ใครติดตาม ตูร์ เดอ ฟร็อง 2009 บ้าง

ผู้ดูแล: ratpol, ต้นเรือ, voody

กฏการใช้บอร์ด
ชมรมคูคต เลขที่39/105 หมู่บ้านสวนเอก อ.ลำลูกกา ต.คูคต ปทุมธานี

พี่หนุ่ย (หัวหน้าชมรม) m.085 376 20032
รูปประจำตัวสมาชิก
CK.
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2654
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 21:25
Tel: 0817719790
team: KUKOT, ชมรมการบินไทย
Bike: Bianchi,GT Nomad,SOMA Saga

Re: ใครติดตาม ตูร์ เดอ ฟร็อง 2009 บ้าง

โพสต์ โดย CK. »

คอนทาดอร์ซิวจย.ตูร์เดอฟรองซ์สมัย 2-แลนซ์ ได้ที่ 3

อัลแบร์โต้ คอนทาดอร์ ยอดนักปั่นจักรยาน จากทีม อัสตานา คว้าแชมป์ ตูร์ เดอ ฟรองซ์ เป็นสมัยที่ 2 ของตนเอง หลังแข่งครบทั้ง 21 สเตท ด้าน แลนซ์ อาร์มสตรอง แชมป์เก่า 7 สมัย คว้าอันดับ 3 ในเวลารวม

ศึกจักรยานทางไกล ตูร์ เดอ ฟรองซ์ 2009 ที่ ประเทศ ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการแข่งขัน สเตทสุดท้าย โดยใช้ทางจาก มงเตโร โฟล์ ยอนน์ ถึง ปารีส ชอง เอลิสเซ่ รวมระยะทางทั้งสิ้น164 กิโลเมตร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 ก.ค.ที่ผ่านมา ผลปรากฏว่า

มาร์ค คาเวนดิช นักปั่นชาวสหราชอาณาจักร จากทีม โคลัมเบีย ควบจักรยานคู่ใจ เข้าวินมาเป็นคนแรก ทำเวลาได้ 4 ชั่วโมง 2 นาที 18 วินาที พร้อมกับปิดฉากคว้าแชมป์สเตทที่ 6 ให้กับตัวเอง ในศึกตูร์ ครั้งนี้

ส่วนอันดับ 2 ตกเป็นของ มาร์ค เรนชอว์ น่องเหล็กจากออสเตรเลีย เพื่อนร่วมทีมของ คาเวนติช ขณะที่ อันดับ 3 เป็นของ ไทเลอร์ ฟาร์ราร์ นักแข่งชาวสหรัฐฯ ของทีม การ์มิน ส่วนแชมป์ประจำปี 2009 ได้แก่ อัลแบร์โต คอนตาดอร์ นักปั่นชาวสเปน แชมป์เก่าปี 2007 จากทีม อัสตานา หลังทำเวลารวมได้ 85 ชั่วโมง 48 นาที 35 วินาทีแม้ว่าจะเข้าป้ายสเตทนี้ที่อันดับ 97

สำหรับ คอนทาดอร์ ทำเวลาเร็วกว่า ชเลค อันดับ 2 อยู่ 4 นาที 11 วินาที และ อันดับ 3 อย่าง แลนซ์ อาร์มสตรอง เพื่อนร่วมทีม และแชมป์เก่า 7 สมัย อยู่ 5 นาที 24 วินาทีด้าน ธอร์ ฮูชอฟด์ นักแข่งจากนอร์เวย์ จากทีม เซร์เวโล คว้าแชมป์การสปรินท์ ไปครอง เป็นครั้งที่ 2 ขณะที่ ฟรังโก เปลลิซอตติ นักแข่งชาวอิตาเลียน จากทีม ลีกิกาส ครองจ้าวเสือภูเขา

สำหรับศึกจักรยานทางไกล ตูร์ เดอ ฟรองซ์ ครั้งที่ 96 ทำการแข่งขันกันระหว่างวันที่ 4-26 ก.ค.นี้ โดยใช้เส้นทางผ่านประเทศฝรั่งเศส,สเปน, อันดอร์รา,
สวิสเซอร์แลนด์ และ อิตาลี แบ่งเป็น 21 สเตท ระยะทางรวมทั้งสิ้น 3,500 กิโลเมตร

ปิดฉาก จักรยานทางไกล Tour de Franc 2009 ไปแล้วครับพี่น้อง และเป็นไปตามความคาดหมาย ทีม Astana ซึ่งมีขุนศึก
อย่าง แลนซ์ อาร์มสตรองอดีดแช็มป์ 7 สมัย และอัลเบอร์โต คอนทาดอร์ แช็มป์ ปี 2007 (ปี 2008 ทีมถูกแบน)ร่วมอยู่ด้วย ก็แน่นอนละครับคลื่นลูกใหม่ย่อมมาแรง แล้วก็คว้าแช็มป์ไป แต่น้าแลนซ์ฯ ก็ยังไม่ทิ้งลายเสือเก่า คว้าที่ 3 ไป จากนักปั่น 200 กว่า คน ซึ่งก็ไม่ธรรมดา ถึงแม้ว่าจะไม่ได้สเตจเลย แต่ก็ยังติด Top Five เก่งจริงๆ....
ตลุย"น่าน"กับชาวคูคต 2553
ฟ้ากว้าง ทางไกล ปันน้ำใจเพื่อนร่วมทาง
รูปประจำตัวสมาชิก
CK.
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2654
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 21:25
Tel: 0817719790
team: KUKOT, ชมรมการบินไทย
Bike: Bianchi,GT Nomad,SOMA Saga

Re: ใครติดตาม ตูร์ เดอ ฟร็อง 2009 บ้าง

โพสต์ โดย CK. »

สองคน ได้แช็มป์รวมกัน 9 ครั้ง นักปั่นที่จะสามารถขว้าแช็มป์ Tour de franc ได้ต้อง ต้องเก่งในการปั่นขึ้นเขา
และ ไทม์ไทอัล จึงจะประสบความสำเร็จ เพราะทั้งสองประเภทมีโบนัสให้สูง
ไฟล์แนบ
tu1.jpg
tu1.jpg (60.66 KiB) เข้าดูแล้ว 902 ครั้ง
ตลุย"น่าน"กับชาวคูคต 2553
ฟ้ากว้าง ทางไกล ปันน้ำใจเพื่อนร่วมทาง
รูปประจำตัวสมาชิก
CK.
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2654
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 21:25
Tel: 0817719790
team: KUKOT, ชมรมการบินไทย
Bike: Bianchi,GT Nomad,SOMA Saga

