ทอล์คออฟเดอะทาวน์...เอามาแบ่งกันอ่านครับ

ผู้ดูแล: น้าเป็ด..., βlue$ushi™, paravatee

กฏการใช้บอร์ด
น้าเป็ด (สัจจา ขุทรานนท์) หัวหน้ากลุ่ม(ผู้ดูแลห้อง1)

๒. βlue$ushi™ (กษิดิ เกษมสวัสดิ์)(ผู้ดูแลห้อง2)
Tel: 081 612 9753,02 589 0804

๓. paravatee (จุฑามณี ภูเดชมณีสถิต น้องออน)(ผู้ดูแลห้อง3)
084-160-5677
รูปประจำตัวสมาชิก
sompond
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 21
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ส.ค. 2008, 14:59
team: ไร้สังกัด
Bike: Giant

Re: ทอล์คออฟเดอะทาวน์...เอามาแบ่งกันอ่านครับ

โพสต์ โดย sompond »

ขอบคุณสำหรับ บทความ และความคิดดีๆครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
veenono
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 15873
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 พ.ย. 2008, 21:12
Tel: 089 776-9110
team: ฝ่ายข่าวชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย TCC.
Bike: รถถีบไทยใช้ใจขับเคลื่อน ใต้แสงเดือนและตะวัน http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 6#p3343446
ตำแหน่ง: 4/35ม.6ถ.เลียบคลองภาษีเจริญฝั่งใต้ แขวง/เขต หนองแขม กรุงเทพฯ10160

Re: ทอล์คออฟเดอะทาวน์...เอามาแบ่งกันอ่านครับ

โพสต์ โดย veenono »

“จักรยาน” กระสุนนัดสำคัญกับประโยชน์มากมายที่ตามมา : ศ.ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์
คัดลอกจากมูลนิธิโลกสีเขียว

รูปภาพ
เรื่อง : ขวัญชาย ดำรงค์ขวัญ , ศิระ ลีปิพัฒนวิทย์
ภาพ : ศิระ ลีปิพัฒนวิทย์

ในปัจจุบันใครๆ ก็รู้ถึงข้อดีของพาหนะที่อาศัยแรงคนปั่นในการขับเคลื่อนอย่าง “จักรยาน” เป็นอย่างดี และสำหรับสังคมไทย
คุณประโยชน์มากมายของการขี่จักรยานนับว่าไม่ใช่เรื่องใหม่ โดยเฉพาะเมื่อขี่กันหลายๆ คน

ศ.ดร. ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ผู้ก่อตั้งและอดีตประธานชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ซึ่งในปัจจุบันได้เติบโตเป็นสมาคม
เป็นคนไทยคนแรกๆ ที่นำจักรยานเสือภูเขา พาหนะที่นับว่าในสมัยนั้นมีราคาสูงมากเข้ามาขี่ในเมืองไทย ด้วยความที่
อยากบอกกับคนทั่วไปว่าจักรยานไม่ใช่พาหนะของคนจนเท่านั้น และสามารถนำมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

ศาสตราจารย์ผู้นี้ได้พูดถึงประโยชน์ของจักรยานไว้ว่า “การขี่จักรยานเป็นเหมือนกระสุนนัดสำคัญที่ยิงออกไปแล้วได้
ประโยชน์มากมายตามมา” เท่ากับว่าตั้งแต่ปัญหาไขมันในเลือดสูง หรือปัญหาที่หนักหนาอย่างวิกฤตการณ์โลกร้อนที่
พูดถึงกันมากมายในปัจจุบัน เราสามารถใช้การ “ขี่จักรยาน”เป็นส่วนหนึ่งในการเจือจางปัญหานั้นๆ ได้

ระยะเวลากว่า 20 ปี ที่เขาร่วมรณรงค์และผลักดันนโยบายเกี่ยวกับจักรยานมาอย่างต่อเนื่อง จากเดิมที่ไม่เคยมีที่จอด
จักรยานสาธารณะอยู่ให้เห็น ก็เริ่มมีที่จอดจักรยานกระจายอยู่ทั่วไปมากขึ้น มีทางจักรยานกระจายออกไปตามท้องถนน
มากขึ้นกว่าในอดีต และจำนวนคนขี่จักรยานทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่สิ่งหนึ่งที่ดู
จะเปลี่ยนแปลงไปไม่มากนักสำหรับสังคมจักรยานในเมืองไทยก็คือ ทัศนคติต่อ “จักรยาน” ของทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และประชาชนทั่วไป

ถ้ารัฐบาล กรุงเทพมหานคร และตำรวจจราจร เข้าใจหัวใจของจักรยานอย่างแท้จริง กระบวนการออกแบบและก่อสร้าง
อย่างทางจักรยาน คงจะคำนึงถึงการใช้งานจักรยานบนท้องถนนจริงๆ มากกว่าที่เป็นอยู่ หรือมีมาตรการสนับสนุน
ทางจักรยานที่สร้างขึ้นมาให้ใช้งานได้จริง

ณ วันนี้ คนที่รู้ถึงประโยชน์ของจักรยานจำนวนมากอาจยังไม่ได้ตระหนักและนำมาใช้จริงในชีวิตประจำวัน ต่อให้มี
ทางจักรยานกระจายออกไปมากเพียงใด มันก็อาจจะเป็นเพียงที่จอดรถทาสีเท่านั้น อาจเพราะความไม่มั่นใจใน
ความปลอดภัย หรือรู้สึกว่าการเดินทางด้วยจักรยานในชีวิตประจำวันจะลำบากยากเข็ญเกินกำลัง

ที่จริงแล้ว คนขี่จักรยานแทบทุกคนล้วนผ่านความรู้สึกและประสบการณ์เช่นนั้นมาก่อน ปฏิเสธไม่ได้ว่าเครื่องมือสำคัญ
ในการเริ่มต้นอย่าง “ใจ” จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับเส้นทางนี้

และสำหรับผู้ชายที่ชื่อ ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ไม่เพียงแต่เป็นผู้บุกเบิกการเดินทางด้วยจักรยาน ในฐานะที่เป็นพาหนะหนึ่ง
ซึ่งควรมีศักดิ์ศรีเทียบเท่าพาหนะอื่นๆ บนท้องถนนเท่านั้น เขายังเป็นบุคคลเบอร์ต้นๆ ที่ร่วมขับเคลื่อนให้จักรยานมีที่ทาง
ทั้งบนท้องถนน และในสายตาของคนทั้งหลายในสังคมไทย
พูดคุยทักทาย-แนะนำทาง facebookและอีกหลายๆกิจกรรมจาก veenono คลิ๊กเลย
ทริป" รักนี้ให้เธอ Tour of Myanmar Meakhong Challenge2013"
จงทำกรรมดี ละเว้นกรรมชั่ว เป็นผู้ให้จะได้ ลดความเห็นแก่ตัว
จักรยานก็เหมือนเม็ดข้าวเม็ดถั่วเม็ดงา ใครปลูกใครหว่านก็ดีมีประโยชน์ต่อสัตว์โลกทั้งนั้นทำไปเถอะ
รูปประจำตัวสมาชิก
veenono
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 15873
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 พ.ย. 2008, 21:12
Tel: 089 776-9110
team: ฝ่ายข่าวชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย TCC.
Bike: รถถีบไทยใช้ใจขับเคลื่อน ใต้แสงเดือนและตะวัน http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 6#p3343446
ตำแหน่ง: 4/35ม.6ถ.เลียบคลองภาษีเจริญฝั่งใต้ แขวง/เขต หนองแขม กรุงเทพฯ10160

Re: ทอล์คออฟเดอะทาวน์...เอามาแบ่งกันอ่านครับ

โพสต์ โดย veenono »

อะไรเป็นเหตุผลให้ประเทศทางตะวันตกมีความก้าวหน้าในการผลักดันให้มีการใช้จักรยานมากขึ้นเรื่อยๆ

