เคล็ดลับการออกกำลังกายให้อึด และโภชนาการที่ถูกต้อง

ผู้ดูแล: บิ๊กบัง

กฏการใช้บอร์ด
ชื่อชมรม : บางมด สวนหลวง
ผู้ดูแลคนที่ 1 นาย เสนีย์ รื่นพิทักษ์ 0813368238
ผู้ดูแลคนที่ 2 นาย ศราวุธ เสนาพุทธ
ตอบกลับ
รูปประจำตัวสมาชิก
pol
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 579
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ส.ค. 2008, 12:32
Tel: 089-8952274
team: สวนหลวง 2009
Bike: Bianchi Sempre

เคล็ดลับการออกกำลังกายให้อึด และโภชนาการที่ถูกต้อง

โพสต์ โดย pol »

นักกีฬาไม่ว่าจะประเภทไหน อยากจะอึดกันทั้งนั้น หากจะเล่นเทนนิส ก็อยากจะให้เล่นอึด สู้กันสามสี่เซ็ตยังไม่หมดแรง นักเทนนิสจำนวนไม่น้อย ตีดีมากในเซ็ตแรกๆ เสิร์ฟแรง โยกได้เต็มที่ ขึ้นตีวอลเลย์หน้าเน็ตได้เฉียบขาด หากเจอคู่ต่อสู้ฝีมือใกล้เคียงกัน คงไม่สามารถปิดเกมได้ในเซ็ตที่สองหรือสาม หากเป็นหญิงจะต้องเข้าเซ็ตที่สาม หากเป็นชายอาจต่อเกมไปถึงเซ็ตที่ห้า ถึงตอนนี้คงไม่ใช่เรื่องฝีมือแล้วล่ะครับ แต่อยู่ตรงที่ใครมีน้ำอดน้ำทนหรืออึดมากกว่า
การแข่งขันฟุตบอลประเภททัวร์นาเม้นต์ก็เหมือนกัน การแข่งขันในลอบลึกๆ แบบน็อกเอ๊าท์ หากเอาชนะกันใน 90 นาทีไม่ได้ จะต้องต่อเกมให้ยาวออกไปโดยการใช้กฎโกลเด้นโกล์หรือประตูทอง ใครยิงประตูได้ ก็ปิดเกมในทันที แต่หากยิงประตูกันไม่ได้ เห็นจะต้องสู้กันต่ออีกครึ่งชั่วโมง แทบคลานกันไปเลย
การสร้างความอึด จึงเป็นเทคนิคหนึ่งของการฝึกฝน ซึ่งมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน วิธีแรกคือ การฝึกการออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อทนต่อการใช้พลังงาน กีฬาที่นิยมกันส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็น ฟุตบอล บาสเกตบอล อเมริกันฟุตบอล เทนนิส แบดมินตัน ล้วนแต่เป็นการใช้พลังงานแบบแอนแอโรบิก หรือกล้ามเนื้อไม่ใช้ออกซิเจนทั้งนั้น เป็นกีฬาประเภทที่ต้องใช้พละกำลังกันค่อนข้างมาก
