อุปนิสัยต้องห้าม 10 ประการสำหรับนักปั่น

ผู้ดูแล: เสือชอร์

กฏการใช้บอร์ด
ชมรมจักรยานจังหวัดกาญจนบุรี
ผู้ดูแลบอร์ด โทร 0813722240
ตอบกลับ
รูปประจำตัวสมาชิก
Kai kanbike
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2205
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2010, 13:17
Tel: 0924936836
team: ชมรมจักรยานจังหวัดกาญจนบุรี
Bike: bianchi-dahon-giant-chevrolet
ตำแหน่ง: 624 กาญจนบุรีวิลล่า อ.เมืองกาญจนบุรี

อุปนิสัยต้องห้าม 10 ประการสำหรับนักปั่น

โพสต์ โดย Kai kanbike »

อุปนิสัยที่นักปั่นอย่างเรา ๆ พบเห็นหรือ เผลอทำเป็นประจำ
ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม หรือคิดว่า นิด ๆ หน่อย ๆ ไม่เป็นไร
แต่ถ้าละทิ้งพวกนี้ได้ เราจะเป็นนักปั่นได้ดีขึ้นอีกเยอะเลยครับ



รูปภาพ

1. แค่เริ่มออกตัว ก็ปั่นเร็วเกินไปเสียแล้ว

อาจจะเป็นดาราหน้ากล้องที่ดีด้วยการนำอยู่หน้ากลุ่ม แต่ถ้าคิดจะถึงจุดหมายปลายทาง
พร้อม ๆ กันคนอื่น คิดใหม่ได้ครับ

หัวใจที่เต้นเร็วเกินไปขณะเริ่มปั่นออกตัวใหม่ ๆ หรืออย่างน้อยใน 30 นาทีแรก
ส่งผลให้ร่างกายปรับตัวเข้าเผาผลาญน้ำตาลสำรองให้หมดลงเร็วเกินควร
ที่จริงแล้วต้องฝึกฝนให้ร่างกายคุ้นเคยกับการเผาผลาญไขมันสำรองก่อน
ซึ่งจะใช้ได้นานกว่า โดยควรปั่นในความเร็วที่ยังคุยไปปั่นไปได้ก่อน

หรือถ้าจะเล่นกันแรง ก็ขอให้ผ่านช่วง 20-30 นาทีแรกก่อนครับ
หลังจากผ่านระยะนี้แล้ว ตัวใครตัวมันเลยครับ...

อย่าไปเลียนแบบนักแข่งที่ออกตัวกันแรง ๆ ครับ ซึ่งส่วนใหญ่ก็วอร์มอัพเสียจนเครื่องร้อนฉ่า
พร้อมเร่งสุดชิวิตแล้ว


รูปภาพ

2. ใช้เกียร์ผิดปั่นขึ้นเนิน

ไม่ว่าเนินนั้นจะชันเท่าไร ว่ากันว่ารอบขาที่เหมาะสมควรจะอยู่ประมาณ 90-100 เสมอ
(ยกเว้นที่มันชันสุด ๆ จริง ๆ อย่าง ชัน 14-18%) อาจจะต้องฝึกกันเยอะหน่อย

แต่รอบขาที่ต่ำไป เราจะปั่นจนขายุ่ง วุ่นวาย เป็นพัลวัล สร้างความเครียดให้กับข้อต่อโดยไม่จำเป็น
และหมดแรงโดยไร้ประโยชน์ หรือรอบขาที่สูงเกินไป ก็จะทำให้สูญเสียแรง เข่าทำงานหนัก
อ่อนล้าได้ง่าย ๆ

ถ้ามีเครื่องวัดรอบขา (cadence) ได้ก็จะเป็นประโยชน์ครับ
แต่ถ้าไม่มีก็อาศัยประสบการณ์หน่อย หารอบขาโดย หรือจับเวลา 15 หรือ 30 วินาที
แล้วนับรอบขาเอา ใช้ความรู้สึกหารอบขาให้เหมาะสมกับตัวเอง

รูปภาพ

3. เป็นหัวลากหรือปั่นตามกลุ่ม อย่างใดอย่างหนึ่งมากไป
เรียนรู้การประหยัดแรงบ้างด้วยการปั่นตามกลุ่ม แต่อย่าลืมขึ้นเป็นหัวลากคนอื่นบ้าง
การปั่นตามหลังนักปั่นอื่น ๆ ซัก 8 คน สามารถประหยัดการเผาผลาญอ๊อกซิเจน
ได้ถึง 30-40% แต่การปั่นตามหลังกลุ่มตลอดเสมอ อาจได้รับฉายา
ไอ้ตัวดูด หรือห่อหมก (wheel sucker) ได้ แต่การใช้เวลาเป็นหัวลากมากไป
แม้ว่าเพื่อนฝูงจะรักใคร่ได้รับฉายา ลากยาว หัวลากประจำก๊วน
ถ้าไม่แกร่งพอ ก็อาจเจอกับอาการแผ่วเอาง่าย ๆ
เรื่องสำคัญคือในกลุ่มต้องตกลงกันว่าใครจะขึ้นหัวลาก นานเท่าไร สลับกันยังไง

