.....'' ปฏิวัติตนเองสู่วิถีปี 52 ......''

ผู้ดูแล: เนิ่ม ชมภูศรี

กฏการใช้บอร์ด
ศูนย์ฝึกจักรยานกองบิน 46 PBC PHITSANULOK
เนิ่ม ชมภูศรี 081-7533298
รูปประจำตัวสมาชิก
เนิ่ม ชมภูศรี
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6448
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ส.ค. 2008, 21:02
Tel: 081 7533298
team: ศูนย์ฝึกจักรยานกองบิน 46 PBC PHITSANULOK
Bike: connago....KAZA...GIANT...GT....

Re: .....'' ปฏิวัติตนเองสู่วิถีปี 52 ......''

โพสต์ โดย เนิ่ม ชมภูศรี »

สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่ท่านอาจจะไม่เคยได้รับการบอกกล่าวมาจากที่ใด และข้าพเจ้าต้องขออภัยทุกท่านด้วยที่ต้องให้ท่านกลับไปค้นหาด้วยตนเองว่าเป็นจริงดังคำพูดหรือไม่ ขออย่าได้เชื่อว่าจะเหมือนกันทุกคนไป เพราะสิ่งที่เขียนคือเรื่องความรู้ที่เกิดขึ้นโดยตรง จากตนเองขอรับ ....

เรื่องแรงต้านจากภายในนั้น มีคำถามทิ้งท้ายไว้ว่ามีอยู่หรือไม่ อันดับแรกนั้น เป็นเรื่องของแรงต้านทางจิตใจ....คืออะไรหรือ ....

คือเรื่องที่เราไม่สามารถเอาชนะตนเองได้นั่นเอง เรื่องที่เราไม่สามารถทำได้ดังที่ตนเองคาดหวังไว้ เช่นในวันพุธนี้นั้น ข้าพเจ้าเลือกที่จะขี่จักรยานแบบเอาชนะแรงต้านทาน โปรแกรมการขี่ถูกค้นหามาว่า การเพิ่มสมรรถภาพความแข็งแร็งของกล้ามเนื้อขา คือการขี่ในลักษณะที่จะต้องขี่ความหนักสูง รอบขาต่ำกว่า 80 ครั้งต่อนาที ต่อเนื่องยาวนาน ตนเองรู้ว่าเป็นเช่นนั้น ฉนั้น ทางเลือกหนึ่งคือทางเลือกที่เป็นไปได้ตามความเป็นจริงในการประเมินตนเอง ข้าพเจ้าดูตัวเองตามความสามารถว่า ความเข็งแรงของเราอยู่ในเกณฑ์ระดับไหน ใช้เกียร์เดโชว์ระดับความหนักเท่าใด ถึงจะขี่ได้ตามที่ตั้งใจไว้ เมื่อเราประเมินตนเองตามความเป็นจริง การที่เราเอาชนะตนเองได้จึงมิใช่คำตอบที่เราจะต้องไปแสวงหา การฝึกซ้อมจักรยานของเราจะมีแต่ความตั้งใจ มุ่งมั่น มีความพยายามที่จะทำให้ได้ตามที่ตนเองออกแบบแผนการปั่น คงเหลือแต่เพียงเรื่องการกระทำเพียงอย่างเดียว ด้วยความใส่ใจต่อแรงกดที่สวนทางสู้รอบขา เราทราบได้ด้วยตนเองจากการทดลองกระทำ ทราบได้ว่าเราใช้เกียร์หนักแล้ว ความรู้สึกที่เรียกว่า '' บันใดสู้ตีน '' (ภาษาจักรยาน มิใช่คำหยาบ) มีอาการเช่นใด แล้วเราจะทนต่อสู้กับความเจ็บปวด ความหนักของการขี่จักรยานได้ขนาดไหน ....

ประการที่สอง คือแรงต้านทางกายภาพ....นั้นคือเรื่องที่เกิดความรู้สึกรับรู้ได้โดยตรงต่อการเกิดผลของการกระทำต่อกล้ามเนื้อ เช่นในขณะปั่นจักรยานที่ความหนักสูง สิ่งที่เราต้องพยายามจะให้เกิดขึ้น คือการเร่งรอบขาตนเองตลอดเวลา ความเร็วจะเกิดขึ้นจากความพยายามเช่นที่กล่าวนี้ ความเร็วเกิดขึ้นได้ด้วยความพยายามที่จะไปให้เร็วที่สุด ทั้งความหนักที่ต่ำและรอบขาที่สูง ล้วนเกิดจากความพยายามที่จะออกแรงส่งต่อไปยังลูกบันใดเพื่อให้รถจักรยานไปเร็วที่สุด ท่านจะสังเกตเห็นว่า ในระดับความหนักที่สูงของการใช้เกียร์เดโช (ใบหน้าใหญ่ เฟืองหลังเล็กถึงเล็กสุด) นั้น เราต้องใช้ความพยายามที่สูงขึ้น เพื่อการเอาชนะแรงต้านทานจากภายใน นั้นคือการเอาชนะความรู้สึกของตนเองเป็นอันดับแรก ต่อจากนั้นจึงเป็นการรับรู้ความรู้สึกทางกายภาพ รับรู้ความเจ็บปวด รับรู้ถึงการออกแรงต่อการกระทำ

ตรงนี้ก็ควรจะเป็นสิ่งหนึ่งที่เราต้องทำการเรียนรู้ด้วยตนเอง ยังมีเรื่องที่ลึกลงไปกว่านั้นอีก เรื่องที่ว่านั้นคือเรื่องการนึกคิด สิ่งทั้งหมดนั้น คือเรื่องที่ประกอบเป็นโครงสร้างทั้งภายนอก ภายใน จนถึงระดับรากแห่งการคิดนึกเลยทีเดียวขอรับ.....

มันเป็นเรื่องง่ายที่จะบอกว่า...การขี่แบบเอาชนะแร็งต้านนั้นขี่อย่างไร แต่ยากอย่างยิ่งในแนวทางปฎิบัติที่เป็นของจริง ๆ ครับ....
รูปประจำตัวสมาชิก
เนิ่ม ชมภูศรี
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6448
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ส.ค. 2008, 21:02
Tel: 081 7533298
team: ศูนย์ฝึกจักรยานกองบิน 46 PBC PHITSANULOK
Bike: connago....KAZA...GIANT...GT....

Re: .....'' ปฏิวัติตนเองสู่วิถีปี 52 ......''