ในการแข่งขันนักกีฬาต้องเคลื่อนตัวรวดเร็ว ว่องไว หนักหน่วงเป็นเรื่องของการโหม การใช้กำลังของกล้ามเนื้อการเผาผลาญสารอาหารแบบสร้างพลังงานสูงโดยการใช้ออกซิเจน ซึ่งเกิดขึ้นจากการทำแอโรบิกหรือการวิ่งเหยาะใช้เวลานานๆ เกิดขึ้นไม่ได้ในการออกกำลังกายแบบหักโหม กล้ามเนื้อเร่งเผาผลาญสารอาหารเพื่อสร้างพลังงานอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการเผาผลาญพลังงานแบบไม่ใช้ออกซิเจน มีการสร้างกรดแล็คติกขึ้นในกล้ามเนื้อ หากเกิดกรดขึ้นมาก สลายกรดไม่ทัน จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อล้า ร่างกายทนทานไม่ได้ ภาวะกล้ามเนื้อล้าที่เกิดขึ้นนี้เป็นกลไกของร่างกายในการป้องกันตนเอง หากยังขืนดื้อดึงฝืนออกกำลังหักโหมต่อไปกล้ามเนื้ออาจถูกเผาผลาญให้หมดสภาพไปได้ง่ายๆ
คนที่หักโหมมากๆ ร่างกายจึงป้องกันตนเองโดยสร้างระบบที่ทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้ช้าลง การแข่งขันกีฬายืดเยื้อ จึงทำให้นักกีฬาหลายคนเชื่องช้าลง ใช้แรงได้น้อยลง แสดงอาการเหนื่อยอ่อนอย่างเห็นได้ชัด
นักกีฬาที่ฝึกฝนมาเป็นอย่างดี กล้ามเนื้อจะล้าช้าลง การหายใจอย่างถูกจังหวะ จะทำให้ร่างกายขจัดสภาพความเป็นกรดออกทางลมหายใจได้ดีขึ้น แต่ถึงจะฝึกฝนอย่างไร ร่างกายก็ยังเก็บพลังงานได้จำกัด การออกกำลังกายแบบหักโหมเช่นนี้ ร่างกายใช้พลังงานจากไกลโคเจนหรือแป้ง ที่สะสมไว้ในกล้ามเนื้อและตับเป็นหลัก โดยปกติไกลโคเจนเหล่านี้ หากใช้กันอย่างหักโหม ประมาณสองชั่วโมง ไกลโคเจนก็ถูกใช้ไปแทบเกลี้ยงแล้ว
การฝึกอย่างถูกวิธี ทำให้ร่างกายรู้จังหวะการใช้ไกลโคเจน การออกกำลังอย่างฉลาดของนักกีฬา ทำให้ร่างกายเก็บไกลโคเจนไว้ได้นาน นักกีฬาเทนนิสฉลาดๆ หากรู้ว่าคู่แข่งฝีมือจัดจ้าน จะพยายามหาทางเอาชนะด้วยการออมแรงไว้สำเร็จโทษในเกมท้ายๆ รอจนคู่ต่อสู้หมดแรงแล้ว เป็นต้นว่า การตีกราวน์สโตรคโต้อยู่ท้ายคอร์ด หลอกล่อให้คู่ต่อสู้ใช้เทคนิคเสิร์ฟและวอลเลย์หรือวิ่งบ่อยๆ ให้คู่ต่อสู้ใช้แรงให้มากกว่าตนเอง หากเห็นว่าคู่ต่อสู้แผ่วลงเมื่อไหร่ ก็เริ่มโหมปิดเกมเมื่อนั้น แต่นักกีฬาแทบทุกคน เริ่มรู้จักเทคนิคการออมแรงเหมือนกันหมด นักโภชนาการการกีฬา จึงเริ่มใช้วิธีการใหม่ๆ ในการสร้างน้ำอดน้ำทนให้กับนักกีฬาของตน วิธีการที่ใช้กันมากในวงการกีฬาแถบยุโรปและอเมริกาคือ เทคนิคที่เรียกว่า Carbo loading
นักโภชนาการ พบว่า กล้ามเนื้อสามารถเก็บไกลโคเจนหรือแป้งในกล้ามเนื้อและตับได้มากกว่าปกติ หากให้นักกีฬากินอาหารที่เป็นแป้งมากขึ้นในช่วงก่อนการแข่งขัน ใครที่ชอบกินไขมันหรือโปรตีน หรือมีความเชื่อว่านักกีฬาจะต้องเสริมโปรตีนมากๆ ลองดูเอาเถอะ นักกีฬาเหล่านี้หมดแรงได้ง่าย ไม่มีน้ำอดน้ำทนหรือไม่อึด เพราะโปรตีนและไขมัน แทบไม่ได้ช่วยในการสร้างแป้งสะสมในกล้ามเนื้อเลย