Re: ใครติดตาม ตูร์ เดอ ฟร็อง 2009 บ้าง

โพสต์ โดย CK. »

เกล็ดความรู้ กับการแข่งจักรยานทางไกล Tour de france

การแข่งทัวร์แบบนี้นับเวลารวมทุกวันตลอดการแข่งขัน นอกจากนั้นยังมีแต้มพิเศษสำหรับสปรินท์เตอร์และนักไต่เขาอีกด้วยครับ รวมไปทั้งหลายๆเสตจผู้ผ่านเส้นชัยหรือจุดที่ตั้งใว้จะมีเวลาโบนัสให้ไปอีกกี่วินาทีก็ว่ากันไป ดังนั้นการวางกลยุทธการแข่งให้ดีจึงสำคัญมากๆครับ ส่วนมากเมื่อโอกาสอำนวยจะมีผู้ยิงหนีกลุ่มเสมอๆ ถ้ากลุ่มใหญ่(เปโลตอง)เห็นว่าไม่สมควรปล่อย ก็จะไล่บี้เก็บอย่างรวดเร็วครับ ถ้ากลุ่มเห็นว่าปล่อยไปได้ไม่อันตราย คนที่ยิงไปไม่ได้มีผลกับเวลารวมก็จะปล่อยเค้าไปครับ กลุ่มเล็กอาจเป็นพวกหวังแต้มสะสม หวังโบนัส หวังชนะสเตจ เมื่อยังหนีมาได้ซัก 5-6 คน ลองดูดีๆนะครับ เค้าจะช่วยกันลากหนีเปโลตองกันไปเรื่อยๆ สังเกตได้ว่าจะไม่มีแบบหนีกันมาทั้งทีม เพราะถ้าหนีแบบนั้น เปโลตองตามเก็บแน่ครับไม่ปล่อยไว้หรอกอันตราย สวนมากจะมาจากหลายๆทีมหนีเดี่ยวมารวมๆกัน ว่ากันว่าบางครั้งก็เป็นเกมส์ที่วางกันมาให้พวกนี้รุกมายั่วก่อน บางครั้งก็เป็นนักปั่นแหกกลุ่มออกมากันเอง ดูต่อไปซักพัก อ้าว มันกัดกันเองจาก 6 คนมีการกกระชากหลุดมาอีก สองคนตามห้อยท้ายเกาะมาได้ ก็จะกลายเป็นว่ามีสามคนแหกนำมาด้านหน้าอีก เกมเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆครับ
ทำไมกลุ่มปล่อย? ง่ายๆครับ กลุ่มคิดว่าสามารถไล่ทันได้ภายหลังไงครับ (มักจะไปไม่รอด เพราะเวลากลุ่มไล่มาน่ากลัวมากๆเสตจ 3,4 เห็นมั้ยครับกลุ่มส่งสปริทนเตอร์มาลากหน้าเปโลตองเยอะเลยเพื่อตามรวบเจ้า3-4 คนก่อนเข้าเส้นให้ได้) ไม่มีประโยชน์จะเสียแรงไปไล่เก็บตั้งแต่ต้นรักษาระดับความเร็วค่อยๆไปเรื่อยๆดีกว่า(เบสิคการปั่นจักรยานคือการรักษาระดับการใช้พลังงาน นึกออกมั้ยครับ) ดังนั้นจะเห้นว่าพวกแหกกลุ่มมาจะตาลีตาเหลือกสร้างระยะห่างให้ได้มากที่สุดและคงเอาใว้ บางครั้งการแหกแบบนี้ก็สามารสร้างปาฎิหารย์ได้นะครับ กลุ่มตามรวบไม่ทัน เอาเส้นชัยไปกินกันซะเฉย
ช่วงแรกๆเป็นทางราบเยอะ เกมส์ก็จะประมาณนี้แหละครับ ยิงหลุดมา หนี กลุ่มนิ่งไปรวบเอาตอนหลังบ้าง ไล่เก็บเอาทีละนิดๆบ้าง ต้องดูเสตจภูเขาครับ ถ้าแข็งจริงนักไต่เขาสามารถแหกกลุ่มหนีเปโลตองได้แบบไม่โดนรวบ ไปฟัดกันเองแค่พวกแหกกลุ่มมาด้วยกันนั่นแหละ
คำตอบคือ ปล่อยมันนำไปก่อนไม่มีอะไรต้องกังวลไล่ไปก็เสียแรงเปล่าๆครับ
คำตอบอีกข้อทำไมปล่อยให้ถูกกลืน มันก็คงไม่อยากถูกกลืนหรอกครับ มันหนีไม่รอดจริงๆหมดปัญญา ส่วนมากถ้าไม่รักกันจริงช่วยกันลากกัดกันเองก่อน ไม่รอดซักราย