โพสต์ โดย เนิ่ม ชมภูศรี »

ขอเล่าเรื่องการฝึกซ้อมเพื่อเป็นเกร็ดความรู้ไว้ให้ท่านไปค้นหาเองในขณะที่เราทำการฝึกซ้อมจักรยาน...
.
.
วันนั้น...ความตั้งใจในตั้งแต่จุดแรกเริ่มเลยคือการปั่นตามโปรแกรมที่ตนเองได้วางแผนไว้ คือเรื่องการเอาชนะแรงต้านทาน ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ฝึกระบบหัวใจไหลเวียนเลือด โดยระดับความหนักอยู่ที่รอบขาต่ำกว่า 80 รอบต่อนาที ระดับความเหนื่อยประมาณ E3 ..คือระดับความเหนื่อยที่เริ่มพูดจาไม่ได้ พูดได้เหมือนกัน แบบว่าเป็นการตอบเพียงคำเดียว หรือพูดไม่เต็มประโยค ...ข้าพเจ้าเปรียบเทียบแบบง่าย ๆ นะครับ ไม่สลับซับซ้อนอะไร สำหรับเรื่องความรู้สึกรับรู้กับความเหนื่อยนี้นั้น คงจะได้กล่าวในโอกาสต่อไปว่ามีอาการอย่างไรบ้าง ระยะเวลาในการปั่น 1 ช.ม. และในหนึ่งชั่วโมงนั้น แบ่งการขี่ออกเป็นการอบอุ่นร่างกายประมาณ 10-15 นาที ในระหว่างการอบอุ่นร่างกาย มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการเริ่มต้นจากการขี่แบบช้าไปหาเร็ว ด้วยหลักการเรื่องการสร้างความเคยชิน หลักการเรื่องการปรับสภาพของระบบกล้ามเนื้อ เอนยืดเหยีด บางครั้งคนที่เครื่องติดช้า ก็ไม่จำเป็นต้องกำหนดเวลาว่าจะต้องอยู่ในห้วง 10-15 นาที จะมากกว่านี้ก็ไม่เป็นอะไร ให้เกิดความพร้อมทางการอบอุ่นร่างกายมากที่สุด เพื่อเตรียมรองรับ เพื่อเตรียมระบบกล้ามเนื้อ เอ็น ระบบหายใจ ให้เกิดความพร้อมที่จะทำงานหนักกับโปรแกรมที่ตั้งใจไว้ เราจะสังเกตุตัวเราเองได้อย่างไร การสังเกตุความพร้อมสำหรับข้าพเจ้าเองนั้น เมื่อทำการอบอุ่นร่างกายแล้วมีอาการเครื่องติดคือเมื่อเหงื่อยเริ่มซึม ๆ ตามผิวหนังภายนอก รู้ตัวรับทราบได้ถึงอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเป็นไอร้อนที่ระเหยออกมาปนกับอากาศภายนอก นั้นคือเรื่องที่เราจะต้องหัดสังเกตุตนเองโดยแท้ สำหรับข้าพเจ้าแล้ว มิได้ใช้เครื่องไม้เครื่องมืออันใดมาเป็นมารตวัด การวัดสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเองนั้น เลือกที่จะวัดตนเองจากความเป็นจริง ตามสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ๆ กับตนเอง....

เมื่ออบอุ่นร่างกายพร้อมแล้ว การมองไปยังพื้นถนนที่ตนเองกำลังท่องไปบนอานจักรยานกำลังเกิดขึ้น พร้อมกับสายตาที่ระแวดระวังภัยป้องกันตนเองแบบเป็นธรรมชาติ เป็นการปกป้องตนเองให้พ้นจากรถยนต์ อุบัติเหตุ เหมือนกับเล็งแลเห็นกระโจนลอยเมื่อเจองู ความพร้อมทางประสาทสัมผัสเกิดขึ้นเองอย่างเป็นไป ในขณะที่ขาเริ่มปั่นกดบดขยี้ไปกับความหนักที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป สายตาเหมือนมีคู่หลังอยู่ด้วย ความฉับไวในการปั่นจักรยานจำต้องมี หูรับรู้ฟังเสียงสัญญาณ เสียงอันตราย เสียงรถยนต์ แม้กระทั่งเสียงนกร้องยังแว่วยินมาจากถิ่นที่แสนไกล การรับรู้ทุกสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเองในขณะปั่นจักรยาน เปรียบดั่งญาณทิพย์ ที่เป็นเรื่องของความไวต่อประสาทสัมผัส เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มิได้อยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์ธรรมชาติ แต่เป็นธรรมชาติของตัวเราที่จะต้องเข้าไปเรียนรู้ สัมผัส ไม่เซ่อ ไม่ทำเป็นไม่รู้เรื่อง หรือทำเป็นไม่สนใจ เพราะการขี่จักรยานบนท้องถนน หรือขี่บนเกมส์การแข่งขันนั้น ท่านจะมาบอกว่าฉันไม่รู้เรื่อง ฉันไม่เห็นไม่ได้ สิ่งหนึ่งที่จะขาดไปเสียมิได้ คือความว่องไวทางประสาทสัมผัสทั้งห้าของเรา ให้เกิดเป็นธรรมชาติ ดุจดั่งการแลเห็นงูเลื้อยอยู่แล้วเราจะไม่หลีกหนีนะหรือ หรือเราจะปล่อยให้งูฉกตัวเรา เช่นเดียวกัน เราคงไม่ขี่พุ่งไปหารถยนต์ให้ชนตัวเอง หากเรารับรู้ความเป็นทั้งหมด ในขณะที่ขี่จักรยาน....
รูปประจำตัวสมาชิก
เนิ่ม ชมภูศรี
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6448
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ส.ค. 2008, 21:02
Tel: 081 7533298
team: ศูนย์ฝึกจักรยานกองบิน 46 PBC PHITSANULOK
Bike: connago....KAZA...GIANT...GT....

Re: .....'' ปฏิวัติตนเองสู่วิถีปี 52 ......''

โพสต์ โดย เนิ่ม ชมภูศรี »

การขี่เอาชนะแรงต้านในวันนั้น จึงเป็นการเตรียมความพร้อมทางด้านจิตใจมาเป็นอย่างดี .....

เมื่อระยะเวลาที่ประกอบกิจกรรมดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เหลือบมองดูความเร็วในหน้าปัดที่เรือนไมล์จักรยาน บ่งบอกถึงความเร็วที่ไม่สม่ำเสมอ บางครั้งขึ้นมาอยู่ที่ 34 KM/h บางครั้งตกลงไปที่ 30 /29 /28 KM/h ก็มี แต่ความเร็วบนหน้าปัดไมล์จักรยานไม่มีความหมายอันใดกับความรู้สึกนึกคิด ข้าพเจ้าเลือกที่จะอยู่กับความรู้สึกเหนื่อยแบบเริ่มหายใจทางปากเป็นจังหวะไปอย่างต่อเนื่อง เมื่อความรู้สึกเหนื่อยเริ่มเบาบางลง การเร่งวงรอบบดอัดดึงขาหลังถูกกระตุ้นเตือนให้เกิดความเหนื่อยกับอาการดังกล่าวขึ้นมาใหม่ตลอด การปั่นคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เส้นทางที่ขี่นั้นเป็นแบบวงรอบ รอบละ 5 กิโลเมตร และเป็นจุดรวมพลจักรยานของเมืองพิษณุโลก ตอนเย็น ๆ จะมีทั้งขาแรงและบุคคลผู้เริ่มขี่จักรยานมาออกกำลังกายกันเต็มไปหมด

การขี่เป็นไปแบบขี่เดี่ยวไทม์ทอัล ทำเวลากับตัวเอง ฉนั้น การเลือกที่จะต่อสู้กับความปวดร้าวของกล้ามเนื้อขา เลือกที่จะทนต่อความเจ็บปวด หนทางที่จะรักษาให้เกิดขึ้นและคงอยู่กับตนเองแบบนานที่สุดนั้น มีโอกาสอันมากในการที่จะเร่งตาม ไล่บดขยี้ ไล่คนที่อยู่ข้างหน้าเรา เมื่อตนเองมองเห็นคนขี่จักรยานอยู่ข้างหน้าราว ๆ 50 เมตร หรือ 100 เมตร เป็นอันว่า การสร้างพลังใจให้ไล่ตามหรือขี่เพื่อเอาชนะ หรือไล่ให้เข้าไปไกล้กว่านี้อีกนิดหนึ่ง อีกนิดหนึ่ง เกิดขึ้นกับตนเองตลอดเวลาในห้วงของการฝึกขี่แบบเอาชนะแรงต้าน ....