ถ้าเป็นหัวลากอยู่ การให้สัญญาณให้คนอื่นแซง อย่างเช่นขยับศอก
โบกฝ่ามือ การหลบออกซ้ายลดความเร็วช้า ๆ ระวังคนข้างหลังมาเสยเอา ทำเขาล้มได้
พยายามอย่าเบรค ให้แรงต้านลมลดความเร็วลงช้า ๆ

ถ้าปั่นตาม เพื่อประหยัดแรง ก็ต้องให้ชิดคันข้างหน้า ห่างกันระยะซักล้อหรือมากกว่า
แน่นอนยิ่งชิดก็ยิ่งประหยัดแรง แต่ก็ยิ่งเสี่ยง มองไกล สลับใกล้
อย่าก้มหน้าก้มตามองแต่ล้อหลังคันข้างหน้า

ให้ขี่ประจำตำแหน่ง อย่ามุดหรือกระแซะคันข้างหน้าเพื่อแซง
ถ้าคิดจะแซงขอทางออกด้านขวา อยู่นอกกลุ่มแล้วจะไปไหนก็ไป
หรือถ้าคิดจะย้ายตำแหน่งไปข้างหลัง ให้ขอทางออกทางซ้าย

การเปลี่ยนจังหวะกะทันหัน เช่น จากนั่งเป็นยืนโยก
จังหวะที่ลุกขึ้นยืนโยก ระวังอย่าให้จักรยานชะงัก การปั่นช้าลง เบรค
หรือเปลี่ยนทิศทางโดยไม่ให้สัญญาณ อุบัติเหตุเกิดได้บ่อย ๆ เจ็บตัวเจ็บใจ
เสียรถ เสียความรู้สึก มามากต่อมาก ถอดใจเลิกปั่นไปก็มีไม่น้อย
โดยเฉพาะถนนบ้านเรา ไหนต้องระวังมอไซต์สวน หรือรถจอดไหล่ทาง
หรือแม้กระทั่ง หมาไล่ เรื่องนี้ว่ากันยาว


รูปภาพ

4. พักผ่อนน้อย


โอเวอร์เทรน หรือซ้อมมากไปเป็นอาการนักปั่นรู้สึกกันบ่อย เช่นเมื่อยล้า อ่อนแรง
ขาดแรงจูงใจ อารมฌ์บ่จอย พาลขี้เกียจซ้อม

ให้คิดว่าการพักผ่อนไม่ใช่การขาดซ้อม แต่เป็นส่วนหนึ่งของการซ้อมด้วยนะครับ

ร่างกายเราใช้ช่วงพักผ่อนนี่แหละเสริมสร้าง ปรับปรุงระบบทั้งหัวใจและเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
ยกระดับประสิทธิภาพสูงขึ้น

โปรแกรมการฝึกซ้อมดี ๆ ส่วนใหญ่ให้มีวันพักผ่อนเต็ม ๆ หลังวันซ้อมเบา
อาทิตย์ละครั้ง หรือถ้าโปรแกรมซ้อมไม่โหดมากนัก ก็อาจใช้วันนี้ไป ครอสเทรนนิ่งบ้าง
อย่าง ว่ายน้ำ โยคะ เดินเล่น แต่ถ้าซ้อมกันหนัก ๆ โหด ๆ มา ให้พักผ่อนให้เต็มที่
หรืออาจะไปนวดตัว นวดกล้ามเนื้อ ก็ดีครับ


รูปภาพ

5 ปั่น ปั่น และปั่น พวกบ้าปั่น

พวกนี้ไม่ทำอะไรเลยนอกจาก ปั่น ปั่น และปั่นทั้งอาทิตย์ เอาชั่วโมงปั่นอย่างเดียว
เรื่องของเรื่องก็คือว่า การปั่นไม่ใช่การออกกำลังที่มีการใช้กล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย
แต่ใช้เฉพาะส่วนล่างในการเคลื่อนไหว ในขนาดและทิศทางที่ชัดเจนและจำกัดมาก
ผลที่ได้ก็คือกล้ามเนื้อส่วนนี้จะแข็งแรงมาก แต่กล้ามเนื้อส่วนอื่นที่ไม่ใช้ก็จะอ่อนแอลง
ก่อให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อไม่สมดุลย์ ได้

