กระดาน ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ แจ้งข่าว..ข่าวซุบซิบ..Smart News

ผู้ดูแล: admin smartbikes

กฏการใช้บอร์ด
กลุ่ม สมาร์ทไบค์
ที่อยู่ 801/224-225 ม.8 ต. คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี
Tel :0817021519 , 025237229
รูปประจำตัวสมาชิก
admin smartbikes
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2531
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 08:38
team: Smartbikes Team Since 2009
Bike: Roadbikes Cannondale Mtb Merida
ตำแหน่ง: Bangkok : Thailand
ติดต่อ:

Re: กระดาน ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ แจ้งข่าว..ข่าวซุบซิบ..Smart News

โพสต์ โดย admin smartbikes »

ข่าวจาก พี่ ถาวร คุคต ฝากข่าวมาแจ้งกันครับ พอดีวันนี้เจอพี่ที่ร้าน..........
ไฟล์แนบ
news09042552.jpg
news09042552.jpg (41.65 KiB) เข้าดูแล้ว 2188 ครั้ง
news09042552-b.jpg
news09042552-b.jpg (35.35 KiB) เข้าดูแล้ว 2186 ครั้ง
18 November 2012 first bangkok marathon 42 km. with friend.

2013 GO TO หัวหิน ไตรกีฬา . 2013-2555. SMARTBIKES TEAM SINCE 2008

twitter http://twitter.com/@smartbikes
http://www.facebook.com/smartbikes SMARTBIKES FAN PAGE
http://www.smartbikes.biz
รูปประจำตัวสมาชิก
NooM__18cc
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 357
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 21:27
Tel: 02 525 0981
team: Smart Bike
Bike: honda PCX125
ตำแหน่ง: นรก

Re: กระดาน ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ แจ้งข่าว..ข่าวซุบซิบ..Smart News

โพสต์ โดย NooM__18cc »

แข่งทั้งจักรยานแล้วมอไซร์ หรอครับ เผื่อเเวะไปดู


:ugeek: :ugeek:
*** จักรยาน 20% แรง 80% *** แปลว่าถ้าอยากแรง อยากเร็ว ต้องซ้อมในเป็น ***

ผู้ที่ชอบตกชิงหลิว. . http://tv.shimano.co.jp/movie/others/first_step_01/ . .เชิญรับชมครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
admin smartbikes
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2531
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 08:38
team: Smartbikes Team Since 2009
Bike: Roadbikes Cannondale Mtb Merida
ตำแหน่ง: Bangkok : Thailand
ติดต่อ:

Re: กระดาน ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ แจ้งข่าว..ข่าวซุบซิบ..Smart News

โพสต์ โดย admin smartbikes »

http://www.lagunaphukettriathlon.com
วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 สนามเดิม

viewtopic.php?f=54&t=51609
viewtopic.php?f=57&t=56739
ไฟล์แนบ
lagunaphukettriathlon
lagunaphukettriathlon
phuket.jpg (121.34 KiB) เข้าดูแล้ว 1333 ครั้ง
18 November 2012 first bangkok marathon 42 km. with friend.

2013 GO TO หัวหิน ไตรกีฬา . 2013-2555. SMARTBIKES TEAM SINCE 2008

twitter http://twitter.com/@smartbikes
http://www.facebook.com/smartbikes SMARTBIKES FAN PAGE
http://www.smartbikes.biz
รูปประจำตัวสมาชิก
admin smartbikes
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2531
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 08:38
team: Smartbikes Team Since 2009
Bike: Roadbikes Cannondale Mtb Merida
ตำแหน่ง: Bangkok : Thailand
ติดต่อ:

Re: กระดาน ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ แจ้งข่าว..ข่าวซุบซิบ..Smart News

โพสต์ โดย admin smartbikes »

จารุกัญญา TCC เขียน:รูปภาพ
รูปภาพ
ก่อนเดินทางไปคาราวะอาจารย์ปรีชา พิมพ์พันธุ์ ลองอ่านประวัติของการเดินทางด้วยจักรยานไปเรียนที่อเมริกาของท่านก่อนนะคะ เผื่อจะได้เก็บข้อสงสัยไปถามไถ่ท่านอาจารย์

บทความจาก MBT .... ปรีชา พิมพ์พันธ์ "ปั่นหมื่นไมล์ไปเรียนหนังสือ
บก.เศกสรรค์ MBT ... ส่งมาให้อ่านแฟนๆ ThaiMTB ได้อ่านก่อน เป็นบทสัมภารณ์ที่จะลงในฉบับหน้า รายละเอียดเพิ่มเติม พร้อมรูป คอยดูในเล่มที่วางแผงครับ...

