????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

บอร์ดสำหรับ นักปั่นทัวร์ริ่ง นักปั่นระยะทางไกล พูดคุยเรื่องอุปกรณ์ เทคนิตการปั่น ที่พัก หรือการกินอยู่
กฏการใช้บอร์ด
บอร์ดสำหรับ นักปั่นทัวร์ริ่ง นักปั่นระยะทางไกล พูดคุยเรื่องอุปกรณ์ เทคนิตการปั่น ที่พัก หรือการกินอยู่
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »


:( :( พ่อจ๋าอย่าร้องไห้ (เสียงร้องคนขายขวด) - ซูลุ่ย - เนื้อร้องและแปลไทย :( :(



:( :( พ่อจ๋าอย่าร้องไห้ (ธีรนัย ณ หนองคาย) :( :(

:idea: :idea: ** พ่อจ๋าอย่าร้องไห้ **

เมื่อประมาณ​ 40​ ปีที่แล้ว(1983 - 1984) ที่ไต้หวัน มีภาพยนตร์ซีรีย์ทางทีวี ทั้งหมด 26 ตอนๆละ 45 นาที ชื่อว่า "ต่าชั่วเชอ" (塔错车)​ แปลว่าขึ้นรถผิดคัน หรือ ชะตากรรมพาหลงทาง (ต่อมาได้ทำเป็นหนังใหญ่ ใช้ชื่อ​พ่อจ๋าอย่าร้องไห้)​ ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เพลงเอกประกอบภาพยนตร์ชื่อว่า "จิ่วกังถังไม่อู๋"(酒干倘卖无) หรือ​ "มีขวดเหล้ามาขาย"

เนื้อเรื่องมีว่า ทหารผ่านศึกหูหนวกเป็นใบ้คนหนึ่ง ปลดประจำการจากกองทัพก๊กมินตั๋งแล้ว ก็ใช้ชีวิตอยู่ในสลัมแห่งหนึ่งในไทเป ใช้รถสามล้อถีบเก่าๆออกหาของพอมีค่าจากถังขยะและรับซื้อขวดแก้วขวดเหล้าเลี้ยงชีพไปวันๆ เช้ามืดวันหนึ่ง เขาออกค้นขยะไปตามที่ต่างๆ ถึงบริเวณย่านไฮโซ ก็ได้ยินเสียงเด็กทารกร้องจากกองขยะ เขารีบเข้าไปดู เป็นเปลเด็กทารกหญิง พร้อมกระดาษใบหนึ่งเขียนฝากให้คนพบช่วยพาเด็กไปเลี้ยงด้วย เขาอดใจอ่อนไม่ได้ จึงพาทารกกลับบ้าน ปรึกษาเพื่อนบ้านว่าต้องเลี้ยงทารกอย่างไร

จากนั้น เขาก็เอาเงินที่เก็บไว้ทั้งหมดไปซื้อของกินนมผง และของใช้สำหรับเด็กทารก ภรรยาเขาไม่พอใจมาก เลยหนีจากเขาไป

ชายใบ้รักและเลี้ยงดูเด็กทารกน้อยเหมือนลูก เขาตั้งชื่อลูกสาวว่า อาเหม่ย (阿美)

เมื่ออาเหม่ยโตหน่อยก็พาขึ้นรถสามล้อถีบไปเก็บขยะด้วยกัน เมื่อเข้าโรงเรียนได้ก็ส่งเธอไปเข้าโรงเรียน แต่เธอมักถูกเพื่อนๆล้อเลียนว่าเป็นลูกคนใบ้เก็บขยะ จนต้องทะเลาะกับเพื่อนบ่อยๆ

ช่วงตรุษจีน เพื่อนบ้านก็ลากหมามาตัวหนึ่ง กะว่าจะให้พ่อใบ้ฆ่าแล้วเอามาแบ่งกันกินช่วงตรุษจีน แต่หมาหนีรอดได้ แถมมาซุกอยู่กับอาเหม่ย จนพ่อใบ้ต้องตัดสินใจเลิกฆ่าหมาตัวนี้ หมาตัวนี้ก็กลายเป็นสัตว์เลี้ยงของบ้านชายใบ้เก็บขยะ 3 ชีวิตใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุขตามอัตภาพ

เมื่อเด็กโตขึ้น ชายใบ้ก็ต้องทำงานหนักขึ้น แถมอดมื้อกินมื้อเพื่อให้มีเงินเหลือพอสำหรับค่าใช้จ่ายของอาเหม่ยจากกองขยะ ช่วงที่เพื่อนแกล้ง หมานี่แหละที่คอยปกป้องเธอ สิบกว่าปีผ่านไป อาเหม่ยก็เข้าเรียนมหาวิทยาลัยจนจบ

ข้างบ้านมีหนุ่มนักประพันธ์เพลงไส้แห้งคนหนึ่ง อยู่ในวงการบันเทิง เขาจึงพาเธอไปฝากงานกับเจ้าของวงดนตรีเพื่อฝึกให้เธอเป็นนักร้อง ซึ่งเธอก็ไม่ทำให้ใครผิดหวัง กลายเป็นนักร้องดังแห่งยุค มีงานร้องเพลงตามบาร์ คลับ ไม่มีขาด บางครั้งก็ขึ้นเวทีคอนเสิร์ต ทำให้เธอโด่งดังเป็นพลุ ไม่มีเวลาเหลือสำหรับทำอะไรอื่น รวมทั้งอับอายไม่อยากให้คนรู้ว่ามีพ่อเป็นคนใบ้เก็บเศษขยะขาย​ เธอจึงไม่ยอมไปเยี่ยมพ่อเลี้ยงใบ้เลย

แม้พ่อเลี้ยงใบ้จะแอบไปหาเธอ ก็ไม่สามารถเข้าถึงตัวเธอได้ จนทำให้พ่อใบ้เริ่มเครียด ซึมเศร้า เหม่อลอย จนเกือบถูกมอไซค์ซิ่งชนตาย โชคดีที่หมาเห็นและเข้าใจเหตุการณ์ วิ่งเข้าไปให้มอไซค์ชนแทนจนตาย ส่วนพ่อใบ้ก็เริ่มกินไม่ได้ นอนไม่หลับ จนล้มป่วยบ่อยๆ

นักประพันธ์หนุ่มสงสาร​ จึงหาเวลาไปเยี่ยมแทน แม้พ่อใบ้จะฝากนักประพันธ์หนุ่มให้บอกอาเหม่ยกลับบ้านมาเยี่ยมพ่อบ้าง แต่ก็ไร้วี่แวว จนพ่อใบ้ป่วยหนักเข้าโรงพยาบาล เขาฝากหนุ่มนักประพันธ์ให้ช่วยไปบอกอาเหม่ยให้มาเยี่ยมพ่อที่โรงพยาบาลเป็นครั้งสุดท้าย เพราะพ่อต้องจากลาไปแล้ว

หนุ่มนักประพันธ์ไม่รู้จะทำอย่างไร ช่วงนาทีนั้นก็เกิดแรงบันดาลใจ แต่งเพลงชื่อ "จิ่วกังถังใหม่อู๋" (มีขวดเหล้ามาขาย) ส่งให้อาเหม่ยเพื่อปลุกจิตสำนึกเธอให้คิดถึงบุญคุณพ่อใบ้บ้าง

ซึ่งก็ได้ผล เธอเห็นเนื้อเพลงนี้แล้วน้ำตาไหลพรากๆ รีบวิ่งไปหาพ่อที่โรงพยาบาล พ่อลูกได้เห็นหน้ากันเป็นครั้งสุดท้ายเพราะเพลงๆนี้

เธอฝึกร้องเพลงนี้ทุกวันก่อนขึ้นเวทีคอนเสิร์ต และเธอก็ร้องเพลงนี้เป็นครั้งแรกบนเวทีคอนเสิร์ตโดยไม่มีอยู่ในรายการ แม้เจ้าของงานคอนเสิร์ตจะไม่พอใจ แต่เนื่องจากเป็นที่ประทับใจของผู้ชม ก็ต้องปล่อยเลยตามเลย แล้วเพลงนี้ก็กลายเป็นเพลงที่สร้างชื่อเสียงให้เธอมาก

ขึ้นรถผิดคัน รถก็พาไปทั้งๆที่ไม่ใช่จุดหมายปลายทางที่จะไป คือชื่อภาพยนตร์ซีรี่ส์เรื่องนี้ (ในไทยใช้ชื่อ​ พ่อจ๋าอย่าร้องไห้)​ มีขวดมาขายไม๊ ก็กลายเป็นเพลงโด่งดังแห่งยุค

เรื่องนี้ มีเค้าโครงจากเรื่องจริง และสอนคนไปในตัวว่า

1.บุญคุณ​ ความรัก​ ความกตัญญูกตเวที อย่าหวังการตอบแทน​ เป็นเรื่องของจิตสำนึก​ จะบังคับอย่างไรก็ไม่ได้

2.ความซื่อสัตย์​ หมามันซื่อสัตย์กตัญญูทุกตัว​ และซื่อสัตย์มากกว่าคน​

3.ชีวิตคนไม่มีอะไรแน่นอน​ มีสุขมีทุกข์​ เกิด​ แก่​ เจ็บ​ ตาย​ เป็นเรื่องธรรมดา

4.สิ่งที่คนในสังคมทุนนิยมไขว่คว้าคือ เงิน ชื่อเสียง เกียรติยศ ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง

5.ในสังคมมนุษย์ที่เจริญ​ ทุกสิ่งล้วนเสแสร้ง​ หน้าไหว้หลังหลอก​ ใส่หน้ากากเข้าหากัน​ ยิ่งซื่อจะยิ่งเสียเปรียบ​ หาคนที่จริงใจต่อกันแทบจะไม่มีเลยย...นี่แหละคน

Cr; นิรนาม


:) :D มันเป็นความหวังครับว่า..จะมีคนอ่านแล้วได้สำนึกเหมือนเรื่องราวข้างต้นนี้ ผมก็จะได้บุญด้วยครับ :) :D
ไฟล์แนบ
ได้เวลาที่จะพาเที่ยวเมืองโบราณแล้วละครับจุดนี้ถือเป็น Hilight ของ  จ.เชียงใหม่ ด้วย ใครไปเชียงใหม่ครั้งแรกเลย เชื่อได้ ต้องนึกถึง ดอยสุเทพ แล้วก็เวียงกุมกาม ? (หรือไม่ใช่)<br /><br /> สำหรับ อ.สารภีที่ผมนำเสนอจะนำเสนอเฉพาะที่เป็นถิ่นวัฒนธรรมจริง ๆ และส่วนที่นิยมพูดกันก็จำเพาะเป็น พท.ติดถนนไปกับต้นยาง ที่เรียกว่า &quot;เส้นทางประวัติศาสตร์&quot; ผมเริ่มแต่เขตแดนที่ติดต่อกับ จ.ลำพูน คือ เทศบาลตำบล สารภี ต่อด้วย เทศบาลยางเนิ้ง แล้วก็เทศบาลหนองผึ้ง สุดท้ายก็มาถึงเทศบาลท่าวังตาล ซึ่งท่า่วังตาลเป็นที่ตั้งของ เวียงกุมกามครับ<br /><br />นอกเหนือจากที่นำเสนอ ก็ยังมีจุดที่น่าสนใจอีกนะครับ เรียกว่า อ.สารภีมีของดีเยอะแยะมากมาย รอนักท่องเที่ยวไปตะลอนหาตามชอบ มีทุกรูปแบบครับ
ได้เวลาที่จะพาเที่ยวเมืองโบราณแล้วละครับจุดนี้ถือเป็น Hilight ของ จ.เชียงใหม่ ด้วย ใครไปเชียงใหม่ครั้งแรกเลย เชื่อได้ ต้องนึกถึง ดอยสุเทพ แล้วก็เวียงกุมกาม ? (หรือไม่ใช่)

สำหรับ อ.สารภีที่ผมนำเสนอจะนำเสนอเฉพาะที่เป็นถิ่นวัฒนธรรมจริง ๆ และส่วนที่นิยมพูดกันก็จำเพาะเป็น พท.ติดถนนไปกับต้นยาง ที่เรียกว่า "เส้นทางประวัติศาสตร์" ผมเริ่มแต่เขตแดนที่ติดต่อกับ จ.ลำพูน คือ เทศบาลตำบล สารภี ต่อด้วย เทศบาลยางเนิ้ง แล้วก็เทศบาลหนองผึ้ง สุดท้ายก็มาถึงเทศบาลท่าวังตาล ซึ่งท่า่วังตาลเป็นที่ตั้งของ เวียงกุมกามครับ

นอกเหนือจากที่นำเสนอ ก็ยังมีจุดที่น่าสนใจอีกนะครับ เรียกว่า อ.สารภีมีของดีเยอะแยะมากมาย รอนักท่องเที่ยวไปตะลอนหาตามชอบ มีทุกรูปแบบครับ
641798.jpg (129.77 KiB) เข้าดูแล้ว 1737 ครั้ง
๑๗ ม.ค.๖๗ (1).jpg
๑๗ ม.ค.๖๗ (1).jpg (76.53 KiB) เข้าดูแล้ว 1737 ครั้ง
ท่าวังตาล เป็นตำบลของอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 หมู่บ้าน ใน พ.ศ. 2563 ตำบลนี้มีประชากร 11,039 คน<br /><br />ประวัติความเป็นมาของตำบลท่าวังตาล<br /><br />ตำบลท่าวังตาล ได้พัฒนาการมาจากชุมชนโบราณสถานเวียงกุมกาม ซึ่งพญามังรายทรงสร้างขึ้นในราว พ.ศ. 1837 ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนยาวตามลำน้ำปิงสายเก่า ตัวเมืองวางแนวทแยงทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่ตะวันตกเฉียงเหนือ โดยกำแพงด้านเหนือเลียบปิงห่าง การวางผังเมืองในแนวทแยงคงช่วยชะลอการส่งน้ำจากแม่น้ำเข้าคูเมือง เพื่อมิให้น้ำไหลแรงจนทำให้คูเมืองเสียหาย หลังจากพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ เวียงกุมกามจึงมีฐานะเป็นพันนากุมกาม จนกระทั่งสมัยธนบุรีชื่อของพันนากุมกามได้หายไป แต่กลับปรากฎเป็นชื่อ “ท่าวังตาล” <br /><br />เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกองทัพธนบุรีมาช่วยพระยาจ่าบ้านและพระเจ้ากาวิละต่อสู้กับพม่า (พ.ศ. 1317) ซึ่งยึดครองเมืองเชียงใหม่ โดยสู้รบกันที่ท่าวังตาล ในสมัยพระเจ้ากาวิละ ท่าวังตาลเป็นท่าน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่ง เมื่อพระเจ้ากาวิละเดินทางกลับจากกรุงเทพฯ พระเจ้ากาวิละจะขึ้นเรือที่ท่าวังตาล เช่นกัน ท่าวังตาลจึงเป้นท่าน้ำสืบมาจนกระทั่งการคมนาคมทางน้ำหมดความสำคัญลง ต่อมาในสมัยพระเจ้ากาวิโลรส สุริยะวงค์ และสมัยพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ ได้ใช้สถานที่นี้เป็นที่ประหารชีวิตนักโทษเมืองเชียงใหม่ ปัจจุบันคือ สุสานท่าวังตาล ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่
ท่าวังตาล เป็นตำบลของอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 หมู่บ้าน ใน พ.ศ. 2563 ตำบลนี้มีประชากร 11,039 คน

ประวัติความเป็นมาของตำบลท่าวังตาล

ตำบลท่าวังตาล ได้พัฒนาการมาจากชุมชนโบราณสถานเวียงกุมกาม ซึ่งพญามังรายทรงสร้างขึ้นในราว พ.ศ. 1837 ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนยาวตามลำน้ำปิงสายเก่า ตัวเมืองวางแนวทแยงทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่ตะวันตกเฉียงเหนือ โดยกำแพงด้านเหนือเลียบปิงห่าง การวางผังเมืองในแนวทแยงคงช่วยชะลอการส่งน้ำจากแม่น้ำเข้าคูเมือง เพื่อมิให้น้ำไหลแรงจนทำให้คูเมืองเสียหาย หลังจากพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ เวียงกุมกามจึงมีฐานะเป็นพันนากุมกาม จนกระทั่งสมัยธนบุรีชื่อของพันนากุมกามได้หายไป แต่กลับปรากฎเป็นชื่อ “ท่าวังตาล”

เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกองทัพธนบุรีมาช่วยพระยาจ่าบ้านและพระเจ้ากาวิละต่อสู้กับพม่า (พ.ศ. 1317) ซึ่งยึดครองเมืองเชียงใหม่ โดยสู้รบกันที่ท่าวังตาล ในสมัยพระเจ้ากาวิละ ท่าวังตาลเป็นท่าน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่ง เมื่อพระเจ้ากาวิละเดินทางกลับจากกรุงเทพฯ พระเจ้ากาวิละจะขึ้นเรือที่ท่าวังตาล เช่นกัน ท่าวังตาลจึงเป้นท่าน้ำสืบมาจนกระทั่งการคมนาคมทางน้ำหมดความสำคัญลง ต่อมาในสมัยพระเจ้ากาวิโลรส สุริยะวงค์ และสมัยพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ ได้ใช้สถานที่นี้เป็นที่ประหารชีวิตนักโทษเมืองเชียงใหม่ ปัจจุบันคือ สุสานท่าวังตาล ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่
๑๗ ม.ค.๖๗ (2).jpg (17.04 KiB) เข้าดูแล้ว 1737 ครั้ง
ระยะทางจากบ้าน - ท่าวังตาล แล้วตระเวนเที่ยวใน พท.ส่วนใหญ่เราจะเก็บภาพที่เวียงกุมกามครับ  ออกจากบ้านช้าแปดโมงกลับถึงบ้านบ่ายกว่า ๆ สนุกสนานดีครับ ได้กำลังได้ความรู้ได้ประสบการณ์ (เศร้า ๆ ) ติดตามไปเรื่อย ๆ ผมจะสอดแทรกและเล่าให้ฟังจับจุดเอาเองนะครับ เพราะมันแค่ความคิดเห็นของคนตัวเล็ก ๆ ที่ไม่มีความรู้อะไรมากนัก มีแต่ความคิด ความรู้สึก อารมณ์ ตั้งแต่สมัยเด็กจนมาถึงวันนี้ ที่ได้ไปสัมผัสมาครับ
ระยะทางจากบ้าน - ท่าวังตาล แล้วตระเวนเที่ยวใน พท.ส่วนใหญ่เราจะเก็บภาพที่เวียงกุมกามครับ ออกจากบ้านช้าแปดโมงกลับถึงบ้านบ่ายกว่า ๆ สนุกสนานดีครับ ได้กำลังได้ความรู้ได้ประสบการณ์ (เศร้า ๆ ) ติดตามไปเรื่อย ๆ ผมจะสอดแทรกและเล่าให้ฟังจับจุดเอาเองนะครับ เพราะมันแค่ความคิดเห็นของคนตัวเล็ก ๆ ที่ไม่มีความรู้อะไรมากนัก มีแต่ความคิด ความรู้สึก อารมณ์ ตั้งแต่สมัยเด็กจนมาถึงวันนี้ ที่ได้ไปสัมผัสมาครับ
๑๗ ม.ค.๖๗ (66).jpg (64.37 KiB) เข้าดูแล้ว 1737 ครั้ง
๑๗ ม.ค.๖๗ (3).jpg
๑๗ ม.ค.๖๗ (3).jpg (74.53 KiB) เข้าดูแล้ว 1737 ครั้ง
๑๗ ม.ค.๖๗ (4).jpg
๑๗ ม.ค.๖๗ (6).jpg
๑๗ ม.ค.๖๗ (6).jpg (135.98 KiB) เข้าดูแล้ว 1737 ครั้ง
๑๗ ม.ค.๖๗ (7).jpg
๑๗ ม.ค.๖๗ (7).jpg (136.82 KiB) เข้าดูแล้ว 1737 ครั้ง
๑๗ ม.ค.๖๗ (8).jpg
๑๗ ม.ค.๖๗ (10).jpg
๑๗ ม.ค.๖๗ (12).jpg
๑๗ ม.ค.๖๗ (12).jpg (141.19 KiB) เข้าดูแล้ว 1737 ครั้ง
๑๗ ม.ค.๖๗ (14).jpg
๑๗ ม.ค.๖๗ (14).jpg (95.45 KiB) เข้าดูแล้ว 1737 ครั้ง
๑๗ ม.ค.๖๗ (19).jpg
๑๗ ม.ค.๖๗ (19).jpg (137.58 KiB) เข้าดูแล้ว 1737 ครั้ง
วัดเจดีย์เหลี่ยม จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี<br /><br />วัดเจดีย์เหลี่ยม หรือ วัดกู่คำ ตั้งอยู่ติดกับถนนเกาะกลาง ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1831 โดยพญามังราย มีจุดเด่นคือเจดีย์ทรงปราสาทจำนวน 5 ชั้น 20 องค์ มีลักษณะคล้ายคลึงกับเจดีย์กู่กุดในวัดจามเทวี และ สุวรรณเจดีย์ในวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมเจดีย์ในสมัยอาณาจักรหริภุญไชย<br /><br />วัดเจดีย์เหลี่ยม หรือ วัดกู่คำ สร้างเมื่อ พ.ศ. 1831 โดยพญามังราย ซึ่งโปรดให้นำดินที่ขุดได้จากหนองต่างใกล้กับคุ้มของพระองค์ในเวียงกุมกามมาทำอิฐเพื่อก่อกู่คำ ตามตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวว่า<br /><br />&quot;เจ้ามังรายว่า คูมาสร้างเวียงกุมกามเปนที่เพิงใจนัก ควรคูจักก่อเจติยะไว้เปนที่ไหว้แลปูชาดีชะแล ในปีเปิกใจ้ สกราชได้ ๖๕๐ ตัว เจ้ามังรายจิ่งหื้อไพเอาดินหนองต่างมาก่อเจติยะกู่ฅำวันนั้นแล&quot;<br /><br />สันนิษฐานว่าการสร้างกู่คำในสมัยพญามังรายคงใช้อิฐประกอบกับศิลาแลง ซึ่งตำนานมูลศาสนากล่าวว่า<br /><br />&quot;ท่าน (พญามังราย) ยินดีในศาสนาพระพุทธเจ้า จักใคร่กระทำบุญอันใหญ่ เป็นต้นว่าสร้างเจดีย์นั้น จึงให้อำมาตย์ทั้งหลายหาหินมาแล้วก็ให้ก่อเป็น 4 เหลี่ยม แต่ละด้านให้มีพระพุทธรูปเจ้า 14 องค์ แล้วให้ใส่คำแต่ยอดลงมาดูงามนัก ใส่ชื่อว่ากู่คำ แล้วให้ฉลองและถวายมหาทาน กับทั้งเครื่องอัฐบริขารแก่สงฆ์เจ้ามากนักแล&quot;<br /><br />หินที่กล่าวในตำนานมูลศาสนา คงหมายถึงศิลาแลง ซึ่งสอดคล้องกับคำบอกเล่าของผู้สูงอายุเกี่ยวกับลักษณะของเจดีย์กู่คำก่อนการบูรณะเมื่อ พ.ศ. 2451 ว่า มีสภาพเป็นเจดีย์กลวง ข้างในเจดีย์มีทางเข้าออกได้ ภายในก่อด้วยศิลาแลงทั้งนั้น แต่ข้างนอกก่อเป็นอิฐมี 5 ชั้น[4]<br /><br />โคลงนิราชหริภุญชัย สมัยพระเมืองแก้ว ผู้แต่งได้กล่าวถึงวัดกู่คำว่า เป็นวัดที่พญามังรายสร้างเพื่อบรรจุอัฐิพระมเหสีของพระองค์พระองค์หนึ่ง ซึ่งกล่าวไว้ดังนี้<br /><br /> อารามรมเยศเมิ้น		มังราย<br />นามกู่คำหลวงหลาย		เช่นท้าว<br />หกสิบสยมภูยาย		ยังรอด งามเอ่<br />แปลงคู่นุชน้องน้าว		นาฏโอ้โรทา<br /><br />โคลงนิราศหริภุญชัย<br /><br />แต่หลักฐานจากจารึกสถานที่ประดิษฐานพระธาตุ พ.ศ. 2006 สมัยพระเมืองแก้วเช่นเดียวกัน กล่าวว่ากู่คำเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ &quot;กู่คำกูมกามไว้ธาตุดู(ก)คางขวา&quot;<br /><br />เจดีย์กู่คำมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม มีพระพุทธรูปยืนด้านละ 15 องค์ แต่ละด้านมีซุ้มพระชั้นละ 3 องค์ มี 5 ชั้น รวมทั้งหมด 60 องค์ เป็นการลอกเลียนแบบเจดีย์กู่กุด วัดจามเทวี เหตุที่ได้ชื่อว่ากู่คำ เพราะมีการประดับด้วยทองคำลงมาตั้งแต่ยอด แต่เนื่องจากได้รับการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2451 โดยรองอำมาตย์เอก หลวงโยนะการพิจิตร (หม่องปันโหย่ อุปะโยคิน) คหบดีชาวพม่า ทำให้พระพุทธรูป ซุ้มพระ ลายพรรณพฤกษากลายเป็นรูปแบบศิลปะพม่าไป และมีการเพิ่มพระพุทธรูปนั่งอีก 4 องค์ รวมทั้งหมด 64 องค์ เพื่อให้เท่ากับอายุของรองอำมาตย์เอก หลวงโยนะการพิจิตร (หม่องปันโหย่ อุปะโยคิน) ในขณะนั้นด้วย <br /><br />เนื่องจากกู่คำมีความสำคัญ จึงได้รับการทำนุบำรุงสืบต่อกันมา จากการขุดแต่งบูรณะและศึกษาของสายันต์ ไพรชาญจิตร์ ชี้ให้เห็นว่า การก่อสร้างลานประทักษิณและกำแพงแก้วของวัดกู่คำตั้งแต่ครั้งแรกจนปัจจุบัน มีการก่อสร้างมาแล้ว 7 ครั้ง<br /><br />อนึ่ง วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2539 มีการค้นพบเศษชิ้นส่วนจารึกอักษรไทยสุโขทัย อายุพุทธศตวรรษ 19–20 บริเวณนอกกำแพงแก้วด้านทิศตะวันตกของเจดีย์กู่คำ ซึ่งรูปอักษรและรูปสระในจารึกมีลักษณะใกล้เคียงกับจารึกพ่อขุนรามคำแหงมาก เป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกถึงอารยธรรมการใช้อักษรภาษาของกลุ่มชนคนไทยแถบลุ่มแม่น้ำปิงในช่วงสมัยปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ปัจจุบันเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
วัดเจดีย์เหลี่ยม จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดเจดีย์เหลี่ยม หรือ วัดกู่คำ ตั้งอยู่ติดกับถนนเกาะกลาง ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1831 โดยพญามังราย มีจุดเด่นคือเจดีย์ทรงปราสาทจำนวน 5 ชั้น 20 องค์ มีลักษณะคล้ายคลึงกับเจดีย์กู่กุดในวัดจามเทวี และ สุวรรณเจดีย์ในวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมเจดีย์ในสมัยอาณาจักรหริภุญไชย

วัดเจดีย์เหลี่ยม หรือ วัดกู่คำ สร้างเมื่อ พ.ศ. 1831 โดยพญามังราย ซึ่งโปรดให้นำดินที่ขุดได้จากหนองต่างใกล้กับคุ้มของพระองค์ในเวียงกุมกามมาทำอิฐเพื่อก่อกู่คำ ตามตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวว่า

"เจ้ามังรายว่า คูมาสร้างเวียงกุมกามเปนที่เพิงใจนัก ควรคูจักก่อเจติยะไว้เปนที่ไหว้แลปูชาดีชะแล ในปีเปิกใจ้ สกราชได้ ๖๕๐ ตัว เจ้ามังรายจิ่งหื้อไพเอาดินหนองต่างมาก่อเจติยะกู่ฅำวันนั้นแล"

สันนิษฐานว่าการสร้างกู่คำในสมัยพญามังรายคงใช้อิฐประกอบกับศิลาแลง ซึ่งตำนานมูลศาสนากล่าวว่า

"ท่าน (พญามังราย) ยินดีในศาสนาพระพุทธเจ้า จักใคร่กระทำบุญอันใหญ่ เป็นต้นว่าสร้างเจดีย์นั้น จึงให้อำมาตย์ทั้งหลายหาหินมาแล้วก็ให้ก่อเป็น 4 เหลี่ยม แต่ละด้านให้มีพระพุทธรูปเจ้า 14 องค์ แล้วให้ใส่คำแต่ยอดลงมาดูงามนัก ใส่ชื่อว่ากู่คำ แล้วให้ฉลองและถวายมหาทาน กับทั้งเครื่องอัฐบริขารแก่สงฆ์เจ้ามากนักแล"

หินที่กล่าวในตำนานมูลศาสนา คงหมายถึงศิลาแลง ซึ่งสอดคล้องกับคำบอกเล่าของผู้สูงอายุเกี่ยวกับลักษณะของเจดีย์กู่คำก่อนการบูรณะเมื่อ พ.ศ. 2451 ว่า มีสภาพเป็นเจดีย์กลวง ข้างในเจดีย์มีทางเข้าออกได้ ภายในก่อด้วยศิลาแลงทั้งนั้น แต่ข้างนอกก่อเป็นอิฐมี 5 ชั้น[4]

โคลงนิราชหริภุญชัย สมัยพระเมืองแก้ว ผู้แต่งได้กล่าวถึงวัดกู่คำว่า เป็นวัดที่พญามังรายสร้างเพื่อบรรจุอัฐิพระมเหสีของพระองค์พระองค์หนึ่ง ซึ่งกล่าวไว้ดังนี้

อารามรมเยศเมิ้น มังราย
นามกู่คำหลวงหลาย เช่นท้าว
หกสิบสยมภูยาย ยังรอด งามเอ่
แปลงคู่นุชน้องน้าว นาฏโอ้โรทา