ยิ่งไปกว่านั้น มีรายงานวิจัยยังพบอาการกล้ามเนื้ออักเสบจากการใช้งานซ้ำซาก
และมากเกินไปในนักปั่นกลุ่มนี้ถึง 85% ให้ชดเชยด้วยการฝึกใช้งานกล้ามเนื้ออื่น ๆ ด้วย
ไม่ว่าจะเป็นโยคะ หรือ ยกน้ำหนัก ซิท อัพ เป็นต้น


รูปภาพ

6. ชอบปรับแต่งองค์ทรงเครื่องจักรยานก่อนปั่น


ทุก ๆ ครั้งก่อนล้อจะหมุน ดูเหมือนว่ารถเราหรือใครซักคนจะมีอะไรติดขัดทุกที
ไม่ว่าจะเป็นปรับเบาะ ปรับเบรค ตัวจับแม่เหล็ก หรือแม้กระทั่งปรับสายเบรค สายเกียร์ทั้งหลาย

ว่ากันว่าเวลาที่ดีที่สุดในการปรับแต่งรถก็คือทันทีที่ขี่เสร็จครับ เพราะอาการรวน
หรือเสียงรบกวนทั้งหลายแหล่นั้นนั้นยังแจ่มชัดอยู่ในความรู้สึก รวมถึง การล้างทำ
ความสะอาด เช็ดถู หล่อลื่นต่าง ๆ หรือซ่อมแซมยางอะไหล่ก็เหมาะครับ

สำหรับบางคนที่ชอบปรับแต่งเป็นอาจิณ ประเภทย้ำคิดย้ำทำนั้น แนะนำว่า
ให้ทำเป็นเช็คลิสต์เลยครับ เก็บไว้รวมกับพวกยางอะใหล่ สูบ โดยให้รวมถึง
พวกน้ำดื่มเกลือแร่ แม้กระทั่ง มือถือหรือไอพอด ไปด้วยเลย

แต่ถ้าเจตนาจะปรับแต่งรถจริง ๆ ปั่นคนเดียวครับ พกเครื่องมือไปด้วย
ปั่นไปเจออะไรไม่เข้าที่เข้าทางก็ปรับเลยครับ ดีที่สุด...

รูปภาพ

7. เห็นเนินเป็นลม



นักปั่นที่ปั่นแต่ทางเรียบล้วน ๆ ไม่มีเนินให้ลองเล่น อย่างแถวกรุงเทพเนี่ย มักกลัวเนินครับ
พยายามเลี่ยง ประเภทเห็นเนินเป็นลม เห็นนมแล้วซิ่ง ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า ถ้าอยากปั่นให้ดีขึ้น
ต้องซ้อมขึ้นเนินบ่อย ๆ ส่วนใหญ่ก็มักจะอ้างว่าขี่ขึ้นเนินไม่ดีเลยพาลหนีไปเลย
ความจริงก็คือ ไม่มีใครขึ้นเนินไม่ได้หรอกครับ ของมันฝึกฝนกันได้

ลองเลือกหาเนินสั้น ๆ ชันซ้ก 4% ถึง 8% ใช้เวลาปั่นซัก หนึ่ง ถึง สองนาที
พยายามใช้แรงให้สม่ำเสมอตลอดทั้งเนิน เสร็จแล้วให้ฝึกบ่อย ๆ สองถึงสามเนิน
ขนาดซักสามสิบนาทีต่ออาทิตย์ แล้วจะพบว่าตัวเองชักจะติดใจเนินละ
แทนที่จะวิ่งหนีกลับวิ่งเข้าหาแล้วล่ะครับ ให้ฝึกการใช้รอบขา การใช้แรง
การหายใจให้สม่ำเสมอ อย่าเพิ่งสนใจความเร็วมากนัก

เนินมักเป็นที่ที่แยกหมู่จากจ่า แยกขาแรงกับขาใหม่อย่างแท้จริง ขณะที่ปั่นทางราบใคร ๆ
ก็พอจะเกาะกลุ่มไปได้ บนเนิน นักปั่นที่อ่อนแอที่สุดในกลุ่มมักจะถูกสลัดทิ้งอย่างไม่มีเยื่อใย
เสียแทบจะทุก ๆ ครั้ง หรือถ้าผ่านพ้นจุดนี้ไปได้ กำลังจะผ่านยอดเนิน อย่าเพิ่งเบาเครื่องนะครับ
ถ้าเป็นการแข่งขันหรือทริปที่ปั่นเหมือนกะแข่ง เคล็ดลับก็คือปั่นตามกลุ่มขึ้นเนินให้ได้
แล้วเก็บแรงไว้ใช้บนยอดเนิน ที่นี่แหละเร่งรอบขาหนีหายไปเลย นักปั่นที่มัวแต่พักรอบขาตอนนี้
จะถูกทิ้งอีกครั้ง ใช้ขาลงเนินนั่นแหละพักรอบขาเอา เรื่องนี้ต้องฝึกบ่อย ๆ ครับแล้วจะชิน
ฮึ่ม แล้วมันก็จะเป็นทีข้ามั่งละว๊อย...