ก็ด้วยวิธีคิดของเขา ยกตัวอย่างจากตอนที่เคยเกิดเหตุปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำที่ออสเตรเลีย ผมจำไม่ได้แล้วว่าปีไหน
ตรงทางจักรยานของเขา มันจะมีป้ายอยู่อันหนึ่งบอกไว้เลยว่า โครงการสร้างทางจักรยานเป็นโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจ
ของชาติ (หัวเราะ) ประเทศเราไม่เคยคิดเรื่องอะไรอย่างนี้เลยนะ เมื่อมีการสร้างอะไรแบบนี้ขึ้น มันก็เกิดการสร้างงาน
เกิดการรับเหมารายเล็ก มันเป็นการกระตุ้นงาน กระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ของไทยก็เอางบเหล่านี้ไปทำอย่างอื่น
ไปทำถนนใหญ่ๆ ซึ่งต่างจากเขาที่เอาไปทำทางจักรยาน มันเป็นการให้ค่าในเรื่องบางเรื่องที่ต่างกัน

ในสมัยที่อาจารย์นำจักรยานจากอเมริกามาขี่เป็นคนแรกๆ ในประเทศไทย
รถราบนท้องถนนในตอนนั้นกับตอนนี้มีความต่างกันไหม


ก่อนที่ผมจะเอาจักรยานจากอเมริกาเข้ามาในเมืองไทย ผมขี่จักรยานที่ทำในเมืองไทยมาก่อนนะ เป็นจักรยานเสือหมอบ
ทำอยู่แถววรจักร แนวคิดของผมตอนนั้นไม่ใช่จะตั้งใจเอาจักรยานจากเมืองนอกเข้ามา แต่เนื่องจากเสือหมอบมันมีพื้นที่
ในการใช้จำกัด ถ้าผมต้องการใช้จักรยานที่ใช้งานได้หลายมิติ มันต้องเป็นจักรยานที่ล้อมียางโต ไม่แตกง่าย ต้องสมบุกสมบัน
นั่นคือจักรยานเสือภูเขา ตอนนั้นเมืองไทยยังไม่มีขาย ก็เลยต้องไปเอาจากเมืองนอกมา

ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไมต้องเป็นจักรยานที่มีรูปร่างแบบเสือภูเขา เนื่องจากในเมืองไทยตอนนั้น จักรยานยังมีภาพลักษณ์ว่า
เป็นพาหนะของคนจนเท่านั้น ผมต้องการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ ยกตัวอย่างว่า เราวิ่ง เราใส่รองเท้าคู่ละไม่กี่บาท
เราก็วิ่งได้ แต่พอมีคนใส่ไนกี้ อาดิดาส มาวิ่งให้คนทั่วไปได้เห็นขึ้นมา ก็ทำให้การวิ่งออกกำลังกายแพร่หลายออกไป
เพราะคนหันมามองการวิ่งว่ามันเท่ได้นะ ทั้งๆ ที่คนที่วิ่งโดยใส่รองเท้าไนกี้ อาดิดาส จะเป็นคนอีกกลุ่มหนึ่ง
ชาวบ้านเขาไม่ได้ใส่รองเท้ามียี่ห้อแพงๆ เขาใส่อย่างอื่นเขาก็วิ่งได้

ตอนนั้นผมต้องการเอาความเท่มาสร้างจำนวนคนขี่จักรยาน ก็เลยตัดสินใจเอาจักรยานที่เท่ๆ เข้ามาเป็นตัวจุดประกาย
โดยหวังว่าเมื่อคนเริ่มเข้าใจว่าจักรยานไม่ใช่พาหนะของคนจน จำนวนคนขี่จักรยานก็น่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ตอนนั้นผมก็พยายามจะขี่จักรยานไปในทางที่เขาวิ่งกัน พอคนเห็นจักรยาน ก็พูดกันว่า “จักรยานบ้าอะไรคันเป็นหมื่น”
หนึ่งหมื่นบาทสมัยนั้นก็เยอะมากนะ คนที่วิ่งซึ่งเป็นกลุ่มคนที่รักการออกกำลังกายอยู่แล้วก็สนใจกัน
และก็เริ่มมีคนให้ความสนใจเรื่อยๆ
พูดคุยทักทาย-แนะนำทาง facebookและอีกหลายๆกิจกรรมจาก veenono คลิ๊กเลย
ทริป" รักนี้ให้เธอ Tour of Myanmar Meakhong Challenge2013"
จงทำกรรมดี ละเว้นกรรมชั่ว เป็นผู้ให้จะได้ ลดความเห็นแก่ตัว
จักรยานก็เหมือนเม็ดข้าวเม็ดถั่วเม็ดงา ใครปลูกใครหว่านก็ดีมีประโยชน์ต่อสัตว์โลกทั้งนั้นทำไปเถอะ
รูปประจำตัวสมาชิก
veenono
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 15873
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 พ.ย. 2008, 21:12
Tel: 089 776-9110
team: ฝ่ายข่าวชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย TCC.
Bike: รถถีบไทยใช้ใจขับเคลื่อน ใต้แสงเดือนและตะวัน http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 6#p3343446
ตำแหน่ง: 4/35ม.6ถ.เลียบคลองภาษีเจริญฝั่งใต้ แขวง/เขต หนองแขม กรุงเทพฯ10160

Re: ทอล์คออฟเดอะทาวน์...เอามาแบ่งกันอ่านครับ

โพสต์ โดย veenono »

ถนนในสมัยก่อน รถเยอะเหมือนทุกวันนี้หรือเปล่า

ถ้าหมายถึงสมัยก่อนตอนผมเด็กๆ รถก็มียังไม่เยอะ ถนนตามต่างจังหวัด ชานเมือง แถวรังสิต นครนายก
จะต่างกับปัจจุบันเยอะ แต่ถ้าเทียบกันระหว่างกรุงเทพฯ ในอดีตกับปัจจุบัน ผมว่าก็ไม่ต่างกันเท่าไรนะ
ผมว่ามีอยู่ช่วงหนึ่งด้วยซ้ำที่ในกรุงเทพฯ รถติดมากกว่าในปัจจุบัน เป็นช่วงก่อนที่จะมีบีทีเอส ผมว่าตอนนั้น
รถติดมาก ตอนนี้ผมว่ายังขับรถลื่นไหลนะ ตอนนั้นฝนตกที จะไปไหนไม่ได้เลย

ช่วงที่ผมเริ่มโตก็พบว่าจักรยานเป็นพาหนะที่สามารถพาเราไปในที่ไกลๆ ได้ ใช้จักรยานไปเที่ยวได้
จึงได้เปลี่ยนจากที่ต้องวิ่งซนไปไกลๆ มาใช้จักรยานแทน ก็ทำให้ไปเล่นซนได้ไกลขึ้น

ตอนที่อาจารย์ขี่จักรยานใหม่ๆ เคยกลัวรถชนไหมครับ

กลัวสิ ตอนเด็กๆ ผมขี่จักรยาน พอโตขึ้นมาก็ไม่ได้ขี่จักรยานอีกเลย มาขี่อีกทีก็ตอนที่ไปเรียนที่ต่างประเทศ
แล้วพอกลับมาขี่อีกทีที่เมืองไทย สภาพจราจรในตอนนั้นกับตอนเด็กๆ มันเปลี่ยนไปมาก สมัยก่อนตอนเด็กๆ
เราขี่จักรยานใหม่ๆ เราก็กลัว ตรงไหนผมไม่มั่นใจ ผมก็ไปขี่บนฟุตบาต ขี่สลับไปมา บนฟุตบาตบ้าง
ลงมาถนนบ้าง พอลงมาด้านล่างผมก็จะประคองให้ช้า พอนานๆ ไปผมก็มีทักษะมากขึ้น

แสดงว่าเราจัดการความกลัวได้ด้วยการฝึกฝนจนตัวเรามีทักษะมากขึ้นเรื่อยๆ

ใช่ มันก็เหมือนกันกับคุณหัดขับรถบนถนนใหม่ๆ เมื่อมีรถบรรทุกหรือรถบัสมาอยู่ข้างๆ คุณก็จะกลัวเหมือน
มันจะชนเรา เพราะมันเห็นอยู่ห่างกับรถเรานิดเดียว แต่พอเราเริ่มขี่ไปนานๆ เราก็เข้าใจว่ามันไม่ชนหรอก
แม้มันจะใกล้นิดเดียว มันก็ไม่ได้ชนเรา จักรยานก็เหมือนกัน เมื่อเราเข้าใจ เราก็จะรู้ว่ามันไม่ชนเรา
รูปประจำตัวสมาชิก
veenono
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 15873
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 พ.ย. 2008, 21:12
Tel: 089 776-9110
team: ฝ่ายข่าวชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย TCC.
Bike: รถถีบไทยใช้ใจขับเคลื่อน ใต้แสงเดือนและตะวัน http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 6#p3343446
ตำแหน่ง: 4/35ม.6ถ.เลียบคลองภาษีเจริญฝั่งใต้ แขวง/เขต หนองแขม กรุงเทพฯ10160