ปรีชา พิมพ์พันธ์
ปั่นหมื่นไมล์ไปเรียนหนังสือ


15 กุมภาพันธ์ 2504 คน ชายหนุ่มวัย 25 ปี เริ่มต้นการเดินทางครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของตัวเองโดยใช้จักรยานนเป็นพาหนะ จากกรุงเทพมหานคร มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกโดยมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ รัฐอลาบามา ประเทศสหรัฐอเมริกา

ปรีชา พิมพ์พันธ์ คือชื่อของชายหนุ่มผู้หลงใหลเสน่ห์ของการเดินทางด้วยสองล้อคนดังกล่าว ก่อนหน้าที่จะตัดสินใจเดินทางไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยอลาบามา ในสหรัฐอเมริกาด้วยการปั่นจักรยานออกจากประเทสไทยนั้น เขาและเพื่อนๆ มักจะชวนกันปั่นจักรยานไปเที่ยวเป็นระยะทางไกลๆ ไม่ว่าจะแถบกรุงเทพมหานคร ชลบุรี หรือเชียงใหม่ สุไหงโกลง ฯลฯ หรือแม้กระทั่งการซ้อมใหญ่ก่อนการเดินทางนับหมื่นไมล์โดยใช้เส้นทาง อรัญประเทศ เขมร เวียดนาม ลาว และกลับสู่กรุงเทพฯ
และถึงแม้ว่าการเดินทางทางหลังวันวาเลนไทน์เพียงหนึ่งวันจะต้องจบสิ้นลงที่แม่สอด เพราะเนื่องจากเป็นช่วงเวลาเดียวกับมีพม่าเข้ามาเผาตลาดแม่สอด ชายแดนระหว่างไทยกับพม่าจึงปิดลง ปรีชา พิมพ์พันธ์ ตัดสินใจปั่นกลับกรุงเทพฯ อีกครั้งเพื่อจับเครื่องบินมุ่งสู่กัลกัลตา เมืองใหญ่ทางตะวันตกของอินเดีย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทาง “แผนสอง” เมื่อไม่สามารถผ่านพรมแดนเข้าพม่าได้
อีก 6 เดือนต่อมา หนุ่มน้อยจากเมืองสยามก็ปั่นจักรยานคู่ใจถึงมหาวิทยาลัยอลาบามา ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นจุดหมายของการเดินทางโดยใช้กำลังขาของตัวเอง
เราติดต่อขอสัมภาษณ์ อาจารย์ปรีชา พิมพ์พันธ์ ผู้จัดการโรงเรียนจิรศาสตร์วิทยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในขณะที่ท่านมีอายุได้ 67 ปี เพื่อย้อนเล่าถึงเรื่องราวการเดินทางรอบโลกด้วยจักรยานซึ่งเป็นเรื่องราวที่ขึ้นก่อนที่ผู้สัมภาษณ์จะคลอดเป็นทารกกว่า 8 ปี
ถึงแม้ว่าการเดินทางดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อ 41 ปีแล้ว แต่อาจารย์ปรีชา พิมพ์พันธ์ สามารถเล่าเรื่องราวและเรียบเรียงการเดินทางได้อย่างครบถ้วนราวกับเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น
“เอ็มบีที” หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทสัมภาษณ์นี้ คงเป็นประโยชน์และเป็นกำลังใจกับ “นักปั่น” ชาวไทยที่กำลังวางแผน หรืออยู่ระหว่างเดินทางรอบโลก อยู่ในขณะนี้ และเป็นการกระตุ้นเตือนให้นักปั่นเยาวชนรุ่นใหม่ ได้ร่วมภาคภูมิใจ ได้ระลึกว่าครั้งหนึ่งเคยมีคนไทยตัวเล็กๆ ปั่นจักรยานรอบโลกด้วยสองขาสำเร็จมาแล้ว

