--------เวียตนาม---------

ผู้ดูแล: ratpol, ต้นเรือ, voody

กฏการใช้บอร์ด
ชมรมคูคต เลขที่39/105 หมู่บ้านสวนเอก อ.ลำลูกกา ต.คูคต ปทุมธานี

พี่หนุ่ย (หัวหน้าชมรม) m.085 376 20032
รูปประจำตัวสมาชิก
CK.
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2654
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 21:25
Tel: 0817719790
team: KUKOT, ชมรมการบินไทย
Bike: Bianchi,GT Nomad,SOMA Saga

--------เวียตนาม---------

โพสต์ โดย CK. »

มารู้จัก และเรียนรู้ประเทศ เวียตนามกันดีมะ เผื่อว่าจะได้ใช้เมื่อคราวจำเป็น

:arrow: ชื่อทางการ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม(The Socialist Republic of Vietnam)
รูปแบบการปกครอง สังคมนิยม โดยรัฐธรรมนูญฉบับปี ค.ศ. 1992 กำหนดให้เวียดนามเป็นประเทศ สาธารณรัฐสังคมนิยม


พรรคการเมือง ระบบพรรคเดียว คือพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม

รัฐบาล แต่งตั้งโดยสภาแห่งชาติ (National Assembly) มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี (รายชื่อคณะรัฐมนตรีดูในเอกสารแนบ)

ผู้นำสำคัญทางการเมือง

เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ นายนง ดึ๊ก หมั่น (Nong Duc Manh)

ประธานาธิบดี/ประมุขของรัฐ นายเจิ่น ดึ๊ก เลือง (Tran Duc Luong)

นายกรัฐมนตรี/หัวหน้ารัฐบาล นายฟาน วัน ขาย (Phan Van Khai)

ประธานสภาแห่งชาติ นายเหวียน วัน อาน (Nguyen Van An)


เมืองหลวง กรุงฮานอย (Hanoi)

ระบบการบริหารราชการ แบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่
1. ส่วนกลาง มี 26 กระทรวงและองค์กรเทียบเท่า และ 13 องค์กรและสถาบันที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล
2. ระดับจังหวัด มี 61 จังหวัดและ 4 นคร (ฮานอย โฮจิมินห์ ไฮฟอง ดานัง)
3. ระดับเมืองและเทศบาล มีประมาณ 600 หน่วย
4. ระดับตำบล ประมาณ 10,600 ตำบล

พื้นที่ 331,033 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจรดใต้ 1,650 กิโลเมตร มีชายฝั่งทะเลยาวทั้งสิ้น 3,440 กิโลเมตร มีเขตแดนทางทะเล ร่วมกับไทยยาว 97 กิโลเมตร ทิศเหนือ มีพรมแดนติดจีน ยาว 728 กิโลเมตร ทิศตะวันตกมีรมแดนติดลาว ยาว 1,555 กิโลเมตร ทิศตะวันตกเฉียงใต้มี พรมแดนติดกัมพูชายาว 982 กิโลเมตร ทิศตะวันออกมีพรมแดนติดทะเลจีนใต้ และทิศใต้ติดอ่าวไทย


วันชาติ 2 กันยายน (ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสเมื่อ 2 กันยายน 2488/ค.ศ.1945)

ประชากร 80 ล้านคน (2545)

เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อการประชุม ASEAN Ministerial Meeting (AMM) ครั้งที่ 28 ที่บันดาร์ เสรี เบกาวัน เดือนกรกฎาคม 2538

ระบบเศรษฐกิจ เศรษฐกิจการตลาดแบบสังคมนิยม (socialist-oriented market) ภายใต้นโยบายการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ (Doi Moi) ที่เริ่มใช้เมื่อธันวาคม 2529

เงินตรา/อัตราแลกเปลี่ยน สกุลด่อง (Dong) ประมาณ 15,400 ด่อง / 1 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 360 ด่อง/1 บาท

รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปี 440 ดอลลาร์สหรัฐ

GDP 35.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

GDP Growth ร้อยละ 7 (2545)

อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 4 (2545)

อัตราการว่างงาน ร้อยละ 6.4 (2544)

การค้าระหว่างประเทศ มูลค่านำเข้าเท่ากับ 19.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2545) มูลค่าการส่งออกเท่ากับ 16.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2545) ขาดดุลการค้า 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินค้าออกที่สำคัญ น้ำมันดิบ เสื้อผ้าและสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์อาหารทะเล รองเท้าและเครื่องหนัง ข้าว ยางพารา เม็ดมะม่วงหิมพานต์ กาแฟ คอมพิวเตอร์ พริกไทย ถ่านหิน สินค้าหัตถกรรม

ตลาดส่งออกที่สำคัญ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ จีน สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ไต้หวัน

สินค้านำเข้าที่สำคัญ วัตถุดิบสิ่งทอและเครื่องหนัง เครื่องจักรและอุปกรณ์จักรยานยนต์ รถยนต์ เหล็ก ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์เคมี

นำสินค้าเข้าจาก สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ จีน

การลงทุนจากต่างประเทศ ในปี 2545 มีการลงทุนจากต่างชาติจำนวน 700 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จนถึงปัจจุบันมีจำนวนโครงการลงทุนจากต่างชาติทั้งสิ้น 3,815 โครงการ มูลค่าเงินทุนจดทะเบียน 25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ประเทศผู้ลงทุนที่สำคัญ สิงคโปร์ ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง ฝรั่งเศส
ไทยเป็นผู้ลงทุนลำดับที่ ๑๑

การเมืองการปกครอง
1. การเมืองของเวียดนามมีเสถียรภาพ เนื่องจากมีพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นองค์กรที่มีอำนาจ สูงสุดผูดขาดการชี้นำภายใต้ระบบผู้นำร่วม (collective leadership) ที่คานอำนาจระหว่างกลุ่มผู้นำ ได้แก่
(ก) กลุ่มปฏิรูป ที่สนับสนุนการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ นำโดยนายกรัฐมนตรี ฟาน วัน ขาย
(ข) กลุ่มอนุรักษ์นิยม ซึ่งต่อต้านหรือชะลอการเปิดประเทศ เพราะเกรงภัยของ “วิวัฒนาการที่สันติ” (peaceful evolution) อันเนื่องมาจากการเปิดประเทศ และ
(ค) กลุ่มที่เป็นกลาง ประนีประนอมระหว่างสองกลุ่มแรก นำโดยประธานาธิบดี เจิ่น ดึ๊ก เลือง ส่งผลให้รัฐบาลเวียดนามต้องปรับแนวทางการบริหารประเทศให้ยืดหยุ่นและเปิดกว้างมากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถดำเนินไปได้ในย่างก้าวที่รวดเร็วนัก