Re: ทอล์คออฟเดอะทาวน์...เอามาแบ่งกันอ่านครับ

โพสต์ โดย veenono »

การพัฒนาทักษะการขี่จักรยาน กับความกลัวว่า ถ้าเราออกถนนใหญ่ ชีวิตเราจะรอดไหม
อาจารย์จัดการความรู้สึกนี้ยังไงครับ

สำหรับผมในตอนนั้น มันเป็นสิ่งที่ผมอยากจะพิสูจน์ตัวเอง ผมก็เลยต้องข่มความกลัวของผมไว้ จนสามารถทำได้
แต่สำหรับปัจจุบัน ซึ่งผมว่ามีกลุ่มที่ขี่จักรยานอยู่เยอะ คนที่เริ่มใหม่ๆ ก็อาจจะไปร่วมขี่กับกลุ่มคนเหล่านั้นก่อน
จนเรารู้สึกมั่นอกมั่นใจแล้วว่า เราสามารถไปได้ เราก็ค่อยออกไปคนเดียว

ตอนที่อาจารย์อยากพิสูจน์ตัวเองเพื่อพัฒนาทักษะโดยขี่จักรยานออกถนนใหญ่
ระหว่างทางที่เรายังมีทักษะไม่มาก รถใหญ่ๆ บนถนนใหญ่ก็อันตราย ตอนนั้นถือว่าเป็นความประมาทไหม


ผมว่าตอนนั้นผมไม่ประมาทนะ เพราะเมื่อผมกลัวมาก ผมก็ระวังมากเป็นพิเศษ ตอนนี้จะประมาทมากกว่าด้วยซ้ำ (หัวเราะ)
ตอนนั้นผมขี่ระวังมาก เจอไฟแดงผมก็ค่อยๆ จูงจักรยานไป พอติดไฟแดงแล้วผมจะเลี้ยวขวา ผมยังค่อยๆ จูงไปทางขวาเลย
แต่เป็นเดี๋ยวนี้พอติดไฟแดง ผมจะปาดซ้ายขวาไปอยู่ข้างหน้าเลย

แสดงว่าเมื่อเรามีทักษะมากขึ้น กลับทำให้เราประมาทมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ

ใช่ ทุกวันนี้ผมประมาทมากกว่าตอนขี่แรกๆ เราพร้อมที่จะออกตัว เรารู้ว่าเราออกตัวเร็วกว่ารถยนต์ เราไม่กลัว
ต่างจากตอนที่ขี่ใหม่ๆ เรากลัว ขี่ชิดซ้าย ค่อยๆ ไปช้าๆ

อาจารย์เคยบอกว่า ที่คนไม่เห็นความสำคัญของจักรยาน เพราะเขายังไม่รู้ ยังไม่เข้าใจว่า
จักรยานเป็นเหมือนกระสุนนัดเดียวที่ยิงออกไปแล้วได้ประโยชน์มากมายตามมา อยากให้อาจารย์ช่วยอธิบาย
ที่มาของประโยคนั้นด้วยครับ


ถ้าพูดถึงที่มาของมัน มันก็คือความคิดผม ถ้าถามว่า กระสุนนัดนั้นยิงไปแล้วได้อะไรบ้าง มันได้ทั้งสุขภาพกาย
สุขภาพใจ สุขภาพเมือง สิ่งแวดล้อมในเมืองมันดีขึ้น หลายคนที่ขี่จักรยานไม่ได้คิดถึงมิตินี้ คิดแต่ว่าตัวเองจะได้
ประโยชน์อะไร แต่การขี่จักรยานมันส่งผลให้สิ่งแวดล้อมเมืองดีขึ้นแน่ๆ และเรื่องค่าใช้จ่ายของส่วนบุคคล
มันเห็นผลจริงๆ เราสามารถลดค่าใช้จ่ายในระดับบุคคลได้ และถ้าเรานับรวมคนเยอะๆ ก็เป็นการลดค่าใช้จ่ายของสังคม
ของเมือง ของประเทศได้ ในสมัยก่อน เรารู้แค่ว่ามันไม่ปล่อยมลพิษและลดค่าใช้จ่ายได้ แต่ปัจจุบันมันมีเรื่อง
คาร์บอนเครดิต เรื่องโลกร้อนขึ้นมา การไม่ปล่อยมลพิษจึงเชื่อมโยงไปถึงการลดค่าใช้จ่ายได้ด้วย จริงๆ
แล้วประโยชน์มันมีหลายมิติ ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ ไปเรื่องใหญ่ๆ

รูปภาพ
รูปประจำตัวสมาชิก
veenono
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 15873
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 พ.ย. 2008, 21:12
Tel: 089 776-9110
team: ฝ่ายข่าวชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย TCC.
Bike: รถถีบไทยใช้ใจขับเคลื่อน ใต้แสงเดือนและตะวัน http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 6#p3343446
ตำแหน่ง: 4/35ม.6ถ.เลียบคลองภาษีเจริญฝั่งใต้ แขวง/เขต หนองแขม กรุงเทพฯ10160

Re: ทอล์คออฟเดอะทาวน์...เอามาแบ่งกันอ่านครับ

โพสต์ โดย veenono »

ปัจจุบันเราขี่จักรยานในอากาศร้อนๆ มีควันพิษจากรถยนต์บนท้องถนน
และยังต้องซอกแซกไปๆ มาๆ แล้วเราจะมีสุขภาพใจดีได้ยังไงครับ


ถ้าเราพูดถึงการขี่จักรยานบนถนนจากพระโขนงไปพระนคร หรือบางกะปิไปบางกะเจ้า ระยะทางมันไกล
จะทำให้เรารู้สึกเครียดกับเสียงรถบนถนน แต่คนส่วนใหญ่เขาไม่ได้ขี่กันอย่างนั้น เขาขี่จากบ้านออกมาปากซอย
สุขภาพใจก็อาจจะเป็นว่าเราได้ทำอะไรให้กับสังคม ทั้งในเรื่องมลพิษและเรื่องค่าใช้จ่ายจากคนเล็กๆ
และเมื่อรวมกันมันก็ช่วยประเทศได้ด้วย แต่ผมอาจจะมองจากตัวเองมากไปหน่อย

เป็นไปได้ไหมว่า การขี่จักรยานจะทำให้มีสุขภาพใจในแง่ของความสนุก ท้าทาย เหมือนเรากำลังเล่นกีตาร์
พัฒนาการเล่นไปเรื่อยๆ เราแกะคอร์ด เล่นเพลงใหม่ๆ อันนี้เป็นสุขภาพใจได้ไหม


ผมว่าถ้าในแง่นี้ คงไม่ใช่สำหรับชาวบ้าน แต่ถ้าเป็นคนที่ขี่ระยะทางไกลๆ จากบางกะปิไปบางกะเจ้า
เขาก็คงมีสุขภาพใจในแง่ว่าไม่ต้องไปเครียดกับรถติด ผมเคยพูดไว้ว่า เวลาเราจะเดินทางไปไหน
มันต้องออกจากบ้านมารอมอเตอร์ไซต์ ต่อสองแถว แล้วก็รอรถเมล์ จะมาเมื่อไรก็ไม่รู้
แต่จักรยานมันไม่มีปัญหาเหล่านี้

ผมว่าจริงๆ แล้ว คนเราจะชอบที่จะดูแลตัวเอง ทุกคนเชื่อว่าเราดูแลตัวเองได้ ถ้าเรามัวต้องพึ่งคนอื่นอยู่เรื่อยๆ
แล้วพอถึงเวลาที่มันพึ่งคนอื่นไม่ได้ มันจะทำให้เราหงุดหงิด แต่จักรยานทำให้เราสามารถจัดการเวลา
จัดการชีวิตของตัวเองได้ เราเดินทางด้วยจักรยาน เราตัดสินใจเองได้ว่า เราจะไปเมื่อไร เราจะไม่ไปเมื่อไร
ซึ่งนี่แหละ เป็นสิ่งที่ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น