ผมเคยมีโอกาสไปทำงานในทวีปยุโรปช่วงการแข่งขันตูร์ มีการถ่ายทอดสดทางช่องสัญญาณภาพยูโรสปอร์ตนานเป็นชั่วโมงๆ เพื่อนๆที่ไปทำงานด้วยถามอย่างสงสัยแบบคุณว่า ไอ้กีฬาปั่นจักรยานมันสนุกตรงไหน? เห็นขี่จักรยานกันไปเป็นกลุ่มๆ ภาพที่ออกมาก็ซ้ำซากจำเจอยู่เป็นชั่วโมง ทำไมคนยุโรป จึงบ้าคลั่งออกมายืนดู ยืนเชียร์และจ้องหน้าจอทีวีกันมากขนาดนี้
ผมขอเรียนย้ำ ว่า "ศัตรู” ที่ยิ่งใหญ่และน่ากลัวที่สุดของกีฬาจักรยานทางไกลคือ ลมหรือความหนาแน่นของอากาศ" การที่มีนักจักรยานกลุ่มเล็กๆเร่งความเร็วหนีกลุ่มออกไปมีด้วยกันหลายสาเหตุ ตั้งแต่อยากเป็นดาราหน้าจอสักครั้งเพื่อให้แฟนๆ ลูกเมีย ญาติพี่น้องหรือแม้แต่ผู้สนับสนุนทีมจดจำได้ เหตุผลต่อมาคือ เส้นทางการแข่งในวันนั้นอาจจะมีเส้นทางผ่านเมือง ถนนที่คับแคบในช่วงระยะยาวกินระยะทางหลายกิโลเมตร การหนีกลุ่มใหญ่ไปขี่เป็นกลุ่มเล็กๆจะใช้ความเร็วในเมืองในทางแคบได้เร็วกว่ากลุ่มใหญ่ โอกาสที่สามารถทำความเร็วหนีกลุ่มจะมีมากจนสามารถพากลุ่มของตัวเองเข้าเส้นชัยได้ก่อนนักจักรยานกลุ่มใหญ่(Peloton)
กลับมาที่คำถามว่าทำไมผู้ที่หนีกลุ่มใหญ่ออกไปทำไมจึงไม่ขี่เข้าเส้นชัยไปเลย คงต้องย้อนกลับมาที่วลีที่ว่าศัตรูร้ายของนักจักรยานทางไกล คือ ลม ความจริงแล้วนักกีฬา(ส่วนใหญ่หน้าใหม่)ที่คิดว่าตนเองสด ตนเองแข็งแรงพอที่จะฉีกหนีเร่งความเร็วออกจากกลุ่มใหญ่ไป นักจักรยานละอ่อนพวกนี้กล้าแรกหมัด เพราะอย่างน้อยพวกเขาคิดว่าถ้ายังสามารถคงความเร็วของกลุ่มเล็กๆของตนให้นานที่สุด อาจจะโชคดีที่กลุ่มใหญ่อาจจะตามไม่ทัน พวกเขาอาจจะวัดกันที่หน้าเส้นชัยเพื่อสักครั้งหนึ่งในชีวิตสามารถสร้างเกียรติประวัติการเป็นที่หนึ่งในการแข่งขันแบบช่วงของตูร์
อีกทั้งระหว่างที่พวกเขากลุ่มเล็กๆหนีกลุ่มใหญ่ไปนำหน้า พวกเขายังได้โบนัสเล็กๆพิเศษเก็บใส่เกียรติประวัติการแข่งขันได้อีก คือ คะแนนสะสมสำหรับเจ้าภูเขา และเจ้าแห่งความเร็วด้วย
แต่ส่วนใหญ่พวกนี้จะไปไม่ถึงเส้นชัยก่อนนักจักรยานกลุ่มใหญ่ เพราะอะไร? เพราะการขี่จักรยานด้วยคนกลุ่มเล็ก แน่ละการหนีกลุ่มออกไปจะต้องใช้แรงอย่างมหาศาล แต่นั่นเป็นการเริ่มต้นเท่านั้น การขี่เป็นกลุ่มเล็กๆและต้องคงด้วยความเร็วให้เร็วกว่าหรือแม้แต่เท่ากับความเร็วของนักจักรยานกลุ่มใหญ่จะต้องใช้แรงมากกว่าอย่างมหาศาล ทำไมหรือ? เพราะคนที่ขี่จักรยานนำอยู่ข้างหน้าจะต้องเป็นผู้รับภาระการปะทะกับอากาศ(ข้อนี้คุณแอร์โร่บาร์น่าจะทราบดี) เพื่อให้คงอัตราความเร็วได้ตลอด นักจักรยานในกลุ่มจะต้องสลับกันไปขี่ข้างหน้า และถ้าเมื่อมีจำนวนนักจักรยานในกลุ่มน้อย แสดงว่านักจักรยานจะมีเวลาพักน้อยลงต้องเข้าเวรปะทะอากาศเร็วขึ้น ดังนั้นร่างกายของนักจักรยานกลุ่มเล็กจะเริ่มอ่อนเพลียและบอบช้ำ ความเร็วของนักจักรยานกลุ่มเล็กก็จะลดลงๆเรื่อยๆ ยิ่งขี่ไกลก็ยิ่งลดความเร็วลง
ตรงกันข้ามกับนักจักรยานกลุ่มใหญ่ที่มีนักจักรยานเป็นร้อยๆที่สลับกันมาขี่นำหน้าเพื่อคงความเร็ว(อย่าลืมว่านักจักรยานจะมีโปรแกรมการฝึกและร่างกายแข็งแรงทรหดใกล้เคียงกัน)นักจักรยานในกลุ่มใหญ่จึงยังคงมีความสดและคงสภาพความแข็งแรงไว้ได้ตลอด
แถมนักจักรยานในกลุ่มใหญ่ยังมีผู้จัดการทีมหรือทีมเทคนิคที่คอยจับเวลาว่าถ้ากลุ่มใหญ่ขี่ความเร็วได้ขนาดนี้ เมื่อคำณวนกับระยะทางที่กลุ่มเล็กหนีห่างไปจากกลุ่มใหญ่กับความเร็วของกลุ่มนักจักรยานกลุ่มเล็กไปหักกลบลบกัยระยะทางที่เหลือถึงเส้นชัย เจ้าหน้าที่ทีมจะแจ้งไปยังนักจักรยานกลุ่มใหญ่ว่าจะไปไล่ทันที่ประมาณที่กิโลเมตรเท่าไหร่ อย่าลืมครับว่าการขี่จักรยานด้วยจำนวนคนยิ่งมากจะทำให้กลุ่มสามารถฝ่าแนวอากาศไปด้วยความเร็วกว่าการขี่จักรยานในกลุ่มเล็กๆ ดังนั้นคำตอบจะเห็นได้ว่ายากมากที่นักจักรยานกลุ่มเล็กๆจะหนีกลุ่มใหญ่รอด
ยกเว้นที่นักจักรยานที่หนีกลุ่มคนนั้นแข็งแรงจริง สภาพถนนใกล้เส้นชัยเหมาะสำหรับการขี่ในกลุ่มเล็กๆ นักจักรยานกลุ่มใหญ่ประสบอุบัติเหตุ
ข้อเท็จจริงสุดท้ายที่จะฝากคุณ แอร์โร่บาร์ ไว้ก็คือ ยิ่งใกล้เส้นชัย ความเร็วของนักจักรยานกลุ่มใหญ่จะมีอัตราเร่งความเร็วมากขึ้นๆ เพราะแต่ละทีมต้องตั้งแนว ตั้งแถว ตั้งความเร็วของตนเพื่อนำสมาชิกในทีมที่ถูกแต่งตั้งให้ว่าต้องเป็นตัวเข้าเส้นชัยเพราะมีอัตราเร่งในระยะสั้นได้ดีที่สุด วิธีเดียวที่แต่ละทีมจะทำกลยุทธ์นี้ได้คือ ตั้งอัตราความเร็วสูง แสดงให้เห็นว่าทีมตนมีพลังและความแข็งแกร่งแค่ไหน สมาชิกในทีมจะสร้างอุโมงค์ลมเพื่อพาสปริ้นเต้อร์ไปสร้างจุดโฟกัสที่เส้นชัยให้ได้ นี่ละครับสีสันต์ของกีฬาจักรยานถนน ผมอาจจะอรรถาอธิบายได้ไม่ลึกนักเพราะไม่ใช่นักจักรยาน แต่เพราะชอบและฟังการบรรยายาภาษาฝรั่งเศสออกจึงยินดีที่มาถ่ายทอดครับ
รู้สึกเสียอารมณ์จริงๆสำหรับผู้บรรยายภาษาไทยเราในช่องกีฬาแบบบอกรับสมาชิก น่าจะเปิดเสียงผู้บรรยายฝรั่งยังดีเสียกว่า ฟังรู้เรื่องมั่งไม่รู้เรื่องมั่งยังดีกว่าคนที่ไม่มีความรู้เรื่องกีฬานั้นเลยมาบรรยายให้ฟัง.