โคลงนิราศหริภุญชัย

แต่หลักฐานจากจารึกสถานที่ประดิษฐานพระธาตุ พ.ศ. 2006 สมัยพระเมืองแก้วเช่นเดียวกัน กล่าวว่ากู่คำเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ "กู่คำกูมกามไว้ธาตุดู(ก)คางขวา"

เจดีย์กู่คำมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม มีพระพุทธรูปยืนด้านละ 15 องค์ แต่ละด้านมีซุ้มพระชั้นละ 3 องค์ มี 5 ชั้น รวมทั้งหมด 60 องค์ เป็นการลอกเลียนแบบเจดีย์กู่กุด วัดจามเทวี เหตุที่ได้ชื่อว่ากู่คำ เพราะมีการประดับด้วยทองคำลงมาตั้งแต่ยอด แต่เนื่องจากได้รับการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2451 โดยรองอำมาตย์เอก หลวงโยนะการพิจิตร (หม่องปันโหย่ อุปะโยคิน) คหบดีชาวพม่า ทำให้พระพุทธรูป ซุ้มพระ ลายพรรณพฤกษากลายเป็นรูปแบบศิลปะพม่าไป และมีการเพิ่มพระพุทธรูปนั่งอีก 4 องค์ รวมทั้งหมด 64 องค์ เพื่อให้เท่ากับอายุของรองอำมาตย์เอก หลวงโยนะการพิจิตร (หม่องปันโหย่ อุปะโยคิน) ในขณะนั้นด้วย

เนื่องจากกู่คำมีความสำคัญ จึงได้รับการทำนุบำรุงสืบต่อกันมา จากการขุดแต่งบูรณะและศึกษาของสายันต์ ไพรชาญจิตร์ ชี้ให้เห็นว่า การก่อสร้างลานประทักษิณและกำแพงแก้วของวัดกู่คำตั้งแต่ครั้งแรกจนปัจจุบัน มีการก่อสร้างมาแล้ว 7 ครั้ง

อนึ่ง วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2539 มีการค้นพบเศษชิ้นส่วนจารึกอักษรไทยสุโขทัย อายุพุทธศตวรรษ 19–20 บริเวณนอกกำแพงแก้วด้านทิศตะวันตกของเจดีย์กู่คำ ซึ่งรูปอักษรและรูปสระในจารึกมีลักษณะใกล้เคียงกับจารึกพ่อขุนรามคำแหงมาก เป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกถึงอารยธรรมการใช้อักษรภาษาของกลุ่มชนคนไทยแถบลุ่มแม่น้ำปิงในช่วงสมัยปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ปัจจุบันเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
๑๗ ม.ค.๖๗ (20).jpg (141.43 KiB) เข้าดูแล้ว 1737 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:idea: :idea: บุญคุณ​ ความรัก​ ความกตัญญูกตเวที อย่าหวังการตอบแทน​ เป็นเรื่องของจิตสำนึก​ จะบังคับอย่างไรก็ไม่ได้.....ความซื่อสัตย์​ หมามันซื่อสัตย์กตัญญูทุกตัว​ และซื่อสัตย์มากกว่าคน​.....ชีวิตคนไม่มีอะไรแน่นอน​ มีสุขมีทุกข์​ เกิด​ แก่​ เจ็บ​ ตาย​ เป็นเรื่องธรรมดา.....สิ่งที่คนในสังคมทุนนิยมไขว่คว้าคือ เงิน ชื่อเสียง เกียรติยศ ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง....ในสังคมมนุษย์ที่เจริญ​ ทุกสิ่งล้วนเสแสร้ง​ หน้าไหว้หลังหลอก​ ใส่หน้ากากเข้าหากัน​ ยิ่งซื่อจะยิ่งเสียเปรียบ​ หาคนที่จริงใจต่อกันแทบจะไม่มีเลยย...นี่แหละคน

:o :o จากเรื่อง พ่อจ๋าอย่าร้องไห้ ไม่คิดว่าจะมีเรื่องนี้เกิดขึ้นในบ้านเรา (มีจนได้ วันที่ลงข่าว 15 กุมภาพันธ์ 2567) จากข่าวดังกรณี 3 พี่น้องทายาทหมื่นล้าน (จากลูกทั้งหมด 4 คน) ได้มาแถลงข่าวเพื่อขอความเป็นธรรมกับสื่อมวลชนให้ช่วยกันตรวจสอบพฤติกรรมอันไม่ชอบมาพากลหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการทำพินัยกรรมของเจ้าสัวมุขผู้เป็นพ่อรวมไปถึงการยกมรดกให้แก่พี่คนโตเพียงคนเดียว

จนล่าสุดทางผู้เป็นแม่คือคุณปราณี ภรรยาของเจ้าสัวมุขได้ออกมาแถลงการณ์ถึงเรื่องนี้ (ท่านคือเจ้าของ รร.อนุบาล, วิทยาลัย, มหาวิทยาลัย ฯลฯ)

“..นึกไม่ถึงว่าเสาสี่ต้นมันจะผุผังโดยมีปลวกคือบรรดาสะใภ้ของทั้งสามคนมารวมกันกัดกินจนไม่มีสมองที่จะแยกแยะสิ่งที่ถูกสิ่งที่ผิดได้ ดังนั้นแม้จะเหลือเสาเพียงต้นเดียว ก็ยังมั่นใจว่าจะประคับประคองให้กิจการที่มาจากหยาดเหงื่อแรงงานของดิฉันและอาจารย์มุขให้อยู่รอดปลอดภัย ดีกว่าให้เสาทั้งสามต้นที่โดนกัดกินจนไร้สมองมาค้ำให้เสียสมดุลจนพังทลายจนเสาดีๆต้นอื่นๆพลอยล้มไปด้วย

สำหรับคำพูดแบบนี้ที่ใช้กับคนที่เรียกว่าพ่อ ทุกคำที่สบประมาทออกสื่อสาธารณะ การสำรอกคำพูดที่ดูถูกเหยียดหยามประนามถึงความเสื่อมถอยของสุขภาพร่างกายที่ตรากตรำมาทั้งชีวิต ก็เพราะเพื่อหาเงินมาหล่อเลี้ยงเสาผุๆไร้สมองสามต้นนี้แหละ

ดิฉันยอมรับว่าดิฉันต้องรีบฉวยโอกาส เพื่อปกป้องให้ทรัพย์สินของดิฉันกับสามีไม่ให้ตกไปเป็นของพวกเนรคุณ ที่จะทำให้น้ำพักน้ำแรงและหยาดเหงื่อของเราต้องสูญเสียไปเพราะพวกคนเนรคุณเหล่านี้..“


นี่คือคำแถลงการณ์แค่บางส่วนจากคุณปราณี เป็นคำพูดของคนเป็นแม่ที่แม้ไม่มีคำด่าหยาบคายแต่ฟังแล้วต้องมีสะอึก วาจาท่านเฉียบขาดและคมมาก! ส่วนเรื่องคดีมรดกหมื่นล้านนี้จะจบลงอย่างไรก็ต้องติดตามข่าวกันต่อไป (ที่แน่ ๆ คนเป็นแม่คือเจ้าของทรัพย์เมื่อไม่ให้ก็คือไม่ได้).


:lol: :lol: ลูกหลานทั้งหลายฟัง และจดจำไว้ อย่าเนรคุณ :lol: :lol:
ไฟล์แนบ
646030_0.jpg
646030_0.jpg (93.06 KiB) เข้าดูแล้ว 1608 ครั้ง
595471.jpg
595471.jpg (105.32 KiB) เข้าดูแล้ว 1608 ครั้ง
ในภาพนี้เป็นการประชุมของ จ.เชียงใหม่ เพื่อเตรียมการต้อนรับพระบรมสารีริกธาตุ ที่จะมาประดิษฐาน ณ หอคำหลวง ในวันที่ ๕-๘ มีนาคม ๒๕๖๗ นี้ ส่วนรายละเอียดในภาพรวมมีดังนี้...<br /><br />15 กุมภาพันธ์ 2567  เชิญบูชาพระบรมสารีริกธาตุ จากอินเดีย คอลัมน์ สังฆานุสติ โดย บาสก (ฐานเศรษฐกิจ)<br /><br />รัฐบาลไทยและอินเดีย เชิญพระบรมสารีริกธาตุจากอินเดีย มาร่วมฉลอง 72 พรรษาในหลวง ระหว่าง วันที่ 23 กุมภาพันธ์ - 18 มีนาคม 2567 ที่กรุงเทพ, เชียงใหม่, อุบลราชธานี และกระบี่<br /><br />นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และนาขสุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 เปิดแถลงข่าวถึงความคืบหน้าในการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงนิวเดลี และพระธาตุ แห่งพระอัครสาวกขวา-ซ้าย คือพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ จากสาญจีสถูป อินเดีย มาประดิษฐานในไทยเป็นการชั่วคราว ว่าเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตามแผนงาน เพราะได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย<br /><br /><br />คณะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุของพระอัครสาวก กำหนด ถึงประเทศไทย ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567<br /><br />ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ จะมีริ้วขบวนแห่ เพื่ออัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ณ มหามณฑป ท้องสนามหลวง เพื่อให้ประชาชนบูชา ตลอดเวลา 9 วัน แต่ละวันมีกิจกรรมเพื่อบูชา ทำบุญ ตั้งแต่เช้าถึงค่ำ<br /><br />หน่วยงานที่ประสานงานในการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุเพื่อ ฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ที่ระบุได้คือ รัฐบาลไทย โดยกระทรวงวัฒนธรรม ที่มีกรมการศาสนาประสานงาน และภาคเอกชนที่มีบทบาทมากคือ สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 ทางฝ่ายอินเดีย นอกจากรัฐบาลอินเดีย ก็มีสถานเอกอัครราชทูตอินเดีย ประจำประเทศไทย<br /><br />&quot;ความเป็นมาของพระบรมสารีริกธาตุ&quot;<br /><br />สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จปรินิพพาน เมื่อพระชนมายุ 80 พรรษา ณ สาลวโนทยาน แห่งมัลละกษัตริย์ นครกุสินารา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (วิสาขบูชา) นั้น อีก 7 วันต่อมา จึงมีพิธีถวายพระเพลิง พระสรีระ สังขาร พระเพลิงเผาส่วนต่างๆ ของพระสรีระไปอย่างสิ้นเชิง คงเหลือส่วนต่างๆ ที่เพลิงไม่ไหม้ ผ้าที่ห่อหุ้มพระบรมศพชั้นในสุด 1 ผืน ชั้นนอก 1 ผืน พระบรมอัฐิ 7 องค์ คือพระเขี้ยวแก้วทั้ง 4, พระรากขวัญทั้ง 2, พระอุณหิส 1, พระอัฐิทั้ง 7 นี้ไม่กระจาย สำหรับพระอัฐิส่วนอื่น แตกเป็นขนาดต่างๆ 3 ขนาด คือ<br /><br />ขนาดใหญ่ มีประมาณเท่ากับเมล็ดถั่วแตก <br />ขนาดกลางมีประมาณ เท่าเมล็ดข้าวสารหัก <br />ขนาดเล็ก มีประมาณเท่า เมล็ดพันธ์ผักกาด<br />&quot;วาทะสร้างสันติ ของพราหมณ์ นามว่า โทณะ&quot;<br /><br />เมื่อกษัตริย์เมืองต่างๆ ทรงทราบข่าวสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน และพิธีถวายพระเพลิงเสร็จสิ้นไปแล้ว จึงเสด็จเมืองกุสินารา พร้อมๆ กัน 7 เมือง โดยมีกองทัพของตนติดตามมาด้วย เพื่อขอส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ จากเจ้ามัลละ แก่งกุสินารา เพื่อนำไปบรรจุ ในพระสถูป ให้ผู้ศรัทธาในเมืองของตนได้สักการะบูชา<br /><br />กษัตริย์จาก 7 เมือง ได้แก่ 1 ศากยะ แห่งกบิลพัสดุ์ 2 โกลิยะ แห่งรามคาม 3 กูลิยะ แห่ง อัลละกัปปะ 4 ลิจฉวี  แห่งไวสาลี 5 อชาตศัตรู แห่งมคธ 6 ผู้ครองนคร แห่งเวฏฐทีปกะ 7 เจ้ามัลละ (ชื่อซ้ำกับมัลละกษัตริย์แห่งกุสินารา) แห่งปาวานคร<br /><br /> แต่เจ้ามัลละ แห่งกุสินารา มีมานะกษัตริย์ ไม่ยอมแบ่ง ทำให้บรรดาเจ้าเมืองต่างๆ ไม่พอใจ จึงว่าถ้าไม่แบ่งให้โดยดีต้องทำสงคราม แย่งพระบรมสารีริกธาตุกันแล้ว เป็นเรื่องโชคดีที่สงครามไม่เกิด เพราะพราหมณ์ นามว่าโทณะ ใช้วาทะ หรือลิ้นทูต สร้างสันติหรือสงบศึกได้<br /><br />ขอลอก วาทะของโทณะพราหมณ์ ที่อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก ท่านแปลไว้ ดังนี้<br /><br />ดูก่อน ผู้เจริญทั้งหลาย ขอพวกท่านจงฟังคำสำคัญของข้าพเจ้า พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย ทรงสรรเสริญ &quot;ขันติธรรม&quot; การจะมาประหารกัน เพราะแย่งส่วนแบ่งพระพุทธสรีระของพระองค์ ผู้ประเสริฐเช่นนี้ ไม่ดีเลย ขอใหัพวกเรายินยอมพร้อมใจแบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 8 ส่วนเถิด พระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จะไดัแพร่หลายไปในทิศต่างๆ ชนผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จักได้บูชา<br /><br />ลิ้นทูตของโทณะพราหมณ์ สามารถระงับสงครามลงได้ โดยกษัตริย์ทั้งนั้น ยินยอมให้แบ่งเท่าๆ กัน เมืองละหนึ่งทะนาน ในขณะที่พระเจ้าโมริยะ แห่งปิปผลิวัน มาช้า ไม่ได้ส่วนแบ่ง แต่ถึงกระนั้นก็ได้รับมอบ อังคารธาตุ เพื่อนำไปบรรจุ ให้ชาวเมืองได้สักการะบูชาเหมือนกัน<br /><br />ส่วนโทณะพราหมณ์ ขออนุญาตกษัตริย์ที่ประชุมนั้นขอนำทะนานที่ใช้ตวงพระบรมสารีริกธาตุ ไปสร้างสถูปบรรจุ ที่เมืองกุสินารานั้น (ที่ประชุมไม่ขัดขัอง) มีเกร็ด เรื่องนี้ว่า โทณะพราหมณ์ขณะทำหน้าที่สำคัญนี้ แอบนำพระเขี้ยวแก้วข้างหนึ่งใส่มวยผมตนไว้ แต่พระอินทร์เห็นคิดว่าไม่ถูกต้อง จึงขมายไปบรรจุ ณ จุฬามณี บนสรวงสวรรค์<br /><br />อ.เสฐียรพงษ์ ว่าท่านอรรถกถาจารย์เขียนอย่างนี้ ท่านจึงว่าคล้ายคดีเพชรซาอุ ดังนั้นโปรดใช้วิจารณาญาณ<br /><br />พระบรมสารีริกธาตุ ที่รัฐบาลอินเดีย ส่งมาไทย เป็นพระบรมสารีริกธาตุ  ที่ศากยะกษัตริย์ แห่งเมืองกบิลพัสดุ์ ได้รับส่วนแบ่งนำไปบรรจุในสถูปแห่งเมืองนั้นนั่นเอง<br /><br />&quot;อานิสงส์ บูชาพระบรมสารีริกธาตุ&quot;<br /><br />ชาวพุทธนิยมไปสร้างบุญ ที่สังเวชนียสถาน 4 แห่งเพราะเชื่อว่ามีอานิสงส์คือได้บุญ ตายแล้วไปสู่สุคติ ถ้าได้สักการะบูชา  พระบรมสารีริกธาตุ จะมีอานิสงส์อย่างไร<br /><br />คำตอบนี้มีในหนังสือพระบรมสารีริกธาตุ วัดนางชี (พระอารามหลวง) ใกล้วัดปากน้ำภาษีเจริญ วัดนี้มีประเพณีแห่พระบรมสารีริกธาตุ ประจำทุกปี ในช่วงกลางเดือน 12 ได้กล่าวถึงอานิสงส์การบูชาพระบรมสารีริกธาตุว่า 1.เสวยสมบัติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 2.บังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ 3.ไม่ไปเกิดในทุคติภูมิ 4.เสวยสมบัติในมนุษยโลก เช่นร่ำรวย ทรัพย์ สิน เงินทอง 5.ได้บรรลุปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และ อภิญญา 6 และสุดท้ายข้อ 6 จะบรรลุพระนิพพาน<br /><br />มีเรื่องเล่าว่าอานิสงส์ บูชาพระบรมสารีริกธาตุ เกิดทันตา<br /><br />เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรู แห่งแคว้นมคธ ฉลองสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่นครราชคฤห์นั้น ไดัมีหญิงชราถือดอกบวบขม 4  ดอกจะไปบูชา แต่ระหว่างเดินทางไปด้วยจิตจดจ่อเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุนั้น ถูกวัวแม่ลูกอ่อนขวิดตาย นางไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเทพธิดามีรัศมีกายเปล่งปลั่ง<br /><br />ท้าวสักกะเห็นจึงหาข่าว ทราบว่า นางตั้งใจจะไปบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ด้วยดอกบวบขม 4  ดอก แต่ถูกวัวแม่ลูกอ่อนขวิดตาย ด้วยความตั้งใจนั้นจึงมาเกิดในชั้นดาวดึงส์<br /><br />ท้าวสักกะ ว่าแค่ตั้งใจมีอานิสงส์ถึงปานนี้ ถ้าได้บูชาตามที่ตั้งใจ จะมีอานิสงส์ปานไหน<br /><br />ท้าวสักกะ จึงตรัสกับมาตลีเทพบุตรว่า แค่ตั้งใจบูชาด้วยดอกบัวขม ที่มีค่าน้อย ยังได้อานิสงส์มาก ทำให้เกิดในสวรรค์ได้ จึงตรัสเชิญชวนบูชาพระเขี้ยวแก้ว ที่บรรจุ ณ จุฬามณี<br /><br /> ดังนั้น สาธุชนทั้งหลาย เมื่อทราบอานิสงส์ที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ จงอย่าลังเล รีบวางแผนไปบูชากันเถิด เพราะมีเวลาเพียง 9 วัน (24 กพ.-3 มีค.) เท่านั้น สำหรับชาวกรุงเทพมหานคร<br /><br />มิเช่นนั้น ต้องตามไปบูชา ที่หอคำหลวง เชียงใหม่ วันที่ 5-8 มีนาคม<br />ที่วัดมหาวนาราม อุบลราชธานี วันที่ 10-13  มีนาคม ที่วัดมหาธาตุวชิรมงคล (วัดบางโทง) กระบี่ วันที่ 15-18 มีนาคม 2567<br /><br />จากนั้นอัญเชิญไปกัมพูชา และกลับอินเดีย
ในภาพนี้เป็นการประชุมของ จ.เชียงใหม่ เพื่อเตรียมการต้อนรับพระบรมสารีริกธาตุ ที่จะมาประดิษฐาน ณ หอคำหลวง ในวันที่ ๕-๘ มีนาคม ๒๕๖๗ นี้ ส่วนรายละเอียดในภาพรวมมีดังนี้...

15 กุมภาพันธ์ 2567 เชิญบูชาพระบรมสารีริกธาตุ จากอินเดีย คอลัมน์ สังฆานุสติ โดย บาสก (ฐานเศรษฐกิจ)

รัฐบาลไทยและอินเดีย เชิญพระบรมสารีริกธาตุจากอินเดีย มาร่วมฉลอง 72 พรรษาในหลวง ระหว่าง วันที่ 23 กุมภาพันธ์ - 18 มีนาคม 2567 ที่กรุงเทพ, เชียงใหม่, อุบลราชธานี และกระบี่

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และนาขสุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 เปิดแถลงข่าวถึงความคืบหน้าในการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงนิวเดลี และพระธาตุ แห่งพระอัครสาวกขวา-ซ้าย คือพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ จากสาญจีสถูป อินเดีย มาประดิษฐานในไทยเป็นการชั่วคราว ว่าเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตามแผนงาน เพราะได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย


คณะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุของพระอัครสาวก กำหนด ถึงประเทศไทย ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567

ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ จะมีริ้วขบวนแห่ เพื่ออัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ณ มหามณฑป ท้องสนามหลวง เพื่อให้ประชาชนบูชา ตลอดเวลา 9 วัน แต่ละวันมีกิจกรรมเพื่อบูชา ทำบุญ ตั้งแต่เช้าถึงค่ำ

หน่วยงานที่ประสานงานในการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุเพื่อ ฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ที่ระบุได้คือ รัฐบาลไทย โดยกระทรวงวัฒนธรรม ที่มีกรมการศาสนาประสานงาน และภาคเอกชนที่มีบทบาทมากคือ สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 ทางฝ่ายอินเดีย นอกจากรัฐบาลอินเดีย ก็มีสถานเอกอัครราชทูตอินเดีย ประจำประเทศไทย

"ความเป็นมาของพระบรมสารีริกธาตุ"

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จปรินิพพาน เมื่อพระชนมายุ 80 พรรษา ณ สาลวโนทยาน แห่งมัลละกษัตริย์ นครกุสินารา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (วิสาขบูชา) นั้น อีก 7 วันต่อมา จึงมีพิธีถวายพระเพลิง พระสรีระ สังขาร พระเพลิงเผาส่วนต่างๆ ของพระสรีระไปอย่างสิ้นเชิง คงเหลือส่วนต่างๆ ที่เพลิงไม่ไหม้ ผ้าที่ห่อหุ้มพระบรมศพชั้นในสุด 1 ผืน ชั้นนอก 1 ผืน พระบรมอัฐิ 7 องค์ คือพระเขี้ยวแก้วทั้ง 4, พระรากขวัญทั้ง 2, พระอุณหิส 1, พระอัฐิทั้ง 7 นี้ไม่กระจาย สำหรับพระอัฐิส่วนอื่น แตกเป็นขนาดต่างๆ 3 ขนาด คือ

ขนาดใหญ่ มีประมาณเท่ากับเมล็ดถั่วแตก
ขนาดกลางมีประมาณ เท่าเมล็ดข้าวสารหัก
ขนาดเล็ก มีประมาณเท่า เมล็ดพันธ์ผักกาด
"วาทะสร้างสันติ ของพราหมณ์ นามว่า โทณะ"

เมื่อกษัตริย์เมืองต่างๆ ทรงทราบข่าวสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน และพิธีถวายพระเพลิงเสร็จสิ้นไปแล้ว จึงเสด็จเมืองกุสินารา พร้อมๆ กัน 7 เมือง โดยมีกองทัพของตนติดตามมาด้วย เพื่อขอส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ จากเจ้ามัลละ แก่งกุสินารา เพื่อนำไปบรรจุ ในพระสถูป ให้ผู้ศรัทธาในเมืองของตนได้สักการะบูชา

กษัตริย์จาก 7 เมือง ได้แก่ 1 ศากยะ แห่งกบิลพัสดุ์ 2 โกลิยะ แห่งรามคาม 3 กูลิยะ แห่ง อัลละกัปปะ 4 ลิจฉวี แห่งไวสาลี 5 อชาตศัตรู แห่งมคธ 6 ผู้ครองนคร แห่งเวฏฐทีปกะ 7 เจ้ามัลละ (ชื่อซ้ำกับมัลละกษัตริย์แห่งกุสินารา) แห่งปาวานคร

แต่เจ้ามัลละ แห่งกุสินารา มีมานะกษัตริย์ ไม่ยอมแบ่ง ทำให้บรรดาเจ้าเมืองต่างๆ ไม่พอใจ จึงว่าถ้าไม่แบ่งให้โดยดีต้องทำสงคราม แย่งพระบรมสารีริกธาตุกันแล้ว เป็นเรื่องโชคดีที่สงครามไม่เกิด เพราะพราหมณ์ นามว่าโทณะ ใช้วาทะ หรือลิ้นทูต สร้างสันติหรือสงบศึกได้

ขอลอก วาทะของโทณะพราหมณ์ ที่อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก ท่านแปลไว้ ดังนี้

ดูก่อน ผู้เจริญทั้งหลาย ขอพวกท่านจงฟังคำสำคัญของข้าพเจ้า พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย ทรงสรรเสริญ "ขันติธรรม" การจะมาประหารกัน เพราะแย่งส่วนแบ่งพระพุทธสรีระของพระองค์ ผู้ประเสริฐเช่นนี้ ไม่ดีเลย ขอใหัพวกเรายินยอมพร้อมใจแบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 8 ส่วนเถิด พระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จะไดัแพร่หลายไปในทิศต่างๆ ชนผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จักได้บูชา

ลิ้นทูตของโทณะพราหมณ์ สามารถระงับสงครามลงได้ โดยกษัตริย์ทั้งนั้น ยินยอมให้แบ่งเท่าๆ กัน เมืองละหนึ่งทะนาน ในขณะที่พระเจ้าโมริยะ แห่งปิปผลิวัน มาช้า ไม่ได้ส่วนแบ่ง แต่ถึงกระนั้นก็ได้รับมอบ อังคารธาตุ เพื่อนำไปบรรจุ ให้ชาวเมืองได้สักการะบูชาเหมือนกัน

ส่วนโทณะพราหมณ์ ขออนุญาตกษัตริย์ที่ประชุมนั้นขอนำทะนานที่ใช้ตวงพระบรมสารีริกธาตุ ไปสร้างสถูปบรรจุ ที่เมืองกุสินารานั้น (ที่ประชุมไม่ขัดขัอง) มีเกร็ด เรื่องนี้ว่า โทณะพราหมณ์ขณะทำหน้าที่สำคัญนี้ แอบนำพระเขี้ยวแก้วข้างหนึ่งใส่มวยผมตนไว้ แต่พระอินทร์เห็นคิดว่าไม่ถูกต้อง จึงขมายไปบรรจุ ณ จุฬามณี บนสรวงสวรรค์

อ.เสฐียรพงษ์ ว่าท่านอรรถกถาจารย์เขียนอย่างนี้ ท่านจึงว่าคล้ายคดีเพชรซาอุ ดังนั้นโปรดใช้วิจารณาญาณ

พระบรมสารีริกธาตุ ที่รัฐบาลอินเดีย ส่งมาไทย เป็นพระบรมสารีริกธาตุ ที่ศากยะกษัตริย์ แห่งเมืองกบิลพัสดุ์ ได้รับส่วนแบ่งนำไปบรรจุในสถูปแห่งเมืองนั้นนั่นเอง

"อานิสงส์ บูชาพระบรมสารีริกธาตุ"

ชาวพุทธนิยมไปสร้างบุญ ที่สังเวชนียสถาน 4 แห่งเพราะเชื่อว่ามีอานิสงส์คือได้บุญ ตายแล้วไปสู่สุคติ ถ้าได้สักการะบูชา พระบรมสารีริกธาตุ จะมีอานิสงส์อย่างไร

คำตอบนี้มีในหนังสือพระบรมสารีริกธาตุ วัดนางชี (พระอารามหลวง) ใกล้วัดปากน้ำภาษีเจริญ วัดนี้มีประเพณีแห่พระบรมสารีริกธาตุ ประจำทุกปี ในช่วงกลางเดือน 12 ได้กล่าวถึงอานิสงส์การบูชาพระบรมสารีริกธาตุว่า 1.เสวยสมบัติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 2.บังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ 3.ไม่ไปเกิดในทุคติภูมิ 4.เสวยสมบัติในมนุษยโลก เช่นร่ำรวย ทรัพย์ สิน เงินทอง 5.ได้บรรลุปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และ อภิญญา 6 และสุดท้ายข้อ 6 จะบรรลุพระนิพพาน

มีเรื่องเล่าว่าอานิสงส์ บูชาพระบรมสารีริกธาตุ เกิดทันตา

เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรู แห่งแคว้นมคธ ฉลองสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่นครราชคฤห์นั้น ไดัมีหญิงชราถือดอกบวบขม 4 ดอกจะไปบูชา แต่ระหว่างเดินทางไปด้วยจิตจดจ่อเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุนั้น ถูกวัวแม่ลูกอ่อนขวิดตาย นางไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเทพธิดามีรัศมีกายเปล่งปลั่ง

ท้าวสักกะเห็นจึงหาข่าว ทราบว่า นางตั้งใจจะไปบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ด้วยดอกบวบขม 4 ดอก แต่ถูกวัวแม่ลูกอ่อนขวิดตาย ด้วยความตั้งใจนั้นจึงมาเกิดในชั้นดาวดึงส์

ท้าวสักกะ ว่าแค่ตั้งใจมีอานิสงส์ถึงปานนี้ ถ้าได้บูชาตามที่ตั้งใจ จะมีอานิสงส์ปานไหน

ท้าวสักกะ จึงตรัสกับมาตลีเทพบุตรว่า แค่ตั้งใจบูชาด้วยดอกบัวขม ที่มีค่าน้อย ยังได้อานิสงส์มาก ทำให้เกิดในสวรรค์ได้ จึงตรัสเชิญชวนบูชาพระเขี้ยวแก้ว ที่บรรจุ ณ จุฬามณี

ดังนั้น สาธุชนทั้งหลาย เมื่อทราบอานิสงส์ที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ จงอย่าลังเล รีบวางแผนไปบูชากันเถิด เพราะมีเวลาเพียง 9 วัน (24 กพ.-3 มีค.) เท่านั้น สำหรับชาวกรุงเทพมหานคร

มิเช่นนั้น ต้องตามไปบูชา ที่หอคำหลวง เชียงใหม่ วันที่ 5-8 มีนาคม
ที่วัดมหาวนาราม อุบลราชธานี วันที่ 10-13 มีนาคม ที่วัดมหาธาตุวชิรมงคล (วัดบางโทง) กระบี่ วันที่ 15-18 มีนาคม 2567