ผมเคยไปงานสัมมนาด้านสุขภาพ และได้เอาคำถามเรื่องการขี่จักรยานบนท้องถนนไปถามบนเวที หมอก็ให้คำตอบว่า
ถ้าคุณอยากขี่จักรยาน ผมไม่แนะนำให้ขี่บนท้องถนน ถ้าจะขี่ ขอแนะนำให้ไปขี่ที่สวนสาธารณะหรือตามต่างจังหวัดแทน
เพราะมลพิษจะทำลายสุขภาพ


ก็จริงนะ ถ้าคุณพูดถึงคุณภาพอากาศบนถนนกับในสวนสาธารณะ แต่คุณจะเลือกที่จะอยู่ในสวนสาธารณะตลอดเวลา
ได้เหรอ การขี่จักรยานในสวนสาธารณะคือคุณไม่ได้เดินทาง คุณไปพักผ่อน แต่ถ้าคุณต้องออกเดินทางบนท้องถนน
จากจุด ก ไปจุด ข มันก็ต้องได้รับมลพิษอยู่ดี ดังนั้น ถ้าเราจะเทียบอย่างที่หมอบอก มันก็ถูกต้อง แต่มันคนละประเด็นเลยนะ

ในประเด็นเดียวกัน ถ้าคุณต้องเดินทางจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง คุณขี่จักรยาน นั่งรถตุ๊กตุ๊ก ขึ้นรถเมล์
มันได้รับมลพิษเหมือนกันนะ งานวิจัยของกรมควบคุมมลพิษ ที่วัดจากมลพิษที่อยู่ในรถยนต์ที่ติดแอร์บอกว่า
คุณนั่งรถที่ติดแอร์ ไม่ใช่ว่าคุณไม่โดนมลพิษนะ แค่คุณไม่รู้ว่ามันโดน และหมอเองก็ไม่รู้ว่ามันโดน
เพราะหมอไม่ได้กลิ่น แต่มลพิษมันยังเข้ามาในรถนะ รถคุณไปจอดติดอยู่ท้ายรถเมล์ แม้กลิ่นมันจะไม่เข้ามา
แต่มลพิษมันเข้ามา แล้วมันก็ไม่ออกไปด้วย
รูปประจำตัวสมาชิก
veenono
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 15873
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 พ.ย. 2008, 21:12
Tel: 089 776-9110
team: ฝ่ายข่าวชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย TCC.
Bike: รถถีบไทยใช้ใจขับเคลื่อน ใต้แสงเดือนและตะวัน http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 6#p3343446
ตำแหน่ง: 4/35ม.6ถ.เลียบคลองภาษีเจริญฝั่งใต้ แขวง/เขต หนองแขม กรุงเทพฯ10160

Re: ทอล์คออฟเดอะทาวน์...เอามาแบ่งกันอ่านครับ

โพสต์ โดย veenono »

ถ้าเราขี่จักรยานไปจอดอยู่ด้านหลังรถเมล์ พอมีควันพิษ เราก็กลั้นหายใจ แล้วขี่หนีไป
จะปลอดภัยกว่าในรถยนต์ที่ติดแอร์เลยหรือเปล่าครับ


พูดตรงนี้ต้องระวัง ในทางวิทยาศาสตร์ มลพิษจะมีน้อยกว่าตอนที่ไปจอดแล้วมันพุ่งมาใส่หน้าของคุณ
รถที่ติดแอร์ก็คงจะรับมลพิษจากควันนั้นไม่ทั้งหมด สมมุติว่าปล่อยมา 100% รถก็อาจจะกรองไปจนเหลือ
สัก 10 – 20% แต่ถ้าคุณขี่จักรยาน รถข้างหน้าปล่อยมาเท่าไร คุณก็ยังสามารถกลั้นหายใจแล้วขี่ผ่านไป
โดยไม่ต้องรับมลพิษทั้งร้อยนั้น และการขี่จักรยาน ในเวลาที่เราอยู่ในที่ที่ไม่ใช่หลังท่อไอเสียของรถข้างหน้า
คุณก็อาจจะรับแค่ 2-3% เท่านั้น แต่ถ้าเป็นรถที่ติดแอร์จอดอยู่บนถนน มันก็จะ 10% อยู่ตลอด
เพราะมันจอดอยู่เฉยๆ มันไปไหนไม่ได้ คุณรับแค่ 10% ก็จริง แต่มันเป็นการรับมลพิษที่ต่อเนื่องนานๆ

อาจารย์เคยบอกว่า พวกเราควรจะมาร่วมกันขี่จักรยานให้เยอะๆ เพื่อส่งสัญญาณให้รัฐบาลมาสร้าง
และพัฒนาทางจักรยานให้ดีขึ้น แต่คนทั่วไปที่ไม่ได้ขี่จักรยานอยู่แล้ว ก็จะคิดในอีกแง่ว่า
เขาจะเริ่มต้นก็ต่อเมื่อท้องถนนมีทางจักรยานที่ปลอดภัยแล้ว ทำให้เห็นถึงการเริ่มต้นที่แตกต่างกันสองแบบ
จริงๆ แล้วในทางปฏิบัติ เราควรจะเริ่มต้นอย่างไร


มันต้องเริ่มพร้อมกัน ในกรุงเทพฯ ไม่ใช่ว่าไม่มีทางจักรยานนะ ถนนเส้นหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหงก็มี
ทางจักรยานยาวร่วม 10 กิโลเมตร แต่มันไม่มีคนใช้ สุดท้ายก็เป็นที่ของแผงลอย แล้วทางก็ค่อยๆ หายไป
อย่างนี้เราก็ต้องมาร่วมกันขี่จักรยานกันก่อน เพื่อให้รัฐบาลสร้างมาตรการรองรับ ก็เกิดปัญหาอีกว่าคนทั่วไป
ยังไม่กล้าที่จะขี่ เพราะทางยังไม่ปลอดภัย มันก็เลยกลายเป็นว่า ไก่กับไข่ เราจะเริ่มอะไรก่อนกัน
มันจึงต้องเริ่มทั้งสองอย่าง แต่ก่อนผมเชื่อว่ามันต้องมีทางกายภาพก่อน แล้วคนถึงจะมาขี่จักรยานกัน
ตอนนี้มันก็พิสูจน์แล้วว่าไม่ใช่ เพราะในขณะนี้ที่มีทางจักรยานในกรุงเทพฯ แล้ว คนก็ยังไม่มาขี่กัน
เหตุผลก็อาจจะมาจากที่ทางจักรยานไปสร้างบนเส้นทางใหญ่ๆ จุดสำคัญๆ ซึ่งยังไม่ใช่จุดที่คนทั่วไปใช้งานจริง
มันก็ยังไม่เกิดผลเต็มที่

ฉะนั้น จึงเป็นเรื่องที่ต้องทำไปทั้งสองอย่างจากพวกเรา พวกเราก็คือคนที่รักการขี่จักรยานและอยากผลักดันนโยบาย
เพื่อหวังว่าจะทำให้รัฐบาลหันกลับมาเห็นความสำคัญ สร้างมาตรการต่างๆ ขึ้นมา รวมไปถึงดูแลรักษาทางจักรยาน
ที่มีอยู่แล้วให้สามารถใช้งานได้จริง

จึงจำเป็นต้องมีการรณรงค์ให้คนมาใช้ทางจักรยานที่มีอยู่เยอะๆ เพื่อให้ทางได้รับการดูแลรักษา

นั่นคือสิ่งที่สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทยกำลังทำอยู่ แต่อย่างที่บอกว่าส่วนมากของทางจักรยานที่มีเป็น
ทางที่อยู่บนเส้นทางหลักๆ ตัวอย่างเช่น ทางจักรยานอยู่บนถนนประดิษฐ์มนูธรรม แต่บ้านเขาอยู่ที่บางกระบือ
เขาจะมาขี่ที่ถนนประดิษฐ์มนูธรรมทำไม ทำให้ในทางปฏิบัติเราก็จะรณรงค์ได้แค่คนที่อยู่ใกล้ที่มีทางจักรยาน
ซึ่งมันจะมีสักกี่คน จึงจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจให้กับรัฐบาลว่า เขาต้องไปสร้างจักรยานในที่ที่คนต้องการ
ที่ที่คนได้ใช้งานจริงๆ รัฐบาลต้องไม่ไปคิดแทนเขาว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นที่ที่เขาต้องการทางจักรยาน
รูปประจำตัวสมาชิก
veenono
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 15873
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 พ.ย. 2008, 21:12
Tel: 089 776-9110
team: ฝ่ายข่าวชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย TCC.
Bike: รถถีบไทยใช้ใจขับเคลื่อน ใต้แสงเดือนและตะวัน http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 6#p3343446
ตำแหน่ง: 4/35ม.6ถ.เลียบคลองภาษีเจริญฝั่งใต้ แขวง/เขต หนองแขม กรุงเทพฯ10160

