้างไม่มากก็น้อย และน่าจะต้องการการดูแลรักษาที่ใกล้ชิดหน่อย สำหรับขอบและซี่ไม่น่าเป็นห่วงครับ เพราะในการลองใช้ผมตกหลุมมาแล้ว ไม่ใช่เบาๆเสียด้วย ล้อไม่มีอาการคด ดุ้ง ซี่ไม่มีอาการความตึงเปลี่ยน หรือล้าตัวออกมาให้เห็น ในมิตินี้ ผมมองในแง่ของระบบลูกปืนเท่านั้น แต่ใช้งานไม่กี่เดือนยังตอบอะไรไม่ได้ ต้องระยะเวลาเป็นปีๆ ยิ่งถ้าผ่านฝนด้วยน่าจะยิ่งรู้ลึกขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่ใช่แปลว่ามันจะพังนะครับ มันแปลว่า ต้องหมั่นดูแลมันมากกว่าล้อทิ้งขว้างเท่านั้น

ราคา
ราคาตั้งที่ราวๆ 65,000 บาท เป็นจุดอ่อนที่แรงที่สุดของ Racing Quattro ยิ่งถ้ารวมกับจุดอ่อนข้อต่อไป จะยิ่งลำบากใจครับ เรื่องราคา กลไกราคาของล้อ Fulcrum เป็นแบบนี้ทุกรุ่นอยู๋แล้วครับ ลองเดินร้านจักรยานหาล้อคาร์บอนยางงัด ขอบ 40 มม. ในท้องตลาด ไล่ตั้งแต่แบรนด์ชั้นนำของโลกเหมือนกัน ไปจนแบรนด์รองๆลงมาพบว่า เสป็คใกล้ๆกัน มีราคาที่ถูกกว่า Quattro อยู่พอสมควร หรือถ้าเอาราคามาเป็นตัวตั้ง ล้อบางยี่ห้อ ซึ่งเป็นแบรนด์ใหญ่เหมือนกัน ก็จะมากับเสป็คที่ดูสูงกว่า แต่เรื่องราคาเป็นเรื่องไม่เข้าใครออกใครครับ บางที่ราคาต่างกันนิดๆหน่อยแต่มัน "โดน" ก็พอแล้ว

ไม่สุดสักทาง
มีล้ออีกเพียบที่พุ่งกว่านี้ สติฟกว่านี้ และมีล้ออีกไม่น้อยที่แอโร่ฯกว่านี้มาก รวมถึงจะหาหรือทำล้อที่ลื่นกว่านี้ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีหรือทำไม่ได้ ด้วยเป้าหมายหลักของ Quattro คือการออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานตลาดทั่วไป ดังนั้นจึงต้องเน้นไปที่สมดุลย์ของทุกด้านให้ได้มากที่สุด และเป็นปกติของผลิตภัณฑ์ที่เน้นด้านความสมดุลย์ของคุณสมบัติ ก็จะเสียความ "สุดขีด" ในบางด้านออกไปนั่นเอง ใครที่มีหรือใช้ล้อชุดนี้ วันไหนขี่ทางราบไม่ดีก็จะงอแงอยากได้ล้อที่ไหลดีกว่านี้ ลื่นกว่านี้ วันไหนไปเขาแล้วปั่นไม่ค่อยออก ก็จะพาลโทษล้อและมองหาล้อเบาๆแข็งๆมาแทน มันอาจจะจบในด้านครอบคลุม แต่ไม่จบสำหรับใจเราที่ไฝ่หาเหตุผลมาให้คันกันอยู๋แล้ว และน้อยคนมากๆจะจบลงกับคำว่า "ลงตัว" ในลักษณะของ Quattro