ปรีชา พิมพ์พันธ์
ปั่นจักรยานไปเรียนไกลที่สุดในโลก
ปฐมบทการเดินทาง


กระเหรี่ยงเผาตลาดแม่สอด ข้ามไปพม่าไม่ได้
พอเรื่องเกี่ยวกับหนังสือเดินทางและ วีซ่าเรียบร้อยผมก็เริ่มเดินทางตามแผนที่วางไว้ คือเริ่มออกจากบ้านพักที่มศว. ประสานมิตร ซึ่งตอนนั้นเป็นอาจารย์อยู่ที่ประถมสาธิตประสานมิตร ตี 4 ก็ออกจากกรุงเทพฯ ไปลพบุรี นครสวรรค์ ไปออกแม่สอดเพื่อเข้าประเทศพม่า คืนแรกนอนลพบุรี ถึงลพบุรี
รุ่งขึ้นก็เดินทางต่อไปเรื่อยๆ ใช้เวลาประมาณ 7 วันจึงถึงแม่สอด พอถึงแม่สอดก็ต้องพักหนึ่งคืน เพื่อรุ่งขึ้นจะได้เตรียมข้ามแม่น้ำเมย แต่โชคไม่ดีเพราะพรมแดนปิดเนื่องจากกระเหรี่ยงเข้ามาเผาตลาดแม่สอด ก็เลยออกไม่ได้ทั้งๆที่มีวีซ่าแล้ว ผมตัดสินใจกลับกรุงเทพ เพื่อจะเดินทางไปทางอินเดียโดยทางเครื่องบิน เพราะหากไปทางเรือก็ต้องปั่นไปสิงคโปร์ซึ่งรวมทั้งเวลาปั่นและเวลาลงเรือแล้วต้องใช้เวลาเป็นเดือนซึ่งจะไม่ทันเวลาเปิดเทอมในเดือนกันยายน
ขี่เรือบินไปตั้งต้นที่กัลกัลตา
เมื่อเขาพม่าไม่ได้ก็เลยอาศัยการบินไทยโดยขึ้นที่ดอนเมือง ไปลงกัลกัลตา ซึ่งเป็นอินเดียฝั่งตะวันออก สรุปก็คือบินข้ามพม่าไปประเทศเดียว ใช้เวลาบินประมาณ 4 ชม. หากเป็นเรือก็ต้อง 2-3 เดือน การพักแรมที่กัลกัลตาก็อาศัยสถานทูตหรือพักกับเจ้าหน้าที่กงศุล นอนที่ห้องรับแขกบ้าง