Re: ทอล์คออฟเดอะทาวน์...เอามาแบ่งกันอ่านครับ

โพสต์ โดย veenono »

เหมือนที่อาจารย์เคยบอกไว้ว่า ทางจักรยานที่ดีควรจะเริ่มจากหน้าบ้านไปสู่หน้าปากซอยก่อน
เมื่อทุกชุมชนมีทางจักรยานทั่วถึงแล้ว ท้ายที่สุดแค่เชื่อมทางต่างๆ ที่มีเข้าด้วยกัน
มันก็จะเป็นโครงข่ายทันที

ใช่ คุณมีเป็นจุดๆ แล้ว พอเราเชื่อมเข้าหากันก็จะเป็นโครงข่าย

อย่างแม่ของผมก็สามารถขี่จักรยานจากหน้าบ้านออกมาปากซอยได้โดยไม่ต้องมีทางจักรยาน
จริงๆ แล้วทางจักรยานจากหน้าบ้านมาสู่ปากซอยเป็นสิ่งที่จำเป็นไหมครับ


ถ้าถามว่าจำเป็นหรือไม่ มันก็ต้องย้อนกลับมาเรื่องบนถนนใหญ่ คนไม่กล้าขี่เพราะมันมีอันตราย
คุณบอกว่าแม่คุณสามารถขี่ได้ ก็อาจจะให้คนอย่างแม่ของคุณเป็นตัวอย่าง ทำกันเยอะๆ คนก็จะมาขี่กันเยอะขึ้น
ยิ่งถ้ามีทางจักรยานเล็กๆ อยู่ในซอย คนก็จะมาขี่เพิ่มขึ้นไปอีกแน่นอน เราต้องทำทั้งสองอย่าง
แต่รัฐบาลยังไม่มาทำตรงนี้

อย่างทางในซอยของบ้านผม ก็กลายเป็นที่ที่รถยนต์มาจอด แล้วถ้าเราไปสร้างทางจักรยานขึ้นมาจะสร้าง
ผลกระทบต่อเจ้าของรถในซอยนั้นเองไหม


จริงๆ มันเป็นปัญหาทั้งนั้น มีทางจักรยานขึ้นมา วินมอเตอร์ไซต์ก็เสียรายได้ วินรถสองแถวเองก็ไม่อยาก
ให้มีทางจักรยานด้วย ปัญหาพวกนี้มันมีแน่ๆ ก็เป็นเรื่องที่ต้องแก้ ถ้าเราคิดว่ามันมีปัญหา
แล้วเราจะไม่ทำทางจักรยาน ทางจักรยานก็จะไม่เกิด

อาจารย์เคยบอกว่า ไม่มีสาวยาคูลท์คนไหนเลยที่จะขี่จักรยานไปชนใคร ถึงมีก็คงจะน้อยมากๆ
แสดงว่าถ้าใครสักคนมีทักษะพอสมควร เขาก็จะเข้าใจวิธีระแวดระวังอย่างเข้าใจ ถ้าคนที่สามารถ
ขี่จักรยานจากหน้าบ้านไปปากซอยได้แล้ว ขั้นต่อไปเขาควรจะเริ่มอย่างไร




ผมว่าคนที่สามารถขี่จักรยานจากหน้าบ้านออกไปปากซอยได้แล้ว ถ้าเขามีความจำเป็นต้องขี่ระยะทางไม่ไกลมาก
จากจุด ก ไปจุด ข สัก 2-3 กิโลเมตร เขาสามารถไปได้อยู่แล้ว แต่ที่เขายังไม่ได้ไป เพราะเขาไม่มีความจำเป็น
ต้องไป คนที่ขี่จักรยานระยะทางไกลๆ จากบางกระบือไปบางกระเจ้า มันมีอยู่ไม่กี่คนหรอก แต่ถ้าจะให้คน
ใช้จักรยานทั่วไปมาเดินทางไกลๆ หลายสิบกิโลเมตร เขาก็คงไม่ไปกัน
รูปภาพ
รูปประจำตัวสมาชิก
veenono
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 15873
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 พ.ย. 2008, 21:12
Tel: 089 776-9110
team: ฝ่ายข่าวชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย TCC.
Bike: รถถีบไทยใช้ใจขับเคลื่อน ใต้แสงเดือนและตะวัน http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 6#p3343446
ตำแหน่ง: 4/35ม.6ถ.เลียบคลองภาษีเจริญฝั่งใต้ แขวง/เขต หนองแขม กรุงเทพฯ10160

Re: ทอล์คออฟเดอะทาวน์...เอามาแบ่งกันอ่านครับ

โพสต์ โดย veenono »

ถ้าคนที่ไม่รู้เรื่องว่าควรจะขี่ยังไง เขาควรจะขี่จักรยานบนถนนอย่างไร

ถ้าพูดถึงคนที่ไม่รู้ว่าควรจะขี่ยังไง เขาก็ไม่กล้าขี่บนถนนใหญ่ เขาเริ่มจากขึ้นไปขี่บนฟุตบาตอยู่แล้ว
ซึ่งในทางปฏิบัติ ถ้าเราระมัดระวัง มันก็ไม่ได้อันตรายอะไร

แต่เมื่อคนขี่จักรยานไปขี่บนฟุตบาต สิทธิในการใช้ฟุตบาตของคนที่ขี่จักรยานจะมีน้อยกว่าคนที่เดินเท้า

ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่า ฟุตบาต มันคือทางเท้า ไม่ใช่ทางจักรยาน นอกจากว่าคุณไปตีเส้นว่าทางตรงนี้
เป็นทางที่ใช้ร่วมกันระหว่างการเดินเท้าและขี่จักรยาน

ในเวียดนามคนขี่จักรยานบนถนนใหญ่มากมายเป็นพันเป็นหมื่น พวกเขาไม่ต้องการทางจักรยานกันเหรอครับ

อันนี้ถือว่าเป็นความเข้าใจผิดอย่างหนึ่งว่าการจะขี่จักรยานจำเป็นต้องมีทางจักรยาน ทางจักรยานเป็นความคิด
ของทางยุโรป จีนก็ไม่มี อินเดียก็ไม่มี พม่าก็ไม่มี ดังนั้น ทางจักรยานไม่ใช่ปัจจัยอันแรกว่าต้องมีถึงจะขี่จักรยานได้
มันขึ้นอยู่กับมวลวิกฤต ถ้ามวลวิกฤตมีเยอะ ถนนก็เป็นทางจักรยานไปโดยปริยาย แต่บ้านเรามวลวิกฤต*
มันยังไม่มี และถนนก็เต็มไปด้วยรถยนต์ มันถึงมีคนออกมาเรียกร้องว่าต้องมีทางจักรยาน แต่จริงๆ มันไม่ใช่ว่า
ทางจักรยานเป็นปัจจัยแรกที่ต้องมี
รูปประจำตัวสมาชิก
veenono
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 15873
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 พ.ย. 2008, 21:12
Tel: 089 776-9110
team: ฝ่ายข่าวชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย TCC.
Bike: รถถีบไทยใช้ใจขับเคลื่อน ใต้แสงเดือนและตะวัน http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 6#p3343446
ตำแหน่ง: 4/35ม.6ถ.เลียบคลองภาษีเจริญฝั่งใต้ แขวง/เขต หนองแขม กรุงเทพฯ10160

Re: ทอล์คออฟเดอะทาวน์...เอามาแบ่งกันอ่านครับ

โพสต์ โดย veenono »