บางครั้งการส่งลูกทีมไปรุกก็เป็นแทคติกที่นิยมใช้กันครับ เช่นพรุ่งนี้(วันนี้ของที่เมืองไทย)จะเป้นเสตจทางราบอีกแล้ว มีคะแนนสปรินเตอร์อีกแล้ว ผมจะขอยกตัวอย่างเป้นทีม A และทีม B นะครับ ทีม A ส่งสปรินเตอร์ไปหนึ่งคนซัก 15 กิโลก่อนถึงจุดคะแนนโบนัส แน่นอนที่มีโอกาสเป้นไปได้มากๆว่าสปรินเตอร์ที่ต่างก็รู้ตัวเรื่องการสะสมคะแนนชิงเสื้อเขียวทั้งหลายจะพุ่งตามไปอย่างไม่ทันคิดอะไร ผลเสียมันไปตกอยู่กับทีม B ซึ่งอาจเสีย(พลัง)ของสปรินเตอร์ที่ควรจะเอามาลากกัปตันของตนในช่วงก่อนเข้าเส้นไปกับเหยื่อล่อของทีม A ทีนี้ก็หวานทีม A สิครับ จัดกลุยทธลากหมกอยู่ในเปโลตองรอจังหวะสุดท้ายหาตำแหน่งวางตัวกัปตันเหมาะๆสปรินท์แรงแซงพุ่งมาโดยอาศัยสปรินเตอร์ตัวเก่งอีกคนสองคนที่ยังเก็บเอาใว้ลากกระชากออกมาด้วย
อย่างที่ท่านแม็กซี่ บอกครับการปั่นอยู่ในเปโลตองนั้นถนอมแรงได้ดีมากๆ บางครั้งในเสตจเขาส่งพวกขึ้นเขาเก่งๆจัดๆไปยั่วซะหน่อยคู่แข่งก็ติดกับไล่ไปด้วยอีกสี่ห้าคน เผลอๆพวกตัวเต็งจะติดกับไปด้วยอีก ทีม A ก็สบายครับรักษาระยะห่างเอาใว้หมกอยู่ในกลุ่มถนอมแรงไปเรื่อยๆ พอเริ่มเห้นว่ากลุ่มหน้าที่ยิงหลุดไปห่างมากไปก็จะจัดกระบวนทัพกัน(ลองสังเกตุได้จากวันที่ 3 ช่วง 10 กิโลสุดท้าย) เพื่อไล่ล่าลดช่องว่างเวลานั้น การแข่งระดับนี้มีข้อมูลกันแน่นปึ้กครับนักปั่นรู้หมดว่าใครอยู่ตรงใหน ที่สองเวลารวมอยู่ห่างจากเรากี่วินาทีอันตรายกับเสื้อเหลืองมั้ย กลุ่มหน้าทิ้งหา่งไปกี่วินาที เพราะในรถซัพพอร์ทเค้ามีข้อมูลเหล่านี้ทั้งหมดและสื่อสารมาที่นักแข่งโดยครงครับ ผู้จัดการทีมก็จะบงการเกมจากในรถด้วย อย่างปีนี้(หรือมีมาตั้งแต่ก่อนหน้าก็ไม่ทราบได้) มีโปรแกรมที่สามารถแสดงตำแหน่งของลูกทีมพร้อมทั้งสัญญาณจากหัวใจและกล้ามเนื้อนำมาประมวลผลกันได้เลยว่าใครเหลือแรงประมาณใหน เรียกว่าไม่ใช่กีฬาข้าลุยดะนะครับจักรยานเนี่ย เทคโนโลยีล้วนๆจะยิง จะไล่ จะรุกเมื่อใหร่ ไม่ใช่เรื่องของวัดดวงครับเป้นการประมาวลผลทั้งสิ้น
กรณีกลับกันอีกกรณีก็คือ ผู้นำเวลารวมรุกเอง เพื่อขยายช่องงห่างของเวลารวมออกไปอีกให้ได้ เพราะพวกนี้ก็อ่านเกมส์กันออกครับว่าที่ 2 วันนี้น่าจะรุกหนักเพื่อให้ได้จังหวะฉีกไปลดเวลาให้ได้ ดังนั้นวิธีการนึงที่เห็นในปี 06 จำเสตจไม่ได้แล้ว เสื้อเหลืองรุกเองครับ(ใครหนอ ที่โด้ปน่ะไม่งั้นคงไม่รุกระห่ำขนาดนั้น 555555 กรณีนี้คุยกันเรื่องกลยุทธนะครับเรื่องนั้นช่างมัน) รุกจนกระทั่งจังหวะของคู่แข่งเสียไปหมด จะรุกคืนตอนใหน จะตามตอนใหน ไอ้ครั้งจะทิ้งให้รุกหายไปก็อันตราย ไอ้จะตามไล่ก็กลัวจะเสียจังหวะที่วางกันเอาใว้ เสตจนั้นจบลงด้วยการสัมภาษณ์ผู้จัดการทีมคู่แข่งว่าทำไมไม่สั่งให้ไล่เร็วกว่านี้ ก็พบหน้าจ๋อยๆและคำแก้ตัวแบบซึมๆไปว่าการรุกของผู้นำเวลารวมทำให้กระบวนทั้งหมดเสียและไม่คิดว่าจะรุกได้สำเร็จจึงรั้งทีมใว้ จนกระทั่งระยะห่างมันไกลเกินกว่าจะไล่ได้แล้วนั่นแหละครับ สายไปแล้วทำได้แค่พยายาม