ส่วนนักปั่นแถวนี้ ไม่รู้ว่าชอบเนินหรือเปล่า เห็นไปเขาใหญ่ที ประกาศ ด่านชนด่าน
เหวนรกสองรอบ ทุกที นัดไปเมื่อไร ไปกันพร้อมเพรียงเสมอ
หรือจะไปติดใจอะไรขาว ๆ สวย ๆ หมวย ๆ แถว ร้านกาแฟอเมซอน ตรงวงเวียนปราจีน ฯ
ก็ไม่สามารถรู้ได้จริง ๆ เลยครับ....

รูปภาพ

8 ทำตัวเป็นหมอกลางบ้าน

ปั่นจักรยานก็อาจเหมือนกีฬาแข่งขันอื่น ๆ ที่มักมีการเจ็บเนื้อปวดเมื่อยตัว หมูแผ่น
กันอยู่เสมอ และพวกเราก็มักจะดูแลรักษาตัวเองเสียด้วย อาจคิดแค่ว่าเอาน้ำแข็งประคบเสียหน่อย
หรือไปนวดเสียหน่อย หรือ ทาโน่นทานี่หน่อยก็โอเคแล้ว

เรื่องของเรื่อง อาการเล็ก ๆ น้อย เหล่านั้นอาจกลับกลายเป็นอาการเรื้อรังประเภทกล้ามเนื้อ
ฉีกขาดหรือปวดหลัง ปวดเอว ปวดคอ ถาวรได้ ถ้าได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่แรก
เพราะฉะนั้นอาการปวดเมื่อยแปลก ๆ ก็รีบไปหาหมอโดยเร็วเลยครับ ถ้าเป็นหมอเฉพาะ
ทางกายภาพกีฬาด้วยยิ่งดี (ไม่รู้ว่าบ้านเรามีมั่งหรือเปล่านี่) อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ความดันสูงหรือต่ำผิดปกติ หรือเหนื่อย อ่อนเพลียผิดปกติ หรือบางคนอาจเคยมีอาการหัวใจผิดปกติมาก่อน
อาจขอหมอตรวจเลือดให้ละเอียดหน่อย เช่นหาปริมาณธาตุเหล็กในเลือด อาการเส้นเลือดอุดตัน
อาการพวกนี้อาจทำให้เราใช้แรงมากผิดปกติ ฟื้นตัวช้า สมรรถภาพหย่อนยาน หรืออาจถึงอัมพาต
หรืออาจถึงตายได้ ก็มีให้เห็นกันครับ

รูปภาพ

9 กินผิดที่ผิดเวลา

บ่อยครั้งที่ในวันแข่ง หรือวันออกทริป เรามักทำตัวผิดจากวันธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นเวลานอน
เวลาตื่น หรือกินอาหารผิดไปจากที่เคยกิน หรือ ผิดเวลาจากที่เคยทำเป็นประจำ
หรือแม้กระทั่งถ่ายผิดที่ผิดเวลา อย่างเช่น มากินน้ำเต้าหู้ หรือปาท่องโก๋ตอนเช้า
วันออกทริปหรือแข่ง เพราะว่ามันฟรี ทั้ง ๆ ที่ปกติไม่เคยแตะต้อง อย่างนี้ต้องระวังให้มากครับ

ท้องไส้บางคนไม่คุ้นเคย ไม่ได้ถูกฝึก อาจเกินอาการปั่นป่วน ไม่อยู่กับร่องกับรอย
ส่งเสียงรบกวนเอาง่าย ๆ ส่วนหลังปั่น ถ้าเป็นการปั่นทางไกลจริง ๆ ควรต้องเติม
เต็มกระเพาะอาหาร ภายใน 45 นาทีหลังปั่นเสร็จ เพื่อให้ร่างกายสะสมพลังงาน
ไว้ใช้เพื่อฟื้นสภาพต่อไป

รูปภาพ

10 นอนไม่พอ

ข้อนี้คงไม่ต้องว่ากันมากนัก ใครนอนไม่พอแล้วมาปั่นกันหนัก ๆ จะออกอาการ
เปลี้ยเห็นได้ชัด ๆ ส่วนใหญ่จะยอมสารภาพบาปกันทั้งนั้น

ร่างกายใช้เวลาระหว่างการนอนหลับ ทำการซ่อมแซมและพักฟื้นเซลล์กล้ามเนื้อ
ที่สึกหรอจากการออกกำลังกาย การนอนน้อย ทำให้การะบวนการซ่อมแซมไม่
สามารถทำได้เต็มที่ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลีย ฟื้นตัวช้า ขาดภูมิต้านทาน
บางคนมีอาการปวดหัวบ่อย ซื่งถ้าไม่ขาดน้ำ ก็อาจมีสาเหตุมาจากนอนน้อยก็ได้
ในวัยเด็ก การนอนหลับสนิทเป็นช่วงที่ร่างกายเร่งกระบวนการเติบโตและความสูง