ข้าพเจ้าไม่เลือกที่จะขี่จักรยานแบบไปเรื่อย ๆ เฉย ๆ แบบทำเป็นทองไม่รู้ร้อน หรือแบบไร้ความพยายาม เมื่อขี่จักรยานแล้ว ความพยายามที่จะทำให้ตัวเองดีขึ้น เป็นทางเลือกสำคัญสำหรับตัวเอง......
รูปประจำตัวสมาชิก
เนิ่ม ชมภูศรี
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6448
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ส.ค. 2008, 21:02
Tel: 081 7533298
team: ศูนย์ฝึกจักรยานกองบิน 46 PBC PHITSANULOK
Bike: connago....KAZA...GIANT...GT....

Re: .....'' ปฏิวัติตนเองสู่วิถีปี 52 ......''

โพสต์ โดย เนิ่ม ชมภูศรี »

:| :| :| :| :| :| :| :| :| :| :| :| :| :| :| :| :| :| :| :| :| :| :| :| :|
ไฟล์แนบ
DSC06583.jpg
DSC06583.jpg (57.53 KiB) เข้าดูแล้ว 806 ครั้ง
รูปประจำตัวสมาชิก
เนิ่ม ชมภูศรี
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6448
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ส.ค. 2008, 21:02
Tel: 081 7533298
team: ศูนย์ฝึกจักรยานกองบิน 46 PBC PHITSANULOK
Bike: connago....KAZA...GIANT...GT....

Re: .....'' ปฏิวัติตนเองสู่วิถีปี 52 ......''

โพสต์ โดย เนิ่ม ชมภูศรี »

[quote]ความพยายามที่จะไปให้ถึงจุดอันเกิดความเหนื่อยล้า จุดสูงสุดของความสามารถตนเองนั้น คือเรื่องการเอาชนะแรงต้านทานทั้งจากภายนอก ภายในทั้งสิ้น ....

สิ่งที่เราท่านต่างมองข้ามไปอย่างสิ้นเชิงคือเรื่องการเรียนรู้ตนเองขณะที่กำลังทำการปั่นจักรยาน เรียนรู้ว่าขี่ในระดับความหนักขนาดนี้ จะเกิดผลอย่างไรกับกล้ามเนื้อตน ขี่ที่ความหนักต่ำ รอบขาสูง จะเกิดอะไรขึ้นกับระบบหัวใจใหลเวียนเลือด แม้กระทั่งในห้วงของการขี่จักรยานแบบคุมโซน แบบที่ใช้เครื่องมือวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ในระดับโซนเดียวกัน ชีพจรเท่ากัน แต่ตามความเป็นจริงแล้ว ความรู้สึกกับสภาวะความเหนื่อยล้าจะไม่เหมือนกัน เช่นที่ความเหนื่อยในระดับ E3 อัตราการเต้นของหัวใจประมาณ 175 -185 ครั้งต่อนาที แต่เมื่อใช้เกียร์เดโชว์ที่แตกต่างกัน ความรู้สึกของเรื่องความเหนื่อยล้ายังไม่เหมือนกับทางด้านอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งเรื่องนี้ ถือว่าเป็นศาสตร์ที่จะต้องทำการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ค้นหาว่าถ้าเราจะเป็นนักกีฬาที่ดีได้ เราควรหรือไม่ที่จะต้องเรียนรู้เรื่องศาสตร์ทางจิตใจ

ในห้วงระหว่างการแข่งขัน สภาวะที่เกิดความกดดัน อัตรารการเต้นของหัวใจแทบจะใจสลายเมื่อเหลือบมองดูเรือนหน้าปัดที่บ่งบอกว่าในขณะนี้ แค่เราขี่จักรยานเบา ๆ แล้วทำไมถึงได้เต้นกระโดดโครมครามไปไกลมากถึงปานนั้น ......

เรื่องมาตรวัดทางด้านภายใน เรื่องเครื่องไม้เครื่องมือถือว่าเป็นเรื่องที่มีประโยชน์อย่างสูงยิ่ง มิฉนั้น เราจะไม่สามารถสัมพันกับร่างกายตนเองได้ ....

แต่เรื่องที่ถูกมองข้ามไป และกายเป็นเรื่องของความล้าสมัย แถมถูกวิจารณ์ในเชิงดูหมิ่น ดูแคลน ว่าใช้ไม่ได้ผล นั้นคือเรื่องการวัดด้วยความรู้สึกแห่งตน ประเมินตัวเองโดยไร้มารตวัด ท่านว่าจริงไหม.....

แน่นอนว่าในเรื่องของทางวิทยาศาสตร์การกีฬาจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะค้นหาคำตอบว่า การฝึกซ้อมของบุคคล ๆ นี้ มีความเจริญก้าวหน้าไปได้ไกลขนาดไหนแล้ว มีการพัฒนาเกิดขึ้นไหมจากกระบวนการฝึกซ้อม โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ มาวิเคราะห์เจาะลึกแบบเป็นตัวเลข ยืนยันกันให้เห็นสถิติอย่างชัดเจน สามารถประเมินได้ว่าคน ๆ นี้ ขาดตกบกพร่องทางไหนบ้าง เช่นขาดเรื่องความแข็งแร็ง เราก็จะทราบได้ ขาดเรื่องความอดทน ขาดเรื่องพลัง เราทราบได้หมด

แต่เครื่องมือไม่สามารถทราบได้ว่า จิตใจของท่านนั้น จะมีความเป็นเพ็รชฆาตสู้ไม่มีวันถอยได้ในการแข่งขันจักรยานหรือไม่ จิตใจของท่านนั้น จะแข็งแกร่งดั่งภูผาหินหรือไม่ จิตใจของเรานั้น จะต่อสู้กับอุปสรรคในการเผชิญความเป็นจริง ความกดดันที่เกิดขึ้นกับตนเองได้หรือไม่ เรื่องทางด้านจิตใจนั้น ไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือทางวิทยาศาตร์ในโลกหล้าสามารถที่จะกระทำให้มนุษย์ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตนเองเพื่อก้าวเดินไปสู่จุดความสามารถอันสูงสุดในความเป็นมนุษย์ได้ ....ท่านว่าจริงหรือไม่....[/quote]
รูปประจำตัวสมาชิก
เนิ่ม ชมภูศรี
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6448
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ส.ค. 2008, 21:02
Tel: 081 7533298
team: ศูนย์ฝึกจักรยานกองบิน 46 PBC PHITSANULOK
Bike: connago....KAZA...GIANT...GT....

Re: .....'' ปฏิวัติตนเองสู่วิถีปี 52 ......''

โพสต์ โดย เนิ่ม ชมภูศรี »

วิทยาศาสตร์ทางเทคโนโลยี จิตใจความรู้สึกนึกคิด เป็นความสัมพันธ์ที่จะประกอบเป็นความสามารถสูงสุดของตัวเราเองได้ การผสมผสานกันทั้งสองอย่าง จะเป็นความสัมพันธ์ที่จะเดินทางไปสู่ความเป็นเลิศได้อย่างสมบูรณ์สูงสุดเช่นกัน....