วันที่ 1 มีนาคม ออกจากกัลกัลตา ซึ่งเป็นเมืองตะวันออกสุดโดยใช้ถนนใหญ่ปั่นตัดผ่านประเทศอินเดียมุ่งหน้าไปยังนิวเดลลี เมืองแรกที่ผ่านก็คือ พุทธคยา ซึ่งเป็นเมืองของพุทธศาสนา ก็ใช้เวลาประมาณ 3 วัน โชคดีที่มีวัดไทยอยู่ที่นั่น หลวงพ่อเจ้าอาวาสก็ดีใจให้พักอยู่ที่วัด พักอยู่ 2 วัน
จากพุทธคยาอีก 3 ถึงเมืองพาราณสี ซึ่งมีแม่น้ำคงคาซึ่งเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ มีขอทานเยอะ ก็ได้ดูได้เห็นหลายสิ่งหลายอย่าง ขี่รถผ่านไปเรื่อยๆ แวะนอนริมทางไปเรื่อยๆ อยู่ 8 วันก็ถึงนิวเดลลี จุดหมายแรกที่เมืองหลวงของอินเดียคือสถานทูตไทย พักกับนักเรียนไทยที่สถานทูต อยู่ที่นี่ 2-3 วันก็ออกเดินทางไปยังปากีสถาน
ผ่านเขตแดนระหว่างปากีสถานทางเมืองอมริสสา ก่อนที่จะเข้าไปยังเมืองลาฮอซึ่งเมืองสำคัญของปากีสถาน ช่วงนี้ไม่มีคนไทยแล้ว ก็เลยต้องพึ่งพาตัวเองตลอด ผ่านเมืองบูลตัน ลงมาทางใต้
ลุยทะเลทรายชายแดนปากีฯ –อัฟกานิสถานสู่อิหร่าน
จากปากีสถานก็ปั่นเลาะทะเลทรายแถวๆ เมืองเควตตาซึ่งเป็นชายแดนติดต่อระหว่าง อัฟกานิสถาน ปากีสถาน และอิหร่าน เข้าเขตตะวันออกสุดของอิหร่าน ช่วงนี้ปั่นผ่านทะเลทรายตลอด จากเขตชายแดนอิหร่านจนถึงเมืองเตหะรานก็ใช้เวลาประมาณสิบกว่าวัน วันไหนที่เข้าเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ๆ จราจรจะคับคั่ง กางเต้นท์นอนก็ไม่ได้ เลยต้องนอนโรงแรมเล็ก ๆ ไม่แพง คิดเป็นเงินไทยก็ 4-50 บาท
เข้าสู่ประตูยุโรป
จากเตหะรานก็ปั่นมุ่งหน้าไปยังภาคตะวันออกสุดของตุรกี ภูมิประเทศก็เต็มไปด้วยภูเขาและหิมะน้ำแข็ง ไม่มีต้นไม้ คล้ายๆ กับกึ่งทะเลทรายกึ่งภูเขา จากนั้นก็เข้าสู่เมืองหลวงของตุรกีก็พักอยู่สองวัน ออกเดินทางต่อถึง0เมืองอิสตันบูล ซึ่งเป็นเมืองชายแดนระหว่างเขตเอเชียและอยุโรป พ้นอิสตันบูลก็เข้าสู่ประเทศกรีก แต่ไม่ไปเมืองหลวง ขี่เลาะริมทะเลไปทางอิตาลี ช่วงนั้นเข้าอัลแบเนียไม่ได้เพราะเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ ก็เลยต้องข้ามเรือผ่านช่องแคบเล็กๆ ตอนใต้ของอิตาลี รู้สึกว่าจะใช้เวลา 8 ชม. ก็จะเข้าเมืองบรินดิสิ ขึ้นฝั่งได้ก็ปั่นต่ออีก 4-5 วันก็ถึงกรุงโรม
กรุงเทพฯ – โรม ใช้เวลา 66 วัน
ความสำเร็จขึ้นแรกก็มาถึงแล้ว คือเดินทางจากกรุงเทพฯ โรมสำเร็จ เพราะเป็นช่วงที่ทุรกันดารมากที่สุด เส้นทางที่เหลือก็สบายหมด ใช้เวลาจากรุงเทพจนถึงโรม 66 วัน ซึ่งเร็วกว่าที่คิดไว้เดิม (3-4เดือน)
ถึงสถานทูตไทยประมาณ 10 โมงเช้า ผมจำได้ว่าท่านทูตไม่อยู่ แต่ท่านอุปทูตก็ช่วยดูแลเรื่องที่พักอาศัย พร้อมกับมีผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์หลายฉบับ ไม่ว่าจะเป็นภาษาเยอรมัน ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี
ตะลุยยุโรป
ท่านทูตก็ให้นอนอยู่ชั้น 3 ก็พักเที่ยวในกรุงโรม 2 สัปดาห์ จากนั้นก็ขี่ต่อจากอิตาลีขึ้นทางเหนือผ่านเมืองปิซ่า เข้าสวิสเซอร์แลน ผ่านโลซาน เจนีวา พักเจนิวา 1 คืน ถึงเบิร์นซึ่งเป็นเมืองหลวงของสวิสเซอร์แลนด์ก็พักที่สถานทูตอีก จากนั้นก็ขี่ย้อนกลับเข้าไปเยอรมัน ไปกรุงบอนน์ซึ่งเป็นเมืองหลวงขณะนั้น ก็พักที่สถานทูตอีกเช่นกัน