โอ่ย เรื่องนี้ร่ายยาวไม่หมด ผมเองก็ไม่ได้เก่งเทพหรอกครับ บังเอิญดูมาหลายปีหลายๆครั้งมีการวิเคราะห์ การสอน การอธิบายโดยผู้เชี่ยวชาญก็ฟังมาเวลาดูก็สนุกขึ้นครับ เคยพยายามเอาไปใช้บ้างแต่แรงน้อยครับ รุกไแร่วงเองตอนหลัง 55555
ต่อครับ เดี๋ยวรอดูเสตจที่มีทั้งทางราบยาวๆและเนินดักนะครับ(จริงๆเสตจ 5 ก็ประมาณนั้น) อาจจะเห้นพวกสปรินเตอร์จรวดทางราบทั้งหลายรีบพุ่งไปก่อนเยอะมากๆ เพราะอะไร? พวกนี้รู้ตัวดีครับว่าเครื่องยนต์ตัวเองไม่ใช่เครื่องยนต์ทนอึดแบบขึ้นเขา เสียเปรียบมากๆ ดังนั้นรีบยิงไปซะก่อนดีกว่า เผื่อมีลุ้นว่าจะผ่านยอดเขาได้ก่อนที่พวกนักไต่เขาพันธุ์อึดมาทัน ลงเขาก็วัดกันทิ้งให้ห่างก็จะได้เปรียบ พวกนักไต่เขาก็ไม่สนใจไล่หรอกครับ ส่วนมากจะรอช่วงเขาจริงๆ แล้วพวกนี้รุกบนเขากันน่ากลัว(หัวใจวาย)มากๆ ขึ้นเขากันเร็วจริงๆ ถ้าเกมส์วางมาดีจังหวะดี ก็ตามรวบพวกกลุ่มหน้าได้ไม่ยาก ดังนั้นมันอยู่ที่จังหวะด้วยครับว่าจะยิงไปตอนใหน ส่วนมากจะวิเคราะห์กันมาก่อนแล้วครับว่าช่วงใหนใครยิง ถ้ามีการยิงใครไล่
ผมเชื่อว่าคงมีคำถามว่า อ้าวแล้วถ้างั้นทำไมไม่ขี่กันเป้นก้อนๆไปแล้วไปสปรินท์วัดกันหน้าเส้นล่ะ คำตอบก็คือ มันคือเกมส์กีฬาครับ ขณะแข่งถ้าทีมเราสามารถจัดการคู่แข่งได้ก่อนเราก็มีโอกาสชนะ ต่อไปเวลาดูเปโลตอง ลองมองดูก้อนๆเสื้อสีเดียวกันนะครับ นั่นแหละครับรูปแบบการจัดกลุ่มของเค้า สังเกตุให้ดีๆก่อนจะมีการยิง เค้าจะค่อยๆไหลคนที่จะยิงออกมาริมๆครับ ทีมที่รุกมากอาจเหลืออยู่แค่คนสองคนเกาะอยู่กับเปโลตองที่เหลือกระจายหายไปหมด ทีมที่เน้นเกมรับมากๆก็จะเกาะกันเป้นก้อนใหญ่ค่อยๆใช้แล้วทิ้งไปทีละคนสองคนก่อนเหลือก้อนนึงใว้หน้าเส้น อย่างเช่น Quickstep วันก่อน และเสตจ 5 เมื่อวานขณะที่กำลังเบียดเข้าเส้นมองไปด้านหลังหมเห็นแผง Lempre มาน่ากลัวมากๆน่าเสียดายที่รุกช้าไปและแรงไม่พอจะแหวกออกมาได้ไม่งั้นคงมันส์กว่านี้ Lampre แผงนี้เห้นจัดแจงตำแหน่งกันมาตั้งแต่ช่วงรวมกลุ่มก่อนเข้าเส้นซักพักแล้วครับ ยังคิดอยู่เลยว่าคงมีเฮ แต่ดูจากการวิเคราะห์เค้าว่าตำแหน่งสุดท้ายก่อนบี้กันไม่ค่อยดีเท่าใหร่ไม่สามารถแหวกยิงออกมาได้
หมดแล้วครับเท่าที่นึกออก
จขกท ต้องลองดูแล้วเวลาปั่นกับกลุ่มเอาไปลองครับจะเข้าใจว่าบางทียิงแล้วไม่รอด บางทีโอกาสดีๆมีคนพุ่งไปแล้วเราลองเกาะไปด้วยเส้นทางอำนวย ช่วยกันดี ข้างหลังก็ไล่เรามาไม่ทันเหมือนกัน

