????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

บอร์ดสำหรับ นักปั่นทัวร์ริ่ง นักปั่นระยะทางไกล พูดคุยเรื่องอุปกรณ์ เทคนิตการปั่น ที่พัก หรือการกินอยู่
กฏการใช้บอร์ด
บอร์ดสำหรับ นักปั่นทัวร์ริ่ง นักปั่นระยะทางไกล พูดคุยเรื่องอุปกรณ์ เทคนิตการปั่น ที่พัก หรือการกินอยู่
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4365
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:idea: :idea: ผู้ไม่มีเสี้ยนหนาม!

ภิกษุ ท. ! ถูกแล้ว ถูกแล้ว ตามที่มหาสาวกเหล่านั้น เมื่อพยากรณ์ก็ พยากรณ์ โดยชอบ. ภิกษุ ท. ! เรากล่าวฌานว่า มีเสียงเป็นเสี้ยนหนาม จริง.

ภิกษุ ท. ! เสี้ยนหนาม ๑๐ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สิบอย่างอย่างไรเล่า ? สิบอย่าง คือ

๑. ความยินดีในการระคนด้วยหมู่ เป็นเสี้ยนหนามแก่ ผู้ยินดีในปวิเวก
๒. การตามประกอบในสุภนิมิต เป็นเสี้ยนหนามแก่ ผู้ตามประกอบในอสุภนิมิต
๓. การดู การเล่น เป็นเสี้ยนหนามแก่ ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
๔. การเกี่ยวข้อง กับ มาตุคาม เป็นเสี้ยนหนามแก่ พรหมจรรย์
๕. เสียง เป็นเสี้ยนหนามแก่ ปฐมฌาน
๖. วิตกวิจาร เป็นเสี้ยนหนามแก่ ทุติยฌาน
๗. ปีติ เป็นเสี้ยนหนามแก่ ตติยฌาน
๘. อัสสาสะ ปัสสาสะ เป็นเสี้ยนหนามแก่ จตุตถฌาน
๙. สัญญาและเวทนา เป็นเสี้ยนหนามแก่ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
๑๐. ราคะ เป็นเสี้ยนหนาม
โทสะ เป็นเสี้ยนหนาม

ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงเป็นผู้ไม่มีเสี้ยนหนาม อยู่เถิด
ภิกษุ ท. ! พวกเธอ จงเป็นผู้หมดเสี้ยนหนาม อยู่เถิด


ภิกษุ ท. ! พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นผู้ไม่มีเสี้ยนหนาม หมดเสี้ยนหนาม แล.
- ทสก. อํ. ๒๔/๑๔๕/๗๒
:idea: :idea:

:idea: :idea: หลังจากที่ออกจากวัดถ้ำผาแด่นแล้ว เป้าหมายของเรา คือ พญาเต่างอย ซึ่งโด่งดังไปกับความเชื่อ ศรัทธา ของพวกเทวนิยม และค่ายเพลงก็ไปทำเพลงให้ จินตหรา พูนลาภ กลายเป็นโด่งดังไปทั่วทั้งประเทศ ได้เงินเป็นกอบเป็นกำ :lol: :lol:

ตำนานพญาเต่างอย เริ่มถูกเล่าขานกันเมื่อราว๔๐๐ ปีก่อน โดยไทยได้ทำสงครามกับลาว คนลาวพ่ายแพ้จึงถูกกวาดต้อนมาอยู่ในประเทศไทย เมื่อเดินทางมาถึงลำน้ำพุง ซึ่งเป็นลำน้ำขนาดใหญ่ และมีเต่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก คนในสมัยก่อนเห็นว่าบริเวณนี้น่าจะมีพืชพันธุ์ธัญญาหารที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเป็นที่อยู่อาศัย จึงได้ตั้งถิ่นฐานขึ้น โดยตั้งชื่อว่า หมู่บ้านเต่างอย ตามสถานที่พบเห็นเต่าที่กำลังลอยริมฝั่งแม่น้ำ (เต่างอย หมายถึง เต่าที่อยู่บนที่สูง หรือ อยู่ริมตลิ่ง หรือ โขดหิน) หมู่บ้านแห่งนี้จึงมีสัญลักษณ์เป็น รูปเต่า และได้ตั้งชื่ออำเภอว่า เต่างอย จนเรียกกันติดปากมาถึงปัจจุบันนี้นั่นเอง

ภายหลังมีการสร้างสัญลักษณ์ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของอำเภอเต่างอยขึ้น โดยให้ช่างจากศูนย์ฝึกศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม สร้างรูปปั้นเต่ายักษ์ไว้หลังที่ทำการอำเภอเต่างอย มีลักษณะเป็นเต่าขนาดใหญ่ เกล็ดบนหลังแต่ละเกล็ดมีรูปพระเกจิอาจารย์ประดับตกแต่ง ส่วนบนหลังจะประดับด้วยดอกบัวปั้น ในดอกบัวมีสร้อยทอง พระ ของขลังต่างๆ บรรจุไว้พร้อมฉาบปิดไว้อย่างแน่นหนา

หลังจากนั้นมา รูปปั้นพญาเต่างอย ก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอ และเป็นที่สักการะของชาวบ้าน โดยมีความเชื่อว่า ผู้ที่เดินทางมากราบไหว้ และขอโชคขอลาภกับพญาเต่างอยนั้น จะได้โชคลาภกลับไป ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย และเชื่อว่าการมาสักการะบูชาจะทำให้อายุยืนยาวมีโชคมีลาภกลับบ้านไปทุกคน

ความเชื่อส่วนตัวของแต่ละคนนั้น ไม่สามารถพิสูจน์ได้ แต่ไม่เชื่อก็ไม่ควรลบลู่ เพราะเคยมีชาวบ้านนำเลขจากใบเซียมซีไปเสี่ยงโชค และได้สมหวัง จึงทำให้คนแห่ไปกราบไหว้ขอพร พญาเต่างอย สกลนคร ให้มีโชคลาภ ความสำเร็จ และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เป็นจำนวนมาก และผู้คนที่เคยบนบานศาลกล่าวกับพญาเต่างอยไว้จนประสบความสำเร็จ ก็มาแก้บนกันเป็นอยู่ประจำ จึงทำให้พญาเต่างอย เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน

โปรดใช้วิจารณญาณในการคิด พิจารณา อย่าลืมเราคือคน "พุทธ" ต้องใช้หลักกาลามสูตรจึงจะไม่เสียชาติเกิดครับ
:roll: :evil:
ไฟล์แนบ
248675.jpg
248675.jpg (33.91 KiB) เข้าดูแล้ว 674 ครั้ง
cats๗๒.jpg
cats๗๒.jpg (130.21 KiB) เข้าดูแล้ว 674 ครั้ง
cats๗๓.JPG
cats๗๓.JPG (94.13 KiB) เข้าดูแล้ว 674 ครั้ง
ออกจากวัดถ้ำผาแด่น เราปั่นตรงเรื่อย ๆ เป้าหมายของเราคือ &quot;เต่างอย&quot; ช่วงที่ปั่นออกจากผาแด่นเป็นเวลาใกล้เที่ยงแล้ว รู้สึกหิวไหม? ไม่รู้ครับเพราะคุณนายเธอปั่นไปเรื่อย ๆ ๆ ๆ ไม่มีแววว่าจะพักที่ใด จนลุเข้ามาถึงเขต เต่างอย <br /><br />เต่างอย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสกลนคร เป็นที่รู้จักกันมากขึ้นหลังจากที่บทเพลง &quot;เต่างอย&quot; ของ จินตหรา พูนลาภ ดังระเบิดเถิดเทิงไปพักใหญ่ ๆ ครับ<br /><br />ตรงทางแยกเข้าไปยังพญาเต่างอย มี ๗-๑๑ ตั้งอยู่คุณนายจอดพักเพื่อไปหาซื้ออาหารสำหรับมื้อเที่ยง มันง่ายสำหรับเราจริงมื่อเจอ ๗-๑๑
ออกจากวัดถ้ำผาแด่น เราปั่นตรงเรื่อย ๆ เป้าหมายของเราคือ "เต่างอย" ช่วงที่ปั่นออกจากผาแด่นเป็นเวลาใกล้เที่ยงแล้ว รู้สึกหิวไหม? ไม่รู้ครับเพราะคุณนายเธอปั่นไปเรื่อย ๆ ๆ ๆ ไม่มีแววว่าจะพักที่ใด จนลุเข้ามาถึงเขต เต่างอย

เต่างอย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสกลนคร เป็นที่รู้จักกันมากขึ้นหลังจากที่บทเพลง "เต่างอย" ของ จินตหรา พูนลาภ ดังระเบิดเถิดเทิงไปพักใหญ่ ๆ ครับ

ตรงทางแยกเข้าไปยังพญาเต่างอย มี ๗-๑๑ ตั้งอยู่คุณนายจอดพักเพื่อไปหาซื้ออาหารสำหรับมื้อเที่ยง มันง่ายสำหรับเราจริงมื่อเจอ ๗-๑๑
cats๗๔.jpg (140.32 KiB) เข้าดูแล้ว 674 ครั้ง
cats๗๕.jpg
cats๗๕.jpg (115.6 KiB) เข้าดูแล้ว 674 ครั้ง
ถึงเป้าหมายพญาเต่างอยเราแวะไปหาที่นั่งเพื่อทานมื้อเที่ยง เวลาขณะนั้นบ่ายสองโมงแล้ว เรานั่งทานอาหารริมแม่น้ำ มองข้ามแม่น้ำก็จะเห็นวัดเต่างอย บริเวณที่เรานั่งทานข้าวเป็นที่ตั้งของพญาเต่างอย <br /><br />พญาเต่างอย (Praya Tao Ngoi) เป็นรูปปั้นเต่าขนาดใหญ่ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอเต่างอย และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านเคารพนับถือ รูปปั้นพญาเต่างอยตั้งอยู่บริเวณสวนสาธารณะหลังที่ทำการอำเภอเต่างอย โดยในทุกๆ วันจะมีชาวบ้านและนักท่องเที่ยวเดินทางมาสักการะบูชาพญาเต่างอยกันเป็นจำนวนมาก มีความเชื่อกันว่าถ้าได้สักการะบูชาพญาเต่างอยจะทำให้เกิดโชคลาภและมีอายุยืนยาว
ถึงเป้าหมายพญาเต่างอยเราแวะไปหาที่นั่งเพื่อทานมื้อเที่ยง เวลาขณะนั้นบ่ายสองโมงแล้ว เรานั่งทานอาหารริมแม่น้ำ มองข้ามแม่น้ำก็จะเห็นวัดเต่างอย บริเวณที่เรานั่งทานข้าวเป็นที่ตั้งของพญาเต่างอย

พญาเต่างอย (Praya Tao Ngoi) เป็นรูปปั้นเต่าขนาดใหญ่ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอเต่างอย และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านเคารพนับถือ รูปปั้นพญาเต่างอยตั้งอยู่บริเวณสวนสาธารณะหลังที่ทำการอำเภอเต่างอย โดยในทุกๆ วันจะมีชาวบ้านและนักท่องเที่ยวเดินทางมาสักการะบูชาพญาเต่างอยกันเป็นจำนวนมาก มีความเชื่อกันว่าถ้าได้สักการะบูชาพญาเต่างอยจะทำให้เกิดโชคลาภและมีอายุยืนยาว
cats๗๖.jpg (140.1 KiB) เข้าดูแล้ว 674 ครั้ง
Cats๗๗.JPG
Cats๗๗.JPG (132.68 KiB) เข้าดูแล้ว 674 ครั้ง
Cats๗๘.jpg
Cats๗๘.jpg (139.52 KiB) เข้าดูแล้ว 674 ครั้ง
ทานอิ่มนั่งพักชมทิวทัศน์ฝั่งตรงข้าม เห็นสะพานที่ข้ามจากฝั่งพญาเต่างอย ไปยังวัดเต่างอย เป็นสะพานแขวนสวยงาม สังเกตุคงจะให้เฉพาะคนเดินข้าม ? <br /><br />เราพากันย้อนไปทางต้นสะพาน จักรยานไม่น่าจะมีปัญหา เราตัดสินใจข้ามไป ไม่ลืมจะเก็บภาพสวย ๆ กลางสะพานด้วย
ทานอิ่มนั่งพักชมทิวทัศน์ฝั่งตรงข้าม เห็นสะพานที่ข้ามจากฝั่งพญาเต่างอย ไปยังวัดเต่างอย เป็นสะพานแขวนสวยงาม สังเกตุคงจะให้เฉพาะคนเดินข้าม ?

เราพากันย้อนไปทางต้นสะพาน จักรยานไม่น่าจะมีปัญหา เราตัดสินใจข้ามไป ไม่ลืมจะเก็บภาพสวย ๆ กลางสะพานด้วย
Cats๗๙.jpg (151.19 KiB) เข้าดูแล้ว 674 ครั้ง
พญาเต่างอยเป็นรูปปั้นเต่าขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ที่สวนสาธารณะริมลำน้ำพุงในอำเภอเต่างอย เต่างอยหมายถึงเต่าที่อยู่บนที่สูงหรืออยู่ริมตลิ่งหรือโขดหิน โดยมีประวัติความเป็นมาที่เล่าสืบต่อกันมาว่า เมื่อราว ๔๐๐ ปี ก่อนไทยได้ทำสงครามกับลาว คนลาวพ่ายแพ้จึงถูกกวาดต้อนมาอยู่ในประเทศไทย <br /><br />เมื่อเดินทางมาถึงลำน้ำพุงซึ่งเป็นลำน้ำขนาดใหญ่ที่มีเต่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเห็นว่าบริเวณนี้น่าจะมีพืชพันธุ์ธัญญาหารที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเป็นที่อยู่อาศัย จึงได้ตั้งถิ่นฐานขึ้นบริเวณนี้โดยตั้งชื่อว่า &quot;หมู่บ้านเต่างอย&quot; ตามสภาพสถานที่มีเต่าอาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ และต่อมาจึงเรียกอำเภอนี้ว่าอำเภอเต่างอยนั่นเอง<br /><br />             ต่อมาในพ.ศ. ๒๕๕๕ ได้มีการสร้างรูปปั้นเต่างอยขึ้นมาเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอ รูปปั้นนี้สร้างขึ้นโดยศูนย์ฝึกศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ และทําพิธีพุทธาภิเษกเมื่อ วันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ มีขนาดกว้าง ๔.๙ เมตร ยาว ๗.๓๙ เมตร สูง ๕.๐๙ เมตร มีลักษณะเป็นรูปปั้นเต่าขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในสระน้ำ ตกแต่งกระดองด้านบนด้วย ลวดลายของพระเกจิอาจารย์ ภายในองค์พญาเต่างอยบรรจุสิ่งศักดิ์สิทธิ์เอาไว้ ภายในสระน้ำตกแต่งด้วยรูปปั้นพญานาค ด้วยเหตุนี้รูปปั้นพญาเต่างอยจึงเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอเต่างอย และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่นับถือของชาวบ้าน โดยมีความเชื่อกันว่าถ้าได้สักการะบูชาจะเกิดโชคลาภและอายุยืนยาว<br />            <br /> นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวที่มาเยือนยังสามารถเดินชมทัศนียภาพภายในสวนสาธารณะได้อย่างเพลิดเพลิน โดยมีทั้งสะพานข้ามแม่น้ำ ประติมากรรมพญานาค มุมถ่ายภาพ ที่นั่งพักผ่อน ร้านขายของฝาก และร้านกาแฟไว้รองรับนักท่องเที่ยว<br /><br /> พญาเต่างอย ที่เป็นศูนย์รวมความศรัทธาของชาวสกลนคร ผมและคุณนายได้มาพาทุกท่านไปเปิดตำนานความศักดิ์สิทธิ์ของพญาเต่างอย หวังว่าทุกท่านคงจะได้ทราบเรื่องราวของพญาเต่างอยไปพอสมควรนะครับ
พญาเต่างอยเป็นรูปปั้นเต่าขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ที่สวนสาธารณะริมลำน้ำพุงในอำเภอเต่างอย เต่างอยหมายถึงเต่าที่อยู่บนที่สูงหรืออยู่ริมตลิ่งหรือโขดหิน โดยมีประวัติความเป็นมาที่เล่าสืบต่อกันมาว่า เมื่อราว ๔๐๐ ปี ก่อนไทยได้ทำสงครามกับลาว คนลาวพ่ายแพ้จึงถูกกวาดต้อนมาอยู่ในประเทศไทย

เมื่อเดินทางมาถึงลำน้ำพุงซึ่งเป็นลำน้ำขนาดใหญ่ที่มีเต่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเห็นว่าบริเวณนี้น่าจะมีพืชพันธุ์ธัญญาหารที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเป็นที่อยู่อาศัย จึงได้ตั้งถิ่นฐานขึ้นบริเวณนี้โดยตั้งชื่อว่า "หมู่บ้านเต่างอย" ตามสภาพสถานที่มีเต่าอาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ และต่อมาจึงเรียกอำเภอนี้ว่าอำเภอเต่างอยนั่นเอง

ต่อมาในพ.ศ. ๒๕๕๕ ได้มีการสร้างรูปปั้นเต่างอยขึ้นมาเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอ รูปปั้นนี้สร้างขึ้นโดยศูนย์ฝึกศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ และทําพิธีพุทธาภิเษกเมื่อ วันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ มีขนาดกว้าง ๔.๙ เมตร ยาว ๗.๓๙ เมตร สูง ๕.๐๙ เมตร มีลักษณะเป็นรูปปั้นเต่าขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในสระน้ำ ตกแต่งกระดองด้านบนด้วย ลวดลายของพระเกจิอาจารย์ ภายในองค์พญาเต่างอยบรรจุสิ่งศักดิ์สิทธิ์เอาไว้ ภายในสระน้ำตกแต่งด้วยรูปปั้นพญานาค ด้วยเหตุนี้รูปปั้นพญาเต่างอยจึงเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอเต่างอย และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่นับถือของชาวบ้าน โดยมีความเชื่อกันว่าถ้าได้สักการะบูชาจะเกิดโชคลาภและอายุยืนยาว

นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวที่มาเยือนยังสามารถเดินชมทัศนียภาพภายในสวนสาธารณะได้อย่างเพลิดเพลิน โดยมีทั้งสะพานข้ามแม่น้ำ ประติมากรรมพญานาค มุมถ่ายภาพ ที่นั่งพักผ่อน ร้านขายของฝาก และร้านกาแฟไว้รองรับนักท่องเที่ยว

พญาเต่างอย ที่เป็นศูนย์รวมความศรัทธาของชาวสกลนคร ผมและคุณนายได้มาพาทุกท่านไปเปิดตำนานความศักดิ์สิทธิ์ของพญาเต่างอย หวังว่าทุกท่านคงจะได้ทราบเรื่องราวของพญาเต่างอยไปพอสมควรนะครับ
Cats๘๔.jpg (75.89 KiB) เข้าดูแล้ว 674 ครั้ง
Cats๘๐.JPG
Cats๘๐.JPG (92.67 KiB) เข้าดูแล้ว 674 ครั้ง
Cats๘๑.JPG
Cats๘๑.JPG (114.92 KiB) เข้าดูแล้ว 674 ครั้ง
Cats๘๓.jpg
Cats๘๓.jpg (144.98 KiB) เข้าดูแล้ว 674 ครั้ง
วัดศิริมังคละเต่างอย (Wat Siri Mangkla Tao Ngoi) เป็นวัดดังในอำเภอเต่างอยและตั้งอยู่ไม่ไกลจากรูปปั้นพญาเต่างอย ภายในวัดโดดเด่นด้วยองค์พระธาตุเต่างอยสีขาวที่ประดับด้วยลวดลายสีทองอย่างวิจิตรงดงาม ด้านในเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและมีความสวยงามจากจิตรกรรมฝาผนังโดยรอบ รวมทั้งบานประตูหน้าต่างที่สลักลวดลายอย่างงดงาม วัดแห่งนี้จึงเป็นที่เคารพศรัทธาจากชาวบ้านมาอย่างช้านาน และเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในจังหวัดสกลนครอีกด้วย<br /><br />วัดศิริมังคละเต่างอย ตั้งอยู่ที่ตําบลเต่างอยในอําเภอเต่างอย ไม่ไกลจากรูปปั้นพญาเต่างอย วัดแห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2419 โดยมีพระเบี้ยเป็นเจ้าอาวาสคนแรก บริเวณป้ายชื่อวัดประดับด้วยรูปปั้นพญานาคคู่สีเขียวและสีฟ้า บริเวณป้ายชื่อพระธาตุเต่างอยประดับด้วยพญานาคคู่สีเงินและสีทอง ภายในวัดโดดเด่นด้วยพระธาตุเต่างอยสีขาวที่ประดับลวดลายอย่างงดงาม พระธาตุเต่างอย หรือ พระธาตุกัสสะปะชยมงคลแห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2556 มีขนาดกว้าง 10 เมตร สูง 29 เมตรรวมฉัตร ขนาดกำแพงแก้วกว้างด้านละ 19 เมตร สูง 1.49 เมตร มีเจดีย์ราย 4 องค์โดยรอบทั้งสี่ทิศ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาปรินายกในปี พ.ศ. 2555 ซึ่งตรงกับการครบรอบของพระพุทธองค์ที่ตรัสรู้ครบ 2,600 ปี
วัดศิริมังคละเต่างอย (Wat Siri Mangkla Tao Ngoi) เป็นวัดดังในอำเภอเต่างอยและตั้งอยู่ไม่ไกลจากรูปปั้นพญาเต่างอย ภายในวัดโดดเด่นด้วยองค์พระธาตุเต่างอยสีขาวที่ประดับด้วยลวดลายสีทองอย่างวิจิตรงดงาม ด้านในเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและมีความสวยงามจากจิตรกรรมฝาผนังโดยรอบ รวมทั้งบานประตูหน้าต่างที่สลักลวดลายอย่างงดงาม วัดแห่งนี้จึงเป็นที่เคารพศรัทธาจากชาวบ้านมาอย่างช้านาน และเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในจังหวัดสกลนครอีกด้วย

วัดศิริมังคละเต่างอย ตั้งอยู่ที่ตําบลเต่างอยในอําเภอเต่างอย ไม่ไกลจากรูปปั้นพญาเต่างอย วัดแห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2419 โดยมีพระเบี้ยเป็นเจ้าอาวาสคนแรก บริเวณป้ายชื่อวัดประดับด้วยรูปปั้นพญานาคคู่สีเขียวและสีฟ้า บริเวณป้ายชื่อพระธาตุเต่างอยประดับด้วยพญานาคคู่สีเงินและสีทอง ภายในวัดโดดเด่นด้วยพระธาตุเต่างอยสีขาวที่ประดับลวดลายอย่างงดงาม พระธาตุเต่างอย หรือ พระธาตุกัสสะปะชยมงคลแห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2556 มีขนาดกว้าง 10 เมตร สูง 29 เมตรรวมฉัตร ขนาดกำแพงแก้วกว้างด้านละ 19 เมตร สูง 1.49 เมตร มีเจดีย์ราย 4 องค์โดยรอบทั้งสี่ทิศ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาปรินายกในปี พ.ศ. 2555 ซึ่งตรงกับการครบรอบของพระพุทธองค์ที่ตรัสรู้ครบ 2,600 ปี
IMG20221115154035.jpg (75.45 KiB) เข้าดูแล้ว 674 ครั้ง
เราเพลิดเพลินกับการชมพญาเต่างอยและวัดเต่างอยนานพอสมควรจวบบ่ายแก่ ๆ เราก็ออกเดินทาง เป้าหมายช่วงนี้คือ มุ่งสู่ตัวเมือง จ.สกลนครครับ ในขณะที่เราปั่นใกล้ตัวเมืองสกลนคร ปรากฏฝนเทลงมาเราหาที่พักแทบไม่ทัน ติดตามกันต่อนะครับ จากเต่างอย เรายังจะพาท่านเยี่ยมชมอีกหนึ่งสถานที่ ที่เก่าแก่ของ จ.สกลนครครับ แต่ดู ๆ แล้วเหมือน ๆ จะขาดการดูแลพัฒนาพอสมควร
เราเพลิดเพลินกับการชมพญาเต่างอยและวัดเต่างอยนานพอสมควรจวบบ่ายแก่ ๆ เราก็ออกเดินทาง เป้าหมายช่วงนี้คือ มุ่งสู่ตัวเมือง จ.สกลนครครับ ในขณะที่เราปั่นใกล้ตัวเมืองสกลนคร ปรากฏฝนเทลงมาเราหาที่พักแทบไม่ทัน ติดตามกันต่อนะครับ จากเต่างอย เรายังจะพาท่านเยี่ยมชมอีกหนึ่งสถานที่ ที่เก่าแก่ของ จ.สกลนครครับ แต่ดู ๆ แล้วเหมือน ๆ จะขาดการดูแลพัฒนาพอสมควร
CSC 1.jpg (130.83 KiB) เข้าดูแล้ว 674 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4365
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:idea: :idea: #อย่ามองข้างนอกว่ามีความสำคัญกว่าธรรมภายในจิตในใจ '

... " พระพุทธเจ้าสรรเสริญ ความเจริญของธรรม มากกว่าความเจริญของโลก เพราะความเจริญของ 'โลก' มันทำให้สัตว์โลกที่ลุ่มหลงอยู่แล้ว ลุ่มหลงยิ่งขึ้นไป ตามปกติสัตว์โลกหลงอยู่แล้ว ความเจริญของโลกมากเท่าไหร่ ยิ่งหลงเพิ่มขึ้น คำว่าหลงนี่ เขาไม่เต็มเป็น

... ส่วนเรื่องของ ' ธรรม ' เจริญมากเท่าไหร่ มีแต่จะทำให้ ความโลภ ความโกรธ ความหลงที่มีอยู่ให้ลดน้อย ให้เบาบาง และหมดสิ้นไป พระพุทธเจ้าท่านทรงเห็นชัดอย่างนี้ จึงทรงสรรเสริญความเจริญของ'ธรรม' "