2. เวียดนามได้มีการเลือกตั้งสภาแห่งชาติ สมัยที่ 11 เมื่อ 19 พฤษภาคม 2545 มีผู้ได้รับการเลือกตั้งทั้งสิ้น 498 คน เป็นผู้สมัครอิสระเพียง 2 คน ที่เหลือเป็นผู้สมัครที่ได้รับการคัดเลือกจากพรรคคอมมิวนิสต์ สภาแห่งชาติมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี มีหน้าที่ตรากฎหมาย แต่งตั้งหรือถอดถอนประธานาธิบดี ประธานรัฐสภาและนายกรัฐมนตรี

3. สภาแห่งชาติชุดใหม่ได้เปิดประชุมเมื่อ 19 กรกฎาคม 2545 โดยสภาได้มีมติสำคัญๆ คือ 1) รับรองผลการเลือกตั้งเมื่อ 19 พฤษภาคม 2) เลือกตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ประจำสภา 3) การเลือกตั้งให้นายเหวียน วัน อาน ดำรงตำแหน่งประธานสภาต่อไป (เมื่อ 23 กรกฎาคม ) 4) การเลือกตั้งให้นายเจิ่น ดึ๊ก เลือง ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อไป (เมื่อ 24 กรกฎาคม ) และ 5) เลือกตั้งให้นายฟาน วัน ขาย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป (เมื่อ 25 กรกฎาคม) และได้มีการปรับคณะรัฐมนตรีเมื่อ 8 สิงหาคม 2545 โดยในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ 26 คน มีรัฐมนตรีที่ได้รับแต่งตั่งใหม่ 15 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ หลายคนเคยดำรงรัฐมนตรีช่วยในกระทรวงนั้น ๆ มาแล้ว นอกจากนี้ ยังมีการตั้งกระทรวงใหม่ 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม และกระทรวงภายใน ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงทิศทางการปฏิรูปเศรษฐกิจและการบริหารประเทศมากขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาในประเด็นนี้ ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-เวียดนามที่ดำเนินไปด้วยดีในปัจจุบัน

4. แผนงานการปฏิรูประบบราชการสำหรับปี ค.ศ. 2001-2010 เน้น 4 ประเด็น ได้แก่ การปฏิรูประบบกฎหมาย การปฏิรูปโครงสร้างองค์กร การยกระดับความสามารถของข้าราชการ และการปฏิรูปด้านการคลัง

เศรษฐกิจการค้า
1. เวียดนามได้ปฏิรูประบบเศรษฐกิจภายใต้นโยบายโด๋ เหม่ย (Doi Moi) ที่เริ่มใช้เมื่อธันวาคม 2529 ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักที่จะพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมภายในปี 2563

2. เศรษฐกิจของเวียดนามโดยรวมเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP) ในปี 2545 ร้อยละ 7 มีมูลค่า 35.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาคอุตสาหกรรมเติบโตร้อยละ 14.5 ภาคการเกษตรเติบโตร้อยละ 5.6 มีมูลค่าการส่งออก 16.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 19.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าที่ทำรายได้สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ น้ำมันดิบ มูลค่า 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เสื้อผ้าและสิ่งทอ มูลค่า 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และอาหารทะเล มูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

3. ในปี 2545 รัฐบาลได้ออกใบอนุญาตลงทุนให้บริษัทต่างชาติ จำนวน 700 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเพิ่มทุนแก่โครงการลงทุนมูลค่า 918 ล้านดอลลาร์สูงกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อันเป็นผลจากการปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการและมาตรการผ่อนปรนด้านการเงินแก่บริษัทต่างชาติ ทำให้เวียดนามมีโครงการลงทุนจากต่างประเทศทั้งสิ้น 3,815 โครงการ มูลค่า 25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ดี การลงทุนส่วนใหญ่ในปี 2545 เป็นโครงการลงทุนขนาดกลางและขนาดเล็ก


ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

1. ทั่วไป

สถาปนาความสัมพันธ์ 6 สิงหาคม 2519 (ค.ศ. 1976)

กลไกความสัมพันธ์ทวิภาคี

(1) คณะกรรมาธิการร่วม (Joint Commission-JC) จัดตั้งเมื่อ 18 สิงหาคม 1991 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนและการลงทุนเวียดนามเป็นประธานร่วม การประชุมครั้งล่าสุด คือ ครั้งที่ 7 เมื่อ 13-14 มีนาคม 2546 ที่กรุงเทพฯ

(2) คณะอนุกรรมการการค้าร่วม (Joint Trade Commission) ตั้งเมื่อปี 2538 มีอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์และอธิบดี กรมเอเชียและแปซิฟิค กระทรวงการค้าเวียดนามเป็นประธานร่วม การประชุม JTC ครั้งล่าสุด คือ ครั้งที่ 3 เมื่อ 21 ธันวาคม 2542 ที่ กรุงฮานอย

เอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย นายกฤต ไกรจิตติ

กงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ นายสมปอง สงวนบรรพ์

เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศไทย นายเหวียน กว๊อก แข็ง (Nguyen Quoc Khanh)

กงสุลใหญ่เวียดนามประจำขอนแก่น อยู่ระหว่างการแต่งตั้ง

2. การเมือง

ปี 2544 เป็นปีครบรอบ 25 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-เวียดนาม ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเฉลิมฉลองโอกาสดังกล่าว ที่สำคัญได้แก่ การแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูง การจัดทำกรอบความร่วมมือระหว่างไทย-เวียดนาม ในรอบ 10 ปีข้างหน้า การจัดทำความตกลงความร่วมมือระหว่างจังหวัดของทั้งสองประเทศ การแลกเปลี่ยนคณะนาฏศิลป์ เป็นต้นการแลกเปลี่ยนการเยือนสำคัญ ๆ ในปี 2544 ได้แก่ การเยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 25-26 เมษายน 2544 การเยือนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2544 และการเยือนของรองรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระหว่างวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2544 นอกจากนี้ บุคคลสำคัญระดับสูงของไทยที่เดินทางเยือนเวียดนาม ในโอกาสการครบรอบ 25 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ได้แก่ การเยือนของพล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา องคมนตรี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2544 การเยือนของนายอานันท์ ปันยารชุน เมื่อสิงหาคม 2544 และการเยือนของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เมื่อ 8-11 เมษายน 2545

3. เศรษฐกิจ

3.1 การค้าระหว่างไทย-เวียดนามในปี 2545 มีมูลค่า 1,186 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าหลัก ที่ไทยส่งไปยังเวียดนามยังคงเป็น เม็ดพลาสติก เหล็ก เคมีภัณฑ์ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกล ขณะที่ไทยนำเข้าเครื่องจักรไฟฟ้า น้ำมันดิบ ถ่านหิน เมล็ดพืชน้ำมัน ผลิตภัณฑ์สัตว์ทะเลจากเวียดนาม