จากนั้นอัญเชิญไปกัมพูชา และกลับอินเดีย
648418.jpg (97.74 KiB) เข้าดูแล้ว 1608 ครั้ง
cats 1.jpg
cats 1.jpg (126.83 KiB) เข้าดูแล้ว 1608 ครั้ง
cats 2.jpg
cats 2.jpg (112.18 KiB) เข้าดูแล้ว 1608 ครั้ง
cat 4.jpg
เรามาเดินทางท่องเที่ยวกันต่อนะครับ มีเรื่องขำ ๆ ว่า เมื่อเราต่างแยกย้ายกันเดินชมและเก็บภาพ ณ เจดีย์เหลี่ยม ซึ่งบริเวณถามว่า กว้างไหม ? ก็ไม่น่าจะกว้างสักเท่าไร แต่เชื่อไหมครับเราพลัดหลงกัน ผมออกทางด้านหลังวัดในขณะที่คุณนายกำลังเพลินกับการเก็บภาพ เมื่อเดินทางต่อมาตกใจ เอ...ไม่เห็นคุณนายตามมา ผมจึงวกกลับไปรับคุณนาย ๕๕๕๕
เรามาเดินทางท่องเที่ยวกันต่อนะครับ มีเรื่องขำ ๆ ว่า เมื่อเราต่างแยกย้ายกันเดินชมและเก็บภาพ ณ เจดีย์เหลี่ยม ซึ่งบริเวณถามว่า กว้างไหม ? ก็ไม่น่าจะกว้างสักเท่าไร แต่เชื่อไหมครับเราพลัดหลงกัน ผมออกทางด้านหลังวัดในขณะที่คุณนายกำลังเพลินกับการเก็บภาพ เมื่อเดินทางต่อมาตกใจ เอ...ไม่เห็นคุณนายตามมา ผมจึงวกกลับไปรับคุณนาย ๕๕๕๕
๑๗ ม.ค.๖๗ (34).jpg
๑๗ ม.ค.๖๗ (35).jpg
๑๗ ม.ค.๖๗ (35).jpg (101.21 KiB) เข้าดูแล้ว 1608 ครั้ง
ไปเจอกันคุณนายบอกว่ามองหาผมไม่เจอ ก็เลยจอดรออย่างไรเสียผมต้องย้อนกลับมารับ (๕๕ว่าแล้ว) จากนั้นเราก็ไปกันต่อปั่นชิว ๆ ไปตามทางก็พาไปโผล่ที่วัดช้างค้ำ เป็นจุดใหญ่ใจความที่เริ่มต้นการขุดค้นพบเวียงกุมกาม<br /><br />เมื่อ พ.ศ. 2527 หน่วยศิลปากรที่ 4 ได้ขุดแต่งวิหารกานโถม ณ วัดช้างค้ำ ซึ่งเป็นโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งใน เวียงกุมกาม ทำให้เรื่องราวของ “เมืองในตำนาน” แห่งนี้ปรากฏเป็นเรื่องขึ้น และจากการศึกษาค้นคว้าของนักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ ทำให้เชื่อได้แน่นอนว่าโบราณสถาน ในเขตท้องที่หมู่ที่ 11 ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี ซึ่งห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เพียง 5 กิโลเมตรนั้น ก็คือ “เวียงกุมกาม” หรือ “เวียงเก่า”<br /><br /> ก่อนที่จะมี “เวียงเชียงใหม่” และการล่มสลายไปเพราะอุทกภัยครั้งใหญ่ จนกลายเป็นเมืองใต้พิภพก่อนที่อาณาจักรล้านนาจะล่มสลายทำให้โบราณสถานใน เวียงกุมกาม มีความสมบูรณ์ และเป็นแหล่งความรู้ในการศึกษาแบบแผนของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ตลอดจนวัฒนธรรมล้านนาบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นรากฐานในการศึกษาที่สำคัญของวัฒนธรรมล้านนาในยุคต่อๆ มา   แม้ว่าจะมีการขุดค้นพบนครใต้พิภพ เวียงกุมกาม ไม่ถึง 30 ปีที่ผ่านมา โดยหน่วยงานศิลปากรที่ 4 ถือว่าการฟื้นฟูให้ เวียงกุมกามกลับมามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอีกครั้ง เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมล้านนา และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่<br /><br />(ต้องขออภัย อินเตอร์เน็ต แย่มาก ๆ ครับ รวน เกเร ไม่ยอมขึ้นภาพ พอโพสต์ก็ลบเรื่องราว วันนี้ขออนุญาตุได้แค่นี้จริง ๆ สงสัยต้องเลิกคบไปใช้ยี่ห่ออื่นเสียละ)
ไปเจอกันคุณนายบอกว่ามองหาผมไม่เจอ ก็เลยจอดรออย่างไรเสียผมต้องย้อนกลับมารับ (๕๕ว่าแล้ว) จากนั้นเราก็ไปกันต่อปั่นชิว ๆ ไปตามทางก็พาไปโผล่ที่วัดช้างค้ำ เป็นจุดใหญ่ใจความที่เริ่มต้นการขุดค้นพบเวียงกุมกาม

เมื่อ พ.ศ. 2527 หน่วยศิลปากรที่ 4 ได้ขุดแต่งวิหารกานโถม ณ วัดช้างค้ำ ซึ่งเป็นโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งใน เวียงกุมกาม ทำให้เรื่องราวของ “เมืองในตำนาน” แห่งนี้ปรากฏเป็นเรื่องขึ้น และจากการศึกษาค้นคว้าของนักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ ทำให้เชื่อได้แน่นอนว่าโบราณสถาน ในเขตท้องที่หมู่ที่ 11 ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี ซึ่งห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เพียง 5 กิโลเมตรนั้น ก็คือ “เวียงกุมกาม” หรือ “เวียงเก่า”

ก่อนที่จะมี “เวียงเชียงใหม่” และการล่มสลายไปเพราะอุทกภัยครั้งใหญ่ จนกลายเป็นเมืองใต้พิภพก่อนที่อาณาจักรล้านนาจะล่มสลายทำให้โบราณสถานใน เวียงกุมกาม มีความสมบูรณ์ และเป็นแหล่งความรู้ในการศึกษาแบบแผนของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ตลอดจนวัฒนธรรมล้านนาบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นรากฐานในการศึกษาที่สำคัญของวัฒนธรรมล้านนาในยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะมีการขุดค้นพบนครใต้พิภพ เวียงกุมกาม ไม่ถึง 30 ปีที่ผ่านมา โดยหน่วยงานศิลปากรที่ 4 ถือว่าการฟื้นฟูให้ เวียงกุมกามกลับมามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอีกครั้ง เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมล้านนา และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่

(ต้องขออภัย อินเตอร์เน็ต แย่มาก ๆ ครับ รวน เกเร ไม่ยอมขึ้นภาพ พอโพสต์ก็ลบเรื่องราว วันนี้ขออนุญาตุได้แค่นี้จริง ๆ สงสัยต้องเลิกคบไปใช้ยี่ห่ออื่นเสียละ)
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:idea: :idea: เวียงกุมกาม อดีตเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา

“เวียงกุมกาม” ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอดีตเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา ที่พญามังรายโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1829 โดยโปรดให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้าน ไขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้ในคูเมือง โบราณสถานที่ปรากฏอยู่ในเวียงกุมกามและใกล้เคียงเป็นเมืองทดลองที่สร้างขึ้นมา ก่อนที่จะมาเป็นเมืองเชียงใหม่

การสถาปนา

“เวียงกุมกาม” เกิดขึ้นหลังจากที่พญามังรายได้ปกครองและพำนักอยู่ในนครหริภุญชัย(ลำพูน)อยู่ 2 ปี พระองค์ทรงศึกษาสิ่งหลายๆอย่างและมีพระราชดำริที่จะลองสร้างเมืองขึ้น เมืองนั้นก็คือ”เวียงกุมกาม” แต่พระองค์ก็ทรงสร้างไม่สำเร็จ เพราะเวียงนั้นมีน้ำท่วมอยู่ทุกปี จนพญามังรายจึงทรงต้องไปปรึกษาพระสหายคือพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัยและพญางำเมืองแห่งอาณาจักรพะเยา หลังจากทรงปรึกษากันแล้วจึงทรงตัดสินใจไปหาที่สร้างเมืองใหม่ ในที่สุดจึงได้พื้นที่นครพิงค์เชียงใหม่เป็นเมืองใหม่และเป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรล้านนาต่อมา จึงสรุปได้ว่าเวียงกุมกามนั้นเป็นเมืองที่ทดลองสร้างขึ้น

การล่มสลาย

เวียงกุมกามล่มสลายลงเพราะเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2101 – 2317 ซึ่งตรงกับสมัยพม่าปกครองล้านนา พม่าปกครองล้านนาเป็นเวลาสองร้อยกว่าปี แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่กล่าวถึงเวียงกุมกามทั้งๆที่เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่นี้เป็นเรื่องร้ายแรงมาก ผลของการเกิดน้ำท่วมนี้ทำให้เวียงกุมกามถูกฝังจมลงอยู่ใต้ตะกอนดินจนยากที่จะฟื้นฟูกลับมา สภาพวัดต่างๆและโบราณสถานที่สำคัญเหลือเพียงซากวิหารและเจดีย์ร้างที่จมอยู่ใต้ดินในระดับความลึกจากพื้นดินลงไปประมาณ 1.50 -2.00 เมตร โดยวัดที่จมดินลึกที่สุดคือวัดอีค่าง รองลงมาคือ วัดปู่เปี้ย และวัดกู่ป่าด้อม

การขุดค้นพบ

ในปี พ.ศ. 2527 เรื่องราวของเวียงกุมกามก็เริ่มเป็นที่สนใจของนักวิชาการและประชาชนทั่วไป ทำให้หน่วยศิลปากรที่ 4 ขุดแต่งบูรณะวัดร้าง(ขุดแต่งวิหารกานโถม ณ วัดช้างค้ำ) และบริเวณโดยรอบเวียงกุมกามอย่างต่อเนื่องจนถึง พ.ศ. 2545 ปัจจุบันเวียงกุมกามก็ได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เพราะเห็นว่าเวียงกุมกามมีความสมบูรณ์และเป็นแหล่งความรู้การศึกษาในแบบของเรื่องราวทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมตลอดจนวัฒนธรรมล้านาต่างๆ โดยศูนย์กลางของการนำเที่ยวชมโบราณสถานต่างๆในเขตเวียงกุมกามอยู่ที่วัดช้างค้ำ

ที่ตั้ง และ ลักษณะ

เวียงกุมกามมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความยาวประมาณ 850 เมตร ไปตามแนวทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และกว้างประมาณ 600 เมตร ตัวเมืองยาวไปตามลำน้ำปิงสายเดิมที่เคยไหลไปทางด้านทิศตะวันออกของเมือง ดังนั้นในสมัยโบราณตัวเวียงกุมกามจะตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันตกหรือฝั่งเดียวกับเมืองเชียงใหม่ แต่เชื่อกันว่าเนื่องจากกระแสของแม่น้ำปิงเปลี่ยนทิศทาง จึงทำให้เวียงกุมกามเปลี่ยนมาตั้งอยู่ทางฝั่งด้านตะวันออกของแม่น้ำดั่งเช่นปัจจุบัน

ปัจจุบันเวียงกุมกามอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ประมาณ ก.ม. 3-4 ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ด้านขวามือ ในเขตตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภีและอยู่ใกล้ฝั่งด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำปิง (ข้อมูลจาก มิวเซียมไทยแลนด์)
:idea: :idea:
ไฟล์แนบ
น่าเป็นห่วงและน่ากลัวมากๆ นะครับ คำทำนายต่างๆ เห็นผลแล้ว โลกจะวิกฤตไปเรื่อยๆ จนที่สุดความล่มสลายของโลกก็จะมาถึง อย่ามัวชักช้าเร่งรีบบำเพ็ญกุศลด้วย ทาน ศีล ภาวนา กันให้มากๆ เพื่อว่าเราจะได้รอดปลอดภัย เป็นไปได้ก็ไม่ต้องได้กลับมาเกิดอีก &quot;การเกิดเป็นทุกข์ที่สุดในโลก&quot; เชื่อเถอะ.
น่าเป็นห่วงและน่ากลัวมากๆ นะครับ คำทำนายต่างๆ เห็นผลแล้ว โลกจะวิกฤตไปเรื่อยๆ จนที่สุดความล่มสลายของโลกก็จะมาถึง อย่ามัวชักช้าเร่งรีบบำเพ็ญกุศลด้วย ทาน ศีล ภาวนา กันให้มากๆ เพื่อว่าเราจะได้รอดปลอดภัย เป็นไปได้ก็ไม่ต้องได้กลับมาเกิดอีก "การเกิดเป็นทุกข์ที่สุดในโลก" เชื่อเถอะ.
S__20340808.jpg (33.66 KiB) เข้าดูแล้ว 1472 ครั้ง
S__12206447.jpg
S__12206447.jpg (111.05 KiB) เข้าดูแล้ว 1472 ครั้ง
๒๓ กุมภา ๖๗ เราได้นำเม็ดพระธาตุที่เรามีไปถวายวัดปากกอง หมู่บ้านของเรา ช่วงเช้าวันที่ ๒๔ ก.พ.๖๗ ซึ่งเป็นวันมาฆบูชา ทางวัดก็ได้นำพระธาตุและสิ่งของมีค่าต่าง ๆ ที่ชาวบ้านร่วมใจกันนำมาถวายเพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมะบูชาและสังฆบูชา ขึ้นไปบรรจุไว้ในเจดีย์ที่กำลังบูรณใหม่เนื่องจากองค์เดิมเริ่มแตกร้าว ได้เวลาซ่อมแซมปรับปรุง ตามกฏแห่งไตรลักษณ์ (เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป) เป็นกฏของธรรมชาติครับ
๒๓ กุมภา ๖๗ เราได้นำเม็ดพระธาตุที่เรามีไปถวายวัดปากกอง หมู่บ้านของเรา ช่วงเช้าวันที่ ๒๔ ก.พ.๖๗ ซึ่งเป็นวันมาฆบูชา ทางวัดก็ได้นำพระธาตุและสิ่งของมีค่าต่าง ๆ ที่ชาวบ้านร่วมใจกันนำมาถวายเพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมะบูชาและสังฆบูชา ขึ้นไปบรรจุไว้ในเจดีย์ที่กำลังบูรณใหม่เนื่องจากองค์เดิมเริ่มแตกร้าว ได้เวลาซ่อมแซมปรับปรุง ตามกฏแห่งไตรลักษณ์ (เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป) เป็นกฏของธรรมชาติครับ
652041.jpg (145.75 KiB) เข้าดูแล้ว 1472 ครั้ง
cats 8.jpg
cats 8.jpg (212.54 KiB) เข้าดูแล้ว 1472 ครั้ง
cats 9.jpg
cats 12.jpg
cats 13.jpg
cats 14.jpg
cats 14.jpg (161.69 KiB) เข้าดูแล้ว 1472 ครั้ง
cats 10.jpg
ผมวนเวียนเก็บภาพรอบวัด สังเกตุเห็นมีการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน โรงเรือนเพิ่มขึ้นมากมาย และตลอดทางที่เราปั่นเข้ามาเขตเวียงกุมกาม เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงมากมายมหาศาล สมัยก่อนเมื่อครั้งเป็นเด็กผมจำได้ มาเยี่ยมเยียน(เที่ยว)หลาย ๆ หนเราสนุกสนานได้วิ่งเล่น ซ่อนแอบกัน มีที่ ๆ สำหรับซ่อนแอบเยอะ <br /><br />บัดนี้กาลเวลาเปลี่ยนไป ที่ซ่อนแอบไม่น่าจะมี(เป็นบ้านคนไปหมดแล้ว) จิตตกครับเกิดอาการเศร้าใจ คิดนะครับ ความโลภโมโทสันของคนนี่มันร้ายกาจจริง ๆ ไม่เกรงกลัวฟ้าดินกันเลย โบราณสถานถูกรุกราน คิดยาวไปอีก เออ..นะ คนที่มีหน้าที่ไม่ดูแลหรือ ? ไม่น่าจะใช่วิเคราะห์แล้วคนเฝ้ามีน้อยกว่าคนจ้อง ไม่ว่ากัน &quot;กรรมคือการกระทำ ผลของกรรมคือวิบากกรรม&quot; สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ใครทำดี ดี ทำชั่ว รับกรรมวิบากคือผลของกรรม..รอดูกันต่อไป
ผมวนเวียนเก็บภาพรอบวัด สังเกตุเห็นมีการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน โรงเรือนเพิ่มขึ้นมากมาย และตลอดทางที่เราปั่นเข้ามาเขตเวียงกุมกาม เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงมากมายมหาศาล สมัยก่อนเมื่อครั้งเป็นเด็กผมจำได้ มาเยี่ยมเยียน(เที่ยว)หลาย ๆ หนเราสนุกสนานได้วิ่งเล่น ซ่อนแอบกัน มีที่ ๆ สำหรับซ่อนแอบเยอะ

บัดนี้กาลเวลาเปลี่ยนไป ที่ซ่อนแอบไม่น่าจะมี(เป็นบ้านคนไปหมดแล้ว) จิตตกครับเกิดอาการเศร้าใจ คิดนะครับ ความโลภโมโทสันของคนนี่มันร้ายกาจจริง ๆ ไม่เกรงกลัวฟ้าดินกันเลย โบราณสถานถูกรุกราน คิดยาวไปอีก เออ..นะ คนที่มีหน้าที่ไม่ดูแลหรือ ? ไม่น่าจะใช่วิเคราะห์แล้วคนเฝ้ามีน้อยกว่าคนจ้อง ไม่ว่ากัน "กรรมคือการกระทำ ผลของกรรมคือวิบากกรรม" สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ใครทำดี ดี ทำชั่ว รับกรรมวิบากคือผลของกรรม..รอดูกันต่อไป
๑๗ ม.ค.๖๗ (40).jpg
วัดช้างค้ำ  จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี<br /><br />วัดช้างค้ำ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่<br /><br />วัดช้างค้ำ หรือ วัดการโถม สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ามังรายมหาราชยังครองเวียงกุมกามอยู่ ราว พ.ศ. 1831 มีพระเถระชาวลังกาจำนวน 5 รูป ซึ่งนำโดยพระมหากัสสปะ ได้จารึกมาจากกรุงสุโขทัยขึ้นไปจนถึงเวียงกุมกามบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่ต้นมะเดื่อใหญ่ เมื่อพระเจ้ามังรายมหาราชทรงทราบ จึงได้เสด็จไปนมัสการพระเถระ แล้วทรงสนทนาธรรมกับพระมหาเถระ <br /><br />พระมหาเถระเจ้าได้ถวายพระธรรมเทศนาเรื่อง ปัฏฐังคุลีชาดก ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับการต่อพระหัตถ์พระพุทธรูป พระเจ้ามังรายได้สดับฟังก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมากจึงโปรดให้สร้างพระอารามถวายแก่พระเถระ และยังหล่อพระพุทธรูปสำริดขึ้น 5 องค์ เป็นพระนั่ง 3 องค์และพระยืน 2 องค์ โดยมีองค์หนึ่งสูงใหญ่เท่าพระองค์จริงของพระเจ้ามังรายมหาราช ปัจจุบันเหลือพระพุทธรูปองค์นั่ง 1 องค์ ซึ่งเป็นพระประธาน ส่วนพระพุทธรูปยืน 1 องค์ ปัจจุบันยังประดิษฐานอยู่ในมณฑปวัดพระเจ้ามังราย (วัดกาละคอด หรือ วัดคานคอด)<br /><br />ต่อมาพระเจ้ามังรายมหาราช ทรงโปรดให้ตั้งชื่อพระวิหารตามชื่อของช่างไม้คนโปรดว่า วิหารกานโถม ซึ่งปัจจุบัน เหลือเพียงซากของวิหารที่หันหน้าลงสู่ทิศตะวันตกของแม่น้ำปิงสายเก่า และเมื่อ พ.ศ. 1834 พระองค์โปรดให้สร้างพระเจดีย์ ฐานกว้าง 6 วาสูง 9 วา ทำซุ้งคูหาทั้งสี่ด้าน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 2 ชั้น ชั้นล่างไว้พระพุทธรูปนั่ง 4 องค์ ชั้นบนไว้พระพุทธรูปยืน 1 องค์<br /><br />กรมศิลปากรได้เข้ามาดำเนินงานขุดแต่งและบูรณะเมื่อ พ.ศ. 2527 พบชุมชนโบราณบริเวณนี้ สันนิษฐานว่าอยู่ร่วมสมัยเดียวกับเมืองหริภุญไชย จากหลักฐานพระพิมพ์ ภาชนะดินเผา จารึกอักษรมอญ ฯลฯ วิหารของวัด หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งแตกต่างจากรูปแบบการก่อสร้างของวัดอื่น ๆ ในเขตเวียงกุมกาม ที่ส่วนใหญ่หันหน้าไปทางทิศตะวันออกตามคติการก่อสร้างเดิม และวัดที่สร้างให้หันหน้าไปทางทิศเหนือเข้าสู่แม่น้ำปิง ที่เคยไหลผ่านในแนวทิศเหนือตัวเวียง จึงคาดว่าน่าจะเป็นวัดที่สร้างหรือซ่อมบูรณะในระยะหลัง
วัดช้างค้ำ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดช้างค้ำ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

วัดช้างค้ำ หรือ วัดการโถม สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ามังรายมหาราชยังครองเวียงกุมกามอยู่ ราว พ.ศ. 1831 มีพระเถระชาวลังกาจำนวน 5 รูป ซึ่งนำโดยพระมหากัสสปะ ได้จารึกมาจากกรุงสุโขทัยขึ้นไปจนถึงเวียงกุมกามบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่ต้นมะเดื่อใหญ่ เมื่อพระเจ้ามังรายมหาราชทรงทราบ จึงได้เสด็จไปนมัสการพระเถระ แล้วทรงสนทนาธรรมกับพระมหาเถระ

พระมหาเถระเจ้าได้ถวายพระธรรมเทศนาเรื่อง ปัฏฐังคุลีชาดก ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับการต่อพระหัตถ์พระพุทธรูป พระเจ้ามังรายได้สดับฟังก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมากจึงโปรดให้สร้างพระอารามถวายแก่พระเถระ และยังหล่อพระพุทธรูปสำริดขึ้น 5 องค์ เป็นพระนั่ง 3 องค์และพระยืน 2 องค์ โดยมีองค์หนึ่งสูงใหญ่เท่าพระองค์จริงของพระเจ้ามังรายมหาราช ปัจจุบันเหลือพระพุทธรูปองค์นั่ง 1 องค์ ซึ่งเป็นพระประธาน ส่วนพระพุทธรูปยืน 1 องค์ ปัจจุบันยังประดิษฐานอยู่ในมณฑปวัดพระเจ้ามังราย (วัดกาละคอด หรือ วัดคานคอด)

ต่อมาพระเจ้ามังรายมหาราช ทรงโปรดให้ตั้งชื่อพระวิหารตามชื่อของช่างไม้คนโปรดว่า วิหารกานโถม ซึ่งปัจจุบัน เหลือเพียงซากของวิหารที่หันหน้าลงสู่ทิศตะวันตกของแม่น้ำปิงสายเก่า และเมื่อ พ.ศ. 1834 พระองค์โปรดให้สร้างพระเจดีย์ ฐานกว้าง 6 วาสูง 9 วา ทำซุ้งคูหาทั้งสี่ด้าน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 2 ชั้น ชั้นล่างไว้พระพุทธรูปนั่ง 4 องค์ ชั้นบนไว้พระพุทธรูปยืน 1 องค์

กรมศิลปากรได้เข้ามาดำเนินงานขุดแต่งและบูรณะเมื่อ พ.ศ. 2527 พบชุมชนโบราณบริเวณนี้ สันนิษฐานว่าอยู่ร่วมสมัยเดียวกับเมืองหริภุญไชย จากหลักฐานพระพิมพ์ ภาชนะดินเผา จารึกอักษรมอญ ฯลฯ วิหารของวัด หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งแตกต่างจากรูปแบบการก่อสร้างของวัดอื่น ๆ ในเขตเวียงกุมกาม ที่ส่วนใหญ่หันหน้าไปทางทิศตะวันออกตามคติการก่อสร้างเดิม และวัดที่สร้างให้หันหน้าไปทางทิศเหนือเข้าสู่แม่น้ำปิง ที่เคยไหลผ่านในแนวทิศเหนือตัวเวียง จึงคาดว่าน่าจะเป็นวัดที่สร้างหรือซ่อมบูรณะในระยะหลัง
๑๗ ม.ค.๖๗ (44).jpg (137.04 KiB) เข้าดูแล้ว 1472 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »


:) :D เชิญชวนเที่ยวงานสตรอว์เบอร์รี่ บุฟเฟต์ ณ ร้านความสุข บ่อแก้ว สะเมิง เชียงใหม่ วันที่ 2 มีนาคม 2567 :) :D

:) :D สวัสดียามใกล้เที่ยงของวันสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ไวไหมครับ...ผมว่าแปร๊บเดียวผ่านเดือนที่ ๒ ไปอีกแล้ว ร่างกายก็ยังไม่ดีขึ้นต้องรอพบหมอ จะออกทัวร์เหมือนเดิมก็ไม่ได้ ภารกิจที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง (ดูแลหลานแทนพ่อ-แม่เขา) แล้ววันวาเลนไทม์ที่ผ่านไปเป็นอย่างไรบ้างครับ "รักฉันนี้เพื่อ...?" ๕๕๕ ท่านใดที่มีโอกาสเที่ยวเชียงใหม่ อย่าลืมแวะไปเที่ยวชิมสตอเบอรี่อร่อย ๆ ที่ อ.สะเมิงนะครับ ผมปีนี้เสียดายไม่ได้ไป ท่านใดไม่ได้ไป ชมวีดีโอที่ผมก๊อปปี้มาไปพราง ๆ ปีหน้าค่อยวางโปรแกรมก็น่าจะได้นะ

ผมอ่านบทความของท่าน ปอ.ปยุตโต ชอบใจจังท่านบัญญัติคำ ๆ นี้ดีต่อใจมาก ๆ ก็เลยนำมาฝากเป็นข้อคิดสะกิดใจ ในวันนี้ครับห้ามพลาดนะ
:lol: :lol:

:idea: :idea: วาเลนไทน์ สู่...วาเรนท์ธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

วันวาเลนไทน์นั้นเป็นวันความรักส่วนตัว จำกัดอยู่กับบุคคลหรือกลุ่ม แล้วก็มักจะมุ่งผลตอบแทนเพื่อตัวเอง แต่ว่าวันมาฆบูชานั้น เป็นวันแห่งความรัก พระอรหันต์หรือท่านผู้หมดกิเลสที่รักประชาชนทั่วโลก จะไปทำให้แก่ผู้อื่นอย่างเดียวทั้งสากลเลยจริง ๆ

วันมาฆบูชานั้นพระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ให้หลักธรรมคำสอนแก่ใคร ? แก่พระอรหันต์ พระอรหันต์ทั้งหลายนั้น เป็นผู้หมดกิเลสแล้ว ไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตนเองแล้ว แล้วตอนนี้อย่างไรล่ะ ก็คือพระพุทธเจ้าสอนพระอรหันต์เหล่านี้ ให้รู้หลักการในการที่จะไปทำหน้าที่ คือการที่จะไปสั่งสอนธรรมะ เผยแพร่ธรรมะเพื่อประโยชน์สุขแก่ชาวโลก ตามหลักการที่มีมาแต่เดิมแล้ว เพราะจุดประสงค์ว่า พระสงฆ์นี้จะต้องจาริกไปเผยแพร่ธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่พหูชน เพื่อเห็นแก่เมตตาการุณย์ต่อชาวโลก อันนี้ก็คือความรักชาวโลกนั่นเอง ก็หมายความว่า วันแห่งมาฆบูชาก็เป็นวันแห่งความรักเหมือนกัน เพราะว่าพระอรหันต์นั้นท่านรักชาวโลกทั้งหมด แล้วท่านกำลังจะไปทำงานด้วยเมตตากรุณา ก็คือความรักชาวโลกนั่นเอง ไปทำเพื่อประโยชน์สุขแก่เขา

เพราะฉะนั้นถ้าจะเอาความเป็นสากลแล้ว ก็กลายเป็นว่าวันมาฆบูชานี่แหละสากล

...วันวาเลนไทน์เป็นวันแห่งความรัก Romantic Love

...ตอนนี้เราก็บอกได้ว่า วันมาฆบูชาเป็นวันแห่ง Universal Love เป็นวันแห่งความรักที่เป็นสากล

ความรักที่เป็นสากลก็คือ `เมตตา´ ก็ไปดูเถอะ คำแปลหนึ่งของเมตตาก็คือ Universal Love เพราะว่าเมตตานั้นเป็นความรักเพื่อนมนุษย์ เป็นมิตรไมตรีปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ทุกคน แม้กระทั่งสัตว์ทั้งหลาย ไม่แบ่งแยก ไม่จำกัด ปรารถนาประโยชน์สุขแก่เขา ไม่ใช่เอาเพื่อตน

ถ้าเป็นรักแบบโรแมนติค ก็ยังมีความห่วงเรื่องว่า เอ๊เขาจะมารักฉันหรือเปล่า ? เขาจะมาให้อะไรฉันไหม ? แต่ถ้าเป็นรักแบบเมตตา ก็อยากจะไปทำให้เขาเป็นสุขอย่างเดียว

เมื่อเป็นแบบนี้แล้ว เราก็เห็นชัด ฝรั่งเองเขาก็บอกไว้แล้วว่าวันวาเลนไทน์เป็นวันแห่ง Romantic Love ตอนนี้วันมาฆบูชาเราก็พูดได้เต็มปากว่า เป็นวันแห่ง Universal Love

ต่อไปโยมจะไปพูด โยมก็บอกได้เลย บอกว่าวันมาฆบูชากับวันวาเลนไทน์นี้ต่างกันอย่างไร ?