นักโภชนาการแถวสแกนดิเนเวีย คือ Bergstrom และคณะ รายงานไว้ตั้งแต่ปี 1968 แล้วว่า หากให้นักกีฬาออกกำลังกายใช้ไกลโคเจนไปจนกระทั่งกล้ามเนื้อเหลือไกลโคเจนอยู่น้อย จากนั้นให้อาหารประเภทโปรตีนสูง ไขมันสูงที่มีแป้งต่ำมาก (10%) เป็นเวลาสัก 3 วัน แล้วให้ไปออกกำลังกาย กล้ามเนื้อที่ขาดไกลโคเจนจะหิวโหยแป้งเป็นอย่างมาก จึงให้อาหารที่มีไกลโคเจนสูงมาก (90%) อีกสามวัน ช่วงเวลาเช่นนี้กล้ามเนื้อหิวไกลโคเจนอย่างที่สุดจะแสดงปฏิกิริยาหิวโหยโดยการเร่งสะสมไกลโคเจน
ซึ่งนักวิจัยพบว่า กล้ามเนื้อจะสะสมไกลโคเจนได้มากกว่าปกติถึง 2-3 เท่า กลายเป็นนักกีฬาที่อึดไปเลย
การใช้วิธี Carbo loading ของ Bergstrom มีข้อเสียคือ นักกีฬามักรู้สึกไม่สบายตัว คลื่นหัวใจอาจเป็นปัญหา การใช้กล้ามเนื้อไม่ว่องไวอย่างที่คิด เพราะนักกีฬาโทรมจากการได้รับอาหารโปรตีนสูงอยู่หลายวัน ในปี 1981 Sherman และคณะ จึงเปลี่ยนแปลงวิธีการที่เหมาะสมกว่า นั่นคือ การให้นักกีฬาเสริมอาหารประเภทแป้งสูง (70% ของพลังงาน) สักสามวันก่อนการแข่งขัน โดยก่อนหน้านั้นให้นักกีฬารับประทานอาหารอย่างปกติ ซึ่งมีแป้งให้พลังงานประมาณครึ่งหนึ่ง วิธีการแบบ Sherman ทำให้นักกีฬาปรับตัวได้ดีกว่า และพบว่า กล้ามเนื้อและตับ เก็บไกลโคเจนได้มากขึ้น แม้จะไม่มากเท่าวิธีของ Bergstrom ก็ตามที แต่ไกลโคเจนที่เก็บได้สูงขึ้นนี้ ทำให้การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเป็นไปได้คล่องตัวและนานกว่าปกติประมาณ 10-20%
เรื่องราวของโภชนาการกับการกีฬา กลายเป็นเรื่องสำคัญมากไปแล้วในการกีฬาสมัยใหม่ เมื่อครั้งผู้เขียนไปทำหน้าที่ดูแลด้านโภชนาการพิเศษอยู่ในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์และเฟสปิกเกมส์ ซึ่งจัดที่กรุงเทพฯ เมื่อปลายปี 2541 ต่อต้นปี 2542 ได้พบปะพูดคุยกับนักโภชนาการประจำสมาคมกีฬาหลายชาติ ได้รู้ว่าสมาคมกีฬาชาติต่างๆ ให้ความสนใจต่อโภชนาการแต่น่าแปลกที่แทบไม่พบ นักโภชนาการของสมาคมกีฬาไทยเลย
เห็นทีสมาคมกีฬาไทย จะต้องทบทวนนโยบายกันใหม่แล้วล่ะครับ เร่งทบทวนก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ซิดนี่ย์ ในปีนี้นั่นแหละดีที่สุด