3.2 การลงทุนของไทยในเวียดนามจนถึงปี 2545 รวมทั้งสิ้น 110 โครงการ มูลค่า 1.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบันเป็นผู้ลงทุนอันดับที่ 9 จาก 56 ประเทศ และเป็นที่สองในอาเซียนรองจากสิงคโปร์ ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนด้านการแปรรูปสินค้าเกษตร โรงแรม อสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนรถยนต์และจักรยานยนต์ และสินค้าอุปโภคบริโภค การลงทุนของไทยส่วนใหญ่อยู่ที่นครโฮจิมินห์และจังหวัดใกล้เคียง นักธุรกิจไทยยังสนใจที่จะเข้ามาลงทุนและขยายความร่วมมือกับเวียดนาม เพราะเวียดนามมีปัจจัยการผลิตอันเป็นที่ต้องการของฝ่ายไทย รวมทั้งโอกาสของการส่งออกไปยังตลาดในประเทศที่สาม โดยเฉพาะสหรัฐฯ

3.3 ความร่วมมือระหว่างไทยกับเวียดนามยังสามารถพัฒนาได้อีกมาก เพราะทั้งสองประเทศมีปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สามารถเกื้อหนุนซึ่งกันและกันได้ ทั้งสองฝ่ายสามารถร่วมมือเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน ตัวอย่างที่ดีของความร่วมมือในลักษณะนี้คือ ความร่วมมือในการส่งออกข้าว ซึ่งสามารถขยายไปยังสินค้าอื่น ๆ ที่มีความคล้ายคลึงกัน เช่น ยางพารา ผลไม้ อาหารทะเล เป็นต้น

4. ความร่วมมือ

4.1 ไทยเริ่มให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการแก่เวียดนามตั้งแต่ปี 2535 ในสาขา สำคัญ ๆ คือ การเกษตร การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการ ในปี 2544 ไทยให้ความร่วมมือแก่เวียดนามทั้งในกรอบความร่วมมือปกติ และในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 25 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตรวมเป็นเงิน 17.7 ล้านบาท และมีแผนงานที่จะให้ความช่วยเหลือเวียดนาม ในวงเงินประมาณ 17 ล้านบาทในปี 2545

4.2 ความร่วมมือด้านการสอนภาษาไทยในเวียดนามประสบความสำเร็จด้วยดี ปัจจุบันไทยมีความร่วมมือด้านการสอนภาษาไทยกับมหาวิทยาลัย ๕ แห่งในเวียดนาม ได้แก่ มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศกรุงฮานอย มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมานุษยศาสตร์กรุงฮานอย มหาวิทยาลัยภาษาและสารสนเทศศาสตร์นครโฮจิมินห์ มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมานุษยศาสตร์นครโฮจิมินห์ และมหาวิทยาลัยแห่งชาติดานัง

5. สังคม

ความสัมพันธ์ระหว่างเอกชน และประชาชนดำเนินไปด้วยดี มีการเดินทางไปมาหาสู่กันเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายมีความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางธรรมดาระหว่างกันเมื่อปี 2543 นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้จัดตั้งองค์กร/สมาคม เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ อาทิ สมาคมมิตรภาพไทย-เวียดนาม และสมาคมนักธุรกิจไทยในเวียดนามด้วย

11 กันยายน 2546

เรียบเรียงโดย เรียบเรียงโดย กองเอเชียตะวันออก 2 กรมเอเชียตะวันออก โทร. 02-643-5200-1 E-mail: div1103@mfa.go.th

ข้อมูลนี้ คัดลอกมาจากเวบของกระทรวงการต่างประเทศ หากท่านต้องการข้อมูลที่อัพเดท สามารถเข้าชมได้ที่เวบไซต์ของ กระทรวงการต่างประเทศครับ
ตลุย"น่าน"กับชาวคูคต 2553
ฟ้ากว้าง ทางไกล ปันน้ำใจเพื่อนร่วมทาง
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือต๊อกต๋อย
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 77
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ต.ค. 2010, 21:54
Tel: 000-000-0000
team: เสืออิสระ
Bike: ‎Bianchi Trek Giant อื่นอีกมากมาย

Re: --------เวียตนาม---------

โพสต์ โดย เสือต๊อกต๋อย »

:) ละเอียดเลยครับ ว่าแต่จะมีทริปไปเวียดนามเมื่อไหร่ครับ :)
________________________________________
เช้าปั่นไป เย็นหิ้วมา :)
รูปประจำตัวสมาชิก
CK.
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2654
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 21:25
Tel: 0817719790
team: KUKOT, ชมรมการบินไทย
Bike: Bianchi,GT Nomad,SOMA Saga

Re: --------เวียตนาม---------

โพสต์ โดย CK. »

เสือต๊อกต๋อย เขียน::) ละเอียดเลยครับ ว่าแต่จะมีทริปไปเวียดนามเมื่อไหร่ครับ :)
________________________________________
เช้าปั่นไป เย็นหิ้วมา :)
ตั้งโครงการเอาไว้ ให้เป็นทริปประจำปีของ ชาวคูคตครับ คงปลายปี ระหว่าง วันที่ 2-12 ธ.ค.2554
โดยจะเข้าเวียตนามกลางก่อน คือ ดองฮา เว้ ดานัง ฮอยอัน ทั้งนี้จะต้องปรึกษา คนนำทางก่อนว่า เวลา 10 วัน(รวมวันเดินทางไป-กลับ ที่ด่านมุกดาหาร)เราจะไปได้ไกลถึงไหน โดยจะขึ้นรถให้น้อยที่สุดครับ โปรดติดตามความคืบหน้าไปเรื่อยๆ ครับ
ไฟล์แนบ
ด่านมุก.jpg
ด่านมุก.jpg (50.58 KiB) เข้าดูแล้ว 3239 ครั้ง
สพาน ที่มุกดาหาร.jpg
สพาน ที่มุกดาหาร.jpg (41.67 KiB) เข้าดูแล้ว 3238 ครั้ง
แก้ไขล่าสุดโดย CK. เมื่อ 18 มิ.ย. 2011, 13:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
ตลุย"น่าน"กับชาวคูคต 2553
ฟ้ากว้าง ทางไกล ปันน้ำใจเพื่อนร่วมทาง
รูปประจำตัวสมาชิก
อี๊ด-คูคต
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 629
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ต.ค. 2008, 15:51
team: คูคต
Bike: surly

Re: --------เวียตนาม---------

โพสต์ โดย อี๊ด-คูคต »

ต้องขอขอบคุณอ้ายCKที่เสียสละเวลาหาข้อมูลเพื่อส่วนรวมของชมรม..นับถือ นับถือ
อีด
รูปประจำตัวสมาชิก
CK.
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2654
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 21:25
Tel: 0817719790
team: KUKOT, ชมรมการบินไทย
Bike: Bianchi,GT Nomad,SOMA Saga