ทีนี้ในเมื่อเราจะรับวันวาเลนไทน์ เราก็ควรจะรับด้วยสติปัญญา รับอย่างคนมีอารยธรรม เราเป็นอารยชนก็ต้องทำด้วยความรู้ความเข้าใจ แล้วก็เอามาขัดเกลาให้ประณีต ต่อไปวันวาเลนไทน์นี่ เมื่อเราไม่หลงใหลเพลิดเพลินนะ เราก็ได้ประโยชน์ ถ้าเราหลงใหลเพลิดเพลินไปตามกระแส เราก็กลายเป็นทาส แต่ถ้าเราเอาวันวาเลนไทน์มาใช้ประโยชน์เป็น มันก็จะเป็นทุนด้วยส่วนหนึ่ง เราก็ไม่หมดความเป็นไทย วันวาเลนไทน์ก็ยังคงทำให้เราคงความเป็นไทย แล้วคนไทยที่มีความดีงาม มีความสามารถ ก็จะทำวันวาเลนไทน์นั้นให้กลายเป็น วันวาเรนท์ธรรม

พุทธศาสนิกชนจะต้องมีความมั่นใจในตนเอง คือมั่นใจด้วยปัญญาที่รู้เข้าใจความจริงชัดเจน แล้วมีเจตนาที่ดี มีความมั่นหมายที่สร้างสรรค์ ในการนำเอาสิ่งต่าง ๆ นี้ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ ถ้าอย่างนี้แล้ว เราจะรับอะไรต่ออะไร เราก็ไม่เสียหาย เพราะเรามีหลักของเรา โยมรู้เข้าใจชัดเจนอย่างนี้แล้ว ก็จะได้ปฏิบัติการในเรื่องวันมาฆบูชานี้ได้อย่างมั่นใจตนเอง เกิดสมาธิใจไม่ฟุ้งซ่านวอกแวก

เรื่องวันวาเลนไทน์ก็เป็นอย่างที่ว่ามานี่แหละ แต่ทีนี้ที่ว่าการที่มีคนมานิยมกันมากเวลานี้ในเมืองไทยเราน่ะ เป็นเพราะอะไร?

เรื่องนี้ก็ไม่ยาก ก็ได้มีหลายท่านได้วิจารณ์กันไปแล้ว แม้แต่มองกันง่าย ๆ ก็เห็นชัดว่า มันเป็นเพราะเรื่องกระแสโลกาภิวัตน์

แล้วโลกาภิวัตน์เรื่องนี้ที่สำคัญก็มีสองด้าน คือ กระแสโลกาภิวัตน์ด้านบริโภคนิยม อย่างที่มองเห็นกันอยู่ทั่วไปแล้วในสังคมของเราปัจจุบันนี้ มีการเสพบริโภควุ่นวายอยู่กับเรื่องนี้มาก การนิยมวาเลนไทน์ก็เข้าแนวนี้ แล้วก็สอง คือ กระแสด้านโลกาภิวัตน์ด้านธุรกิจ โดยเฉพาะด้านธุรกิจนี้ก็มาเอาด้านบริโภคนิยมนี้แหละ ใช้เป็นเครื่องมือก็ได้ ก็โดยการไปกระตุ้นความนิยมเสพบริโภคของผู้คน ให้มาสนองความต้องการทางธุรกิจ

วันวาเลนไทน์ก็เข้ากับกระแสนี้ด้วย แล้วยิ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มองในด้านความรักแบบหนุ่มสาวอะไรนี่ มันก็เป็นเรื่องที่สนองความต้องการตามธรรมชาติของคนโดยทั่วไป แต่ในแง่ ของวัฒนธรรมก็คือว่าเรายอมรับความจริงอย่างนี้ แต่ว่าเราจะทำอย่างไรให้มันประณีตดีขึ้น แล้วก็ให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์ เพื่อให้ชีวิตดีงามขึ้นสังคมดีงามขึ้น อันนี้ก็เป็นข้อที่ควรคิดพิจารณา

การที่เราจะปฏิบัติในเรื่องอะไร อย่างเช่นว่าเรื่องวันวาเลนไทน์ได้ถูก เราต้องมีความรู้ความเข้าใจ ทีนี้สังคมไทยเวลานี้ พูดได้ว่าเกลื่อนไปด้วยการแสดงความเห็น แต่ไม่ค่อยมีการหาความรู้ เพราะฉะนั้นเราก็สับสนวุ่นวาย เรื่องนี้เราจะต้องย้ำกัน แล้วย้ำมาเรื่อย ก็คือว่า การแสดงความคิดเห็นจะต้องมากับการแสวงหาความรู้ สังคมไทยเราขาดมานานแล้วด้วย เรื่องการขวนขวายใฝ่รู้หาความรู้กัน ซึ่งเราถือว่าเป็นวัฒนธรรมทางปัญญา หรือจะเรียกว่าวัฒนธรรมแห่งการแสวงหาปัญญาก็ได้ จะต้องพัฒนาคนของเราให้หนักแน่นในเรื่องนี้ เอาจริงเอาจังกันให้มาก ผู้ใหญ่ก็เน้นแสดงความเห็นไปหาความรู้ หรือตั้งอยู่บนฐานของความรู้

พร้อมกันนั้น เด็กถ้ายังไม่พร้อมจะแสดงความเห็น กำลังอยู่ระหว่างหัดแสดงความเห็น ยังเล่นมากอยู่ เราก็พูดกันว่า ให้การเล่นนั้นเป็นการเล่นอย่างได้ความรู้ หรือ เล่นมาด้วยกันกับรู้เล่นอย่างมีความรู้ เล่นอย่างได้ความรู้ แล้วก็ได้ความรู้พร้อมไปกับการเล่น ได้ทั้งเล่นได้ทั้งรู้ อย่างนี้ล่ะก็จะเป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น

Credit : www.dhamma4u.com
:idea: :idea:
ไฟล์แนบ
๑๗ ม.ค.๖๗ (55).jpg
๑๗ ม.ค.๖๗ (55).jpg (132.99 KiB) เข้าดูแล้ว 1341 ครั้ง
๑๗ ม.ค.๖๗ (54).jpg
วัดกู่อ้ายหลาน เป็นวัดขนาดเล็กตั้งอยู่ทางด้านเหนือของเวียงกุมกาม ชื่อวัดเรียกตามเจ้าของที่ที่ชื่ออ้ายหลาน โบราณาสถานประกอบด้วยวิหารที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เจดีย์ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แท่นบูชา กำแพงแก้ว และซุ้มประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก
วัดกู่อ้ายหลาน เป็นวัดขนาดเล็กตั้งอยู่ทางด้านเหนือของเวียงกุมกาม ชื่อวัดเรียกตามเจ้าของที่ที่ชื่ออ้ายหลาน โบราณาสถานประกอบด้วยวิหารที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เจดีย์ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แท่นบูชา กำแพงแก้ว และซุ้มประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก
๑๗ ม.ค.๖๗ (57).jpg
๑๗ ม.ค.๖๗ (58).jpg
วัดกุมกาม ตั้งอยู่ภายในเวียงกุมกามด้านทิศเหนือของวัดกานโถม สิ่งก่อสร้างภายในวัดประกอบด้วยวิหารพร้อมห้องมูลคันธกุฏี และเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม <br /><br />บริเวณที่เรียกว่าวัดกุมกามนี่ละครับ..ที่ผมสุดจะเศร้ามาก ๆ เพราะเขตวัดคือติดกำแพงไม่มีที่ว่างเลย กลายเป็นรั้วบ้านคนไปหมด จำได้แต่ก่อนสมัยเด็กผมมาวิ่งเล่นกับเพื่อน ๆ มันกว้างขวางออก เดี๋ยวนี้กรอบสี่เหลี่ยมติดฐานเจดีย์เลยละครับ
วัดกุมกาม ตั้งอยู่ภายในเวียงกุมกามด้านทิศเหนือของวัดกานโถม สิ่งก่อสร้างภายในวัดประกอบด้วยวิหารพร้อมห้องมูลคันธกุฏี และเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม

บริเวณที่เรียกว่าวัดกุมกามนี่ละครับ..ที่ผมสุดจะเศร้ามาก ๆ เพราะเขตวัดคือติดกำแพงไม่มีที่ว่างเลย กลายเป็นรั้วบ้านคนไปหมด จำได้แต่ก่อนสมัยเด็กผมมาวิ่งเล่นกับเพื่อน ๆ มันกว้างขวางออก เดี๋ยวนี้กรอบสี่เหลี่ยมติดฐานเจดีย์เลยละครับ
DSC_0123.JPG
DSC_0123.JPG (133.36 KiB) เข้าดูแล้ว 1341 ครั้ง
DSC_0124.JPG
DSC_0125.JPG
DSC_0125.JPG (111.01 KiB) เข้าดูแล้ว 1341 ครั้ง
DSC_0126.JPG
DSC_0126.JPG (134.57 KiB) เข้าดูแล้ว 1341 ครั้ง
DSC_0127.JPG
DSC_0127.JPG (114.33 KiB) เข้าดูแล้ว 1341 ครั้ง
DSC_0128.JPG
DSC_0128.JPG (85.02 KiB) เข้าดูแล้ว 1341 ครั้ง
DSC_0129.JPG
DSC_0130.JPG
DSC_0131.JPG
DSC_0133.JPG
DSC_0134.JPG
DSC_0135.JPG
หมดอารมณ์ หมดใจที่จะแวะในแต่ละที่เพราะเหมือน ๆ สถานที่จะถูกบุกรุกแต่นับว่ายังโชคดีที่ก่อนที่จะกลับบังเอิญไปเห็นวัดเก่าที่เคยมานั่งอ่านหนังสือก่อนสอบ กับเพื่อน ๆ ฤดูกาลก่อนสอบจะมีต้นทองกวาวออกดอกสวยงามให้เรามองเห็นสีส้มสวยสดทั้งต้น ช่วงที่ปั่นผ่านไม่เห็นต้นทองกวาวสักต้นเลยครับ เราเข้าไปชมรู้สึกใจชื้นขึ้น โบราณสถานยังคงรักษาไว้ สวยงามสมค่าสมราคากับคำว่า &quot;เวียงโบราณ&quot; ติดตามต่อไปนะครับ โชคดีมีความสุขครับ
หมดอารมณ์ หมดใจที่จะแวะในแต่ละที่เพราะเหมือน ๆ สถานที่จะถูกบุกรุกแต่นับว่ายังโชคดีที่ก่อนที่จะกลับบังเอิญไปเห็นวัดเก่าที่เคยมานั่งอ่านหนังสือก่อนสอบ กับเพื่อน ๆ ฤดูกาลก่อนสอบจะมีต้นทองกวาวออกดอกสวยงามให้เรามองเห็นสีส้มสวยสดทั้งต้น ช่วงที่ปั่นผ่านไม่เห็นต้นทองกวาวสักต้นเลยครับ เราเข้าไปชมรู้สึกใจชื้นขึ้น โบราณสถานยังคงรักษาไว้ สวยงามสมค่าสมราคากับคำว่า "เวียงโบราณ" ติดตามต่อไปนะครับ โชคดีมีความสุขครับ
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:idea: :idea: กว่าจะเป็น "สตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 80"

"สตรอว์เบอร์รี" ผลไม้ที่มีรสชาติอร่อยเป็นที่รู้จักกันมาหลายร้อยปี ในประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกสตรอว์เบอร์รีส่วนใหญ่อยู่ทางภาคเหนือ เช่น บางอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย และในพื้นที่บางจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เลย และเพชรบูรณ์ และมีแนวโน้มที่สามารถปลูกได้พอสมควรในพื้นที่สูงของภาคกลาง เช่น แถบจังหวัดกาญจนบุรี และเป็นที่ทราบกันดีว่า การที่สตรอว์เบอร์รีได้รับความนิยมอย่างสูง ในฐานะผลไม้ที่มีผลการวิจัยรองรับว่ามีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้ จนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจนั้น มีจุดเริ่มมาจาก "โครงการหลวง" นั่นเอง
:idea: :idea:

:) :D สวัสดียามสาย ๆ ใกล้เที่ยง ปีนี้เทศกาลสตอรว์เบอรี่เหมือนจะไม่คึกคัก(สำหรับผมนะ) แต่จริง ๆ แล้วคงสนุกตลอดเวลาแน่(ส่วนผมสถิตย์อยู่ในใจ) เสียที่ปีนี้ไม่ได้ไปแค่นั้นเอง ผมชอบที่จะทานสตรอว์เบอรี่ครับ อร่อย เพลิน แล้วเคยปลูกมาแล้วด้วย สมัยที่ยังไม่โด่งดังให้ชาวเขาปลูกที่ บ.เมืองงาม อ.ฝาง(ปัจจุบัน อ.แม่อาย) ผลออกมาเท่านิ้วก้อย ๕๕๕ แต่หวานอยู่ มีเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟังครับ :) :D
ไฟล์แนบ
กำเนิดโครงการหลวง<br /><br />ม.จ.ภีศเดช รัชนี อดีตประธานมูลนิธิโครงการหลวง ทรงเล่าประทานว่า &quot;จุดกำเนิดโครงการหลวงนั้น เริ่มจากที่บนดอย เราไม่รู้ว่าจะสามารถปลูกอะไรได้นอกจากฝิ่น เราทดลองหลายอย่าง และด้วยพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงได้นำผัก ผลไม้ต่าง ๆ มากมาย เช่น สตรอว์เบอร์รี ลิ้นจี่ ไม้ผลต่าง ๆ และผักที่น่าสนใจ มากมายเกือบ 100 ชนิด มาทดลองปลูก…&quot;<br /><br />&quot;พืชที่เราให้เขาปลูกทำรายได้ให้เขามาก จนเลิกปลูกฝิ่นไปเอง โดยมากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงทราบปัญหาต่าง ๆ เยอะ มีคนหลายระดับไปเข้าเฝ้าใต้ฝ่าละอองทุลีพระบาท อย่างชาวบ้านที่ทรงเสด็จฯ ไปเยี่ยมเยียน คนใหญ่คนโต หรือต่างชาติ พระองค์ทรงทราบเรื่องและทรงแก้ได้เวลามีปัญหา และทรงแนะวิธีแก้ไข เช่น สตรอว์เบอร์รีป่า ลูกเล็กนิดเดียว แต่มีรสชาติอร่อยมาก หอม หวาน แต่เวลาเก็บลูกที่อยู่กับดิน กว่าจะได้สักกิโลฯ ก็เหนื่อยแย่ พระองค์ท่านทรงมีรับสั่งให้เอาสตรอว์เบอร์รีปลูกในกระบะ เพื่อจะได้เก็บผลผลิตได้ง่าย พระองค์มีพระปรีชามาก&quot;<br /><br />&quot;โครงการหลวงได้เริ่มทดลองหาพันธุ์สตรอว์เบอร์รีที่ปลอดโรคเพื่อส่งเสริมเกษตรกร โดยผลิตต้นแม่พันธุ์และต้นไหลปลอดโรคด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องทดลองทุกปี มีการคัดและผสมพันธุ์จนได้พันธุ์พระราชทานเบอร์ต่าง ๆ สำหรับแหล่งผลิตสตรอว์เบอร์รีแหล่งใหญ่ที่บ้านบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มแรกเกษตรกรใช้พันธุ์ที่ผลิตต้นไหลเอง จึงไม่ปลอดโรคเกิดปัญหาเน่าตาย ผลผลิตตกต่ำ เกษตรกรจึงขอให้โครงการหลวงเข้าไปช่วยเหลือ และได้เริ่มใช้ต้นไหลปลอดโรคที่ได้มาจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ รวมทั้งจำหน่ายผลผลิตผ่านโครงการหลวง&quot; (วารสารสมุนไพรเพื่อสุขภาพ, ธันวาคม, 2006)
กำเนิดโครงการหลวง

ม.จ.ภีศเดช รัชนี อดีตประธานมูลนิธิโครงการหลวง ทรงเล่าประทานว่า "จุดกำเนิดโครงการหลวงนั้น เริ่มจากที่บนดอย เราไม่รู้ว่าจะสามารถปลูกอะไรได้นอกจากฝิ่น เราทดลองหลายอย่าง และด้วยพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงได้นำผัก ผลไม้ต่าง ๆ มากมาย เช่น สตรอว์เบอร์รี ลิ้นจี่ ไม้ผลต่าง ๆ และผักที่น่าสนใจ มากมายเกือบ 100 ชนิด มาทดลองปลูก…"

"พืชที่เราให้เขาปลูกทำรายได้ให้เขามาก จนเลิกปลูกฝิ่นไปเอง โดยมากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงทราบปัญหาต่าง ๆ เยอะ มีคนหลายระดับไปเข้าเฝ้าใต้ฝ่าละอองทุลีพระบาท อย่างชาวบ้านที่ทรงเสด็จฯ ไปเยี่ยมเยียน คนใหญ่คนโต หรือต่างชาติ พระองค์ทรงทราบเรื่องและทรงแก้ได้เวลามีปัญหา และทรงแนะวิธีแก้ไข เช่น สตรอว์เบอร์รีป่า ลูกเล็กนิดเดียว แต่มีรสชาติอร่อยมาก หอม หวาน แต่เวลาเก็บลูกที่อยู่กับดิน กว่าจะได้สักกิโลฯ ก็เหนื่อยแย่ พระองค์ท่านทรงมีรับสั่งให้เอาสตรอว์เบอร์รีปลูกในกระบะ เพื่อจะได้เก็บผลผลิตได้ง่าย พระองค์มีพระปรีชามาก"

"โครงการหลวงได้เริ่มทดลองหาพันธุ์สตรอว์เบอร์รีที่ปลอดโรคเพื่อส่งเสริมเกษตรกร โดยผลิตต้นแม่พันธุ์และต้นไหลปลอดโรคด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องทดลองทุกปี มีการคัดและผสมพันธุ์จนได้พันธุ์พระราชทานเบอร์ต่าง ๆ สำหรับแหล่งผลิตสตรอว์เบอร์รีแหล่งใหญ่ที่บ้านบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มแรกเกษตรกรใช้พันธุ์ที่ผลิตต้นไหลเอง จึงไม่ปลอดโรคเกิดปัญหาเน่าตาย ผลผลิตตกต่ำ เกษตรกรจึงขอให้โครงการหลวงเข้าไปช่วยเหลือ และได้เริ่มใช้ต้นไหลปลอดโรคที่ได้มาจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ รวมทั้งจำหน่ายผลผลิตผ่านโครงการหลวง" (วารสารสมุนไพรเพื่อสุขภาพ, ธันวาคม, 2006)
654597_0.jpg (130.09 KiB) เข้าดูแล้ว 1220 ครั้ง
กำเนิดโครงการวิจัยสตรอว์เบอร์รี<br /><br />ทางด้าน ดร.ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยสตรอว์เบอร์รีโครงการหลวง และผู้อำนวยการสถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เล่าย้อนให้ฟังถึงโครงการวิจัยสตรอว์เบอร์รีว่า “ในปี พ.ศ.2512 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงก่อตั้งโครงการหลวงขึ้น เพื่อหยุดยั้งการปลูกฝิ่นของชาวไทยภูเขา โดยหาพืชอื่นให้ปลูกทดแทน โครงการวิจัยสตรอว์เบอร์รีจึงเป็นอีกหนึ่งโครงการที่เริ่มดำเนินการ ในระหว่างปี พ.ศ.2517-2522 โดยได้รับทุนวิจัยจากทางฝ่ายงานวิจัยกระทรวงเกษตร ประเทศสหรัฐอเมริกา (Agricultural Research ของ USDA) ได้มีการนำสตรอว์เบอร์รีพันธุ์ต่าง ๆ เข้ามามากมาย เพื่อทดลองปลูกตามสถานีทดลองเกษตรที่มีระดับความสูงที่ต่างกัน รวมทั้งศึกษาเรื่องของโรค แมลง การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ และตลอดจนทางด้านการตลาดและส่งเสริมสู่เกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย&quot;
กำเนิดโครงการวิจัยสตรอว์เบอร์รี

ทางด้าน ดร.ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยสตรอว์เบอร์รีโครงการหลวง และผู้อำนวยการสถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เล่าย้อนให้ฟังถึงโครงการวิจัยสตรอว์เบอร์รีว่า “ในปี พ.ศ.2512 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงก่อตั้งโครงการหลวงขึ้น เพื่อหยุดยั้งการปลูกฝิ่นของชาวไทยภูเขา โดยหาพืชอื่นให้ปลูกทดแทน โครงการวิจัยสตรอว์เบอร์รีจึงเป็นอีกหนึ่งโครงการที่เริ่มดำเนินการ ในระหว่างปี พ.ศ.2517-2522 โดยได้รับทุนวิจัยจากทางฝ่ายงานวิจัยกระทรวงเกษตร ประเทศสหรัฐอเมริกา (Agricultural Research ของ USDA) ได้มีการนำสตรอว์เบอร์รีพันธุ์ต่าง ๆ เข้ามามากมาย เพื่อทดลองปลูกตามสถานีทดลองเกษตรที่มีระดับความสูงที่ต่างกัน รวมทั้งศึกษาเรื่องของโรค แมลง การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ และตลอดจนทางด้านการตลาดและส่งเสริมสู่เกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย"
654598_0.jpg (37.6 KiB) เข้าดูแล้ว 1220 ครั้ง
654600_0.jpg
654600_0.jpg (20.59 KiB) เข้าดูแล้ว 1220 ครั้ง
หลากสายพันธุ์พระราชทาน<br /><br />ในด้านพันธุ์ต่าง ๆ ของสตรอว์เบอร์รีที่มีปลูกกันในประเทศไทยนั้น ดร.ณรงค์ชัย เปิดเผยว่า ได้มีการนำพันธุ์สตรอว์เบอร์รีจากต่างประเทศที่นำเข้ามาทดลองปลูกจากปี พ.ศ.2515 ปรากฏว่าพันธุ์พระราชทาน 13 (Cambridge Favorite) พันธุ์พระราชทาน 16 (Tioga) พันธุ์พระราชทาน 20 (Sequoia) สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายได้มากกว่าพันธุ์อื่น ๆ<br />    <br />&quot;โดยเฉพาะพันธุ์พระราชทาน 16 สามารถปรับตัวได้ดีทั้งพื้นที่ปลูกบนภูเขาสูงระดับ 1,200 เมตร และพื้นที่ราบของทั้ง 2 จังหวัด เกษตรกรขณะนั้นเกือบทั้งหมดใช้พันธุ์นี้ปลูกเป็นการค้ากันทั่วไป ต่อมา ปี 2529 ได้มีการนำพันธุ์ Nyoho Toyonoka และ Aibrry จากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาทดลองปลูก จนกระทั่งมีพันธุ์ Toyonoka หรือพันธุ์พระราชทาน 70 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.2540 ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 70 พรรษา และพันธุ์ B 5 หรือพันธุ์พระราชทาน 50 (พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นปีฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี) และพันธุ์พระราชทาน Tochiotome หรือ 72 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.2542 ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 72 พรรษา ปัจจุบัน พันธุ์สตรอว์เบอร์รีที่นับว่าปลูกเป็นการค้าส่วนใหญ่ของประเทศ ได้แก่ พันธุ์พระราชทาน 16, 50, 70, 72 และ 80&quot;<br />    <br />&quot;แต่ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือพันธุ์พระราชทาน 80 และสตรอว์เบอร์รีดอย เนื่องจากเป็นสตรอว์เบอร์รีสายพันธุ์ใหม่ที่ทีมวิจัยเพิ่งประสบผลสำเร็จ เมื่อปี 2550 หลังจากใช้เวลาทำการวิจัยมายาวนานถึง 6 ปีเต็ม จุดเด่นของมันอยู่ที่ลำต้นใหญ่ แข็งแรง ให้ผลดก มีขนาดใหญ่ ส่วนที่มาของชื่อพันธุ์นี้ก็เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา <br /><br />สตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 80 เป็นพันธุ์ที่ต้านทานโรคและแมลง รสชาติหวานและมีกลิ่นหอม ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไทยภูเขาปลูกในพื้นที่โครงการหลวง โดยใช้สารชีวภาพและสารสมุนไพรเข้ามาช่วยในการผลิตสตรอว์เบอร์รี เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจว่า สายพันธุ์สตรอว์เบอร์รีที่ส่งเสริมในปัจจุบันมีความสดและปลอดภัยจากสารเคมีถึงวันนี้&quot; ดร.ณรงค์ชัย กล่าว<br />    <br />จึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ผลไม้ที่มีคุณอนันต์อย่าง &quot;สตรอว์เบอร์รี&quot; ได้กลายเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย จนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรปีละจำนวนมหาศาลนั้น ล้วนเนื่องด้วยพระบารมีล้นเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นั่นเอง<br /><br />ขอบคุณเรื่องราวจาก โครงการหลวง และ ทิวสน ชลนรา<br /><br />Cr.มูลนิธิปิดทองหลังพระ
หลากสายพันธุ์พระราชทาน

ในด้านพันธุ์ต่าง ๆ ของสตรอว์เบอร์รีที่มีปลูกกันในประเทศไทยนั้น ดร.ณรงค์ชัย เปิดเผยว่า ได้มีการนำพันธุ์สตรอว์เบอร์รีจากต่างประเทศที่นำเข้ามาทดลองปลูกจากปี พ.ศ.2515 ปรากฏว่าพันธุ์พระราชทาน 13 (Cambridge Favorite) พันธุ์พระราชทาน 16 (Tioga) พันธุ์พระราชทาน 20 (Sequoia) สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายได้มากกว่าพันธุ์อื่น ๆ

"โดยเฉพาะพันธุ์พระราชทาน 16 สามารถปรับตัวได้ดีทั้งพื้นที่ปลูกบนภูเขาสูงระดับ 1,200 เมตร และพื้นที่ราบของทั้ง 2 จังหวัด เกษตรกรขณะนั้นเกือบทั้งหมดใช้พันธุ์นี้ปลูกเป็นการค้ากันทั่วไป ต่อมา ปี 2529 ได้มีการนำพันธุ์ Nyoho Toyonoka และ Aibrry จากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาทดลองปลูก จนกระทั่งมีพันธุ์ Toyonoka หรือพันธุ์พระราชทาน 70 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.2540 ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 70 พรรษา และพันธุ์ B 5 หรือพันธุ์พระราชทาน 50 (พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นปีฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี) และพันธุ์พระราชทาน Tochiotome หรือ 72 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.2542 ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 72 พรรษา ปัจจุบัน พันธุ์สตรอว์เบอร์รีที่นับว่าปลูกเป็นการค้าส่วนใหญ่ของประเทศ ได้แก่ พันธุ์พระราชทาน 16, 50, 70, 72 และ 80"

"แต่ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือพันธุ์พระราชทาน 80 และสตรอว์เบอร์รีดอย เนื่องจากเป็นสตรอว์เบอร์รีสายพันธุ์ใหม่ที่ทีมวิจัยเพิ่งประสบผลสำเร็จ เมื่อปี 2550 หลังจากใช้เวลาทำการวิจัยมายาวนานถึง 6 ปีเต็ม จุดเด่นของมันอยู่ที่ลำต้นใหญ่ แข็งแรง ให้ผลดก มีขนาดใหญ่ ส่วนที่มาของชื่อพันธุ์นี้ก็เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา

สตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 80 เป็นพันธุ์ที่ต้านทานโรคและแมลง รสชาติหวานและมีกลิ่นหอม ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไทยภูเขาปลูกในพื้นที่โครงการหลวง โดยใช้สารชีวภาพและสารสมุนไพรเข้ามาช่วยในการผลิตสตรอว์เบอร์รี เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจว่า สายพันธุ์สตรอว์เบอร์รีที่ส่งเสริมในปัจจุบันมีความสดและปลอดภัยจากสารเคมีถึงวันนี้" ดร.ณรงค์ชัย กล่าว

จึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ผลไม้ที่มีคุณอนันต์อย่าง "สตรอว์เบอร์รี" ได้กลายเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย จนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรปีละจำนวนมหาศาลนั้น ล้วนเนื่องด้วยพระบารมีล้นเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นั่นเอง