กีฬามีอยู่หลายประเภท แต่ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างฟุตบอลก็แล้วกัน เพราะมีพวกเราจำนวนไม่น้อยที่มีกิจกรรมเกี่ยวข้องกับฟุตบอล กีฬาประเภทนี้ก็เหมือนกีฬาหลายประเภทที่ใช้พละกำลังค่อนข้างมาก แต่เป็นการใช้กำลังแบบวูบวาบ ไม่ได้วิ่งเหยาะกันตลอดเกม แต่ต้องวิ่งปั่นกันเป็นช่วงๆ ลูกบอลมาทีก็วิ่งเต็มเหยียดไล่ลูกกันที เกมลักษณะนี้จึงให้ความเร้าใจได้มาก
กีฬาที่ได้รับความนิยมมากๆ จึงมีลักษณะการออกกำลังกายคล้ายเกมฟุตบอลคือใช้พละกำลังมากและใช้เป็นช่วงๆ ไม่สม่ำเสมอ ลองไปดูเถอะครับ ทั้งเทนนิส ปิงปอง รักบี้ จักรยาน ว่ายน้ำ เป็นการออกกำลังกายแบบหักโหมในช่วงสั้นๆ แทบทั้งนั้น
การออกกำลังลักษณะนี้ เขาเรียกว่าการออกกำลังแบบไม่ใช้ออกซิเจน ทุ่มเทพละกำลังจนแทบจะกลั้นใจ กล้ามเนื้อทำงานอย่างเฉียบพลัน ใช้พลังงานมากและรวดเร็ว จึงต้องใช้พลังงานที่อยู่ใกล้มือมากที่สุด
ในการออกกำลังกายนั้น กล้ามเนื้อเป็นตัวทำงาน พลังงานที่กล้ามเนื้อจะเอามาใช้นั้น มาจากน้ำตาล ซึ่งอยู่ภายในเลือด หรือจากไกลโคเจนที่อยู่ภายในเซลล์กล้ามเนื้อเอง หรือจากครีเอทีนฟอสเฟต ซึ่งอยู่ในกล้ามเนื้อ และประการสุดท้ายคือ จากไขมันซึ่งอยู่ในเซลล์ไขมัน
หากสังเกตจะเห็นนะครับว่ากล้ามเนื้อไม่ใช้โปรตีนเป็นแหล่งพลังงานเลย การที่เชื่อว่าการเสริมโปรตีนก็เพื่อสร้างพละกำลัง จึงเป็นการเชื่ออย่างผิดๆ เสียเงินทองไปเปล่าๆ ปลี้ๆ ที่เห็นโฆษณากันตามทีวีเรื่องการเสริมโปรตีน เสริมอาหารให้โปรตีน จึงเป็นโฆษณาที่สร้างความเข้าใจผิด แต่ก็น่าแปลกที่นักกีฬามักจะเชื่อเรื่องการเสริมโปรตีนเสมอ
กล้ามเนื้อใช้พลังงานจากแป้งในกล้ามเนื้อ และน้ำตาลจากเลือดเป็นหลัก ส่วนไขมันนั้น กล้ามเนื้อจะใช้ในกรณีที่ออกกำลังกายแบบแอโรบิค คือออกกำลังกายในจังหวะสม่ำเสมอ ไม่หักโหม ใช้ระยะเวลายาวนาน ก็อย่างเช่น การวิ่งมาราธอน หรือวิ่งตั้งแต่หนึ่งกิโลเมตรขึ้นไป หรือการว่ายน้ำระยะไกลๆ การขี่จักรยานทางราบระยะไกล รวมไปถึงการออกกำลังกายแบบแอโรบิก
นักวิ่งระยะกลาง ระยะไกล มาราธอน รวมไปถึงนักจักรยานทางไกล นักว่ายน้ำทางไกล จึงมีรูปร่างค่อนข้างเกร็ง ไม่มีไขมันจับ เพราะร่างกายใช้พลังงานจากไขมันเป็นหลัก ส่วนคนที่ออกกำลังกายแบบไม่ใช้ออกซิเจน อย่างฟุตบอล เทนนิส โดยคิดว่าจะเล่นกีฬาเพื่อลดน้ำหนัก ไม่ค่อยจะได้ผลหรอกครับ เพราะกล้ามเนื้อไม่ได้ใช้พลังงานจากไขมัน คงสังเกตเห็นได้ว่ามีนักเทนนิสของไทยบางคน (ขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อ) ที่มีรูปร่างเจ้าเนื้อ ทั้งๆ ที่เล่นเทนนิสทุกวัน
ทีนี้ย้อนกลับมาดูเรื่องการบำรุงกำลังนักฟุตบอล หากจะนำวิธีนี้ไปบำรุงร่างกาย นักเทนนิส รักบี้หรือกีฬาอื่นๆ ก็ได้นะครับ ไม่ใช่ข้อห้ามอะไร