พระภาวนาวิสุทธิญาณเถร ( หลวงปู่แบน ธนากโร ) วัดดอยธรรมเจดีย์ จ.สกลนคร
:idea: :idea:
ไฟล์แนบ
822875.jpg
822875.jpg (40.75 KiB) เข้าดูแล้ว 651 ครั้ง
CSC 1.jpg
CSC 1.jpg (130.83 KiB) เข้าดูแล้ว 651 ครั้ง
ออกจากวัดเต่างอยเราก็มุ่งกลับสกลนคร ช่วงที่กำลังเดินทางเข้าตัวเมืองสกลนคร ฝนเทลงมาเรารีบหาที่พักหลบฝนได้สถานีอนามัยเป็นที่หลบฝน เจ้าหน้าที่น่ารักนำน้ำเย็นมาให้ และมานั่งคุยกับเรา ก็ได้ทราบเรื่องราวต่าง ๆ เราคุยกันสักพักรู้สึกได้ว่าถูกคอกับคุณนาย เธอก็ได้ระบายความทุกข์ให้คุณนายฟัง ก็น่าเห็นใจครับ คนมีความทุกข์เมื่อได้ระบาย รู้ได้ว่าเขาแจ่มใส และมื่อได้ฟังความทุกข์ของเราบ้าง เขาก็เหมือนมีเพื่อน แต่เรามีวิธีบริหารความทุกข์ของเราคือ เราพยายามไม่ติดยึด ทุกสิ่งทุกอย่างมันเกิดที่ใจ ถ้าใจไม่ไปให้ความสำคัญ อะไร ๆ ก็ทำให้เราเป็นทุกข์ไม่ได้ <br /><br />&quot;จงรักษาใจให้เป็น กลาง ๆ คือไม่ทุกข์ ไม่สุข&quot; แค่นี้ครับ<br /><br />เราทิ้ง &quot;ทุกข์&quot; ของเราด้วยการออกเดินทางท่องเที่ยวด้วยจักรยานไปทุกหนทุกแห่งที่ใจเราอยากไป สุดท้ายคุณน้องก็บอกว่า &quot;วาสนาที่จะทำแบบเราคงยาก เพราะน้องต้องมีความรับผิดชอบอีกเยอะ&quot; ก็ได้แต่บอกน้องว่า &quot;ค่อย ๆ คิด ค่อยทำ แต่ถ้าจะให้เห็นผลต้อง หันหน้าเข้าวัดฝึกจิตฝึกใจ ด้วยสติ สมาธิ และฝึกทำภาวนาเท่านั้น&quot; <br /><br />ก่อนจากกันเราก็ได้อวยพรให้คุณน้องจงพ้นเคราะห์ พ้นโศกโดยเร็วไว ขอให้มีความสุขเพิ่มขึ้น ๆ เอาทุกข์ทิ้งไปซะ แล้วเราก็เดินทางต่อไปท่ามกลางสายฝนปรอย ๆ พอทนได้
ออกจากวัดเต่างอยเราก็มุ่งกลับสกลนคร ช่วงที่กำลังเดินทางเข้าตัวเมืองสกลนคร ฝนเทลงมาเรารีบหาที่พักหลบฝนได้สถานีอนามัยเป็นที่หลบฝน เจ้าหน้าที่น่ารักนำน้ำเย็นมาให้ และมานั่งคุยกับเรา ก็ได้ทราบเรื่องราวต่าง ๆ เราคุยกันสักพักรู้สึกได้ว่าถูกคอกับคุณนาย เธอก็ได้ระบายความทุกข์ให้คุณนายฟัง ก็น่าเห็นใจครับ คนมีความทุกข์เมื่อได้ระบาย รู้ได้ว่าเขาแจ่มใส และมื่อได้ฟังความทุกข์ของเราบ้าง เขาก็เหมือนมีเพื่อน แต่เรามีวิธีบริหารความทุกข์ของเราคือ เราพยายามไม่ติดยึด ทุกสิ่งทุกอย่างมันเกิดที่ใจ ถ้าใจไม่ไปให้ความสำคัญ อะไร ๆ ก็ทำให้เราเป็นทุกข์ไม่ได้

"จงรักษาใจให้เป็น กลาง ๆ คือไม่ทุกข์ ไม่สุข" แค่นี้ครับ

เราทิ้ง "ทุกข์" ของเราด้วยการออกเดินทางท่องเที่ยวด้วยจักรยานไปทุกหนทุกแห่งที่ใจเราอยากไป สุดท้ายคุณน้องก็บอกว่า "วาสนาที่จะทำแบบเราคงยาก เพราะน้องต้องมีความรับผิดชอบอีกเยอะ" ก็ได้แต่บอกน้องว่า "ค่อย ๆ คิด ค่อยทำ แต่ถ้าจะให้เห็นผลต้อง หันหน้าเข้าวัดฝึกจิตฝึกใจ ด้วยสติ สมาธิ และฝึกทำภาวนาเท่านั้น"

ก่อนจากกันเราก็ได้อวยพรให้คุณน้องจงพ้นเคราะห์ พ้นโศกโดยเร็วไว ขอให้มีความสุขเพิ่มขึ้น ๆ เอาทุกข์ทิ้งไปซะ แล้วเราก็เดินทางต่อไปท่ามกลางสายฝนปรอย ๆ พอทนได้
CSC ๒.jpg (135.42 KiB) เข้าดูแล้ว 651 ครั้ง
CSC ๓.jpg
CSC ๓.jpg (108.93 KiB) เข้าดูแล้ว 651 ครั้ง
CSC ๔.jpg
CSC ๔.jpg (106.91 KiB) เข้าดูแล้ว 651 ครั้ง
CSC ๖.jpg
CSC ๖.jpg (127.19 KiB) เข้าดูแล้ว 651 ครั้ง
CSC ๕.JPG
CSC ๕.JPG (110.78 KiB) เข้าดูแล้ว 651 ครั้ง
CSC ๗.jpg
CSC ๗.jpg (115.64 KiB) เข้าดูแล้ว 651 ครั้ง
CSC ๘.jpg
CSC ๘.jpg (123.77 KiB) เข้าดูแล้ว 651 ครั้ง
CSC ๑๑.jpg
CSC ๑๑.jpg (131.63 KiB) เข้าดูแล้ว 651 ครั้ง
CSC ๙.jpg
CSC ๙.jpg (123.57 KiB) เข้าดูแล้ว 651 ครั้ง
CSC ๑๐.jpg
CSC ๑๐.jpg (122.67 KiB) เข้าดูแล้ว 651 ครั้ง
CSC ๑๒.jpg
CSC ๑๒.jpg (45.08 KiB) เข้าดูแล้ว 651 ครั้ง
ออกจากวัดพระธาตุดุมมุ่งไป รร.ที่พัก เราต้องผ่านพระธาตุเชิงชุมก็ถือโอกาสแวะเข้าไปชมความงามของพระธาตุยามค่ำคืนด้วย
ออกจากวัดพระธาตุดุมมุ่งไป รร.ที่พัก เราต้องผ่านพระธาตุเชิงชุมก็ถือโอกาสแวะเข้าไปชมความงามของพระธาตุยามค่ำคืนด้วย
CSC ๑๓.jpg (72.59 KiB) เข้าดูแล้ว 651 ครั้ง
CSC ๑๔.jpg
CSC ๑๔.jpg (133.17 KiB) เข้าดูแล้ว 651 ครั้ง
CSC ๑๕.jpg
CSC ๑๕.jpg (111.5 KiB) เข้าดูแล้ว 651 ครั้ง
DSC_4633.JPG
DSC_4633.JPG (53.75 KiB) เข้าดูแล้ว 651 ครั้ง
แวะตลาดโต้รุ่งหาซื้ออาหารการกินมื้อเย็นกลับไป รร.อาบน้ำชำระร่างกายเรียบร้อยเราก็รับทานมื้อเย็น สวดมนต์ ทำภาวนา ก่อนนอน หลับสนิทด้วยความสุขจากการได้ ออกกำลัง ได้ความแข็งแกร่งทั้งร่างกายจิตใจ รุ่งเช้าเราจะได้ตระเวนท่องเที่ยวกันต่อไป
แวะตลาดโต้รุ่งหาซื้ออาหารการกินมื้อเย็นกลับไป รร.อาบน้ำชำระร่างกายเรียบร้อยเราก็รับทานมื้อเย็น สวดมนต์ ทำภาวนา ก่อนนอน หลับสนิทด้วยความสุขจากการได้ ออกกำลัง ได้ความแข็งแกร่งทั้งร่างกายจิตใจ รุ่งเช้าเราจะได้ตระเวนท่องเที่ยวกันต่อไป
DSC_4635.JPG (86.17 KiB) เข้าดูแล้ว 651 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4365
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:) :D เช้าวันที่ ๑๖ พ.ย.๖๕ เราตื่นแต่เช้าเพื่อเตรียมตัวออกเดินทางไปเที่ยวกันต่อ วันนี้ประมาณว่าจะออกจากตัวเมือง สกลนคร มุ่งหน้าไปยังวัดป่าอุดมสมพร (วัดหลวงปู่ฝั้น อาจาโร) โดยจะแวะที่ บ.ท่าแร่ก่อนเพื่อไปชมโบสถ์คริสต์ที่ขึ้นชื่อของสกลนคร เป็นเหตุบังเอิญที่ปั่นออกจาก รร.เราไปเห็นป้ายพระธาตุนารายณ์เจงเวง เต๊ะตาเต๊ะใจ ตัดสินใจแวะไปเยี่ยมพระธาตุเจงเวงเสียก่อน ถือว่าเป็นบุญของเราครับที่ได้เห็น อีกที่ ๆ เราภูมิใจนำเสนอก็คืออุทยานสวนบัวครับ เป็นทางผ่านไป บ.ท่าแร่พอดิบพอดี โชคดีจังเลย ไปชมกับเราครับ ก่อนอื่นอย่าลืมคลิกเข้าไปชมคลิปวีดีโอ เกี่ยวกับพระนารายณ์เจงเวงกันก่อนนะครับ :) :D


:) :D โบราณเกลือกกลิ้ง [EP 04] : พระธาตุนารายณ์เจงเวง ตำนานแข่งกันสร้างเจดีย์ของ ผู้ชายกับผู้หญิง :) :D
ไฟล์แนบ
283952.jpg
283952.jpg (24.19 KiB) เข้าดูแล้ว 648 ครั้ง
Cats๘๒.jpg
Cats๘๒.jpg (141.49 KiB) เข้าดูแล้ว 648 ครั้ง
ตื่นเช้าเราก็เตรียมอาหารที่จัดซื้อไว้แต่เมื่อคืน นำมาปรุงรับประทานตอนเช้า ได้กาแฟของ รร.เป็นเครื่องเคียง หลังจากที่จัดการมื้อเช้าเรียบร้อย คุณนายก็ไปจ่ายค่าเสียหาย ๒ คืน ก่อนที่เราจะอำลาเดินทาง วันนี้ประมาณกันว่าเราจะไปให้ถึง วัดป่าอุดมสมพรไปกราบหลวงปู่ฝั้นกันครับ
ตื่นเช้าเราก็เตรียมอาหารที่จัดซื้อไว้แต่เมื่อคืน นำมาปรุงรับประทานตอนเช้า ได้กาแฟของ รร.เป็นเครื่องเคียง หลังจากที่จัดการมื้อเช้าเรียบร้อย คุณนายก็ไปจ่ายค่าเสียหาย ๒ คืน ก่อนที่เราจะอำลาเดินทาง วันนี้ประมาณกันว่าเราจะไปให้ถึง วัดป่าอุดมสมพรไปกราบหลวงปู่ฝั้นกันครับ
CSC ๑๖.jpg (122.32 KiB) เข้าดูแล้ว 648 ครั้ง
CSC ๑๘.JPG
วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี<br /><br />วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง Phra That Narai Cheng Weng.PNG<br /><br />วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวงตั้งอยู่ในจังหวัดสกลนคร  สร้างเสร็จสมบูรณ์ใน พุทธศตวรรษที่ 16<br /><br />วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง เป็นสถานที่ตั้งพระธาตุนารายณ์เจงเวง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 6 กิโลเมตร ตามถนนสายสกลนคร-อุดรธานี ตำบลธาตุนาเวง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร<br /><br />ประวัติ<br /><br />ดพระธาตุนารายณ์เจงเวง สร้างขึ้นพร้อมกันกับ &quot;พระธาตุนารายณ์เจงเวง&quot; หรือ &quot;อรดีมายานารายณ์เจงเวง&quot; โดยชื่อนี้ตั้งชื่อตามผู้สร้างโดยกลุ่มสตรีของพระนางนาเวงแห่งเมืองหนองหานหลวงมีการแข่งขันกลุ่มบุรุษชาวเมืองหนองหานน้อย เพื่อรอรับพระพระมหากัสสปะเถระ ซึ่งนำพระอุรังคธาตุไปบรรจุยังดอยภูกำพร้า โดยตกลงกันว่าหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสามารถสร้างพระธาตุเจดีย์ใหญ่เสร็จก่อนดาวเพ็กขึ้นฝ่ายนั้นจะเป็นผู้ชนะ[1]<br /><br /><br />พระธาตุนารายณ์เจงเวง สกลนคร<br />ตามตำนานอุรังคธาตุกล่าวถึงโบราณสถานแห่งนี้ว่า ยังกล่าวว่า เมื่อพระมหากัสสปเถระและบริวารเดินทางมาถึงเมืองหนองหานหลวง กลุ่มสตรีชาวเมืองหนองหานได้ทูลขอแบ่งอุรังคธาตุ(กระดูกหน้าอก)ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่พระมหาเถระผู้ใหญ่มิได้ทรงอนุญาตด้วยผิดวัตถุประสงค์ที่พระพุทธองค์ที่ตรัสไว้ให้นำอุรังคธาตุไปประดิษฐานบรรจุเจดีย์ที่ภูกำพร้า กลางลำน้ำโขง(พระธาตุพนม) แต่มิให้เสียศรัทธา พระมหากัสสัปะเถระผู้ใหญ่จึงมอบให้พระอรหันต์รูปหนึ่งไปนำพระอังคารธาตุจากที่ถวายเพลิงพระศพสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์แห่งนี้ จึงนับว่าพระธาตุนารายณ์เจงเวงเป็นโบราณสถานที่สำคัญของเมืองสกลนคร[2]<br /><br />เมื่อครั้ง พ.ศ. 2449 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย พระองค์ได้เสด็จตรวจราชการมณฑลนครราชสีมา และมณฑลอุดรอีสาน รวม 56 วัน โดยได้นิพนธ์ไว้ในหนังสือเรื่องเที่ยวที่ต่าง ๆ ภาคที่ 4 เกี่ยวกับเมืองสกลนครไว้ว่า “วันที่ 15 มกราคม ขี่ม้าไปบ้านนาเวง ระยะทาง 15 เส้น ไปตามถนนขอมสร้างไว้แต่ดึกดำบรรพ์ มีสะพานหินเปนสพานศิลาแลง ฝีมือขอมทำดีน่าดูอยู่แห่ง 1 เปนของสมัยเดียวกันกับเทวสถาน ที่ตำบลนาเวงมีเทวสถานเรียกว่า “อรดีมายานารายณ์เจงเวง” ตั้งอยู่บนเนินซึ่งมีซุ้มไม้ร่มรื่นดี..”[3]<br /><br />พระธาตุนารายณ์เจงเวง<br /><br />เป็นพระธาตุสร้างด้วยหินทราย มีลักษณะปรางค์แบบขอมที่ส่วนใหญ่สร้วบรางกันในสมัยนั้น ส่วนฐานก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ องค์เจดีย์รูปทรงสี่เหลี่ยมมีซุ้มประตูแต่ละด้าน ภายใต้ซุ้มข้างบนสลักรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ ประดับด้วยกนกด้านขด มุมทั้งสี่ด้านขององค์พระธาตุ เป็นรูปนาคห้าเศียร ปัจจุบัน มีพระครูศรีปริยัติวุฒิคุณ (สุวัฒน์ โกญทัญโญ ป.ธ ๕ M.A.) เป็นเจ้าอาวาส
วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง Phra That Narai Cheng Weng.PNG

วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวงตั้งอยู่ในจังหวัดสกลนคร สร้างเสร็จสมบูรณ์ใน พุทธศตวรรษที่ 16

วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง เป็นสถานที่ตั้งพระธาตุนารายณ์เจงเวง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 6 กิโลเมตร ตามถนนสายสกลนคร-อุดรธานี ตำบลธาตุนาเวง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

ประวัติ

ดพระธาตุนารายณ์เจงเวง สร้างขึ้นพร้อมกันกับ "พระธาตุนารายณ์เจงเวง" หรือ "อรดีมายานารายณ์เจงเวง" โดยชื่อนี้ตั้งชื่อตามผู้สร้างโดยกลุ่มสตรีของพระนางนาเวงแห่งเมืองหนองหานหลวงมีการแข่งขันกลุ่มบุรุษชาวเมืองหนองหานน้อย เพื่อรอรับพระพระมหากัสสปะเถระ ซึ่งนำพระอุรังคธาตุไปบรรจุยังดอยภูกำพร้า โดยตกลงกันว่าหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสามารถสร้างพระธาตุเจดีย์ใหญ่เสร็จก่อนดาวเพ็กขึ้นฝ่ายนั้นจะเป็นผู้ชนะ[1]


พระธาตุนารายณ์เจงเวง สกลนคร
ตามตำนานอุรังคธาตุกล่าวถึงโบราณสถานแห่งนี้ว่า ยังกล่าวว่า เมื่อพระมหากัสสปเถระและบริวารเดินทางมาถึงเมืองหนองหานหลวง กลุ่มสตรีชาวเมืองหนองหานได้ทูลขอแบ่งอุรังคธาตุ(กระดูกหน้าอก)ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่พระมหาเถระผู้ใหญ่มิได้ทรงอนุญาตด้วยผิดวัตถุประสงค์ที่พระพุทธองค์ที่ตรัสไว้ให้นำอุรังคธาตุไปประดิษฐานบรรจุเจดีย์ที่ภูกำพร้า กลางลำน้ำโขง(พระธาตุพนม) แต่มิให้เสียศรัทธา พระมหากัสสัปะเถระผู้ใหญ่จึงมอบให้พระอรหันต์รูปหนึ่งไปนำพระอังคารธาตุจากที่ถวายเพลิงพระศพสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์แห่งนี้ จึงนับว่าพระธาตุนารายณ์เจงเวงเป็นโบราณสถานที่สำคัญของเมืองสกลนคร[2]

เมื่อครั้ง พ.ศ. 2449 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย พระองค์ได้เสด็จตรวจราชการมณฑลนครราชสีมา และมณฑลอุดรอีสาน รวม 56 วัน โดยได้นิพนธ์ไว้ในหนังสือเรื่องเที่ยวที่ต่าง ๆ ภาคที่ 4 เกี่ยวกับเมืองสกลนครไว้ว่า “วันที่ 15 มกราคม ขี่ม้าไปบ้านนาเวง ระยะทาง 15 เส้น ไปตามถนนขอมสร้างไว้แต่ดึกดำบรรพ์ มีสะพานหินเปนสพานศิลาแลง ฝีมือขอมทำดีน่าดูอยู่แห่ง 1 เปนของสมัยเดียวกันกับเทวสถาน ที่ตำบลนาเวงมีเทวสถานเรียกว่า “อรดีมายานารายณ์เจงเวง” ตั้งอยู่บนเนินซึ่งมีซุ้มไม้ร่มรื่นดี..”[3]

พระธาตุนารายณ์เจงเวง

เป็นพระธาตุสร้างด้วยหินทราย มีลักษณะปรางค์แบบขอมที่ส่วนใหญ่สร้วบรางกันในสมัยนั้น ส่วนฐานก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ องค์เจดีย์รูปทรงสี่เหลี่ยมมีซุ้มประตูแต่ละด้าน ภายใต้ซุ้มข้างบนสลักรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ ประดับด้วยกนกด้านขด มุมทั้งสี่ด้านขององค์พระธาตุ เป็นรูปนาคห้าเศียร ปัจจุบัน มีพระครูศรีปริยัติวุฒิคุณ (สุวัฒน์ โกญทัญโญ ป.ธ ๕ M.A.) เป็นเจ้าอาวาส
CSC ๒๐.jpg
CSC ๒๐.jpg (148.35 KiB) เข้าดูแล้ว 648 ครั้ง
CSC ๒๑.jpg
CSC ๒๑.jpg (145.1 KiB) เข้าดูแล้ว 648 ครั้ง
เมื่อเราเข้าไปกราบนมัสการพระประธานในอุโบสถ ก็พบคนเฒ่าคนแก่ ที่มาทำบุญร่วมกันรับประทานอาหาร ด้วยความมีน้ำใจแม่เฒ่าแบ่งอาหารให้เรา ต้องกราบขอบพระคุณแต่เราทานด้วยไม่ได้ เพราะเราไม่ทานเนื้อสัตว์ ทำเอาแม่เฒ่าแปลกใจ ก็ได้คุยกันนาน คุยกันสักพอหอมปากหอมคอ เราก็กราบลาแม่เฒ่าทั้งหลาย โอ..ท่านเมตตาให้ศีลให้พรเรายกใหญ่ แม่เฒ่าบอกเกิดมาพึ่งเคยเห็นนี่แหละ ทำไม ??? ไปด้วยกันได้หนอ....(ผมก็ว่านะ ๕๕๕)
เมื่อเราเข้าไปกราบนมัสการพระประธานในอุโบสถ ก็พบคนเฒ่าคนแก่ ที่มาทำบุญร่วมกันรับประทานอาหาร ด้วยความมีน้ำใจแม่เฒ่าแบ่งอาหารให้เรา ต้องกราบขอบพระคุณแต่เราทานด้วยไม่ได้ เพราะเราไม่ทานเนื้อสัตว์ ทำเอาแม่เฒ่าแปลกใจ ก็ได้คุยกันนาน คุยกันสักพอหอมปากหอมคอ เราก็กราบลาแม่เฒ่าทั้งหลาย โอ..ท่านเมตตาให้ศีลให้พรเรายกใหญ่ แม่เฒ่าบอกเกิดมาพึ่งเคยเห็นนี่แหละ ทำไม ??? ไปด้วยกันได้หนอ....(ผมก็ว่านะ ๕๕๕)
CSC ๒๒.jpg (165.28 KiB) เข้าดูแล้ว 648 ครั้ง
CSC ๒๓.jpg
CSC ๒๓.jpg (145.08 KiB) เข้าดูแล้ว 648 ครั้ง
ออกเดินทางจากพระธาตุนารายณ์เจงเวงเรามุ่งหน้าสู่ บ.ท่าแร่ ระหว่างทางก่อนถึงท่าแร่ เราก็พบที่สงบเย็นสบายเป็นอุทยานสวนบัว มีหรือจะเว้นเราพากันเข้าไปเที่ยวชม เรียกว่าได้พักขาไปในตัว ชม-ศึกษา บัวต่าง ๆ เป็นความรู้เพิ่มเติมให้กับเราครับ มีบัวมากมายหลากหลายสายพันธ์ครับ<br /><br />บ.ท่าแร่จะมีอะไรดีอย่าลืมติดตามนะครับ ขอบคุณมากครับ.
ออกเดินทางจากพระธาตุนารายณ์เจงเวงเรามุ่งหน้าสู่ บ.ท่าแร่ ระหว่างทางก่อนถึงท่าแร่ เราก็พบที่สงบเย็นสบายเป็นอุทยานสวนบัว มีหรือจะเว้นเราพากันเข้าไปเที่ยวชม เรียกว่าได้พักขาไปในตัว ชม-ศึกษา บัวต่าง ๆ เป็นความรู้เพิ่มเติมให้กับเราครับ มีบัวมากมายหลากหลายสายพันธ์ครับ

บ.ท่าแร่จะมีอะไรดีอย่าลืมติดตามนะครับ ขอบคุณมากครับ.
CSC ๒๔.jpg (175.27 KiB) เข้าดูแล้ว 648 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4365
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:idea: :idea: #สงครามใจ

... " ต้องต่อสู้กันอยู่เสมอ ในเมื่อบาปยังตกค้างอยู่ในจิตในใจ ในเมื่อนักเลงอันธพาล จอมเกเรมันยังมีอยู่ จอมก่อการร้ายมันยังมีอยู่ สงครามไม่สงบ

... ตัวก่อการร้าย ก็คือ ใจของเรานี่ ตัวก่อการร้ายก็คือ กิเลส ถ้าหากว่ายังมีอยู่ตราบใด สงครามใจยังไม่สงบ

... ตัวก่อการร้ายยังมีอยู่ในหัวใจตราบใด โลกจะหาสันติสุขไม่ได้ เพราะตัวก่อการร้ายมันยังมีอยู่ในใจของสัตว์โลก ตัวก่อการร้ายยังมีอยู่ในหัวใจสัตว์โลกตราบใด โลกไม่มีโอกาสจะเข้าถึงสันติได้ "

พระภาวนาวิสุทธิญาณเถร ( หลวงปู่แบน ธนากโร ) วัดดอยธรรมเจดีย์ จ.สกลนคร
:idea: :idea:

:) :D เราออกจากพระธาตุนารายณ์เจงเวงเพื่อที่จะมุ่งไป บ.ท่าแร่ อ.ท่าแร่ ไปติดตามชมบางสิ่งบางอย่างที่สมัยก่อน นานมาแล้วเรามาพักที่สกลนคร ต้องการไปพิสูจน์ความจริง แต่ปรากฏว่าเราไปสายพ่อค้า-แม่ค้า บอกว่าถ้าจะมาดูต้องมาแต่เช้าเพราะสิ่งนี้ พอสักตีี ๕ หรือไม่เกิน ๖ โมงเช้าหมดแล้ว ไม่เหลือ ๕๕๕ (เดาไม่ยากเนาะ)

เราปั่นกันมาเรื่อย ๆ ก็มาเจอเข้ากับอุทยานสวนบัว ไม่พลาดครับถือโอกาสพักขา และหาอะไรเย็น ๆ ให้ชื่นใจ (เชื่อต้องมีร้านค้า) ก็ไม่ผิดหวังจริง ๆ ขออนุญาตุนำท่านไปชมอุทยานสวนบัวเพื่อประดับความรู้ก่อนแล้วกัน ไปครับ
:idea: :idea:

:P :P "อุทยานบัวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร" งานฟาร์มมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 18 มกราคม 2566 :idea: :idea:
ไฟล์แนบ
1197628.jpg
1197628.jpg (61.19 KiB) เข้าดูแล้ว 633 ครั้ง
ออกจากพระธาตุนารายณ์เจงเวง เราก็มุ่งเป้าไปยัง อ.ท่าแร่ เพื่อไปย้อนอดีตของเราแต่นานมาแล้วที่มาแสวงหาพิสูจน์ทราบความจริงดังกล่าว ปรากฏว่าระหว่างทางเรามีสถานที่ควรแวะเยี่ยมชมหลาย ๆ ที่ ให้ได้เลือกที่เข้าไปชม ดังเช่นอุทยานบัวเฉลิมพระเกียรติ เราไม่พลาดที่เข้าไปชมครับแน่นอน
ออกจากพระธาตุนารายณ์เจงเวง เราก็มุ่งเป้าไปยัง อ.ท่าแร่ เพื่อไปย้อนอดีตของเราแต่นานมาแล้วที่มาแสวงหาพิสูจน์ทราบความจริงดังกล่าว ปรากฏว่าระหว่างทางเรามีสถานที่ควรแวะเยี่ยมชมหลาย ๆ ที่ ให้ได้เลือกที่เข้าไปชม ดังเช่นอุทยานบัวเฉลิมพระเกียรติ เราไม่พลาดที่เข้าไปชมครับแน่นอน
CSC ๒๓.jpg (145.08 KiB) เข้าดูแล้ว 633 ครั้ง
CSC ๒๔.jpg
CSC ๒๔.jpg (175.27 KiB) เข้าดูแล้ว 633 ครั้ง
CSC ๒๕.jpg
CSC ๒๕.jpg (165.16 KiB) เข้าดูแล้ว 633 ครั้ง
อุทยานบัวเฉลิมพระเกียรติ แหล่งท่องเที่ยวสกลนคร<br /><br />    อุทยานบัว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2553 เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมบัวพันธุ์ต่างๆ และรองรับการประชุมวิชาการบัวนานาชาติปี พ.ศ.2553 ที่จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ศึกษา ค้นคว้า ของนิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป รวมทั้งยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดสกลนคร<br /><br />ปัจจุบันอุทยานบัวแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้<br /><br />ส่วนรวบรวมพันธุ์บัว เป็นการรวบรวมพันธุ์บัวทั้งในและต่างประเทศทั้งหมด 34 สายพันธุ์ เช่นบัวกระด้ง บัวสาย บัวผัน-เผื่อน และบัวฝรั่ง รวบรวมไว้ในรูปแบบสระบัวบนพื้นที่ 10 ไร่ โดยมีทางเดินที่สามารถเดินลงไปชมบัวได้ อย่างใกล้ชิด<br /><br />ส่วนแสดงพันธุ์บัว โดยนำบัวพันธุ์จำนวน 74 สายพันธุ์มาจัดโชว์บนกระถาง เพื่อให้ผู้สนใจได้ใกล้ ชิดกับบัวมากขึ้น<br /><br />ส่วนนิทรรศการ ได้จัดแสดงไว้ในชั้นล่างของอาคารวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็นนิทรรศการความรู้และความเป็นมาของบัวพันธุ์ต่าง ๆ เหมาะแก่การศึกษาค้นคว้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งภายในห้องนิทรรศการประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับบัวต่างๆ ดังนี้<br /><br />1.การจำแนกพันธุ์บัว 2.ประวัติบัวในไทย 3.การปลูกบัว 4.การดูแลรักษา<br /><br />5.โรคและศัตรูที่สำคัญ 6.การปรับปรุงพันธุ์ 7.การทำนาบัว 8.ประโยชน์จากบัว<br /><br />ที่ตั้งอุทยานหนองหารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกรียติ จังหวัดสกลนคร 59 หมู่ 1 ต.เชียงเครือ อ.เมือง จ.สกลนคร รหัสไปรษณีย์ 47000<br />โทรศัพท์ : 0-4272-5000 โทรสาร : 0-4272-5013<br /><br />วันเวลาเปิดทำการ<br /><br />จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.<br />เสาร์ – อาทิตย์ เวลา 8.30 – 18.00 น.<br /><br />การเดินทาง อุทยานอยู่ห่างจากตัวเมืองสกลนครประมาณ 20 กิโลเมตร <br /><br />(ข้อมูลจาก อุทยานบัว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร)
อุทยานบัวเฉลิมพระเกียรติ แหล่งท่องเที่ยวสกลนคร

อุทยานบัว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2553 เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมบัวพันธุ์ต่างๆ และรองรับการประชุมวิชาการบัวนานาชาติปี พ.ศ.2553 ที่จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ศึกษา ค้นคว้า ของนิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป รวมทั้งยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดสกลนคร

ปัจจุบันอุทยานบัวแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้

ส่วนรวบรวมพันธุ์บัว เป็นการรวบรวมพันธุ์บัวทั้งในและต่างประเทศทั้งหมด 34 สายพันธุ์ เช่นบัวกระด้ง บัวสาย บัวผัน-เผื่อน และบัวฝรั่ง รวบรวมไว้ในรูปแบบสระบัวบนพื้นที่ 10 ไร่ โดยมีทางเดินที่สามารถเดินลงไปชมบัวได้ อย่างใกล้ชิด

ส่วนแสดงพันธุ์บัว โดยนำบัวพันธุ์จำนวน 74 สายพันธุ์มาจัดโชว์บนกระถาง เพื่อให้ผู้สนใจได้ใกล้ ชิดกับบัวมากขึ้น

ส่วนนิทรรศการ ได้จัดแสดงไว้ในชั้นล่างของอาคารวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็นนิทรรศการความรู้และความเป็นมาของบัวพันธุ์ต่าง ๆ เหมาะแก่การศึกษาค้นคว้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งภายในห้องนิทรรศการประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับบัวต่างๆ ดังนี้

1.การจำแนกพันธุ์บัว 2.ประวัติบัวในไทย 3.การปลูกบัว 4.การดูแลรักษา

5.โรคและศัตรูที่สำคัญ 6.การปรับปรุงพันธุ์ 7.การทำนาบัว 8.ประโยชน์จากบัว

ที่ตั้งอุทยานหนองหารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกรียติ จังหวัดสกลนคร 59 หมู่ 1 ต.เชียงเครือ อ.เมือง จ.สกลนคร รหัสไปรษณีย์ 47000
โทรศัพท์ : 0-4272-5000 โทรสาร : 0-4272-5013

วันเวลาเปิดทำการ

จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
เสาร์ – อาทิตย์ เวลา 8.30 – 18.00 น.