ขอบคุณเรื่องราวจาก โครงการหลวง และ ทิวสน ชลนรา

Cr.มูลนิธิปิดทองหลังพระ
654602_0.jpg (22.4 KiB) เข้าดูแล้ว 1220 ครั้ง
ไปเที่ยวชมโบราณสถานกันต่อครับ พาไปชมวัดปู่เบี้ย
ไปเที่ยวชมโบราณสถานกันต่อครับ พาไปชมวัดปู่เบี้ย
DSC_0137.JPG (93.46 KiB) เข้าดูแล้ว 1220 ครั้ง
DSC_0138.JPG
DSC_0139.JPG
DSC_0139.JPG (143.77 KiB) เข้าดูแล้ว 1220 ครั้ง
DSC_0140.JPG
DSC_0140.JPG (146.47 KiB) เข้าดูแล้ว 1220 ครั้ง
DSC_0141.JPG
DSC_0142.JPG
วัดปู่เปี้ย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี<br /><br /> วัดปู่เปี้ย เป็นโบราณสถานร้างตั้งอยู่ในเวียงกุมกาม ในตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เดิมเป็นสวนลำไยของบิดานางจันดี ต่อมากรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งศึกษาทางโบราณคดีเมื่อ พ.ศ. 2529 ทำให้พบกลุ่มโบราณสถาน ประกอบด้วย วิหารยกพื้นสูง เจดีย์ อุโบสถ สถูปแปดเหลี่ยม และแท่นบูชา รูปแบบสถาปัตยกรรมมีลักษณะมีลักษณะศิลปะสุโขทัยและแบบล้านนารวมกัน<br /><br />วัดปู่เปี้ยได้รับประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนพิเศษ 17ง วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2542 <br /><br />โบราณสถานและโบราณวัตถุ<br /><br />วิหารคงเหลือเฉพาะส่วนฐานปัทม์ในผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ห้องด้านหลังมีฐานชุกชีเต็มพื้นที่ห้อง ห้องประดิษฐานพระประธานเป็นคูหา (ห้องคันธกุฎี) จากการขุดแต่งวิหารพบว่า มีการก่อสร้างทับซ้อนกัน 2 สมัย โดยในสมัยหลังได้มีการขยายยี่ห้อเพิ่มเสาคู่นอก เจดีย์ ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณด้านหลังวิหาร มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มุมฐานประทักษิณทางทิศตะวันออกเฉียงใต้มีบันไดทางขึ้น 1 แห่ง<br /><br />อุโบสถตั้งบนฐานเขียงที่มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีเสมาหินทรายกลมสีแดงและสีเทา ผนังกำแพงอุโบสถมีช่องปรุรูปกากบาท ปัจจุบันคงเหลือเฉพาะส่วนปัทม์ ในผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกเก็จด้านหน้า 2 ตอน ด้านหลัง 1 ตอน ห้องด้านหลังเป็นฐานชุกชีประดิษฐานพระประธาน ไม่มีเสารองรับโครงสร้างหลังคาภายในอาคาร โดยใช้เทคนิคแบบผนังรับน้ำหนักแทน บริเวณฐานหน้ากระดานทองไม้ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นรูปเมฆ หรือลายกรอบช่องกระจกโดยรอบ<br /><br />สถูปแปดเหลี่ยมมีกำแพงแก้วล้อมรอบ คงเหลือเฉพาะส่วนฐานปัทม์ที่มีลักษณะเป็นบัวคว่ำ เหนือขึ้นไปเจาะช่องปรุรูปกากบาท สันนิษฐานว่าเป็นสถูปแปดเหลี่ยมที่ยอดเป็นองค์ระฆัง ปล้องไฉน และฉัตร และคงเป็นสถูปบรรจุอัฐิของบุคคลสำคัญ เพราะพบหม้อดินเผาเนื้อไม่แกร่ง และเศษกระดูกข้อต่อส่วนมือหรือเท้าของมนุษย์ ด้านหน้าของสถูปเป็นที่ตั้งของแท่นบูชาแบบฐานปัทม์ท้องไม้ลูกแก้วอกไก่<br /><br />โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ ชิ้นส่วนพระพุทธรูปสำริด พระพุทธรูปแก้ว พระพุทธรูปหินทราย พระพุทธรูปปูนปั้น พระพุทธรูปขนาดเล็กเนื้อตะกั่วด้านหลังมีการจารึกคาถา พระพิมพ์ดินเผาประเภทพระผงและพระสิงห์สอง ภาชนะดินเผาที่ผลิตจากแหล่งเตาสันกำแพง เตาเวียงกาหลง และภาชนะดินเผาแบบหริภุญชัย และพบแผ่นอิฐมีลวดลาย แก้วหัวแหวนหินสี ลูกปัดหินสี ใบมีดเหล็ก และหอยเบี้ย เป็นต้น
วัดปู่เปี้ย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดปู่เปี้ย เป็นโบราณสถานร้างตั้งอยู่ในเวียงกุมกาม ในตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เดิมเป็นสวนลำไยของบิดานางจันดี ต่อมากรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งศึกษาทางโบราณคดีเมื่อ พ.ศ. 2529 ทำให้พบกลุ่มโบราณสถาน ประกอบด้วย วิหารยกพื้นสูง เจดีย์ อุโบสถ สถูปแปดเหลี่ยม และแท่นบูชา รูปแบบสถาปัตยกรรมมีลักษณะมีลักษณะศิลปะสุโขทัยและแบบล้านนารวมกัน

วัดปู่เปี้ยได้รับประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนพิเศษ 17ง วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2542

โบราณสถานและโบราณวัตถุ

วิหารคงเหลือเฉพาะส่วนฐานปัทม์ในผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ห้องด้านหลังมีฐานชุกชีเต็มพื้นที่ห้อง ห้องประดิษฐานพระประธานเป็นคูหา (ห้องคันธกุฎี) จากการขุดแต่งวิหารพบว่า มีการก่อสร้างทับซ้อนกัน 2 สมัย โดยในสมัยหลังได้มีการขยายยี่ห้อเพิ่มเสาคู่นอก เจดีย์ ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณด้านหลังวิหาร มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มุมฐานประทักษิณทางทิศตะวันออกเฉียงใต้มีบันไดทางขึ้น 1 แห่ง

อุโบสถตั้งบนฐานเขียงที่มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีเสมาหินทรายกลมสีแดงและสีเทา ผนังกำแพงอุโบสถมีช่องปรุรูปกากบาท ปัจจุบันคงเหลือเฉพาะส่วนปัทม์ ในผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกเก็จด้านหน้า 2 ตอน ด้านหลัง 1 ตอน ห้องด้านหลังเป็นฐานชุกชีประดิษฐานพระประธาน ไม่มีเสารองรับโครงสร้างหลังคาภายในอาคาร โดยใช้เทคนิคแบบผนังรับน้ำหนักแทน บริเวณฐานหน้ากระดานทองไม้ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นรูปเมฆ หรือลายกรอบช่องกระจกโดยรอบ

สถูปแปดเหลี่ยมมีกำแพงแก้วล้อมรอบ คงเหลือเฉพาะส่วนฐานปัทม์ที่มีลักษณะเป็นบัวคว่ำ เหนือขึ้นไปเจาะช่องปรุรูปกากบาท สันนิษฐานว่าเป็นสถูปแปดเหลี่ยมที่ยอดเป็นองค์ระฆัง ปล้องไฉน และฉัตร และคงเป็นสถูปบรรจุอัฐิของบุคคลสำคัญ เพราะพบหม้อดินเผาเนื้อไม่แกร่ง และเศษกระดูกข้อต่อส่วนมือหรือเท้าของมนุษย์ ด้านหน้าของสถูปเป็นที่ตั้งของแท่นบูชาแบบฐานปัทม์ท้องไม้ลูกแก้วอกไก่

โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ ชิ้นส่วนพระพุทธรูปสำริด พระพุทธรูปแก้ว พระพุทธรูปหินทราย พระพุทธรูปปูนปั้น พระพุทธรูปขนาดเล็กเนื้อตะกั่วด้านหลังมีการจารึกคาถา พระพิมพ์ดินเผาประเภทพระผงและพระสิงห์สอง ภาชนะดินเผาที่ผลิตจากแหล่งเตาสันกำแพง เตาเวียงกาหลง และภาชนะดินเผาแบบหริภุญชัย และพบแผ่นอิฐมีลวดลาย แก้วหัวแหวนหินสี ลูกปัดหินสี ใบมีดเหล็ก และหอยเบี้ย เป็นต้น
DSC_0143.JPG (119.62 KiB) เข้าดูแล้ว 1220 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:) :D สวัสดีครับท่านที่เคารพ ก่อนอื่นขอเรียนพี่น้องภาคเหนือนะครับ วันนี้วันสุดท้ายแล้วที่พระบรมสารีริกธาตุและสารีริกธาตุของอัครสาวก ที่อัญเชิญมาจากอินเดีย จะตั้งให้ทุกท่านได้บูชากราบไหว้ "เป็นครั้งหนึ่งในชีวิต" ใครที่ยังลังเลหรือลืมหรือ...ผมแจ้งเตือนมาแล้วนะครับ ใครพลาดงานนี้เสียหายหลายแสน ขอเรียนด้วยความสัตย์จริง ครั้งแรกผมคิดนะครับว่า "งานนี้คนแน่นแน่ ๆ " ผมคงไม่ถนัดที่จะไป จิตจึงคิดจะกราบรำลึกและสวดมนต์สรรเสริญพระองค์ท่านที่บ้าน ตกดึกคืนที่ ๔ มี.ค.๖๗ ช่วงตีสาม ผมเห็นท่านพระอาจารย์ภิกษุณี นันทญาณี (รุ้งเดือน สุวรรณ) ที่ผมเคารพศรัทธามาเข้าฝัน พร้อมชี้ไปที่พระภิกษุรูปหนึ่ง รูปสูงใหญ่ สวยสง่ามาก ๆ (มวยผม?)พร้อมบอกให้ผมทราบว่า "นั่น ๆ พระพุทธเจ้า ไปกราบซะ"

เมื่อวันที่ ๖ มี.ค.๖๗ ผมและคุณนายพร้อมหลานรัก(ช่วงบ่าย) จึงได้พากันไปกราบพระบรมสารีริกธาตุ ปรากฏทุกอย่างสดวกสบาย ไม่แน่นขนัดแออัดยัดเยียด เหมือนที่ใจผมคิดครั้งแรกเลยยยสักนิด :o :o อากาศก็ไม่ร้อนอบอ้าว มีลมเย็นพัดสบาย แปลกใจครับเกิดปีติ จิตสงบเป็นสุขสุด ๆ เราเตรียมดอกไม้ธูปเทียนไปจากบ้าน เมื่อขึ้นไป ณ จุดที่เขาจัดไว้วางดอกไม้ธูปเทียนและกราบสักการะเรียบร้อย เราก็ลงมาหาที่นั่งทำภาวนาเป็นพุทธบูชา ๓๐ นาที จากนั้นก็ไปชมนิทัศการพร้อมรับของชำร่วยพระราชทาน เกือบ ๕ โมงเย็นกลับบ้าน เอาบุญมาฝากทุกท่านทุกคนครับ สาธุ สาธุ สาธุ
:) :D



:D :D ชาวเชียงใหม่สักการะพระบรมสารีริกธาตุวันที่ 2 เนืองแน่น :) :D
ไฟล์แนบ
661038_0.jpg
661038_0.jpg (147.27 KiB) เข้าดูแล้ว 1099 ครั้ง
” ดูก่อนอานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราได้แสดงไว้ และบัญญัติไว้ด้วยดี นั่นแหละจักเป็นพระศาสดาของพวกท่าน สืบแทนเราตถาคต เมื่อเราล่วงไปแล้ว”<br /><br />ครั้นแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสเป็นปัจฉิมโอวาทครั้งสุดท้ายว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราจักขอเตือนพวกท่านให้รู้ว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดมาในโลก มีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงทำหน้าที่อันเป็นประโยชน์แก่ตน และคนอื่น ให้สำเร็จบริบูรณ์ ด้วยความไม่ประมาทเถิด”<br /><br />หลัง จากนั้นไม่ได้ตรัสอะไรอีกเลย จนกระทั่งนิพพานในเวลาสุดท้ายของคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หรือ วันเพ็ญวิสาขะ ณ ภายใต้ต้นสาละทั้งคู่ที่ออกดอกบานสะพรั่งเป็นพุทธบูชานั่นเอง <br /><br />Cr.สายบุญ
” ดูก่อนอานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราได้แสดงไว้ และบัญญัติไว้ด้วยดี นั่นแหละจักเป็นพระศาสดาของพวกท่าน สืบแทนเราตถาคต เมื่อเราล่วงไปแล้ว”

ครั้นแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสเป็นปัจฉิมโอวาทครั้งสุดท้ายว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราจักขอเตือนพวกท่านให้รู้ว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดมาในโลก มีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงทำหน้าที่อันเป็นประโยชน์แก่ตน และคนอื่น ให้สำเร็จบริบูรณ์ ด้วยความไม่ประมาทเถิด”

หลัง จากนั้นไม่ได้ตรัสอะไรอีกเลย จนกระทั่งนิพพานในเวลาสุดท้ายของคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หรือ วันเพ็ญวิสาขะ ณ ภายใต้ต้นสาละทั้งคู่ที่ออกดอกบานสะพรั่งเป็นพุทธบูชานั่นเอง

Cr.สายบุญ
661039_0.jpg (178.26 KiB) เข้าดูแล้ว 1099 ครั้ง
DSC_0145.JPG
DSC_0146.JPG
DSC_0148.JPG
DSC_0149.JPG
DSC_0150.JPG
DSC_0151.JPG
วัดอีก้าง (จากวิกิพีเดีย)<br /><br /> วัดอีก้าง หรือ วัดอีค่าง เป็นโบราณสถานร้างที่ได้รับการขุดแต่งแล้ว ตั้งอยู่ในเขตกึ่งกลางของเวียงกุมกาม ห่างจากวัดปู่เปี้ยออกมาทางทิศตะวันออกประมาณ 250 เมตร ห่างจากแม่น้ำปิงมาทางตะวันออกประมาณ 700 เมตร ในตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่<br /><br />ประวัติ<br /><br />คำว่า อีค่าง หรือ อีก้าง ในภาษาถิ่นเหนือ มีความหมายว่า ลิง หรือ ค่าง เพราะในอดีตเคยมีฝูงลิงหรือค่างอาศัยบริเวณโบราณสถานร้างแห่งนี้ ชาวบ้านจึงเรียกว่าวัดอีก้าง นอกจากนี้ยังปรากฏเรื่องเล่าสืบต่อกันว่า มีนางค่างตัวหนึ่งทำประโยชน์แก่พระราชามาก เมื่อนางค่างตายลงพระราชาจึงสร้างจึงสร้างวัดนี้ให้แก่นางค่างตัวนี้ วัดอีก้างได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนพิศษ 17ง วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2542<br /><br />โบราณสถานและโบราณวัตถุ<br /><br />โบราณสถานวัดอีก้าง ประกอบด้วยกำแพงแก้ว เจดีย์ วิหาร แท่นบูชารอบเจดีย์ 3 ด้าน และอาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า เจดีย์มีลักษณะเป็นเจดีย์เหลี่ยมผสมทรงกลม คือ เรือนธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมส่วนยอดเป็นเจดีย์ทรงกลม เป็นศิลปะล้านนา สภาพทั่วไปมีวิหารตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน หันหน้าไปทางทิศเหนือตั้งอยู่ต่ำกว่าระดับพื้นดินปัจจุบันประมาณ 2 เมตร<br /><br />วิหารโถงกว้าง 20 เมตร ยาว 13.50 เมตร[2] ปัจจุบันคงเหลือเฉพาะส่วนฐานปัทม์ในผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังวิหารมีห้องคูหา (คันธกุฎี) อยู่ด้านหลังห้องประธาน ซึ่งภายในห้องคูหามีแท่นฐานชุกชี 1 แท่น มีบันไดสู่ฐานประทักษิณทั้งด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ภายในมีฐานเสาวิหาร 8 คู่ พื้นวิหารปูด้วยอิฐ ฉาบปูนขาว มีบันไดทางขึ้น 3 ทาง บันไดหลักเป็นแบบบันไดนาค เนื่องจากได้พบชิ้นส่วนปูนปั้นรูปเกล็ดนาคบริเวณฐานวิหารด้านหน้า และอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งขนานกับแนวฐานวิหาร มีสภาพพังทลายคงเหลือเพียงเฉพาะส่วนฐาน สันนิษฐานว่าอาจเป็นอุโบสถ จากการศึกษาชั้นดินพบว่าอาคารหลังนี้มีการสร้างทับซ้อนกัน 2 สมัย โดยในสมัยแรกน่าจะสร้างขึ้นในคราวเดียวกับวิหารและเจดีย์ และสร้างซ้อนทับอาคารหลังแรกในสมัยต่อมา<br /><br />นอกจากนั้นยังพบโบราณวัตถุ ได้แก่ ชิ้นส่วนพระพุทธรูปสำริด พระพุทธรูปแก้ว ยอดสถูปจำลองทำจากแก้วส่วนยอดบุทองคำ พระพิมพ์ดินเผา แผ่นฉลุลายสำริด แผ่นโลหะสำริดสำหรับประดับปล้องไฉน และส่วนประกอบฉัตรสำริดปิดทอง ลายปูนปั้นที่มีรอยไหม้ดำและเศษสำริดไหม้ละลายติดแผ่นกระเบื้องดินขอ บริเวณฐานชุกชีประดิษฐานพระประธานและรอบฐานวิหาร ชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทราย เศียรพระพุทธรูปปูนปั้น เม็ดพระศกปูนปั้น และแผ่นอิฐที่มีรอยสลักรูปสัตว์คล้ายลิงอีกด้วย รวมถึงพบภาชนะดินเผาที่ผลิตจากแหล่งเตาสันกำแพง เตาเวียงกาหลง เตาวังเหนือ และเตาสุโขทัย รวมทั้งเครื่องถ้วยจีน และพบแผ่นอิฐจารึกอักษรฝักขามและอักษรธรรมล้านนา ที่มีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20–21 จำนวน 7 ชิ้น
วัดอีก้าง (จากวิกิพีเดีย)

วัดอีก้าง หรือ วัดอีค่าง เป็นโบราณสถานร้างที่ได้รับการขุดแต่งแล้ว ตั้งอยู่ในเขตกึ่งกลางของเวียงกุมกาม ห่างจากวัดปู่เปี้ยออกมาทางทิศตะวันออกประมาณ 250 เมตร ห่างจากแม่น้ำปิงมาทางตะวันออกประมาณ 700 เมตร ในตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติ

คำว่า อีค่าง หรือ อีก้าง ในภาษาถิ่นเหนือ มีความหมายว่า ลิง หรือ ค่าง เพราะในอดีตเคยมีฝูงลิงหรือค่างอาศัยบริเวณโบราณสถานร้างแห่งนี้ ชาวบ้านจึงเรียกว่าวัดอีก้าง นอกจากนี้ยังปรากฏเรื่องเล่าสืบต่อกันว่า มีนางค่างตัวหนึ่งทำประโยชน์แก่พระราชามาก เมื่อนางค่างตายลงพระราชาจึงสร้างจึงสร้างวัดนี้ให้แก่นางค่างตัวนี้ วัดอีก้างได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนพิศษ 17ง วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2542

โบราณสถานและโบราณวัตถุ

โบราณสถานวัดอีก้าง ประกอบด้วยกำแพงแก้ว เจดีย์ วิหาร แท่นบูชารอบเจดีย์ 3 ด้าน และอาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า เจดีย์มีลักษณะเป็นเจดีย์เหลี่ยมผสมทรงกลม คือ เรือนธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมส่วนยอดเป็นเจดีย์ทรงกลม เป็นศิลปะล้านนา สภาพทั่วไปมีวิหารตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน หันหน้าไปทางทิศเหนือตั้งอยู่ต่ำกว่าระดับพื้นดินปัจจุบันประมาณ 2 เมตร

วิหารโถงกว้าง 20 เมตร ยาว 13.50 เมตร[2] ปัจจุบันคงเหลือเฉพาะส่วนฐานปัทม์ในผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังวิหารมีห้องคูหา (คันธกุฎี) อยู่ด้านหลังห้องประธาน ซึ่งภายในห้องคูหามีแท่นฐานชุกชี 1 แท่น มีบันไดสู่ฐานประทักษิณทั้งด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ภายในมีฐานเสาวิหาร 8 คู่ พื้นวิหารปูด้วยอิฐ ฉาบปูนขาว มีบันไดทางขึ้น 3 ทาง บันไดหลักเป็นแบบบันไดนาค เนื่องจากได้พบชิ้นส่วนปูนปั้นรูปเกล็ดนาคบริเวณฐานวิหารด้านหน้า และอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งขนานกับแนวฐานวิหาร มีสภาพพังทลายคงเหลือเพียงเฉพาะส่วนฐาน สันนิษฐานว่าอาจเป็นอุโบสถ จากการศึกษาชั้นดินพบว่าอาคารหลังนี้มีการสร้างทับซ้อนกัน 2 สมัย โดยในสมัยแรกน่าจะสร้างขึ้นในคราวเดียวกับวิหารและเจดีย์ และสร้างซ้อนทับอาคารหลังแรกในสมัยต่อมา

นอกจากนั้นยังพบโบราณวัตถุ ได้แก่ ชิ้นส่วนพระพุทธรูปสำริด พระพุทธรูปแก้ว ยอดสถูปจำลองทำจากแก้วส่วนยอดบุทองคำ พระพิมพ์ดินเผา แผ่นฉลุลายสำริด แผ่นโลหะสำริดสำหรับประดับปล้องไฉน และส่วนประกอบฉัตรสำริดปิดทอง ลายปูนปั้นที่มีรอยไหม้ดำและเศษสำริดไหม้ละลายติดแผ่นกระเบื้องดินขอ บริเวณฐานชุกชีประดิษฐานพระประธานและรอบฐานวิหาร ชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทราย เศียรพระพุทธรูปปูนปั้น เม็ดพระศกปูนปั้น และแผ่นอิฐที่มีรอยสลักรูปสัตว์คล้ายลิงอีกด้วย รวมถึงพบภาชนะดินเผาที่ผลิตจากแหล่งเตาสันกำแพง เตาเวียงกาหลง เตาวังเหนือ และเตาสุโขทัย รวมทั้งเครื่องถ้วยจีน และพบแผ่นอิฐจารึกอักษรฝักขามและอักษรธรรมล้านนา ที่มีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20–21 จำนวน 7 ชิ้น
DSC_0153.JPG
DSC_0154.JPG
DSC_0161.JPG
จุด ณ บริเวณที่เป็นที่ตั้งอาคารอเนกประสงค์(กรมศิลป์) ปรากฏว่าปิด เราไม่สามารถที่จะหารายละเอียดใด ๆ ได้ (เหมือน ๆ จะร้าง ?) ขาดการดูแลแต่เห็นมีคนเฝ้าอยู่แต่ไม่ได้สนทนาพูดคุยด้วย ณ บริเวณนี้เป็นบริเวณกว้างขวางมาก มีวัดสำคัญที่ให้เราได้ชม ๒ วัดคือ วัดอีก้าง และวัดหนานช้าง <br /><br />ชอบความร่มรื่นที่นี่มาก ๆ ครับ ต้นไม้ใหญ่ให้อ๊อกซิเจน ครอบคลุมพื้นที่ได้ดีมาก ๆ เห็นฝรั่งมานั่งชมความงามของธรรมชาติที่นี่หลายคน เรามาหยุด ณ จุดนี้ก็นานพอควรก่อนที่จะอำลา ยังคงติดค้างวัดหนานช้างอีกที่หนึ่งติดตามตอนต่อไป นะครับ ขอบคุณและขอให้มีความสุขนะครับ โชคดีครับ
จุด ณ บริเวณที่เป็นที่ตั้งอาคารอเนกประสงค์(กรมศิลป์) ปรากฏว่าปิด เราไม่สามารถที่จะหารายละเอียดใด ๆ ได้ (เหมือน ๆ จะร้าง ?) ขาดการดูแลแต่เห็นมีคนเฝ้าอยู่แต่ไม่ได้สนทนาพูดคุยด้วย ณ บริเวณนี้เป็นบริเวณกว้างขวางมาก มีวัดสำคัญที่ให้เราได้ชม ๒ วัดคือ วัดอีก้าง และวัดหนานช้าง

ชอบความร่มรื่นที่นี่มาก ๆ ครับ ต้นไม้ใหญ่ให้อ๊อกซิเจน ครอบคลุมพื้นที่ได้ดีมาก ๆ เห็นฝรั่งมานั่งชมความงามของธรรมชาติที่นี่หลายคน เรามาหยุด ณ จุดนี้ก็นานพอควรก่อนที่จะอำลา ยังคงติดค้างวัดหนานช้างอีกที่หนึ่งติดตามตอนต่อไป นะครับ ขอบคุณและขอให้มีความสุขนะครับ โชคดีครับ
DSC_0162.JPG (110.24 KiB) เข้าดูแล้ว 1099 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:idea: :idea: พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ขุดพบเมื่อ พ.ศ. 2441 โดยวิลเลียม แคลกซ์ตัน เปปเป (William Claxton Peppe)
จากเนินดินซากพระสถูปกบิลพัสดุ์ หมู่บ้านปิปราห์วา (Piprahwa) รัฐอุตตรประเทศ อินเดีย

“ เปปเป้ ฝรั่งชาวคริสต์ ขุดพบกระดูกพระพุทธเจ้า…”เรื่องนี้ เพิ่งเกิดในอินเดีย ยุคอาณานิคมอังกฤษ ตอนสมัยรัชการที่ 5 ราวร้อยกว่าปีที่ผ่านมานี้เอง.. ที่มีการขุดพบกระดูกของพระพุทธเจ้าในประเทศอินเดีย.. นับว่าเป็นเหตุการณ์น่าตื่นเต้นสำหรับนักวิชาการ และ ฝรั่งชาวยุโรป..ที่น่าตื่นเต้น โดยเฉพาะนักโบราณคดีและประวัติศาสตร์โลก ก็เพราะเดิมที “พระพุทธเจ้า” .. การประสูตร ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เป็นแค่เรื่องเล่าในพระไตรปิฏก.. ไม่มีหลักฐานยืนยันว่า มีตัวตน เกิดเหตุการณ์ และมีสถานที่จริง.

พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ขุดพบเมื่อ พ.ศ. 2441 โดยวิลเลียม แคลกซ์ตัน เปปเป (William Claxton Peppe) จากเนินดินซากพระสถูปกบิลพัสดุ์ หมู่บ้านปิปราห์วา (Piprahwa) รัฐอุตตรประเทศ อินเดีย เปปเป้ให้คนงานขุดดินบนเนินดินใหญ่.. ที่เมืองปริปาวา ซึ่งเป็น 1 ใน 8 เมืองที่ตำราบันทึกว่า หลังปรินิพพานได้รับการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุไป..เขาพบอิฐคล้ายซากสถูป.. ขุดลงไปจนคิดว่าถึงระดับพื้นดินแล้ว พบห้องเล็กๆ.. พบหีบหินวางอยู่..เมื่อเลื่อนฝาหินเปิดดู พบผอบ หรือหม้อโบราณหลายชิ้น.. มีชิ้นหนึ่ง เป็นวัสดุมันวาว ทำด้วยหิน.. น่าจะเป็นของคนสำคัญ .. มีการสลักอักษรที่อ่านไม่ออก จารไว้รอบๆผอบ..เมื่อเปิดผอบออกดู.. ก็พบ เถ้าและเศษกระดูกมนุษย์.. พร้อมด้วยอัญมณี และแผ่นทองคำ รูปทรงดอกไม้.. นับร้อยนับพันชิ้นอยู่ภายใน..

เปปเป้ รีบเขียนจดหมายไปเล่าให้เพื่อนซึ่งเป็นนักโบราณคดีตัวจริง 2 คนฟัง พร้อมขอความเห็น.. เพื่อน 2 คนพอรู้ว่าขุดมาจากเมืองไหน ก็ตื่นเต้น ถามว่า.. มีแผ่นจารึกอักษรอะไรบ้างมั้ย..เปปเป้ บอกว่า ไม่มีแผ่นจารึก.. แต่มีอักษรที่อ่านไม่ออก จารจารึกไว้ที่ข้างผอบ แล้วเขาก็คัดลอกตัวอักษรส่งไปให้เพื่อนอ่าน..เพื่อนอ่านแล้วยิ่งตกใจ.. แปลให้ฟังว่า.. เป็นจารึกที่สลักว่า.. เป็นกระดูกของพระพุทธเจ้าที่ญาติฝังเอาไว้..

เรื่องนี้ โด่งดังในวงการโบราณคดีมาก.. มีการเก็บกระดูกที่พบไว้ในพิพิธภัณฑ์ของอินเดีย จนปัจจุบัน.. ส่วนของมีค่าที่ขุดพบ เปปเป้เก็บไว้เป็นของตระกูล..ผู้นำอังกฤษเห็นว่า คนอินเดียส่วนใหญ่ นับถือศาสนาฮินดู.. อังกฤษก็นับถือศาสนาคริสต์.. แต่สยามประเทศนับถือศาสนาพุทธ..

ข่าวลับแจ้งมาว่า.. ประเทศอังกฤษต้องการเป็นญาติดีกับประเทศสยามในเวลานั้น.. จึงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้แก่ ร. 5 พระมหากษัตริย์แห่งสยามประเทศ..ร.5 เอง ก็ตั้งขณะทำงานมาตรวจสอบพิจารณาก่อน.. บางส่วนเสนอความเห็นว่า ต้องดูให้ดีก่อน.. ถ้าสิ่งที่เขาส่งมอบมาเป็นของปลอม เราจะเสียชื่อ.. ที่สุด มีการตรวจสอบแล้ว เชื่อว่า เป็นพระบรมสารีริกธาตุจริง จึงส่งคณะไปรับมอบ..ร. 5 ท่านก็ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์ภูเขาทอง ณ วัดสระเกศ..

กล่าวฝ่ายเปปเป้ผู้น่าสงสาร เพราะมีข่าวหนาหู ลือว่า.. เปปเป้ เป็นจอมลวงโลก แต่งเรื่องขึ้นเอง.. ปลอมผอบเอง.. ปลอมของเก่าให้คนเชื่อว่าตนขุดพบกระดูกศาสดาในศาสนาพุทธ.. ข่าวลือมีมานาน เป็นตราบาปจนเปปเป้ถึงแก่ความตาย..หินอัญมณีและทองคำเหล่านั้น อยู่ในครอบครองของลูกหลานเปปเป้ที่ย้ายกลับมาอยู่ประเทศอังกฤษแล้ว..หลายปีต่อมา.. สารคดีดังของอังกฤษ สืบค้นเรื่องนี้ขึ้นมาอีก..โดยนำผู้เชี่ยวชาญโบราณคดีชาวเยอรมันที่มีชื่อเสียงในการอ่านภาษาโบราณ.. พากันไปตรวจสอบ ผอบดังกล่าวที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์อินเดีย..

ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า.. “เปปเป้ ไม่มีความรู้เกี่ยวกับภาษาโบราณ.. ไม่น่าเชื่อว่า เขาจะมีความสามารถในการปลอมอักษรนี้ได้..ดูลักษณะผอบแล้ว มีความเก่าตามธรรมชาติเป็นพันปีจริง.. เป็นของโบราณจริง..ร่องรอยอักษรที่จารึก ก็เป็นการจารจริง ไม่ได้จารใหม่.. สรุปว่า เปปเป้ไม่ได้โกหก..แต่ที่ยังสงสัยคือ ทำไม อักษรที่จารึก เป็นอักษรผิดยุค..เพราะอักษรที่ใช้ในสมัยพระพุทธเจ้าเมื่อ 2500 ปีก่อน.. คือ อักษรบาลี หรือภาษามคธ..แต่จารึกรอบผอบ เป็นภาษาอินเดียโบราณ ใช้อักษร “พราหมี“.. ซึ่งเป็นอักษรที่ใช้ในยุคหลังปรินิพพานแล้ว 200 -500 ปี ก็คือ ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช..