ในทางการแพทย์คนนอนน้อยมีภาวะเลือดลอย หรือมีความเข้มข้นของเม็ดเลือดน้อย
ไม่สามารถบริจาคโลหิตได้ สำหรับนักกีฬา ความเข้มข้นของเลือดน้อยทำให้เม็ด
เลือดแดงนำอ๊อกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้น้อยลง ทำให้ไม่มีแรง เป็นตะคริวง่าย

นอนเท่าไรจึงจะพอ ไม่มีกฏตายตัว บางคน 5 ชั่วโมงต่อคืนก็พอแล้ว สำหรับหลาย ๆ คน
ต้อง 6 – 8 ชั่วโมงจึงจะพอ สิ่งสำคัญก็คือ ความสม่ำเสมอครับ เคยนอนเท่าไรแล้วรู้สึกปกติ
สบาย ๆ ก็อันนั้นแหละครับ

อ้างจาก bikeradar.com เจ้าเก่า
****************************
การถาม... อาจทำให้คุณดูโง่...แค่ชั่วคราว แต่การไม่ถาม...อาจทำให้คุณโง่ได้อย่าง...ถาวร
รูปประจำตัวสมาชิก
s_prom
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 364
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ต.ค. 2010, 13:56
Tel: -
team: ไทรโยค
Bike: gt
ตำแหน่ง: ร.ร.บ้านวังใหญ่ ไทรโยค กาญจนบุรี(สมจิตร พรหมจันทร์)

Re: อุปนิสัยต้องห้าม 10 ประการสำหรับนักปั่น

โพสต์ โดย s_prom »

10 รายการที่ว่าต้องตกเป็นจำเลยหลายรายการเลยทีเดียว เห็นทีต้องแก้ไข ขอบคุณครับ :D
รูปประจำตัวสมาชิก
เอก วัดปุรณฯ.
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1492
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 16:29
Tel: 0829976602
team: BAMBOO BIKE
Bike: TREK GIANT
ตำแหน่ง: หันคา ชัยนาท

Re: อุปนิสัยต้องห้าม 10 ประการสำหรับนักปั่น

โพสต์ โดย เอก วัดปุรณฯ. »

ขอบคุณมาก ๆ ครับ :o :o
รูปประจำตัวสมาชิก
กุหลาบขาว
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 62
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ม.ค. 2011, 20:40
team: Independent
Bike: TREK
ติดต่อ:

Re: อุปนิสัยต้องห้าม 10 ประการสำหรับนักปั่น

โพสต์ โดย กุหลาบขาว »

ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ
ระยะทางพิสูจน์"ม้า"..กาลเวลาพิสูจน์"คน"
รูปประจำตัวสมาชิก
Kai kanbike
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2205
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2010, 13:17
Tel: 0924936836
team: ชมรมจักรยานจังหวัดกาญจนบุรี
Bike: bianchi-dahon-giant-chevrolet
ตำแหน่ง: 624 กาญจนบุรีวิลล่า อ.เมืองกาญจนบุรี

Re: อุปนิสัยต้องห้าม 10 ประการสำหรับนักปั่น

โพสต์ โดย Kai kanbike »

ก่อนออกกำลังกาย...ควรทานอาหารหรือไม่..เพราะเหตุใด
เรานำบทความมาฝากเกี่ยวกับการทานอาหารก่อนออกกำลังกายมาฝากครับ ที่มา : oknation.net