การเดินทาง อุทยานอยู่ห่างจากตัวเมืองสกลนครประมาณ 20 กิโลเมตร

(ข้อมูลจาก อุทยานบัว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร)
CSC ๒๖.JPG (111.5 KiB) เข้าดูแล้ว 633 ครั้ง
CSC ๒๗.jpg
CSC ๒๗.jpg (141.64 KiB) เข้าดูแล้ว 633 ครั้ง
CSC ๒๘.jpg
CSC ๒๘.jpg (135.64 KiB) เข้าดูแล้ว 633 ครั้ง
CSC ๒๙.jpg
CSC ๒๙.jpg (128.25 KiB) เข้าดูแล้ว 633 ครั้ง
CSC ๓๑.jpg
CSC ๓๑.jpg (142.9 KiB) เข้าดูแล้ว 633 ครั้ง
หลังจากที่เราชื่นชมบรรยากาศที่สวนบัวจนอิ่มใจแล้ว เราก็พากันออกจากสวนบัวมุ่งไป บ.ท่าแร่ ออกมาไม่ไกลกันนัก เราก็เจอเข้ากับเหมือน ๆ ที่พักรถข้างทาง มองเข้าไปไปแล้วสงบ เย็น กระตุ้นความสนใจเหมือนจะบอกเราว่า &quot;ไม่ควรจะผ่านไป&quot; ไม่รอช้าข้ามฝากเข้าไปสำรวจก็ไม่ผิดหวังได้ภาพสวย ๆ ได้สูดโอโซน ได้เห็นหนองหารที่กว้างใหญ่สมคำร่ำรืออีกมุมหนึ่ง ไม่ผิดหวังครับ
หลังจากที่เราชื่นชมบรรยากาศที่สวนบัวจนอิ่มใจแล้ว เราก็พากันออกจากสวนบัวมุ่งไป บ.ท่าแร่ ออกมาไม่ไกลกันนัก เราก็เจอเข้ากับเหมือน ๆ ที่พักรถข้างทาง มองเข้าไปไปแล้วสงบ เย็น กระตุ้นความสนใจเหมือนจะบอกเราว่า "ไม่ควรจะผ่านไป" ไม่รอช้าข้ามฝากเข้าไปสำรวจก็ไม่ผิดหวังได้ภาพสวย ๆ ได้สูดโอโซน ได้เห็นหนองหารที่กว้างใหญ่สมคำร่ำรืออีกมุมหนึ่ง ไม่ผิดหวังครับ
CSC ๓๒.jpg (141.07 KiB) เข้าดูแล้ว 633 ครั้ง
CSC ๓๔.jpg
CSC ๓๔.jpg (117.59 KiB) เข้าดูแล้ว 633 ครั้ง
จุดชมวิว​หนองหาร​ ตั้งอยู่​ที่​ ทางหลวงหมายเลข​ ​22 กิโลเมตรที่​ 168 ตำบลท่าแร่​ อำเภอเมืองสกลนคร​ ซึ่งหนองหารนั้นได้ชื้อว่าเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่สุดของอีสาน​ โดยมีพื้นที่ถึง​77,000 ไร่​ และภายในพื้นที่หนองหารก็ยังมี​ เกาะเล็กเกาะน้อยอยู่​หลาย​แห่ง​ และยังเป็นหนองน้ำที่มีเรื่องเล่าและตำนานมาอย่างยาวนาน​ คือเรื่องความรักของ​ ผาแดง​ นางไอ่​ และถ้าใครที่สนใจอยากจะศึกษา​เรื่อง​นี้เพิ่มเติมก็สามารถเข้าชมได้<br /><br />ผาแดงนางไอ่ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี<br /><br />ผาแดงนางไอ่ เป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่รู้จักกันแพร่หลายทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยโดยเฉพาะทางตอนบนของภาคในบริเวณจังหวัดสกลนคร จังหวัดอุดรธานี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดมหาสารคาม เป็นต้น รวมถึงในประเทศลาวด้วย<br /><br />ปรากฏหลักฐานการจารลงในใบลานทั้งตัวอักษรธรรมและอักษรไทยน้อยหลายสำนวน และมักไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้แต่งและแต่งไว้ตั้งแต่เมื่อใด สำนวนที่รู้จักกันแพร่หลายคือสำนวนที่ปรีชา พิณทอง ได้เลือกมาชำระใหม่เมื่อ พ.ศ. 2524<br /> <br />นอกจากสำนวนเก่ายังมีสำนวนที่แต่งขึ้นใหม่ เช่น สำนวนในหนังสือ รวมนิทานพื้นบ้านอีสาน ชุดที่ 5 ของเตชวโรภิกขุ (อินตา กวีวงศ์) (พ.ศ. 2544) ยังมีวรรณกรรมอีสานสำหรับเยาวชน เช่น ผาแดงนางไอ่ เขียนโดย พิพัฒน์ ประเสริฐสังข์ (พ.ศ. 2555) ด้านเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับผาแดงนางไอ่ เช่น &quot;ไอ่คำรำพัน&quot; (ขับร้องโดย นกน้อย อุไรพร) และ &quot;วาสนาภังคี&quot; (ขับร้องโดย วิเศษ เวณิกา) เป็นต้น[1]<br /><br /> เนื้อหามีว่า<br /><br />ณ นครเอกชะทีตา (หรือเมืองสุวรรณโคมคำ) มีพระยาขอมเป็นกษัตริย์ พระยาขอมมีพระธิดานามว่า &quot;นางไอ่คำ&quot; หรือ &quot;นางไอ่&quot; ผู้มีความงดงามยิ่งนักซึ่งเป็นที่รักและหวงแหนมาก จึงสร้างปราสาท 7 ชั้นให้อยู่พร้อมเหล่าสนม นางกำนัลคอยดูแลอย่างดี จนเรื่องไปถึงหูของ &quot;ท้าวผาแดง&quot; ท้าวผาแดงจึงแอบมาหานางไอ่ที่วัง โดยผ่านทางคนใช้เป็นแม่สื่อ จนทั้งสองได้รักกันและสัญญาว่าจะมาสู่ขอตามประเพณี<br /><br />ขณะที่เมืองบาดาล มีพญานาคชื่อ &quot;สุทโธนา&quot; ครองเมือง มีลูกชายชื่อ &quot;ท้าวภังคี&quot; ชาติที่แล้วท้าวภังคีเกิดเป็นคู่กับนางไอ่ซึ่งเป็นใบ้ นางไอ่ในชาติก่อนได้อธิษฐานว่า ชาติต่อไปไอ้ใบ้ต้องตายด้วยมือของนางเอง<br /><br />ตอนนั้นพญาขอมรู้แล้วว่าท้าวผาแดงจะมาสู่ขอนางไอ่ จึงตรัสว่า หากบั้งไฟของพญาขอมสูงกว่าจะไม่ยกนางไอ่ให้ แต่ถ้าของท้าวผาแดงสูงกว่าก็จะยกนางไอ่ให้ การประลองครั้งนี้ท้าวผาแดงพ่ายแพ้ไป<br /><br />ด้านท้าวภังคี แปลงเป็นกระรอกขึ้นมาเที่ยวงาน แต่นายพรานจับได้จึงนำไปให้นางไอ่เอาไปแกง ท้าวภังคีจึงอธิษฐานว่า ขอให้เนื้อของตนอร่อยที่สุดและเลี้ยงคนได้ทั้งเมือง ชาวบ้านจึงพากันแย่งกินแกงกระรอก บริวารของท้าวภังคีเห็นจึงนำเรื่องไปบอกท้าวสุทโธนา เหล่าพญานาคผุดขึ้นมานับหมื่นนับแสนตัว ถล่มเมืองชะทีตาจมลงใต้บาดาลทันที คงเหลือไว้เป็นดอน 3–4 แห่ง ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกแม่ม่ายที่ไม่ได้กินเนื้อกระรอกเผือกจึงรอดตาย<br /><br />ท้าวผาแดงเป็นห่วงนางไอ่จึงพานางควบม้าหนีอันตรายไป แต่ก็หนีไม่พ้นทัพพญานาคที่ทำให้แผ่นดินถล่มตามมาติด ๆ ในที่สุดก็กลืนพระธิดาไอ่คำได้จมหายไปใต้พื้นดิน ส่วนท้าวผาแดงปลอดภัยและกลับเมืองจึงอธิษฐานว่า จะขอตายเพื่อไปเอานางไอ่กลับมาแล้วก็กลั้นใจตายไปต่อสู้กับพญานาค สู้จนน้ำบาดาลขุ่น พระอินทร์จึงได้ลงมาระงับศึก ให้ผีกลับเมืองผีให้นาคากลับเมืองนาคา ส่วนนางไอ่ก็รอเนื้อคู่ของตนในเมืองบาดาลต่อไป จนกว่าจะมีพระพุทธเจ้าองค์ใหม่<br /><br />(มีความเชื่อว่าการเกิดของหนองหานและแอ่งน้ำทั่วไปในภาคอีสานมาจากตำนานเรื่องนี้<br /><br />สถานที่ที่มีชื่อเกี่ยวข้องกับตำนาน เช่น บ้านน้ำฆ้อง บ้านกงพาน บ้านเซียบ บ้านเซียงแหว ห้วยสามพาด ห้วยกลองศรี หนองแหวน ดอนแม่หม้าย ในจังหวัดอุดรธานี หรือ บ้านกระนวน บ้านหลุมเลา ในจังหวัดขอนแก่น เป็นต้น<br /><br />ประเพณีงานบุญบั้งไฟในเดือนหก ในการแห่ขบวนบั้งไฟมักปรากฏเรื่องราวของท้าวผาแดงกับนางไอ่ร่วมอยู่ในขบวนแห่ด้วยเสมอ)
จุดชมวิว​หนองหาร​ ตั้งอยู่​ที่​ ทางหลวงหมายเลข​ ​22 กิโลเมตรที่​ 168 ตำบลท่าแร่​ อำเภอเมืองสกลนคร​ ซึ่งหนองหารนั้นได้ชื้อว่าเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่สุดของอีสาน​ โดยมีพื้นที่ถึง​77,000 ไร่​ และภายในพื้นที่หนองหารก็ยังมี​ เกาะเล็กเกาะน้อยอยู่​หลาย​แห่ง​ และยังเป็นหนองน้ำที่มีเรื่องเล่าและตำนานมาอย่างยาวนาน​ คือเรื่องความรักของ​ ผาแดง​ นางไอ่​ และถ้าใครที่สนใจอยากจะศึกษา​เรื่อง​นี้เพิ่มเติมก็สามารถเข้าชมได้

ผาแดงนางไอ่ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ผาแดงนางไอ่ เป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่รู้จักกันแพร่หลายทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยโดยเฉพาะทางตอนบนของภาคในบริเวณจังหวัดสกลนคร จังหวัดอุดรธานี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดมหาสารคาม เป็นต้น รวมถึงในประเทศลาวด้วย

ปรากฏหลักฐานการจารลงในใบลานทั้งตัวอักษรธรรมและอักษรไทยน้อยหลายสำนวน และมักไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้แต่งและแต่งไว้ตั้งแต่เมื่อใด สำนวนที่รู้จักกันแพร่หลายคือสำนวนที่ปรีชา พิณทอง ได้เลือกมาชำระใหม่เมื่อ พ.ศ. 2524

นอกจากสำนวนเก่ายังมีสำนวนที่แต่งขึ้นใหม่ เช่น สำนวนในหนังสือ รวมนิทานพื้นบ้านอีสาน ชุดที่ 5 ของเตชวโรภิกขุ (อินตา กวีวงศ์) (พ.ศ. 2544) ยังมีวรรณกรรมอีสานสำหรับเยาวชน เช่น ผาแดงนางไอ่ เขียนโดย พิพัฒน์ ประเสริฐสังข์ (พ.ศ. 2555) ด้านเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับผาแดงนางไอ่ เช่น "ไอ่คำรำพัน" (ขับร้องโดย นกน้อย อุไรพร) และ "วาสนาภังคี" (ขับร้องโดย วิเศษ เวณิกา) เป็นต้น[1]

เนื้อหามีว่า

ณ นครเอกชะทีตา (หรือเมืองสุวรรณโคมคำ) มีพระยาขอมเป็นกษัตริย์ พระยาขอมมีพระธิดานามว่า "นางไอ่คำ" หรือ "นางไอ่" ผู้มีความงดงามยิ่งนักซึ่งเป็นที่รักและหวงแหนมาก จึงสร้างปราสาท 7 ชั้นให้อยู่พร้อมเหล่าสนม นางกำนัลคอยดูแลอย่างดี จนเรื่องไปถึงหูของ "ท้าวผาแดง" ท้าวผาแดงจึงแอบมาหานางไอ่ที่วัง โดยผ่านทางคนใช้เป็นแม่สื่อ จนทั้งสองได้รักกันและสัญญาว่าจะมาสู่ขอตามประเพณี

ขณะที่เมืองบาดาล มีพญานาคชื่อ "สุทโธนา" ครองเมือง มีลูกชายชื่อ "ท้าวภังคี" ชาติที่แล้วท้าวภังคีเกิดเป็นคู่กับนางไอ่ซึ่งเป็นใบ้ นางไอ่ในชาติก่อนได้อธิษฐานว่า ชาติต่อไปไอ้ใบ้ต้องตายด้วยมือของนางเอง

ตอนนั้นพญาขอมรู้แล้วว่าท้าวผาแดงจะมาสู่ขอนางไอ่ จึงตรัสว่า หากบั้งไฟของพญาขอมสูงกว่าจะไม่ยกนางไอ่ให้ แต่ถ้าของท้าวผาแดงสูงกว่าก็จะยกนางไอ่ให้ การประลองครั้งนี้ท้าวผาแดงพ่ายแพ้ไป

ด้านท้าวภังคี แปลงเป็นกระรอกขึ้นมาเที่ยวงาน แต่นายพรานจับได้จึงนำไปให้นางไอ่เอาไปแกง ท้าวภังคีจึงอธิษฐานว่า ขอให้เนื้อของตนอร่อยที่สุดและเลี้ยงคนได้ทั้งเมือง ชาวบ้านจึงพากันแย่งกินแกงกระรอก บริวารของท้าวภังคีเห็นจึงนำเรื่องไปบอกท้าวสุทโธนา เหล่าพญานาคผุดขึ้นมานับหมื่นนับแสนตัว ถล่มเมืองชะทีตาจมลงใต้บาดาลทันที คงเหลือไว้เป็นดอน 3–4 แห่ง ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกแม่ม่ายที่ไม่ได้กินเนื้อกระรอกเผือกจึงรอดตาย

ท้าวผาแดงเป็นห่วงนางไอ่จึงพานางควบม้าหนีอันตรายไป แต่ก็หนีไม่พ้นทัพพญานาคที่ทำให้แผ่นดินถล่มตามมาติด ๆ ในที่สุดก็กลืนพระธิดาไอ่คำได้จมหายไปใต้พื้นดิน ส่วนท้าวผาแดงปลอดภัยและกลับเมืองจึงอธิษฐานว่า จะขอตายเพื่อไปเอานางไอ่กลับมาแล้วก็กลั้นใจตายไปต่อสู้กับพญานาค สู้จนน้ำบาดาลขุ่น พระอินทร์จึงได้ลงมาระงับศึก ให้ผีกลับเมืองผีให้นาคากลับเมืองนาคา ส่วนนางไอ่ก็รอเนื้อคู่ของตนในเมืองบาดาลต่อไป จนกว่าจะมีพระพุทธเจ้าองค์ใหม่

(มีความเชื่อว่าการเกิดของหนองหานและแอ่งน้ำทั่วไปในภาคอีสานมาจากตำนานเรื่องนี้

สถานที่ที่มีชื่อเกี่ยวข้องกับตำนาน เช่น บ้านน้ำฆ้อง บ้านกงพาน บ้านเซียบ บ้านเซียงแหว ห้วยสามพาด ห้วยกลองศรี หนองแหวน ดอนแม่หม้าย ในจังหวัดอุดรธานี หรือ บ้านกระนวน บ้านหลุมเลา ในจังหวัดขอนแก่น เป็นต้น

ประเพณีงานบุญบั้งไฟในเดือนหก ในการแห่ขบวนบั้งไฟมักปรากฏเรื่องราวของท้าวผาแดงกับนางไอ่ร่วมอยู่ในขบวนแห่ด้วยเสมอ)
CSC ๓๓.jpg (101.73 KiB) เข้าดูแล้ว 633 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4365
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:) :D เราพักผ่อนชมธรรมชาติที่ท่าแร่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหนองหารที่กว้างใหญ่ของ จ.สกลนคร มีพนักงานขายมาจอดรถกินมื้อกลางวันในสวนหลายคัน แสดงว่าจุดนี้ก็น่าที่จะเป็นที่พักผ่อนที่สำคัญอีกจุดหนึ่ง หลังจากที่เราพากันเดินสูดโอโซนจนพอใจเราก็พากันเดินทางต่อไป ไปเจอวิหารที่ใหญ่มองแต่ไกลก็รู้ว่าเป็นโบถส์ของชาวคริสตศาสนา น่าสนใจมากไม่พลาดเราถือโอกาสเข้าไปเยี่ยมชม โบถส์แห่งนี้มีชื่อว่า อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล ครับ

อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล (Saint Michael Cathdral) ที่ตั้ง : บ้านท่าแร่ ตำบลท่าแร่ อำเภอเมืองสกลนคร สกลนคร

ประวัติความเป็นมา

เมื่อพุทธศักราช ๒๔๒๔ คุณพ่อยอห์น บัปติสต์โปรดม และคุณพ่อซาเวียร์ เกโก พระสงฆ์คณะมิสซังแห่งกรุงปารีสได้รับมอบหมายจากพระสังฆราชฌองหลุยส์ เวย์ (Jean Louis Vey) ให้มาเผยแผ่ศาสนาที่ภาคอีสาน จนกระทั่งเดือนเมษายน ๒๔๒๗ คุณพ่อโปรดม กับคุณพ่อเกโก และ ครูทัน ครูเณร ชาวเวียดนามได้เดินทางจากอุบลราชธานี มายังนครพนม และตั้งกลุ่มคริสตชนบางส่วนอพยพมาจากเวียดนามในราว พุทธศักราช ๒๔๒๗ แต่เดิมมีชื่อว่า วัดมหาพรหมมีคาแอล หนองหาร ใช้เป็นศาสนสถานสําหรับการรับศีลล้างบาปของ คริสตศาสนิกชน ชุมชนคาทอลิกแห่งนี้มีประชากรนับถือ คาทอลิกนับหมื่นคน ถือว่ามากที่สุดในประเทศไทย จนเมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พุทธศักราช๒๕๑๔ จึงได้ชื่อ “อาสน วิหารอัครเทวดามีคาแอล” อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล ยังเป็นอาสนวิหารประจําอัครมุขมณฑลเขตมิสซังท่าแร่ – หนองแสงอีกด้วย
:) :D

:) :D Ep.63 พาชมโบสถ์ “อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล” ท่าแร่ ชุมชนคริสต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย :) :D


:roll: :roll: อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอลท่าแร่ :) :)
ไฟล์แนบ
20111cc9-3b3c-43cf-a882-b51aba7a039b.jpg
60110.jpg
60110.jpg (56.45 KiB) เข้าดูแล้ว 628 ครั้ง
CSC ๓๕.jpg
CSC ๓๕.jpg (109.17 KiB) เข้าดูแล้ว 628 ครั้ง
CSC ๓๖.JPG
CSC ๓๖.JPG (133.87 KiB) เข้าดูแล้ว 628 ครั้ง
CSC ๓๗.jpg
CSC ๓๘.jpg
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม<br /><br />          ลักษณะโบสถ์ขนาดใหญ่รูปทรงคล้ายเรือ สร้างขึ้น เพื่อเป็นการระลึกถึงการอพยพมาตั้งถิ่นฐานของคริสตชนใน หมู่บ้านนี้ หมู่บ้านมีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมตารางหมากรุก คล้ายกับบ้านเมืองในแถบประเทศตะวันตก มีบ้านเรือน สถาปัตยกรรมฝรั่งเศสที่งดงามเรียงรายสองข้างทางใน ถนนสายหลักของหมู่บ้านเป็นจํานวนมาก ในช่วงเทศกาล คริสต์มาสของทุกปี ชุมชนท่าแร่จะจัดเทศกาล “แห่ดาว คริสต์มาส” อย่างยิ่งใหญ่ มีการประดับประดาบ้านเรือน ด้วยดวงไฟหลากสีสันและตกแต่งด้วย “ดาว” สัญลักษณ์ การประสูติของพระเยซูเจ้า
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

ลักษณะโบสถ์ขนาดใหญ่รูปทรงคล้ายเรือ สร้างขึ้น เพื่อเป็นการระลึกถึงการอพยพมาตั้งถิ่นฐานของคริสตชนใน หมู่บ้านนี้ หมู่บ้านมีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมตารางหมากรุก คล้ายกับบ้านเมืองในแถบประเทศตะวันตก มีบ้านเรือน สถาปัตยกรรมฝรั่งเศสที่งดงามเรียงรายสองข้างทางใน ถนนสายหลักของหมู่บ้านเป็นจํานวนมาก ในช่วงเทศกาล คริสต์มาสของทุกปี ชุมชนท่าแร่จะจัดเทศกาล “แห่ดาว คริสต์มาส” อย่างยิ่งใหญ่ มีการประดับประดาบ้านเรือน ด้วยดวงไฟหลากสีสันและตกแต่งด้วย “ดาว” สัญลักษณ์ การประสูติของพระเยซูเจ้า
DSC_4722.JPG (91.01 KiB) เข้าดูแล้ว 628 ครั้ง
CSC ๓๙.jpg
CSC ๓๙.jpg (140.21 KiB) เข้าดูแล้ว 628 ครั้ง
CSC ๔๐.jpg
CSC ๔๐.jpg (136.57 KiB) เข้าดูแล้ว 628 ครั้ง
CSC ๔๑.jpg
CSC ๔๑.jpg (129.03 KiB) เข้าดูแล้ว 628 ครั้ง
CSC ๔๒.jpg
CSC ๔๒.jpg (122.12 KiB) เข้าดูแล้ว 628 ครั้ง
CSC ๔๓.jpg
CSC ๔๓.jpg (68.08 KiB) เข้าดูแล้ว 628 ครั้ง
CSC ๕๐.jpg
CSC ๕๐.jpg (141.22 KiB) เข้าดูแล้ว 628 ครั้ง
CSC ๔๕.JPG
CSC ๔๖.JPG
CSC ๔๖.JPG (125.24 KiB) เข้าดูแล้ว 628 ครั้ง
CSC ๕๑.JPG
CSC ๕๑.JPG (141.22 KiB) เข้าดูแล้ว 628 ครั้ง
CSC ๔๘.JPG
CSC ๔๘.JPG (117.64 KiB) เข้าดูแล้ว 628 ครั้ง
CSC ๔๙.JPG
CSC ๔๙.JPG (122.3 KiB) เข้าดูแล้ว 628 ครั้ง
เราไม่เจอใครสักคนที่พอจะพูดคุยหารายละเอียดใด ๆ ได้ คงได้แต่เก็บภาพและเดินชมไปรอบ ๆ ตัวอาคาร ก็เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสัปปายะสำหรับชาวคริสต์ศาสนิกชนแน่นอน ผมเคยศึกษาพระคัมภีร์อยู่ถึง ๘ ปี สมัยเรียนมัธยมและเกือบจะได้รับศีลแล้ว แต่บังเอิญป่วยเสียก่อนจึงอดเข้ารับศีล ทุกวันนี้ผมก็ยังอ่านพระคัมภีร์บ้าง ไม่ได้ทิ้งไปเลยครับ<br /><br />เราทะลุออกทางหลังโบถส์ เห็นบ้านทรงแปลก ๆ ปั่นไปชมบังเอิญพบร้านอาหารคนแน่นน่าจะอร่อย เป็นเวลาเที่ยงแล้ว ได้เวลาที่เราต้องหาอะไรรองท้องก่อนที่จะเดินทางกันต่อไป ติดตามนะครับมื้อนี้จะได้สมหวังไหม ?
เราไม่เจอใครสักคนที่พอจะพูดคุยหารายละเอียดใด ๆ ได้ คงได้แต่เก็บภาพและเดินชมไปรอบ ๆ ตัวอาคาร ก็เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสัปปายะสำหรับชาวคริสต์ศาสนิกชนแน่นอน ผมเคยศึกษาพระคัมภีร์อยู่ถึง ๘ ปี สมัยเรียนมัธยมและเกือบจะได้รับศีลแล้ว แต่บังเอิญป่วยเสียก่อนจึงอดเข้ารับศีล ทุกวันนี้ผมก็ยังอ่านพระคัมภีร์บ้าง ไม่ได้ทิ้งไปเลยครับ