Re: --------เวียตนาม---------

โพสต์ โดย CK. »

:arrow: กำหนดการคร่าวๆ กลับเข้าช่องเม็ก
วันที่ 2 ธ.ค. 54 ออกจากกรุงเทพฯ ถึงมุกดาหารเช้าวันที่ 3 ธ.ค. 54
วันที่ 3 ธ.ค. 54 จากด่านท่าเรือมุกดาหารนั่งสองแถวไป - ด่านลาวบ่าว ปั่นเขาเวียตนาม ไปนอน เมือง Khe sanh(เกซาน) จากด่านไป 18 กม.
วันที่ 4 ธ.ค. 54 เมือง เกซาน ไปดองฮา นอนดองฮา 60 กม. นอนดองฮา 1 วันเพื่อ จะไปเที่ยวอุโมงค์วินห์ม็อค (หรือว่าเลยไปนอน ที่เว้เลย อีก 74 กม. จะลดเวลาไป 1 วัน)
วันที่ 5 ธ.ค. 54 ดองฮา - ไปเที่ยวเส้นแบ่งเขตแดนเวียดนามเหนือ ใต้อุโมงค์วินห์ม็อค ไปกลับ 110 กม. อาจเหมารถไป
วันที่ 6 ธ.ค. 54 จากดองฮา - เว้ (Hue)74 กม. เทียวเมืองเว้ วัดเทียนมู่ ร่องเรือยามราตรี นอนที่เว้.
วันที่ 7 ธ.ค. 54 เมืองเว้ - ดานัง 98 กม.นอนดานัง หรือเลยไปนอน ฮอยอัน อีก 30 กม. เที่ยวฮอยอัน
วันที่ 8 ธ.ค. 54 จากฮอยอัน - กัมด๊ก 120 กม.ไปง็อกฮอย (เหมารถ) ง็อกฮอยห่างจากด่านพูเกือ 20 กม.
วันที่ 9 ธ.ค. 54 จากกัมดุ๊ก - ผ่านง็อกฮอย ไปด่านพูเกือ เส้นทางนี้ควรจะเหมารถอย่างยิ่งเส้นทางเป็นเขาเสียส่วนใหญ่ และยิ่งเส้นทางจากด่านพูเกลือถึงอัตตะปือ ระยะทาง 80 กม.เป็นเขาจริงๆไม่ใช่เรา
วันที่ 10 ธ.ค. 54 อัตตะปือ - ปากซอง นอนปากซอง
วันที่ 11 ธ.ค. 54 ปากซอง-ปากเซ 60 กม. ปากเซ-ช่องเม็ก ระยะทางประมาณ 45 กม. ซึ่งเราจะขึ้นรถทัวร์กลับกรุงเทพฯที่ช่องเม็กก็ได้ หรือจะเหมารถมาขึ้นรถไฟที่อุบลก็ได้อีกเช่นกัน ในวันที่ 10 ธ.ค. 54 นั้นถ้าเราไม่นอนที่ปากซองจะปั่นมานอนที่ปากเซก็ได้เพราะระยะทางจากปากซองถึงปากเซ 60กม.ใช้เวลาเดินทางเพียง 1.30 ชม.เท่านั้น จะทำให้เหลือเวลาในการเดินทางเพียง 9 วันปากซอง - ช่องเม็ก อุบลฯ
วันที่ 11 ธ.ค. 54 เย็นออกจากอุบลฯ - ถึงกรุงเเทพฯ เช้าวันที่12 ธ.ค. 54


รูปภาพ
แก้ไขล่าสุดโดย CK. เมื่อ 18 มิ.ย. 2011, 13:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
ตลุย"น่าน"กับชาวคูคต 2553
ฟ้ากว้าง ทางไกล ปันน้ำใจเพื่อนร่วมทาง
รูปประจำตัวสมาชิก
CK.
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2654
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 21:25
Tel: 0817719790
team: KUKOT, ชมรมการบินไทย
Bike: Bianchi,GT Nomad,SOMA Saga

Re: --------เวียตนาม---------

โพสต์ โดย CK. »