การทานอาหารสำหรับการออกกำลังกาย เป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้ารับประทานอาหารไม่พอ อาจไม่มีแรงหรือทานมากเกินไป อาจไม่สบายท้อง หรือออกกำลังกายไม่ไหว นักกีฬาควรได้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต 200 - 300 กรัม ในช่วงเวลา 3 - 4 ชั่วโมง ก่อนการออกกำลังกาย
โดยปกติขณะออกกำลังกาย ร่างกายจะมีเกิดการขยายตัวของปอด ทำให้กระบังลมที่อยู่เหนือกระเพาะอาหารต้องเคลื่อนไหวขึ้นลงตามการขยายตัวของปอดตลอดเวลา ตราบเท่าที่กำลังออกกำลังกายอยู่ ดังนั้น หากเรารับประทานอาหารก่อนออกกำลังกายในปริมาณมาก จะมีผลให้กระเพาะอาหารใหญ่ขึ้น และการเคลื่อนไหวของกระบังลมลดน้อยลง เลือดมาเลี้ยงกระเพาะอาหารมากขึ้น เพื่อช่วยในการย่อย และดูดซึมอาหาร ในขณะเดียวกันเลือดจะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่มีส่วนในการออกกำลังกายน้อยลง และหากเป็นกีฬาที่มีการกระทบกระแทกกันรุนแรง อาจทำให้กระเพาะอาหารแตกได้
ดังนั้น ควรงดอาหารหนักก่อนการออกกำลังกาย และมื้อสุดท้ายควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย และรับประทานอย่างน้อย 2 - 3 ชั่วโมงก่อนออกกำลังกาย สำหรับกีฬาที่ต้องเล่นเป็นเวลานาน ๆ เช่น การขี่จักรยานทางไกล ร่างกายต้องใช้พลังงานมาก อาจจำเป็นต้องได้รับอาหารที่ย่อยง่าย และมีปริมาณไม่ถึงกับอิ่มเป็นระยะ ๆ อาหารที่เหมาะสมที่สุด คือ คาร์โบไฮเดรต ซึ่งอยู่ในสภาพของเหลว และมีกากใยน้อย
หลังออกกำลังกาย ร่างกายต้องการฟื้นตัว ต้องการพลังงานเพื่อให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ น้ำและเกลือแร่จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ การออกกำลังกายทำให้ไกลโคเจนที่สะสมไว้ที่ตับ และกล้ามเนื้อถูกใช้ไป จึงต้องมีการสะสมเพิ่มเติม ซึ่งสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต และโปรตีนช่วยเพิ่มการสะสมไกลโคเจนได้เพื่อทดแทนปริมาณที่ถูกใช้ไป
นักโภชนาการแนะนำว่า หลังการออกกำลังกายประมาณ 15 - 30 นาที ควรได้รับคาร์โบไฮเดรตอย่างน้อย 50 กรัม และโปรตีนอีก 15 - 20 กรัม เพื่อทำให้สะสมไกลโคเจนได้เร็วขึ้น และร่างกายจะนำไปใช้ซ่อมแซมกล้ามเนื้อให้ดีขึ้นได้
แก้ไขล่าสุดโดย Kai kanbike เมื่อ 23 ก.ค. 2011, 13:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
การถาม... อาจทำให้คุณดูโง่...แค่ชั่วคราว แต่การไม่ถาม...อาจทำให้คุณโง่ได้อย่าง...ถาวร
รูปประจำตัวสมาชิก
Kai kanbike
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2205
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2010, 13:17
Tel: 0924936836
team: ชมรมจักรยานจังหวัดกาญจนบุรี
Bike: bianchi-dahon-giant-chevrolet
ตำแหน่ง: 624 กาญจนบุรีวิลล่า อ.เมืองกาญจนบุรี

Re: อุปนิสัยต้องห้าม 10 ประการสำหรับนักปั่น

โพสต์ โดย Kai kanbike »

แบ่งปันความรู้




รูปภาพ


รูปภาพ


รูปภาพ


รูปภาพ
การถาม... อาจทำให้คุณดูโง่...แค่ชั่วคราว แต่การไม่ถาม...อาจทำให้คุณโง่ได้อย่าง...ถาวร
รูปประจำตัวสมาชิก
Kai kanbike
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2205
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2010, 13:17
Tel: 0924936836
team: ชมรมจักรยานจังหวัดกาญจนบุรี
Bike: bianchi-dahon-giant-chevrolet
ตำแหน่ง: 624 กาญจนบุรีวิลล่า อ.เมืองกาญจนบุรี

Re: อุปนิสัยต้องห้าม 10 ประการสำหรับนักปั่น

โพสต์ โดย Kai kanbike »