รูปภาพ
ล้อ Fulcrum Racing Quattro
เหมาะกับใคร

เรื่องความสวยงามนั้นคงไม่ต้องพูดกันมากครับ แม้ว่ารสนิยมคนเราจะไม่ค่อยเหมือนกันนัก แต่ส่วนมากลงมติกันว่าล้อชุดนี้มีหน้าตาที่ "เข้าท่า" มีเสน่ห์ของจังหวะลวดลายกราฟฟิคและทรงที่ดูแล้วเรียบๆ เอาไปใส่กับรถอะไรก็ไปกันได้ดี ไม่โดดเด่นฉูดฉาดบาดตาประเภทขี่มาแต่ไกลยังไม่เห็นหน้าคนแต่เห็นยี่ห้อล้อก่อน และก็ไม่เรียบจนเกินไปจนแยกไม่ออกว่านี่ล้อมักกะโรนีหรือล้อบะหมี่หมูแดงกันแน่ แต่สิ่งที่มันใช่จริงๆในความลงตัวคือหากคุณต้องการล้อสักชุดที่ใช้ได้ตั้งแต่ขี่เล่น ขี่เที่ยวสะดวกสบาย ไปจนลงสนามแข่ง จะแข่งซิ่ง แข่งกระชากความเร็ว แข่งทางไกล แข่งผ่านขุนเขา ผมว่าล้อชุดนี้ชุดเดียวเอาอยู่หมดทุกเส้นทาง และปรับตัวเข้ากับมันได้ไม่ยากเลย เพราะเป็นล้อที่มีคุณสมบัติเรียบง่ายมากๆ มันก็จตริงครับที่ล้อไม่สามารถตอบโจทย์สุดขีดได้ในแต่ละด้าน แต่ต้องถามว่าแล้วคุณขี่ในรูปแบบเหล่านั้นบ่อยแค่ไหน หากคำตอบคือ ผสมๆกันไป แล้วอยากมีชุดเดียวให้รองรับได้แบบไม่หงุดหงิดใจ Racing Quattro เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่เป็นแบบนั้นได้จริงๆ[homeimg=300,250]http://www.thaimtb.com/forum/picture_mt ... 828722.jpg[/homeimg]
ฟังสาระจักรยาน Podcast
https://open.spotify.com/show/76iDUCWXgqqixg1CmoSDIp
ข่าวสารจัรกยาน
https://www.facebook.com/cyclinghubthailand/
compass
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 806
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ส.ค. 2011, 23:16
Bike: TREK EMONDA SL6, Nich KEM, TREK MADONE 3.1 2012
ตำแหน่ง: จตุจักร กรุงเทพฯ
ติดต่อ:

Re: FULL Review Fulcrum Racing Quattro ล้อเสือหมอบคาร์บอนยางงัด ที่จัดว่าใช่ในรอบมุม

โพสต์ โดย compass »

รอรีวิวตัวนี้มานานขอบคุณครับ
alizii
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 140
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2015, 09:58
Bike: Trek Madone 5.9

Re: FULL Review Fulcrum Racing Quattro ล้อเสือหมอบคาร์บอนยางงัด ที่จัดว่าใช่ในรอบมุม

โพสต์ โดย alizii »

สุดยอดรีวิว ครับ งานละเอียดมาก ขอบคุณครับ
somnuk suepayak
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1071
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ม.ค. 2013, 16:48
Tel: 081-6144081
team: CLDbiking
Bike: CXzero
ติดต่อ:

Re: FULL Review Fulcrum Racing Quattro ล้อเสือหมอบคาร์บอนยางงัด ที่จัดว่าใช่ในรอบมุม

โพสต์ โดย somnuk suepayak »

:) ได้ความรู้เรื่องล้อเพิ่ม ในการตัดสินล้อใหม่ครับ
ขอบคุณมาก
;) ;) :) :) สุดยอดทริปทางไกล ฝึกปั่นได้กับ "Centralฝึกปั่นทางไกล"
http://www.cldbiking.com/home

ติดตามกิจกรรมทริปCentral ฝึกปั่นทางไกล
https://www.facebook.com/Audaxtraining
tamsub145
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 92
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 พ.ค. 2014, 03:24
Tel: 0956391349
team: 304 Bike
Bike: DOGMA F8 Red Rhino
ติดต่อ:

Re: FULL Review Fulcrum Racing Quattro ล้อเสือหมอบคาร์บอนยางงัด ที่จัดว่าใช่ในรอบมุม

โพสต์ โดย tamsub145 »

อัตตราเร่งดีครับ ล้อไม่หนักไม่เบากลางๆ
ขึ้นเขาได้ คงความเร็วสูงๆ ได้ แต่ไม่ดีเท่าสูง50+
โยกแรงๆ ไม่มีอาการย้วยสีขอบเบรก
งานดี ใส่รถอะไรก็สวยครับ ขอบไม่เตี๊ยไป
รู้สึกว่าถ่วงน้ำหนักมาค่อนข้างเท่ากัน ทั้งล้อครับ
เหวี่ยงแล้วไม่กระดกๆ ครับ

สรุป ตามท่าน giro ครับ ไม่สุดสักทาง สำหรับ Fulcrum Racing Quattro Carbon
รูปประจำตัวสมาชิก
isaidok
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 50
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ธ.ค. 2011, 17:03
ตำแหน่ง: สมุทรสาคร