ในกระทู้แห่งนี้คงเป็นเรื่องที่ว่าด้วยการเรียนรูความรู้สึกนึกคิดของตนเอง สิ่งที่เกิดขึ้นจริง ๆ ในขณะจิตที่ตนเองกำลังประกอบกิจกรรม .....
.... จะทำอย่างไรดีละเมื่อขี่เท่าไหร่ก็ยังไล่คนข้างหน้าไม่ได้ซักที ทั้งที่เราก็พยายามอย่างเต็มที่แล้ว แถมด้วยกลุ่มใหญ่ที่ไล่มาข้างหลังก็ไล่เข้ามาทีละนิด ๆ เราอยู่ระหว่างกลางของกลุ่มจักรยานทั้งสองทีม การพยายามที่จะไล่ข้างหน้าให้ทัน การปั่นให้หนีกลุ่มข้างหลังเป็นดั่งเกมส์ที่เคยได้ลงทำการแข่งขันมาแล้วเมื่อในอดีต...

หากแต่ว่าวันนี้นั้น เป็นการฝึกซ้อมที่อาศัยสายเลือดในความเป็นนักกีฬาจักรยานเก่า จิตใจของตนเอง มีเรื่องแปลกประหลาดอยู่นิดหน่อย คือเมื่อได้จับจักรยานแล้ว การที่จะมาขี่เล่นหัวแบบไปเรื่อย ๆ นั้นไม่มี มีแต่ความกระสันอยากที่จะปั่นจักรยานให้เร็ว ยิ่งเมื่อขี่กันเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยแล้ว ความรู้สึกมันส์ในอารมณ์ตนเองเกิด มักจะไม่ยอมแพ้อย่างง่าย ๆ ทั้งที่ไม่เคยได้ซ้อมจักรยานเลย แต่ด้วยคงเป็นเพราะหนทางในการต่อสู้บนอานจักรยานเมื่อครั้งก่อนเก่า คงติดเป็นนิสัยความเคยชิน ยามใดเมื่อปั่นจักรยาน เป็นอันต้องขี่แบบเกินความสามารถของตัวองตลอด ในวันนี้ก็เช่นกัน ข้าพเจ้าเป็นคนที่อยู่ระหว่างทีมจักรยานทั้งสอง รู้ทั้งรู้ว่าไม่มีความสามารถที่จะไล่ตามข้างหน้าให้ทันได้ และทราบอยู่แก่ใจตนเมื่อเหลือบไปมองเห็นกลุ่มที่ไล่ตามมาข้างหลัง แต่ยิ่งมองข้างหน้ายิ่งเหมือนสิ่งเร้าให้เราไล่ไปให้เร็วที่สุด ยิ่งมองข้างหลังยิ่งบอกกับตัวเองว่ามาทันเมื่อใดมันส์แน่ ๆ .....

รูปประจำตัวสมาชิก
เนิ่ม ชมภูศรี
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6448
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ส.ค. 2008, 21:02
Tel: 081 7533298
team: ศูนย์ฝึกจักรยานกองบิน 46 PBC PHITSANULOK
Bike: connago....KAZA...GIANT...GT....

Re: .....'' ปฏิวัติตนเองสู่วิถีปี 52 ......''

โพสต์ โดย เนิ่ม ชมภูศรี »

การพยายามที่จะปั่นไม่ให้ข้างหลังไล่ทันยังคงถูกกระตุ่นเตือนทางด้านความรู้สึกนึกคิด การได้รับคำสั่งมาจากจิตใจส่วนการจำได้หมายรู้ ได้บอกกับกายทางชีวภาพว่าพยามกดบดดึงรักษาความหนัก พยายามขี่ให้เป็นวงรอบแบบเหวี่ยงรอบขาเหมือนการแตะลูกบอล แต่เราเล่นแตะขาบนบันใดคลิปเรสท์ เมื่อเราใช้ระดับความหนักสูง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขี่โดยใช้ขาหลังเป็นแรงช่วยดึงให้เกิดความเบาของระดับความหนัก และการที่เรารักษาความต่อเนื่องกับการปั่น ที่ความหนักสูงเช่นนั้น จะไม่หลงเหลือความหนักให้เรารู้สึก แต่จะมีอยู่คือความเบาต่อการปั่น เพราะความรู้สึกหนักจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อความเร็วตก ช่วงเข้าโค้ง ช่วงที่ไม่สามารถขี่แบบควงขาหลังได้ ความหนักของความรู้สึกจะมาเยือนตลอด ทางเลือกที่ดีที่สุดต่อการปั่นในการใช้ใบจานหนัก คือขี่ให้เกิดความเบา ตรงนี้นั้นเอง ที่เราเห็นแชมป์ปั่นจักรยานเสือหมอบด้วยใบหน้า 54 เฟืองหลังที่ 13 ถ้าเมื่อเทียบระดับความหนักแล้ว ยามที่รถจักรยานจอดนิ่งอยู่กับที่ เราไม่สามารถกดบันใดได้เลย แต่ทำไมเขาถึงปั่นได้ร้อยกว่ารอบต่อนาที .....

เป็นคำตอบไหมครับว่า ทำไมการฝึกขี่ซอยถึงมีความสำคัญต่อการขี่จักรยาน ......
รูปประจำตัวสมาชิก
เนิ่ม ชมภูศรี
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6448
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ส.ค. 2008, 21:02
Tel: 081 7533298
team: ศูนย์ฝึกจักรยานกองบิน 46 PBC PHITSANULOK
Bike: connago....KAZA...GIANT...GT....

Re: .....'' ปฏิวัติตนเองสู่วิถีปี 52 ......''

โพสต์ โดย เนิ่ม ชมภูศรี »

:lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol:
ไฟล์แนบ
S1036637.jpg
S1036637.jpg (42.65 KiB) เข้าดูแล้ว 769 ครั้ง
รูปประจำตัวสมาชิก
เนิ่ม ชมภูศรี
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6448
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ส.ค. 2008, 21:02
Tel: 081 7533298
team: ศูนย์ฝึกจักรยานกองบิน 46 PBC PHITSANULOK
Bike: connago....KAZA...GIANT...GT....

Re: .....'' ปฏิวัติตนเองสู่วิถีปี 52 ......''

โพสต์ โดย เนิ่ม ชมภูศรี »