ภาษาเวียตนามง่ายๆ ที่ใช้กันบ่อยๆ ของชาวเวียตนาม

คำทักทาย (ภาษาเวียดนาม)
• เจา อง (Chao Ong) : สวัสดี สำหรับชายสูงอายุ
• เจา แองห์ (Chao Anh) : สวัสดี ชายหนุ่ม
• เจา บั๊ก (Chao Bac) : สวัสดี ชายอายุมากกว่า
• เจา แอม (Chao Em) : สวัสดี ชายอายุน้อยกว่า
• เจา บา (Chao Ba) : สวัสดี สำหรับหญิงสูงอายุ
• เจา โก (Chao Co) : สวัสดี หญิงสาว
• เจา จิ (Chao Chi) : สวัสดี หญิงอายุมากกว่า
• เจา แอม (Chao Em) : สวัสดี หญิงอายุน้อยกว่า
• กาม เอิน (Cam On) : ขอบคุณ
• ซิน จ่าว (Xin Chao) : สวัสดี (ใช้ได้ทุกเวลา)
• ซิน โหลย (Xin Loi) : ขอโทษ
• จุ๊บ หงู งอน (Chuc Ngu Ngon) : ราตรีสวัสดิ์
• ซิน เหม่ย (Xin Moi) : ขอเชิญ,กรุณา
• ตาม เบียด (Tam Biet) : ลาก่อน
• แฮน กัพ ไล (Hen Gap Lai) : พบกันใหม่
• บั๊ก โก แคว คง (Bac Co Khoc Khong) : สบายดีหรือ
• กาม เอิน บิงห์ เทือง (Cam On Binh Thuong) : สบายดี ขอบคุณ
• แดบ หลำ (Dab Lam) : สวยมาก
• ยา (Da) : ใช่
• คง (Khong) : ไม่
• โตย (Toi) : ฉัน
• ซิงหลำ (Xinh Lam) : มีเสน่ห์มาก
• เติน อง ลา จี (Ten Ong La Chi) : คุณชื่ออะไร
• โตย เติน ลา (Toi Ten La) : ฉันชื่อ
• อัน เอียว เอ็ม (Anh Yeu Em) : พี่รักน้อง,ฉันรักเธอ
• เอ็ม เอียว อัน (Em Yeu Anh) : น้องรักพี่
สนทนา• เอ๋อ เดา (O Dau) : ที่ไหน(จะอยู่หลังคำนามเสมอ)
• เงิน ห่าง (Ngan Hang) : ธนาคาร
• เงิน ห่าง เอ๋อ เดา (Ngan Hang O Dau) : ธนาคารอยู่ไหน
• บู เดียน (Buu Dien) : ไปรษณีย์
• ค้าก ซาน (Khach San) : โรงแรม
• เบิงห์ เวียน (Benh Vien) : โรงพยาบาล
• เหี่ยว ซ้าค (Hieu Sach) : ร้านหนังสือ
• เบ่ เบย (Be Boi) : สระว่ายน้ำ
• ยา ฮาง อัน (Nha Hang An) : ภัตตาคาร
• ยา เธอ (Nha Tho) : โบสถ์
• เซิน ไบ (San Bay) : สนามบิน
• เบ๋น แซ ตัค ซี่ (Ben Xe Tac Xi) : สถานีรถแท็กซี่
• เบ๋น แซ (Ben Xe) : สถานีรถประจำทาง
• กา แซ เหลื่อ (Ga Xe Lua) : สถานีรถไฟ
• ยา เว ซิง เอ๋อ เดา (Nha Ve Sinh O Dau) : ห้องน้ำอยู่ไหน
• เร ไตร (Re Trai) : เลี้ยวซ้าย
• ไฝ่ (Phai) : ขวา
• ไฮ ดี ถั่ง (Hay Di Thang) : ตรงไป
• โหลย ไหน่ (Loi Nay) : ทางนี้
• โฝ,เดื่อง (Pho,Doung) : ถนน
• กวาน (Quan) : ตำบล
การนับวัน
• จู่ ยัต (Chu Nhat) : อาทิตย์
• ถือ ไห่ (Thu Hai) : จันทร์
• ถือ บา (Thu Ba) : อังคาร
• ถือ ตือ (Thu Tu) : พุธ
• ถือ นาม (Thu Nam) : พฤหัสบดี
• ถือ เสา (Thu Sau) : ศุกร์
• ถือ ไบ่ (Thu Bay) : เสาร์ • คำทั่วไป
• ดอย หลำ (Doi Lam) : หิวมาก
• ค้าด หลำ (Khat Lam) : กระหายน้ำ
• งอน หลำ (Ngon Lam) : อร่อยมาก
• เนื๊อก โซย (Nuoc Da) : น้ำเปล่า (ต้ม)
• เนื๊อก ดา (Nuoc Da) : น้ำแข็ง
• เนื๊อก กำ ดา (Nuoc Cam Da) : น้ำแข็งเปล่า
• ฉ่า ด๋า (Tra Da) : น้ำแข็งใส่น้ำชา
• เฝอ (Pho) : ก๋วยเตี๋ยว
• กา เฝ่ (Ca Phe) : กาแฟ
• แจ่ (Che) : ชา
• เบีย (Bia) : เบียร์
• เกิม (Com) : ข้าวสวย
• จ๋าว (Chao) : ข้าวต้ม
• แบ๋งห์ หมี่ (Banh My) : ขนมปัง
• โตย โอม (Toi Om) : ฉันไม่สบาย
• โตย บี ดี หง่วย (Toi Bi Di Ngoai) : ฉันท้องเสีย
• บี โซด (Bi Sot) : เป็นไข้
• บี ยา ไย (Bi Da Day) : ปวดท้อง
• แตม ทือ (Tem Thu) : แสตมป์
• แซ เฮย (Xe Hoi) : รถ
• ทิด บา (Thit Bo) : เนื้อวัว
• หมง (Muong) : ช้อน
• เหนี้ย (Nia) : ส้อม
• เล่ (Ly) : แก้วน้ำ
• ตำ เสีย รัง (Tam Xia Rang) : ไม้จิ้มฟัน
• เอิ้ก (Ot) : พริก
• เนื้อก ม้าม (Nuoc Mam) : น้ำปลา
• เย่ เล่า หมิง (Giac Lau Mieng) : กระดาษทิชชู่
ช้อปปิ้ง• บาว เยียว (Bao Nhieu) : ราคาเท่าไหร่
• มัก กว๊า (Mac Qua) : แพง
• เบิ่ก เยียะ คอม (Bot Gia Khong) : ลดราคาได้ไหม
• เหล๋ (Re) : ถูก
การนับจำนวน
• โมต (Mot) : 1
• ไฮ (Hai) : 2
• บา (Ba) : 3
• โบน (Bon) : 4
• นาม (Nam) : 5
• เสา (Sau) : 6
• ไบ่(Bay) : 7
• ตาม (Tam) : 8
• จิ๋น (Chin) : 9
• เหมื่อย (Muoi) : 10
• เหมื่อย โมต (Muoi Mot) : 11
• เหมื่อย ลาม (Muoi Lam) : 15
• ไฮ เหมื่อย (Hai Muoi) : 20
• ไฮ เหมื่อย ลาม (Hai Muoi Lam) : 25
• บา เหมื่อย (Ba Muoi) : 30
• นาม เหมื่อย (Nam Muoi) : 50
• โมต ตรัม (Mot Tram) : 100
• ไห่ ตรัม (Hai Tram) : 200
• โมต งัน (Mot Nghin) : 1,000
• เหมื่อย งัน (Muoi Nghin) : 10,000
• ตรัม งัน (Tram Nghin) : 100,000
• โมต เตรียว (Mot Trieu) : 1,000,000
ตลุย"น่าน"กับชาวคูคต 2553
ฟ้ากว้าง ทางไกล ปันน้ำใจเพื่อนร่วมทาง
รูปประจำตัวสมาชิก
CK.
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2654
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 21:25
Tel: 0817719790
team: KUKOT, ชมรมการบินไทย
Bike: Bianchi,GT Nomad,SOMA Saga

Re: --------เวียตนาม---------

โพสต์ โดย CK. »

ด่านศุลกากร เวียตนาม ที่ด่านลาวบ๋าว
รูปภาพ
ตลุย"น่าน"กับชาวคูคต 2553
ฟ้ากว้าง ทางไกล ปันน้ำใจเพื่อนร่วมทาง
รูปประจำตัวสมาชิก
CC
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1156
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 18:57
Tel: 0853362032
team: kukot
Bike: MTB
ตำแหน่ง: อยุธยา

Re: --------เวียตนาม---------

โพสต์ โดย CC »

มาแล้วความฝันอันสูงสุด

พี่น้องเตรียมตัวให้พร้อม ทำพาสปอร์ต ไว้ได้เลยครับ แค่เห็นรูปกับแผนที่ก็อยากไปแล้ว ทริปนี้ต้องใช้วิธีหยอดกระปุกไว้ก่อน สงสัยจะขึ้นหลักหมื่น
รูปประจำตัวสมาชิก
CC
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1156
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 18:57
Tel: 0853362032
team: kukot
Bike: MTB
ตำแหน่ง: อยุธยา

Re: --------เวียตนาม---------

โพสต์ โดย CC »