คำตอบ เปิดเผยขึ้นในเวลาต่อมา เมื่อมีนักโบราณคดีชาวอินเดียในยุคหลัง เชื่อว่า เปปเป้ขุดสถูปลึกไม่พอ น่าจะยังไม่ถึงระดับพื้นดิน.. เขาจึงดำเนินการขุดค้นที่สถูปเดิม.. แต่ขุดลึกลงไป.. ลึกลงไปเรื่อยๆ..จนถึงชั้นเดียวกับระดับพื้นดิน.. จึงพบห้องเล็กที่ถูกเปิด ถูกขุดนานมากแล้ว.. พบร่องรอย ของการเก็บพระบรมสารีริกธาตุโดยญาติของพระพุทธเจ้าจริงๆ..

สารคดีสรุปว่า.. พระบรมสารีริกธาตุและผอบที่ประดิษฐานในสถูปดังกล่าว.. อยู่มานานจนสถูปพังทลาย ไม่มีใครสนใจ..200 ปี ต่อมา.. พระเจ้าอโศกมหาราช ได้สั่งให้ค้นหาสถูปที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุตามตำนานทั้ง 8 แห่ง จนพบ.. แล้วสั่งให้ขุดขึ้นมา แบ่งบางส่วนออกมา เพื่อนำไปบรรจุไว้ที่ใหม่ที่จะสร้างจนครบ 84,000 แห่ง..
ส่วนสถูปเดิม ก็ให้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่เหลือในผอบ และจารจารึกลงไปใหม่ เก็บลงไปใหม่ เพื่อให้คนรุ่นหลังทราบว่าเป็นกระดูกของพระพุทธเจ้า..

ดังนั้น พระบรมสารีริกธาตุที่เปปเป้ขุดพบ จึงเป็นของพระพุทธเจ้าจริง..แต่ผอบที่มีจารึกนั้น ทำขึ้นมาใหม่ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ถัดมาอีก 200 ปี จึงจารึกด้วยอักษรพราหมี ไม่ใช่ภาษาบาลี..

ขอบคุณข้อมูลจาก Sunrise Isaree
:idea: :idea:
ไฟล์แนบ
พลังชาวเหนือ 4 วัน มีผู้ สักการะ#พระบรมสารีริกธาตุฯ และ พระอรหันตธาตุ รวมจำนวน 375,429 คน ณ หอคำหลวง #อุทยานหลวงราชพฤกษ์ #จังหวัดเชียงใหม่<br /><br />วันที่ 5 มีนาคม 2567 จำนวน 31,988 คน<br />วันที่ 6 มีนาคม 2567 จำนวน 88,692 คน (รวมเรา ปู่-ย่า-หลาน ด้วย)<br />วันที่ 7 มีนาคม 2567 จำนวน 140,017 คน<br />วันที่ 8 มีนาคม 2567 จำนวน 114,732 คน<br /><br />รวมทั้งสิ้น 375,429 คน
พลังชาวเหนือ 4 วัน มีผู้ สักการะ#พระบรมสารีริกธาตุฯ และ พระอรหันตธาตุ รวมจำนวน 375,429 คน ณ หอคำหลวง #อุทยานหลวงราชพฤกษ์ #จังหวัดเชียงใหม่

วันที่ 5 มีนาคม 2567 จำนวน 31,988 คน
วันที่ 6 มีนาคม 2567 จำนวน 88,692 คน (รวมเรา ปู่-ย่า-หลาน ด้วย)
วันที่ 7 มีนาคม 2567 จำนวน 140,017 คน
วันที่ 8 มีนาคม 2567 จำนวน 114,732 คน

รวมทั้งสิ้น 375,429 คน
๑๗ ม.ค.๖๗ (2).jpg (79.75 KiB) เข้าดูแล้ว 973 ครั้ง
DSC_0155.JPG
DSC_0155.JPG (116.32 KiB) เข้าดูแล้ว 973 ครั้ง
DSC_0156.JPG
DSC_0156.JPG (142.69 KiB) เข้าดูแล้ว 973 ครั้ง
DSC_0157.JPG
DSC_0157.JPG (111.02 KiB) เข้าดูแล้ว 973 ครั้ง
DSC_0158.JPG
DSC_0158.JPG (85.15 KiB) เข้าดูแล้ว 973 ครั้ง
DSC_0159.JPG
DSC_0159.JPG (94.36 KiB) เข้าดูแล้ว 973 ครั้ง
DSC_0160.JPG
บราณสถานวัดหนานช้าง โบราณสถานเวียงกุมกาม เป็นตัวอย่างหนึ่งที่บ่งบออกร่องรอยของอุทกภัยที่มีผลต่อเวียงกุมกามใน อดีตกาล ชั้นตะกอนทรายและชั้นดินที่ทับถมหนาถึง 1.80 เมตร ได้ถูกขุดค้นในปี พ.ศ. 2545-2546 เปิดเผยให้เห็นซากของอาคารต่างๆ ที่เหมือนกันกับวัดอื่นๆ ในเวียงกุมกาม จะต่างกันคือที่นี่มีการสร้างทับซ้อนกันอย่างน้อย 2 สมัย
บราณสถานวัดหนานช้าง โบราณสถานเวียงกุมกาม เป็นตัวอย่างหนึ่งที่บ่งบออกร่องรอยของอุทกภัยที่มีผลต่อเวียงกุมกามใน อดีตกาล ชั้นตะกอนทรายและชั้นดินที่ทับถมหนาถึง 1.80 เมตร ได้ถูกขุดค้นในปี พ.ศ. 2545-2546 เปิดเผยให้เห็นซากของอาคารต่างๆ ที่เหมือนกันกับวัดอื่นๆ ในเวียงกุมกาม จะต่างกันคือที่นี่มีการสร้างทับซ้อนกันอย่างน้อย 2 สมัย
๑๗ ม.ค.๖๗ (60).jpg
๑๗ ม.ค.๖๗ (60).jpg (135.43 KiB) เข้าดูแล้ว 973 ครั้ง
๑๗ ม.ค.๖๗ (61).jpg
๑๗ ม.ค.๖๗ (61).jpg (127.24 KiB) เข้าดูแล้ว 973 ครั้ง
๑๗ ม.ค.๖๗ (62).jpg
๑๗ ม.ค.๖๗ (62.1).jpg
๑๗ ม.ค.๖๗ (63).jpg
๑๗ ม.ค.๖๗ (63).jpg (88.93 KiB) เข้าดูแล้ว 973 ครั้ง
ภายในวัดกู่ขาวมีธาตุกู่ขาว ตั้งอยู่ริมทางหลวงสายเชียงใหม่ - ลำพูน (สายเก่า) ตรงกิโลเมตรที่ 5 ในเขตตำบลหนองหอย อำเภอเมือง โบราณสถานวัดนี้สร้างขึ้นราวปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22 ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะแล้ว<br /><br />คำว่า &quot;กู่&quot; ในภาษาถิ่นเหนือหมายถึงเจดีย์ ชื่อวัดกู่ขาวจึงหมายถึงเจดีย์สีขาว ซึ่งคงจะเรียกตามลักษณะของเจดีย์ซึ่งประดับลวดลายปูนปั้นและฉาบปูนสีขาว กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งและบูรณะวัดกู่ขาว เมื่อปี พ.ศ.2532 ซากโบราณสถานในบริเวณวัดประกอบด้วย ซุ้มประตูและแนวกำแพงแก้วทางด้านทิศเหนือ เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์แบบล้านนา ฐานล่างเป็นฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนลดหลั่น 3 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จซ้อนกัน 2 ชุด แต่ละชุดมีเส้นบัวลูกแก้วคาด 2 เส้น ระหว่างฐานบัวแต่ละชุดคั่นด้วยหน้ากระดานท้องไม้ใหญ่ประดับลวดลายปูนปั้นที่มุมของย่อเก็จทุกแห่งโดยรอบ วิหารคงเหลือเฉพาะส่วนท้ายอาคารมีร่องรอยแสดงการก่อสร้างซ้อนทับกันสองครั้ง<br /><br />ลวดลายปูนปั้นประดับเจดีย์วัดกู่ขาวนี้ ส่วนที่สำคัญอยู่ที่มุมย่อเก็จบริเวณหน้ากระดานท้องไม้ฐานบัวลูกแก้ว 2 ชั้น ลักษณะคล้ายลายประจำยามมุม เป็นลวดลายในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กรอบนอกเป็นเส้นโค้งหนา กี่งกลางเป็นรูปดอกกลมล้อมด้วยกลีบดอก และลายก้านขด อีกแห่งอยู่ที่ฐานชุกชีของวิหาร เดิมมีลายปูนปั้นรูปกลีบบัวและรูปสิงห์ประดับไว้ โบราณวัตถุสำคัญที่พบจากการขุดแต่ง ได้แก่ พระพุทธรูปศิลา และ พระพุทธรูปแก้วสีเขียวปางมารวิชัย วัดนี้สามารถกำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 21-22
ภายในวัดกู่ขาวมีธาตุกู่ขาว ตั้งอยู่ริมทางหลวงสายเชียงใหม่ - ลำพูน (สายเก่า) ตรงกิโลเมตรที่ 5 ในเขตตำบลหนองหอย อำเภอเมือง โบราณสถานวัดนี้สร้างขึ้นราวปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22 ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะแล้ว

คำว่า "กู่" ในภาษาถิ่นเหนือหมายถึงเจดีย์ ชื่อวัดกู่ขาวจึงหมายถึงเจดีย์สีขาว ซึ่งคงจะเรียกตามลักษณะของเจดีย์ซึ่งประดับลวดลายปูนปั้นและฉาบปูนสีขาว กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งและบูรณะวัดกู่ขาว เมื่อปี พ.ศ.2532 ซากโบราณสถานในบริเวณวัดประกอบด้วย ซุ้มประตูและแนวกำแพงแก้วทางด้านทิศเหนือ เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์แบบล้านนา ฐานล่างเป็นฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนลดหลั่น 3 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จซ้อนกัน 2 ชุด แต่ละชุดมีเส้นบัวลูกแก้วคาด 2 เส้น ระหว่างฐานบัวแต่ละชุดคั่นด้วยหน้ากระดานท้องไม้ใหญ่ประดับลวดลายปูนปั้นที่มุมของย่อเก็จทุกแห่งโดยรอบ วิหารคงเหลือเฉพาะส่วนท้ายอาคารมีร่องรอยแสดงการก่อสร้างซ้อนทับกันสองครั้ง

ลวดลายปูนปั้นประดับเจดีย์วัดกู่ขาวนี้ ส่วนที่สำคัญอยู่ที่มุมย่อเก็จบริเวณหน้ากระดานท้องไม้ฐานบัวลูกแก้ว 2 ชั้น ลักษณะคล้ายลายประจำยามมุม เป็นลวดลายในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กรอบนอกเป็นเส้นโค้งหนา กี่งกลางเป็นรูปดอกกลมล้อมด้วยกลีบดอก และลายก้านขด อีกแห่งอยู่ที่ฐานชุกชีของวิหาร เดิมมีลายปูนปั้นรูปกลีบบัวและรูปสิงห์ประดับไว้ โบราณวัตถุสำคัญที่พบจากการขุดแต่ง ได้แก่ พระพุทธรูปศิลา และ พระพุทธรูปแก้วสีเขียวปางมารวิชัย วัดนี้สามารถกำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 21-22
เราปั่นวนหาทางออกใช้เวลานานพอควร สนุกแต่เริ่มหิวแล้ว สุดท้ายปั่นมาออกทาง โรงพักแม่ปิงบริเวณวัดกู่ขาวครับ ผิดเป้าครั้งแรกจะออกไปทางลำน้ำปิง อยากจะบอกท่านที่จะไปเยี่ยมชมแนะนำให้ศึกษาเส้นทางให้ดี ๆ หรือเป็นไปได้แนะนำให้ใช้มัคคคุเทศจะดีกว่า  (ไม่เสียเวลาครับ)<br /><br />อำลาเวียงกุมกามเดินทางกลับบ้าน ผ่านร้านอาหารเจ ที่สี่แยกไฮเวย์เป็นร้านเจ้าประจำเราแวะเติมพลังก่อนกลับบ้านครับ
เราปั่นวนหาทางออกใช้เวลานานพอควร สนุกแต่เริ่มหิวแล้ว สุดท้ายปั่นมาออกทาง โรงพักแม่ปิงบริเวณวัดกู่ขาวครับ ผิดเป้าครั้งแรกจะออกไปทางลำน้ำปิง อยากจะบอกท่านที่จะไปเยี่ยมชมแนะนำให้ศึกษาเส้นทางให้ดี ๆ หรือเป็นไปได้แนะนำให้ใช้มัคคคุเทศจะดีกว่า (ไม่เสียเวลาครับ)

อำลาเวียงกุมกามเดินทางกลับบ้าน ผ่านร้านอาหารเจ ที่สี่แยกไฮเวย์เป็นร้านเจ้าประจำเราแวะเติมพลังก่อนกลับบ้านครับ
๑๗ ม.ค.๖๗ (65).jpg (138 KiB) เข้าดูแล้ว 973 ครั้ง
เป็นอันว่าถนนวัฒนธรรมสายต้นยางได้แก่ เทศบาลตำบลสารภี ต.ยางเนิ้ง ต.หนองผึ้ง และ ต.ท่าวังตาล ก็จบลงแค่นี้ แต่ อ.สารภียังมีที่ท่องเที่ยวอีกหลาย ๆ ที่ นะครับ ผมตั้งใจจงใจ นำเสนอเฉพาะที่เป็นแหล่งโบราณและวัฒนธรรมเดิมจริง ๆ แค่นี้ครับ ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านทุกคน โอกาสต่อไปจะนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวใด โปรดติดตามเป็นกำลังใจเหมือนเดิมนะครับ ขอขอบพระคุณครับ สวัสดีครับ
เป็นอันว่าถนนวัฒนธรรมสายต้นยางได้แก่ เทศบาลตำบลสารภี ต.ยางเนิ้ง ต.หนองผึ้ง และ ต.ท่าวังตาล ก็จบลงแค่นี้ แต่ อ.สารภียังมีที่ท่องเที่ยวอีกหลาย ๆ ที่ นะครับ ผมตั้งใจจงใจ นำเสนอเฉพาะที่เป็นแหล่งโบราณและวัฒนธรรมเดิมจริง ๆ แค่นี้ครับ ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านทุกคน โอกาสต่อไปจะนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวใด โปรดติดตามเป็นกำลังใจเหมือนเดิมนะครับ ขอขอบพระคุณครับ สวัสดีครับ
๑๗ ม.ค.๖๗ (66).jpg (64.37 KiB) เข้าดูแล้ว 973 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:) :D สวัสดียามบ่าย ๆ ครับ ช่วงนี้เป็นช่วงปิดเทอมของคุณหลาน ตามสัญญาว่าจะพาไปเที่ยวช่วงปิดเทอมครับ และเมื่อ ๑๔ - ๑๖ มี.ค.๖๗ เราก็ทำตามสัญญา สิ่งแรกหลานต้องการกลับไปชมพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ที่ จ.ลำปาง และเขื่อนภูมิพล จ.ตาก (ได้เลยจัดให้ครับ) ในขณะเดียวกันเราก็สอดแทรก วัดวาอารามตามเส้นทางที่ผ่านเป็นการทัศนศึกษาไปพร้อมกัน ในโอกาสนี้ก็ขอถือเป็นกรณีพิเศษที่จะขอนำเสนอเรื่องราว ซึ่งเชื่อว่าหลาย ๆ ท่านคงยังไม่เคยไปมาก่อนเช่นกัน ไม่ว่ากันนะครับ ก่อนเข้าพิพิธภัณฑ์เราพาเด็กน้อยไปไหว้พระธาตุลำปางหลวงก่อนเลย :lol: :lol:

:idea: :idea: วัดพระธาตุลำปางหลวง ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากตัวเมืองลำปางไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๑๘ กิโลเมตร วัดตั้งอยู่บนเนินสูง มีการจัดวางผังและส่วนประกอบของวัดสมบูรณ์แบบที่สุด มีสิ่งก่อสร้าง และสถาปัตยกรรมต่าง ๆ บริเวณพุทธาวาสประกอบด้วย องค์พระธาตุลำปางหลวง เป็นประธาน มีบันไดนาคนำขึ้นไปสู่ซุ้มประตูโขง ถัดซุ้มประตูโขงขึ้นไปเป็น วิหารหลวง บริเวณทิศเหนือขององค์พระธาตุมีวิหารบริวารตั้งอยู่คือ วิหารน้ำแต้ม และ วิหารต้นแก้ว ด้านตะวันตกขององค์พระธาตุประกอบด้วย วิหารละโว้ และ หอพระพุทธบาท ด้านใต้มี วิหารพระพุทธ และอุโบสถ ทั้งหมดนี้จะแวดล้อมด้วยแนวกำแพงแก้วทั้งสี่ด้าน นอกกำแพงแก้วด้านใต้มีประตูที่จะนำไปสู่เขตสังฆาวาส ซึ่งประกอบด้วยอาคาร หอพระไตรปิฎก กุฏิประดิษฐาน พระแก้วดอนเต้า อาคารพิพิธภัณฑ์และกุฏิสงฆ์

วัดพระธาตุลำปางหลวงมีประวัติว่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๗๕ นครลำปางว่างจากผู้ครองนคร และเกิดความวุ่นวายขึ้น สมัยนั้นพม่าเรืองอำนาจได้แผ่อิทธิพลปกครองอาณาจักรล้านนาไว้ได้ทั้งหมด พม่าได้ยึดครองนครเชียงใหม่ ลำพูน โดยแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์พม่า ท้าวมหายศเจ้าผู้ครองนครลำพูนได้ยกกำลังมายึดนครลำปาง โดยได้มาตั้งค่ายอยู่ภายในวัดพระธาตุลำปางหลวง ครั้งนั้น หนานทิพย์ช้าง ชาวบ้านปงยางคก (ปัจจุบันอยู่อำเภอห้างฉัตร) วีรบุรุษของชาวลำปาง ได้รวบรวมพลทำการต่อสู้ทัพเจ้ามหายศ โดยลอบเข้ามาในวัด และใช้ปืนยิงท้าวมหายศตาย แล้วตีทัพลำพูนแตกพ่ายไป ปัจจุบันยังปรากฏรอยลูกปืนอยู่บนรั้วทองเหลืองที่ล้อมองค์พระธาตุเจดีย์ ต่อมาหนานทิพย์ช้างได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระยาสุลวะลือไชยสงคราม เจ้าผู้ครองนครลำปาง และเป็นต้นตระกูล ณ ลำปาง เชื้อเจ็ดตน ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ น่าน
:idea: :idea:
ไฟล์แนบ
DSC_0372.JPG
DSC_0372.JPG (137.54 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
DSC_0373.JPG
DSC_0373.JPG (121.35 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
DSC_0374.JPG
DSC_0374.JPG (113.02 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
DSC_0375.JPG
DSC_0375.JPG (126.02 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
DSC_0376.JPG
DSC_0376.JPG (109.29 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
DSC_0377.JPG
DSC_0377.JPG (121.33 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
DSC_0378.JPG
DSC_0378.JPG (118.65 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
DSC_0379.JPG
DSC_0379.JPG (96.86 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
DSC_0380.JPG
DSC_0380.JPG (133.29 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
DSC_0381.JPG
DSC_0381.JPG (100.37 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
DSC_0387.JPG
DSC_0387.JPG (98.41 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
DSC_0389.JPG
DSC_0389.JPG (120.02 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
DSC_0390.JPG
DSC_0390.JPG (89.56 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
DSC_0391.JPG
DSC_0391.JPG (104.75 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
DSC_0394.JPG
DSC_0394.JPG (98.5 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
DSC_0395.JPG
DSC_0396.JPG
DSC_0396.JPG (110.21 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
DSC_0398.JPG
DSC_0398.JPG (123.5 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
DSC_0399.JPG
DSC_0399.JPG (114.32 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
672215_0.jpg
672215_0.jpg (102.36 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
แก้ไขล่าสุดโดย Deang-sarapee เมื่อ 18 มี.ค. 2024, 14:18, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:idea: :idea: วัดพระธาตุลำปางหลวง

เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองลำปางมาแต่โบราณ ตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี งดงามด้วยสถาปัตยกรรมเก่าแก่มากมาย เป็นพระธาตุประจำปีฉลู

ตั้งอยู่ตำบลลำปางหลวง เป็นวัดที่มีมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 20 นับเป็นวัดไม้ที่มีความสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย มีสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่และงดงาม อีกทั้งยังเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนปีฉลู โดยเริ่มสร้างในปีฉลูและเสร็จสิ้นในปีฉลูเช่นเดียวกัน สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ - พระธาตุลำปางหลวง มีฐานเป็นบัวลูกแก้ว ส่วนองค์พระธาตุเป็นทรงกลมแบบล้านนา ภายนอกบุด้วยทองจังโก ยอดฉัตรทำด้วยทองคำ มีลายสลักดุนเป็นลวดลายประจำยามแบบต่าง ๆ ลักษณะเจดีย์แบบนี้เป็นต้นแบบของพระธาตุหริภุญไชยและพระบรมธาตุจอมทองด้วย

ภายในองค์พระเจดีย์บรรจุพระเกศา พระอัฐิธาตุจากพระนลาฎข้างขวา พระศอด้านหน้าและด้านหลัง บริเวณรั้วทองเหลืองรอบองค์พระธาตุมีรูกระสุนปืนที่หนานทิพย์ช้างต่อสู้กับท้าวมหายศปรากฏอยู่ - วิหารหลวง เป็นวิหารขนาดใหญ่ที่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2019 โดยเจ้าหมื่นคำเป๊ก ภายในมีซุ้มปราสาททองเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าล้านทอง ด้านหลังเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทันใจ บนแผงไม้คอสองมีภาพจิตรกรรมเก่าแก่งดงามเรื่องทศชาติและพรหมจักร

- วิหารพระพุทธ เดิมเป็นวิหารเปิดโล่งหน้าบันเป็นลายดอกไม้ติดกระจกสี มีอายุไม่ต่ำกว่า 700 ปี ภายในประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ตัวอาคารก่ออิฐถือปูน ศิลปะเชียงแสน และยังปรากฏเงาพระธาตุภายในวิหารอีกด้วย - วิหารน้ำแต้ม หรือวิหารภาพเขียนสี “แต้ม” แปลว่า ภาพเขียน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2044 เป็นวิหารเก่าที่ภายในเปิดโล่งไม่มีเพดาน คงรูปแบบของสถาปัตยกรรมไทยที่งดงาม กำแพงด้านพระประธานเขียนภาพลายทองบนพื้นรักแดง มีภาพจิตรกรรมศิลปะล้านนาบนแผงไม้คอสองที่เก่าแก่และหลงเหลือเพียงแห่งเดียวในเมืองไทย ปัจจุบันภาพเขียนลบเลือนไปมากและประดิษฐานพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 1.25 เมตร สูง 1.25 เมตร

- ซุ้มพระบาท สร้างครอบพระพุทธบาทไว้ ฐานก่อขึ้นเป็นชั้นคล้ายฐานเจดีย์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 1992 ภายในมองเห็นแสงหักเห ปรากฏเป็นเงาพระธาตุและพระวิหารในด้านมุมกลับ แต่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงเข้า - กุฏิพระแก้ว เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต มีอายุไม่ต่ำกว่า 400 ปี - วิหารพระเจ้าศิลา เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าศิลาซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงละโว้ เมื่อ พ.ศ. 1275 พระราชบิดาของพระนางจามเทวีพระราชทานให้และประดิษฐานไว้ ณ ที่แห่งนี้ - พิพิธภัณฑ์ รวบรวมศิลปวัตถุจากที่ต่าง ๆ ที่หาชมได้ยาก เช่น สังเค็ด ธรรมาสน์ คานหาบ ตู้พระไตรปิฎก เป็นต้น นอกจากนี้วัดพระธาตุลำปางหลวงยังเป็นที่ประดิษฐาน “พระแก้วดอนเต้า” (พระแก้วมรกต) พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดลำปาง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะล้านนา สลักด้วยหยกสีเขียว โดยจะมีการจัดงานนมัสการพระแก้วดอนเต้าในวันเพ็ญเดือน 12 ของทุกปี เปิดทุกวัน เวลา 07.30-17.00 น.

ข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) 1600 ถ.เพชรบุรี แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย
:idea: :idea:
ไฟล์แนบ
514765_0.jpg
514765_0.jpg (75.55 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
514766_0.jpg
514766_0.jpg (77.18 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
514767_0.jpg
514767_0.jpg (128.81 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
514768_0.jpg
514768_0.jpg (76.88 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
514769_0.jpg
514769_0.jpg (105.76 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
514770_0.jpg
514770_0.jpg (111.66 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
514771_0.jpg
514771_0.jpg (126.56 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
514772_0.jpg
514772_0.jpg (84.26 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
514773_0.jpg
514773_0.jpg (72.2 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
514774_0.jpg
514774_0.jpg (124.24 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
514775_0.jpg
514775_0.jpg (82.51 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
514776_0.jpg
514776_0.jpg (119.79 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
514777_0.jpg
514777_0.jpg (120.97 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
514778_0.jpg
514778_0.jpg (111 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
DSC_0411.JPG
DSC_0411.JPG (119.45 KiB) เข้าดูแล้ว 809 ครั้ง
DSC_0412.JPG
DSC_0413.JPG
DSC_0414.JPG
DSC_0415.JPG
พระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง) จาก วิกิพีเดียสาราณุกรมเสรี<br /><br /> พระยาไชยสงคราม พระเจ้าทิพย์จักรสุละวะฤๅไชยสงคราม พระยาสุลวะลือไชยสงคราม หรือ พ่อเจ้าทิพย์ช้าง  เป็นเจ้าผู้ครองนครลำปางในช่วง พ.ศ. 2275 - 2302 (จ.ศ. 1120) และต้นราชวงศ์ทิพย์จักร <br /><br />พระยาสุลวะลือไชยสงคราม เดิมเป็นสามัญชนชาวบ้านปงยางคก (ปัจจุบันคือตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร) มีนามเดิมว่า &quot;ทิพย์ช้าง&quot; เกิดในราวปี พ.ศ. 2217 ได้บวชเรียนที่วัดปงยางคก และสึกออกมาประกอบอาชีพพรานป่า มีความเชี่ยวชาญการใช้อาวุธ และมีความสามารถในการขับไล่และตัดหางช้างที่มารบกวนพืชผลของชาวบ้านได้ ชาวบ้านจึงขนานนามว่า &quot;หนานทิพย์ช้าง&quot; หนานทิพย์ช้าง มีภรรยาคนหนึ่งชื่อ &quot;นางปิมปา&quot; ชาวบ้านหนาดคำ แคว้นบ้านเอื้อม (ปัจจุบันคือตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมืองลำปาง)<br /><br />ในช่วงปลายของกรุงศรีอยุธยา นครเชียงใหม่เป็นเมืองขึ้นของพม่า ส่วนลำปางเป็นนครรัฐอิสระ กระทั่งท้าวหนานมหายศ เจ้าเมืองลำพูนยกทัพมาตีชนะเมืองลำปาง และตั้งศูนย์บัญชาการที่วัดพระธาตุลำปางหลวง เหล่าบรรดาประชาชนจึงได้ขอให้หนานทิพย์ช้าง นายพรานผู้เก่งกล้าและเชี่ยวชาญอาวุธปืนยาวและหน้าไม้ เป็นผู้นำในการกอบกู้นครลำปาง โดยสามารถรบชนะและสังหารท้าวมหายศได้ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง ชาวเมืองจึงร่วมกันสถาปนาหนานทิพย์ช้าง ขึ้นครองนครลำปาง ในปี พ.ศ. 2275[7] มีพระนามว่า พระญาสุลวะลือไชย<br /><br />ด้วยล้านนามีคติว่า &quot;บ่ใจ้เจื้อเจ้าก่ออย่าหวังเป๋นพระญา บ่ใจ้เจื้อเสนาก่ออย่าหวังเป๋นอำมาตย์ บ่ใจ้เจื้อคนแกล้วอาจก่ออย่าหวังเป๋นขุนหาญ บ่ใจ้เจื้อนักก๋านก่ออย่าหวังเป๋นเถ้าแก่&quot; หนานทิพย์ช้างซึ่งเป็นเพียงสามัญชนรู้สึกว่าตนเองไม่มีสิทธิธรรมในการปกครอง จึงต้องอาศัยความชอบธรรมโดยการแต่งตั้งของกษัตริย์พม่า หนานทิพย์ช้างได้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้ากรุงอังวะ และได้รับการเฉลิมพระนามจากพระเจ้ากรุงอังวะเป็นพระยาไชยสงคราม ในปี พ.ศ. 2278 บางตำราจึงมักออกพระนามรวมกันเป็นพระยาสุลวะลือไชยสงคราม หรือ พระเจ้าทิพย์จักรสุละวะฤๅไชยสงคราม พระองค์ปกครองนครลำปางได้ 27 ปี จึงถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2302<br /><br />อนุสาวรีย์ ณ วัดพระธาตุลำปางหลวง<br /><br />วัดพระธาตุลำปางหลวง มีความสำคัญเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์การต่อสู้ของพระยาสุลวลือไชยสงคราม ดังปรากฏเป็นรอยกระสุนปืนของพระยาสุลวลือไชยสงคราม บริเวณรั้วพระธาตุลำปางหลวง จึงได้มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์พระยาสุลวลือไชยสงคราม บริเวณลานหน้าวัดพระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
พระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง) จาก วิกิพีเดียสาราณุกรมเสรี

พระยาไชยสงคราม พระเจ้าทิพย์จักรสุละวะฤๅไชยสงคราม พระยาสุลวะลือไชยสงคราม หรือ พ่อเจ้าทิพย์ช้าง เป็นเจ้าผู้ครองนครลำปางในช่วง พ.ศ. 2275 - 2302 (จ.ศ. 1120) และต้นราชวงศ์ทิพย์จักร