โดปเลือด โดปอย่างไร?
ระหว่างการแข่งตูร์ เดอ ฟร็องซ์ปีนี้ยังไม่ทันจบ ก็ปรากฎว่ามีเรื่องมีราวขึ้นมาอีกเกี่ยวกับปัญหาโลกแตกของวงการจักรยานและกีฬาประเภทเน้นความทนทานอื่นๆ คงไม่พ้นเรื่องโดปนี่แหละ แม้นักกีฬาจะโดปกันได้หลายหลากแต่หัวข้อคราวนี้เป็นเรื่องการ”โดปเลือด” ผู้ตกเป็นข่าวก็คืออเล็กซานเดอร์ วิโนคูรอฟที่เพิ่งชนะสเตจ 15 มาหยกๆ เป็นครั้งที่ 2 แห่งการชนะในสเตจหลังจากเขาชนะมาแล้วในไทม์ ไทรอัลประเภทบุคคลของสเตจ 13 และสเตจเดียวกันนี้เองที่เกิดเรื่อง เพราะห้องแล็บของทางการฝรั่งเศสที่ชาเตอะเนย์ มาลาบรีชานกรุงปารีสตรวจพบความผิดปกติในตัวอย่างเลือด A ของ”วิโน” ตอนนี้กำลังรอการยืนยันในตัวอย่าง B อยู่ ตามข่าวจาก www.velonews.com
เหตุการณ์ทำท่าจะลุกลามไปใหญ่เพราะทีมอัสตานา(Astana)จะถอนทีมออกจากตูร์ เดอ ฟร็องซ์ เรียกว่าอีก 5 สเตจต่อไปจะไม่แข่งกันล่ะ ต่อไปคงต้องสอบสวนกันอีกนานกว่าจะจบ กรณีฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนสังเคราะห์ของฟลอยด์ แลนดิสแชมป์ตูร์ เดอ ฟร็องซ์ปีก่อนก็ยังไม่จบ ปีนี้มีเรื่องของวิโนคูรอฟเข้ามาแทรกอีกจนทำให้แฟนตูร์ เดอ ฟร็องซ์ถอนใจกันเป็นแถว เมื่อวิธีการนี้ถูกนำกลับมาใช้อีกทั้งที่น่าจะใช้วิธีอื่นที่ซับซ้อนกว่าหรือตรวจจับได้ยากกว่า โปรไบค์จึงอยากเสนอเกร็ดความรู้เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์แก่ท่านซึ่งเป็นนักจักรยานและมีอุปการคุณกับเรา
เมื่อพูดถึงการโดปเลือด หลักการของมันก็ไม่มีอะไรมาก ว่ากันตามหลักการแพทย์ก็คือเมื่อทราบว่ากล้ามเนื้อต้องการออกซิเจนเพื่อทำงานต่อเนื่องและทนทาน ก็ต้องหาทางจ่ายออกซิเจนให้พอ เลือดคือพาหะนำออกซิเจนไปให้กล้ามเนื้อ ทางออกก็คือต้องสร้างเลือดหรือพูดให้ละเอียดคือเซลเม็ดเลือดแดงหรือฮีโมโกลบินให้มากเข้าไว้ ถ้าเจ้าของเลือดทำเช่นนี้ไม่ได้เพราะมันไม่ใช่กิจกรรมตามธรรมชาติ ก็ต้องมีตัวช่วยคือกรรมวิธีทางการแพทย์ที่ทำให้เซลเม็ดเลือดแดงเพิ่ม ทั้งการเปลี่ยนถ่ายเลือดและการกระตุ้นให้สร้างขึ้นเองเลียนแบบวิธีธรรมชาติด้วยสิ่งที่เรียกว่าอีพีโอ(EPO Erythropoietin)ที่จะไปกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่ม แต่วิธีหลังค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อนกว่า
มันยากทั้งการทำและการตรวจหาให้เจอ ก็คงจะมีแต่การโดปเลือดนี่แหละที่เนียนที่สุด เร็วที่สุด และง่ายที่สุด แค่ดูดเลือดไปเก็บไว้ ปล่อยให้ร่างกายสร้างเซลเม็ดเลือดแดงทดแทนสักระยะ พอได้เวลาก็เอาเลือดตัวเองนั่นแหละเติมกลับเข้าไปอีก
ไทเลอร์ แฮมิลตันอดีตลูกทีมยูไนเต็ด โพสเติล เซอร์วิสและต่อมาเป็นหัวหน้าทีมซีเอสซี,โฟแนคตามลำดับ คือเหยื่อการโดปเลือดที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดเพราะหลักฐานโจ่งแจ้ง มีการตรวจพบความผิดปกติในตัวอย่างเลือดและมีความสัมพันธ์กับหมอนักโดปที่รู้จักกันดีในวงการจักรยานยุโรป ตอนนี้เขาถูกห้ามแข่งถาวรไปแล้ว
วิธีการโดปเลือดมีสองแบบ แบบแรกก็คือที่กล่าวไปแล้วว่าเอาเลือดตัวเองออกไปแล้วใส่กลับเข้ามา วิธีนี้มีข้อเสียคือมันต้องใช้เวลาให้ร่างกายฟื้นตัว นักกีฬาไม่สามารถซ้อมหนักเต็มที่ได้ระหว่างรอให้ร่างกายสร้างเซลเม็ดเลือดแดงทดแทน ข้อดีคือไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่มาทางเลือดอย่างเอดส์หรืออื่นๆ อีกรูปแบบของการโดปเลือดคือรับเลือดจากคนอื่น รับเลือดจากคนที่มีหมู่เลือดเดียวกันเลยมันง่ายดี ไม่ต้องรอให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดง ประสิทธิภาพไม่ลดลงระหว่างซ้อมด้วย สามารถซ้อมต่อเนื่องไปได้เลย แต่ข้อเสียก็คืออาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่มากับเลือดได้ ก็เอดส์หรือไวรัสอื่นๆอีกนั่นแหละ ไทเลอร์ แฮมิลตันเองก็โดนเล่นงานจากวิธีที่สองนี้
ทั้งสองวิธีนี้ต้องตรวจสอบกันอย่างละเอียดถึงจะจับความผิดปกติได้ อย่างแรกก็คือเซลเม็ดเลือดแดงมากผิดปกติ มากเกินกว่าจะยอมให้แข่งขันต่อไปได้ อีกอย่างคือแม้มนุษย์จะมีเลือดอยู่ไม่กี่หมู่คือ เอ บี และโอ แต่ลักษณะทางพันธุกรรมของแต่ละคนจะมีประทับอยู่ในหมู่เลือดนั้นๆ เลือดหมู่เอของคุณนำชัยย่อมไม่เหมือนเลือดหมู่เอของคุณอุดมศักดิ์เพราะมาจากคนละพ่อคนละแม่ ถ้าถ่ายเอาเลือดเพื่อนเข้ามาในตัว ตรวจสอบกันจริงๆก็พบความแตกต่างได้
ถ้าจะตั้งคำถามว่าวิธีโดปเลือดนี้ได้ผลหรือเปล่า? คำตอบในตอนนี้คือยังลูกผีลูกคน ยังเป็นแค่ความเชื่อทางทฤษฎีของแพทย์ แต่ผลเสียนั้นมีแน่ เมื่อเลือดข้นขึ้นมันก็มีโอกาสสูงที่จะแข็งตัวเป็นลิ่มเลือด เจ้าลิ่มนี่ไปอุดตรงใกล้สมองก็ทำให้เส้นเลือดในสมองแตกเป็นอัมพาต ถ้าไปอุดตรงก่อนถึงหัวใจ หัวใจก็วายฉับพลัน
ในเมื่อข้อเสียชัดเจนแต่ข้อดียังคลุมเครือเช่นนี้ องค์กรกีฬาต่างๆจึงห้ามไม่ให้นักกีฬาโดปเลือด ใครฝ่าฝืนมีโทษสถานเดียวคือห้ามแข่ง ในเมื่อคิดจะเอาเปรียบเพื่อนและทำร้ายตัวเองได้ขนาดนี้ก็ต้องลงโทษให้หนัก ให้เป็นเยี่ยงอย่าง
ทั้งที่วางกฎเกณฑ์เอาไว้เข้มงวดขนาดนี้แล้วก็ยังเกิดเรื่อง ปีนี้อเล็กซานเดอร์ วิโนคูรอฟทำท่าว่าจะดีก็โดนจับโดปเลือดอีกคน ที่ปราบก็ตั้งหน้าตั้งตาปราบกันไป ที่พยายามโกงก็พยายามหาวิธีที่แนบเนียนที่สุดเพื่อหนีการตรวจจับให้ได้เหมือนกัน เกมแมวจับหนูคงเป็นอย่างนี้ไปอีกหลายปี ตราบใดที่ผลประโยชน์มหาศาล ตราบนั้นคนเราก็ยังหาหนทางโกงกันไม่สิ้นสุด