CK. เขียน:ภาษาเวียตนามง่ายๆ ที่ใช้กันบ่อยๆ ของชาวเวียตนาม

คำทักทาย (ภาษาเวียดนาม)
• เจา อง (Chao Ong) : สวัสดี สำหรับชายสูงอายุ
• เจา แองห์ (Chao Anh) : สวัสดี ชายหนุ่ม
• เจา บั๊ก (Chao Bac) : สวัสดี ชายอายุมากกว่า
• เจา แอม (Chao Em) : สวัสดี ชายอายุน้อยกว่า
• เจา บา (Chao Ba) : สวัสดี สำหรับหญิงสูงอายุ
• เจา โก (Chao Co) : สวัสดี หญิงสาว
• เจา จิ (Chao Chi) : สวัสดี หญิงอายุมากกว่า
• เจา แอม (Chao Em) : สวัสดี หญิงอายุน้อยกว่า
• กาม เอิน (Cam On) : ขอบคุณ
• ซิน จ่าว (Xin Chao) : สวัสดี (ใช้ได้ทุกเวลา)
• ซิน โหลย (Xin Loi) : ขอโทษ
• จุ๊บ หงู งอน (Chuc Ngu Ngon) : ราตรีสวัสดิ์
• ซิน เหม่ย (Xin Moi) : ขอเชิญ,กรุณา
• ตาม เบียด (Tam Biet) : ลาก่อน
• แฮน กัพ ไล (Hen Gap Lai) : พบกันใหม่
• บั๊ก โก แคว คง (Bac Co Khoc Khong) : สบายดีหรือ
• กาม เอิน บิงห์ เทือง (Cam On Binh Thuong) : สบายดี ขอบคุณ
• แดบ หลำ (Dab Lam) : สวยมาก
• ยา (Da) : ใช่
• คง (Khong) : ไม่
• โตย (Toi) : ฉัน
• ซิงหลำ (Xinh Lam) : มีเสน่ห์มาก
• เติน อง ลา จี (Ten Ong La Chi) : คุณชื่ออะไร
• โตย เติน ลา (Toi Ten La) : ฉันชื่อ
• อัน เอียว เอ็ม (Anh Yeu Em) : พี่รักน้อง,ฉันรักเธอ
• เอ็ม เอียว อัน (Em Yeu Anh) : น้องรักพี่
สนทนา• เอ๋อ เดา (O Dau) : ที่ไหน(จะอยู่หลังคำนามเสมอ)
• เงิน ห่าง (Ngan Hang) : ธนาคาร
• เงิน ห่าง เอ๋อ เดา (Ngan Hang O Dau) : ธนาคารอยู่ไหน
• บู เดียน (Buu Dien) : ไปรษณีย์
• ค้าก ซาน (Khach San) : โรงแรม
• เบิงห์ เวียน (Benh Vien) : โรงพยาบาล
• เหี่ยว ซ้าค (Hieu Sach) : ร้านหนังสือ
• เบ่ เบย (Be Boi) : สระว่ายน้ำ
• ยา ฮาง อัน (Nha Hang An) : ภัตตาคาร
• ยา เธอ (Nha Tho) : โบสถ์
• เซิน ไบ (San Bay) : สนามบิน
• เบ๋น แซ ตัค ซี่ (Ben Xe Tac Xi) : สถานีรถแท็กซี่
• เบ๋น แซ (Ben Xe) : สถานีรถประจำทาง
• กา แซ เหลื่อ (Ga Xe Lua) : สถานีรถไฟ
• ยา เว ซิง เอ๋อ เดา (Nha Ve Sinh O Dau) : ห้องน้ำอยู่ไหน
• เร ไตร (Re Trai) : เลี้ยวซ้าย
• ไฝ่ (Phai) : ขวา
• ไฮ ดี ถั่ง (Hay Di Thang) : ตรงไป
• โหลย ไหน่ (Loi Nay) : ทางนี้
• โฝ,เดื่อง (Pho,Doung) : ถนน
• กวาน (Quan) : ตำบล
การนับวัน
• จู่ ยัต (Chu Nhat) : อาทิตย์
• ถือ ไห่ (Thu Hai) : จันทร์
• ถือ บา (Thu Ba) : อังคาร
• ถือ ตือ (Thu Tu) : พุธ
• ถือ นาม (Thu Nam) : พฤหัสบดี
• ถือ เสา (Thu Sau) : ศุกร์
• ถือ ไบ่ (Thu Bay) : เสาร์ • คำทั่วไป
• ดอย หลำ (Doi Lam) : หิวมาก
• ค้าด หลำ (Khat Lam) : กระหายน้ำ
• งอน หลำ (Ngon Lam) : อร่อยมาก
• เนื๊อก โซย (Nuoc Da) : น้ำเปล่า (ต้ม)
• เนื๊อก ดา (Nuoc Da) : น้ำแข็ง
• เนื๊อก กำ ดา (Nuoc Cam Da) : น้ำแข็งเปล่า
• ฉ่า ด๋า (Tra Da) : น้ำแข็งใส่น้ำชา
• เฝอ (Pho) : ก๋วยเตี๋ยว
• กา เฝ่ (Ca Phe) : กาแฟ
• แจ่ (Che) : ชา
• เบีย (Bia) : เบียร์
• เกิม (Com) : ข้าวสวย
• จ๋าว (Chao) : ข้าวต้ม
• แบ๋งห์ หมี่ (Banh My) : ขนมปัง
• โตย โอม (Toi Om) : ฉันไม่สบาย
• โตย บี ดี หง่วย (Toi Bi Di Ngoai) : ฉันท้องเสีย
• บี โซด (Bi Sot) : เป็นไข้
• บี ยา ไย (Bi Da Day) : ปวดท้อง
• แตม ทือ (Tem Thu) : แสตมป์
• แซ เฮย (Xe Hoi) : รถ
• ทิด บา (Thit Bo) : เนื้อวัว
• หมง (Muong) : ช้อน
• เหนี้ย (Nia) : ส้อม
• เล่ (Ly) : แก้วน้ำ
• ตำ เสีย รัง (Tam Xia Rang) : ไม้จิ้มฟัน
• เอิ้ก (Ot) : พริก
• เนื้อก ม้าม (Nuoc Mam) : น้ำปลา
• เย่ เล่า หมิง (Giac Lau Mieng) : กระดาษทิชชู่
ช้อปปิ้ง• บาว เยียว (Bao Nhieu) : ราคาเท่าไหร่
• มัก กว๊า (Mac Qua) : แพง
• เบิ่ก เยียะ คอม (Bot Gia Khong) : ลดราคาได้ไหม
• เหล๋ (Re) : ถูก
การนับจำนวน
• โมต (Mot) : 1
• ไฮ (Hai) : 2
• บา (Ba) : 3
• โบน (Bon) : 4
• นาม (Nam) : 5
• เสา (Sau) : 6
• ไบ่(Bay) : 7
• ตาม (Tam) : 8
• จิ๋น (Chin) : 9
• เหมื่อย (Muoi) : 10
• เหมื่อย โมต (Muoi Mot) : 11
• เหมื่อย ลาม (Muoi Lam) : 15
• ไฮ เหมื่อย (Hai Muoi) : 20
• ไฮ เหมื่อย ลาม (Hai Muoi Lam) : 25
• บา เหมื่อย (Ba Muoi) : 30
• นาม เหมื่อย (Nam Muoi) : 50
• โมต ตรัม (Mot Tram) : 100
• ไห่ ตรัม (Hai Tram) : 200
• โมต งัน (Mot Nghin) : 1,000
• เหมื่อย งัน (Muoi Nghin) : 10,000
• ตรัม งัน (Tram Nghin) : 100,000
• โมต เตรียว (Mot Trieu) : 1,000,000