พระยาสุลวะลือไชยสงคราม เดิมเป็นสามัญชนชาวบ้านปงยางคก (ปัจจุบันคือตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร) มีนามเดิมว่า "ทิพย์ช้าง" เกิดในราวปี พ.ศ. 2217 ได้บวชเรียนที่วัดปงยางคก และสึกออกมาประกอบอาชีพพรานป่า มีความเชี่ยวชาญการใช้อาวุธ และมีความสามารถในการขับไล่และตัดหางช้างที่มารบกวนพืชผลของชาวบ้านได้ ชาวบ้านจึงขนานนามว่า "หนานทิพย์ช้าง" หนานทิพย์ช้าง มีภรรยาคนหนึ่งชื่อ "นางปิมปา" ชาวบ้านหนาดคำ แคว้นบ้านเอื้อม (ปัจจุบันคือตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมืองลำปาง)

ในช่วงปลายของกรุงศรีอยุธยา นครเชียงใหม่เป็นเมืองขึ้นของพม่า ส่วนลำปางเป็นนครรัฐอิสระ กระทั่งท้าวหนานมหายศ เจ้าเมืองลำพูนยกทัพมาตีชนะเมืองลำปาง และตั้งศูนย์บัญชาการที่วัดพระธาตุลำปางหลวง เหล่าบรรดาประชาชนจึงได้ขอให้หนานทิพย์ช้าง นายพรานผู้เก่งกล้าและเชี่ยวชาญอาวุธปืนยาวและหน้าไม้ เป็นผู้นำในการกอบกู้นครลำปาง โดยสามารถรบชนะและสังหารท้าวมหายศได้ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง ชาวเมืองจึงร่วมกันสถาปนาหนานทิพย์ช้าง ขึ้นครองนครลำปาง ในปี พ.ศ. 2275[7] มีพระนามว่า พระญาสุลวะลือไชย

ด้วยล้านนามีคติว่า "บ่ใจ้เจื้อเจ้าก่ออย่าหวังเป๋นพระญา บ่ใจ้เจื้อเสนาก่ออย่าหวังเป๋นอำมาตย์ บ่ใจ้เจื้อคนแกล้วอาจก่ออย่าหวังเป๋นขุนหาญ บ่ใจ้เจื้อนักก๋านก่ออย่าหวังเป๋นเถ้าแก่" หนานทิพย์ช้างซึ่งเป็นเพียงสามัญชนรู้สึกว่าตนเองไม่มีสิทธิธรรมในการปกครอง จึงต้องอาศัยความชอบธรรมโดยการแต่งตั้งของกษัตริย์พม่า หนานทิพย์ช้างได้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้ากรุงอังวะ และได้รับการเฉลิมพระนามจากพระเจ้ากรุงอังวะเป็นพระยาไชยสงคราม ในปี พ.ศ. 2278 บางตำราจึงมักออกพระนามรวมกันเป็นพระยาสุลวะลือไชยสงคราม หรือ พระเจ้าทิพย์จักรสุละวะฤๅไชยสงคราม พระองค์ปกครองนครลำปางได้ 27 ปี จึงถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2302

อนุสาวรีย์ ณ วัดพระธาตุลำปางหลวง

วัดพระธาตุลำปางหลวง มีความสำคัญเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์การต่อสู้ของพระยาสุลวลือไชยสงคราม ดังปรากฏเป็นรอยกระสุนปืนของพระยาสุลวลือไชยสงคราม บริเวณรั้วพระธาตุลำปางหลวง จึงได้มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์พระยาสุลวลือไชยสงคราม บริเวณลานหน้าวัดพระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
ลุงเนตร
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 19852
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 19:20
Tel: 0898133936
team: อิสระ
Bike: Trek 3900, Dark Rock ทัวร์ริ่ง
ตำแหน่ง: ๔๖๕ ซอยจ่าโสด ถนนทางรถไฟเก่า แขวง,เขตบางนา กทม.๑๐๒๖๐
ติดต่อ:

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย ลุงเนตร »

"..สวัสดีครับ ท่านน้องแดง สาระภี ที่ชี้ชวนและนำ URL ของกระทู้ "คุณลุงแดง - คุณป้าอ๋อย" พาเที่ยว ไปให้ทัศนา นับว่าเป็นกระทู้ที่มีประโยชน์มาก มีสาระทั้งทางธรรมและทางโลก ควรติดตามเป็นอย่างยิ่ง ขอบคุณมากๆครับ ท่านทั้งสอง จงอยู่ดีมีสุขทั้งครอบครัว สุขภาพกายดีด้วยการออกกำลงกายเป็นประจำ สุขภาพจิตดีด้วยแก่นธรรมของศาสนาที่นับถือ.."
*..ยิ่งปั่น..ยิ่งแข็ง..แรงยิ่งดี..โรคไม่ค่อยมี..ไม่ทุกข์..*
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

ลุงเนตร เขียน: 20 มี.ค. 2024, 19:30 "..สวัสดีครับ ท่านน้องแดง สาระภี ที่ชี้ชวนและนำ URL ของกระทู้ "คุณลุงแดง - คุณป้าอ๋อย" พาเที่ยว ไปให้ทัศนา นับว่าเป็นกระทู้ที่มีประโยชน์มาก มีสาระทั้งทางธรรมและทางโลก ควรติดตามเป็นอย่างยิ่ง ขอบคุณมากๆครับ ท่านทั้งสอง จงอยู่ดีมีสุขทั้งครอบครัว สุขภาพกายดีด้วยการออกกำลงกายเป็นประจำ สุขภาพจิตดีด้วยแก่นธรรมของศาสนาที่นับถือ.."
:) :D สวัสดีครับท่านพี่และญาติธรรมที่เคารพทุก ๆ ท่าน กราบขอบพระคุณท่านพี่เป็นอย่างสูง ที่กรุณาเข้ามาให้กำลังใจรู้สึกได้ว่า "อิจฉาท่านพี่จังเลย ๘๐ แล้วยังแข็งแรงปั่นเที่ยวทั่วไทยไร้โรคาพญาธิมารบกวน" ต่างกับผมที่ต้องดูแลสุขภาพภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์ ช่วง ๕ เดือนที่ผ่านมาไม่ได้ไปแห่งหนตำบลใดเลย และไม่ทราบว่าอีกกี่วันกี่เดือนถึงจะได้ออกไปตะลอน ๆ เหมือนเดิม

ก็ยังโชคดีที่ยังสามารถขับรถไป-มา ได้ดังเดิม แต่การออกกำลังกายในระยะใกล้ ๆ รัศมีไม่เกิน ๑๐ กม.ก็ยังคงดำรงอยู่ ในอุดมการณ์ที่จำจากท่านพระอาจารย์ทุก ๆ องค์ที่สอนไว้ว่า "ร่างกายที่แข็งแรงต้องเคลื่อนไหว จิตใจที่เข้มแข็งต้อง สงบ เย็น เป็นสมาธิ" คงอีกไม่นานก็น่าจะสามารถออกตระเวนได้แบบเดียวกับท่านพี่ครับ
:lol: :lol:
ไฟล์แนบ
674217.jpg
674217.jpg (96.63 KiB) เข้าดูแล้ว 662 ครั้ง
ตลอดเวลา ๕ เดือนที่ผ่านมา ต้องไปพบหมอทุกเดือน อย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้งบางเดือน ๒ - ๓ ครั้ง เพราะต้องรักษาถึง ๒ รพ.คือ รพ.สวนดอก และ รพ.ประสาท สมแล้วที่ร่างกายเป็นรังของโรค แต่ก่อนเมื่อหนุ่ม ๆ ไม่ใส่ใจ เกกมะเหรกเกเร มั่วสุมแต่เรื่องเลวร้าย เมื่อกรรมให้ผลก็จะเป็นแบบนี้ นี่ดีที่กลับเนื้อกลับตัวได้ก่อนที่จะสาย ร้าย ๆ รุ่นเดียวกันเขาลาโลกไปกันเกือบหมดแล้ว เหลืออีกไม่กี่คนที่วาสนาบารมียังดี พออยู่ได้ให้สร้างกรรมดีเพิ่มก่อนจะหมดลม เพื่อภพภูมิที่ดีต่อไป ขอบคุณสวรรค์ที่ยังเมตตา กรุณา ๕๕๕
ตลอดเวลา ๕ เดือนที่ผ่านมา ต้องไปพบหมอทุกเดือน อย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้งบางเดือน ๒ - ๓ ครั้ง เพราะต้องรักษาถึง ๒ รพ.คือ รพ.สวนดอก และ รพ.ประสาท สมแล้วที่ร่างกายเป็นรังของโรค แต่ก่อนเมื่อหนุ่ม ๆ ไม่ใส่ใจ เกกมะเหรกเกเร มั่วสุมแต่เรื่องเลวร้าย เมื่อกรรมให้ผลก็จะเป็นแบบนี้ นี่ดีที่กลับเนื้อกลับตัวได้ก่อนที่จะสาย ร้าย ๆ รุ่นเดียวกันเขาลาโลกไปกันเกือบหมดแล้ว เหลืออีกไม่กี่คนที่วาสนาบารมียังดี พออยู่ได้ให้สร้างกรรมดีเพิ่มก่อนจะหมดลม เพื่อภพภูมิที่ดีต่อไป ขอบคุณสวรรค์ที่ยังเมตตา กรุณา ๕๕๕
674216.jpg (115.53 KiB) เข้าดูแล้ว 662 ครั้ง
674936.jpg
674936.jpg (59.81 KiB) เข้าดูแล้ว 662 ครั้ง
674925_0.jpg
674925_0.jpg (64.63 KiB) เข้าดูแล้ว 662 ครั้ง
ก็พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเบา ๆ สบาย ๆ (ต้องเชื่อหมอ) ในขณะเดียวกันจิตใจเราก็ต้องดูแลด้วยสมาธิ ภาวนา ไม่ให้ขาดสักวัน ควบคู่กันไป ตามที่พ่อ แม่ ครูบาอาจารย์ ได้อบรมสั่งสอนไว้<br /><br />ส่วนคุณนายตอนนี้ก็เตรียมตัวเข้ารับการผ่าตัด ท่อน้ำตาตันในวันที่ ๒๕ มี.ค.๖๗ ที่จะถึงนี้ (ขานี้ก็คงต้องพักไปอีกนาน) ระยะนี้การออกกำลังผมต้องออกไปปั่นคนเดียว จึงรู้สึกได้ว่า &quot;ขาดอะไรไปสักอย่าง&quot; ๕๕๕
ก็พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเบา ๆ สบาย ๆ (ต้องเชื่อหมอ) ในขณะเดียวกันจิตใจเราก็ต้องดูแลด้วยสมาธิ ภาวนา ไม่ให้ขาดสักวัน ควบคู่กันไป ตามที่พ่อ แม่ ครูบาอาจารย์ ได้อบรมสั่งสอนไว้

ส่วนคุณนายตอนนี้ก็เตรียมตัวเข้ารับการผ่าตัด ท่อน้ำตาตันในวันที่ ๒๕ มี.ค.๖๗ ที่จะถึงนี้ (ขานี้ก็คงต้องพักไปอีกนาน) ระยะนี้การออกกำลังผมต้องออกไปปั่นคนเดียว จึงรู้สึกได้ว่า "ขาดอะไรไปสักอย่าง" ๕๕๕
676144.jpg (90.25 KiB) เข้าดูแล้ว 662 ครั้ง
16708905.jpg
16708905.jpg (33.67 KiB) เข้าดูแล้ว 662 ครั้ง
เรามาไปกันต่อตามฝันของ ด.ช.ปุรณพัฒน์ ฯ ที่ต้องการกลับมาชมพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์อีกครั้งที่ จ.ลำปาง มีอะไรเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง น่าสนใจมากครับ ท่านใดที่ผ่านไป ผ่านมา อย่าลืมแวะเยี่ยมชมรับรอง &quot;ไม่ผิดหวังครับ&quot;
เรามาไปกันต่อตามฝันของ ด.ช.ปุรณพัฒน์ ฯ ที่ต้องการกลับมาชมพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์อีกครั้งที่ จ.ลำปาง มีอะไรเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง น่าสนใจมากครับ ท่านใดที่ผ่านไป ผ่านมา อย่าลืมแวะเยี่ยมชมรับรอง "ไม่ผิดหวังครับ"
DSC_0417.JPG (120.41 KiB) เข้าดูแล้ว 662 ครั้ง
DSC_0419.JPG
DSC_0419.JPG (103.68 KiB) เข้าดูแล้ว 662 ครั้ง
DSC_0420.JPG
DSC_0420.JPG (96.73 KiB) เข้าดูแล้ว 662 ครั้ง
DSC_0421.JPG
DSC_0421.JPG (100.17 KiB) เข้าดูแล้ว 662 ครั้ง
DSC_0423.JPG
DSC_0423.JPG (83.9 KiB) เข้าดูแล้ว 662 ครั้ง
DSC_0424.JPG
DSC_0424.JPG (68.48 KiB) เข้าดูแล้ว 662 ครั้ง
DSC_0425.JPG
DSC_0425.JPG (91.17 KiB) เข้าดูแล้ว 662 ครั้ง
DSC_0426.JPG
DSC_0426.JPG (85.54 KiB) เข้าดูแล้ว 662 ครั้ง
DSC_0427.JPG
DSC_0427.JPG (40.7 KiB) เข้าดูแล้ว 662 ครั้ง
DSC_0428.JPG
DSC_0428.JPG (70.24 KiB) เข้าดูแล้ว 662 ครั้ง
DSC_0430.JPG
DSC_0430.JPG (55.39 KiB) เข้าดูแล้ว 662 ครั้ง
DSC_0431.JPG
DSC_0431.JPG (36.98 KiB) เข้าดูแล้ว 662 ครั้ง
DSC_0432.JPG
DSC_0432.JPG (46.64 KiB) เข้าดูแล้ว 662 ครั้ง
DSC_0433.JPG
DSC_0433.JPG (43.1 KiB) เข้าดูแล้ว 662 ครั้ง
แก้ไขล่าสุดโดย Deang-sarapee เมื่อ 22 มี.ค. 2024, 10:57, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:idea: :idea: พิพิธภัณฑ์ซากดึกดำบรรพ์ ธรณีวิทยา และธรรมชาติวิทยา จ.ลำปาง Cr. มิวเซียมไทยแลนด์

พิพิธภัณฑ์ซากดึกดำบรรพ์ ธรณีวิทยา และธรรมชาติวิทยาจังหวัดลำปาง เป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมความรู้และตัวอย่างด้านธรณีวิทยา ซากดึกดำบรรพ์ และธรรมชาติวิทยา เพื่อให้บริการองค์ความรู้ที่รวบรวมไว้แก่ประชาชน และเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการ ศึกษาวิจัยที่ถ่ายทอดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับแหล่งซากดึกดำบรรพ์ และแหล่งธรณีวิทยาที่สำคัญในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือของประเทศ

ภายในนิทรรศการ แบ่งเป็น 3 โซน

โซนชั้น 3 บอกเล่าเรื่องราวการกำเนิดโลกและสิ่งมีชีวิตในมหายุคพาลีโอโซอิก ผ่านหุ่นจำลองเคลื่อนไหวได้

โซนชั้น 2 บอกเล่าเรื่องราวในมหายุคมีโซโซอิก พร้อมจัดแสดงหุ่นไดโนเสาร์เคลื่อนไหวได้ พร้อมทั้งห้องจำลองการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์หลังสิ้นสุดมหายุคมีโซโซอิก เมื่อไดโนเสาร์สูญพันธุ์ได้กำเนิดมหายุคที่ 3 คือมหายุคซีโนโซอิก บอกเล่าเรื่องราวสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

โซนชั้น 1 กิจกรรมการเรียนรู้ด้านธรณีวิทยา ธรณีพิบัติภัย และซากดึกดำบรรพ์

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ เลขที่ 414 หมู่ 3 ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง 52130 โทรศัพท์ : 054-282 159 , 089-815-2202 อีเมล : dmrlampangmuseum@gmail.com

วันและเวลาทำการ เปิดให้เข้าชม วันอังคาร – วันอาทิตย์ เวลา 09.30 – 16.30 น. ( ปิดวันจันทร์ )

ค่าเข้าชม

• คนไทย: เด็ก 10 บาท / ผู้ใหญ่ 30 บาท
• เข้าชมแบบหมู่คณะ (ตั้งแต่ 40 คนขึ้นไป): เด็ก 5 บาท / ผู้ใหญ่ 20 บาท
• For foreigners: Children 40 baht / Adult 80 baht

**** ค่าเข้าชมรับเฉพาะเงินสด กรุณาเตรียมเงินสดมาด้วย ****

ยกเว้นค่าเข้าชม**

เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี
นักเรียน/นักศึกษา ในเครื่องแบบหรือแสดงบัตรนักเรียน
ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป พระภิกษุสามเณร ผู้พิการ ทหารผ่านศึก
ผู้ถือบัตร อสทล. และ ผู้ถือบัตรจิตอาสาพระราชทาน
:idea: :idea:
ไฟล์แนบ
DSC_0438.JPG
DSC_0438.JPG (58.33 KiB) เข้าดูแล้ว 661 ครั้ง
DSC_0440.JPG
DSC_0440.JPG (51.7 KiB) เข้าดูแล้ว 661 ครั้ง
DSC_0442.JPG
DSC_0442.JPG (57.77 KiB) เข้าดูแล้ว 661 ครั้ง
DSC_0443.JPG
DSC_0443.JPG (43.55 KiB) เข้าดูแล้ว 661 ครั้ง
DSC_0444.JPG
DSC_0444.JPG (44.07 KiB) เข้าดูแล้ว 661 ครั้ง
DSC_0446.JPG
DSC_0446.JPG (40.25 KiB) เข้าดูแล้ว 661 ครั้ง
DSC_0447.JPG
DSC_0447.JPG (41.8 KiB) เข้าดูแล้ว 661 ครั้ง
DSC_0448.JPG
DSC_0448.JPG (63.73 KiB) เข้าดูแล้ว 661 ครั้ง
DSC_0450.JPG
DSC_0450.JPG (86.45 KiB) เข้าดูแล้ว 661 ครั้ง
DSC_0451.JPG
DSC_0451.JPG (57.38 KiB) เข้าดูแล้ว 661 ครั้ง
DSC_0452.JPG
DSC_0452.JPG (83.04 KiB) เข้าดูแล้ว 661 ครั้ง
DSC_0453.JPG
DSC_0453.JPG (54.27 KiB) เข้าดูแล้ว 661 ครั้ง
DSC_0458.JPG
DSC_0458.JPG (63.98 KiB) เข้าดูแล้ว 661 ครั้ง
DSC_0462.JPG
DSC_0462.JPG (82.93 KiB) เข้าดูแล้ว 661 ครั้ง
DSC_0465.JPG
DSC_0465.JPG (57.91 KiB) เข้าดูแล้ว 661 ครั้ง
DSC_0467.JPG
DSC_0467.JPG (51 KiB) เข้าดูแล้ว 661 ครั้ง
DSC_0471.JPG
DSC_0471.JPG (57.79 KiB) เข้าดูแล้ว 661 ครั้ง
DSC_0477.JPG
DSC_0477.JPG (53.81 KiB) เข้าดูแล้ว 661 ครั้ง
DSC_0478.JPG
DSC_0478.JPG (71.01 KiB) เข้าดูแล้ว 661 ครั้ง
DSC_0482.JPG
DSC_0482.JPG (72.95 KiB) เข้าดูแล้ว 661 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:idea: :idea: #ตะแกรงร่อนพระดัง-พระดี

ยกตัวอย่าง พระยอดดื้อ ในสมัยพุทธกาล

๑.พระดื่มเหล้าก็มี เช่น พระสาคตะ เป็นต้น
๒.พระหัวดื้อก็มี เช่น พระฉัพพัคคีย์, พระติสสะ, พระฉันนะ เป็นต้น
๓.พระมักมากในลาภปัจจัย เช่น พระอุปนันทศากยบุตร เป็นต้น
๔.พระทะเลาะกับโยม เช่น พระสุธรรม พระนักก่อสร้าง จอมงอแง วิวาทกับจิตตคหบดี อุบาสกผู้เป็นอนาคามีแห่งเมืองมัจฉิกาสณฑ์ เป็นต้น
๕.พระทะเลาะกับพระ พระพุทธเจ้าห้ามก็ไม่ฟัง เช่น พระภิกษุชาวเมืองโกสัมพี เป็นต้น
๖.คฤหัสถ์ฆ่าพระ เช่น พระมหาโมคคัลลานะถูกโจรฆ่า เป็นต้น
๗.พระขับรถ พระเต้นแร็ป พระเล่นชกมวยเช่น พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ เป็นต้น
๘.พระขี้ดือ แอบหลอยลูบก้นเมียชาวบ้าน เช่น อุทายี เป็นต้น
๙.พระฉัพพัคคีย์ ยกพวกไล่ตีพระกลุ่มสิบเจ็ดรูปในวัดพระเชตวัน ร้องไห้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เป็นต้น
๑๐.พระจอมขี้คุย อวดเก่งว่าตนเจ๋งกว่าใครในเรื่องการแสดงธรรม เช่น พระโลฬุทายี เป็นต้น
๑๑.พระเทวทัต พระสุดยอดของความดื้อด้าน ก่อปัญหาให้แก่สงฆ์ กระทั่งวางแผนฆ่าพระพุทธเจ้า เพื่อตนจะได้เป็นใหญ่ปกครองสงฆ์เสียเอง เป็นต้น
๑๒.พระภิกษุณี (นักบวชหญิง) แอบค้าประเวณี ให้บริการทางเพศแก่ชายหนุ่มและชายแก่ตัณหาจัดจอมกลัดมัน เป็นต้น
ฯลฯ

ยกตัวอย่าง พระและบุคคลยอดดี ในสมัยพุทธกาล

๑.พระยอดกตัญญู เช่น พระสารีบุตร ผู้เป็นอัครสาวกเลิศด้วยปัญญา เป็นต้น
๒.พระมักน้อย สันโดษ ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ถือธุดงควัตร ชอบอยู่ป่า เช่น พระมหากัสสปะ พระโกณฑัญญะ เป็นต้น
๓.พระผู้มีนิสัยน่ารัก อ่อนน้อมถ่อมตน ยอดพระเลขา พระอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า เช่น พระอานนท์ เป็นต้น
๔.ผู้บวชภายแก่ แต่มีนิสัยว่านอนสอนง่าย เช่น พระราธะ เป็นต้น
๕.พระนักเทศน์ฝีปากเยี่ยมยอด เช่น พระกุมารกัสสปะ พระมหากัจจายนะ เป็นต้น
๖.พระผู้ไม่โอ้อวด ประพฤติถ่อมตน เช่น ท่านพระอัสสชิ เป็นต้น
๗.พระฝ่ายบู๊ ถ้าเป็นรัฐมนตรีในยุคปัจจุบัน ก็คงจะเป็นรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมนี่แหละ เช่น พระมหาโมคคัลลานะ เป็นต้น
๘.พระผู้เสียสละ คือเสียสละ ราชบัลลังก์ออกบวช เช่น พระมหากัปปินะ พระภัททิยะ เป็นต้น
๙.พระภิกษุณี ผู้เคร่งครัดด้วยพระธรรมวินัย เช่น นางปฏาจารา และผู้เลิศด้วยปัญญา เช่น นางเขมาเถรี เป็นต้น
๑๐.สามเณรราหุล ผู้ใฝ่การศึกษา สามเณรบัณฑิต ผู้เคารพเชื่อฟังพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ เป็นต้น
๑๑.ฝ่ายฆราวาสอริยสาวก ผู้เป็นเศรษฐีใจบุญ นายทุนใจดี เช่น อนาถบิณฑิก นางวิสาขา เป็นต้น
ฯลฯ

นี่ก็เพียงยกตัวอย่างให้เห็นว่า ยุคใดสมัยใดก็จะเป็นเช่นนี้ คือ มีคนดีคนชั่ว พระดีพระดื้อ เพราะกิเลสอันเดียวกัน คือ ราคะ โทสะ โมหะ เปลี่ยนแต่กาลเวลายุคสมัยเท่านั้น จะให้คนดีเสมอกัน เหมือนจะให้แผ่นดินราบเรียบเสมอกัน ย่อมเป็นไปไม่ได้

เพราะฉะนั้น คนหรือนักบวช ผู้ถูกกิเลสครอบงำ ก็ต้องวิปริตแปรปรวนไปต่างๆนาๆ มีขึ้นมีลง มีสูงมีต่ำ ประสบกับปัญหาหรือความทุกข์ทั้งในปัจจุบัน และในอนาคตอย่างไม่จบสิ้นเสียที

พระพุทธเจ้า พระองค์จึงมีกระบวนการพัฒนามนุษย์ ได้แก่ ให้สิกขา คือ การให้ความรู้ คู่ฝึกฝน จึงจะเกิดเป็นมีความรู้คู่ความประพฤติ มนุษย์ผู้ฝึกดีแล้ว เป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐ เหมือนช้างม้าฝึกดีแล้ว ก็เป็นสัตว์ที่ควรแก่การใช้งาน ส่วนคนนั้น ประเสริฐกว่าสัตว์เหล่านั้นนัก

แต่บางทีศึกษาและการฝึกฝน ก็ใช่ว่าจะสำเร็จประโยชน์กันทุกคน บ้างก็ไปได้ดีมีความเจริญ บ้างก็ตกต่ำย่ำแย่ ทั้งๆที่ลักษณะอย่างหลังใครๆก็ไม่ประปรารถนา แต่ก็ต้องรับผลเช่นนั้น ถ้าคิดดูดีๆ ก็น่าเห็นใจเป็นที่สุด เพราะมีกิเลสบัญชาการอยู่เบื้องหลัง เหมือนคนเป็นทาส จนขาดความเป็นอิสระ นอกจากเป็นขี้ข้ารับใช้นายอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง คนเราทั้งพระทั้งโยม ก็มีเบื้องหลังคือกิเลสเช่นนี้เหมือนกัน

ด้วยเหตุนั้น หน้าที่สำคัญของมนุษย์ผู้มีกิเลส มีความทุกข์ จึงต้องศึกษาอบรมพัฒนาตนเอง และให้ความรู้คู่ฝึกฝนในทางที่ถูก จึงจะดีหรือเจริญได้ อย่าพึ่งไปตัดสินอะไรๆด้วยอำนาจกิเลสตน เพราะทุกคนก็มีกรรมเป็นของตน ใครทำกรรมอันใดไว้ ก็ได้รับผลเช่นนั้น

ตัวอย่าง ข่าวดังพระหนุ่มเชิดเงินวัดนับร้อยล้านหนี ท่านก็ได้รับผลแห่งการกระทำจนแทบจะมองหน้าสังคมไม่ได้แล้ว ทุกอย่างก็ให้เป็นไปตามกระบวนการแห่งกรรม ส่วนเรา ก็อย่าชะล่าใจ วันใดวันหนึ่งอาจจะตกอยู่ในชะตากรรมเช่นนั้นก็เป็นไปได้ เพราะอำนาจแห่งกิเลสที่ยังมีอยู่มากมาย

ความสำคัญ ต้องแยกแยะอะไรให้ชัดเจน มิใช่มีอะไรเกิดขึ้นในพระพุทธศาสนาของตนเอง (เว้นแต่คนนอกศาสนา) ก็พูด/ทำประชดประชันไปว่า คงไม่กราบแล้วพระสงฆ์ คงจะได้กราบแต่พระในโบสถ์ หรือไหว้พระเครื่องดีกว่า การทำเช่นนั้น ไม่มีผลดีใดๆ ทั้งแก่ตนและคนอื่น รวมทั้งพระศาสนา เพราะไปมอบศาสนาให้แก่คนทำผิดหรือพระไม่ดี ทั้งๆที่เราเองก็เป็นเจ้าของศาสนาในฐานะเป็นพุทธบริษัท ดังที่ท่านป.อ.ปยุตฺโต เคยให้ข้อคิดไว้ว่า เหมือนเราเป็นเจ้าของบ้าน เมื่อไฟไหม้บ้าน ก็ช่วยกันดับไฟไหม้ หรือเหมือนโจรมาลักสิ่งของในบ้าน ก็ควรจะปกป้องสมบัติของตน ไม่ใช่ยกสมบัติให้โจรเสีย

ในขณะเดียวกัน ก็ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ตั้งใจศึกษา ปฏิบัติธรรมให้ดีๆ เพื่อให้ตนได้ประโยชน์และความสุข อันเกิดจากมีพระศาสนาอันประเสริฐ เพราะพระพุทธเจ้ายังสูงสุด พระธรรมยังยอดเยี่ยม พระอริยสงฆ์ ยังเป็นบุคคลแบบอย่างได้เป็นอย่างดี จะมัวตีโพยตีพายอยู่ไยเล่า เราต้องมีเหตุผล มีปัญญา รู้จักแยกแยะ ร่อนเอาเพชรพลอยมีค่าจากผืนแผ่นดินอันมากมายด้วยสิ่งปะปนต่างๆ ดังบทกวีผู้รู้ว่า

"สองคนยลตามช่อง
คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม
อีกคนตาแหลมคม
เห็นดวงดาวอยู่พราวพราย."