Re: FULL Review Fulcrum Racing Quattro ล้อเสือหมอบคาร์บอนยางงัด ที่จัดว่าใช่ในรอบมุม

โพสต์ โดย isaidok »

ขอบคุณครับ
Run for tomorrow
ipond555
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มี.ค. 2012, 10:49
Bike: CEEPO mamba

Re: FULL Review Fulcrum Racing Quattro ล้อเสือหมอบคาร์บอนยางงัด ที่จัดว่าใช่ในรอบมุม

โพสต์ โดย ipond555 »

ขอบคุณครับ กำลังเลือกล้อเลย
lanisuc
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 42
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2015, 20:58
ติดต่อ:

Re: FULL Review Fulcrum Racing Quattro ล้อเสือหมอบคาร์บอนยางงัด ที่จัดว่าใช่ในรอบมุม

โพสต์ โดย lanisuc »

รีวิวได้ละเอียดเหมือนเดิมเลยครับ
cheetahz
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มิ.ย. 2016, 19:10
Bike: gios compact pro
ติดต่อ:

Re: FULL Review Fulcrum Racing Quattro ล้อเสือหมอบคาร์บอนยางงัด ที่จัดว่าใช่ในรอบมุม

โพสต์ โดย cheetahz »

แล้วถ้าเทียบกับ Vision metron 40 ที่ราคาขายจริงอยู่ไกล้เคียงกันล่ะครับ 4หมื่นนิดๆ และถ้าเพิ่มเงินไปอีกหน่อยเพื่อที่จะได้ bora one 50, Reynold 46 aero, และ Roval CLX 40 ปัจจุบันผมใช้ Mavic cosmic SLE (52) อยู่แต่มองหาล้อเดียวเที่ยวทั่วไทยครับเป็นคนชอบออกทริปแต่ปั่นประจำที่สกายเลน ขอรบกวนพี่Giro หรือพี่ๆที่นี่ชี้ทางสว่างให้น้องด้วยนะครับ จะเป็นพระคุณอย่างสูง ผมมีงบอยู่6หมื่นกว่าๆ. (ให้ความสำคัญเรื่องการเบรกและขอบงัด) ในใจอยากได้ Mavic cosmic SL ตัวใหม่ หรือ Zipp 303 nsw ที่เครมมาว่าเบรกดีเท่าขอบอลู แต่ราคาทั้ง2ตัวนั้นเกินงบไปไม่ไม่อาจเอื้อมจึงมาขอความกรุณาพี่ๆชี้ทางด้วยครับ
giro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3092
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 15:14
Tel: 0865040751
team: Team Bike And Body Cycoling
Bike: Kemo KE-R5, Giant Propel Advance SL, Specialized Alez E5 Revolution
ตำแหน่ง: ซอยอารีย์ พหลโยธิน กทม.
ติดต่อ:

Re: FULL Review Fulcrum Racing Quattro ล้อเสือหมอบคาร์บอนยางงัด ที่จัดว่าใช่ในรอบมุม

โพสต์ โดย giro »

ถ้าขี่สกายเลน ของแบบนี้ คุยกันยาวๆครับ ไว้พบปะบนถนนแล้วเล่าน่าจะดีกว่า
เพราะถ้าเปรียบเทียบทุกๆตัวที่ว่ามา สงสัยจะได้เป็นอีก 1 บทยาวๆ มันมีเรื่องของน้ำหนัก ราคาต่อเสป็ค ดุม ระบบหมุน ขอบ และ บุคลิกภาพของล้อแต่ละยี่ห้อ
ฟังสาระจักรยาน Podcast
https://open.spotify.com/show/76iDUCWXgqqixg1CmoSDIp
ข่าวสารจัรกยาน
https://www.facebook.com/cyclinghubthailand/
klaza
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 90
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ธ.ค. 2014, 19:07

Re: FULL Review Fulcrum Racing Quattro ล้อเสือหมอบคาร์บอนยางงัด ที่จัดว่าใช่ในรอบมุม

โพสต์ โดย klaza »

สุดยอดครับ ปักแรงๆ
รูปประจำตัวสมาชิก
sai-lom
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 370
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2013, 22:22
Tel: 0828997941
team: ปั่นเดี๋ยว ไร้สำนัก
Bike: Specialized Sirrus, Specialized E5 Smartweld, Cevelo R5, Nielpryde, CBoardman Air9.8, Pinarello F8 BOB, Canyon Endurace
ติดต่อ:

Re: FULL Review Fulcrum Racing Quattro ล้อเสือหมอบคาร์บอนยางงัด ที่จัดว่าใช่ในรอบมุม

โพสต์ โดย sai-lom »

ขอบคุณ คุณ GIro สำหรับรีวิวล้อตัวนี้นะครับ
ผมเห็นว่ามีล้อใหม่ในพิกัดนี้อีกตัวที่อยากให้รีวิวนะครับ
มันคือ 3T Orbiz II ซึ่งมีขอบ 35 กะ 50 มม.
ไฟล์แนบ
images (1).jpg
images (1).jpg (23.93 KiB) เข้าดูแล้ว 9780 ครั้ง
OSK106
Line ID: niththeeye
Nothing Happen by Chance!
เสือเฒ่าสายแฟชั่น ซ้อมน้อยแรงไม่ค่อยมี ดีแต่อัพรถไปเรื่อย
Hxs
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 509
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ม.ค. 2016, 08:28
Bike: Avenger R8
ตำแหน่ง: Louiaiana

Re: FULL Review Fulcrum Racing Quattro ล้อเสือหมอบคาร์บอนยางงัด ที่จัดว่าใช่ในรอบมุม

โพสต์ โดย Hxs »

giro เขียน: ขอบวัดภายนอกประมาณ 24.2 มิลลิเมตร ขอบด้านใน(Rim Bed) 17 มม. รองรับหน้ายางทำงานได้ดีที่สุดที่ช่วงยาง 700x25c เนื่องจากขอบล้อและแก้มยางจะอยู๋ในแนวเดียวกัน ส่งผลให้ได้เปรียบทางอากาศพลศาสตร์สูงที่สุด

เอาจริงๆ ล้อขอบด้านในกว้างแบบนี้ ควรจะใส่ยางขนาด 23c แล้วเติมลมเหมือนใช้ 25c อยู่นะครับ (อย่างน้อยก็ล้อหน้า)

ใครอยากอ่านทฤษฎีแบบเต็มไปที่
https://silca.cc/blogs/journal/part-5-t ... rodynamics
(อ่านตอนอื่นด้วย ไม่ใช่เฉพาะอันที่ผม Link)

แต่ผมสรุปมาสั้นๆว่า
1. ล้อจะแอโร่ดีที่สุดเมื่อขอบกว้างอย่างน้อย 105% ของยาง(ความกว้างที่วัดจริง ไม่ใช่ที่ระบุในสลาก) โดยหากยางกว้างเกินไปนิดหน่อยยังไม่เป็นไร แต่ถ้ากว้างไปมากๆจะได้รับผลกระทบหนักมาก จนเสียความแอโร่ไปเยอะ (เพราะอากาศไม่ไหลอย่างที่ผู้ผลิตล้อเขาออกแบบไว้)
2. ยาง clincher แทบไม่เคยใส่แล้วได้ขนาดตามที่สลากระบุ โดยเฉพาะกับขอบล้อด้านในกว้างระดับ 17mm ขึ้นไปนั้น ยางจะกว้างกว่าที่ระบุมาก (รู้หรือไม่: นักแข่งระดับโลก เขาพึ่งหันมาใช้ 25c ของ Tubular กัน แต่ 25c Tubular กว้าง 25 จริงๆ ต่างจาก 25c ของ clincher ที่มักจะวัดได้ 28, ในขณะที่ 23c clincher บนล้อขอบกว้างนั้น กว้างประมาณ 25-26mm อยู่แล้ว)
3. ขอบในที่กว้างขึ้น ทำให้ยางเมื่อใส่แล้วกว้างขึ้น และนอกจากนั้นยังสูงขึ้นด้วยเล็กน้อย มีความจุอากาศภายในมากขึ้น rolling resistant ต่ำลง ความเสี่ยงที่จะเกิด Pinch flat ต่ำลง เปรียบเสมือนเราอัพไซส์ยางนั่นเอง นี่จึงเป็นสาเหตุที่ผมแนะนำว่า ให้ใส่ยาง 23 แต่เติมลมเหมือนกำลังใช้ยาง 25 ครับ
4. แอโร่ของล้อ มีผลสุดที่ล้อหน้า ล้อหน้าควรเน้นแอโร่เป็นหลัก
ส่วนล้อหลัง ครึ่งแรกที่ตัดอากาศมีท่อเฟรมบังให้อยู่แล้ว และครึ่งหลังได้ผลกระทบด้านแอโร่จากยางกว้างเกินไปไม่มากนัก แต่ล้อหลังรับภาระน้ำหนักมากกว่าล้อหน้า จึงอาจจะใส่ยางกว้างกว่าขอบล้อได้ โดยที่แอโร่ไดนามิกที่เสียไปมีผลน้อยกว่าการหมุนได้ดีกว่าของยางกว้าง ยางหลังใช้ 25(กว้างจริง 28) จะดีกว่า 23(กว้างจริง 25)บนถนนทั่วไป ดังนั้นหากเลือกได้ก็น่าใช้ หน้า 23 เติมเหมือน 25, หลัง 25 เติมเหมือน 28 ...
5. แต่ในบทความที่ส่งไป ยางที่สึกจนเป็นเหลี่ยมๆ ตรงกลางแบนๆนั้นแอโร่ไดนามิกแย่กว่ายางใหม่โค้งๆ ประกอบกับว่ายางหน้าควรจะใหม่เพื่อให้การยึดเกาะเข้าโค้งดี ส่วนยางหลังสึกไวแต่แอโร่ไดนามิกของยางไม่มีผลมากนัก จึงทำให้เกิดแนวคิดว่าเมื่อยางสึกให้เปลี่ยนยางทีละเส้น ถอดยางหลังหมดอายุทิ้ง ย้ายเอาเส้นหน้า(ที่พึ่งเริ่มเก่านิดๆ)ไปไว้ด้านหลัง แล้วเอายางใหม่ใส่ที่ด้านหน้า ยางหน้าก็จะใหม่อยู่ตลอด ส่วนด้านหลังก็เป็นที่ใช้งานยางจนหมดอายุขัย ใช้คุ้มๆ
แน่นอนว่าหากทำตามแนวคิดนี้ ยางหลังก็คือยางที่เคยอยู่ด้านหน้ามาก่อน ดังนั้นก็ทำตามข้อ 4. ที่ใช้ยางต่างขนาดกันไม่ได้....