*มวลวิกฤต ( Critical Mass) คือ สถานการณ์ที่คนในสังคมยอมรับพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
และตัดสินใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในกลุ่มที่เหลือทั้งหมด โดยน้ำหนักที่มากกว่าของพฤติกรรมข้างหนึ่ง
จะไม่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกกระทำตามพฤติกรรมนั้นๆ ตัวอย่างเช่น คนจำนวนหนึ่งที่ขี่จักรยาน
ในประเทศเวียดนามสามารถทำให้คนที่เหลือในสังคมยอมรับพฤติกรรมนั้นๆ และทำตามได้ในที่สุด
รูปประจำตัวสมาชิก
veenono
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 15873
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 พ.ย. 2008, 21:12
Tel: 089 776-9110
team: ฝ่ายข่าวชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย TCC.
Bike: รถถีบไทยใช้ใจขับเคลื่อน ใต้แสงเดือนและตะวัน http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 6#p3343446
ตำแหน่ง: 4/35ม.6ถ.เลียบคลองภาษีเจริญฝั่งใต้ แขวง/เขต หนองแขม กรุงเทพฯ10160

Re: ทอล์คออฟเดอะทาวน์...เอามาแบ่งกันอ่านครับ

โพสต์ โดย veenono »

คนเวียดนามที่เขาออกไปขี่บนถนนแบบนั้น เขารู้สึกว่ามันปลอดภัย แต่สำหรับประเทศไทยคนยังออก
ไปขี่บนถนนด้วยความรู้สึกไม่ปลอดภัย


เป็นเพราะของเราคนยังขี่ไม่เยอะ ลองคิดดูว่าถ้าประเทศไทยมีคนขี่จักรยานบนถนนมากเท่าเขา
ทำไมเราจะไม่รู้สึกปลอดภัย รถยนต์ก็เป็นส่วนน้อยของถนนไป ถนนมันเต็มไปด้วยจักรยาน
ทำให้เขาขับด้วยความเร็วไม่ได้ ก็ได้แต่บีบแตรไล่ไปเท่านั้น แต่ความรู้สึกปลอดภัยในการใช้ท้องถนน
จะมาอยู่ที่คนขี่จักรยาน

เคยมีคนเล่าว่า เขาจอดจักรยานในที่ที่คนพลุกพล่าน แต่เมื่อถึงตอนที่มีคนมาขโมย แม่ค้าแถวนั้นก็เข้าใจ
ว่าเป็นญาติมาเอาไปหรือเปล่า สุดท้ายแล้ว การจอดจักรยานที่ปลอดภัยควรจะจอดอย่างไร


ผมขอพูดคำตลกๆ แบบประชดนะ ผมจะดีใจมาก ถ้ามีสถิติจักรยานหายในประเทศไทยมาก
เพราะนั่นหมายถึงว่ามีคนใช้จักรยานมาก สถิติของเนเธอร์แลนด์ในเรื่องจักรยานหาย เป็นสถิติที่มากที่สุดในโลกนะ
ถ้าไม่มีจักรยานหายเลย แสดงว่าประเทศนั้นไม่ค่อยมีคนใช้จักรยานสิ ก็เป็นคำพูดตลกๆ แบบประชด แต่มันเป็นเครื่องวัดได้

ส่วนเรื่องที่เราควรจอดจักรยานแบบไหน ผมมองว่าถ้าคุณอยากจะใช้จักรยานในวิถีชีวิตจริงๆ
คุณก็อย่าไปใช้จักรยานในลักษณะที่จะถูกขโมยสิ จักรยานที่พับได้คันละหมื่นกว่าบาท
ผมก็ไม่เอาไปจอดในที่ที่จะถูกขโมย เราก็ใช้จักรยานที่มาใช้งานจริงๆ อย่างแม่บ้านในญี่ปุ่น
ที่เขาใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน เขาก็ใช้คันที่มันธรรมดา แต่ถามว่าคนที่ขี่จักรยานดีๆ
ในญี่ปุ่นมีไหม มันก็มี แต่มันคนละเรื่องกันนะ ถามว่าที่ญี่ปุ่นจักรยานหายไหม ก็หายเยอะนะ
แต่ถ้าเทียบแล้วก็ยังน้อยกว่าเนเธอร์แลนด์

คนบางคนจอดจักรยานกับที่จอดที่เป็นรางเหล็กแล้วมีช่องให้เข็นจักรยานเข้าไปจอด
แล้วล็อคล้อกับรางนั้น ที่อยู่ตามใต้สะพานลอย แล้วจักรยานของเขาหาย จริงๆ แล้ว
ที่จอดแบบนั้น ถือว่าเป็นที่จอดจักรยานที่ได้มาตรฐานไหม


มันไม่เกี่ยวกันนะ ที่จอดที่ดีกับจักรยานจะไม่หาย ต่อให้คุณสร้างที่จอดดีแค่ไหน มันก็หายได้
เขาก็ตัดโซ่ที่ล็อคได้ เวลาจอดจักรยาน ผมจะไม่ไปจอดในมุมมืด ไม่จอดในที่ลับตาคนนะ
บ้านผมเองจะอยู่ในซอย ออกไปปากซอยก็จะมีสามแยก ผมก็จะขี่จักรยานจากบ้านผมออกไปที่สามแยกนี้
ผมก็จะจอดตรงนั้นเลย จอดตรงสามแยก จอดให้คนเขาเห็นว่าเราจอดอยู่ตรงนี้ ถ้าเราจอดจักรยานในที่ที่คน
สามารถเห็นได้ โอกาสจะหายมันก็น้อยลงไป
รูปประจำตัวสมาชิก
veenono
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 15873
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 พ.ย. 2008, 21:12
Tel: 089 776-9110
team: ฝ่ายข่าวชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย TCC.
Bike: รถถีบไทยใช้ใจขับเคลื่อน ใต้แสงเดือนและตะวัน http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 6#p3343446
ตำแหน่ง: 4/35ม.6ถ.เลียบคลองภาษีเจริญฝั่งใต้ แขวง/เขต หนองแขม กรุงเทพฯ10160

Re: ทอล์คออฟเดอะทาวน์...เอามาแบ่งกันอ่านครับ

โพสต์ โดย veenono »

ที่ผ่านมา อาจารย์เคยจักรหายบ้างไหมครับ

(นิ่งนึกนาน) ยังเลย

ก็ใช้วิธีการจอดให้อยู่ในที่ที่คนทั่วไปเห็นได้ง่ายๆ

ก็จอดแบบจงใจให้คนมาเห็นจักรยานของเราเลย

มีไปฝากจักรยานกับป้าที่ขายของอยู่ข้างทางบ้างไหม

มีๆ ตอนนั้นไปอนุสาวรีย์ชัย ตอนนั้นคนพลุกพล่านเหลือเกิน ผมก็ไปจอดตรงคิวรถตู้
แล้วไปบอกป้าที่นั่งอยู่ตรงนั้นว่า “ผมจอดอยู่ตรงนี้นะ” ตอนนั้นผมกำลังล็อคจักรยานอยู่
ป้าเขาก็บอกว่า “จอดเลย ไม่ต้องล็อคก็ได้ เดี๋ยวดูให้” เราก็ขอความสบายใจเราดีกว่า
สุดท้ายวันนั้นก็เลยล็อคไป (หัวเราะ) และที่ที่คนพลุกพล่านกับที่ที่โจ่งแจ้งและมีคนเห็น
มันไม่เหมือนกัน ผมจอดที่สามแยก คนไม่พลุกพล่าน แต่คนผ่านไปผ่านมา เขาเห็นตลอดนะ
มีคนมาตัดโซ่ของเรา คนแถวนั้นเขาก็เห็นนะ

ในปัจจุบัน การสร้างทางจักรยานมักจะไปอยู่บนถนนเส้นสำคัญๆ ทางที่คนเห็นได้ง่ายๆ
ซึ่งเอื้อต่อผลประโยชน์ทางการเมือง ส่วนบนเส้นทางจักรยานเอง กลับมีฝาท่อระบายน้ำที่มีรูยาวขนาน
ไปกับทิศทางวิ่งของจักรยาน เหมือนที่อาจารย์เคยเรียกว่า “กับดักจักรยาน” อาจารย์เคยบอกว่า
เหตุผลของเรื่องเหล่านี้ คือคนที่สร้างยังไม่เข้าใจหัวใจของการขี่จักรยานดีพอ อยากจะถามว่า
จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องความไม่เข้าใจหรือความไม่ใส่ใจของผู้มีอำนาจหน้าที่