จากกรุงบอนมุ่งหน้าสู่ปารีสใช้เวลาประมาณ 5 วัน พักกับท่านเอกอัคราชทูตอยู่ 7 วัน ปรากฏว่าเวลาที่ประมาณไว้ยังเหลือเฟือ ก็เลยตัดสินใจปั่นเที่ยวยุโรปต่อ เริ่มจากลักแซมเบิร์ก กลับเข้ามาเยอรมัน ขึ้นไปเดนมาร์ค (โคเปนเฮเกน 1 สัปดาห์) จากนั้นข้ามเรือไปสวีเดนเข้าเมืองโกเตนเบิร์ก ปั่นขึ้นเหนือไปเมืองออสโลว์ประเทศสวีเดน ช่วงนั้นเป็นหน้าร้อนไม่มีกลางคืนเพราะพระอาทิตย์ขึ้นตลอด 24 ชม. อยู่ที่ ออสโลว์ 1 สัปดาห์ ไม่มีถนนขึ้นเหนือ จึงล่องเรือกลับมาเดนมาร์ก ปั่นเข้าเนเธอแลนด์ เบลเยี่ยม จากเบลเยี่ยมก็ขี่ไปช่องแคบคาเลย์ เพื่อจะข้ามไปอังกฤษ
บีบีซีถ่ายสารคดี – ลงเรือข้ามแอทแลนติก
พอถึงอังกฤษก็พักสถานทูตที่กรุงลอนดอน กับท่าน มล. ปีกทิพย์ มาลากุล ซึ่งท่านให้การต้อนรับเป็นอย่างดี วิทยุบีบีซี ก็ถ่ายทำสารคดี ให้เราปั่นจักรยานไปตามท้องถนนกรุงลอนดอน พักอยู่ 1 เดือนเพราะเวลาเหลือมากมาย ทำวีซ่าเข้าอเมริกาเสร็จก็ปั่นไปเมืองเซาท์แธมตันเพื่อลงเรือข้ามมหาสมุทรแอทแลนติกไปขึ้นฝั่งที่แคนาดา ค่าโดยสารประมาณ 4800 บาท ใช้เวลา 7 วันก็ถึงเมืองมอนทรีออล
ขี้นฝั่งที่แคนาดาปั่นต่อไปอเมริกา
ถึงเมืองมอนทรีออลก็ขี่เข้ารัฐนิวยอร์ค เกาะแมนฮัทตัน ก็แวะไปพักที่บ้านท่านทูตไทยประจำสหประชาชาติที่แมนฮัทตัน อยู่ที่นิวยอร์ค 7 วัน ขี่รถข้ามมาวอชิงตันดีซี ที่นี่มีสำนักผู้ดูแลนักเรียนไทย ก็เลยพักที่นี่ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสถานทูตนัก
ถึงจุดหมายก่อนเปิดเทอมไม่กี่วัน
อยู่ได้ 7 วัน ก็ขี่ลงไต้ผ่านนิวเจอร์ซี่ นอร์ธแคโรไลนา แอทแลนตา (จอร์เจียร์) จากนั้นก็เข้ารัฐอลาบามา เมืองทัสคาลูซา ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทาง ก็ถึงในเดือนกันยายนพอดี ถึงก่อนโรงเรียนเปิดสัก 3-4 วัน ผมเรียนที่ยูนิเวอร์ซิตีออฟอลาบามา มีนักนักเรียนไทยคนที่ 2 ที่ไปเรียน เรียนวิชาแนะแนว เรียนสองเทอมก็จบ ความจริงลาไปเรียนปริญญาโท 2 ปี แต่เรียนเพียง 8 เดือนก็จบแล้ว ก็เลยหางานทำในชิคาโกบ้างในช่วงฤดูร้อน พอเปิดเทอมมาก็เรียนต่ออีกปริญญานึ่ง สูงกว่าปริญญาโทแต่ไม่ใช่ปริญญาเอก เรียนอีก 9 เดือน ก็จบเอกปฐมศึกษา ปีหลังทุนเอเชียฟาวเดชั่นให้ทุนเรียนฟรี ซึ่งเขารู้ว่าเราปั่นจักรยานมาเรียน
เรียนจบปั่นต่อไปทำงานที่แคลิฟอร์เนีย
พอปิดเทอมก็ขี่รถจากอลาบามาไปทางตะวันตก ผ่านหลุยเซียนา อาคันซอร์ เทกซัส นิวแมกซิโก จากนิวแมกซิโกก็าขี่ตามถนนสาย 66 ผ่านอริโซนา เนวาดา แคลิฟอร์เนีย และถึงจุดหมายที่ลอสแอนเจลิสซึ่งถือเป็นฝั่งตะวันตกสุดของอเมริกา จะกลับบ้านเราก็ต้องข้ามทะเล ผมส่งจักรยานกลับเมืองไทย ส่วนตัวเองบินไปอลาบามาอีก แต่บังเอิญได้งานที่แคลิฟอร์เนีย ก็ทำงานที่แคลิฟอร์เนียอีก 3 ปีเป็นครูสอนภาษาไทยให้มหาวิทยาลัยของทหาร เขาเรียกว่าโรงเรียนภาษาต่างประเทศที่เมืองมอนทาเร่ย์ เป็นเมืองสวยงามติดชายทะเล จากนั้นก็บินกลับประเทศไทย