การโด๊ปเลือด (Blood Doping)
หลายท่านอาจจะสงสัยว่ามีการโด๊ปอย่างไร ฉะนั้นมาทราบกรรมวิธีและความเป็นมาของการโด๊ปเลือดกันนะครับ
ประวัติการโด๊ปเลือดและการใช้ Erythropoietin
มีหลักฐานและรายงานว่ามีการให้เลือด แก่นักกีฬามาตั้งแต่ราว ปี พ.ศ. ๑๙๔๗ ในการใช้เลือดจากผู้อื่น ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๖๖ Ekblom ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าการโด๊ปเลือดมีผลเพิ่ม Arobic Capacity ( ความจุของออกซิเจน ) อย่างชัดเจน และในปี ๑๙๗๖ ในการแข่งขันโอลิมปิคเกมส์ที่แคนาดา มีรายงานอย่างไม่เป็นทางการในการแข่งขันว่ามีนักกีฬาใช้กันอย่างประปรายแล้ว และครั้งสุดท้ายก็คือ โอลิมปิคเกมส์ที่ลอสแอนเจลิสสหรัฐอเมริกา ในปี ๑๙๘๔ ทีมนักกีฬาของสหรัฐที่ได้เหรียญทอง เหรียญเงิน บางคนได้ยอมรับว่ามีการโด๊ปเลือดในหมู่นักจักรยานทางไกล
สำหรับ Erythropoietin (EPO) ตามปกติเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นบริเวณไต มีหน้าที่ควบคุมและกระตุ้นการผลิตเม็ดเลือดแดงที่ไขกระดูก ในปี ค.ศ. ๑๙๘๗ Eschbach และคณะได้รายงาน การใช้ EPO ชนิดสังเคราะห์ในการรักษาผู้ป่วยที่มีโลหิตจางจากสาเหตุของโรคไตเรื้อรังเป็นผลสำเร็จ หลังจากนั้นก็มีผู้นำแนวคิดดัดแปลงการใช้ EPO กับนักกีฬา
ผลทางสรีรวิทยาของการโด๊ปเลือด
นักกีฬาที่ใช้การโด๊ปเลือด มักจะเป็นนักกีฬาที่ต้องใช้ความอดทนในการแข่งขัน อาทิเช่น นักวิ่งระยะไกล จักรยานทางไกล สกีน้ำแข็งระยะไกล เป็นต้น วัตถุประสงค์ในการโด๊ปเลือดให้แก่นักกีฬา อาศัยความรู้ทางทฤษฎีว่าเม็ดเลือดแดงมีหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกาย ในการแข่งขันกีฬาที่ต้องใช้พลังงานแบบแอโรบิค ถ้ามีออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมากย่อมก่อให้เกิดพลังงานได้มากด้วย
กรรมวิธีการโด๊ปเลือด
ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงให้ดีขึ้นเป็นระยะๆ เดิมที่มีการใช้เลือดแท้ๆ (whole blood) จากผู้อื่น ซึ่งมีเม็ดเลือดแดงประมาณ ๔๐-๔๕% และที่เหลือคือน้ำเลือด แต่วิธีนี้มีผลเสีย คือ จะมีภาวะการไหลเวียนโลหิตล้มเหลวเนื่องจากมีเม็ดเลือดเกินกว่าปกติในร่างกายทันที นอกจากนี้มีผลเสียอื่นๆ อีก เช่น ปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่พบบ่อยๆ เช่น ลมพิษ ไข้หนาวสั่น และที่อันตรายมากคือการให้เลือดผิดกรุ๊ปซึ่งรุนแรงถึงตายได้ นอกจากนี้ยังมีปฏิกิริยาแพ้น้ำเหลืองคนอื่น การรับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี การรับเชื้อกามซิฟิลิส การรับเชื้อโรคเอดส์ เป็นต้น
ต่อมามีการปรับปรุงการโด๊ปเลือดแบบให้เฉพาะเม็ดเลือดแดงอย่างเดียวโดยไม่เอาน้ำเลือดเข้ามาปน ซึ่งจะมีเม็ดเลือดแดงประมาณ ๘๐% โดยให้ครั้งละ ๑ ยูนิต คือประมาณ ๓๐๐ ซีซี จะหลีกเลี่ยงปัญหาการเกิด Circulation over load ได้ แต่ก็ยังเสี่ยงต่อการเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้และเสี่ยงต่อการรับเชื้อโรค ที่ไม่พึงประสงค์ของผู้อื่นอยู่ดี
การใช้ Erythropoietin (EPO)
ในภาวะปกติของคนทั่วไปจะมีการสร้างเม็ดเลือดแดงและทำลายเม็ดเลือดแดงในอัตราที่สมดุลกัน อยู่เสมอ Eschbach และคณะ ได้ทดลองให้ EPO ในผู้ป่วยไตที่มีปัญหาโลหิตจาง โดยให้ขนาด ๕๐ ยูนิต/กก.นน.ตัว เป็นระยะ พบว่าสามารถเพิ่มฮีมาโตคริต (Hematocrit) ได้ถึง ๓๕% หรือมากกว่านั้น แต่สำหรับผู้ป่วยโลหิตจางสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่ใช่โรคไตเรื้อรังที่รักษาด้วย EPO ยังไม่ได้ผลที่แน่นอน ในขณะเดียวกันการใช้ EPO กับนักกีฬาเพื่อวัตถุประสงค์กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงให้มากกว่าปกติยังไม่มีรายงานการวิจัย อย่างเป็นทางการถึงผลของการเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดแดง แต่เมื่อคำนึงถึงหลักทฤษฏีเช่น เดียวกับการโด๊ปเลือดก็น่าจะให้ผลเช่นเดียวกัน
การตรวจสอบและบทลงโทษ
การโด๊ปเลือดและการใช้ EPO ได้ถูกประกาศห้ามกระทำโดยคณะกรรมการโอลิมปิคสากล (IOC)ตั้งแต่ปี ค.ศ . ๑๙๘๔ ถึง ค.ศ. ๑๙๘๗ เป็นต้นมาตามลำดับ ส่วนหลักฐานที่จะพิสูจน์ว่านักกีฬาเป็นผู้ใช้หรือไม่อย่างไร เนื่องจากการโด๊ปเลือดเป็นกรรมวิธี ไม่ใช่การใช้ยาจึงไม่อาจตรวจจากปัสสาวะนักกีฬาได้ จนปัจจุบันนี้
ยังไม่มีรายงานการลงโทษจาก IOC เลยแม้แต่รายเดียว คงเป็นเพียงคำขู่และคำเตือนที่ว่าถ้ามีหลักฐานข้อบ่งชี้จากพยานผู้ยืนยันการเห็นเหตุการณ์การให้เลือด วัสดุการให้เลือด และการเรียกผู้ต้องสงสัยมาตรวจเลือดเพื่อหาค่า
• SERUM HEMOGLOBIN
• BILIROBIN
• ธาตุเหล็กที่เกาะรวมกับเม็ดเลือดแดง
ถ้า ๓ ค่าที่กล่าวมาแล้วสูงผิดปกติ ร่วมกับปริมาณ EPO ภายในร่างกายลดลง อาจเป็นหลักฐานผูกมัดผู้กระทำผิดได้ราว ๕๐-๖๐% เท่านั้น
??? ทำไมใครบางคนจึงต้องการเม็ดเลือดแดงจำนวนมาก