[b]สด ๆ ร้อน ๆ สำหรับวันนี้ครับ .....เพิ่งกลับมาจากการเข้าไปขี่จักรยานร่วมกับเด็ก ๆ จักรยานของศูนย์ฝึกจักรยานกองบิน 46 PBC PHITSANULOK การวางแผนการขี่ในวันนี้เป็นการปั่นแบบฟื้นสภาพ หลังจากที่เด็กได้ทำการทดสอบเวลาเมื่อวานนี้ วันนี้จึงเป็นการปั่นเพื่อการสร้างขึ้นคืนกลับ ด้วยการเตรียมสภาพร่างกายให้พร้อมที่จะทำการฝึกต่อไปในวันพรุ่งนี้ ดังนั้น จึงได้มีโอกาสจับจักรยานเข้าไปร่วมแจมกับเด็ก ๆ ในสนามบินใหม่ โดยมีแผนการขี่ดังนี้ 1.) ระยะเวลา 1.30 นาที 2.)ระดับความหนัก อยู่ที่ E1 = เหยื่อยแบบพูดคุยกันได้อย่างสบาย อัตราการเต้นหัวใจประมาณ 130-145 ต่อนาที 3.)รอบขาอยู่ที่ 110-150 ต่อนาที ต่อเนื่องตลอดระยะเวลา[/b][/u]การขี่ดำเนินต่อเนื่องไปเป็นวงรอบ ใช้การเปลี่ยนผลัดนำแบบเป็นคู่ ตัวข้าพเจ้าอยู่คู่กับเด็กจักรยานคนหนึ่ง การใช้การเปลี่ยนผลัดนำแบบเป็นคู่นั้น จะมีข้อดีที่ว่าเรารับรู้ความรู้สึกต่อคู่ที่ขี่ร่วมกับเราได้โดยตรงง การขี่ก็เป็นอยู่และรักษาให้ตัวเราเองเป็นคู่ขนานกับเพื่อนร่วมทีมอีกคนหนึ่ง ระยะห่างระหว่างกันคือประมาณหนึ่งเมตร คือจะเป็นการขี่แบบเส้นขนานกันไปตลอด กำหนดไว้ว่าให้เปลี่ยนกันขึ้นนำได้เมื่อครบระยะทางหนึ่งรอบสนามบินใหม่ ซึ่งหากวัดเป็นระยะทางได้ประมาณ 5 กิโลเมตร การขี่จักรยานด้วยรูปแบบที่กำหนดรอบขาเช่นนี้ เป็นเรื่องที่ทรมานมากสำหรับคนที่ไม่เคยฝึกการขี่ใบซอย เพราะเมื่อขี่ที่ความเร็วรอบสูง ก้นจะกระดก ตัวสาย หัวคลอน และเมื่อดำเนินการฝึกไปได้สักระยะเวลาประมาณ 10 ถึง 20 นาที เมื่อความเร็วรอบขาสูงขึ้นตามกลุ่มคนนำ คนจี้ถ้าใจไม่แข็งจรอง จะทนต่อรอบขาที่เบาขนาดนั้นไม่ได้ และเมื่อกินระยะเวลาการขี่นานขึ้นมากกว่าเดิม เริ่มที่จะปวดขา เริ่มที่จะเรียกร้องในการปลดเกียร์ให้หนักลงบไปอีกตัวหนึ่ง เมื่อเราฝึกมาถึงขั้นนี้ ตรงนี้จะเป็นข้อผิดผลาดอย่างยิ่ง สำหรับท่านที่ต้องการฝึกขี่ซอย ฝึกรอบขา เพราะจุดสำคัญอยู่ที่การพยายามรักษารอบขาโดยไม่เปลี่ยนเกยร์ เมื่อเปลี่ยนเกียร์เมื่อใด ความรู้สึกสบายขาโล่งใจเกิดขึ้น ความรู้สึกในการปวดร้าวหรือความรู้สึกที่บอกกับตัวเองว่าไม่ไหวแล้ว เราต้องเปลี่ยนเกียร์ลงอีกตัวหนึ่ง ตรงนี้ครับ คือหัวใจของการฝึกขี่ซอย ถ้าจะให้เกิดผลจริง ต้องไม่พลาดเรื่องนี้ขอรับ ...
รูปประจำตัวสมาชิก
เนิ่ม ชมภูศรี
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6448
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ส.ค. 2008, 21:02
Tel: 081 7533298
team: ศูนย์ฝึกจักรยานกองบิน 46 PBC PHITSANULOK
Bike: connago....KAZA...GIANT...GT....

Re: .....'' ปฏิวัติตนเองสู่วิถีปี 52 ......''

โพสต์ โดย เนิ่ม ชมภูศรี »

มีสิ่งเร้าหลายอย่างมากในระหว่างการฝึกปั่นซอยขา...เนื่องจากเมื่อขี่มาได้ประมาณรอบที่ 5 สังเกตุเห็นว่าเด็กทุกคนรวมถึงตัวข้าพเจ้าด้วย เกิดความรู้สึกว่าความปวดร้าว เหน็ดเหนื่อยหายไป จนทุกคนเกิดความกระสันที่จะเร่งตามทีมที่อยู่ตรงข้าม เพื่ออวดศักดาว่าข้าเก่งกว่า มีเด็กคนหนึ่งตะโกนถามข้าพเจ้าว่า '' พี่เนิ่ม ขอเปลี่ยนโปรแกรมไปอัดกับทีมโน้นได้ไหม .....'' ตนเองรีบตอบอย่างทันใจเหมือนกันว่าไม่ได้ วันนี้ต้องขี่ให้ได้ตามแผน...ตอบไปเท่านี้เด็กก็รู้กันดีว่า การเปลี่ยนโปรแกรมการฝึกจะทำโดยตามใจตนเองไม่ได้ เนื่องจากจะมีผลต่อการฝึกในวันต่อไป โดยเฉพราะวันเสาร์นั้น การฝึกที่เป็นการขี่ในประเภทลู่ของเด็ก ๆ จะถึงขั้นคางเหลืองกันทีเดียว หากวันนี้ขี่อัดใช้แรงเกินขอบเขต พรุ่งนี้มีหวังขี่ไม่เป็นท่า เสียแผนการฝึกซ้อมอย่างแน่นอน....

[b]การขี่ในวันนี้ก็เช่นกัน หลายท่านอาจจะสงสัยว่า การขี่แบบฟื้นสภาพทำไมถึงขี่รอบขาขนาดนั้น เมื่อเราปฎิบัตจริงจะเห็นผล และเป็นคำตอบได้เช่นกันว่าทำไม ดังตัวอย่างที่ได้หยิบยกมา คือในระยะแรกจะเป็นการขี่แบบทรมานร่างกายตน ต่อมาเมื่อขี่รอบจัดต่อเนื่องจนถึงจุดที่เรียกว่าคงตัว เราจะรับรู้ได้ถึงความรู้สึกสบายขาอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ตรงข้ามกัน หากเราขี่แบบช้า ๆ ไปเรื่อย ๆ กระบวนการของเส้นใยกล้ามเนื้อจะทำงานน้อย หรืออาจจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงเลย และการขี่ให้เกิดการฟื้นสภาพคงทำไม่ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างแน่นอน ท่านทดลองปฎิบัติดูด้วยตนเองนะครับ ....[/b]

แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่า การที่ร่างกายตนจะสร้างขึ้นคืนกลับอย่างสมบูรณ์เกิดขึ้นอย่างไร ง่ายนิดเดียวครับ ไม่สลับซับซ้อนอันใด คือเมื่อขี่กลับมาถึงบ้านแล้วเรารู้สึกหิวข้าวเป็นอย่างมาก นั้นเป็นสัญญาณที่ตอบรับเรื่องการขี่ได้เป็นอย่างดี ว่าร่างกายเราตอบสนองต่อการฝึกในวันนี้ได้อย่างสมบูรณ์ ตรงตามแผน แต่หากกลับมาถึงบ้านแล้วไม่หิวข้าวเลย นั่นก็เป็นสัญญาณอย่างหนึ่งเหมือนกันว่า การฝึกในวันนี้ เราได้ขี่เกินความสามารถของตัวเองไปแล้ว หรือที่เรียกว่า ซ้อมหนักเกินไปนั่นเอง อันนี้เป็นข้อสังเกตของตัวข้าพเจ้าเองนะครับ ซึ่งทุกคำที่เขียนมานี้นั้น อาจจะใช้ไม่ได้สำหรับอีกคนหนึ่งก็ได้ สิ่งสำคัญคือท่านต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง นั้นถึงจะก้าวข้ามไปสู่เพดานการปั่นที่ไกบกว่าเดิมได้ขอรับ .....วันนี้เมื่อกลับมาถึงบ้าน เด็ก ๆ หิวโซกันมาเลย ....กระทั่งข้าพเจ้า ตาลายมองเห็นหมวกกันน็อคเป็นหวีกล้วย คอยดูในวันพรุ่งนี้ต่อไปนะครับ สวัสดีครับ ....
รูปประจำตัวสมาชิก
เนิ่ม ชมภูศรี
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6448
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ส.ค. 2008, 21:02
Tel: 081 7533298
team: ศูนย์ฝึกจักรยานกองบิน 46 PBC PHITSANULOK
Bike: connago....KAZA...GIANT...GT....