12 คำถามกับ อาจารย์ปรีชา พิมพ์พันธ์
MBT: ระยะทางจากบ้านเราไปถึงยุโรปเมื่อเกือบ 40 ปีก่อน พอพ้นจากประเทศไทย สภาพเส้นทางและภูมิประเทศก็ยากลำบางจนถึงเขตยุโรป อาจารย์กลัวตรงนี้หรือเปล่า
อาจารย์ปรีชา: คืออย่างนี้ ไอ้ที่เราได้ท่องเที่ยวด้วยจักรยานมาทั่วประเทศ รวมทั้งเขมรและเวียดนามก็ไปมาแล้ว เราเห็นว่าไม่มีอะไรน่ากลัว เวลาที่มองดูในแผนที่หลายคนคิดว่าน่ากลัว แต่ไปเข้าจริงๆ แล้วตลอดเส้นทางก็เป็นหมู่บ้าน เป็นบ้านคนตลอดไม่ได้อยู่ในป่า มีน่ากลัวบ้างก็ช่วงทะเลทราย แต่ก็เป็นระยะทางแค่ 3-4 วันก็ทะลุออกหมู่บ้านหรือเมืองแล้ว ไม่มีปัญหาอะไร เพราะรถเราก็ปะยางหรือซ่อมแซมของเราได้ เตรียมน้ำ-อาหารเป็นเสบียงให้เรียบร้อย ก็ต้องมีการวางแผนมาตลอด
MBT: ก่อนหน้านั้นอาจารย์เป็นนักกีฬาหรือไม่
อาจารย์ปรีชา: ก็เล่นรักบี้ ฟุตบอล แต่ก็ไม่ได้เก่งกาจอะไรมาก ช่วงนั้นเรียนอยู่ที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร
MBT: ช่วงที่คิดว่าแย่ที่สุดของการเดินทางคือช่วงใด
อาจารย์ปรีชา: ก็คงเป็นช่วงทะเลทรายที่ออกจากปากีสถาน เข้าอิหร่าน ไปตุรกี เพราะเป็นทะเลทรายและภูเขาเสียส่วนใหญ่
MBT: ความแตกต่างของชนชาติต่างๆ ที่อาจารย์ปั่นจักรยานผ่านเป็นอย่างไรบ้าง
ตอบ: ในแถบเอเชียปกติแล้วชาวบ้านส่วนใหญ่ก็จะยากจน เลี้ยงแกะเลี้ยงอะไรไป แต่ในอินเดียก็ยังมีพื้นที่สำหรับเกษตรกรรม ก็ทำไร่ทำนาไป พอเข้าทะเลทรายแล้วก็ไม่มีอะไร มีแต่เลี้ยงสัตว์ พวกนี้เค้าเป็นชาวบ้านนิสัยใจคอดี เราไปก็ช่วยเหลือ ต้องการน้ำก็หามาให้ ไม่มีอะไรที่จะทำร้ายเรา อาจเป็นเพราะว่าเราไม่มีอะไรที่ราคาแพง ไม่มีกล้องแพง ๆ มีแต่จักรยานก็ไม่ได้ดีนัก สัมภาระก็ไม่มีอะไร ก็ดี แต่เราอย่างไปหวังพึ่งชาวบ้านหรือน้ำบ่อหน้า การนอนนี่ไม่ต้องไปพูดถึงเลย เวลานอนก็กางเต้นท์นอนของเราเอง เพราะคิดว่านอนในบ้านเค้าที่อาจมีอันตราย ก็ใช้วิธีหลบนอนตามพุ่มไม้ ป่าไม้ต่างๆ เช้าก็ปั่นเข้าหมู่บ้านซื้อเตรียมเสบียงสำหรับการเดินทางต่อไป
MBT: ปัญหาเรื่องความเจ็บป่วยมีบ้างไหม
อาจารย์ปรีชา: ไม่มี เพราะการขี่จักรยานก็เหมือนการออกกำลังทุกวัน เรื่องความเจ็บป่วยเป็นไข้อะไรนี่ไม่มี
MBT: วันที่เหนื่อยๆ คิดอย่างล้มเลิกการเดินทางบ้างไหม
อาจารย์ปรีชา: ไม่มี.. ไม่มีแน่นอน เพราะก่อนเดินทางก็คิดไว้แล้ว จะไปก็ต้องไปเลย จะลังเลไม่ได้ ต้องปฏิญาญว่าจะไม่ขึ้นรถ หากขึ้นรถแล้วจะเคยตัวพอท้อก็จะขึ้นรถท่าเดียว จริงๆ แล้วเราก็ไม่ต้องรีบ ไปเรื่อยๆ ตั้งสมาธิไว้
MBT: ไม่มีเหตุการณ์ที่น่ากลัว
อาจารย์ปรีชา: ความจริงก็มีอยู่ตลอดทางนั่นแหละ เจอทุกสัปดาห์ เช่นหลงทางบ้าง อันตราย หมาไล่แกะไล่เอาบ้าง เจอกลุ่มคนเกเรที่ไม่น่าไว้วางใจบ้าง แต่ก็เราหลีกเลี่ยงหรือปั่นต่อไปเสีย