ใครก็ได้ทำ sheet มาแจกกันหน่อย กว่าจะถึงวันเดินทางก็พูดได้พอดี
รูปประจำตัวสมาชิก
CK.
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2654
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 21:25
Tel: 0817719790
team: KUKOT, ชมรมการบินไทย
Bike: Bianchi,GT Nomad,SOMA Saga

Re: --------เวียตนาม---------

โพสต์ โดย CK. »

ผม Copy ข้อความมาจาก กระทู้ชวนปั่นเวียตนาม ของเสือ 5 ภาคมาครับ.

...แหล่งกำเนิดชนชาติเวียดนาม...
ประเทศเวียดนาม นั้นได้ตกเป็นเมืองขึ้นของจีนนานนับพันปี หลังจากที่เวียดนามได้แยกประเทศแล้ว
ก็ได้ตกเป็นอาณาคมของประเทศฝรั่งเศส และได้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ต่อมาชาวเวียดนามก็เกิดความคิดที่ว่า หากปล่อยให้ฝรั่งเศสปกครองประเทศตนต่อไปจะไม่เจริญตามดั่งประเทศอื่น
ทำให้เกิดการสู้รบกันระหว่างเวียดนามและฝรั่งเศส โดยสหภาพโซเวียต และจีนได้ให้การสนับสนุนประเทศเวียดนาม
หลังจากที่เกิดสงครามก็ได้มีการเจรจาสงบศึก ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ผลการเจรจาปรากฏว่า
ประเทศฝรั่งเศสจะย่องถอนกำลังออกจากเวียดนามจนหมด แต่จะต้องแบ่งประเทศเวียดนามออกเป็น 2 ประเทศ
จนกว่าจะมีการเลือกตั้ง โดยใช้เส้นละติจูดขนานที่ 17 องศาเหนือ ซึ่งแบ่งเวียดนามออกเป็น
เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ โดยเวียดนามเหนือมีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์
และเวียดนามใต้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีเมืองหลวงชื่อ ไซ่ง่อน
โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส ส่วนเวียดนามเหนือได้รับการสนับสนุน
จากสหภาพโซเวียด และจีน จากนั้นไม่นานเวียดนามเหนือนำโดย โฮจิมิน
ได้วางแผนทำลายเมืองหลวงของเวียดนามใต้ โดยประเทศกัมพูชาได้ให้ความร่วมมือในการโจมตีครั้งนี้ด้วย
และในที่สุดเวียดนามเหนือก็สามารถทำลายเวียดนามใต้ได้สำเร็จ จากนั้น ไซ่ง่อน ได้เปลี่ยนเป็น โฮจิมิน ซิติ้
และได้มีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์จนถึงปัจจุบันนี้


วิถีชีวิตชาวเวียดนาม
ตื่นแต่เช้าเพื่อออกไปสัมผัสวิถีชีวิต นั่งทานอาหาร หลักๆก็เป็นเฝ๋อที่คนไทยรู้จัก
คล้ายก๋วยเตี๋ยวน้ำบ้านเรา เป็นวิถีที่เรียบง่าย มีอาหารอยู่ไม่กี่อย่าง และราคาถูก
นักศึกษาที่นี้ใช้จักรยานกันเกือบทุกคน จะมีบางรายเท่านั้นที่นั่งซ้อนมอเตอร์ไซด์
มากับญาติๆ หากเทียบกับบ้านเราแล้วคงแตกต่างกันชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ
สังคมที่นี่ไม่มีรถส่วนตัว จึงไม่มีปัญหาที่จอดรถ


ข้อมูลการท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลทั่วไป: ประเทศเวียดนาม มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam)
และมีเมืองหลวง คือ กรุงฮานอย (Hanoi)


การขอวีซ่า: นักท่องเที่ยวที่ถือหนังสือเดินทางประเทศไทย ไม่จำเป็น ต้องขอวีซ่าเข้าประเทศเวียดนามอีก
และสามารถอยู่ในเวียดนาม ได้สูงสุดนานถึง 30วันเลย ในกรณีที่นักท่องเที่ยวถือหนังสือ เดินทางต่างชาติ
หนังสือเดินทางที่มีวันหมดอายุไม่ต่ำกว่า 6 เดือนนับจากวันที่เดินทางเท่านั้น ถึงจะใช้ได้

ภาษาที่ใช้: โดยทั่วไปแล้ว ชาวเวียดนามใช้ภาษาเวียดนามกันใน ชีวิตประจำวัน และใช้ภาษาอังกฤษ
ฝรั่งเศส และ จีน ในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ

สภาพอากาศ: เนื่องจากประเทศเวียดนามมีลักษณะภูมิประเทศเป็นแบบคาบสมุทร
ซึ่งมีระยะทางจากภาคเหนือจรดภาคใต้ที่ยาวมาก และมีระดับความสูงต่ำของพื้นที่ที่แตกต่างกัน
ส่งผลให้ เวียดนาม มีสภาพอากาศที่หลากหลาย โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยราว 22 องศาเซลเซียส
ลักษณะภูมิอากาศของประเทศ อาจแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้


ที่กรุงฮานอย และ บริเวณตอนเหนือของเวียดนาม แบ่งลักษณะภูมิอากาศได้เป็น 4 ฤดู:
ในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นช่วงฤดูหนาว มีอากาศหนาวเย็น
อุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 7 - 20 องศาเซลเซียส และจะหนาวที่สุดในเดือนมกราคม
ถัดจากนั้นเป็นฤดูใบไม้ผลิ เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายน บริเวณนี้ จะมีฝนตกเล็กน้อยและชุ่มชื้น
อุณหภูมิประมาณ 17 - 23 องศาเซลเซียส ต่อมาคือฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม
สภาพอากาศร้อนและมีฝน อุณหภูมิ 30 - 39 องศาเซลเซียส และสุดท้าย ฤดูใบไม้ร่วง
คือช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน อุณหภูมิประมาณ 23 - 28 องศาเซลเซียส