นักฟุตบอลใช้พลังงานจากแป้งเป็นหลัก ร่างกายจะสะสมแป้งในรูปของไกลโคเจนไว้ในกล้ามเนื้อโดยตรง แต่เนื่องจากพื้นที่ในเซลล์มีจำกัด ดังนั้น แป้งในกล้ามเนื้อจะให้พลังงานได้สำหรับการออกกำลังกายเต็มที่นานสองชั่วโมงเท่านั้นแหละครับ กีฬาที่ใช้พละกำลังส่วนใหญ่เขาจึงให้ใช้เวลาไม่นานไปกว่าสองชั่วโมง มีบ้างในเทนนิสบางรายการที่แข่งกันนานสามชั่วโมง ตีกันห้าเซ็ต นักเทนนิสที่เก่งๆ จึงมักมีนักโภชนาการไว้ใกล้ตัวเสมอ ต้องเรียนรู้วิธีเต็มพลังงานในระหว่างการแข่งขัน
ก่อนการแข่งขัน นักกีฬาจำเป็นต้องพยายามเติมไกลโคเจนให้แก่กล้ามเนื้อให้มากที่สุด อาหารหลักจึงเป็นแป้ง เลี่ยงอาหารหวาน เพราะน้ำตาลเมื่อเข้าสู่ร่างกายขณะที่ไม่มีการออกกำลัง มันจะนำไปสร้างเป็นไขมันได้ง่ายๆ การกินอาหารประเภทแป้งเป็นการค่อยๆเติมอาหารเข้าร่างกาย กลไกก็คือ แป้งเปลี่ยนเป็นน้ำตาลแล้วค่อยๆ เติมเป็นไกลโคเจน
อาหารประเภทโปรตีนไม่จำเป็นมากนักแต่ควรเสริมให้ตามความต้องการของร่างกาย หากชอบหวานควรเติมความหวานด้วยน้ำผลไม้ เพราะน้ำตาลฟรุคโตสจากน้ำผลไม้จะถูกนำไปสร้างเป็นไกลโคเจนได้ค่อนข้างดี บำรุงกำลังลักษณะนี้สักหนึ่งถึงสองวัน กล้ามเนื้อจะได้ไกลโคเจนเต็มที่ นักฟุตบอลที่ต้องแข่งวันเว้นวัน ถ้าต้องใช้พลังงานในการแข่งขันอย่างเดียว จึงไม่เป็นปัญหา เว้นเสียแต่ว่าต้องเล่นฟุตบอลเกิน 90 นาทีติดต่อกันสองนัดซ้อน วันเว้นวัน ถ้าเป็นอย่างนั้นเห็นทีจะต้องแนะนำกันในอีกลักษณะหนึ่งแล้วละครับ
ก่อนการแข่งขันหนึ่งถึงสองชั่วโมง ไม่ควรให้นักฟุตบอลกินอาหารมื้อหนัก เพราะพลังงานจะถูกใช้ไปกับการย่อยอาหารมากเกินไป หากอยากจะเสริมร่างกายก่อนการแข่งขันสักหน่อย อาจจะแนะนำให้ดื่มน้ำหวานสักแก้วก็ไม่เป็นปัญหา หรือจะดื่มน้ำตาลผลไม้ก็ได้ แต่อย่าดื่มน้ำให้มากนักก่อนแข่ง เพราะร่างกายยังไม่เสียน้ำ เดี๋ยวจะรู้สึกอึดอัดไปเสียเปล่าๆ
ช่วงการแข่งขันครึ่งแรก 45 นาที สต๊าฟโค้ชคงต้องคอยสังเกตว่านักฟุตบอลคนไหนที่ใช้พลังงานไปมากๆ คงต้องเสริมน้ำหวานตอนช่วงพักครึ่งเวลา หรือให้ดื่มน้ำทดแทนการสูญเสีย แต่หากนักกีฬาไม่ได้สูญเสียพลังงานมากเกินไป ก็ไม่จำเป็นต้องโด๊ปด้วยน้ำหวานให้มากมายจนเกินเหตุ ปัญหาของการเสริมน้ำตาลมากไปก็คือ ร่างกายจะนำเอาไปสร้างเป็นไขมัน ซึ่งไม่ได้เป็นประโยชน์กับนักกีฬาสักเท่าไหร่เลย
มีตัวอย่างที่ดีๆ สำหรับกีฬาฟุตบอลคือ มาร์ค บอชนิก ผู้รักษาประตูของทีมฟุตบอลแมนเชสเตอร์ ยูไนเตด มีน้ำหนักตัวเกินปกติประมาณ 8 กิโลกรัม ทางสต๊าฟโค้ชเห็นว่าน้ำหนักตัวที่เกินไปอย่างนั้นเป็นตัวถ่วงทำให้ฟอร์มการเล่นของบอชนิกตกต่ำลง จึงบังคับให้บอชนิกลดน้ำหนักลงให้ได้ตามพิกัด สิ่งที่บอชนิกจะต้องทำคือ ลดอาหารและการวิ่งเหยาะ แต่ไม่ใช่การซ้อมฟุตบอล ที่สำคัญคือ ต้องเลิกโด๊ปน้ำหวานของโปรดบ่อยๆ อย่างที่ชอบทำ ผู้รักษาประตูไม่ได้ใช้พละกำลังมากเท่านักเตะคนอื่นๆ จะไปโด๊ปน้ำตาลอะไรกันนักกันหนา จริงไหมครับ