MBT: ทางมหาวิทยาลัยอลาบามาทราบเรื่องที่อาจารย์ปั่นไปเรียนหรือไม่
อาจารย์ปรีชา: เขาทราบตอนที่เราถึงนิวยอร์คแล้ว เพราะหนังสือพิมพ์ต่างๆ ลงข่าว วิทยุเสียงอเมริกาก็ประกาศข่าว พอไปถึงทางมหาวิทยาลัยและชาวเมืองก็ให้การต้อนรับดี พอตอนเรียนก็สบายๆ เพราะพวกอาจารย์ก็ให้ความช่วยเหลือ เสื้อผ้าสัมภาระต่างๆเค้าก็ช่วยกันหามาให้ พอจะทำงานก็ช่วยหาให้
MBT: หากคนทั่วๆ ไปจะเดินทางอย่างอาจารย์บ้าง มีข้อแนะนำอย่างไร
อาจารย์ปรีชา: ก็มีคนปรึกษาเรื่องนี้หลายคนเหมือนกัน แต่เท่าที่ทราบก็คือมีอยู่ 3-4 คนที่ออกเดินทางจริงๆ ไปถึงอินเดียกลับมาก็มี ถึงปากีสถานกลับมาก็มี ปั่นไปนั่งรถไปบ้างจนถึงยุโรปก็มี ตอนนี้ก็มีคนหนึ่งยังอยู่สวีเดนอายุก็คง 60 กว่าแล้ว ก็เขียนจดหมายมาทุกปี บอกว่าหากผมไปสวีเดนจะพาเที่ยว ส่วนรุ่นหลังๆ
สำหรับข้อแนะนำสำหรับผู้ที่จะปั่นจักรยานรอบโลกหรือปั่นจักรยานทางไกลก็คือต้องมีเวลา ต้องมีการวางแผนเส้นทางให้ดี เงินก็ติดตัวไปแค่พอซื้ออาหารประจำวัน ต้องแข็งแรง และสำคัญที่สุดก็คือต้องรู้ว่าตัวเองไปเพื่ออะไร หากจะปั่นรอบโลกแล้วกลับเลยก็โอเค แต่ถ้าจะไปเรียนก็ควรติดต่อเรื่องสถานที่เรียนให้เรียบร้อยก่อน
MBT: ปัญหาที่เกิดขึ้นกับจักรยานมีอย่างไรบ้าง
อาจารย์ปรีชา: ส่วนใหญ่ก็มีแค่ยางแบนกับยางรั่ว บางทีผ่านทะเลทรายยางรั่วหรือยางละลายก็ต้องเปลี่ยนใหม่ ผมเตรียมไป 4 เส้น ยางในก็เปลี่ยนตลอด แต่ยางนอกเปลี่ยนเส้นแรกออกที่เยอรมันเพราะมันโล้นจนกระทั่งรั่ว จากนั้นก็ใช้เส้นที่สองไปถึงอเมริกาเลย ก็ประมาณหมื่นห้าพันไมล์ใช้ยางไปสองเส้น ส่วนโซ่ไม่เคยขาด อย่างอื่นก็ไม่เป็นอะไร
MBT: การเดินทางครั้งแรกใช้เงินไปเท่าไร
อาจารย์ปรีชา: ประมาณ 20,000 บาท เป็นค่าเรือก็ 4,800 บาทแล้ว ส่วนตามทางก็มีคนเพิ่มเงินให้บ้าง ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ก็เป็นค่าอาหาร รวมมีคนบริจาคประมาณ 20,000 บาท ก็เหมือนกับไปฟรี
MBT: การเดินทางครั้งที่สองเมื่อไม่กี่ปีมานี้ แตกต่างจากช่วงแรกซึ่งยังอยู่ในวัยหนุ่มอย่างไรบ้าง
อาจารย์ปรีชา: ก็ไม่ได้คิดอะไร คือว่าการขี่จักรยานมันก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็นหากเราค่อยๆ ไป คิดว่าตัวเองยังไม่เคยขี่จากเหนือไปใต้ ก็เลยขึ้นเครื่องบินไปอลาสก้า แต่คราวนี้ให้เวลาตัวเองแค่ 1 เดือน ครบหนึ่งเดือนถึงตรงไหนก็หยุดตรงนั้น ก็ปั่นลงไปแคนาดาเรื่อยๆ เที่ยวหลังนี่จะดีตรงการเตรียมตัวเรื่องสัมภาระและจักรยานนี่พร้อมมากขึ้น แต่ความเหนื่อยของร่างกายนั้นมากขึ้นคือครั้งแรกขี่วันละสองร้อยกิโลเมตรไม่เป็นอะไร แต่ครั้งนี้แค่ร้อยห้าสิบกิโลก็รู้สึกเหนื่อย แรงนี่หมดแล้วหมดเลย
บรรยายภาพ (หน้า 20)