เราทะลุออกทางหลังโบถส์ เห็นบ้านทรงแปลก ๆ ปั่นไปชมบังเอิญพบร้านอาหารคนแน่นน่าจะอร่อย เป็นเวลาเที่ยงแล้ว ได้เวลาที่เราต้องหาอะไรรองท้องก่อนที่จะเดินทางกันต่อไป ติดตามนะครับมื้อนี้จะได้สมหวังไหม ?
CSC ๔๔.jpg (160.01 KiB) เข้าดูแล้ว 628 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4365
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:idea: :idea: ฟังในสิ่งที่ควรฟัง ... ธรรมะ
ดูในสิ่งที่ควรดู ...ใจตน
พูดในสิ่งที่ควรพูด ...ความจริง
มีในสิ่งที่ควรมี... ศีลธรรม
ทำในสิ่งที่ควรทำ...ความดี
คิดดี พูดดี ทำดี คือมงคลสูงสุด ในชีวิต

พุทธพจน์
:idea: :idea:

:) :D เราปั่นออกทางด้านหลังของมหาวิหารอัครเทวดา ฯ มองเห็นบ้านทรงแปลกตา เรียงยาวตามถนนดูสวยงามประทับใจ น่าจะเป็นทรงโบราณตามความคิดผม ออกไปทางฝรั่งเศสน่าจะประมาณนั้น เราพากันปั่นจนสุดถนนแล้วย้อนกลับมาที่ร้านอาหาร ที่เราเห็นตอนออกจากโบถส์ เข้าไปสอบถามเรื่องอาหารมังสวิรัติ ปรากฏทำได้ตามสั่งเจ้าของร้านแนะนำเป็นเย็นตาโฟ ตามด้วยกาแฟเวียดนาม ขนม อิ่มอร่อยใช้ได้ครับ เราดูเรื่องราวอาหารเวียตนามกันครับ

:idea: :idea: อาหารเวียดนาม (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)

อาหารเวียดนามเป็นอาหารประจำชาติของชาวเวียดนาม ซึ่งเป็นอาหารที่มีลักษณะโดดเด่นเป็นของตัวเอง ชาวเวียดนามกินข้าวเป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับชาติอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใช้เครื่องปรุงรสที่เป็นของหมักดองเช่นเดียวกัน เนื่องจากเวียดนามเคยถูกจีนและฝรั่งเศสปกครองจึงมีอิทธิพลของทั้งสองชาติปรากฏอยู่บ้าง นอกจากนั้น เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ที่ทอดยาวตามแนวชายฝั่ง ทำให้อาหารเวียดนามแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกัน อาหารเวียดนามที่คนไทยรู้จักดีและเป็นเอกลักษณ์คือแหนมเนืองและขนมเบื้องญวน

อาหารหลัก

ชาวเวียดนามกินข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก แต่ก็รับประทานข้าวเหนียวด้วย อาหารที่ปรุงด้วยแป้ง และมีไส้ รวมถึงขนมปังฝรั่งเศส ชาวเวียดนามเรียกว่า "บั๊ญ" (bánh) อาหารที่ปรุงด้วยข้าวเหนียวที่เป็นที่นิยมในเวียดนามได้แก่

• บั๊ญจึง (bánh chưng) ข้าวต้มไส้ถั่ว ห่อด้วยใบตองเป็นรูปสี่เหลี่ยม
• บั๊ญเส่ย (bánh giầy) ข้าวต้มไส้ถั่ว ห่อด้วยใบตองเป็นรูปทรงกลม เสิร์ฟคู่กับหมูยอ
• บั๊ญกาย (bánh gai) ขนมทำจากแป้งข้าวเหนียว นวดกับใบป่านจนดำ ไส้ทำจากถั่ว

ชาวเวียดนามมีอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากก๋วยเตี๋ยวของจีน เรียกว่า "เฝอ" (phở) ซึ่งได้ปรับปรุงจนมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ขนมจีนในภาษาเวียดนามเรียก "บู๊น" (bún) ซึ่งมีรูปแบบการปรุงที่หลากหลาย เช่น

• บู๊นถิตเนื้อง (bún thịt nướng) ขนมจีนหมูย่าง
• บู๊นบ่อ (bún bò) ขนมจีนหน้าเนื้อ
• บู๊นบ่อเฮว้ (bún bò Huế) เป็นขนมจีนน้ำใส่เนื้อวัวหรือเนื้อหมู เป็นอาหารที่มีชื่อเสียงของเมืองเว้

เอกลักษณ์ อาหารเวียดนามเป็นอาหารที่กินผักสดหลากหลายชนิดในแทบทุกเมนู และมีน้ำจิ้มที่หลากหลาย เครื่องปรุงรสส่วนใหญ่เป็นแบบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่าจีน เช่น เครื่องปรุงรสเปรี้ยวใช้มะขามมะนาว ไม่นิยมน้ำส้มสายชู เครื่องปรุงรสเค็ม ส่วนใหญ่เป็น น้ำปลา น้ำกะปิ รองลงไปเป็นกะปิ ปลาร้า กุ้งจ่อม ใช้ซีอิ๊วแบบจีนน้อยมาก

อาหารแต่ละภูมิภาค

• อาหารเวียดนามภาคเหนือ มีอิทธิพลของอาหารจีนปรากฏชัดกว่าภูมิภาคอื่น มีแกงจืดแบบจีน และการผัดแบบจีนแพร่หลายมากกว่าภาคอื่นๆ
• อาหารเวียดนามภาคกลาง ศูนย์กลางอยู่ที่เว้ มีอิทธิพลของอาหารในวังปรากฏชัดเจนมาก และมีรสเผ็ดมากกว่าอาหารภาคอื่น
• อาหารเวียดนามภาคใต้ มีอิทธิพลของอาหารอินเดียและอาหารกัมพูชาปรากฏมากกว่า ใช้ผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ที่หลากหลายกว่า
:) :D
ไฟล์แนบ
186797.jpg
186797.jpg (71.24 KiB) เข้าดูแล้ว 589 ครั้ง
ถนนเส้นหลังวิหารอัครเทวดามีคาแอล ตลอดทั้งสายจะเป็นบ้านโบราณตั้งเรียงเป็นแถว ถนนสะอาดสะอ้าน เงียบ สงบ ดีมากเลย เราปั่นชมความคลาสิคของบ้านสองฝั่งเก็บภาพสวย ๆ ไว้เป็นที่ระลึก
ถนนเส้นหลังวิหารอัครเทวดามีคาแอล ตลอดทั้งสายจะเป็นบ้านโบราณตั้งเรียงเป็นแถว ถนนสะอาดสะอ้าน เงียบ สงบ ดีมากเลย เราปั่นชมความคลาสิคของบ้านสองฝั่งเก็บภาพสวย ๆ ไว้เป็นที่ระลึก
CSC ๕๒.jpg (156.07 KiB) เข้าดูแล้ว 589 ครั้ง
CSC ๕๓.jpg
CSC ๕๓.jpg (141.72 KiB) เข้าดูแล้ว 589 ครั้ง
CSC ๕๔.jpg
CSC ๕๔.jpg (138.16 KiB) เข้าดูแล้ว 589 ครั้ง
CSC ๕๖.jpg
CSC ๕๖.jpg (133.14 KiB) เข้าดูแล้ว 589 ครั้ง
อาหารมื้อเที่ยงเจ้าของร้านแนะนำเป็นเย็นตาโฟมังสวิรัติ การันตีอร่อยแน่นอน พร้อมกาแฟเวียตนามกลมกล่อมหวานกำลังดี ไม่หวานจัด ช่วงที่รออาหาร คุณนายโทร ฯ ติดต่อหลวงพี่บัณฑิต ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าอุดมสมพร เป้าหมายที่เราจะไปต่อและจะไปพักเพื่อกราบนมัสการหลวงปู่ฝั้น อาจาโร<br /><br />พระอาจาย์ บัณฑิต ท่านเป็นหลานของหลวงตามหาบัว รู้จักกันมานานแล้ว ท่านไปเชียงใหม่ท่านก็จะไปพักที่บ้านปากกอง สารภี คุ้นเคยกันครับ ครั้งนี้ท่านสั่งให้เข้ามาเลยจะจัดที่พักให้ ยิ่งรู้ว่าเราปั่นจักรยานมา ท่านบอกช่วงนี้ (ท่าแร่ - วัด) ไม่ต้องปั่นแล้วไม่มีอะไรให้ได้ชื่นชม เอาเวลาไปอยู่ที่วัดจะดีกว่า คุณนายรับปากตามคำแนะนำ
อาหารมื้อเที่ยงเจ้าของร้านแนะนำเป็นเย็นตาโฟมังสวิรัติ การันตีอร่อยแน่นอน พร้อมกาแฟเวียตนามกลมกล่อมหวานกำลังดี ไม่หวานจัด ช่วงที่รออาหาร คุณนายโทร ฯ ติดต่อหลวงพี่บัณฑิต ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าอุดมสมพร เป้าหมายที่เราจะไปต่อและจะไปพักเพื่อกราบนมัสการหลวงปู่ฝั้น อาจาโร

พระอาจาย์ บัณฑิต ท่านเป็นหลานของหลวงตามหาบัว รู้จักกันมานานแล้ว ท่านไปเชียงใหม่ท่านก็จะไปพักที่บ้านปากกอง สารภี คุ้นเคยกันครับ ครั้งนี้ท่านสั่งให้เข้ามาเลยจะจัดที่พักให้ ยิ่งรู้ว่าเราปั่นจักรยานมา ท่านบอกช่วงนี้ (ท่าแร่ - วัด) ไม่ต้องปั่นแล้วไม่มีอะไรให้ได้ชื่นชม เอาเวลาไปอยู่ที่วัดจะดีกว่า คุณนายรับปากตามคำแนะนำ
CSC ๕๗.jpg (130.24 KiB) เข้าดูแล้ว 589 ครั้ง
CSC ๕๘.JPG
CSC ๕๘.JPG (118.28 KiB) เข้าดูแล้ว 589 ครั้ง
CSC ๕๙.jpg
CSC ๕๙.jpg (93.61 KiB) เข้าดูแล้ว 589 ครั้ง
หลังจากที่อิ่มจากมื้อเที่ยงเราพากันปั่นออกไปหารถที่จะไปยัง อ.พรรณานิคม วัดป่าอุดมสมพร ปรากฏว่าต้องไปขึ้นรถที่ในเมืองครับ ช่วงนี้ต้องอาศัยรถสองแถวของ บ.ท่าแร่ - ในเมือง<br /><br />ออกจากท่าแร่ประมาณบ่ายโมงกว่า ๆ รถไปส่งคิวรถที่จะต่อไปยังวัดป่าอุดมสมพร เจ้าของรถบอกจะไปส่งให้ถึงในวัดเลย ช่วงนี้ต้องรอ รร.เลิกเพื่อรับเด็กนักเรียน ปรากฏว่าเราต้องรออยู่หลายชั่วโมงกว่า รร.จะเลิก ในเวลาที่เหลือเราก็พากันเดินเที่ยวตลาดในเมืองสกลนคร หาซื้อของกินและของฝากไปถวายท่านพระอาจารย์ด้วย
หลังจากที่อิ่มจากมื้อเที่ยงเราพากันปั่นออกไปหารถที่จะไปยัง อ.พรรณานิคม วัดป่าอุดมสมพร ปรากฏว่าต้องไปขึ้นรถที่ในเมืองครับ ช่วงนี้ต้องอาศัยรถสองแถวของ บ.ท่าแร่ - ในเมือง

ออกจากท่าแร่ประมาณบ่ายโมงกว่า ๆ รถไปส่งคิวรถที่จะต่อไปยังวัดป่าอุดมสมพร เจ้าของรถบอกจะไปส่งให้ถึงในวัดเลย ช่วงนี้ต้องรอ รร.เลิกเพื่อรับเด็กนักเรียน ปรากฏว่าเราต้องรออยู่หลายชั่วโมงกว่า รร.จะเลิก ในเวลาที่เหลือเราก็พากันเดินเที่ยวตลาดในเมืองสกลนคร หาซื้อของกินและของฝากไปถวายท่านพระอาจารย์ด้วย
CSC ๖๐.jpg (108.62 KiB) เข้าดูแล้ว 589 ครั้ง
CSC ๖๑.JPG
CSC ๖๑.JPG (27.5 KiB) เข้าดูแล้ว 589 ครั้ง
CSC ๖๔.jpg
CSC ๖๔.jpg (77.06 KiB) เข้าดูแล้ว 589 ครั้ง
รถสองแถวพาเราไปถึงวัด ๑๘.๓๐ น.มืดแล้วครับ พระอาจารย์บัณฑิต และหลานชายนำรถมารอและรับเราไปนอนที่บ้านพี่สาว ซึ่งพี่สาวช่วงนี้ไปอยู่ที่ อ.พาน จ.พะเยา บ้านทั้งหลังยกให้เราสองคนครอบครองครับ สดวกสบายทุกประการ ยังไม่พอพี่สาวอีกคนของท่านบัณฑิตยังเมตตาจัดเตรียมอาหาร พอไปถึงบ้านเราเก็บรถเก็บสัมภาระต่าง ๆ ก็ยกสำรับกับข้าวมาให้เราทาน หลังจากที่ทานเสร็จสนทนากันพักใหญ่ ๆ ก็แยกย้ายกันพักผ่อน เราสองคนสวดมนต์ ทำวัตรเย็นในบ้านก่อนจะหลับเป็นตาย รุ่งขึ้นจะไปทำบุญถวายอาหารเช้าที่วัด
รถสองแถวพาเราไปถึงวัด ๑๘.๓๐ น.มืดแล้วครับ พระอาจารย์บัณฑิต และหลานชายนำรถมารอและรับเราไปนอนที่บ้านพี่สาว ซึ่งพี่สาวช่วงนี้ไปอยู่ที่ อ.พาน จ.พะเยา บ้านทั้งหลังยกให้เราสองคนครอบครองครับ สดวกสบายทุกประการ ยังไม่พอพี่สาวอีกคนของท่านบัณฑิตยังเมตตาจัดเตรียมอาหาร พอไปถึงบ้านเราเก็บรถเก็บสัมภาระต่าง ๆ ก็ยกสำรับกับข้าวมาให้เราทาน หลังจากที่ทานเสร็จสนทนากันพักใหญ่ ๆ ก็แยกย้ายกันพักผ่อน เราสองคนสวดมนต์ ทำวัตรเย็นในบ้านก่อนจะหลับเป็นตาย รุ่งขึ้นจะไปทำบุญถวายอาหารเช้าที่วัด
CSC ๖๒.jpg (87.63 KiB) เข้าดูแล้ว 589 ครั้ง
แก้ไขล่าสุดโดย Deang-sarapee เมื่อ 04 มี.ค. 2023, 13:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4365
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:idea: :idea: ตามรอยหลวงปู่ฝั้น อาจาโร พระอรหันต์ แห่งวัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

วันนี้จะพาทุกท่านไปสักการะเเละตามรอยหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ณ วัดป่าอุดมสมพร อีกหนึ่งบุคคลสำคัญที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง ท่านเป็นพระเถระในสายพระป่าแห่งประเทศไทย เเละได้ธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อเผยแพร่คำสอนให้กับชาวบ้าน จนได้รับการยกย่องให้เป็น อริยสงฆ์ (พระสงค์ที่บรรลุมรรคผล ถือเป็นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา)

ความเป็นมาในการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์อาจารย์ฝั้น อาจาโร

ได้มีพระกระเเสรับสั่งจากในหลวงรัชกาลที่ 9 หลังสรงน้ำพระศพอาจารย์ฝั้น อาจาโร ว่า " ในฐานะที่เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ ขอให้เกิดความสามัคคี อย่าให้เกิดความเเตกเเยก ให้ยึดมั่นในคำสั่งสอนของท่านให้มั่นคง ขอให้เก็บอัฐิของท่านพระอาจารย์ไว้แห้งเดียวกันกับเครื่องอัฐบริขารของท่านอาจารย์ ถ้าสามารถเก็บรวมกันได้ก็จะดี"

ดังนั้นจึงได้มีการสร้างพิพิธภัณฑ์อาจารย์ฝั้น อาจาโร หลังจากที่พระอาจารย์ฝั้นได้มรณภาพลงที่วัดป่าอุดมสมพร เหล่าศิษย์ได้มีการปรึกษาหารือกันในการสร้างสิ่งปลูกสร้างเพื่อที่จะเป็นการรำลึกถึงพระอาจารย์ผู้ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบจนบรรลุเป็นอรหันต์โดยได้สร้างเจดีย์บริเวณที่พระราชทานเพลิงศพของท่าน

วัดป่าอุดมสมพร รูปทรงของพิพิธภัณฑ์จะมีฐานกลมเเละมีลักษณเป็นกลีบบัวสามชั้น สวยงามจริงๆ– – หากใครที่อยากไปเที่ยวชมหรือไปกราบสักการะนะครับ พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ตั้งอยู่ที่ วัดป่าอุดมสมพร ตำบลพรรณานิคม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เดินทางไปตามทางหลวงหมาเลข ๒๒ เเละเลี้ยวขวาผ่านตัว อำเภอพรรณานิคมไปประมาณ ๒กิโลเมตร

พิพิธภัณฑ์จะเปิดทำการวันจันทร์-วันอาทิตย์ เวลา ๘.๐๐ – ๑๘.๐๐ น นะครับ- – ภายในพิพิธภัณฑ์จะมีรูปปั้นพระอาจารย์ฝั้นมีขนาดเท่าองค์จริง เเละมีตู้กระจกที่บรรจุอัฐิของพระอาจารย์อยู่ นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงเครื่องอัฐบริขาร เเละชีวประวัติของพระอาจารย์ฝั้นตั้งเเต่เกิด จนถึงมรณภาพให้ได้ศึกษากันด้วยครับ – -ด้านในจะมีรูปปั้นของพระอาจารย์ขนาดเท่ารูปจริงอยู่่ในท่านั่งห้อยเท้า เเละถือไม้เท้าไว้กับมือ – – บริเวณโดยรอบจะมีพืชพรรณไม้นานาชนิดให้ความร่มรื่น เย็นสบายได้ดีเลยทีเดียว – – นอกจากนี้ฝั่งตรงข้ามของวัดป่าอุดมสมพร จะมีร้านค้าของคนในชนบทมาขายสินค้าที่ระลึกเเละของฝากให้แก่นักท่องเที่ยวด้วย
:) :D


:) :D SKY VIEWS 20 / 04 / 2565/2022 Watpaudomsomphorn มุมสูง วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร :) :D
ไฟล์แนบ
180750.jpg
180750.jpg (71.19 KiB) เข้าดูแล้ว 587 ครั้ง
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)<br /><br /><br />เกิด	20 สิงหาคม พ.ศ. 2442 (77 ปี) เสียชีวิต	4 มกราคม พ.ศ. 2520 นิกายธรรมยุติกนิกาย<br /><br />อุปสมบท <br /><br />พ.ศ. 2462 พรรษา	57 พรรษา หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นพระเถระในสายพระป่าในประเทศไทย<br /><br />ประวัติ วัยเยาว์<br /><br />เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 9 ปีกุน ตรงกับวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2442 ที่บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรคนที่ 5 ของเจ้าไชยกุมาร (เม้า) ในตระกูล &quot;สุวรรณรงค์&quot; อดีตเจ้าเมืองพรรณานิคม มารดาของท่านชื่อ นางนุ้ย พระอาจารย์ฝั้น ครั้งวัยเยาว์ มีความประพฤติเรียบร้อย นิสัยโอบอ้อมอารี ขยันหมั่นเพียร อดทนต่ออุปสรรค ช่วยเหลือกิจการงานของบิดา มารดา โดยไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก<br /><br />การศึกษา<br /><br />ท่านเข้าศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนวัดโพธิ์ชัย บ้านม่วงไข่ และเข้าไปศึกษาต่อกับพี่เขยที่เป็นปลัดขวา ที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ช่วงนั้นทีแรกท่านอยากรับราชการ แต่ต่อมาได้เห็นความเป็นอนิจจังของผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ จึงได้เปลี่ยนความตั้งใจ และได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดโพนทอง บ้านบะทอง ซึ่งเป็นวัดมหานิกาย ต่อจากนั้นใน พ.ศ. 2463 จึงได้ถวายตัวเป็นศิษย์ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และได้ขอญัตติเป็นธรรมยุติกนิกาย เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2468 ที่วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์<br /><br />อุปสมบท<br /><br />ครั้น อายุได้ 20 ปี ท่านได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุ ณ วัดสิทธิบังคม ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร โดยมีพระครูป้อง เป็นอุปัชฌาย์ และเป็นผู้สอน การเจริญกรรมฐาน ตลอดพรรษาแรก ออกพรรษาแล้ว ท่านกลับมาพำนัก ที่วัดโพนทอง ซึ่งมีพระครูสกลสมณกิจ เป็นเจ้าอาวาส และวิปัสสนาจารย์ นำพระภิกษุฝั้น อาจาโร ออกธุดงคและเจริญภาวนา ในช่วงชีวิตบรรพชิตของหลวงปู่ ท่านได้ธุดงค์ยังสถานที่ต่างๆ เพื่อเผยแผ่พระธรรม คำสอน จนกระทั่งเป็นที่นับถือศรัทธาของญาติโยมจำนวนมาก และได้รับการได้รับการยกย่องเป็น &quot;อริยสงฆ์&quot; องค์หนึ่ง <br /><br />ท่านมีศิษย์ที่เป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบหลายรูป เช่น พระโพธิธรรมาจารย์เถร (สุวัจน์ สุวโจ), สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร) เป็นต้น<br /><br />มรณภาพ <br /><br /> 4 ม.ค. 2520 ณ วัดป่าอุดมสมพร ซึ่งถือเป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญของท่าน สิริรวมอายุได้ 78 ปี 58 พรรษา พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ ไปทรงสรงน้ำศพ พระราชทานหีบทองประกอบศพ จนถึงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2521 ได้เสด็จพระราชทานเพลิงศพเป็นการส่วนพระองค์<br /><br /> ในบริเวณที่พระราชทานเพลิงศพของพระอาจารย์ฝั้นได้มีการสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร สูง 27.9 เมตร ลักษณะเป็นเจดีย์ปลายแหลม ฐานกลม ขึ้นรูปด้วยกลีบบัวหุ้มฐานสามชั้น แต่ละกลีบบัวตกแต่งด้วยกระเบื้องเป็นรูปพระอาจารย์ต่าง ๆ ภายในเจดีย์มีรูปปั้นพระอาจารย์ฝั้นถือไม้เท้าขนาดเท่าองค์จริง มีตู้กระจกบรรจุเครื่องอัฐบริขารของท่าน
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)


เกิด 20 สิงหาคม พ.ศ. 2442 (77 ปี) เสียชีวิต 4 มกราคม พ.ศ. 2520 นิกายธรรมยุติกนิกาย

อุปสมบท

พ.ศ. 2462 พรรษา 57 พรรษา หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นพระเถระในสายพระป่าในประเทศไทย

ประวัติ วัยเยาว์

เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 9 ปีกุน ตรงกับวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2442 ที่บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรคนที่ 5 ของเจ้าไชยกุมาร (เม้า) ในตระกูล "สุวรรณรงค์" อดีตเจ้าเมืองพรรณานิคม มารดาของท่านชื่อ นางนุ้ย พระอาจารย์ฝั้น ครั้งวัยเยาว์ มีความประพฤติเรียบร้อย นิสัยโอบอ้อมอารี ขยันหมั่นเพียร อดทนต่ออุปสรรค ช่วยเหลือกิจการงานของบิดา มารดา โดยไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก

การศึกษา

ท่านเข้าศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนวัดโพธิ์ชัย บ้านม่วงไข่ และเข้าไปศึกษาต่อกับพี่เขยที่เป็นปลัดขวา ที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ช่วงนั้นทีแรกท่านอยากรับราชการ แต่ต่อมาได้เห็นความเป็นอนิจจังของผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ จึงได้เปลี่ยนความตั้งใจ และได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดโพนทอง บ้านบะทอง ซึ่งเป็นวัดมหานิกาย ต่อจากนั้นใน พ.ศ. 2463 จึงได้ถวายตัวเป็นศิษย์ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และได้ขอญัตติเป็นธรรมยุติกนิกาย เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2468 ที่วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์

อุปสมบท

ครั้น อายุได้ 20 ปี ท่านได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุ ณ วัดสิทธิบังคม ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร โดยมีพระครูป้อง เป็นอุปัชฌาย์ และเป็นผู้สอน การเจริญกรรมฐาน ตลอดพรรษาแรก ออกพรรษาแล้ว ท่านกลับมาพำนัก ที่วัดโพนทอง ซึ่งมีพระครูสกลสมณกิจ เป็นเจ้าอาวาส และวิปัสสนาจารย์ นำพระภิกษุฝั้น อาจาโร ออกธุดงคและเจริญภาวนา ในช่วงชีวิตบรรพชิตของหลวงปู่ ท่านได้ธุดงค์ยังสถานที่ต่างๆ เพื่อเผยแผ่พระธรรม คำสอน จนกระทั่งเป็นที่นับถือศรัทธาของญาติโยมจำนวนมาก และได้รับการได้รับการยกย่องเป็น "อริยสงฆ์" องค์หนึ่ง

ท่านมีศิษย์ที่เป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบหลายรูป เช่น พระโพธิธรรมาจารย์เถร (สุวัจน์ สุวโจ), สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร) เป็นต้น

มรณภาพ

4 ม.ค. 2520 ณ วัดป่าอุดมสมพร ซึ่งถือเป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญของท่าน สิริรวมอายุได้ 78 ปี 58 พรรษา พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ ไปทรงสรงน้ำศพ พระราชทานหีบทองประกอบศพ จนถึงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2521 ได้เสด็จพระราชทานเพลิงศพเป็นการส่วนพระองค์

ในบริเวณที่พระราชทานเพลิงศพของพระอาจารย์ฝั้นได้มีการสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร สูง 27.9 เมตร ลักษณะเป็นเจดีย์ปลายแหลม ฐานกลม ขึ้นรูปด้วยกลีบบัวหุ้มฐานสามชั้น แต่ละกลีบบัวตกแต่งด้วยกระเบื้องเป็นรูปพระอาจารย์ต่าง ๆ ภายในเจดีย์มีรูปปั้นพระอาจารย์ฝั้นถือไม้เท้าขนาดเท่าองค์จริง มีตู้กระจกบรรจุเครื่องอัฐบริขารของท่าน
279903.jpg (23.77 KiB) เข้าดูแล้ว 587 ครั้ง
CSC ๖๓.jpg
พระอาจารย์บอกหลาน ให้ทิ้งรถไว้ให้เราใช้ไว้ตั้งแต่เมื่อคืนครับ รุ่งเช้าวันที่ ๑๗ พ.ย.๖๕ เราจึงได้มีรถใช้ พี่สาวของพระอาจารย์ตื่นแต่เช้าทำอาหารไว้รอเรา ให้นำไปถวายพระที่วัด เป็นครั้งแรกที่ได้ขับรถ Benz <br /><br />หลังจากที่เราสองคนลาออกราชการ ตกลงกันว่าเราจะเปลี่ยนรถเป็นรถ Benz เพื่อให้กำไรแก่ชีวิต แต่จนแล้วจนรอดเราก็ไม่ประสบผลสำเร็จ (เพราะเรายังมีภาระที่จะต้องดูแลลูกหลานอยู่) เมื่อ พิจารณาดูแล้วมันเกินความจำเป็นเราใช้แค่รถ  volvo ก็น่าจะพอ นี่ละครับ &quot;มันไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงได้&quot; <br /><br />ชีวิตมันไม่มีอะไรแน่นอน ไม่แน่พรุ่งนี้ มะรืนนี้ อาจเปลี่ยนใจไปถอยออกมาก็ได้ ๕๕๕๕
พระอาจารย์บอกหลาน ให้ทิ้งรถไว้ให้เราใช้ไว้ตั้งแต่เมื่อคืนครับ รุ่งเช้าวันที่ ๑๗ พ.ย.๖๕ เราจึงได้มีรถใช้ พี่สาวของพระอาจารย์ตื่นแต่เช้าทำอาหารไว้รอเรา ให้นำไปถวายพระที่วัด เป็นครั้งแรกที่ได้ขับรถ Benz