Re: .....'' ปฏิวัติตนเองสู่วิถีปี 52 ......''

โพสต์ โดย เนิ่ม ชมภูศรี »

ปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการปั่นจักรยานนั้น มีหลายประการด้วยกัน แต่เรื่องที่ใกล้ตัวมากที่สุดเห็นจะไม่เกินเรื่องการขาดการฝึกซ้อม เรื่องการหยุดปั่น หรือความเบื่อหน่าย สำหรับตนเองตอนนี้คือเรื่องการหยุดปั่น เป็นสาเหตุทำให้ขาดความต่อเนื่องในเรื่องการขี่จักรยาน กีฬาจักรยานนั้น ลองหยุดปั่นสักสามวัน กล้ามเนื้อจะเกิดความรู้สึกเปลี้ยเพลียแรงเลยครับ ฉนั้นการเริ่มต้นใหม่ก็ต้องมาทำการเคาะสนิมกันอีกครั้งหนึ่ง สำหรับเรื่องที่ได้เขียนไว้เมื่อวันศุกร์ ในวันเสาร์ไม่มีโอกาสได้ฝึกซ้อม เนื่องจากต้องคอยดูเด็ก ๆ ปั่นจักรยานกันในสนามประเภทลู่ เพื่อเตรียมการฝึกไว้ไปแข่งในรายการต่าง ๆ ที่จะตามมาในอีกประมาณหนึ่งเดือนข้างหน้า ก็ได้ผลดีหากในเรื่องของการวางแผนการฝึกซ้อม จะมีก็แต่ตนเองเท่านั้นที่ไม่ได้เปลี่ยนชุดจักรยานออกไปปั่นที่ไหนเลย.....วันอาทิตย์พอกลับมาจากคุมเด็ก ๆ เลยรีบเปลี่ยนชุดจักรยานปั่นลูกกลิ้งอยู่กับบ้าน วันนี้คงเป็นการขี่เพื่อรักษาสุขภาพ ระยะเวลาการปั่นหนึ่งชั่วโมง ระดับความเร็ว 14 ก.ม./ ชัวโมง อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ประมาณ 145-150 ครั้งต่อนาที สโตรคการหายใจเข้าออกในขณะปั่น 25 ครั้งต่อนาที ความรู้สึกเหนื่อยแบบสบาย ๆ ครับ ขี่ด้วยความเร็วต่อเนื่องที่รอบขา 100 รอบต่อนาที ระดับเกียร์เดโชว์ ใบหน้าใช้ใบกลาง เฟืองหลังใช้กลุ่มบน .
ร่างกายดีขึ้นมาจากเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้วเป็นอย่างมาก น้ำหนักเมื่อลองขึ้นตราชั้งดู ลดลงมาอีกสองกิโลกรัม ด้วยระยะเวลาประมาญหนึ่งเดือน นับว่าพอเหมาะสม เฉลี่ยอาทิตย์ละครึ่งกิโล ไม่ลดมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้ร่างกายมีปัญหาได้เช่นกันครับ การฝึกขี่จักรยานของตนเองนั้น ได้นำเสนอไว้แล้วว่าเป็นการขี่จักรยานเพื่อสุขภาพ ตลอดจนสุขภาวะทางจิตใจของเราเอง ทำการศึกษาถึงสภาพภายในโดยตรง ว่ามีสิ่งอันใดเกิดขึ้นกับตัวองบ้าง การขี่จักรยานจึงเป็นการขี่ที่เปิดมิติความนึกคิดทั้งหมด เฝ้าดูและศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วน...
มีหลายท่านเป็นอย่างมาก ที่ในเริ่มแรกของการเป็นนักจักรยานใหม่ จะมีไฟอย่างแรงกล้า ทำโน่นก็ได้ทำนี่ก็ได้ ปั่นไปไหนไปกัน แต่เมื่อระยะเวลาการเดินทางยาวนานขึ้น อาการหนึ่งที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ คือความล้า เบื่อ หรือไม่อยากที่จะปั่นจักรยาน บางคนไม่จับจักรยานเลยก็มี หลายท่านเดินทางเข้าหาแรงจูงใจใหม่ ๆ ซึ่งข้าพเจ้าเองก็เคยเป็น อาการเช่นที่กล่าวถึง หลังจากเลิกเล่นจักรยานมา เกิดความเบื่อจักรยานแบบสุด ๆ เลยครับ ไม่อยากใส่ชุดปั่น ทิ้งไปเป็นสิบปี และสิบปีที่ผ่านมา ผลเสียนั้นมันเกิดขึ้นกับตัวเองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ .....
โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคเกาท์ กำลังเปิดประตูอ้าแขนรับอยู่ที่ชายขอบของความเป็นจริง ถ้าขืนเรายังเบื่อที่จะออกกำลังกาย สารพัดโรคาภัยรอเราอยู่.....
รูปประจำตัวสมาชิก
เนิ่ม ชมภูศรี
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6448
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ส.ค. 2008, 21:02
Tel: 081 7533298
team: ศูนย์ฝึกจักรยานกองบิน 46 PBC PHITSANULOK
Bike: connago....KAZA...GIANT...GT....

Re: .....'' ปฏิวัติตนเองสู่วิถีปี 52 ......''

โพสต์ โดย เนิ่ม ชมภูศรี »