เม็ดเลือดแดงมีฮีโมโกลบินเป็นส่วนประกอปซึ่งทำหน้าที่นำพาอ๊อกซิเจนไป ทั่วร่างกาย การที่มีเม็ดเลือดแดงเป็นจำนวนมากย่อมจะมีการนำออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น ทำให้มีความอดทน แข็งแรง และความเร็วได้

??? เราจะทราบได้อย่างไรว่าจำนวนเท่าไรจึงถือว่ามีปริมาณเม็ดเลือดแดงสูงในร่างกาย

โดยทั่วไปแล้วในผู้ชายจะมีระดับฮีโมโกลบินอยู่ในช่วง 14 – 17 กรัมต่อเดซิลิตรของเลือด (เดซิ = 10-2) และผู้หญิงอยู่ในช่วง 12-15 กรัมต่อเดซิลิตรของเลือด ในกีฬาที่แตกต่างกันหรือในการแข่งขันที่แตกต่างกัน จะมีค่าอนุญาตที่ต่างกันด้วย ตัวอย่างเช่น สมาคมสกีนานาชาติ (the international ski federation; FIS) อนุญาตให้มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 17 กรัมต่อเดซิลิตร ในนักกีฬาผู้ชาย ส่วนนักกีฬาผู้หญิงมีฮีโมโกลบินได้มากที่สุด คือ 16 กรัมต่อเดซิลิตร

???ทำอย่างไรถึงจะเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดแดงได้จำนวนมากๆ

การที่มีปริมาณเม็ดเลือดแดงสูงเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่ามีอาการ โพลีโกลบูเรีย (Polyglobulia) ซึ่งมีสาเหตุของการเกิดได้หลายอย่าง เช่น

คนที่อาศัยหรือถูกฝึกซ้อมในที่สูง จะมีการเพิ่มขึ้นของระดับฮีโมโกลบิน เหตุผลเป็นเพราะว่าบริเวณดังกล่าวมีออกซิเจนเบาบาง ทำให้ไตมีการผลิตฮอร์โมนที่มีชื่อว่า อีริโทรพอีทิน (erythiopoietin; EPO) เพิ่มขึ้น ฮอร์โมนนี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีการผลิตเม็ดเลือดแดงที่โพรงกระดูก (bone marrow)

จากการศึกษาในคนที่อาศัยอยู่บนเทือกเขาแอนดีส (Andes) แสดงให้เห็นว่ามีปริมาณฮีโมโกลบินที่สูงขึ้นแบบธรรมชาติ โดยมีระดับถึง 21 กรัมต่อเดซิลิตร

และอีกเหตุผลหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ คือการที่มีอ๊อกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ลดลง เช่นเป็นคนป่วยเป็นโรคปอดเรื้อรังและโรคหัวใจ หรือการสูบบุหรี่อย่างหนัก และยังมีบางสาเหตุบางอย่าง นั้นคือเกิดจากพันธุกรรมบกพร่อง ซึ่งสามารถนำไปสู่การมีเม็ดเลือดแดงปริมาณมากๆได้

แต่ส่วนใหญ่เมื่อมีอาการเหล่านี้แล้วจะทำให้ไม่มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถเป็นนักกีฬาโอลิมปิก เพราะจะทำให้เกิดการสูญเสียน้ำ (dehydration) ได้ง่าย ทำให้เลือดมีความข้นมากขึ้น และความเข้นข้นของเม็ดเลือดแดงสูงขึ้น ซึ่งอาจจะนำไปสู่เกิดการตกตะกอนของเลือดได้
ตลุย"น่าน"กับชาวคูคต 2553
ฟ้ากว้าง ทางไกล ปันน้ำใจเพื่อนร่วมทาง
ตอบกลับ

กลับไปยัง “ชมรมคูคต”