หลังจากที่เราสองคนลาออกราชการ ตกลงกันว่าเราจะเปลี่ยนรถเป็นรถ Benz เพื่อให้กำไรแก่ชีวิต แต่จนแล้วจนรอดเราก็ไม่ประสบผลสำเร็จ (เพราะเรายังมีภาระที่จะต้องดูแลลูกหลานอยู่) เมื่อ พิจารณาดูแล้วมันเกินความจำเป็นเราใช้แค่รถ volvo ก็น่าจะพอ นี่ละครับ "มันไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงได้"

ชีวิตมันไม่มีอะไรแน่นอน ไม่แน่พรุ่งนี้ มะรืนนี้ อาจเปลี่ยนใจไปถอยออกมาก็ได้ ๕๕๕๕
CSC ๖๗.jpg (120.06 KiB) เข้าดูแล้ว 587 ครั้ง
กุฎิพระอาจารย์บัณฑิต ครับ
กุฎิพระอาจารย์บัณฑิต ครับ
DSC_4871.JPG (83.53 KiB) เข้าดูแล้ว 587 ครั้ง
DSC_4878.JPG
DSC_4878.JPG (93.59 KiB) เข้าดูแล้ว 587 ครั้ง
DSC_4879.JPG
DSC_4879.JPG (42.36 KiB) เข้าดูแล้ว 587 ครั้ง
DSC_4880.JPG
DSC_4880.JPG (74.26 KiB) เข้าดูแล้ว 587 ครั้ง
DSC_4881.JPG
DSC_4881.JPG (80.15 KiB) เข้าดูแล้ว 587 ครั้ง
IMG20221117084322.jpg
IMG20221117085109.jpg
IMG20221117085109.jpg (52.24 KiB) เข้าดูแล้ว 587 ครั้ง
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1257).jpg
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1265).jpg
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1266).jpg
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1261).jpg
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1261).jpg (124.73 KiB) เข้าดูแล้ว 587 ครั้ง
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1262).jpg
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1262).jpg (146.18 KiB) เข้าดูแล้ว 587 ครั้ง
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1270).jpg
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1298).jpg
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1298).jpg (131.83 KiB) เข้าดูแล้ว 587 ครั้ง
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1301).jpg
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1301).jpg (97.52 KiB) เข้าดูแล้ว 587 ครั้ง
เราถวายอาหารเช้าแด่พระภิกษุสงฆ์ เรียบร้อยก็ร่วมกันกินข้าวกับญาติธรรมของวัด หลังจากนั้นก็ไปกราบพระอาจารย์บัณฑิตที่กุฏิท่าน  ท่านมีเมตตากับเราสองคนมาก ท่านอนุญาตุให้เราเดินชมบริเวณวัดไปพราง ๆ ก่อน เสร็จธุระ ท่านจะพาเราสองคนไปยังถ้ำขาม ซึ่งเป็นถ้ำที่พ่อ แม่ ครูบาอาจารย์ ต้องไปจำพรรษาและเป็นวัดที่เราตั้งใจจะไปอยู่แล้วด้วย นับเป็นบุญวาสนาของเราจริง ๆ ครับ ติดตามไปสักการะวัดต่าง ๆ ตลอดจนข้อมูล ของเกจิดังแห่งอีสาน อีกหลาย ๆ วัดที่ผมจะนำมาเล่าให้ได้สะสมบุญกันครับ
เราถวายอาหารเช้าแด่พระภิกษุสงฆ์ เรียบร้อยก็ร่วมกันกินข้าวกับญาติธรรมของวัด หลังจากนั้นก็ไปกราบพระอาจารย์บัณฑิตที่กุฏิท่าน ท่านมีเมตตากับเราสองคนมาก ท่านอนุญาตุให้เราเดินชมบริเวณวัดไปพราง ๆ ก่อน เสร็จธุระ ท่านจะพาเราสองคนไปยังถ้ำขาม ซึ่งเป็นถ้ำที่พ่อ แม่ ครูบาอาจารย์ ต้องไปจำพรรษาและเป็นวัดที่เราตั้งใจจะไปอยู่แล้วด้วย นับเป็นบุญวาสนาของเราจริง ๆ ครับ ติดตามไปสักการะวัดต่าง ๆ ตลอดจนข้อมูล ของเกจิดังแห่งอีสาน อีกหลาย ๆ วัดที่ผมจะนำมาเล่าให้ได้สะสมบุญกันครับ
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4365
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:idea: :idea: หมื่นทางตัน ยังมี "ทางออก" เสมอ
หมื่นปัญหาที่พบเจอ ย่อมมี " ทางแก้ไข"
หมื่นอุปสรรค ยังมี "หนทาง" ให้ฝ่ามันไป
หมื่นความผิดหวังใดๆ ย่อมมี "วันแห่งความสมหวัง"

ทุกอย่างมีทางออกเสมอ..
:idea: :idea:

:) :D อรุณสวัสดิ์ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ ผมจะพาท่านไปเที่ยววัดถ้ำขาม ซึ่งเป็นวัดที่ พ่อ-แม่-ครูบาอาจารย์ให้ความสำคัญ หลาย ๆ องค์มักจะบอกผมเสมอ ๆ ว่าให้ไปให้ได้นะ จะได้รู้ว่าสมัยก่อนนั้นชีวิตของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านไปบุกเบิกไม่ธรรมดา จนแล้วจนรอดผมก็ไม่ได้ไปเลย ครั้งนี้พระอาจารย์บัณฑิต ท่านเมตตาเป็นแห่งแรกเลยที่ท่านเจาะจงพาผมและคุณนายไปกราบสักการะ "กว่าจะบรรลุธรรมหลวงปู่ หลวงพ่อต้องฟันฟ่าอุปสรรคนานา ผมไปเห็นสถานที่แล้วอดที่น้ำตาไหลไม่ได้ครับ อาการจุกในอก ทมะ ขันติ จาคะ วิริยะ สติ ปัญญา ฯ หลั่งไหลเข้าสู่ใจ สิ่งที่เราประพฤติปฏิบัติ ไม่ได้เศษเสี้ยว ถึงบางอ้อว่า...ที่ไปได้ไม่ไกลสักทีมันเป็นแบบนี้นี่เอง"

อยากให้ทุกท่านได้มีโอกาสสัมผัสสักครั้ง หาเวลาไปนะครับ :( :(

:idea: :idea: วัดถ้ำขาม จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดถ้ำขามหรือภูขาม (เทสกเจดีย์ เทสรังสีอนุสรณ์) ตั้งอยู่ที่ อ.พรรณานิคม จังหวัดสกลนคร บนสันเขาภูพาน มีบรรยกาศร่มรื่นงดงาม เป็นอนุสรณ์ว่า หลวงปู่เทสก์ ได้เคยมาจำพรรษาอยู่ ณ ที่นี้ เป็นสถาปัตยกรรม แบบเจดีย์จตุรัสมุข ตามแนวศิลปกรรมอีสานผสมกับอยุธยา ภายในประดิษฐานรูปหล่อสำริดหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ภายในวัดมีกุฏิเดิมหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ซึ่งหลวงปู่เทสก์ ได้มาจำพรรษาจนกระทั่งละสังขาร ณ ที่นี้ เมื่อปี พ.ศ. 2537 ปัจจุบันได้ทำหุ่นเหมือนหลวงปู่เทสก์ หล่อด้วยไฟเบอร์กลาส ในอิริยาบถนั่งเก้าอี้ในกฎิเพื่อจำลองเหตุการณ์ประหนึ่งว่าหลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่ ตำนานของวัดถ้ำขามมีมากมายตั้งแต่สมัยที่เรายังเด็กสมัยหลวงปุฝันยังมีชีวิตอยู่เราจำได้ตอนที่เราตามคุณย่าไปจำศิลในวันพระและได้ช่วยขนหินขนทรายขึ้นไปทำกุฎิพระในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์มีคนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังตอนที่หลวงปู่ฝันเดินธุดงมาอยู่ใหม่ๆมีเสือแม่ลูกอ่อนอาศัยอยู่ในถ้ำอยู่แล้วแต่ด้วยบูญบารมีหรืออะไรก็ไม่รู้เสือแม่ลูกอ่อนยอมสละถ้ำให้หลวงปู่อยู่และได้สร้างเป็นที่ปฏิบัติธรรมเป็นวัดถ้ำขามมาจนทุกวันนี้
:idea: :idea:

:arrow: :arrow: สกลนครดินแดนศักดิ์สิทธิ์...วัดถ้ำขาม :roll: :roll:
ไฟล์แนบ
51544.jpg
51544.jpg (67.33 KiB) เข้าดูแล้ว 526 ครั้ง
51542.jpg
51542.jpg (111.21 KiB) เข้าดูแล้ว 526 ครั้ง
51549.jpg
51549.jpg (61.64 KiB) เข้าดูแล้ว 526 ครั้ง
วันมาฆบูชาปีนี้ (ซึ่งตรงกับวันที่ ๖ มี.ค.๖๖) ได้พาเทวดาองค์น้อยไปร่วมงานที่วัดสันป่าสักแต่เช้า มีการทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา ถวายไทยทานบำรุงพระพุทธศาสนา ปีนี้โชคดีเป็นพิเศษ ลูกพระที่ท่านสละทางโลกขอไปบวชปีนี้เป็นปี่ที่ ๑๔ แล้ว ได้มีโอกาสเดินทางมาเชียงใหม่ ได้เจอโยมพ่อโยมแม่ และมาโปรดที่บ้าน ตั้งแต่ต้นยางล้มทับบ้าน ลูกพระไม่ทราบข่าวและไม่รู้เรื่องราวใด ๆ เลย ท่านวิเวกอยู่และตั้งใจปฏิบัติที่วังน้ำเขียว ตลอดเวลา ปีนี้ก็พึ่งเสร็จจากการธุดงค์ในป่าใหญ่กาญจนบุรี เดินธุดงค์ทะลุมาทาง จ.ตาก ก็เลยถือโอกาสเข้าเชียงใหม่ด้วย จึงได้เจอกัน ขณะนี้ก็เดินทางกลับวังน้ำเขียวแล้ว<br /><br />ดีใจที่เห็นลูกพระท่านสละทางโลก มุ่งเจริญในธรรมเพื่อเป็นหน่อเนื้อนาบุญของพระพุทธศาสนาสมดังที่ท่านตั้งใจ
วันมาฆบูชาปีนี้ (ซึ่งตรงกับวันที่ ๖ มี.ค.๖๖) ได้พาเทวดาองค์น้อยไปร่วมงานที่วัดสันป่าสักแต่เช้า มีการทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา ถวายไทยทานบำรุงพระพุทธศาสนา ปีนี้โชคดีเป็นพิเศษ ลูกพระที่ท่านสละทางโลกขอไปบวชปีนี้เป็นปี่ที่ ๑๔ แล้ว ได้มีโอกาสเดินทางมาเชียงใหม่ ได้เจอโยมพ่อโยมแม่ และมาโปรดที่บ้าน ตั้งแต่ต้นยางล้มทับบ้าน ลูกพระไม่ทราบข่าวและไม่รู้เรื่องราวใด ๆ เลย ท่านวิเวกอยู่และตั้งใจปฏิบัติที่วังน้ำเขียว ตลอดเวลา ปีนี้ก็พึ่งเสร็จจากการธุดงค์ในป่าใหญ่กาญจนบุรี เดินธุดงค์ทะลุมาทาง จ.ตาก ก็เลยถือโอกาสเข้าเชียงใหม่ด้วย จึงได้เจอกัน ขณะนี้ก็เดินทางกลับวังน้ำเขียวแล้ว

ดีใจที่เห็นลูกพระท่านสละทางโลก มุ่งเจริญในธรรมเพื่อเป็นหน่อเนื้อนาบุญของพระพุทธศาสนาสมดังที่ท่านตั้งใจ
51550.jpg (98.07 KiB) เข้าดูแล้ว 526 ครั้ง
CSC ๖๕.jpg
CSC ๖๕.jpg (129.81 KiB) เข้าดูแล้ว 526 ครั้ง
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1270).jpg
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1286).jpg
พระอาจารย์หลังจากที่ทำภารกิจต่าง ๆ เรียบร้อย ท่านมอบหมายให้หลานชายของท่านเป็นสารถี พาพระอาจารย์และเราสองคนเดินทางสู่ถ้ำขาม ตามที่ท่านตั้งใจครับ
พระอาจารย์หลังจากที่ทำภารกิจต่าง ๆ เรียบร้อย ท่านมอบหมายให้หลานชายของท่านเป็นสารถี พาพระอาจารย์และเราสองคนเดินทางสู่ถ้ำขาม ตามที่ท่านตั้งใจครับ
CSC ๖๘.jpg (120.87 KiB) เข้าดูแล้ว 526 ครั้ง
CSC ๖๙.jpg
CSC ๖๙.jpg (126.19 KiB) เข้าดูแล้ว 526 ครั้ง
CSC ๗๐.jpg
CSC ๗๑.jpg
CSC ๗๑.jpg (141.31 KiB) เข้าดูแล้ว 526 ครั้ง
CSC ๗๒.jpg
CSC ๗๒.jpg (186.42 KiB) เข้าดูแล้ว 526 ครั้ง
CSC ๗๓.jpg
CSC ๗๓.jpg (142.94 KiB) เข้าดูแล้ว 526 ครั้ง
CSC ๗๔.jpg
CSC ๗๔.jpg (117.22 KiB) เข้าดูแล้ว 526 ครั้ง
CSC ๗๕.jpg
CSC ๗๕.jpg (118.66 KiB) เข้าดูแล้ว 526 ครั้ง
CSC ๗๖.jpg
CSC ๗๖.jpg (138.2 KiB) เข้าดูแล้ว 526 ครั้ง
แก้ไขล่าสุดโดย Deang-sarapee เมื่อ 09 มี.ค. 2023, 04:14, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4365
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:) :D
ไฟล์แนบ
CSC ๗๗.jpg
CSC ๗๗.jpg (146.47 KiB) เข้าดูแล้ว 525 ครั้ง
CSC ๗๘.jpg
CSC ๗๘.jpg (160.69 KiB) เข้าดูแล้ว 525 ครั้ง
DSC_4953.JPG
DSC_4953.JPG (105.48 KiB) เข้าดูแล้ว 525 ครั้ง
DSC_4954.JPG
DSC_4954.JPG (91.11 KiB) เข้าดูแล้ว 525 ครั้ง
DSC_4955.JPG
DSC_4955.JPG (74.1 KiB) เข้าดูแล้ว 525 ครั้ง
IMG20221117113802.jpg
IMG20221117113802.jpg (97.94 KiB) เข้าดูแล้ว 525 ครั้ง
IMG20221117113825.jpg
IMG20221117113825.jpg (96.26 KiB) เข้าดูแล้ว 525 ครั้ง
IMG20221117113841.jpg
IMG20221117114746.jpg
IMG20221117114746.jpg (76.94 KiB) เข้าดูแล้ว 525 ครั้ง
IMG20221117114818.jpg
IMG20221117114818.jpg (121.55 KiB) เข้าดูแล้ว 525 ครั้ง
IMG20221117130215.jpg
IMG20221117130215.jpg (145.94 KiB) เข้าดูแล้ว 525 ครั้ง
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1388).jpg
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1388).jpg (123.01 KiB) เข้าดูแล้ว 525 ครั้ง
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1394).jpg
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1394).jpg (131.64 KiB) เข้าดูแล้ว 525 ครั้ง
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1395).jpg
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1397).jpg
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1397).jpg (130.98 KiB) เข้าดูแล้ว 525 ครั้ง
ประวัติวัดถ้ำขาม ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ พระอาจารย์ฝั้น ยังคงจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ ติดกับถนนเลี่ยงเมือง ทางไปจังหวัดกาฬสินธุ์และอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม และวัดป่าภูธรพิทักษ์ยังติดอยู่กับวัดพระธาตุนารายณ์เจงเวงซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ในระหว่างตอนกลางพรรษา พระอาจารย์ฝั้น ได้ปรารภกับลูกศิษย์ท่านได้นิมิตเห็นถ้ำอยู่ทางทิศตะวันตกของเทือกเขาภูพาน ภายในถ้ำนั้นมีแสงสว่างเท่า ๆ กับตะเกียงเจ้าพายุ ๒ ดวง อากาศดี สงบ ถ้าได้ไปวิเวกที่ถ้ำแห่งนี้ เหมือนได้อยู่อีกโลกหนึ่งทีเดียว<br /><br /> เมื่อออกพรรษาพระอาจารย์ฝั้นได้เดินทางไปยังถ้ำตามที่ได้นิมิตแต่มิได้ตรงไปยังถ้ำ ท่านได้เดินทางไปกับพระภิกษุและสามเณรเพียง ๓ รูปเท่านั้น ท่านไปพักที่วัดป่าอุดมสมพร เพื่อพาคณะญาติโยมบำเพ็ญกุศลแก่บุพพาการี เมื่อเสร็จจึงออกเดินทางไปพักที่วัดป่ากลางโนนภู่ (วัดป่าบ้านภู่) เพื่อบำเพ็ญกุศลครบรอบวันฌาปนกิจของพระอาจารย์ภู่ ธัมมทินโน จากนั้นได้เดินทางไปพักที่ป่าช้าข้าง ๆวัดไฮ่ ๒ คืน แล้วเดินทางไปยังบ้านคำข่า พอไปถึงญาติโยมได้พาพระอาจารย์ฝั้นไปพักในป่าข้างหมู่บ้าน ชาวบ้านเรียกว่าดงวัดร้าง พระอาจารย์ฝั้น ได้ถามญาติโยมในหมู่บ้านนี้ว่า ภูเขาแถบนี้มีถ้ำบ้างหรือไม่ พวกญาติโยมบอกว่ามีหลายแห่ง ทั้งถ้ำเล็กและถ้ำใหญ่<br /><br /> ในวันต่อมาพระอาจารย์ฝั้นได้พาญาติโยมขึ้นไปดูถ้ำแต่ไม่ตรงกับในนิมิตสักแห่งเดียว พระอาจารย์ฝั้น จึงได้กลับลงมาพักที่หมู่บ้าน ต่อมาพวกญาติโยมได้บอกกับพระอาจารย์ฝั้นว่ายังมีอีกถ้ำหนึ่งอยู่บนยอดเขา เป็นถ้ำใหญ่มากชาวบ้านเรียกว่า &quot;ถ้ำขาม” เมื่อถึงวันสงกรานต์ ชาวบ้านจะขึ้นไปทำบุญ และสรงน้ำพระบนถ้ำนั้น เป็นประจำทุกปี ในวันรุ่งขึ้นชาวบ้านได้พาพระอาจารย์ฝั้น เดินทางไปยังถ้ำขาม เป็นเส้นทางที่ลำบากต้องปีนไต่ไปตามไหล่เขาเต็มไปด้วยขวากนาม เมื่อขึ้นไปถึงถ้ำขาม &quot;พระอาจารย์ฝั้น ได้เดินสำรวจดูรอบบริเวณ แล้วท่านได้เอ่ยปากว่าถ้ำนี้แหละที่ได้นิมิตเห็น<br /><br /> ท่านจึงให้ญาติโยมทำแคร่นอนขึ้นในถ้ำเพื่อจะได้พักค้างคืนที่นี่แต่ความไม่พร้อมจึงได้ลงมาพักที่หมู่บ้านที่เดิม และพร้อมให้ญาติโยมทำทางลงมาด้วยจะได้ขึ้นได้สะดวกในวันหลัง เช้าวันรุ่งขึ้นของวันใหม่ เมื่อพระอาจารย์ฝั้นได้ฉันเสร็จเรียบร้อย ได้เดินทางขึ้นถ้ำขามอีกครั้งพร้อมญาติโยมและเสบียงอาหาร เพราะถ้ำขามอยู่ห่างจากหมู่บ้านมาก และการออกบิณฑบาตไม่สะดวก การขึ้นถ้ำขามในครั้งนี้ พระอาจารย์ฝั้นพร้อมด้วยพระภิกษุ สามเณรได้เตรียมการเป็นที่เรียบร้อย พร้อมที่จะพักอยู่บนถ้ำขามและในเดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ พระอาจารย์ฝั้น ได้จำพรรษาอยู่บนถ้ำขามมีพระภิกษุ ๓ รูป เมื่อออกพรรษาพระอาจารย์ฝั้นได้พาญาติโยมชาวบ้านพัฒนาถ้ำขามและมีเส้นทางไปมาหาสู่ระหว่างชาวบ้านกับถ้ำขามสะดวกขึ้น<br /><br /> พอถึงหน้าแล้งในปี พ.ศ.๒๔๙๘ พระอาจารย์ฝั้น ได้ชวนชาวบ้านและญาติโยมช่วยกันสร้างศาลาโรงธรรม กุฏี สระน้ำ จนเสร็จเรียบร้อย จนปรากฏเห็นอยู่ทุกวันนี้ และในเวลาต่อมาถนนได้เริ่มต้นสร้างขึ้นถ้ำขามในปี พ.ศ.๒๕๐๗ ทำให้รถยนต์ได้วิ่งขึ้นถ้ำขามได้สะดวกจนถึงทุกวันนี้ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ พระอาจารย์ฝั้น ได้ลงจากถ้ำขามไปจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ เมื่อออกพรรษา พระอาจารย์ฝั้น ได้กลับขึ้นถ้ำขาม พร้อมทั้งพัฒนาถ้ำขามอย่างไม่หยุดยั้ง ในพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๐๐ จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๕ มีพระภิกษุและสามเณรจำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์ฝั้นที่ถ้ำขาม เมื่อออกพรรษาในปี พ.ศ.๒๕๐๕ พระอาจารย์ฝั้นได้ลงจากถ้ำขามมาพักอยู่ที่วัดป่าอุดมสมพรในหน้าแล้งของปี พ.ศ.๒๕๐๕ พระอาจารย์ฝั้นได้พาญาติโยมพัฒนาเส้นทางถนนจากโรงเรียนบ้านม่วงไข่ไปบ้านหนองโดก อย่างใกล้ชิด ๕-๖ วัน ทำให้พระอาจารย์อาพาธอย่างหนัก เข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลในจังหวัดสกลนคร เมื่ออาการดีขึ้นจึงได้มาพักฟื้นที่วัดป่าภูธรพิทักษ์และได้จำพรรษาที่วัดนี้ด้วย <br /><br />ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ในพรรษานี้ พระอาจารย์ฝั้น ยังคงจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ เพราะได้รับการขอร้องจากคณะแพทย์และศิษย์กลัวว่าท่านพระอาจารย์จะขึ้นถ้ำขามเพราะต้องออกกำลังกายมาก มีอายุมากขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประกอบกับมีญาติโยมไปกราบนมัสการท่านอาจารย์ตลอดมาทำให้ไม่ค่อยได้พักผ่อน ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ได้กลับมาจากทางจังหวัดภูเก็ต เพราะได้เผยแผ่ศาสนาให้กับประชาชนในภาคใต้นานถึง ๑๕ ปี พระอาจารย์เทสก์ ได้กลับมาอีสานและได้มาเยี่ยมพระอาจารย์ฝั้นที่อำเภอพรรณานิคม ในวันหนึ่งพระอาจารยเทสก์ ได้ขึ้นไปถ้ำขาม เมื่อได้เห็นสภาพถ้ำขามจึงชอบมาก จึงได้จำพรรษาอยู่ที่ถ้ำขาม<br /><br /> ในปี ต่อมา พระอาจารย์ฝั้น ยังคงไป ๆ มา ๆ ระหว่างวัดป่าอุดมสมพรกับวัดป่าภูธรพิทักษ์และถ้ำขาม พระอาจารย์ฝั้น เป็นพระเถระผู้ใหญ่รูปหนึ่งและเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่ผู้คนทั่วไปเคารพนับถือ พระอาจารย์ฝั้นทำให้ถ้ำขามกลายสภาพเป็นที่ปฏิบัติธรรมสำหรับพระภิกษุ สามเณรและประชาชนโดยทั่วไป ในปัจจุบันถ้ำขามได้รับการจัดตั้งเป็น &quot;วัด” มีชื่อว่าวัดถ้ำขาม ตั้งอยู่ที่ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร และยังเป็นที่ตั้งเทสกเจดีย์ เทสรังสีอนุสรณ์ เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หรือพระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฎ์ ที่ได้มาละสังขาร ณ วัดถ้ำขาม สมกับดั่งคำที่ได้ยกย่องหลวงปู่เทสก์ท่านว่า &quot;ดวงประทีปแห่งลุ่มแม่น้ำโขง” มา ณ บัดนี้ ดวงประทีปดวงนี้ได้ลับไปจากขอบฟ้าแม่น้ำโขงไม่หวนกลับมาอีกแล้ว คงเหลือไว้แต่ความทรงจำที่ดีกับหลวงปู่ ผู้ได้ทำให้โลกสว่างไสวตลอดไปกับความงดงามของหลวงปู่เทสก์<br /> <br />(ข้อมูลจาก สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จ.สกลนคร)
ประวัติวัดถ้ำขาม ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ พระอาจารย์ฝั้น ยังคงจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ ติดกับถนนเลี่ยงเมือง ทางไปจังหวัดกาฬสินธุ์และอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม และวัดป่าภูธรพิทักษ์ยังติดอยู่กับวัดพระธาตุนารายณ์เจงเวงซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ในระหว่างตอนกลางพรรษา พระอาจารย์ฝั้น ได้ปรารภกับลูกศิษย์ท่านได้นิมิตเห็นถ้ำอยู่ทางทิศตะวันตกของเทือกเขาภูพาน ภายในถ้ำนั้นมีแสงสว่างเท่า ๆ กับตะเกียงเจ้าพายุ ๒ ดวง อากาศดี สงบ ถ้าได้ไปวิเวกที่ถ้ำแห่งนี้ เหมือนได้อยู่อีกโลกหนึ่งทีเดียว

เมื่อออกพรรษาพระอาจารย์ฝั้นได้เดินทางไปยังถ้ำตามที่ได้นิมิตแต่มิได้ตรงไปยังถ้ำ ท่านได้เดินทางไปกับพระภิกษุและสามเณรเพียง ๓ รูปเท่านั้น ท่านไปพักที่วัดป่าอุดมสมพร เพื่อพาคณะญาติโยมบำเพ็ญกุศลแก่บุพพาการี เมื่อเสร็จจึงออกเดินทางไปพักที่วัดป่ากลางโนนภู่ (วัดป่าบ้านภู่) เพื่อบำเพ็ญกุศลครบรอบวันฌาปนกิจของพระอาจารย์ภู่ ธัมมทินโน จากนั้นได้เดินทางไปพักที่ป่าช้าข้าง ๆวัดไฮ่ ๒ คืน แล้วเดินทางไปยังบ้านคำข่า พอไปถึงญาติโยมได้พาพระอาจารย์ฝั้นไปพักในป่าข้างหมู่บ้าน ชาวบ้านเรียกว่าดงวัดร้าง พระอาจารย์ฝั้น ได้ถามญาติโยมในหมู่บ้านนี้ว่า ภูเขาแถบนี้มีถ้ำบ้างหรือไม่ พวกญาติโยมบอกว่ามีหลายแห่ง ทั้งถ้ำเล็กและถ้ำใหญ่