การเริ่มต้นที่กลับมานั่งทบทวนดูหรือการย้อนหวลคืนกลับมาสู่กระบวนการเริ่มต้นปฎิวัติตนเองนี้นั้น เป็นการเริ่มต้นที่คิดว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับท่านที่ไฟในกองฟืนเริ่มมอดลง เราจะเห็นได้ด้วยตัวเองว่า เมื่อระยะเวลากลืนกินรุกเร้าเข้าใกล้จุดสิ้นสุด การเดินทางไปสู่กระบวนการที่เรียกว่าหมดซึ้งแรงจูงใจนั้นเกิด เมื่อมีเกิดย่อมมีดับดั่งเป็นธรรมชาติ ทุกสรรพสิ่งในจักรวาลไม่มีหยุดนิ่ง บางที การย้อนหวลคืนกลับของเราอาจจะฟื้นฟูสภาพใหม่ได้ดั่งการเคลื่อนมาจากจุดเริ่มต้น
จุดแรกนั้นเราไม่รู้เรื่องอะไรเกี้ยวกับจักรยานเลย จุดแรกนั้นเราไม่มีความรู้สึกเบื่อหน่าย เราต้องการที่จะออกไปขี่จักรยานเล่น เราต้องการที่จะรักษาสุขภาพตน ถ้าเทียบไปแล้วนั้น เป็นดั่งจิตที่แรกเกิด เหมือนทารกที่เกิดบนพื้นแผ่นดินโลก แสงสว่างทางการแลเห็นเป็นแสงแห่งความสดใหม่ ไร้พันธนาการ ไร้เรื่องสิ่งที่ตนรู้ เป็นการเดินทางที่สัมผัสกับความไม่รู้ น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งนัก ความรอบรู้นี้นั่นเองที่ได้กระทำการต่อจิตให้เกิดความมืดบอด ตาพร่ามัวต่อการเริ่มต้นที่นับวันจะถอยห่างหายจากจุดการเกิดใหม่ นั้น ย่อมทำให้เกิดความเบื่อหน่าย มีหลายท่านได้พยายามช่วยกันสร้างแรงจูงใจใหม่ ๆ ด้วยการวิ่งหาสิ่งเร้าใหม่ เช่นการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์จักรยาน การเปลี่ยนนี่นิด โน่นหน่อย เช่นนั้นแล้ว เมื่อเกิดสภาวะทางเรื่องของความเบื่อหน่ายเกิดขึ้นมาอีก สิ่งเร้าใหม่ ความอยากใหม่ย่อมถูกแทนที่สิ่งเก่าอยู่อย่างต่อเนื่อง เราเคยสังเกตุตนเองในแง่มุมเช่นนี้มาก่อนหรือไม่ เมื่อเราเรียนรู้วิถีแห่งตนได้ด้วยความเป็นทั้งหมด ด้วยความใส่ใจ ด้วยการหวลระลึกสำนึกรู้ถึงจุดการเกิดในการเริ่มต้นต่อการขี่จักรยานใหม่ของเรา บางทีการละทิ้งเสื้อผ้าชุดจักรยาน แขวนกางเกงจักรยานไว้ในตู้ แล้วกลับมาสวมใส่เสื้อยืด กางเกงขาสั้น เหมือนกับในห้วงแรกดั่งการไม่รู้อะไรเลย ด้วยการขี่จักรยานกินลมชมวิวไปเรื่อย ๆ ชมนกชมไม้สองข้างทางใหม่ บางทีอาจจะเป็นการพักผ่อนหลังจากการใช้ร่างกายอย่างเกรี้ยวกราด หักโหม ตลอดจนตรากตรำอยู่กลางแดดแผดกล้ามานานวัน
นั้น จึงเป็นการหวลกลับมาถนอมร่างกายตนเองใหม่ ด้วยการขี่แบบชมนกชมไพร เหลียวสายตามองสองข้างทาง อาจจะเป็นทางเลือกหนึ่ง สำหรับการพักผ่อนด้วยจักรยานอย่างแท้จริงก็ได้ขอรับ
รูปประจำตัวสมาชิก
เนิ่ม ชมภูศรี
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6448
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ส.ค. 2008, 21:02
Tel: 081 7533298
team: ศูนย์ฝึกจักรยานกองบิน 46 PBC PHITSANULOK
Bike: connago....KAZA...GIANT...GT....

Re: .....'' ปฏิวัติตนเองสู่วิถีปี 52 ......''

โพสต์ โดย เนิ่ม ชมภูศรี »

:lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol:
ไฟล์แนบ
DSC06659.jpg
DSC06659.jpg (33.67 KiB) เข้าดูแล้ว 706 ครั้ง
รูปประจำตัวสมาชิก
เนิ่ม ชมภูศรี
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6448
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ส.ค. 2008, 21:02
Tel: 081 7533298
team: ศูนย์ฝึกจักรยานกองบิน 46 PBC PHITSANULOK
Bike: connago....KAZA...GIANT...GT....

Re: .....'' ปฏิวัติตนเองสู่วิถีปี 52 ......''

โพสต์ โดย เนิ่ม ชมภูศรี »

เมื่อเกิดความเมื้อยล้า สิ่งหนึ่งที่ข้าพเจ้าเลือกปฎิบิติคือเรื่องของการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ โดยทำอยู่ตลอดทั้งวัน บางวันเดินไปโน่นไปนี่ ในช่วงที่หยุดรอคอย ก็หาพื้นที่เหมาะ ๆ ใช้ปลายเท้ายืนตรงขอบปูน กดแรงลงไปที่ปลายเท้า ขาตึง ในลักษณะท่าของการโน้มตัวไปข้างหน้านิดหน่อย นั่นจะทำให้ช่วยคลายความเมื้อยล้าลงไปได้ ทำในแต่ละท่านั้น ใช้เวลาประมาณ 20 วินาที เมื่อเสร็จจากท่าเหยียดปลายเท้าแล้ว อีกท่าหนึ่งคือท่า ดึงขาหลัง โดยก้มตัวลงไปข้างหน้า แลวเอื้อมมือไปจับตรงข้อเท้า ดึงพร้อมกับโน้มตัวยืดแขนออกไปเพื่อรักษาสมดุล เรื่องของการยืดเหยียดกล้ามเนื้อนั้น จะช่วยให้การคลายความตึง ความเมื้อยล้าเบาสลงไปได้ ไม่ต้องกำหนดกฎเกณฑ์ในเรื่องของเวลาหรอกครับ มีเวลาว่างเมื่อใด ที่ไหน สักนาทีสองนาที ก็ทำได้ตลอดแล้วครับ ยิ่งทำได้ทั้งวันยิ่งดี เนื่องจากการช่วยเร่งในเรื่องของการฟื้นสภาพจะเร็วขึ้นอีกทางหนึ่ง ....
ถ้าหากว่างอยู่กับบ้าน การกางขา โน้มตัวจับข้อเท้าก็ดีเหมือนกัน ลองทำให้ได้หลาย ๆ ท่า โดยเฉพาะท่าเหยีดขาตรงแล้วก้มตัวจับปลายเท้า ท่านี้จะช่วยให้ลดอาการปวดหลังด้วย
มีท่าของการยืดเหยียดกล้ามเนื้อหลายท่ามาก แต่ที่เลือกใช้ก็เป็นท่าที่เฉพาะเจาะจงสำหรับมุมการเคลื่อนไหวในการปั่นจักรยาน แต่ที่จริงแล้ว หากใช้กระบวนท่าของการฝึกโยคะได้ด้วยยิ่งเป็นการดีมาก ๆ เลยครับ ....ลองปฏิบัตดู มิใช่เรื่องยากอันใดเลยขอรับ ....
รูปประจำตัวสมาชิก
เนิ่ม ชมภูศรี
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6448
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ส.ค. 2008, 21:02
Tel: 081 7533298
team: ศูนย์ฝึกจักรยานกองบิน 46 PBC PHITSANULOK
Bike: connago....KAZA...GIANT...GT....

Re: .....'' ปฏิวัติตนเองสู่วิถีปี 52 ......''