สรุปยังไงดี? ผมก็ไม่รู้หละ แต่ล้อหน้าอยากให้แอโร่ดี ควรใช้ยางกว้างไม่เกินขอบล้อครับ (ขนาดที่วัดจริงนะ ย้ำอีกที)
ตัวเล็กก็ยอมรับความจริงบ้าง อย่าหลอกตัวเองแล้วใช้อุปกรณ์ไซส์เกินตัวเลย
สูง 169cm, frame size=50, crank length=165mm, bar width=38cm
Hxs
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 509
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ม.ค. 2016, 08:28
Bike: Avenger R8
ตำแหน่ง: Louiaiana

Re: FULL Review Fulcrum Racing Quattro ล้อเสือหมอบคาร์บอนยางงัด ที่จัดว่าใช่ในรอบมุม

โพสต์ โดย Hxs »

คุณ Giro ครับ,
ผมขอทราบน้ำหนักแกนปลดได้ไหมครับ ผมเคยใช้ Campy/Fulcrum ถึงแค่ Zonda ซึ่งพบว่าแกนปลดแถมนั้นหนักมาก ผมอยากทราบว่ารุ่นกลางสูงแบบนี้ แกนปลดจะยังหนักด้วยไหม

ปล. เสริมเรื่องความกว้างของยางครับ พอดีผมมีตัวอย่างไว้เทียบ
Zonda ตัวเดิมผม ขอบใน 15mm ใส่ยาง 23c ได้กว้างจริงประมาณ 24 กลางๆ (ไม่มีเลขเป๊ะๆเพราะถอดไปแล้ว)
ล้อใหม่(คาร์บอนจีน) ขอบใน 16.9mm (ประมาณ 17 แหละ) ใส่ยาง 23c ได้ 25.62 (ใส่ตอนแรกกว้าง 24 กลางๆ แล้วทิ้งไว้วันนึง มันค่อยๆขยายขึ้นเรื่อยๆ จนมานิ่งที่ 25 กลางๆเนี่ยแหละ)

ส่วนยาง 25c (Schwalbe One Pro Tubeless) นั้น Zonda ใส่ได้ 25.8-26.4 (แล้วแต่แรงดัน เติมเยอะมันก็บาน)
ล้อใหม่ขอบใน 16.9mm ของผม ใส่แล้วกว้างถึง 28.4mm (ใส่แล้วดูใหญ่กว่าที่คิดไว้มากๆ)
ตัวเล็กก็ยอมรับความจริงบ้าง อย่าหลอกตัวเองแล้วใช้อุปกรณ์ไซส์เกินตัวเลย
สูง 169cm, frame size=50, crank length=165mm, bar width=38cm
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เสือหมอบ (roadbike)”