ในวันต่อมาพระอาจารย์ฝั้นได้พาญาติโยมขึ้นไปดูถ้ำแต่ไม่ตรงกับในนิมิตสักแห่งเดียว พระอาจารย์ฝั้น จึงได้กลับลงมาพักที่หมู่บ้าน ต่อมาพวกญาติโยมได้บอกกับพระอาจารย์ฝั้นว่ายังมีอีกถ้ำหนึ่งอยู่บนยอดเขา เป็นถ้ำใหญ่มากชาวบ้านเรียกว่า "ถ้ำขาม” เมื่อถึงวันสงกรานต์ ชาวบ้านจะขึ้นไปทำบุญ และสรงน้ำพระบนถ้ำนั้น เป็นประจำทุกปี ในวันรุ่งขึ้นชาวบ้านได้พาพระอาจารย์ฝั้น เดินทางไปยังถ้ำขาม เป็นเส้นทางที่ลำบากต้องปีนไต่ไปตามไหล่เขาเต็มไปด้วยขวากนาม เมื่อขึ้นไปถึงถ้ำขาม "พระอาจารย์ฝั้น ได้เดินสำรวจดูรอบบริเวณ แล้วท่านได้เอ่ยปากว่าถ้ำนี้แหละที่ได้นิมิตเห็น

ท่านจึงให้ญาติโยมทำแคร่นอนขึ้นในถ้ำเพื่อจะได้พักค้างคืนที่นี่แต่ความไม่พร้อมจึงได้ลงมาพักที่หมู่บ้านที่เดิม และพร้อมให้ญาติโยมทำทางลงมาด้วยจะได้ขึ้นได้สะดวกในวันหลัง เช้าวันรุ่งขึ้นของวันใหม่ เมื่อพระอาจารย์ฝั้นได้ฉันเสร็จเรียบร้อย ได้เดินทางขึ้นถ้ำขามอีกครั้งพร้อมญาติโยมและเสบียงอาหาร เพราะถ้ำขามอยู่ห่างจากหมู่บ้านมาก และการออกบิณฑบาตไม่สะดวก การขึ้นถ้ำขามในครั้งนี้ พระอาจารย์ฝั้นพร้อมด้วยพระภิกษุ สามเณรได้เตรียมการเป็นที่เรียบร้อย พร้อมที่จะพักอยู่บนถ้ำขามและในเดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ พระอาจารย์ฝั้น ได้จำพรรษาอยู่บนถ้ำขามมีพระภิกษุ ๓ รูป เมื่อออกพรรษาพระอาจารย์ฝั้นได้พาญาติโยมชาวบ้านพัฒนาถ้ำขามและมีเส้นทางไปมาหาสู่ระหว่างชาวบ้านกับถ้ำขามสะดวกขึ้น

พอถึงหน้าแล้งในปี พ.ศ.๒๔๙๘ พระอาจารย์ฝั้น ได้ชวนชาวบ้านและญาติโยมช่วยกันสร้างศาลาโรงธรรม กุฏี สระน้ำ จนเสร็จเรียบร้อย จนปรากฏเห็นอยู่ทุกวันนี้ และในเวลาต่อมาถนนได้เริ่มต้นสร้างขึ้นถ้ำขามในปี พ.ศ.๒๕๐๗ ทำให้รถยนต์ได้วิ่งขึ้นถ้ำขามได้สะดวกจนถึงทุกวันนี้ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ พระอาจารย์ฝั้น ได้ลงจากถ้ำขามไปจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ เมื่อออกพรรษา พระอาจารย์ฝั้น ได้กลับขึ้นถ้ำขาม พร้อมทั้งพัฒนาถ้ำขามอย่างไม่หยุดยั้ง ในพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๐๐ จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๕ มีพระภิกษุและสามเณรจำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์ฝั้นที่ถ้ำขาม เมื่อออกพรรษาในปี พ.ศ.๒๕๐๕ พระอาจารย์ฝั้นได้ลงจากถ้ำขามมาพักอยู่ที่วัดป่าอุดมสมพรในหน้าแล้งของปี พ.ศ.๒๕๐๕ พระอาจารย์ฝั้นได้พาญาติโยมพัฒนาเส้นทางถนนจากโรงเรียนบ้านม่วงไข่ไปบ้านหนองโดก อย่างใกล้ชิด ๕-๖ วัน ทำให้พระอาจารย์อาพาธอย่างหนัก เข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลในจังหวัดสกลนคร เมื่ออาการดีขึ้นจึงได้มาพักฟื้นที่วัดป่าภูธรพิทักษ์และได้จำพรรษาที่วัดนี้ด้วย

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ในพรรษานี้ พระอาจารย์ฝั้น ยังคงจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ เพราะได้รับการขอร้องจากคณะแพทย์และศิษย์กลัวว่าท่านพระอาจารย์จะขึ้นถ้ำขามเพราะต้องออกกำลังกายมาก มีอายุมากขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประกอบกับมีญาติโยมไปกราบนมัสการท่านอาจารย์ตลอดมาทำให้ไม่ค่อยได้พักผ่อน ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ได้กลับมาจากทางจังหวัดภูเก็ต เพราะได้เผยแผ่ศาสนาให้กับประชาชนในภาคใต้นานถึง ๑๕ ปี พระอาจารย์เทสก์ ได้กลับมาอีสานและได้มาเยี่ยมพระอาจารย์ฝั้นที่อำเภอพรรณานิคม ในวันหนึ่งพระอาจารยเทสก์ ได้ขึ้นไปถ้ำขาม เมื่อได้เห็นสภาพถ้ำขามจึงชอบมาก จึงได้จำพรรษาอยู่ที่ถ้ำขาม

ในปี ต่อมา พระอาจารย์ฝั้น ยังคงไป ๆ มา ๆ ระหว่างวัดป่าอุดมสมพรกับวัดป่าภูธรพิทักษ์และถ้ำขาม พระอาจารย์ฝั้น เป็นพระเถระผู้ใหญ่รูปหนึ่งและเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่ผู้คนทั่วไปเคารพนับถือ พระอาจารย์ฝั้นทำให้ถ้ำขามกลายสภาพเป็นที่ปฏิบัติธรรมสำหรับพระภิกษุ สามเณรและประชาชนโดยทั่วไป ในปัจจุบันถ้ำขามได้รับการจัดตั้งเป็น "วัด” มีชื่อว่าวัดถ้ำขาม ตั้งอยู่ที่ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร และยังเป็นที่ตั้งเทสกเจดีย์ เทสรังสีอนุสรณ์ เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หรือพระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฎ์ ที่ได้มาละสังขาร ณ วัดถ้ำขาม สมกับดั่งคำที่ได้ยกย่องหลวงปู่เทสก์ท่านว่า "ดวงประทีปแห่งลุ่มแม่น้ำโขง” มา ณ บัดนี้ ดวงประทีปดวงนี้ได้ลับไปจากขอบฟ้าแม่น้ำโขงไม่หวนกลับมาอีกแล้ว คงเหลือไว้แต่ความทรงจำที่ดีกับหลวงปู่ ผู้ได้ทำให้โลกสว่างไสวตลอดไปกับความงดงามของหลวงปู่เทสก์

(ข้อมูลจาก สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จ.สกลนคร)
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4365
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:idea: :idea: “กัลยาณมิตร” แปลความหมายคำ “กัลยาณ” ว่า หมายถึง งาม, ดี และ “มิตร” หมายถึง เพื่อนรักใคร่ที่สนิทสนมคุ้นเคย ดังนั้น กัลยาณมิตร จึงมีความหมายว่า เพื่อนที่ดี, เพื่อนที่งาม หรือเพื่อนที่รักใคร่คุ้นเคยที่ดี, เพื่อนรักใคร่คุ้นเคยที่งาม

เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นก่อนเป็นบุรพนิมิตฉันใด การมีกัลยาณมิตรเป็นบุรพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของหนทางพระนิพพานแก่ผู้ประพฤติธรรมฉันนั้น

กัลยาณมิตรในอุดมคติของชาวโลก

ใคร ๆ ก็ต้องการคบคนดี อยากได้กัลยาณมิตรมาคอยแนะนำสิ่งที่ดี ๆ แก่ชีวิต มีเพื่อนก็อยากได้เพื่อนแท้ มิตรแท้ ไม่ต้องการมิตรเทียม กัลยาณมิตรในอุดมคติคือ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา

ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาศ ย่อมสว่างกว่าหมู่ดาวทั้งปวงด้วยรัศมีฉันใด บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีศรัทธา ก็ย่อมรุ่งโรจน์กว่าผู้ตระหนี่ทั้งปวงในโลก ด้วยความเสียสละฉันนั้น

เมฆที่ลอยไปตามอากาศ มีสายฟ้าปลาบแปลบ มีช่อตั้งร้อย ตกรดแผ่นดินเต็มที่ดอนและที่ลุ่มฉันใด สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สมบูรณ์ด้วยทัสสนะ เป็นบัณฑิตก็ฉันนั้น ย่อมข่มผู้ตระหนี่ได้ด้วยฐานะ 5 ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และเปี่ยมด้วยโภคะ ย่อมบันเทิงใจในสวรรค์ในปรโลก ดังนี้ฯ

ในลักษณะกัลยาณมิตรนั้น บุคคลมีศรัทธาสมบัติ ย่อมเชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต เชื่อกรรมและผลแห่งกรรม คือเชื่อว่าทานที่ให้แล้วมีผล การบูชามีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดี ทำชั่วมีจริง โลกนี้มีจริง โลกหน้ามีจริง มารดาบิดามีคุณจริง สัตว์ผู้เกิดผุดขึ้นมีจริง สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งกระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก มหาชนย่อมต้องการคบหาผู้มีปัญญาที่สามารถเตือนตนเองและผู้อื่นได้

มีศีลสมบัติ ผู้มีศีลย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพสรรเสริญ เป็นผู้โจทก์ท้วง เป็นผู้ติเตียนบาป อดทนต่อถ้อยคำของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย

ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีลมี 5 ประการคือ ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย คนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีลในโลกนี้ ย่อมได้กองโภคทรัพย์ใหญ่หลวง เพราะเหตุแห่งความไม่ประมาท นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ 1 แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล

ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อนึ่ง อานิสงส์ข้ออื่นยังมีอีก ชื่อเสียงอันดีงามของคนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเฟื่องฟุ้งไป นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ 2 แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล

ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อนึ่ง อานิสงส์ข้ออื่นยังมีอีก คนมีศีลถึงพร้อมด้วยศีล เข้าไปหาบริษัทใด ๆ เช่น ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท สมณบริษัท ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ขวยเขินเข้าไปหาบริษัทนั้น ๆ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ 3 แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล

ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อนึ่ง อานิสงส์ข้ออื่นยังมีอีก คนมีศีลถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมไม่หลงทำกาละ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ 4 แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล

ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อนึ่ง อานิสงส์ข้ออื่นยังมีอีก คนมีศีลถึงพร้อมด้วยศีล เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ 5 แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล

ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล มี 5 ประการนี้แล

มีสุตสมบัติ ย่อมทำถ้อยคำอันลึกซึ้งให้ง่าย สามารถที่จะแนะนำในสิ่งที่ดี เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง และจุดประทีปในที่มืดด้วยประสงค์จะให้คนได้มองเห็นทาง

มีจาคสมบัติ แสดงว่าเป็นผู้ไม่โลภมากหรือเห็นแก่ได้ ไม่คดโกง เป็นคนมักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่

มีวิริยสมบัติ เป็นผู้ริเริ่มความเพียร เพื่อปฏิบัติประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย
มีสติสมบัติ หมายถึง มีสติตั้งมั่น ไม่เป็นคนจิตใจโลเล
มีสมาธิสมบัติ เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตเป็นสมาธิ
มีปัญญาสมบัติ มีปัญญาสามารถวินิจฉัยอรรถคดีต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง ตรงไปตามความเป็นจริง

บุคคลผู้เป็นกัลยาณมิตร จึงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคติธรรมอันเป็นกุศลด้วยสติ รู้สิ่งที่มีประโยชน์ และไม่มีประโยชน์แห่งสัตว์ทั้งหลายตามเป็นจริงด้วยปัญญา เป็นผู้มีจิตแน่วแน่ในกุศลธรรมเหล่านั้นด้วยสมาธิ ย่อมกีดกันสัตว์ทั้งหลายจากสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แล้วชักนำเข้าไปในสิ่งที่เป็นประโยชน์ด้วยวิริยะ ดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า บุคคลเป็นที่รัก เคารพ ยกย่อง เป็นผู้ว่ากล่าว ผู้อดทนถ้อยคำ ผู้กระทำถ้อยคำอันลึกซึ้ง และไม่ชักนำในฐานะที่ไม่ควร

Cr.กัลยาณมิตร ธรรมะออนไลน์
:idea: :idea:
ไฟล์แนบ
51546.jpg
51546.jpg (68.77 KiB) เข้าดูแล้ว 518 ครั้ง
51547.jpg
51547.jpg (86.74 KiB) เข้าดูแล้ว 518 ครั้ง
51540.jpg
51540.jpg (145.17 KiB) เข้าดูแล้ว 518 ครั้ง
&quot;ชั่วดีอย่างไร เราต้องรักกัน&quot; พวกเรายุพราชรุ่น ๐๘-๑๐ รร.ยุพราชวิทยาลัย เชียงใหม่ ยามที่เพื่อนอยู่ดีมีสุข สุขภาพแข็งแรง เราได้สนุกสนานร่วมกิน ร่วมดื่ม ไปไหนไปกันเฮฮากันมาตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมมาด้วยกัน วันนี้วันเวลาเคลื่อนผ่านเพื่อน ๆ หลาย ๆ คนได้ล้มหายตายจากกันไปปีละคนสองคน ที่เหลือก็อยู่กันไป<br /><br />ยามที่เพื่อนป่วยไข้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเพื่อนเองหรือครอบครัว พวกเราไม่ทอดทิ้งกันหาเวลาว่าง ไปเยี่ยมเยียนให้กำลังใจมาโดยตลอด กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ จากหนักจักกลายเป็นเบา เห็นหน้าเพื่อน ๆ กำลังใจมันมาอัติโนมัติ สิ่งของเยี่ยมเยียนแม้จะนับค่าไม่มากมาย แต่น้ำใจที่มอบให้กันมันยิ่งใหญ่เสมอ ๆ สำหรับเพื่อน<br /><br />ขอให้เพื่อนและครอบครัวหายวันหายคืน กลับมาเป็นปกติเหมือนเดิมนะครับ
"ชั่วดีอย่างไร เราต้องรักกัน" พวกเรายุพราชรุ่น ๐๘-๑๐ รร.ยุพราชวิทยาลัย เชียงใหม่ ยามที่เพื่อนอยู่ดีมีสุข สุขภาพแข็งแรง เราได้สนุกสนานร่วมกิน ร่วมดื่ม ไปไหนไปกันเฮฮากันมาตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมมาด้วยกัน วันนี้วันเวลาเคลื่อนผ่านเพื่อน ๆ หลาย ๆ คนได้ล้มหายตายจากกันไปปีละคนสองคน ที่เหลือก็อยู่กันไป

ยามที่เพื่อนป่วยไข้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเพื่อนเองหรือครอบครัว พวกเราไม่ทอดทิ้งกันหาเวลาว่าง ไปเยี่ยมเยียนให้กำลังใจมาโดยตลอด กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ จากหนักจักกลายเป็นเบา เห็นหน้าเพื่อน ๆ กำลังใจมันมาอัติโนมัติ สิ่งของเยี่ยมเยียนแม้จะนับค่าไม่มากมาย แต่น้ำใจที่มอบให้กันมันยิ่งใหญ่เสมอ ๆ สำหรับเพื่อน

ขอให้เพื่อนและครอบครัวหายวันหายคืน กลับมาเป็นปกติเหมือนเดิมนะครับ
51541.jpg (136.42 KiB) เข้าดูแล้ว 518 ครั้ง
ออกจากวัดถ้ำขามพระอาจารย์ได้พาเราไปที่ &quot;วัดถ้ำเจ้าผู้ข้า&quot; ซึ่งเป็นวัดอีกวัดหนึ่งที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ได้พากันมาสร้างให้เป็นที่ปฏิบัติธรรมและจำพรรษา<br /><br /><br />วัดถ้ำเจ้าผู้ข้า โดย พระสถิตย์ ขนฺติวโร <br /><br />ทางเข้าวัดถ้ำเจ้าผู้ข้าอยู่ถนนสายสกล-อุดร ระหว่างกิโลเมตรที่ 36-37 ตั้งอยู่ห่างจากถนนสกล-อุดร 13 กิโลเมตร ทิศหนือติดกับบ้านทิดไทย ทิศใต้ติดกับเทือกเข้าภูพานและห่างจากวัดป่าภูริทัต บ้านหนองผือ ประมาณ 10 กว่ากิโลเมตร วัดถ้ำเจ้าผู้ข้า อยู่ในเขตบ้านทิดไทย ต.ไร่ อ.พรรรณานิคม จ.สกลนคร<br /><br />ก่อนที่จะมีการเรียกว่าวัดถ้ำเจ้าผู้ข้านั้นก็มีประวัติความเป็นมาตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ที่ข้าพเจ้าได้สอบถามข้อมูลด้วยตนเองดังนี้ ในอดีตเมื่อสมัยร้อยกว่าปีมาแล้วได้มีชาวบ้านไฮ่ ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ในปัจจุบันได้ออกบวชห่มขาวถือศิล 8 มาพักปฏิบัติธรรมอยู่ที่บริเวรถ้ำแห่งนี้โดยที่ท่านไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เป็นอาหารเพราะเมื่อท่านรับประทานเข้าไปแล้วจะอาเจียนออกมาหมดก่อนที่ท่านจะสละทางโลกเข้ามาทางธรรมนั้นท่านก็มีครอบครัวเช่นเดียวกับชาวบ้านทั่วไป มีบุตรสาวหนึ่งคน จากการบอกเล่าของลูกหลาน เชื้อสายเจ้าผู้ข้าอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือก่อนที่ท่านเจ้าผู้ข้าจะออกบวชห่มขาวถือศิล 8 นั้น วันนึงในฤดูทำนาภรรยาท่านเจ้าผู้ข้าก็ได้ไปเก็บหอยขมมาทำอาหาร การที่นำหอยขมมาทำอาหารนั้น บางคนก็ตัดก้นหอยเพื่อที่จะนำมาแกง บางคนก็ต้มเลยไม่ต้องตัดก้นหอย การที่นำหอยเป็นๆมาต้มก็เหมือนกับเราต้มเปรตปลาไหลนั้นเอง หอยเป็นๆพอถูกน้ำร้อนมันจะร้อนแค่ไหน ลองพิจารณาเอาเองก็แล้วกัน<br /><br />          ภรรยาของท่านเจ้าผู้ข้าก็เช่นกันนำหอยขมที่ได้มานั้นต้มเพื่อเป็นอาหาร ขณะที่น้ำในหม้อต้มหอยกำลังเดือด ท่านเจ้าผู้ข้าก็ได้ยินเสียงหอยขมในหม้อต้มนั้นร้องว่า “โอ้ยร้อนจัง ช่วยด้วย ร้อน ร้อน ” ซึ่งเสียงนั้นท่านเจ้าผู้ข้าได้ยินเพียงผู้เดียว ตั้งแต่นั้นมาท่านเจ้าผู้ข้าก็มีอาการผิดปกติคือรับประทานอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ไม่ได้ รับประทานเข้าไปก็มีอาหารเคลื่อนไส้ อาเจียนทันที มีการบันทึกไว้ว่าก่อนที่จะมีการเรียกชื่อเจ้าผู้ข้านั้น ท่านมีนามว่า น้อยหน่า ส่วนนามสกุลนั้นมีการแต่งขึ้นในภายหลังจากท่านออกบวชแล้ว<br /><br />          ทำไมถึงเรียกว่าเจ้าผู้ข้า????<br /><br />ท่านเจ้าผู้ข้านั้นชอบเรียกตัวเองว่า ผู้ข้า ซึ่งไปเป็นภาษาภูไท หมายความว่า กระผม หรือ ข้า หรือ ข้าพเจ้าประมาณนั้น และมีคนพบท่านเจ้าผู้ข้าครั้งสุดท้ายที่ถ้ำแห่งนี้ ท่านนอนป่วยอยู่จึงนำท่านลงไปรักษาในหมู่บ้านที่มีผู้ศรัทธาท่านจนท่านเจ้าผู้ข้านั้นเสียชีวิตในเวลาต่อมาจึงมีผู้คนเรียกถ้ำแห่งนี้ว่าถ้ำเจ้าผู้ข้าตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ออกจากวัดถ้ำขามพระอาจารย์ได้พาเราไปที่ "วัดถ้ำเจ้าผู้ข้า" ซึ่งเป็นวัดอีกวัดหนึ่งที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ได้พากันมาสร้างให้เป็นที่ปฏิบัติธรรมและจำพรรษา


วัดถ้ำเจ้าผู้ข้า โดย พระสถิตย์ ขนฺติวโร

ทางเข้าวัดถ้ำเจ้าผู้ข้าอยู่ถนนสายสกล-อุดร ระหว่างกิโลเมตรที่ 36-37 ตั้งอยู่ห่างจากถนนสกล-อุดร 13 กิโลเมตร ทิศหนือติดกับบ้านทิดไทย ทิศใต้ติดกับเทือกเข้าภูพานและห่างจากวัดป่าภูริทัต บ้านหนองผือ ประมาณ 10 กว่ากิโลเมตร วัดถ้ำเจ้าผู้ข้า อยู่ในเขตบ้านทิดไทย ต.ไร่ อ.พรรรณานิคม จ.สกลนคร

ก่อนที่จะมีการเรียกว่าวัดถ้ำเจ้าผู้ข้านั้นก็มีประวัติความเป็นมาตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ที่ข้าพเจ้าได้สอบถามข้อมูลด้วยตนเองดังนี้ ในอดีตเมื่อสมัยร้อยกว่าปีมาแล้วได้มีชาวบ้านไฮ่ ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ในปัจจุบันได้ออกบวชห่มขาวถือศิล 8 มาพักปฏิบัติธรรมอยู่ที่บริเวรถ้ำแห่งนี้โดยที่ท่านไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เป็นอาหารเพราะเมื่อท่านรับประทานเข้าไปแล้วจะอาเจียนออกมาหมดก่อนที่ท่านจะสละทางโลกเข้ามาทางธรรมนั้นท่านก็มีครอบครัวเช่นเดียวกับชาวบ้านทั่วไป มีบุตรสาวหนึ่งคน จากการบอกเล่าของลูกหลาน เชื้อสายเจ้าผู้ข้าอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือก่อนที่ท่านเจ้าผู้ข้าจะออกบวชห่มขาวถือศิล 8 นั้น วันนึงในฤดูทำนาภรรยาท่านเจ้าผู้ข้าก็ได้ไปเก็บหอยขมมาทำอาหาร การที่นำหอยขมมาทำอาหารนั้น บางคนก็ตัดก้นหอยเพื่อที่จะนำมาแกง บางคนก็ต้มเลยไม่ต้องตัดก้นหอย การที่นำหอยเป็นๆมาต้มก็เหมือนกับเราต้มเปรตปลาไหลนั้นเอง หอยเป็นๆพอถูกน้ำร้อนมันจะร้อนแค่ไหน ลองพิจารณาเอาเองก็แล้วกัน

ภรรยาของท่านเจ้าผู้ข้าก็เช่นกันนำหอยขมที่ได้มานั้นต้มเพื่อเป็นอาหาร ขณะที่น้ำในหม้อต้มหอยกำลังเดือด ท่านเจ้าผู้ข้าก็ได้ยินเสียงหอยขมในหม้อต้มนั้นร้องว่า “โอ้ยร้อนจัง ช่วยด้วย ร้อน ร้อน ” ซึ่งเสียงนั้นท่านเจ้าผู้ข้าได้ยินเพียงผู้เดียว ตั้งแต่นั้นมาท่านเจ้าผู้ข้าก็มีอาการผิดปกติคือรับประทานอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ไม่ได้ รับประทานเข้าไปก็มีอาหารเคลื่อนไส้ อาเจียนทันที มีการบันทึกไว้ว่าก่อนที่จะมีการเรียกชื่อเจ้าผู้ข้านั้น ท่านมีนามว่า น้อยหน่า ส่วนนามสกุลนั้นมีการแต่งขึ้นในภายหลังจากท่านออกบวชแล้ว

ทำไมถึงเรียกว่าเจ้าผู้ข้า????

