คุยกัน ประจำเดือน มีนาคม 2556

ผู้ดูแล: เสือเพชรบูรณ์, V3 ป่าเลา

กฏการใช้บอร์ด
ที่อยู่ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ 67000
oui142
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2350
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 22:05
Tel: 0832150005
team: เพชรบูรณ์
Bike: Bianchi Sempre, Bianchi Methanol SX2
ตำแหน่ง: แผนกเภสัชกรรม รพ.ค่ายพ่อขุนผาเมือง
ติดต่อ:

Re: คุยกัน ประจำเดือน มีนาคม 2556

โพสต์ โดย oui142 »

วันก่อน พอดี มี คนถามว่า ทำไม ปลูกสร้างบ้านแล้ว ยังต้อง มานั่งเสียภาษีโรงเรือน อีก

ผ่านไปเจอมา พอดี ครับ


ภาษีโรงเรือนและที่ดิน หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ กับที่ดินที่ใช้ประโยชน์ต่อเนื่องไปกับโรงเรือนหรือสิ่ง
ปลูกสร้างนั้น

ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ได้แก่ โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง และที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนและ
สิ่งปลูกสร้างนั้น และในปีที่ผ่านมาได้มีการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินนั้น เช่น ให้เช่า ใช้เป็นที่ทำการค้าขาย ที่ไว้สินค้า ที่
ประกอบอุตสาหกรรม ให้ญาติ บิดา มารดา บุตร หรือผู้อื่นอยู่อาศัย หรือใช้ประกอบกิจการอื่น ๆ เพื่อหารายได้ และไม่เข้า
ข้อยกเว้นตามกฎหมาย

หลักการสำคัญ
1. ต้องมีทรัพย์สิน ได้แก่
- โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ และ
- ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น
2. ไม่เข้าข้อยกเว้น ตามมาตรา 9,10


ข้อสังเกต
- ค่าภาษี : ผู้รับประเมินชำระภาษีปีละครั้งตามค่ารายปีของทรัพย์สิน ในอัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี
- ค่ารายปี : จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ในกรณีให้เช่า ให้ถือค่าเช่าคือค่ารายปี
- เงินเพิ่ม : เป็นมาตรการทางแพ่ง เพื่อให้มีการชำระภาษีภายในกำหนด ตามมาตรา 43 ซึ่งพนักงานเก็บภาษี
สามารถเรียกเก็บผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้เอง
- ค่าปรับ : เป็นโทษทางอาญา ซึ่งมีกำหนดไว้ในมาตรา 46,47 และ 48 โดยพนักงานสอบสวนฝ่าย
ปกครองเป็นผู้มีหน้าที่เปรียบเทียบปรับ และท้องถิ่นไปขอรับเงินค่าปรับมาเป็นรายได้ของตนเอง
- พนักงานเจ้าหน้าที่ คือ ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้มีหน้าที่รับแบบฯ ประเมินภาษีและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่
กฎหมายกำหนด
- พนักงานเก็บภาษี คือ ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้มีหน้าที่จัดเก็บ รับชำระ รวมทั้งเร่งรัดให้ชำระภาษี และปฏิบัติ
หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด


ทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นภาษีไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ได้แก่
1. พระราชวังอันเป็นส่วนของแผ่นดิน
2. ทรัพย์สินของรัฐบาลที่ใช้ในกิจการของรัฐบาล หรือสาธารณะ และทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศ
ไทยที่ใช้ในกิจการของการรถไฟโดยตรง
3. ทรัพย์สินของโรงพยาบาลสาธารณะ และโรงเรียนสาธารณะซึ่งกระทำกิจการที่ไม่ใช่เพื่อเป็นผลกำไร
ส่วนบุคคล และใช้เฉพาะในการรักษาพยาบาลและในการศึกษา
4. ทรัพย์สินซึ่งเป็นศาสนสมบัติอันใช้เฉพาะในศาสนกิจอย่างเดียวหรือเป็นที่อยู่ของสงฆ์
5. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ซึ่งปิดไว้ตลอดปี และเจ้าของไม่ได้อยู่เอง หรือไห้ผู้อื่นอยู่
นอกจากคนเฝ้าในโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ หรือในที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกัน
6. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างของการเคหะแห่งชาติที่ผู้เช่าซื้ออยู่อาศัยเอง และมิได้ใช้เป็นที่เก็บ สินค้าหรือ
ประกอบการอุตสาหกรรม หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้
7. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ซึ่งเจ้าของอยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษา และซึ่งมิได้ใช้เป็นที่
ไว้สินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรม
“คนเราควรจะให้ แต่ไม่ควรขออะไรจากคนอื่น
ควรจะกินพอประมาณ ไม่ควรจะมากเกินไป ถึงกับท้องกาง
ควรช่วยเหลือผู้อื่น ไม่ใช่เหยียบย่ำ
ควรจะรับใช้ ไม่ควรคิดเป็นนายคน”
รพี พัฒนศักดิ์



"พรุ่งนี้...ก็ สายเสียแล้ว" ศ.ศิลป์ พีระศรี
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เสือเพชรบูรณ์”