แบ่งปันความรู้


40 เคล็ดลับกับการฝึกซ้อมที่ได้ผล



1. ไม่ต้องกลัวหากท่านต้องพักการฝึกซ้อมสักหน่อย ความอ่อนล้าจะถูกขจัดไปเร็วกว่าที่ความสมบูรณ์ของท่านจะลดลง
2. ซ้อมปั่นขาเดียวสลับข้าง (ILT= Isolate Leg Training)เพื่อการส่งแรงอย่างมีประสิทธิภาพตลอดรอบการปั่น บรรจุเข้าในแผนการซ้อมประจำวัน
3. ปวดล้าบริเวณหลังแขน แสดงถึง คอแฮนด์ยาวเกินไป,ล้าบริเวณหัวไหล่ คอแฮนด์สั้นเกินไป
4. ขณะฝึกซ้อมกินอย่างไร วันแข่งก็กินอย่างนั้น กระเพาะของท่านคุ้นเคยกับของเดิมๆอยู่แล้ว
5. วันที่อากาศหนาวเย็นทำฝ่าเท้าให้อุ่นได้ง่ายๆโดยการพ่นยาดับกลิ่นเต่าให้ทั่วฝ่าเท้าก่อนสวมถุงเท้า
6. ไม่มีนักจักรยานที่ยิ่งใหญ่คนไหนซ้อมด้วยความเร็วคงที่ตลอด. ท่านจะขี่ได้เร็วขึ้นถ้าเรียนรู้ว่าขี่ช้าลงทำอย่างไร!!!
7. อย่ากินอาหารย่อยยากก่อนการขี่ขึ้นเขาในอีก 30 นาทีข้างหน้า เพราะมันไม่ทันเปลี่ยนเป็นพลังงานให้ท่าน... มิหนำซ้ำอาจตีกลับจุกอกได้
8. เมื่อท่านซ้อมแบบอินเตอร์วาล ซ้อมให้น้อยกว่าที่ท่านคิดว่าทำได้สักรอบหนึ่ง เก็บพลังงานนั้นไว้เพื่อการฟื้นคืนสภาพที่ดีดีกว่า!
9. ปุจฉา ทำอย่างไรฉันถึงจะพัฒนาขึ้น วิสัชชนา ก็หมั่นซ้อมกับคนที่มีผีเท้าจัดกว่าบ่อยๆไงล่ะ ง่ายนิดเดียว
10. แทนที่จะใช้เพียงน้ำแข็งธรรมดา ลองเปลี่ยนมาเป็นที่ทำด้วยเครื่องดื่มเกลือแร่ที่ซึ่งท่านคุ้นเคย ยิงนัดเดียวได้นกสองตัว !
11. เหยียดคลายกล้ามเนื้อเพียงรู้สึกว่าตึง จากนั้นค่อยๆคลายออก หากเกิดความเจ็บปวดขึ้น แสดงว่ากล้ามเนื้อหดตัวต้านแรงมากไปเสียแล้ว ผ่อนออกหน่อย
12. นักกีฬาหน้าใหม่หวังเพียงผลการแข่งขัน นักกีฬาเก๋ากึ้กสนใจการเตรียมตัวก่อนแข่ง
13. กระแสลม..คือเครื่องช่วยซ้อมให้เกิดพลังตามธรรมชาติ คราวหน้าขี่ต้านมันเข้าไปเลย
14. ขี่ออกตัวอย่างหนักหน่วงทุกครั้งจากจุดเริ่มต้นไม่ใช่การฝึกซ้อมที่ดี เป็นการกระทำที่ทารุณต่อกล้ามเนื้อ เอ็น และเนื้อเยื่อต่างๆ
15. ขี่ขึ้นเขา เป็นการฝึกซ้อมเพื่อเพิ่มพละกำลังที่ได้ผลรวดเร็วที่สุด อย่าลืมซ้อมอาทิตย์ละครั้ง
16. ถ้าท่านมีอาการ เจ็บหัวเข่าทางด้านหน้า ให้ยืดหลักอานขึ้นนิดหน่อย แต่ถ้า เจ็บข้อพับหลังลดหลักอานลง
17. ขี่จักรยาน 1 ชั่วโมงที่อัตราการเต้นของหัวใจค่าหนึ่งเทียบเท่ากับวิ่ง 1 ชั่วโมงที่อัตราการ เต้นหัวใจที่เท่ากันนั้น
18. ซ้อมน้อยกว่าที่ตั้งใจไว้ 10% แต่... เน้นที่คุณภาพมากกว่าปริมาณ
19. อย่าไปสนใจกับการเพิ่มขนาดกล้ามเนื้อน่อง มันทำหน้าที่เพียงส่งผ่านแรงจากกล้ามเนื้อหน้าขา(quadriceps)ไปยังฝ่าเท้าเท่านั้น…สนใจบ่มเพาะ กล้ามเนื้อหน้าขา
20. เริ่มต้นการฝึกซ้อมโดยใช้จานหน้าใบเล็ก ปั่นเบาๆที่ 90 รอบหรือน้อยกว่า มันไม่ทำให้ท่านแข็งแรงได้ภายใน 10 นาทีแรกหรอก !
21. ไม่มีเวลาออกไปซ้อมกับเพื่อนฝูงเลย! ก็ซ้อม15 นาทีก่อนนอนบนเครื่องซ้อมปั่นเป็นไง?
22. ขี่ได้ระยะทางมากที่สุดเท่าไร คำตอบคือ สามเท่าของระยะที่ท่านใช้ซ้อมอยู่เป็นกิจวัตร
23. อย่าขับรถเดินทางไปแข่งขันไกลๆโดยไม่เผื่อเวลาเพื่อการอุ่นเครื่อง..ขาของท่านจะแข็งตายขี่ไม่ออก