ท่านเจ้าผู้ข้านั้นชอบเรียกตัวเองว่า ผู้ข้า ซึ่งไปเป็นภาษาภูไท หมายความว่า กระผม หรือ ข้า หรือ ข้าพเจ้าประมาณนั้น และมีคนพบท่านเจ้าผู้ข้าครั้งสุดท้ายที่ถ้ำแห่งนี้ ท่านนอนป่วยอยู่จึงนำท่านลงไปรักษาในหมู่บ้านที่มีผู้ศรัทธาท่านจนท่านเจ้าผู้ข้านั้นเสียชีวิตในเวลาต่อมาจึงมีผู้คนเรียกถ้ำแห่งนี้ว่าถ้ำเจ้าผู้ข้าตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
CSC ๘๐.jpg
CSC ๘๓.jpg
CSC ๘๓.jpg (170.72 KiB) เข้าดูแล้ว 518 ครั้ง
DSC_5078.JPG
DSC_5078.JPG (115.56 KiB) เข้าดูแล้ว 518 ครั้ง
DSC_5079.JPG
DSC_5079.JPG (100.04 KiB) เข้าดูแล้ว 518 ครั้ง
DSC_5080.JPG
DSC_5080.JPG (98.99 KiB) เข้าดูแล้ว 518 ครั้ง
DSC_5081.JPG
DSC_5081.JPG (78.63 KiB) เข้าดูแล้ว 518 ครั้ง
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1423).jpg
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1426).jpg
IMG20221117144611.jpg
IMG20221117144611.jpg (120.75 KiB) เข้าดูแล้ว 518 ครั้ง
IMG20221117144708.jpg
IMG20221117145011.jpg
IMG20221117145011.jpg (93.02 KiB) เข้าดูแล้ว 518 ครั้ง
IMG20221117145026.jpg
IMG20221117145026.jpg (118.5 KiB) เข้าดูแล้ว 518 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4365
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:idea: :idea: แม่ทัพใหญ่แห่งกองทัพธรรม [จากหนังสือ ลำธารริมลานธรรม]

ประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๕ มีพระธุดงค์หนุ่มวัย ๓๐ ชื่อ พระอาจารย์เสาร์ มาพักที่กุดเม็ก ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านคำบง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

ไม่นานก็ได้รู้จักกับชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อ มั่น ซึ่งเป็นหมอลำฝีปากดีแห่งบ้านคำบง หนุ่มมั่นมีความศรัทธาในพระอาจารย์เสาร์ มาดูแลอุปัฏฐากท่านเป็นประจำ บางวันก็ไม่กลับบ้าน ภายหลังก็ฝึกสมาธิภาวนากับท่านด้วย

พระอาจารย์เสาร์ เห็นชายหนุ่ม มีใจใฝ่ธรรม จึงชวนชายหนุ่มบวช ท่านได้พาไปอุปสมบท ณ วัดศรีทอง อำเภอเมือง

ชายหนุ่มได้รับสมณฉายาจากพระอุปัชฌาย์ว่า ภูริทตฺโต พระหนุ่มรูปนี้ภายหลังเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในนามหลวงปู่มั่น ส่วนพระอาจารย์ที่พามาบวชก็คือ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล

ซึ่งได้ชื่อว่า ปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกรรมฐาน ในช่วงร้อยปีที่ผ่านมากล่าวได้ว่า พระป่าในภาคอีสานซึ่งกระจายไปทั่วประเทศ ล้วนเป็นศิษย์และอนุศิษย์สืบเนื่องมาแต่พระมหาเถระทั้งสองแทบทั้งนั้น ท่านจึงเป็นเสมือนต้นกำเนิดของแม่น้ำสายใหญ่ที่ยังความชุ่มเย็นแก่ผู้คนทุกวันนี้

ความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นระหว่างอาจารย์กับศิษย์ได้เกื้อกูลให้ทั้งสองท่านเจริญก้าวหน้าในทางธรรมเป็นลำดับ

คราวหนึ่งหลังจากบวชมาได้ ๔ พรรษา พระมั่น คิดจะลาสิกขา ถึงกับจัดหาเสื้อผ้าอย่างฆราวาสไว้พร้อม และเตรียมดอกไม้ธูปเทียนเพื่อขอลาลิกขาจากพระอาจารย์เสาร์

พระอาจารย์เสาร์ไม่ได้ทัดทาน แต่ขอร้องพระมั่นว่า ก่อนจะสึกควรบำเพ็ญเพียรเต็มที่สัก ๗ วันโดยถือธุดงควัตรอย่างเคร่งครัด เช่น ฉันเอกาและถือเนสัชชิก คือฉันมื้อเดียวและไม่นอนทอดกายตลอดวันตลอดคืน

พระมั่นดีใจที่อาจารย์ไม่ทักท้วงห้ามปราม จึงรับคำครูบาอาจารย์ว่าจะทำความเพียรอย่างเต็มที่ ทุกวันหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จ ท่านจะปลีกตัวไปบำเพ็ญเพียรที่โบสถ์วัดร้างจนถึงเวลาเย็นจึงกลับมาหาหมู่คณะ

หลังจากทำความเพียรครบกำหนด ความสงบเย็นที่ได้รับกลับทำให้ท่านเปลี่ยนใจไม่สึก และตัดสินใจขออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในเพศบรรพชิตจนตลอดชีวิต

นับแต่นั้น ท่านก็ตั้งใจปฏิบัติ มั่นคงในธุดงควัตร บำเพ็ญกรรมฐานไม่หยุดหย่อน จิตใจมุ่งตรงต่อพระนิพพาน จึงมีความเจริญงอกงามในทางธรรมเป็นลำดับ จนพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงในที่สุด

มีเรื่องเล่าว่า ในพรรษาที่ ๒๓ ขณะที่ท่านบำเพ็ญภาวนาที่ถ้ำสาริกา จังหวัดนครนายก ท่านได้ทราบด้วยญาณว่า อาจารย์ของท่าน ซึ่งบัดนี้ชาวบ้านเรียกว่าหลวงปู่เสาร์ ปรารถนาปัจเจกโพธิ คืออธิษฐานเป็นพระปัจเจกพุทธะ เป็นเหตุให้ไม่สามารถทำความเพียรจนพ้นทุกข์ได้ในชาตินี้ จึงเดินทางไปเตือนสติท่าน ขอให้ละความปรารถนาดังกล่าวเพื่อจะได้บรรลุอรหัตผลในชาตินี้

ประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๙ พระอาจารย์มั่นได้เดินทางไปที่ภูผากูด อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนม เพื่อจำพรรษากับหลวงปู่เสาร์ มีการสนทนาธรรมแทบทุกวัน วันหนึ่งเมื่อได้โอกาสเหมาะพระอาจารย์มั่นก็สอบถามหลวงปู่เสาร์ถึงการปฏิบัติ

หลวงปู่เสาร์ยอมรับว่า การปฏิบัติของท่านแม้ได้ผลแต่ไม่ชัดเจนพยายามพิจารณาธรรมเท่าไรก็ไม่แจ่มแจ้ง

พระอาจารย์มั่นจึงถามต่อว่า
“ถ้าเช่นนั้นท่านอาจารย์คงมีอะไรเป็นเครื่องห่วงหรือกระมัง” หลวงปู่เสาร์ตอบว่า “เราก็พยายามพิจารณาเหมือนกันแต่ก็หาสิ่งขัดข้องไม่ได้”

พระอาจารย์มั่นสบโอกาส จึงถามว่า “ท่านอาจารย์ห่วงเรื่องการปรารถนาพระปัจเจกโพธิกระมัง” หลวงปู่เสาร์ฟังแล้วก็เห็นด้วย พระอาจารย์มั่นจึงกล่าวต่อว่า

“ขอให้ท่านอาจารย์อย่าเป็นห่วงเลย ขอให้พิจารณาอริยสัจจ์เพื่อความพ้นทุกข์เสียแต่ชาตินี้เถิด เพราะกระผมเองก็ปรารถนาพระโพธิญาณ และกระผมก็ได้ละความปรารถนานั้นแล้ว เนื่องด้วยว่าการท่องเที่ยวในสังสารวัฏฏ์นี้มันนานเหลือเกิน”

นับแต่นั้นการปฏิบัติของหลวงปู่เสาร์ก็รุดหน้าจนกระทั่งวันหนึ่งขณะที่ท่านนั่งอยู่ในที่สงัดได้พิจารณาอริยสัจจ์ ๔ จนเห็นแจ่มแจ้ง ไม่มีความสงสัยในธรรมอีกต่อไป

เมื่อถึงวันออกพรรษาท่านก็บอกพระอาจารย์มั่นว่า “เราได้เลิกการปรารถนาพระปัจเจกโพธิแล้ว และเราก็ได้เห็นธรรมจริงแล้ว”

ความแจ่มแจ้งในธรรมเป็นกำลังให้แก่อาจารย์และศิษย์ทั้งสองในการเผยแผ่ธรรมจนมีศิษยานุศิษย์มากมาย ส่วนใหญ่แล้วจะแยกย้ายจาริกสอนธรรม

แม้จะได้รับการต้อนรับอย่างดีจากชาวบ้าน แต่หลายแห่งก็ถูกต่อต้านจากพระในท้องถิ่น ซึ่งสูญเสียผลประโยชน์จากการสอนของท่าน

ใช่แต่เท่านั้นบางครั้งยังถูกขัดขวางจากพระที่เป็นผู้ปกครอง ซึ่งในเวลานั้นมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อพระป่า เพราะเห็นว่าเป็นพระเร่ร่อนจรจัด

มีคราวหนึ่ง เจ้าคณะมณฑลอุบลราชธานี คือ พระโพธิวงศาจารย์ ถึงกับประกาศต่อประชาชนว่า “ญาคูเสาร์ กับ ญาคูมั่น ห้ามไม่ให้ใส่บาตรให้กิน เพราะพวกนั้นคือ พวกเทวทัต”

หลวงปู่เสาร์ได้ยินก็เพียงแต่ยิ้ม ไม่ตอบโต้ ท่านยังคงจาริกเผยแผ่ธรรมต่อไปด้วยความสงบเยือกเย็น เมื่อถูกต่อต้านมากเข้า ท่านก็พูดเพียงว่า
“ท่านว่าเราเป็นพวกเทวทัต เราไม่ได้เป็น ไม่เห็นเดือดร้อน ท่านสั่งคนไม่ให้ใส่บาตรให้เรากิน แต่ก็ยังมีคนใส่ให้อยู่ พอได้ฉัน ไม่เห็นเดือดร้อนอะไร ท่านไม่เหนื่อยก็เป็นเรื่องของท่าน”

ขณะเดียวกันชาวบ้านก็หาได้สนใจคำประกาศของเจ้าคณะมณฑลอุบลราชธานีไม่ ยังคงใส่บาตรให้แก่หลวงปู่เสาร์และคณะต่อไป ด้วยชื่นชมในปฏิปทาและคำสอนของท่าน

ท่านเจ้าคุณองค์นี้ภายหลังได้เจริญในสมณศักดิ์ เป็นสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)

คราวหนึ่งได้ไปตรวจงานคณะสงฆ์ที่ภาคเหนือ ได้พบหลวงปู่มั่นที่เชียงใหม่ จึงตั้งคำถามเชิงตำหนิว่า “ญาคูมั่น เธอเที่ยวตามป่าเขาอยู่เพียงลำพังผู้เดียวอย่างนี้ เธอได้สหธรรมิก ได้ธรรมวินัยเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติที่ไหน เธอได้รับฟังธรรมจากสหธรรมิกอย่างไร ทำไมเธอจึงได้ปฏิบัติมางมไปอย่างนั้น เธอทำอย่างนั้นจะถูกหรือ”

หลวงปู่มั่นตอบว่า “พระเดชพระคุณไม่ต้องเป็นห่วงกังวลกระผมอยู่ตามป่าตามเขานั้น ได้ฟังธรรมจากเพื่อนสหธรรมิกตลอดเวลา

คือมีเพื่อนและฟังธรรมจากธรรมชาติ เสียงนกเสียงกา เสียงจิ้งหรีด จักจั่นเรไร เสียงเสือ เสียงช้าง มันเป็นธรรมชาติไปหมดมันทุกข์หรือสุขกระผมก็รู้

เขาคอยตักเตือนกระผมอยู่ตลอดเวลา ไม่ให้ลืมสติว่า
-เจ้าเป็นใครมาจากไหน
-อยู่อย่างไรแล้ว ก็จะไปไหน -เวลาใบไม้ร่วงหล่นจากขั้วทับถมกันไปไม่มีสิ้นสุดก็เป็นธรรม
-บางต้นมันก็เขียวทำให้ครึ้ม -บางต้นมันก็ตายซากแห้งเหี่ยว
เหล่านั้นมันเป็นธรรมเครื่องเตือนสติสัมปชัญญะไปหมด
ฉะนั้น พระเดชพระคุณท่าน โปรดวางใจได้ ไม่ต้องเป็นห่วงกระผม เพราะได้ฟังธรรมอยู่ตลอดเวลาทั้งกลางวันกลางคืน”

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เป็นพระที่มีความรู้ในทางปริยัติ สอบได้เปรียญ ๕ ประโยค และใส่ใจในการส่งเสริมพระปริยัติธรรม จนได้รับการยกย่องจากพระผู้ใหญ่ และเจริญในสมณศักดิ์อย่างรวดเร็ว ท่านไม่สามารถเข้าใจได้ว่าพระธุดงค์หรือพระกรรมฐาน จะเข้าใจธรรมได้อย่างไรในเมื่อไม่เรียนหนังสือ

ท่านเคยกล่าวว่า “ขนาดลืมตาเรียน และมีครูอาจารย์ที่เป็นนักปราชญ์มาสอนยังไม่ค่อยรู้ แล้วมัวไปนั่งหลับตาจะไปรู้อะไร”

แต่ภายหลังเมื่อท่านได้รู้จักกับศิษย์ของหลวงปู่มั่น โดยเฉพาะพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร และพระอาจารย์ลี ธมฺมธโร ซึ่งช่วยให้ท่านหายเจ็บป่วยด้วยสมุนไพรและสมาธิภาวนา ท่านก็มีศรัทธาในการทำกรรมฐาน และหันมามีทัศนคติที่ดีต่อพระป่าโดยเฉพาะหลวงปู่มั่น

เมื่อมีงานปลงศพหลวงปู่เสาร์
ที่จังหวัดอุบลราชธานีใน พ.ศ. ๒๔๘๖ สมเด็จ ฯ ได้มีโอกาสพบหลวงปู่มั่น

หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน เล่าว่า “ท่านจึงเดินเข้าไปหา และพูดกับหลวงปู่มั่นว่า.... ‘เออ! ท่านมั่น เราขอขมาโทษเธอ เราเห็นโทษแล้ว แต่ก่อนเราก็บ้ายศ’”

ภายหลังเมื่อหลวงปู่มั่น ได้เข้าไปกราบสมเด็จ ฯ ที่วัดบรมนิวาส สมเด็จ ฯ ซึ่งตอนนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นสังฆนายกตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับใหม่

ได้สอบถามหลวงปู่มั่น เกี่ยวกับการปฏิบัติว่า “เราก็เป็นผู้ปกครอง บริหารงานการคณะสงฆ์ทั้งประเทศ ยุ่งแต่กิจการงาน พอนั่งภาวนาพุทโธครั้งใดทีไร ความคิดก็พุ่งไปคิดอยู่แต่ในงานการบริหารคณะสงฆ์ ไม่สามารถทำให้หยุดคิดได้เลย จะทำให้ไม่คิดนี้ยาก ท่านอาจารย์มีวิธีอื่นบ้างไหมที่จะทำให้จิตเป็นสมาธิภาวนา”

หลวงปู่มั่นตอบว่า
“การนั่งสมาธิภาวนานั้น ท่านให้คิดได้แต่ให้มีสติตามรู้ พิจารณาถึงสภาพความเป็นจริง อนิจลักษณะอยู่ตลอดเวลา”

เมื่อนำคำตอบของหลวงปู่มั่นไปปฏิบัติ การภาวนาของสมเด็จ ฯ ก็ราบรื่น ไม่ติดขัด ท่านจึงยิ่งมีศรัทธาปสาทะมากขึ้น

จากประสบการณ์ส่วนตัวของสมเด็จ ฯ ที่ได้สัมผัสกับพระ
กรรมฐาน และจากประสบการณ์ที่ท่านได้พบเห็นว่า หมู่บ้านใดที่มีพระกรรมฐานมาเผยแผ่ธรรม

ญาติโยมจะประพฤติตัวเรียบ ร้อย รู้จักสวดมนต์ไหว้พระ อยู่ในศีลในธรรม มีการทำสมาธิภาวนา ท่านจึงมีความประทับใจอย่างมากในพระกรรมฐาน จนถึงกับกล่าวในที่ประชุมสงฆ์ว่า “การเผยแผ่พระพุทธศาสนาต้องให้พระกรรมฐานเป็นแนวหน้า หรือเรียกว่า กองทัพธรรมแนวหน้า”

พ.ศ. ๒๔๙๒ หลวงปู่มั่นได้มรณภาพที่จังหวัดสกลนคร ทิ้งมรดกอันได้แก่คำสอนและกองทัพธรรมที่ท่านและหลวงปู่เสาร์ได้สร้างขึ้นเพื่อสถาปนาธรรมให้ตั้งมั่นในจิตใจของผู้คนจวบจนทุกวันนี้

เขียนโดย พระไพศาล วิสาโล
:idea: :idea:
ไฟล์แนบ
180749.jpg
180749.jpg (53.79 KiB) เข้าดูแล้ว 509 ครั้ง
283952.jpg
283952.jpg (24.19 KiB) เข้าดูแล้ว 509 ครั้ง
ออกจากวัด ถ้ำเจ้าผู้ข้า ท่านพระอาจารย์ก็พาเราสองคนไปยังวัดป่ากลางโนนภู่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ห้ามพลาดครับ นี่ถ้ามาแต่เราสองคนเชื่อว่าวัดนี้เราคงพลาดแน่ ๆ &quot;บุญและวาสนาของเราที่ตั้งจิตไว้จะมากราบและตามรอยเพื่อศึกษาเส้นทางการปฏิบัติธรรมของพ่อแม่ครูบาอาจารย์&quot;<br /><br /><br />พระอาจารย์ฉลวย ( หลวงปู่ฉลวย สุธมฺโม วัดป่าวิทยาลัย อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มรณภาพแล้ว ) ได้เดินธุดงค์ไปนมัสการหลวงปู่มั่น ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ก่อนจะเข้าไปถึงวัดปากทางคือบ้านของนายอ่อน โมราราษฎร์ อุปฐากผู้ให้ที่พักและคอยรับส่งผู้ที่จะเข้าไปยังวัดป่าบ้านหนองผือ พระอาจารย์ฉลวยได้ไปอาศัยพักเช่นกัน นายอ่อนได้กล่าวถึงสถานที่บริเวณบ้านกุดก้อมว่า ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ( จูม พนฺธุโล ) เคยกล่าวว่า ที่นั้นมีทำเลอันดีเหมาะสมที่จะสร้างวัด พระอาจารย์ฉลวยจึงขอให้นายอ่อนพาไปดู จึงพบว่าเป็นสัปปายะเหมาะแก่การภาวนาจริง จึงได้สร้างเสนาสนะขึ้นนายอ่อนก็ได้ถวายที่ดินของตนเพิ่มเติมด้วยจึงได้เป็นวัดป่าบ้านกลางโนนภู่ ในเวลาต่อมา โดยมีพระอาจารย์ฉลวยเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ต่อมาท่านได้นิมนต์ พระอาจารย์กู่ ธมฺมธินฺโน มาเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา
ออกจากวัด ถ้ำเจ้าผู้ข้า ท่านพระอาจารย์ก็พาเราสองคนไปยังวัดป่ากลางโนนภู่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ห้ามพลาดครับ นี่ถ้ามาแต่เราสองคนเชื่อว่าวัดนี้เราคงพลาดแน่ ๆ "บุญและวาสนาของเราที่ตั้งจิตไว้จะมากราบและตามรอยเพื่อศึกษาเส้นทางการปฏิบัติธรรมของพ่อแม่ครูบาอาจารย์"


พระอาจารย์ฉลวย ( หลวงปู่ฉลวย สุธมฺโม วัดป่าวิทยาลัย อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มรณภาพแล้ว ) ได้เดินธุดงค์ไปนมัสการหลวงปู่มั่น ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ก่อนจะเข้าไปถึงวัดปากทางคือบ้านของนายอ่อน โมราราษฎร์ อุปฐากผู้ให้ที่พักและคอยรับส่งผู้ที่จะเข้าไปยังวัดป่าบ้านหนองผือ พระอาจารย์ฉลวยได้ไปอาศัยพักเช่นกัน นายอ่อนได้กล่าวถึงสถานที่บริเวณบ้านกุดก้อมว่า ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ( จูม พนฺธุโล ) เคยกล่าวว่า ที่นั้นมีทำเลอันดีเหมาะสมที่จะสร้างวัด พระอาจารย์ฉลวยจึงขอให้นายอ่อนพาไปดู จึงพบว่าเป็นสัปปายะเหมาะแก่การภาวนาจริง จึงได้สร้างเสนาสนะขึ้นนายอ่อนก็ได้ถวายที่ดินของตนเพิ่มเติมด้วยจึงได้เป็นวัดป่าบ้านกลางโนนภู่ ในเวลาต่อมา โดยมีพระอาจารย์ฉลวยเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ต่อมาท่านได้นิมนต์ พระอาจารย์กู่ ธมฺมธินฺโน มาเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา
CSC ๘๔.jpg (92.36 KiB) เข้าดูแล้ว 509 ครั้ง
CSC ๘๖.jpg
CSC ๙๑.JPG
CSC ๙๑.JPG (139 KiB) เข้าดูแล้ว 509 ครั้ง
CSC ๘๘.jpg
CSC ๘๘.jpg (130.79 KiB) เข้าดูแล้ว 509 ครั้ง
CSC ๘๙.jpg
CSC ๘๙.jpg (117.46 KiB) เข้าดูแล้ว 509 ครั้ง
CSC ๘๕.jpg
CSC ๘๕.jpg (143.18 KiB) เข้าดูแล้ว 509 ครั้ง
CSC ๙๓.jpg
CSC ๙๓.jpg (131.25 KiB) เข้าดูแล้ว 509 ครั้ง
CSC ๙๔.jpg
CSC ๙๔.jpg (121.08 KiB) เข้าดูแล้ว 509 ครั้ง
CSC ๙๕.jpg
CSC ๙๕.jpg (162.52 KiB) เข้าดูแล้ว 509 ครั้ง
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1441).jpg
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1441).jpg (120.49 KiB) เข้าดูแล้ว 509 ครั้ง
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1442).jpg
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1442).jpg (107.3 KiB) เข้าดูแล้ว 509 ครั้ง
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1443).jpg
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1443).jpg (118.71 KiB) เข้าดูแล้ว 509 ครั้ง
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1448).jpg
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1449).jpg
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1449).jpg (113.12 KiB) เข้าดูแล้ว 509 ครั้ง
วัดป่ากลางโนนภู่ เป็นวัดสุดท้ายสำหรับวันที่ ๑๗ พ.ย.๖๕ ที่ท่านพระอาจารย์พาเราไปกราบสักการะ กลับถึงบ้านที่พักเย็นพอดี อาบน้ำชำระร่างกาย พี่สาวที่แสนดีก็เตรียมอาหารมื้อเย็นให้เราสองคน ได้กินอิ่มหนำสำราญ ในวันรุ่งขึ้นเราวางแผนจะไปเที่ยวกันต่อยังมีอีกหลายที่ ซึ่งพระอาจารย์ได้แนะนำติดตามกันไปเรื่อย ๆ เอาบุญกันนะครับ
วัดป่ากลางโนนภู่ เป็นวัดสุดท้ายสำหรับวันที่ ๑๗ พ.ย.๖๕ ที่ท่านพระอาจารย์พาเราไปกราบสักการะ กลับถึงบ้านที่พักเย็นพอดี อาบน้ำชำระร่างกาย พี่สาวที่แสนดีก็เตรียมอาหารมื้อเย็นให้เราสองคน ได้กินอิ่มหนำสำราญ ในวันรุ่งขึ้นเราวางแผนจะไปเที่ยวกันต่อยังมีอีกหลายที่ ซึ่งพระอาจารย์ได้แนะนำติดตามกันไปเรื่อย ๆ เอาบุญกันนะครับ
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1451).jpg (102.05 KiB) เข้าดูแล้ว 509 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4365
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:idea: :idea: ผู้คนทุกวันนี้มีทุกข์กันมาก
เพราะไม่มีหลักในการยึดจิตใจ
เวลาทุกข์จึงไม่รู้จะพ้นทุกข์ ออกจากทุกข์ได้ยังไง

ศาสนาพุทธนั้น หากศึกษาและลงมือปฏิบัติจะพบว่า หนทางแห่งการหลุดพ้นจากทุกข์ในชีวิตประจำวัน ก็เริ่มต้นได้ทันทีที่ตัวเรา

อย่ายึดติดตัวบุคคล ให้ยึดมั่นคำสอนและหลักปฏิบัติ คนไม่มีศีลนับวันยิ่งเพิ่มขึ้นมาก เพราะเขายึดตัวบุคคล ไม่เคยลงมือปฏิบัติ ศึกษาคำสอน แก่นแท้ในพุทธศาสนา

คนมืดมาจึงมืดไป
คนสว่างมาจึงสว่างไป
คนมืดมาไปสว่างก็มี
คนสว่างมามืดไปก็มี

อยากเป็นคนแบบไหน ก็สุดแท้แต่ตัวเรานั้นจะเป็นผู้เลือกเดินและปฏิบัติเอา

#เห็นทุกข์เห็นธรรม
:idea: :idea:
ไฟล์แนบ
51439.jpg
51439.jpg (34.45 KiB) เข้าดูแล้ว 491 ครั้ง
CSC ๙๘.jpg
CSC ๙๘.jpg (58.35 KiB) เข้าดูแล้ว 491 ครั้ง
CSC ๙๖.jpg
CSC ๙๖.jpg (141.91 KiB) เข้าดูแล้ว 491 ครั้ง
CSC ๙๗.jpg
CSC ๙๗.jpg (149.69 KiB) เข้าดูแล้ว 491 ครั้ง
เช้าวันที่ ๑๘/๑๑/๖๕ เราไปวัดนำอาหารไปร่วมบุญถวายจังหันพระที่วัด และร่วมรับประทานมื้อเช้าที่วัดกับญาติธรรม หลังจากที่เสร็จมื้อเช้าก็พากันออกไปเยี่ยมชมพระเจดีย์ของหลวงปู่ฝั้นที่อยู่หน้าวัดบริเวณทางเข้า เพื่อรอพระอาจารย์ทำภารกิจของสงฆ์ <br /><br />แต่พอได้เวลาปรากฏว่าพระอาจารย์ท่านไม่ว่าง ท่านให้เราเปลี่ยนรถเป็น Volvo จะได้สดวกขึ้นและแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวที่ยังคงค้างที่ สำคัญ ๆ ให้ แล้วให้เราไปกันสองคน
เช้าวันที่ ๑๘/๑๑/๖๕ เราไปวัดนำอาหารไปร่วมบุญถวายจังหันพระที่วัด และร่วมรับประทานมื้อเช้าที่วัดกับญาติธรรม หลังจากที่เสร็จมื้อเช้าก็พากันออกไปเยี่ยมชมพระเจดีย์ของหลวงปู่ฝั้นที่อยู่หน้าวัดบริเวณทางเข้า เพื่อรอพระอาจารย์ทำภารกิจของสงฆ์

แต่พอได้เวลาปรากฏว่าพระอาจารย์ท่านไม่ว่าง ท่านให้เราเปลี่ยนรถเป็น Volvo จะได้สดวกขึ้นและแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวที่ยังคงค้างที่ สำคัญ ๆ ให้ แล้วให้เราไปกันสองคน
CSC ๙๙.jpg (70.83 KiB) เข้าดูแล้ว 491 ครั้ง
CSC ๑๐๐.JPG
CSC ๑๐๐.JPG (117.31 KiB) เข้าดูแล้ว 491 ครั้ง
CSC ๑๐๑.jpg
CSC ๑๐๑.jpg (129.25 KiB) เข้าดูแล้ว 491 ครั้ง
พอพระอาจารย์ท่านไม่ได้ไปกับเรา ช่วงที่เราผ่านโบสถ์คริสต์จักร จึงเป็นโอกาสดีที่เราจะได้แวะชม (ถ้าท่านมาด้วยคงหมดสิทธิ์) เราพากันเข้าไปชมข้างในปรากฏว่าเป็นโบสถ์เก่าแก่พอสมควร เสียดายไม่เจอใครที่พอจะให้คำอธิบายได้ ตรงหน้าบริเวณทางเข้า ชาวบ้านใช้เป็นสถานที่ตากข้าว(ลานตากข้าว)
พอพระอาจารย์ท่านไม่ได้ไปกับเรา ช่วงที่เราผ่านโบสถ์คริสต์จักร จึงเป็นโอกาสดีที่เราจะได้แวะชม (ถ้าท่านมาด้วยคงหมดสิทธิ์) เราพากันเข้าไปชมข้างในปรากฏว่าเป็นโบสถ์เก่าแก่พอสมควร เสียดายไม่เจอใครที่พอจะให้คำอธิบายได้ ตรงหน้าบริเวณทางเข้า ชาวบ้านใช้เป็นสถานที่ตากข้าว(ลานตากข้าว)
CSC ๑๐๒.jpg (109.79 KiB) เข้าดูแล้ว 491 ครั้ง
DSC_5130.JPG
DSC_5130.JPG (106.88 KiB) เข้าดูแล้ว 491 ครั้ง
DSC_5131.JPG
DSC_5131.JPG (121.3 KiB) เข้าดูแล้ว 491 ครั้ง
DSC_5137.JPG
DSC_5138.JPG
DSC_5139.JPG
DSC_5139.JPG (102.85 KiB) เข้าดูแล้ว 491 ครั้ง
DSC_5206.JPG
DSC_5206.JPG (109.16 KiB) เข้าดูแล้ว 491 ครั้ง
DSC_5227.JPG
DSC_5187.JPG
DSC_5187.JPG (51.57 KiB) เข้าดูแล้ว 491 ครั้ง
DSC_5188.JPG
DSC_5188.JPG (90.81 KiB) เข้าดูแล้ว 491 ครั้ง
DSC_5189.JPG
DSC_5189.JPG (79.55 KiB) เข้าดูแล้ว 491 ครั้ง
เป้าหมายหลักของเราวันนี้คือ &quot;วัดภูริทัตตถิราวาส&quot;<br /><br />วัดป่าภูริทัตตถิราวาสหรือวัดป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นวัดที่สำคัญมากวัดหนึ่งในสายวัดป่ากัมมัฏฐาน ซึ่งถ้าดูตามแผนที่วัดนี้จะตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดสกลนคร และตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอพรรณานิคม แต่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของหมู่บ้านหนองผือ เริ่มแรกสถานที่แห่งนี้เป็นป่าพงดงดิบ อันเต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์นานาชนิด เป็นต้น มี เสือ หมี อีเก้ง กวาง หมูป่า สัตว์เลื้อยคลาน มีแลนและงูชนิดต่าง ๆ สัตว์ปีกมีนกเกือบทุกชนิด นอกจากนั้นยังชุกชุมไปด้วยเชื้อไข้ป่าชุมชนรอบวัดเป็นชุมชนชาวภูไท ที่มีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย สถานที่สำคัญๆในวัดป่าภูริทัตตถิราวาส<br /><br />สถานที่สำคัญในวัด<br />1. กุฏิหลวงปู่มั่นภูริทัตตะมหาเถระ<br />2. หลักคำสอนหลวงปู่มั่นภูริทัตตะมหาเถระ จารึกบนหิน<br />3. อัฐิธาตุหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ ประดิษฐานบนศาลาใหญ่ภายในวัด<br />4. มหาเจดีย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตตะมหาเถระ รวบรวมเรื่องราวของท่าน ศาลาลายซึ่งที่ระเบียงรอบมหาเจดีย์จะมีรูปปั้นครูบาอาจารย์ลูกศิษย์หลวงปู่มั่นสายตรงจำนวน 63 องค์ให้กราบสักการะ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิรลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จมาทรงประกอบพิธียกฉัตรพิพิธภัณฑ์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตบรรจุพระบรมสาริกธาตุและพระอัฐธาตุหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ณ วัดภูทัตตถิราวาส (วัดป่าหนองผือนาใน) เมื่อวันศุกร์ ที่ 7 เมษายน 2560 และสถาบันพลังจิตตานุภาพ สาขา189<br /><br />เมื่อครั้งที่องค์หลวงปู่มั่นพำนัก ณ เสนาสนะป่าบ้านห้วยแคน ขณะนั้นท่านพระอาจารย์หลุย(หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร )จำพรรษาอยู่ที่ บ้านหนองผือนาใน พระอาจารย์หลุยได้แนะนำชาวบ้านหนองผือให้อาราธนาหลวงปู่มั่นมาจำพรรษาที่นี่ ชาวบ้านจึงได้เดินทางไปอาราธนาหลวงปู่มั่น ณ บ้านห้วยแคน ท่านจึงได้มาจำพรรษา ณ วัดป่าบ้านหนองผือในเวลาต่อมา ติดต่อกันเป็นเวลาถึง 5 พรรษา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2488 – 2492
เป้าหมายหลักของเราวันนี้คือ "วัดภูริทัตตถิราวาส"