รู้ๆ กันอยู่ว่านักกีฬาเขามีข้อห้ามเรื่องการใช้สารกระตุ้น เพราะการทำอย่างนั้นถือเป็นการเอาเปรียบคู่แข่ง ไม่มีความเป็นนักกีฬา ว่างั้นเถอะ หากถูกจับได้ อาจจะถูกห้ามแข่งขันเสียชื่อเสียเสียงอีกต่างหาก ใครคิดจะโด๊ป หากโด๊ปด้วยอาหารละก็ไม่เป็นไร เพราะอาหารไม่ใช่ยา ปัญหาก็คือ การโด๊ปด้วยอาหารนั้น แม้จะถูกกฎหมาย แต่มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย
นักกีฬาชั้นนำประเภทที่ต้อง แข่งขันบ่อยๆ ใช้พละกำลังมากๆ จำเป็นจะต้องหานักโภชนาการประจำตัวไว้เหมือนกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ มาติน่า นาฟราติโลว่า นักเทนนิสหญิงรุ่นลายคราม หรืออย่าง จิมมี่ คอนเนอร์ นักเทนนิสชาย รุ่นก่อนหน้ามาติน่า เรียกว่าลายครามมากกว่า
ทั้งสองคนนี้คว้าแชมป์แกรนด์ สแลมคนละหลายรายการ อยู่ในตำแหน่งมือ 1 ของโลกนานกันคนละหลายๆ ปี เป็นที่รู้กันดีว่านักเทนนิสทั้งสองคนนี้มีนักโภชนาการประจำตัว ประเภทไปไหนไปด้วย ตามกันติดไม่ยอมห่าง ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะทั้งสองคนรู้ดีว่าเคล็ดลับของความสำเร็จมันไม่ใช่แค่ฝีมือเพียงอย่างเดียว แต่ต้องขึ้นอยู่กับพละกำลังที่สะสมไว้ด้วย และเคล็ดลับของเคล็ดลับในเรื่องนี้ก็คือ เรื่องการโด๊ปโดยการใช้อาหารนี่แหละ ไม่ใช่เรื่องอื่น
วันก่อนผู้เขียนมีโอกาสได้เจอกับคุณวิจิตร เกตุแก้ว กับคุณวรวีร์ มะกูดี สองคีย์แมนคนสำคัญของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยบังเอิญ เมื่อได้เจอกันก็ต้องคุยกันหน่อยตามประสาที่ต่างฝ่ายต่างรู้จักชื่อกันแต่ไม่เคยรู้จักตัวกัน มีอยู่เรื่องหนึ่งที่เราคุยกันเป็นเรื่องเป็นราว คือเรื่องโภชนาการในนักกีฬา ผู้เขียนดีใจครับที่ทั้งสองท่านให้ความสนใจกับเรื่องโภชนาการค่อนข้างมาก เมื่อครั้งกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่กรุงเทพฯ เมื่อปลายปีที่แล้ว ผู้เขียนเข้าไปช่วยงานฝ่ายโภชนาการ การบินไทย ดูแลเรื่องอาหารการกินของนักกีฬา ได้เจอะเจอนักโภชนาการประจำสมาคมกีฬาบางชาติ แปลกใจอยู่สักหน่อยที่สมาคมกีฬาของประเทศไทยไม่มีนักโภชนาการประจำสมาคมของตนเองเลย กีฬาของเราเป็นประเภทสมัครเล่นอยู่แล้ว แต่ต้องไปแข่งกับชาวบ้านที่เขาแทบจะเป็นมืออาชีพ ซ้ำร้ายที่เรายังใช้นักโภชนาการมือสมัครเล่น นั่นคือ ใช้โค้ชนี่แหละครับเข้าไปดูแลเรื่องอาหารการกินของนักกีฬา ดังนั้น เมื่อไปเจอนักกีฬาอาชีพ บวกกับนักโภชนาการมืออาชีพของต่างชาติ เกมการแข่งขันก็กลับกลายเป็นมวยวัดไปชกกับมวยอาชีพ เมื่อเป็นอย่างนี้มันจะไปเหลืออะไรเล่าครับฟุตบอลไทยไปแข่งขันต่างประเทศอยู่บ่อยๆ ไม่รู้ว่าตั้งกี่ครั้งต่อกี่ครั้งที่เราต้องไปแข่งขันกับทีมฟุตบอลอาชีพอย่าง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หรือแม้กระทั่งจีน ที่นักกีฬาของเขาได้เปรียบเราอยู่แล้ว ทั้งเรื่องฝีเท้าและโครงสร้างของร่างกาย เมื่อต้องมาเจอการบำรุงร่างกายด้วยโปรแกรมอาหารอย่างมืออาชีพของนักกีฬาเหล่านั้นเข้าด้วย ถึงแม้นักฟุตบอลไทยจะใจสู้เต็มร้อย แต่ใจสู้ชูสองนิ้วบวกพลังปลาทูเค็มของนักกีฬาของเราสู้ไปได้สักพักก็หมดแรงข้าวต้ม