เมื่อถึงขั้นตอนการออกแบบทาง มันไม่ใช่หน้าที่ของคนมีอำนาจแล้ว มันเป็นส่วนของวิศวกรที่ออกแบบ
แต่เขาไม่รู้ว่าฝาท่อระบายน้ำสำหรับจักรยานต้องเป็นแบบไหน ตอนที่ผมไปประชุมจักรยานโลก
เนเธอร์แลนด์ยังบอกเลยว่าหน่วยงานที่ออกแบบทางจักรยาน ยังออกแบบทางจักรยานไม่เป็น
พอมาพูดถึงประเทศเราก็ยิ่งห่างเลยนะ เพราะเรายังไม่รู้ว่าความต้องการจริงๆ ของเรานั้นคืออะไร
ซึ่งระหว่างไทยกับเนเธอร์แลนด์ก็คงเป็นอีกส่วน คือความคาดหวังของทั้งสองที่ไม่เท่ากัน
ทางจักรยานของเขาค่อนข้างดีแล้ว เขาก็คิดในแง่ที่ดีๆ ขึ้นไปอีก

ส่วนที่บอกว่าเขาไม่เข้าใจหรือไม่ใส่ใจ ผมมองว่าในแง่ของคนออกแบบ คงไม่มีใครอยากจะออกแบบมาผิดๆ
โดยตั้งใจ เพราะทางจักรยานก็จะปรากฏชื่อของคนที่ออกแบบ จึงคงเป็นว่าเขายังไม่เข้าใจหัวใจของ
การขี่จักรยานได้เพียงพอมากกว่า

ในทางปฏิบัติจริง เราจะสามารถทำให้ทั้งคนขี่จักรยาน มอเตอร์ไซต์ ขับรถยนต์ ใช้พื้นที่สาธารณะ
ร่วมกันอย่างมีความสุขได้อย่างไร


อย่างแรกนะ สิ่งที่คุณกำลังพูด มันเป็นเฉพาะในกรุงเทพฯ ในเชียงใหม่ และเมืองใหญ่ๆ ถ้าที่อื่นปัญหานี้คงไม่มีหรอก
ฉะนั้น อย่าพยายามไปตั้งว่าเป็นปัญหาของประเทศไทย

ปัญหานี้เป็นเรื่องของสิทธิในการใช้พื้นที่ ถ้าคุณไปขี่จักรยานอยู่บนถนน มอเตอร์ไซค์ก็ใหญ่กว่า
รถยนต์ก็ใหญ่กว่า สิ่งสำคัญของเรื่องนี้คือ คุณต้องรู้ว่าคุณเล็กกว่า คุณจำเป็นต้องดูแลตัวเองมากเป็นพิเศษ
หรือถ้าคุณไปขี่จักรยานบนทางเท้า คุณก็ต้องตระหนักว่าสิทธิของคุณจะน้อยกว่าคนเดินเท้า
แต่ถ้าเราอยู่บนทางเท้า ไม่มีคนเดิน มีมอเตอร์ไซต์มา เขาก็ต้องหลบเรานะ แม้อันนี้ไม่ใช่แค่เรื่องกฏหมายเท่านั้น
แต่มันเป็นเรื่องของสามัญสำนึกว่าบนทางเท้า จักรยานจะมีสิทธิมากกว่ามอเตอร์ไซค์นะ

การรณรงค์ให้คนมีชื่อเสียงมาขี่จักรยานในวันสำคัญทางสิ่งแวดล้อมต่างๆ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกๆ ปี
และไม่ใช่เรื่องใหม่ของสังคมไทย คนทั่วไปก็รู้กันทุกคนว่า จักรยานเป็นพาหนะที่มีประโยชน์ในหลายๆ ด้าน
ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใดเช่นกัน อยากทราบว่าในมุมมองของอาจารย์ สิ่งที่ยังขาดไปในการรณรงค์ที่ผ่านมาคืออะไรครับ


ผมถามว่าสูบบุหรี่ไม่ดี คนทั่วไปรู้ไหม เขาก็รู้กัน แต่หลายคนก็ยังสูบอยู่ กินเหล้าไม่ดี ไม่มีประโยชน์
แต่คนบางคนก็ยังกินอยู่ มันคือเรื่องเดียวกัน คนที่รู้และตระหนักและเข้าใจจนถึงขั้นเปลี่ยนพฤติกรรม
เป็นแค่คนส่วนหนึ่งของสังคมนะ มันเป็นทุกเรื่อง ดังนั้น ถ้าเราจะให้คนทั้งสังคมมาเปลี่ยนพฤติกรรมใน
ทันทีทันใดคงจะลำบาก คงต้องค่อยๆ แก้ไป
รูปประจำตัวสมาชิก
veenono
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 15873
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 พ.ย. 2008, 21:12
Tel: 089 776-9110
team: ฝ่ายข่าวชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย TCC.
Bike: รถถีบไทยใช้ใจขับเคลื่อน ใต้แสงเดือนและตะวัน http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 6#p3343446
ตำแหน่ง: 4/35ม.6ถ.เลียบคลองภาษีเจริญฝั่งใต้ แขวง/เขต หนองแขม กรุงเทพฯ10160

Re: ทอล์คออฟเดอะทาวน์...เอามาแบ่งกันอ่านครับ

โพสต์ โดย veenono »

20 กว่าปีที่อาจารย์ร่วมรณรงค์มา เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไหมครับ

เห็นแน่ๆ จากอดีตที่ไม่มีที่จอดจักรยาน ปัจจุบันมีที่จอดจักรยาน และยังมีคนนำมาจอดมากขึ้น
จอดจนล้นออกไปข้างนอก ส่วนบางที่ที่จอดจักรยานไม่มีคนจอดเลย เป็นเพราะเขาวางที่จอดไว้ผิดที่
ไม่ได้มองว่าตรงนั้นมีคนใช้หรือเปล่า ยอดขายจักรยาน ผมก็ว่ามันเพิ่มมากขึ้นหลายเท่า
เห็นได้จากร้านจักรยานในปัจจุบันที่ห้อยจักรยานเต็มร้านมากมาย จากในอดีตมีอยู่แค่ไม่กี่คัน
ถ้าเราเอาเรื่องตรงนี้เป็นตัววัด เท่ากับว่าปัจจุบันมีคนใช้จักรยานมากขึ้นแน่ๆ

ในอดีตที่คนมักมองว่าจักรยานเป็นพาหนะของคนจน อยากจะทราบว่าความเชื่อนี้
ในปัจจุบันยังหลงเหลืออยู่ไหม ผมสามารถขี่จักรยานแม่บ้านทั่วไป แล้วมีสาวๆ กรี๊ดได้ไหม


ผมว่าคงจะยากนะ เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ตอนผมเอาจักรยานเสือภูเขามาใหม่ๆ คนที่เห็นก็จะ อื้อหือ !
กันเลย ผมเอาจักรยานขึ้นหลังคารถ คนก็จะเหลียวมองกัน ต่อมาผมเปลี่ยนเป็นจักรยานที่พับได้
พับเสร็จแล้วเหลือขนาดนิดเดียว ตอนนั้นขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอสคนหันเหลียวมองกันทั้งนั้นเลยนะ
แต่พอเราไปมองจักรยานที่คนใช้จากบ้านไปปากซอยทั่วๆ ไป มันก็ยังเหมือนเดิม ผมอยากจะบอกว่า
คนขี่จักรยานไปปากซอย ไม่ต้องเท่ก็ได้นะ แต่เราก็อาจจะแค่เอาความเท่ไปสร้างกระแสให้เห็นถึงความสำคัญ
เห็นถึงประโยชน์ และเลิกมองว่าจักรยานเป็นพาหนะของคนจน เพราะในความเป็นจริงมันไม่ใช่เลย

ถ้าวันหนึ่ง อาจารย์ตื่นขึ้นมาแล้วมีโอกาสได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีเวลาให้ไม่จำกัด
เพื่อมาสร้างสรรค์ประเทศเกี่ยวกับจักรยาน อาจารย์จะทำอะไรบ้าง