ภาคกลาง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง และมีสภาพอากาศแปรเปลี่ยนค่อนข้างมาก
ลักษณะภูมิอากาศของพื้นที่ภาคกลางแบ่งออกได้เป็น 2 ฤดู: ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม
อุณหภูมิอาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียสในระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ส่วนฤดูแล้ง (เดือนตุลาคม-เมษายน)
มีอุณหภูมิเกือบ 20 องศาเซลเซียส โดยในเดือนมกราคม เป็นเดือนที่มีอากาศเย็นที่สุด


ภาคใต้ของเวียดนาม มีอากาศร้อน และ อุณหภูมิค่อนข้างคงที่ คือ ประมาณ 27 องศาเซลเซียส
สามารถแบ่งลักษณะภูมิอากาศออกได้เป็น 3 ฤดู: ฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม)
ฤดูแล้ง (เดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์) และ ฤดูร้อน (เดือนมีนาคม-เมษายน
)


ค่าเงิน และการธนาคาร: เวียดนามใช้เงินสกุลที่เรียกว่า ด่อง (VND)
โดย 550-600 ด่อง มีค่าเท่ากับเงินบาทประมาณ 1 บาท


ระบบไฟฟ้า: ประเทศเวียดนามใช้กระแสไฟฟ้า 220 โวลต์ 50 เฮิร์ต เช่นเดียวกับที่เมืองไทย

ระบบโทรศัพท์: รหัสโทรศัพท์ของประเทศเวียดนามคือ +84
หากท่านต้องการโทรตรงระหว่างประเทศเวียดนาม ให้ตัด 00 + รหัสประเทศ + รหัสเมือง + หมายเลขโทรศัพท์
ได้เลย โดยท่านสามารถสอบถามเพิ่มเติมจากทางที่พักในเวียดนามของท่านได้


การเดินทาง: การเดินทางโดยทางเครื่องบิน เพื่อเข้าสู่ประเทศเวียดนาม
นับเป็นวิธีที่สะดวกสบายที่สุด เวียดนามมีท่าอากาศยานนานาชาติที่สำคัญ 3 แห่ง คือ
ท่าอากาศยานนานาชาติโนยบ่าย (Noi Bai) ในกรุงฮานอย
ท่าอากาศยานนานาชาติเติ่นเซินเญิ๊ต (Tan Son Nhat) นครโฮจิมินห์
และ ท่าอากาศยานนานาชาติดานัง (Danang) นครดานัง


ท่านสามารถเดินทางคมนาคมระหว่างเมืองต่างๆของ เวียดนาม ได้ 3 เส้นทาง
คือ ทางบก ทางเรือ และทางอากาศ โดยในทุกภูมิภาคของประเทศ ล้วนมีเมืองขนาดใหญ่ตั้งอยู่
เช่น ภาคเหนือ มีเมืองฮานอย ภาคกลาง มีเมืองเว้ ส่วนภาคใต้ ก็มีเมืองโฮจิมินห์ ซิตี้
ซึ่งการคมนาคมระหว่างเมืองเหล่านี้เป็นไปอย่างสะดวกสบาย สำหรับการเดินทางภายในตัวเมืองต่างๆ
ก็จัดว่าค่อนข้างสะดวก เพราะมีรถโดยสารประจำทางอยู่ทั่วไป และค่าโดยสารก็ไม่แพงนัก


อาหารท้องถิ่น: ใครได้ไปเที่ยวเวียดนาม ต้องไม่พลาดไปลองชิมอาหารประจำชาติ
และ อาหารขึ้นชื่อของเขาจากร้านอาหารทั่วไป หรือ ภัตตาคารของโรงแรมในเวียดนามกันให้ได้
เช่น เฝอ - อาหารประจำชาติ แหนมเนือง ปอเปี๊ยะทอด หมูยอ เนื้อย่าง ฯลฯ สำหรับมื้อเช้า
ถ้าท่านต้องการทานอาหารเช้าสไตล์พื้นเมือง ขอแนะนำให้ลอง ขนมจีนหมูยอ ดูนะคะ หรือจะเป็น
ขนมปังฝรั่งเศส ที่ได้รับอิทธิพลมาจากฝรั่งเศส ก็ทั้งอิ่ม ทั้งสบายกระเป๋าอีกด้วย
ตลุย"น่าน"กับชาวคูคต 2553
ฟ้ากว้าง ทางไกล ปันน้ำใจเพื่อนร่วมทาง
รูปประจำตัวสมาชิก
CK.
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2654
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 21:25
Tel: 0817719790
team: KUKOT, ชมรมการบินไทย
Bike: Bianchi,GT Nomad,SOMA Saga

Re: --------เวียตนาม---------

โพสต์ โดย CK. »

ยืมรูปมาจาก กระทู้ชวนปั่นเวียตนาม ของ โจ โคแนน

รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
ตลุย"น่าน"กับชาวคูคต 2553
ฟ้ากว้าง ทางไกล ปันน้ำใจเพื่อนร่วมทาง
รูปประจำตัวสมาชิก
CK.
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2654
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 21:25
Tel: 0817719790
team: KUKOT, ชมรมการบินไทย
Bike: Bianchi,GT Nomad,SOMA Saga

Re: --------เวียตนาม---------

โพสต์ โดย CK. »

........
รูปภาพ
รูปภาพ
ตลุย"น่าน"กับชาวคูคต 2553
ฟ้ากว้าง ทางไกล ปันน้ำใจเพื่อนร่วมทาง
รูปประจำตัวสมาชิก
CK.
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2654
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 21:25
Tel: 0817719790
team: KUKOT, ชมรมการบินไทย
Bike: Bianchi,GT Nomad,SOMA Saga

Re: --------เวียตนาม---------

โพสต์ โดย CK. »

......
รูปภาพ
ตลุย"น่าน"กับชาวคูคต 2553
ฟ้ากว้าง ทางไกล ปันน้ำใจเพื่อนร่วมทาง
รูปประจำตัวสมาชิก
CC
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1156
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 18:57
Tel: 0853362032
team: kukot
Bike: MTB
ตำแหน่ง: อยุธยา

Re: --------เวียตนาม---------

โพสต์ โดย CC »

อยากไปแย่แล้ว
รูปประจำตัวสมาชิก
CK.
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2654
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 21:25
Tel: 0817719790
team: KUKOT, ชมรมการบินไทย
Bike: Bianchi,GT Nomad,SOMA Saga

Re: --------เวียตนาม---------

โพสต์ โดย CK. »

---ชินจ่าว เงื่อน คูคต บั๊ก โก แคว คง--- (สวัสดี พี่น้องคูคต สะบายดีกันนะครับ)---

รูปภาพ

รูปภาพ

แฮน กัพ ไล (พบกันใหม่)
ตลุย"น่าน"กับชาวคูคต 2553
ฟ้ากว้าง ทางไกล ปันน้ำใจเพื่อนร่วมทาง
ตอบกลับ

กลับไปยัง “ชมรมคูคต”