เมื่อครั้งที่ซิโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ไปคัดตัวอยู่กับทีมมิดเดิลสโบร์ ใน อังกฤษ ซิโก้เปรยๆ ว่านักกีฬาที่นั่นฝึกหนัก แต่มื้ออาหารกลับกินอาหารที่มีแต่แป้ง ผู้เขียนอ่านข่าวแล้วก็แปลกใจ ไม่รู้ว่านักกีฬาเมืองไทยที่บางครั้งทุ่มเทงบประมาณไปกับเรื่องอาหาร ปรนเปรอนักกีฬาด้วยอาหารดีๆ น่าจะเป็นไปได้ว่านักกีฬาเจอแต่อาหารดีประเภทโปรตีนหนักก็ได้เพราะเรามักจะเข้าใจกันเอาเองว่าอาหารโปรตีนคืออาหารดี เป็นอาหารมีคุณภาพ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดถนัด
ผู้เขียนยังจำได้ว่านักวิจารณ์กีฬาของเราบางคนค่อนแคะว่าทีมมิดเดิลสโบร์อาจจะประสบปัญหาทางการเงิน ไม่อย่างนั้นแล้วคงจะโด๊ปอาหารดีๆ ให้กับนักฟุตบอลของตนเอง ได้ฟังอย่างนั้นแล้วก็พอจะนึกออกว่าเราอาจจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องโภชนาการในนักกีฬามาเนิ่นนานหลายปีแล้วกีฬาหลายต่อหลายประเภท อย่างเช่นฟุตบอล เทนนิส ตะกร้อ ว่ายน้ำหลายประเภทไปจนวิ่งปั่นระดับระยะทางตั้งแต่ 100-800 เมตร เหล่านี้เป็นการใช้พละกำลังประเภทที่เรียกกันว่า แอนแอโรบิก หรือการออกกำลังที่กล้ามเนื้อไม่ได้ใช้
ออกซิเจนหรือใช้แต่น้อยเป็นหลัก กล้ามเนื้อจะใช้พลังงานจากสารอาหาร 3 กลุ่มเป็นหลักครับ คือ ครีเอทีนฟอสเฟต น้ำตาลกลูโคส และ ไกลโคเจนสารอาหารทั้งสามกลุ่มนี้ ร่างกายสะสมไว้ในกล้ามเนื้อทั้งสิ้น มีอีกบางส่วนสะสมไว้ในตับ ลองดูเถอะครับจะเห็นว่าสารอาหารเป็นสารอาหารประเภทน้ำตาลหรือประเภทแป้ง วิธีการที่ถูกต้องในการโด๊ปนักกีฬากลุ่มนี้ คือต้องทำให้เซลล์กล้ามเนื้อและเซลล์ตับสะสมสารอาหารทั้งสามกลุ่มนี้ให้ได้มากที่สุด การเสริมด้วยอาหารโปรตีน หรือไขมัน มันก็เหมือนเอาน้ำมันเกรดดีๆ ราคาแพงๆ ไปเติมเครื่องบินที่ต้องการใช้แค่น้ำมันเกรดถูกๆ ส่วนน้ำมันเกรดแพงๆ ถึงเติมเข้าไปมันก็เอาไปใช้ไม่ได้ ฉันใดฉันนั้น การโด๊ป นักกีฬาที่ต้องการพลังงานจากแป้ง แต่กลับไปเสริมอาหารโปรตีน นอกจากจะไม่ได้ผลสำเร็จตามที่ต้องการแล้ว ยังเท่ากับการใช้เงินผิดประเภท เงินที่โด๊ปนักกีฬาด้วยอาหารจ่ายกันแพงๆ กลับกลายเป็นปัสสาวะให้นักกีฬาขับถ่ายออกมาแทบหมด
ผู้เขียนไม่ได้หยาบคายนะครับ แต่การโด๊ปด้วยอาหารโปรตีนสูงในขณะที่ร่างกายไม่ได้ต้องการโปรตีน จะมีผลทำให้ร่างกายสลายโปรตีนออกไปเป็นกรดยูริก และยูเรีย ถูกถ่ายออกมากับปัสสาวะ นอกจากจะได้ปัสสาวะราคาแพงแล้ว ยังสร้างปัญหาให้กับระบบขับถ่ายตามมาอีก
ช่วงของการซ้อม ตลอดจนช่วงการฝึกเก็บตัวนักกีฬา สมาคมกีฬาในต่างประเทศจึงเน้นไปในเรื่องของการให้อาหารแป้งเป็นหลัก เป็นแป้งที่ย่อยง่าย นั่นเป็นประการที่หนึ่ง ส่วนอีกประการหนึ่งคือ ช่วงเวลาของการให้อาหาร สภาพของอาหารว่าเป็นของแข็งหรือของเหลว จะให้เป็นโจ๊กหรือเป็นแค่น้ำซุป ในระหว่างการแข่งขันหากต้องแข่งกันยืดเยื้อควรจะโด๊ปอาหารกันอย่างไร หากเป็นการแข่งประเภททัวร์นาเม้นต์ ต้องเจอสภาพการแข่งขันแบบต่อเวลาพิเศษจะให้นักกีฬาทำอย่างไร จะต้องโด๊ปกันแบบไหน หากจะต้องใช้วิธีที่เรียกว่า Carbo Loading จะต้องทำอย่างไรทั้งหมดนี้เป็นโภชนาการแนวใหม่ทั้งสิ้นครับ และสมาคมกีฬาต่างประเทศก็รู้กันเป็นอย่างดี ส่วนสมาคมกีฬาไทยมีบ้างที่บางสมาคมอาจจะทราบเรื่อง แต่เท่าที่ทราบคือเรายังไม่เคยให้นักโภชนาการมานั่งจับเข่าคุยกันเลย ทางสมาคมแต่ละสมาคมเองก็แทบจะไม่มีนโยบายในเรื่องนี้ชัดเจน


