เกี่ยวกับลูกปืนในโม่เฟืองหลัง

บอร์ดสำหรับ นักปั่นทัวร์ริ่ง นักปั่นระยะทางไกล พูดคุยเรื่องอุปกรณ์ เทคนิตการปั่น ที่พัก หรือการกินอยู่
กฏการใช้บอร์ด
บอร์ดสำหรับ นักปั่นทัวร์ริ่ง นักปั่นระยะทางไกล พูดคุยเรื่องอุปกรณ์ เทคนิตการปั่น ที่พัก หรือการกินอยู่
ตอบกลับ
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือ Spectrum
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4450
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 12:58
Tel: -
team: 99 City Bike
Bike: LA Spectrum

Re: เกี่ยวกับลูกปืนในดม่เฟืองหลัง

โพสต์ โดย เสือ Spectrum »

:mrgreen: ไม่เคยนับครับ

หลักการของลูกปืนเรียงเม็ดคร่าวๆ คือใส่ลูกปืนลงไปเรื่อยๆ พอใกล้เต็มมันจะดูด้วยสายตาเหมือนว่าขาดอยู่ 1 เม็ด ตรงนั้นแหละครับที่จำนวนลูกปืนพอดีแล้ว
"ถามว่าใส่น้อยกว่านั้นได้หรือไม่"
ได้ครับเพราะหากพิจารณาจากลูกปืนแบบพวงซึ่งหลักการและเทคนิคอยู่กึ่งกลางระหว่างลูกปืนเรียงเม็ดกับ Sealed Bearing จะเห็นว่าในลูกปืนคอซึ่งต้องเรียงถึง 30 - 32 เม็ดถึงจะเต็มเบ้า แต่ลูกปืนคอชนิดพวงมีแค่ 16 เม็ด/พวง กับ 25 เม็ด/พวง ส่วนลูกปืน Sealed Bearing ใช้จำนวนลูกปืนน้อยกว่าการเรียงเม็ดได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์โดยประมาณครับ

แต่ยิ่งลูกปืนน้อยลง

1. ความลื่นมากขึ้น

2. ความทนทานน้อยลง เสียง่าย พังง่าย

3. หากเป็นลูกปืนเรียงเม็ดจะปรับตั้งได้ยากขึ้นตามลำดับ

จำนวนน้อยที่สุดที่จะเรียงลงไปได้จะฟ้องด้วยอาการของโม่เช่นปรับตั้งได้ยากขึ้น โม่คลอนง่าย และ :lol: ล้อหยุดหมุนเร็วขึ้นครับ
ควรเปลี่ยนลูกปืนมือไหร่
ลูกปืนโม่ แทบไม่ค่อยเจออาการ "พัง" ในสักษณะเดียวกับ "ดุมสึก" ครับ ทั้งโม่เฟืองเกลียวและเฟืองสวม ระยะเวลาหรือรอบของการ Service หลังใช้งานยาวนานมาก และการรื้อออกมา Service มักจะเป็นแค่การหล่อลื่น อัดจารบีครับ

ถ้ามันใช้ได้ตามปรกติก็อย่าไป "รื้อเล่น" เลยครับ ยกเว้นอยากได้ความรู้เพราะรื้อเองโดยไม่มีพื้นฐานมาก่อน "เรื่องยาว" ครับ :mrgreen:

ส่วนเรื่องดุมปั่นฯ ไฟรอผู้รู้มาอธิบายต่อนะครับ :D
เมื่อพ้นไปจากการ "แพ้" หรือ "ชนะ" เราก็จะได้อยู่ในที่ที่ไม่มี "ความทุกข์ใจ"
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือ Spectrum
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4450
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 12:58
Tel: -
team: 99 City Bike
Bike: LA Spectrum

Re: เกี่ยวกับลูกปืนในโม่เฟืองหลัง

โพสต์ โดย เสือ Spectrum »

ปัญหาโม่โดยเฉพาะเฟืองเกลียวมักจะมีปัญหาเรื่องเขี้ยวล๊อคหัก เนื่องจากใช้งานมานาน ไม่มีสารหล่อลื่นพวกจารบีซึ่งทำหน้าที่กันสนิมไปด้วยในตัวครับ พอโลหะถูกอากาศนานๆ ก็เกิดสนิมและหักได้ เวลาถอดออกมาต้องใช้จารบีทาบางๆ ตรงสปริงและเขี้ยวด้วยครับ

จักรยานพื้นๆ มักมีปัญหาตรงกระโหลกและดุมมากกว่าที่อื่นครับ บางคันถอดกระโหลกออกมาแทบไม่เจอจารบีเลย :lol:
เมื่อพ้นไปจากการ "แพ้" หรือ "ชนะ" เราก็จะได้อยู่ในที่ที่ไม่มี "ความทุกข์ใจ"
ตอบกลับ

กลับไปยัง “ทัวร์ริ่ง (Touring)”