1. ปรีชา พิมพ์พันธ์ คนไทยคนแรกที่ปั่นจักรยานรอบโลก
2. กลางเดือนกุมภาพันธ์ 2504 ปรีชา พิมพ์พันธ์ เริ่มต้นการเดินทางจากมศว.ประสามิตร ไปยัง มหาวิทยาลัย อลาบามา ด้วยจักรยานที่ต่อจากท่อประปา เมดอินวรจักรคันนี้
3. โซ่ไม่เคยขาด ใช้ยางนอกไปแค่สองเส้นตลอดระยะกว่า 15,000 ไมล์
4. จักรยานคู่ใจทั้งสองคันยังจอดนิ่งสงบอยู่ในห้องนิทรรศการปั่นจักรยานรอบโลก โรงเรียนจิรศาสตร์วิทยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
5. ด้วยวัย 67 ปี อาจารย์ปรีชา พิมพ์พันธ์ ยังคงปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการโรงเรียนจิรศาสตร์วิทยา โรงเรียนเอกชนที่ใหญ่ที่สุดอีกแห่งหนึ่งของประเทศที่ไม่ใช่โรงเรียนคริสต์ และเป็นผู้พิพากษาสมทบ ศาลคดีเด็กและเยาวชนอยุธยา

หน้า 18-23
1. เตรียมพร้อมสำหรับการเดินทางที่กรุงเทพ
2. โบสถ์วัตไทยที่พุทธคยากำลังก่อสร้าง
3. ถ่ายกับประทิเบต
4. ทัชมาฮาลก็แวะไปเที่ยว
5. เป็นเพื่อนเจ้าบาวที่อินเดีย
6. ระหว่างทางที่อิหร่านพบกับเพื่อนชาวฝรั่งเศสคนนี้
7. สองเดือนกว่าๆ ก็โผล่ที่อิตาลี
8. ในกรุงโรม
9. กับเด็กชายชาวเยอรมัน
10. กำลังใจและเสบียงมีให้ตลอดทาง
11. กับนักจักรยานที่พบระหว่างทางในเยอรมัน
12. ที่ชายแดนเยอรมันตะวันตก
13. หน้าบ้านพักเจ้าหน้าที่สถานทูตไทย กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอแลนด์
14. บนทางหลวงสาย A-20 มุ่งสู่กรุงลอนดอน
15. สุดเขตแคนาดา เข้าสู่อเมริกา
16. เสียงอเมริกา (Voice of America) สัมภาษณ์ทำเป็นสารคดีพิเศษเมื่อถึงอเมริกา
17. ยินดีต้อนรับสู่อลาบามา – เดือนกันยายน 2504

โรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา http://school.obec.go.th/jirasartwittaya/
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ThaiMTB http://www.thaimtb.com/cgi-bin/viewkatoo.pl?id=10391
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=57&t=64591
18 November 2012 first bangkok marathon 42 km. with friend.

2013 GO TO หัวหิน ไตรกีฬา . 2013-2555. SMARTBIKES TEAM SINCE 2008

twitter http://twitter.com/@smartbikes
http://www.facebook.com/smartbikes SMARTBIKES FAN PAGE
http://www.smartbikes.biz
ตอบกลับ

กลับไปยัง “SMARTBIKES TEAM”