เรียบเรียงโดย : พล (คอม. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง)
อ้างอิงจาก : http://www.elib-online.com
ขาแรงต้องแข็งใจ :-)
พรสวรรค์ไม่มีค่าเท่ากับพรแสวงและสม่ำเสมอ
No smoke & No drink
รูปประจำตัวสมาชิก
B-gambler
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 220
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ส.ค. 2008, 10:06
Tel: LE
team: โดนไล่ออก
Bike: แม่บ้าน

Re: เคล็ดลับการออกกำลังกายให้อึด และโภชนาการที่ถูกต้อง

โพสต์ โดย B-gambler »

:roll: พลพล ...อัดใส่ cd ให้หน่อยได้ไหม..ยาวมากๆ
ขี่เล่น
รูปประจำตัวสมาชิก
หมู สวนหลวง
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 71
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 15:17
Tel: 801-9107211
team: สวนหลวง MTB
Bike: khs

Re: เคล็ดลับการออกกำลังกายให้อึด และโภชนาการที่ถูกต้อง

โพสต์ โดย หมู สวนหลวง »

มีประโยชน์มากเลยครับ แต่ว่ามีอีกเรื่องคืออยากให้อึดตอนกลางคืนทำยังไง
poomin_k
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 198
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ส.ค. 2008, 09:18
Tel: 0612500097
team: อิสระ
Bike: Bianchi Sempre Pro
ตำแหน่ง: อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

Re: เคล็ดลับการออกกำลังกายให้อึด และโภชนาการที่ถูกต้อง

โพสต์ โดย poomin_k »

อยากอึดตอนกลางคืน ก็หนังยางรัดซิจ๊ะเสือหมู
ภูมินทร์
รูปประจำตัวสมาชิก
เด่น999
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 95
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2011, 16:18
Tel: 0896914011
team: rock riders
Bike: เสือหมอบ
ตำแหน่ง: เอกมัย 28

Re: เคล็ดลับการออกกำลังกายให้อึด และโภชนาการที่ถูกต้อง

โพสต์ โดย เด่น999 »

:D ความรู้แบบนี้หาอ่านยากครับ ขอบคุณมากนะครับ :D
ตอบกลับ

กลับไปยัง “บางมด สวนหลวง”