โพสต์ โดย เนิ่ม ชมภูศรี »

การขี่จักรยานนั้น พลังงานส่วนสำคัญจะมาจากระบบการใช้อากาศเป็นเชื้อเพลิง หรือระบบ AIROBIC ซึ่งความสำคัญของกระบวนการพัฒนาในเรื่องของระบบการฝึกซ้อมที่เรียกว่า พื้นฐาน จึงเป็นหัวใจแรกในการพัฒนาขึ้นไปสู่ความสมบูรณ์ทางร่างกายได้ ...
แต่ก็มิได้ละทิ้งเรื่องความแข็งแรงของร่างกาย หากเราไม่พัฒนาความแข็งแรงทางโครงสร้างให้ควบคู่ไปด้วยกับระบบการฝึกซ้อมแบบ AIROBIC ก็จะทำให้ไม่สามารถที่จะพัฒนาเรื่องความเร็วต่อเนื่องได้ด้วยเช่นกัน ทั้งระบบการฝึกซ้อมที่ใช้อากาศเป็นพลังงาน และไม่ใช้อากาศเป็นพลังงาน จึงควรถูกบรรจุไว้ในกิจกรรมการฝึกซ้อมแบบรายวันบ้าง มิเช่นนั้นแล้ว การจะต่อยอดเรื่องบันใดความแข็งแรง ความเร็วจะเกิดขึ้นไม่ได้
การเลือกขี่จักรยานประจำวันของตนเอง จึงมีการเติมถังเชื้อเพลิงทางด้านระบบไม่ใช้อากาศบ้างเป็นบางครั้ง โดยเฉพาะเมื่อใกล้จะถึงจุดจบ หรือใกล้เข้าเส้นชัยเป้าหมาย การรีดพลังขั้นสุดท้ายเพื่อเร่งความเร็วสูงสุด มักจะกระทำอยู่เสมอ ระดับของความเร็วในช่วงนี้สำหรับข้าพเจ้าแล้วอยู่ที่ 35-36 K/M ต่อชั่วโมง วิธีการเร่งความเร็วหรือสปิ้นท์นั้น ก็คงนำเสนอเป็นเกร็ดความรู้เพิ่มเติมให้กับท่านพิจารณาดังนี้ครับ
ตนเองเลือกคำนวนระยะเวลาประมาณ 10 วินาทีสุดท้าย แล้วเร่งความเร็วสูงสุด แต่ก่อนที่จะถึงในห้วง 10 วินาทีสุดท้าย ในระยะก่อนถึงเส้นชัย จะเป็นการปั่นแบบกดแรงอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาระดับความเร็วมิให้ต่ำเกินไปจากระดับความสัมพันธ์ของแรงกดที่กระทำต่อลูกบันใด ดังเช่นว่า เมื่อเราเลือกใช้เกียร์ที่ระดับใบจานหน้าใหญ่ เฟืองหลังอยู่ที่ตัวสองหรือกลุ่มโซลเฟืองล่างเล็กสุด ถ้าหากเราไม่รักษาระดับตวามเร็วให้เกิดความสัมพันธ์กันกับรอบขาที่เป็นความรู้สึกเบา แรงต้านจากระบบการใช้ความหนักของเกียร์เดโชว์จะเป็นแรงต้านที่ทำให้การสปิ้นท์เข้าเส้นชัยมีปัญหา เพราะในห้วงระยะสุดท้ายก่อนเข้าเส้น เมื่อเทียบเป็นระยะทางแล้วประมาณ 100 กว่าเมตรนี้นั้น จะให้หลงเหลือแรงต้านที่เป็นความหนักอยู่มิได้ ควรที่จะต้องมีการฝึกระดับเกียร์ให้เกิดความสัมพันธ์กับการเร่งความเร็ว มิเช่นนั้นแล้ว การพลาดโอกาสที่จะไถลล้อพุ่งทะยานแตะเส้นสีขาวก่อนคนอื่นจะไม่เกิดขึ้น แต่ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นสูตรสำเร็จตายตัว บางครั้งการใช้แรงต้านหนักสปิ้นท์เข้าเส้นชัยก่อนก็มีให้เห็นเป็นประจำ จะมีข้อดีและข้อเสียเปรียบอยู่ด้วยกันทั้งคู่ เราควรที่จะเลือกฝึกทุก ๆ สถานะการณ์ และที่สำคัญ คือต้องเตรียมความพร้อมทางด้านระบบการไม่ใช้อากาศเป็นพลังงานด้วย .....
นักจักรยานประเภทถนน จะมีโอกาสพลาดในช่วง 10 วินาทีสุดท้ายก่อนเข้าเส้นชัย เพราะหัวใจของเขาฝึกแต่ระบบการใช้อากาศเป็นพลังงานอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่า ในระยะการแข่งที่ไม่ได้ใช้เวลาในการปั่นมากนัก ส่วนใหญประเภทที่สปิ้นท์เก่ง ๆ เขาจะมาเรียงรายอยู่ช่วงหน้าเส้น และเมื่อได้ระยะความเร็วสูงสุดของแต่ละคนแล้ว การโยกซ้ายโยกขวา กางแขนดันศอกเฉือนเข้าเส้นก่อน ปล่อยให้เครื่องเบนซิลน้ำตาตกในมาแล้วมีให้เห็นเป็นประจำ
ข้อแก้ไขนี้ จึงเป็นการเสนอแนะสำหรับท่านที่รักการขี่แบบทรหดอดทน ท่านว่าน่าจะมีการเสริมส่วนที่ขาดตกบกพร่องหรือไม่ แต่ในเรื่องของระดับการแข่งขันกันจริง ๆ แล้ว นักจักรยานประเภทถนนนั้น เขาจะไม่ให้พวกสปินท์ดี ๆ ติดไปถึงหน้าเส้นชัยด้วย จะมีการเล่นกันในเกมส์ หาจังหวะทีเผลอทีไล่ หรือเร่งความเร็วยิงสวนมาจากข้างหลังให้พวกสปิ้นท์ไล่ ซึ่งในระดับการไล่ให้ทันกลุ่มของนักสปิ้นท์ นั้นก็เป็นการทำลายพลังความเร็วในตัวเขาได้เกือบครึ่งหนึ่งแล้ว แล้วยิ่งถ้านักจักรยานประเภทถนนคนนี้จะไม่ยอมปล่อยให้พลาดโอกาสทอง เขาจะยอมให้มีการฟื้นสภาพของนักสปิ้นท์เป็นอันขาด เขาจะยิงซ้ำ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกวว่าจะหลุดไป การแก้ไขสถานะการณ์ จะขึ้นอยู่กับไหวพริบของนักกีฬาแต่ละคน แต่หากว่าในทางกลับกัน เกิดนักสปิ้นท์คนนี้ ทำการบ้านมาดี ซ้อมจนในระดับขี่ต่อเนื่องด้วยความเร็วได้ ช่วงหน้าเส้นจะเห็นขาแรงขึ้นมาอยู่รอเฉือนให้ช้ำใจเล่น ๆ เพียงแค่ปลายล้อเท่านั้นเอง....
องค์ประกอบในการฝึกซ้อมมีหลายปัจจัยมาก ๆ นะครับ อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าตรงนี้จะเป็นเรื่องที่ถูกหรือไม่ถูก หัวใจของเรื่องคือเราต้องรู้ข้อดี ข้อเสียของตัวเอง แล้วทำการอุดช่องโหว่ ทำการเสริมส่วนที่ขาดตกบกพร่อง เติมให้เต็มด้วยความสมบูรณ์พร้อม ฉนั้นแล้วปัจจัยที่เรียกว่ามีชัยไปกว่าครึ่งคงไม่เกินความจริง ด้วยการเตรียมความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจของตัวเราเองขอรับ....
ตอบกลับ

กลับไปยัง “ศูนย์ฝึกจักรยานกองบิน 46”