24. อาหารเช้าของวันแข่งขันที่ยาวนาน อย่าลืมเพิ่มโปรตีนและไขมันเล็กน้อยร่วมไปกับคาร์โบไฮเดรท
25. หากต้องการเผาไขมันที่สะสมในร่างกายออกไป 1/2 กก.ภายใน 1 อาทิตย์ท่านต้องออกกำลังมากกว่าที่ท่านกินเข้าไป 3,500 แคลอรี่ !!!
26. กีฬาจักรยานไม่ได้ช่วยให้ท่านมีความอ่อนตัว หรือแคล่วคล่องว่องไวมากเท่าที่คิด ดังนั้นอย่าลืมการเหยียดกล้ามเนื้อขา หลังช่วงล่าง ไหล่ และแขน
27. ประสานการฝึกเพื่อสร้างพละกำลังกับการสร้างบรรยากาศในครอบครัวโดยการขี่ลากรถล้อเลื่อนที่มีลูกคนเล็กอยู่ข้างใน
28. ต้องการลดเวลาการฝึกยกน้ำหนัก? ผลวิจัยล่าสุดสรุปไว้ว่า 1 ชุดการฝึก(8-12 ครั้ง) ให้ผลใกล้เคียงกับการฝึกหลายชุด
29. แผนการฝึกซ้อมด้วยความเข้มข้นคือแกนกลางเพื่อการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ
30. ขี่ลงเขาด้วยเกียร์เบาเพื่อเรียนรู้การปั่นอย่างราบเรียบสม่ำเสมอที่ 80-100 รอบตามแบบฉบับของเสือหมอบ
31. ฝึกซ้อมมากกว่าวันละ 2 ชม.ต้องแน่ใจว่าท่านได้คาร์โบไฮเดรทเชิงซ้อน 60-70% (complex carbohydrate) ของปริมาณพลังงานที่ได้รับทั้งหมดต่อวัน
32. ใช้ถุงประคบเย็น(cold/ hot pack) 10 นาทีเพื่อลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและหัวเข่า
33. ท่านสามารถขี่จักรยานได้ถึง 2 ชั่วโมงครึ่งโดยไม่กินอะไรเลย แต่ถ้าท่านเติมอะไรใส่ท้องสักหน่อยท่านจะขี่ได้ทั้งวัน
34. การฝึกซ้อมด้วยการยกน้ำหนักมีคุณค่าพอๆกับการเสริมแคลเซี่ยมให้กระดูก ดังนั้น อย่าละเลย
35. ถ้าแผนการซ้อมตามปกติของท่านไม่สามารถปฏิบัติได้ ให้เปลี่ยนเป็น ซ้อมด้วยความ เข้มข้นสูงครั้งละ 1 ชม. 2 วัน/สัปดาห์
36. หลังจากอุบัติเหตุ มีแนวโน้มที่ท่านจะขี่ฝึกซ้อมแบบไปเรื่อยๆแทนที่จะเหยียดตัวพุ่ง ออกไปข้างหน้าเหมือนเมื่อก่อน
37. เมื่อ “ หลังยันกำแพง ” อย่าฝืนซ้อมต่อไป ทำใจ! พักผ่อน เติมคาร์โบฯ ปริมาณมากๆ จะช่วยให้ท่านฟื้นเร็วขึ้น
38. พฤติกรรมที่มีคุณค่าน่าปรับเปลี่ยน… เหยียดกล้ามเนื้อทุกวัน หลังอาบน้ำตอนเช้า
39. หลีกเลี่ยงความรู้สึกซ้ำซากขณะฝึกซ้อม : ปั่นสุดๆ(sprint) 10 วินาที ทุกๆ 5 นาที
40. หายใจหอบเหนื่อย...ปั่นรอบต่ำลงมานิด,ขาล้ากดลูกบันไดไม่ลง...เพิ่มรอบอีกหน่อย
การถาม... อาจทำให้คุณดูโง่...แค่ชั่วคราว แต่การไม่ถาม...อาจทำให้คุณโง่ได้อย่าง...ถาวร
รูปประจำตัวสมาชิก
เด็กเมืองกาญจน์
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 846
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 เม.ย. 2011, 10:20
Tel: 089-2561368
team: ชมรมจักรยานกาญจนบุรี
Bike: GIANT
ตำแหน่ง: 1075/23 ม.4 ต.ท่าม่วง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี 71110

Re: อุปนิสัยต้องห้าม 10 ประการสำหรับนักปั่น

โพสต์ โดย เด็กเมืองกาญจน์ »

ข้อแนะนำดีๆ ทั้งนั้น ขอบคุณครับ :lol:
ธ.กรุงเทพฯ สาขาเทสโก้โลตัสท่าม่วง 721-0-05213-5 วัชรินทร์ สว่างเมือง
ตอบกลับ

กลับไปยัง “ชมรมจักรยานจังหวัดกาญจนบุรี”