วัดป่าภูริทัตตถิราวาสหรือวัดป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นวัดที่สำคัญมากวัดหนึ่งในสายวัดป่ากัมมัฏฐาน ซึ่งถ้าดูตามแผนที่วัดนี้จะตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดสกลนคร และตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอพรรณานิคม แต่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของหมู่บ้านหนองผือ เริ่มแรกสถานที่แห่งนี้เป็นป่าพงดงดิบ อันเต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์นานาชนิด เป็นต้น มี เสือ หมี อีเก้ง กวาง หมูป่า สัตว์เลื้อยคลาน มีแลนและงูชนิดต่าง ๆ สัตว์ปีกมีนกเกือบทุกชนิด นอกจากนั้นยังชุกชุมไปด้วยเชื้อไข้ป่าชุมชนรอบวัดเป็นชุมชนชาวภูไท ที่มีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย สถานที่สำคัญๆในวัดป่าภูริทัตตถิราวาส

สถานที่สำคัญในวัด
1. กุฏิหลวงปู่มั่นภูริทัตตะมหาเถระ
2. หลักคำสอนหลวงปู่มั่นภูริทัตตะมหาเถระ จารึกบนหิน
3. อัฐิธาตุหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ ประดิษฐานบนศาลาใหญ่ภายในวัด
4. มหาเจดีย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตตะมหาเถระ รวบรวมเรื่องราวของท่าน ศาลาลายซึ่งที่ระเบียงรอบมหาเจดีย์จะมีรูปปั้นครูบาอาจารย์ลูกศิษย์หลวงปู่มั่นสายตรงจำนวน 63 องค์ให้กราบสักการะ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิรลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จมาทรงประกอบพิธียกฉัตรพิพิธภัณฑ์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตบรรจุพระบรมสาริกธาตุและพระอัฐธาตุหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ณ วัดภูทัตตถิราวาส (วัดป่าหนองผือนาใน) เมื่อวันศุกร์ ที่ 7 เมษายน 2560 และสถาบันพลังจิตตานุภาพ สาขา189

เมื่อครั้งที่องค์หลวงปู่มั่นพำนัก ณ เสนาสนะป่าบ้านห้วยแคน ขณะนั้นท่านพระอาจารย์หลุย(หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร )จำพรรษาอยู่ที่ บ้านหนองผือนาใน พระอาจารย์หลุยได้แนะนำชาวบ้านหนองผือให้อาราธนาหลวงปู่มั่นมาจำพรรษาที่นี่ ชาวบ้านจึงได้เดินทางไปอาราธนาหลวงปู่มั่น ณ บ้านห้วยแคน ท่านจึงได้มาจำพรรษา ณ วัดป่าบ้านหนองผือในเวลาต่อมา ติดต่อกันเป็นเวลาถึง 5 พรรษา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2488 – 2492
DSC_5200.JPG (74.82 KiB) เข้าดูแล้ว 491 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4365
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:idea: :idea: วัดป่าบ้านหนองผือนาใน ปัจจุบันคือวัดป่าภูริทัตตถิราวาสดินแดนพระอรหันต์ :idea: :idea:
ไฟล์แนบ
CSC ๑๐๓.jpg
CSC ๑๐๓.jpg (130.53 KiB) เข้าดูแล้ว 491 ครั้ง
CSC ๑๐๔.jpg
CSC ๑๐๔.jpg (148.39 KiB) เข้าดูแล้ว 491 ครั้ง
CSC ๑๐๕.jpg
CSC ๑๐๕.jpg (132.1 KiB) เข้าดูแล้ว 491 ครั้ง
DSC_5145.JPG
DSC_5149.JPG
DSC_5212.JPG
DSC_5212.JPG (126 KiB) เข้าดูแล้ว 491 ครั้ง
DSC_5219.JPG
DSC_5223.JPG
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1557).jpg
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1565).jpg
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1567).jpg
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1571).jpg
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1571).jpg (125.33 KiB) เข้าดูแล้ว 491 ครั้ง
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1574).jpg
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1574).jpg (126.25 KiB) เข้าดูแล้ว 491 ครั้ง
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1605).jpg
วัดป่าภูริทัตตถิราวาส พรรณานิคม จ.สกลนคร<br />“วัดป่าภูริทัตตถิราวาส” หรืออีกชื่อหนึ่งที่เรามักคุ้นเคยกันคือ “วัดป่าบ้านหนองผือ” ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นอีกหนึ่งวัดที่สำคัญในสายวัดป่ากัมมัฏฐาน และยังคงเป็นสถานที่ที่องค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เคยมาพำนักจำพรรษาที่นี่ติดต่อกันถึง ๕ พรรษา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๘-๒๔๙๒ <br /><br />ซึ่งในอดีตท่านไม่เคยจำพรรษาซ้ำที่ไหนเป็นปีที่ ๒ เลย บรรยากาศภายในบริเวณวัดล้อมรอบไปด้วยต้นไม้สูงใหญ่ ทำให้คนที่ได้ไปสามารถเข้าถึงธรรมาชาติและความเงียบสงบได้อย่างแท้จริง และเปรียบเสมือนเป็นกึ่งวัดกึ่งพิพิธภัณฑ์เพราะภายด้านในของตัววัดมีสถานที่สำคัญ เช่น กุฏิหลวงปู่มั่นภูริทัตตะมหาเถระ หลักคำสอนของหลวงปู่มั่นที่มีการจารึกอยู่บนหิน อัฐิธาตุหลวงปู่มั่น ที่ประดิษฐานอยู่บนศาลาใหญ่ภายในวัดและมหาเจดีย์หลวงปู่มั่น ที่จะมีการรวบรวมเรื่องราวของท่านเอาไว้ให้ผู้คนที่ได้มีโอกาสไปได้ศึกษากัน นอกจากนี้ลานระเบียงรอบมหาเจดีย์จะมีรูปปั้นครูบาอาจารย์ลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่นสายตรงที่ตั้งเรียงรายถึงจำนวน 63 องค์ ให้ผู้ที่ศรัทธาได้กราบสักการะบูชากันอีกด้วย
วัดป่าภูริทัตตถิราวาส พรรณานิคม จ.สกลนคร
“วัดป่าภูริทัตตถิราวาส” หรืออีกชื่อหนึ่งที่เรามักคุ้นเคยกันคือ “วัดป่าบ้านหนองผือ” ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นอีกหนึ่งวัดที่สำคัญในสายวัดป่ากัมมัฏฐาน และยังคงเป็นสถานที่ที่องค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เคยมาพำนักจำพรรษาที่นี่ติดต่อกันถึง ๕ พรรษา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๘-๒๔๙๒

ซึ่งในอดีตท่านไม่เคยจำพรรษาซ้ำที่ไหนเป็นปีที่ ๒ เลย บรรยากาศภายในบริเวณวัดล้อมรอบไปด้วยต้นไม้สูงใหญ่ ทำให้คนที่ได้ไปสามารถเข้าถึงธรรมาชาติและความเงียบสงบได้อย่างแท้จริง และเปรียบเสมือนเป็นกึ่งวัดกึ่งพิพิธภัณฑ์เพราะภายด้านในของตัววัดมีสถานที่สำคัญ เช่น กุฏิหลวงปู่มั่นภูริทัตตะมหาเถระ หลักคำสอนของหลวงปู่มั่นที่มีการจารึกอยู่บนหิน อัฐิธาตุหลวงปู่มั่น ที่ประดิษฐานอยู่บนศาลาใหญ่ภายในวัดและมหาเจดีย์หลวงปู่มั่น ที่จะมีการรวบรวมเรื่องราวของท่านเอาไว้ให้ผู้คนที่ได้มีโอกาสไปได้ศึกษากัน นอกจากนี้ลานระเบียงรอบมหาเจดีย์จะมีรูปปั้นครูบาอาจารย์ลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่นสายตรงที่ตั้งเรียงรายถึงจำนวน 63 องค์ ให้ผู้ที่ศรัทธาได้กราบสักการะบูชากันอีกด้วย
IMG20221118110936.jpg (111.91 KiB) เข้าดูแล้ว 487 ครั้ง
CSC ๑๐๖.jpg
CSC ๑๐๖.jpg (118.52 KiB) เข้าดูแล้ว 485 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4365
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:idea: :idea: อริยบุคคล 2 ประเภท

อริยบุคคล แปลว่า บุคคลผู้เป็นอริยะ หรือ บุคคลผู้ประเสริฐ ได้แก่ บุคคลผู้ข้ามพ้นความเป็นปุถุชนได้แล้ว บรรลุธรรมขั้นสูงในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคขึ้นไป ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ซึ่งบุคคลประเภทนี้มีเพียงในพุทธศาสนาเท่านั้น— noble individuals; holy persons

อริยบุคคล 2 ประเภท ประกอบด้วย

1.พระเสขะ ผู้ยังต้องศึกษา หมายถึง ผู้ถึงความเป็นพระอริยบุคคลแล้ว แต่ยังไม่ถึงที่สุด ยังมีกิจที่จะต้องศึกษาในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ยังต้องขวนขวาย ยังต้องเพียรพยายามละกิเลสให้ได้ทั้งหมด เพื่อให้ได้บรรลุอรหัตตผล จึงจะเป็นอันจบสิ้น

สรุปก็คือ พระอริยบุคคลที่ยังไม่บรรลุพระอรหัตตผล ยังถือว่าเป็นพระเสขะ คือยังเป็นผู้ต้องศึกษาอยู่ ซึ่งก็ได้แก่พระอริยบุคคล 7 ประเภทแรก (ในจำนวน 8)คือ

1) พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค
2) พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล
3) พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิมรรค
4) พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล
5) พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค
6) พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล
7) พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค

พระอริยบุคคลทั้ง 7 ประเภทนี้ ถ้าเปรียบกับนักศึกษา ก็ถือว่ายังเรียนไม่จบ ยังต้องเรียนต่อไปอีก — the learner

2.พระอเสขะ ผู้ไม่ต้องศึกษา หมายถึง ผู้ที่หมดภาระในการที่จะต้องศึกษาในไตรสิกขาแล้ว ไม่ต้องขวนขวายเพื่อละกิเลสอาสวะอีกต่อไปแล้ว ซึ่งได้แก่ ผู้ที่ได้บรรลุอรหัตตผลแล้ว หรือ #พระอรหันต์ นั่นเอง— the adept

องฺ.ทุก. 20/280/80. ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม; สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
:idea: :idea:

:) :D อรุณสวัสดิ์ครับท่านที่เคารพ เช้านี้ผมจะพาท่านไปต่อที่วัดถ้ำพระนาใน นะครับ วัดถ้ำพระนาใน เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๕ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร สถานะวัด ตั้งวัด เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ รับวิสุงคามสีมา เมื่อ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นวัดที่เก่าแก่อายุเป็นร้อยปีเช่นกัน แต่ดูเหมือนจะไม่โด่งดัง

พบพระท่านองค์หนึ่งได้สนทนากับท่าน (ไม่กล้าจะขอบันทึกภาพ ดูท่านเคร่งขรึม) สังเกตุข้อวัตรแล้วน่าศรัทธาครับ ท่านมีหนังสือสวดมนต์เก่า ๆ อยู่ในมือท่านสาธยายเสียงดัง ผมค่อย ๆ กระแอมเบา ๆ ดูท่านสดุ้งนิด ๆ ท่านถามโยมจะไปไหน? ผมตอบท่าน ขับรถผ่านมาเห็นป้ายวัดก็สนใจเลยแวะเข้ามา ไม่ทราบว่าจะไปดู ชมอะไร? จากนั้นท่านแนะนำและพาไปส่งตรงจุดที่เป็นถ้ำ แล้วบอกให้เราสองคนเดินเข้าไปข้างใน จากนั้นท่านก็กลับกุฏิของท่าน

ผมสังเกตุรอบ ๆ บริเวณเห็นแล้ว "จุกอก" พระดี ๆ อยู่แบบสมถะไม่หวือหวา ตั้งใจประพฤติปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น มีความเป็นอยู่ไม่ต่างกับสลัมครับ (จากการพูดคุยกับท่าน เชื่อว่าท่านคือพระดีองค์หนึ่งแน่นอน) :o :o
ไฟล์แนบ
CSC_1.jpg
CSC_2.jpg
CSC_2.jpg (137.25 KiB) เข้าดูแล้ว 471 ครั้ง
CSC_3.jpg
CSC_3.jpg (84.18 KiB) เข้าดูแล้ว 471 ครั้ง
CSC_๔.jpg
CSC_๔.jpg (144.49 KiB) เข้าดูแล้ว 471 ครั้ง
CSC_๕.jpg
CSC_๕.jpg (166.12 KiB) เข้าดูแล้ว 471 ครั้ง
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1609).jpg
เที่ยวเมืองรองมนครพนม-สกลนคร (1610).jpg
IMG20221118122131.jpg
IMG20221118122139.jpg
3503.jpg
3503.jpg (118.98 KiB) เข้าดูแล้ว 471 ครั้ง
4689.jpg
4689.jpg (134.86 KiB) เข้าดูแล้ว 471 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4365
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:) :D สวัสดียามสาย ๆ ใกล้เที่ยงครับ เราออกจากวัดถ้ำพระนาในเที่ยงกว่า ๆ เราหาสถานที่สำหรับมื้อกลางวันเพื่อเติมพลังกัน ขับรถมาเรื่อย ๆ ไม่มีเป้าหมาย มาสดุดตากับวัดดอยเทพเนรมิตร ชื่อเหมือนวัดทางเชียงใหม่แถว ๆ แม่โจ้ที่เราเคยไปนอนกันมา ก็ตกลงกันเราแวะไปหาที่นั่งสงบ ๆ เงียบ ๆ ในวัดน่าจะดี จะได้กินอร่อย ๆ ว่าแล้วก็หักเลี้ยว ขับไปอีกเกือบครึ่งชั่วโมงจึงถึงวัดครับ ท่านเจ้าอาวาสเมตตามาก ๆ หาน้ำเย็นและอนุญาตุให้นั่งทานกันได้ที่ใกล้ ๆ กุฏิของท่าน บรรยากาศเงียบ สงบได้ใจครับ

หลังจากอิ่มหนำสำราญดีแล้ว ท่านยังชวนเราสองคนไปล่องเรือชมเขื่อนน้ำอูนด้วย พระท่านบอกเราว่า เมื่อเช้าจะไปบิณฑบาตรเรือไม่ติดอดไปบิณฑบาตร ตอนนี้จะไปดูซิว่ามันเป็นอะไรติดขัดอย่างไร? ถ้าโชคดีเรือติดท่านจะพาเราล่องเรือชมเขื่อน ท่านบอกต้องแล้วแต่ดวงนะ "เอาก็เอาวัดดวงกันไม่เสียหายอะไร ๕๕๕"
:) :D

:idea: :idea: "วัดดอยเทพเนรมิต" (อายุ 100 กว่าปี) อยู่ที่ เขื่อนน้ำอูน บ้านนาเชือก ต.แร่ อ.พังโคน สกลนคร สร้างโดยมีหลวงปู่สี,หลวงปู่พรหม,พระสงฆ์ที่มาจากภูเขาควาย เมืองทุละคม สปป.ลาว ท่านมาสร้างเอาไว้ จากนั้นก็ร้างไม่มีพระมาจำพรรษา

ต่อมาหลวงปูมั่น ภูริทัตโตและพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ธุดงวัตมาปฎิบัติธรรมที่นี่ ท่านเห็นว่าสถานที่เหมาะแก่การปฎิบัติธรรมจึงให้ลูกมาพักปฎิบัติเสมอ และพระอาจารย์ฝั้น อาจาโรให้หลวงปู่สมัย วัดป่าโนนแสงทองเดินทางมาจำพรรษา ต่อมาหลวงปู่สมัยย้ายกลับไปจำพรรษาที่วัดป่าโนนแสงทอง หลวงปู่บุญพิน วัดเทพนิมิต ท่านจึงให้หลวงปู่สุดใจ เดินทางจากวัดศรีจำปาชนบท อ.พังโคน มาจำพรรษา จนถึงปัจจุบัน

ปัจจุบัน พระครูวรธรรมโชติ หลวงปู่สุดใจ อนุตฺตโร อายุ74ปี 53พรรษา ท่านเป็นลูกศิษย์ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร หลวงปู่คำ วัดศรีจำปาชนบท หลวงปู่พุธ วัดป่าสาละวันและหลวงปู่เทส วัดถ้ำขาม ท่านบวชเป็นสามเณรตั้งแต่เด็ก ปี2508 พระอาจารย์ฝั้นท่านจึงให้หลวงปู่พุธ เป็นพระอุปัชฌาย์ทำการบวชเป็นพระภิกษุ แล้วอยู่จำพรรษาที่วัดศรีจำปาชนบทคอยปฎิบัติหลวงปู่คำ

โดยท่านจะเดินทางไปศึกษาธรรมกับพระอาจารย์ฝั้นเสมอ จนพระอาจารย์ฝั้นและหลวงปู่คำ มรณภาพ ท่านจึงเดินทางไปศึกษาธรรมกับหลวงพุธที่วัดป่าสาละวันเป็นเวลา18ปีก่อนจะเดินทางไปอยู่ภูเขาควาย สปป.ลาว 3ปี แล้วกลับมาที่วัดถ้ำขามศึกษาธรรมกับหลวงปู่เทส หลังจากหลวงปู่เทส มรณภาพ ท่านจึงกลับมาที่วัดศรีจำปาชนบทแล้วเดินทางมาอยู่ที่ วัดดอยเทพเนรมิตจนถึงปัจจุบัน ครับ
:idea: :idea:

:roll: :roll: วัดดอยเทพเนรมิต สกลนคร แดนธรรมกลางสายน้ำ อดีตผู้ประกาศข่าวกรมประชาสัมพันธ์ นำเสนอ :) :D
ไฟล์แนบ
4691.jpg
4691.jpg (69.75 KiB) เข้าดูแล้ว 953 ครั้ง
CSC_๖.JPG
CSC_๗.JPG
CSC_๗.JPG (119.57 KiB) เข้าดูแล้ว 953 ครั้ง
CSC_๘.jpg
CSC_๘.jpg (137.68 KiB) เข้าดูแล้ว 953 ครั้ง
ขับรถมาถึงวัดบ่ายโมงกว่า ๆ เราได้รับความเมตตาจากหลวงพ่อเจ้าอาวาสให้ทานมื้อเที่ยงได้ที่ศาลานั่นละยังไม่พอเมตตาจัดหาน้ำเย็นและภาชนะให้อีกด้วย  หลังจากเราทานกันเรียบร้อย ก็นั่งสนทนากับท่าน ต่อจากนั้นท่านได้ชวนให้เราไปกับท่าน ไปดูเรือท่านบอกว่าเมื่อเช้าจะนำเรือไปบิณฑบาตร แต่เรือไม่ติดจะไปตรวจดูเกิดอะไรขึ้น ถ้าโยมโชคดีเรือติดอาตมาจะพานั่งเรือชมเขื่อนน้ำอูนนะ<br /><br />วัดดวงไปกันครับ ท่านบอกเอารถไปด้วยจะได้ไม่ต้องย้อนกลับวัด ขับต่อไปได้เลย
ขับรถมาถึงวัดบ่ายโมงกว่า ๆ เราได้รับความเมตตาจากหลวงพ่อเจ้าอาวาสให้ทานมื้อเที่ยงได้ที่ศาลานั่นละยังไม่พอเมตตาจัดหาน้ำเย็นและภาชนะให้อีกด้วย หลังจากเราทานกันเรียบร้อย ก็นั่งสนทนากับท่าน ต่อจากนั้นท่านได้ชวนให้เราไปกับท่าน ไปดูเรือท่านบอกว่าเมื่อเช้าจะนำเรือไปบิณฑบาตร แต่เรือไม่ติดจะไปตรวจดูเกิดอะไรขึ้น ถ้าโยมโชคดีเรือติดอาตมาจะพานั่งเรือชมเขื่อนน้ำอูนนะ

วัดดวงไปกันครับ ท่านบอกเอารถไปด้วยจะได้ไม่ต้องย้อนกลับวัด ขับต่อไปได้เลย
CSC_๙.jpg (157.25 KiB) เข้าดูแล้ว 953 ครั้ง
CSC_๑๐.JPG
CSC_๑๐.JPG (91.15 KiB) เข้าดูแล้ว 953 ครั้ง
CSC_๑๑.jpg
CSC_๑๑.jpg (151.23 KiB) เข้าดูแล้ว 953 ครั้ง
เราโชคดีครับ แค่หลวงพี่สตาร์ทครั้งเดียวเรือติดทันที หลวงพ่อดีใจ &quot;อ้า...โยมโชคดีจัง&quot; ท่านพาเราสองคนออกชมวิวทิวทัศน์ภายในเขื่อน เรียกว่าอิ่มตาอิ่มใจ กราบขอบพระคุณไว้ ณ ที่นี้ครับ
เราโชคดีครับ แค่หลวงพี่สตาร์ทครั้งเดียวเรือติดทันที หลวงพ่อดีใจ "อ้า...โยมโชคดีจัง" ท่านพาเราสองคนออกชมวิวทิวทัศน์ภายในเขื่อน เรียกว่าอิ่มตาอิ่มใจ กราบขอบพระคุณไว้ ณ ที่นี้ครับ
CSC_๑๒.jpg (153.31 KiB) เข้าดูแล้ว 953 ครั้ง
DSC_5303.JPG
DSC_5303.JPG (72.69 KiB) เข้าดูแล้ว 953 ครั้ง
DSC_5304.JPG
DSC_5304.JPG (52.08 KiB) เข้าดูแล้ว 953 ครั้ง
DSC_5305.JPG
DSC_5305.JPG (59.99 KiB) เข้าดูแล้ว 953 ครั้ง
DSC_5310.JPG
DSC_5310.JPG (81.97 KiB) เข้าดูแล้ว 953 ครั้ง
DSC_5311.JPG
DSC_5312.JPG
DSC_5312.JPG (62.79 KiB) เข้าดูแล้ว 953 ครั้ง
DSC_5318.JPG
DSC_5318.JPG (107.45 KiB) เข้าดูแล้ว 953 ครั้ง
DSC_5319.JPG
DSC_5319.JPG (69.13 KiB) เข้าดูแล้ว 953 ครั้ง
IMG20221118152721.jpg
หลวงพ่อท่านพาเรานั่งชมเขื่อนน้ำอูนนานพอสมควร ได้เวลาท่านก็พาเรือเข้าเก็บเราก็กราบลาท่าน ณ ที่ท่าเรือของวัด ขับรถเดินทางไปชมรอบ ๆ เขื่อนซึ่งเป็นสำนักงาน บ้านพักเจ้าหน้าที่ ไปเจอกับกลุ่มทัวร์ริ่งคนเกษียณ เคยเจอกันที่แม่ฮ่องสอนมาครั้งหนึ่ง แวะเยี่ยมเยียนพูดคุยสนทนา ทราบเป้าหมายและการทัวร์ครั้งนี้ ชื่นชมก่อนอำลาจากกัน เดินทางต่อยังเป้าหมายของเราต่อไป ตลอดเส้นทางเวลาก็คล้อยไป ๆ เย็นลงๆอาทิตย์คล้อยต่ำ ดูนาฬิกา เอ้า...เพลินลืมเวลาเกือบ ๕ โมงเย็นแล้ว เป็นอันว่าเราต้องรีบกลับที่พักกันแล้ว สนุกสนานเพลิดเพลินกันเลยนะ ๕๕๕
หลวงพ่อท่านพาเรานั่งชมเขื่อนน้ำอูนนานพอสมควร ได้เวลาท่านก็พาเรือเข้าเก็บเราก็กราบลาท่าน ณ ที่ท่าเรือของวัด ขับรถเดินทางไปชมรอบ ๆ เขื่อนซึ่งเป็นสำนักงาน บ้านพักเจ้าหน้าที่ ไปเจอกับกลุ่มทัวร์ริ่งคนเกษียณ เคยเจอกันที่แม่ฮ่องสอนมาครั้งหนึ่ง แวะเยี่ยมเยียนพูดคุยสนทนา ทราบเป้าหมายและการทัวร์ครั้งนี้ ชื่นชมก่อนอำลาจากกัน เดินทางต่อยังเป้าหมายของเราต่อไป ตลอดเส้นทางเวลาก็คล้อยไป ๆ เย็นลงๆอาทิตย์คล้อยต่ำ ดูนาฬิกา เอ้า...เพลินลืมเวลาเกือบ ๕ โมงเย็นแล้ว เป็นอันว่าเราต้องรีบกลับที่พักกันแล้ว สนุกสนานเพลิดเพลินกันเลยนะ ๕๕๕
IMG20221118160045.jpg (83.29 KiB) เข้าดูแล้ว 953 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
ตอบกลับ

กลับไปยัง “ทัวร์ริ่ง (Touring)”