อย่างแรกเลย ผมจะเอาเรื่องจักรยานเข้าไปใน ครม.ให้ประกาศเป็นนโยบายของรัฐบาล และผลักดันไป
สู่ระดับรัฐสภาว่าให้เป็นนโยบายของชาติ เพื่อการออกแบบถนนของประเทศ ทั้งบนถนนหลวง ถนนในซอย
และถนนทุกๆ เส้นจะต้องผนวกความคิดของการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์เข้าไปด้วย ไม่ใช่เฉพาะจักรยานนะ
ทั้งการเดิน สเก็ตบอร์ด พาหนะล้อเลื่อนต่างๆ การออกแบบผังเมืองต้องคิดในเรื่องนี้ การออกแบบสถานที่ใหญ่ๆ
ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า สถานีรถไฟ สถานีขนส่ง โรงเรียน ฯลฯ ต้องเอาความคิดนี้ใส่เข้าไปด้วย
พอความคิดนี้ถูกตั้งต้นไว้แล้ว วิศวกรที่สร้างก็ต้องถูกบังคับให้คิดในแนวทางแบบนี้

มันคือการคิดถึงคนส่วนมากในสังคม

ใช่ อย่างที่บอกไว้ว่าทุกอย่างมันจะตามมา สุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาพเมือง จะตามมาทั้งหมดเลย
พูดคุยทักทาย-แนะนำทาง facebookและอีกหลายๆกิจกรรมจาก veenono คลิ๊กเลย
ทริป" รักนี้ให้เธอ Tour of Myanmar Meakhong Challenge2013"
จงทำกรรมดี ละเว้นกรรมชั่ว เป็นผู้ให้จะได้ ลดความเห็นแก่ตัว
จักรยานก็เหมือนเม็ดข้าวเม็ดถั่วเม็ดงา ใครปลูกใครหว่านก็ดีมีประโยชน์ต่อสัตว์โลกทั้งนั้นทำไปเถอะ
รูปประจำตัวสมาชิก
veenono
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 15873
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 พ.ย. 2008, 21:12
Tel: 089 776-9110
team: ฝ่ายข่าวชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย TCC.
Bike: รถถีบไทยใช้ใจขับเคลื่อน ใต้แสงเดือนและตะวัน http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 6#p3343446
ตำแหน่ง: 4/35ม.6ถ.เลียบคลองภาษีเจริญฝั่งใต้ แขวง/เขต หนองแขม กรุงเทพฯ10160

Re: ทอล์คออฟเดอะทาวน์...เอามาแบ่งกันอ่านครับ

โพสต์ โดย veenono »

เริ่มต้นจากตรงนี้ เพียงพอแล้วหรือยังครับ

มันเป็นเหมือนการตั้งทิศ พอคุณรู้แล้วว่าทิศทางที่ไปคือทางไหน เราก็ไปตามทางนั้นสิ ถ้าเริ่มต้นอย่างนี้แล้ว
การออกแบบโครงสร้างต่างๆ งบประมาณ การเก็บภาษี มันจะตามมาหมด เราเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมได้
เก็บภาษีอากาศได้ ถ้าลองคิดไปไกลๆ เลย ทุกวันนี้เราขับรถ เราโดนเก็บภาษีน้ำมัน แต่ถ้าเรามาเก็บเป็นภาษีอากาศ
คนก็จะขับรถน้อยลง ถนนใหญ่ๆ ก็ไม่มีสร้างมากอย่างในทุกวันนี้ เขาก็หันมาปลูกต้นไม้ สร้างสภาพแวดล้อม
ที่เอื้อต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาพเมือง

มีคำแนะนำสำหรับคนที่ขี่จักรยานเป็นบ้างแล้ว แต่ยังกล้าๆ กลัวๆ และลังเลที่จะเริ่มต้นอย่างจริงจังไหมครับ

ถามคนเหล่านั้นว่าถ้าคุณขับรถยนต์ระยะทางสัก 1 กิโลเมตร ออกจากบ้านไปปากซอย
พอเราไปถึงปากซอยที่เป็นตลาด คุณจะมีที่จอดเสมอไปไหม ตลาดหลายที่ไม่มีที่จอดนะ
และคนส่วนใหญ่ก็ยังเลือกที่จะใช้มอเตอร์ไซต์มากกว่าจักรยาน เพราะเขาคิดว่ามันเป็นความสะดวกของเขา
อันนี้เป็นปัญหา ต้องถามเขาว่าเขาต้องการสังคมที่ดีหรือเปล่า

แม้ปัจจุบันในประเทศไทยจะมีแนวโน้มเรื่องจักรยานในทิศทางที่ดีขึ้น แต่สำหรับผมก็ยังเป็น
“ดีขึ้นกว่าที่คาด แต่ยังไม่ดีเท่าที่หวัง” ในยุโรปทิศทางของเขาพัฒนาไปทางนี้แล้ว วิธีคิดของเขาจะแตกต่างกับเรา
ยกตัวอย่างจากการออกกำลังกาย ลองไปถามคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายว่าทำไมเขาถึงไม่ออก
ก็จะตอบกันว่า ไม่มีที่ ไม่มีเวลา ไม่มีเพื่อน ไม่มีอะไรเลย ปัญหาเยอะแยะมากมาย แต่ผมบอกได้เลยว่า
คุณไม่มีแค่อย่างเดียว คือ ไม่มีใจ ตัวผมมีใจที่จะออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเมืองไหน ที่ไหน
ผมก็หาที่วิ่งของผมได้เสมอ คนที่ยังไม่ขี่คือเขายังไม่มีใจ เขายังไม่คลิ๊ก แค่เขาคลิ๊กก็จบ
แต่บางคนคลิ๊กเองไม่ได้ มันต้องมีตัวนำ มีดารามานำ แต่ปัจจุบันดาราก็ค่อนข้างนำไปในทิศทางที่ไม่เข้าท่าเท่าไร
ดารานำไปในการใช้ชีวิตแบบบริโภคนิยมมากกว่า

แล้วถ้ามีคนที่อยากจะเริ่มขี่จักรยาน แต่เขายังขี่ไม่เป็นเลยล่ะครับ

ถ้าพูดถึงคนขี่ไม่เป็นเลย มีผู้หญิงอยู่คนหนึ่ง อายุ 39 ปี เขามาที่ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย
เขาเห็นว่ามันมีประโยชน์ดี แล้วสนใจที่จะเริ่มต้นตั้งแต่ขี่ไม่ได้เลย ขี่ไปล้มไป แต่เขาเลือกที่จะขี่จักรยานจากกรุงเทพฯ
ไปอยุธยากับพวกผม ก็ขี่ไปล้มไปเนี่ยแหละ เขาเริ่มต้นตอนอายุ 39 ปี แล้วหลังจากนั้นปีนึง
เขาก็สามารถขี่จากนราธิวาสมากรุงเทพฯ ได้แล้ว ภายในปีเดียวเองนะ ทั้งๆ ที่เขาเพิ่งมาคลิ๊กตอนอายุ 39 ปี
แต่ก็ไม่ใช่ว่าคนทุกคนจะทำแบบนี้ได้ เพียงแต่ผมอยากจะบอกว่า ถ้าคุณมีใจที่จะเริ่มต้น คุณคลิ๊กกับการขี่จักรยาน
มันก็ไม่สายเลยที่จะเริ่มต้นในวันนี้
พูดคุยทักทาย-แนะนำทาง facebookและอีกหลายๆกิจกรรมจาก veenono คลิ๊กเลย
ทริป" รักนี้ให้เธอ Tour of Myanmar Meakhong Challenge2013"
จงทำกรรมดี ละเว้นกรรมชั่ว เป็นผู้ให้จะได้ ลดความเห็นแก่ตัว
จักรยานก็เหมือนเม็ดข้าวเม็ดถั่วเม็ดงา ใครปลูกใครหว่านก็ดีมีประโยชน์ต่อสัตว์โลกทั้งนั้นทำไปเถอะ
รูปประจำตัวสมาชิก
paravatee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1220
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2011, 16:36
Tel: OTU OFT PSKR
team: cool70

Re: ทอล์คออฟเดอะทาวน์...เอามาแบ่งกันอ่านครับ

โพสต์ โดย paravatee »

ขอบคุณพี่วี กับอาจารโก๋ มาก ๆ เลยค่ะ มีความรู้และสาระมากมายจากบทความของทั้งสองท่าน เด่วจะเข้ามากอบโกยความรู้ให้เรียบเลยคอยดู อิอิ ขอบคุณทั้งสองท่านอีกครั้งค่ะ :P :P :P
ตอบกลับ

กลับไปยัง “ThaiNCC”