เพจ พระสุทธิพงษ์ อภิปุญฺโญ
:idea: :idea:

:) :D ต่อจากนี้ไปถ้าเห็นข่าวที่ไม่ดีเกี่ยวกับพระ อย่าให้ความสำคัญและอย่าคิดว่าศาสนามันเสื่อม คนต่างหากฉะนั้น "จงเลือกจำแต่ตัวอย่างที่ดี" เพราะสิ่งที่ไม่ดีมันมีคู่โลกมาเนิ่นนานแล้ว ปัจจุบันนี้นับวันยิ่งเพิ่มมากขึ้น ๆ เพราะ "สื่อ" ต้องขอบคุณสื่อนะ เราจะได้ทันโลกไม่ตกเป็นเหยื่อของเหล่า "อลัชชี" และอยากจะบอกว่ากรรมเวรมันติดอินเตอร์เน็ตแล้ว ไม่ต้องรอชาติหน้า ชาตินี้อาจได้เห็นกัน อย่าประมาทนะครับ ตัวอย่างสด ๆ ร้อนลงนรกตั้ง ๔๖๘ ปี :lol: :lol:
ไฟล์แนบ
ศาลสั่งจำคุก 468 ปี &quot;อดีตพระคม&quot; ยักยอกเงินวัดป่าธรรมคีรี 21 มี.ค. 67  ข่าวจาก ไทยพีบีเอส (Thai PBS)<br /><br />ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง พิพากษาจำคุก &quot;พระอาจารย์คม&quot; อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าธรรมคีรี รวม 468 ปี แต่โทษจำคุกสูงสุดตามกฎหมายให้เหลือ 50 ปี คดียักยอกทรัพย์วัดป่าธรรมคีรี มูลค่ากว่า 180 ล้านบาท<br />เมื่อวันที่ 20 มี.ค.2567 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง อ่านคำพิพากษากรณี &quot;อดีตพระคม อภิวโร&quot; อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าธรรมคีรี จ.นครราชสีมา กับพวกรวม 9 คน ในข้อหาร่วมกันกระทำความผิดยักยอกทรัพย์ของวัด รวมเป็นเงินกว่า 200 ล้านบาท โดยศาลเห็นว่ามีพยานหลักฐานมั่นคง โดยได้นำทรัพย์สินไปซุกซ่อนไว้ตามสถานที่ต่างๆ ในวัดและขนย้ายทรัพย์ออกไป<br /><br />ศาลพิพากาษาลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำคุกจำเลยที่ 1 กระทงละ 6 ปี รวม 78 กระทง คงจำคุก 468 ปี, จำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละ 4 ปี รวม 78 กระทง คงจำคุก 312 ปี, จำคุกจำเลยที่ 3 กระทงละ 4 ปี รวม 77 กระทง คงจำคุก 308 ปี, จำเลยที่ 4, 8 คนละ 3 ปี 4 เดือน, จำคุกจำเลยที่ 5, 6, 7, 9 คนละ 3 ปี<br /><br />การเสนอแนวทางชี้ช่องพยานหลักฐานและนำสืบของจำเลยที่ 5-9 เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้คนละหนึ่งในสาม คงจำคุกจำเลยที่ 4, 8 คนละ 2 ปี 2 เดือน 20 วัน และคงจำคุกจำเลยที่ 5, 6, 7, 9 คนละ 2 ปี<br /><br />สำหรับจำเลยที่ 1, 2 และจำเลยที่ 3 เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วให้จำคุกคนละ 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) ข้อหาอื่นสำหรับจำเลยที่ 4-9 ให้ยกฟ้อง<br /><br /><br />คดีนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พ.ค.2566 กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางดำเนินคดีกับ นายคม หรือ อดีตพระอาจารย์คม ผู้ต้องหาในข้อหา &quot;เป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้น เป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต, เป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ&quot;<br /><br />นายวุฒิมาฯ หรือ พระหมอ ข้อหา &quot;เป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต, เป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ&quot;<br /><br />และ น.ส.จุฑาทิพย์ฯ ผู้ต้องหา ข้อหา &quot;เป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต,เป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และรับของโจร&quot; เป็นเหตุให้วัดป่าธรรมคีรี ได้รับความเสียหายรวมเป็นเงิน 182,776,733 บาท<br /><br />ไทยพีบีเอส (Thai PBS) เลขที่ 145 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทร.0-2790-2000
ศาลสั่งจำคุก 468 ปี "อดีตพระคม" ยักยอกเงินวัดป่าธรรมคีรี 21 มี.ค. 67 ข่าวจาก ไทยพีบีเอส (Thai PBS)

ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง พิพากษาจำคุก "พระอาจารย์คม" อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าธรรมคีรี รวม 468 ปี แต่โทษจำคุกสูงสุดตามกฎหมายให้เหลือ 50 ปี คดียักยอกทรัพย์วัดป่าธรรมคีรี มูลค่ากว่า 180 ล้านบาท
เมื่อวันที่ 20 มี.ค.2567 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง อ่านคำพิพากษากรณี "อดีตพระคม อภิวโร" อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าธรรมคีรี จ.นครราชสีมา กับพวกรวม 9 คน ในข้อหาร่วมกันกระทำความผิดยักยอกทรัพย์ของวัด รวมเป็นเงินกว่า 200 ล้านบาท โดยศาลเห็นว่ามีพยานหลักฐานมั่นคง โดยได้นำทรัพย์สินไปซุกซ่อนไว้ตามสถานที่ต่างๆ ในวัดและขนย้ายทรัพย์ออกไป

ศาลพิพากาษาลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำคุกจำเลยที่ 1 กระทงละ 6 ปี รวม 78 กระทง คงจำคุก 468 ปี, จำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละ 4 ปี รวม 78 กระทง คงจำคุก 312 ปี, จำคุกจำเลยที่ 3 กระทงละ 4 ปี รวม 77 กระทง คงจำคุก 308 ปี, จำเลยที่ 4, 8 คนละ 3 ปี 4 เดือน, จำคุกจำเลยที่ 5, 6, 7, 9 คนละ 3 ปี

การเสนอแนวทางชี้ช่องพยานหลักฐานและนำสืบของจำเลยที่ 5-9 เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้คนละหนึ่งในสาม คงจำคุกจำเลยที่ 4, 8 คนละ 2 ปี 2 เดือน 20 วัน และคงจำคุกจำเลยที่ 5, 6, 7, 9 คนละ 2 ปี

สำหรับจำเลยที่ 1, 2 และจำเลยที่ 3 เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วให้จำคุกคนละ 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) ข้อหาอื่นสำหรับจำเลยที่ 4-9 ให้ยกฟ้อง


คดีนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พ.ค.2566 กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางดำเนินคดีกับ นายคม หรือ อดีตพระอาจารย์คม ผู้ต้องหาในข้อหา "เป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้น เป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต, เป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ"

นายวุฒิมาฯ หรือ พระหมอ ข้อหา "เป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต, เป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ"

และ น.ส.จุฑาทิพย์ฯ ผู้ต้องหา ข้อหา "เป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต,เป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และรับของโจร" เป็นเหตุให้วัดป่าธรรมคีรี ได้รับความเสียหายรวมเป็นเงิน 182,776,733 บาท

ไทยพีบีเอส (Thai PBS) เลขที่ 145 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทร.0-2790-2000
434001190_1588962735267979_2072845639794365416_n.jpg (77.02 KiB) เข้าดูแล้ว 522 ครั้ง
433971144_941539707644265_944747067565745670_n.jpg
433971144_941539707644265_944747067565745670_n.jpg (55.02 KiB) เข้าดูแล้ว 522 ครั้ง
434046052_926857292501687_2587837429880158571_n.jpg
434046052_926857292501687_2587837429880158571_n.jpg (71.09 KiB) เข้าดูแล้ว 522 ครั้ง
อย่างที่เล่าให้ฟังครับว่า ต้องไปพบหมอแทบจะทุกเดือน บางเดือน ๒ หนก็มี คิด ๆ ก็ &quot;ท้อ&quot; ้ถ้าไม่มีแนวทางการปฏิบัติธรรมที่ พ่อ แม่ ครูบาอาจารย์ท่านได้กรุณาอบรมสั่งสอนมาเนิ่นนาน ชีวิตคงหาความสุขไม่ได้ ปัจจุบันนี้ได้คิดแต่เพียง &quot;ร่างกายเป็นของหมอ จิตใจเป็นของเรา&quot; การบริหารชีวิตที่แท้จริงจึงคือ &quot;การปฏิบัติธรรม&quot; เท่านั้น<br /><br />โชคดีที่หมอไม่ได้ห้ามการเคลื่อนไหวร่างกาย ดังนั้นผมจึงอาศัยจักรยานเป็นเพื่อนในการบริหารร่างกาย ซึ่งทำให้ &quot;ฟื้นตัวได้เร็วครับ&quot; ส่วนเรื่องจิตใจนั้นไม่ต้องห่วง ผมอยู่ในโหมดของ &quot;ภาวนา&quot; ตลอดทั้งวันทั้งคืนไม่ได้ปล่อยใจให้เตลิดเปิดเปิงไปตาม กิเลส ตัณหา อีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้เราอยู่ในโหมดภาวนได้ดีก็คือ การศึกษาตำราต่าง ๆ โดยเฉพาะหนังสือ ธรรมะ (พระไตรปิฏก) ช่วยได้มากครับ.
อย่างที่เล่าให้ฟังครับว่า ต้องไปพบหมอแทบจะทุกเดือน บางเดือน ๒ หนก็มี คิด ๆ ก็ "ท้อ" ้ถ้าไม่มีแนวทางการปฏิบัติธรรมที่ พ่อ แม่ ครูบาอาจารย์ท่านได้กรุณาอบรมสั่งสอนมาเนิ่นนาน ชีวิตคงหาความสุขไม่ได้ ปัจจุบันนี้ได้คิดแต่เพียง "ร่างกายเป็นของหมอ จิตใจเป็นของเรา" การบริหารชีวิตที่แท้จริงจึงคือ "การปฏิบัติธรรม" เท่านั้น

โชคดีที่หมอไม่ได้ห้ามการเคลื่อนไหวร่างกาย ดังนั้นผมจึงอาศัยจักรยานเป็นเพื่อนในการบริหารร่างกาย ซึ่งทำให้ "ฟื้นตัวได้เร็วครับ" ส่วนเรื่องจิตใจนั้นไม่ต้องห่วง ผมอยู่ในโหมดของ "ภาวนา" ตลอดทั้งวันทั้งคืนไม่ได้ปล่อยใจให้เตลิดเปิดเปิงไปตาม กิเลส ตัณหา อีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้เราอยู่ในโหมดภาวนได้ดีก็คือ การศึกษาตำราต่าง ๆ โดยเฉพาะหนังสือ ธรรมะ (พระไตรปิฏก) ช่วยได้มากครับ.
433920407_781297913892090_5833212102868204903_n.jpg (96.53 KiB) เข้าดูแล้ว 522 ครั้ง
54277.jpg
54277.jpg (73.48 KiB) เข้าดูแล้ว 522 ครั้ง
54278.jpg
54278.jpg (74.52 KiB) เข้าดูแล้ว 522 ครั้ง
ออกจากพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์เรามีนัดกับ น้องม่อยไปรับอามาที่ร้านบะหมี่โกจือ ในตัวเมืองลำปาง เพื่อพาอาม่าไปเที่ยวโป่งน้ำร้อน อาม่าอายุแปดสิบกว่าแล้วครับ อากงพึ่งเสียไปเมื่อไม่กี่เดือนมานี้ อาม่าเหมือนจะเหงา ๆ เมื่อเรามาเที่ยวลำปางต้องพาอาม่าไปเที่ยวเป็นการพักผ่อนหย่อนใจครับ<br /><br />พูดถึงร้านบะหมี่โกจือ เป็นร้านที่ขึ้นชื่อสุด ๆ ในลำปางครับ หาไม่ยากอยู่ตรงหน้าไปรษณีย์ลำปางนั่นละครับ โกจือคือชื่อของ อาเตี่ย ที่เดินทางมาจากเมืองจีน มาอยู่ที่ลำปางทำบะหมี่ จนหม่อมถนัดศรี ฯ มอบเชลล์ชวนชิมให้เป็นรางวัลการันตีความอร่อยครับ<br /><br />เรียนเชิญทุกท่านไปแวะชิมได้นะครับ ขอบคุณนะครับ
ออกจากพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์เรามีนัดกับ น้องม่อยไปรับอามาที่ร้านบะหมี่โกจือ ในตัวเมืองลำปาง เพื่อพาอาม่าไปเที่ยวโป่งน้ำร้อน อาม่าอายุแปดสิบกว่าแล้วครับ อากงพึ่งเสียไปเมื่อไม่กี่เดือนมานี้ อาม่าเหมือนจะเหงา ๆ เมื่อเรามาเที่ยวลำปางต้องพาอาม่าไปเที่ยวเป็นการพักผ่อนหย่อนใจครับ

พูดถึงร้านบะหมี่โกจือ เป็นร้านที่ขึ้นชื่อสุด ๆ ในลำปางครับ หาไม่ยากอยู่ตรงหน้าไปรษณีย์ลำปางนั่นละครับ โกจือคือชื่อของ อาเตี่ย ที่เดินทางมาจากเมืองจีน มาอยู่ที่ลำปางทำบะหมี่ จนหม่อมถนัดศรี ฯ มอบเชลล์ชวนชิมให้เป็นรางวัลการันตีความอร่อยครับ

เรียนเชิญทุกท่านไปแวะชิมได้นะครับ ขอบคุณนะครับ
54279.jpg (51.04 KiB) เข้าดูแล้ว 522 ครั้ง
มาทั้งทีไม่ลืมที่จะพาอาม่าไปเที่ยวชมวัดสวยและมีเรื่องราวน่าชมคือ มี นรก สวรรค์ ให้ได้เดินชมเพลิดเพลินดี วัดทำได้ดีมากครับ เป็นครั้งแรกของเราเช่นกันที่ได้มาวัดนี้
มาทั้งทีไม่ลืมที่จะพาอาม่าไปเที่ยวชมวัดสวยและมีเรื่องราวน่าชมคือ มี นรก สวรรค์ ให้ได้เดินชมเพลิดเพลินดี วัดทำได้ดีมากครับ เป็นครั้งแรกของเราเช่นกันที่ได้มาวัดนี้
671757_0.jpg (120.1 KiB) เข้าดูแล้ว 522 ครั้ง
DSC_0496.JPG
DSC_0496.JPG (97.25 KiB) เข้าดูแล้ว 522 ครั้ง
DSC_0497.JPG
DSC_0497.JPG (101.31 KiB) เข้าดูแล้ว 522 ครั้ง
DSC_0498.JPG
DSC_0498.JPG (120.11 KiB) เข้าดูแล้ว 522 ครั้ง
DSC_0499.JPG
DSC_0499.JPG (115.4 KiB) เข้าดูแล้ว 522 ครั้ง
DSC_0500.JPG
DSC_0500.JPG (114.88 KiB) เข้าดูแล้ว 522 ครั้ง
DSC_0501.JPG
DSC_0501.JPG (93.54 KiB) เข้าดูแล้ว 522 ครั้ง
DSC_0503.JPG
DSC_0503.JPG (85.84 KiB) เข้าดูแล้ว 522 ครั้ง
DSC_0504.JPG
DSC_0504.JPG (115.53 KiB) เข้าดูแล้ว 522 ครั้ง
DSC_0505.JPG
DSC_0505.JPG (143.79 KiB) เข้าดูแล้ว 522 ครั้ง
DSC_0506.JPG
DSC_0506.JPG (98.04 KiB) เข้าดูแล้ว 522 ครั้ง
DSC_0507.JPG
DSC_0507.JPG (102.89 KiB) เข้าดูแล้ว 522 ครั้ง
ประวัติและความเป็นมาของวัดสันตินิคม<br /><br />วัดสันตินิคม เดิมชื่อ “วัดสันตินิคมสามัคคีธรรม” เริ่มก่อตั้งเมื่อ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๕ ในที่ดินของสหกรณ์นิคมห้างฉัตร มีเนื้อที่ ๑๕ ไร่ ๘๕ ตารางวา โดยเริ่มก่อสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นมาก่อน<br /><br />ประวัติการก่อสร้างวัดที่จัดทำขึ้นนี้ เป็นการบันทึกและปรับปรุงให้ถูกต้อง และได้รับความอนุเคราะห์เป็นคำบอกเล่าจาก พระครูกิตติธีรคุณ (กิตติภพ สุมังฺคโล) อดีตเจ้าอาวาสวัดในสมัยดำรงตำแหน่ง – พ.ศ. 2558 (ปัจจุุบันลาสิกขาไปแล้ว) , หลวงปู่สอาด กุสลจิตโต และนายจันทร์แก้ว (คุณตาคำ) จำปาวัน ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ริเริ่มการสร้างวัดตั้งแต่แรกเริ่ม พร้อมกับชาวบ้านในหมู่บ้าน ภายใต้การนำของพ่อหลวง(ผู้ใหญ่)อ้าย คำแสง และคุณตาคำ โดยมีประวัติพอสังเขป ดังนี้<br /><br />ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๕ ตรงกับปีจอ คุณตาจันทร์แก้ว (คำ) จำปาวัน มีความประสงค์ที่จะสร้างวัดเพื่อใช้เป็นสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาและใช้เป็นสถานที่ทำบุญแก่พุทธบริษัท ๔ จึงได้ชักชวน ผู้ใหญ่อ้าย คำแสง เดินทางไปพบหัวหน้านิคมห้างฉัตร และบอกความประสงค์ว่าต้องการที่ดินของทางสหกรณ์นิคม ห้างฉัตรส่วนหนึ่งเพื่อสร้างเป็นวัด จึงมาขออนุญาต ทางสหกรณ์ฯ ได้บอกว่าให้รอก่อน ๗ วัน จะทำเรื่องส่งไปยังอธิบดีกรมที่ดินพิจารณาว่าจะอนุญาตหรือไม่ พอครบ ๗ วันตามที่กำหนด ผู้ใหญ่อ้ายพร้อมด้วยคุณตาจันทร์แก้ว ได้เดินทางไปพบหัวหน้าสหกรณ์ฯ อีกครั้ง เพื่อฟังคำตอบ จึงได้รับคำตอบว่า อนุญาตให้จัดสร้างวัดได้ตามที่ขอไป<br /><br />หลังจากได้รับอนุญาตแล้ว ผู้ใหญ่อ้ายและคุณตาจันทร์แก้ว จึงได้ปรึกษากันว่าจะทำอย่างไรต่อไป และได้ตกลงกันว่า จะเดินทางไปพบและนำเรื่องการสร้างวัดดังกล่าวไปปรึกษากับท่านเจ้าคณะจังหวัดเสียก่อน ท่านเจ้าคุณพระพิศิษฎ์ธรรมภาณ (พระราชเมธาจารย์ : บัว ยโสธโร ในปัจจุบัน) เจ้าคณะจังหวัดลำปาง-เชียงราย-พะเยา-แพร่-น่าน ในสมัยนั้น ได้ทราบเรื่องแล้วจึงได้เห็นชอบในการก่อสร้างวัดครั้งนี้ และรับเป็นองค์ประธานดำเนินการฝ่ายสงฆ์<br /><br />หลังจากได้รับการสนับสนุนจากพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพิศิษฎ์ธรรมภาณแล้ว ผู้ใหญ่อ้ายและคุณตาจันทร์แก้ว ได้เดินทางไปพบ หลวงปู่แว่น ธนปาโล และ หลวงปู่หลวง กตปุญโญ พระอริยสงฆ์แห่งวัดป่าสำราญนิวาส ในตัวอำเถอเกาะคา จังหวัดลำปาง ได้แจ้งความประสงค์ของการสร้างวัดให้ทราบและได้นิมนต์พระอาจารย์ทั้งสองเดินทางมาดูสถานที่ และเพื่อขอบารมีของหลวงปู่ได้ช่วยพิจารณาการสร้างวัดในครั้งนี้ว่าจะทำสำเร็จหรือไม่ หลวงปู่หลวงได้เมตตานั่งสมาธิตรวจดูให้เป็นกรณีพิเศษ จึงได้คำตอบว่า การสร้างวัดในครั้งนี้จะสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็อยู่ที่เรา ตามคำบอกเล่าจากคุณตาจันทร์แก้วที่สนทนากับหลวงปู่หลวง ว่า “ผมว่าการสร้างวัดในครั้งนี้จะสำเร็จก็อยู่ที่ผม ไม่สำเร็จก็อยู่ที่ผม ถึงไม่มีเงิน แต่ผมมีแรงศรัทธา”<br /><br />หลวงปู่หลวงจึงได้ให้โอวาท ว่า “การทำงานร่วมกันนั้น อันว่าเราโกรธกันเสียในระหว่างการก่อสร้างก็ไม่มีทางสำเร็จลงได้ ถ้าเรามีเจตนาอันดีไม่มีความโกรธซึ่งกันและกัน มีความรักสามัคคีกันร่วมแรงร่วมใจกันมันก็สำเร็จได้เร็ววัน”<br /><br />เมื่อเสร็จธุระเรื่องการขออนุญาตจัดสร้งวัดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ใหญ่อ้ายและคุณตาจันทร์แก้ว จึงได้ทำการรังวัดที่ดินทั้ง ๔ ทิศ อันเป็นสถานที่จะทำการสร้างวัดนั้น และได้บอกให้ชาวบ้านรับทราบทั่วกัน เพื่อขอแรงสามัคคีช่วยกันมาสร้างวัด<br /><br />ในการก่อสร้างครั้งแรกนั้น ท่านเจ้าคุณพระพิศิษฎ์ธรรมภาณ ได้เป็นองค์ประธานในการก่อสร้างศาลาทำบุญเอนกประสงค์ขึ้นมาหนึ่งหลัง เป็นศาลาไม้ที่มีห้องพักพระภิกษุและสามเณร ๒ ห้องติดเป็นสถานที่เดียวกัน และสร้างกุฏิขึ้นอีก ๓ หลังในเวลาต่อมา พร้อมทั้งห้องน้ำ ๑ หลัง เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว ได้ทำการเปิดป้ายศาลาทำบุญขึ้น ในวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ . ๒๕๒๕ โดยมีพระพิศิษฎ์ธรรมภาณ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และมีผู้ใหญ่อ้าย คำแสง เป็นประธานฝ่ายฆราวาส มีคุณตาจันทร์แก้ว จำปาวัน เป็นกรรมการ<br /><br />ในพรรษาแรกนั้น เมื่อการก่อสร้างได้ขยายบริเวณและศาสนสถานต่าง ๆ ได้เกิดขึ้นตามกำลังศรัทธาของชาวบ้านนั้น ท่านเจ้าคุณโดยมอบหมายให้ หลวงพ่อพยุง อนาลโย มาเป็นเจ้าสำนักสงฆ์พร้อมด้วยสามเณร ๔ รูป รวมแล้ว ๕ รูป มาจำพรรษาที่สำนักสงฆ์แห่งนี้เพื่อปกครองดูแลการก่อสร้างและเริ่มพัฒนาสำนักสงฆ์ให้เป็นที่รู้จักของคนในชุมชน ทางด้านการทำบุญศาสนพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างศรัทธายังชาวบ้าน และพัฒนาวัดตามลำดับ หลวงพ่อพยุงได้อยู่บริหารการสร้างวัดได้สักระยะก็ได้เดินทางไปจำพรรษาที่อื่นด้วยเช่นกัน ในระหว่างนั้นการก่อสร้างจึงได้หยุดชะงักลงชั่วคราว<br /><br />ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 พระเจริญ สุมังฺคโล ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าสำนักแทน ได้มีการก่อสร้างถาวรวัตถุและศาสนสถานเรื่อยมา ได้แก่ โรงครัว , อาคารเก็บพัสดุ , ศาลาการเปรียญ โดยมีพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระพิศิษฎ์ธรรมภาณ เป็นประธานดำเนินการสร้างฝ่ายสงฆ์ และมีผู้ใหญ่อ้าย คำแสง , พ่อจันทร์แก้ว จำปาวัน เป็นกรรมการดำเนินการก่อสร้าง โรงครัวและอาคารเก็บพัสดุจนแล้วเร็จ ส่วนอาคารศาลาการเปรียญยังไม่เสร็จเรียบร้อยดีในขณะนั้น<br /><br />จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2538 ทางวัดจึงได้บูรณะพระอุโบสถขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยการนำของ &quot;หลวงปู่สอาด กุสลจิตโต&quot; เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ยกเสาเอกพระอุโบสถ เมื่อวันที่ เดือน 2538 การดำเนินการก่อสร้างเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จนแล้วสร็จสมบูรณ์ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาลงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และได้ทำการผูกพัธสีมาในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545<br /><br />ในระหว่าง ปี พ.ศ. 2538 - 2566 (ปีปัจจุบัน) &quot;หลวงปู่สอาด กุสลจิตโต&quot; ยังเป็นประธานอุปถัมภ์ในการก่อสร้างถาวรวัตถุ ด้านศาสนสถานอันสำคัญในวัด และเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ด้านการอบรมสั่งสอนญาติโยมและศิษยานุศิษย์ให้ร่วมกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เพื่อร่วมสร้างมหาทานบารมีกับท่าน ทั้งยังเป็นการแบ่งเบาภาระต่าง ๆ ในการถวายปัจจัยร่วมก่อสร้างอาคารสถานที่ภายในบริเวณวัดสันตินิคมจนสำเร็จในทุกโครงการ เห็นได้จากความสงบร่มเย็นภายในวัด และความงดงามในศิลปะการก่อสร้าง ที่แสดงออกมาในรูปแบบของศิลปกรรมที่ผสมผสานกันอย่างลงตัวของอาคารสถานที่ต่าง ๆ ทำให้ญาติโยมที่มาทำบุญได้เห็นทัศนียภาพที่เจริญตาเจริญใจเป็นอย่างยิ่ง<br /><br />  วันที่ประกาศ :  5 พฤศจิกายน 2558    โดย : วัดสันตินิคม
ประวัติและความเป็นมาของวัดสันตินิคม

วัดสันตินิคม เดิมชื่อ “วัดสันตินิคมสามัคคีธรรม” เริ่มก่อตั้งเมื่อ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๕ ในที่ดินของสหกรณ์นิคมห้างฉัตร มีเนื้อที่ ๑๕ ไร่ ๘๕ ตารางวา โดยเริ่มก่อสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นมาก่อน

ประวัติการก่อสร้างวัดที่จัดทำขึ้นนี้ เป็นการบันทึกและปรับปรุงให้ถูกต้อง และได้รับความอนุเคราะห์เป็นคำบอกเล่าจาก พระครูกิตติธีรคุณ (กิตติภพ สุมังฺคโล) อดีตเจ้าอาวาสวัดในสมัยดำรงตำแหน่ง – พ.ศ. 2558 (ปัจจุุบันลาสิกขาไปแล้ว) , หลวงปู่สอาด กุสลจิตโต และนายจันทร์แก้ว (คุณตาคำ) จำปาวัน ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ริเริ่มการสร้างวัดตั้งแต่แรกเริ่ม พร้อมกับชาวบ้านในหมู่บ้าน ภายใต้การนำของพ่อหลวง(ผู้ใหญ่)อ้าย คำแสง และคุณตาคำ โดยมีประวัติพอสังเขป ดังนี้

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๕ ตรงกับปีจอ คุณตาจันทร์แก้ว (คำ) จำปาวัน มีความประสงค์ที่จะสร้างวัดเพื่อใช้เป็นสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาและใช้เป็นสถานที่ทำบุญแก่พุทธบริษัท ๔ จึงได้ชักชวน ผู้ใหญ่อ้าย คำแสง เดินทางไปพบหัวหน้านิคมห้างฉัตร และบอกความประสงค์ว่าต้องการที่ดินของทางสหกรณ์นิคม ห้างฉัตรส่วนหนึ่งเพื่อสร้างเป็นวัด จึงมาขออนุญาต ทางสหกรณ์ฯ ได้บอกว่าให้รอก่อน ๗ วัน จะทำเรื่องส่งไปยังอธิบดีกรมที่ดินพิจารณาว่าจะอนุญาตหรือไม่ พอครบ ๗ วันตามที่กำหนด ผู้ใหญ่อ้ายพร้อมด้วยคุณตาจันทร์แก้ว ได้เดินทางไปพบหัวหน้าสหกรณ์ฯ อีกครั้ง เพื่อฟังคำตอบ จึงได้รับคำตอบว่า อนุญาตให้จัดสร้างวัดได้ตามที่ขอไป

หลังจากได้รับอนุญาตแล้ว ผู้ใหญ่อ้ายและคุณตาจันทร์แก้ว จึงได้ปรึกษากันว่าจะทำอย่างไรต่อไป และได้ตกลงกันว่า จะเดินทางไปพบและนำเรื่องการสร้างวัดดังกล่าวไปปรึกษากับท่านเจ้าคณะจังหวัดเสียก่อน ท่านเจ้าคุณพระพิศิษฎ์ธรรมภาณ (พระราชเมธาจารย์ : บัว ยโสธโร ในปัจจุบัน) เจ้าคณะจังหวัดลำปาง-เชียงราย-พะเยา-แพร่-น่าน ในสมัยนั้น ได้ทราบเรื่องแล้วจึงได้เห็นชอบในการก่อสร้างวัดครั้งนี้ และรับเป็นองค์ประธานดำเนินการฝ่ายสงฆ์

หลังจากได้รับการสนับสนุนจากพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพิศิษฎ์ธรรมภาณแล้ว ผู้ใหญ่อ้ายและคุณตาจันทร์แก้ว ได้เดินทางไปพบ หลวงปู่แว่น ธนปาโล และ หลวงปู่หลวง กตปุญโญ พระอริยสงฆ์แห่งวัดป่าสำราญนิวาส ในตัวอำเถอเกาะคา จังหวัดลำปาง ได้แจ้งความประสงค์ของการสร้างวัดให้ทราบและได้นิมนต์พระอาจารย์ทั้งสองเดินทางมาดูสถานที่ และเพื่อขอบารมีของหลวงปู่ได้ช่วยพิจารณาการสร้างวัดในครั้งนี้ว่าจะทำสำเร็จหรือไม่ หลวงปู่หลวงได้เมตตานั่งสมาธิตรวจดูให้เป็นกรณีพิเศษ จึงได้คำตอบว่า การสร้างวัดในครั้งนี้จะสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็อยู่ที่เรา ตามคำบอกเล่าจากคุณตาจันทร์แก้วที่สนทนากับหลวงปู่หลวง ว่า “ผมว่าการสร้างวัดในครั้งนี้จะสำเร็จก็อยู่ที่ผม ไม่สำเร็จก็อยู่ที่ผม ถึงไม่มีเงิน แต่ผมมีแรงศรัทธา”

หลวงปู่หลวงจึงได้ให้โอวาท ว่า “การทำงานร่วมกันนั้น อันว่าเราโกรธกันเสียในระหว่างการก่อสร้างก็ไม่มีทางสำเร็จลงได้ ถ้าเรามีเจตนาอันดีไม่มีความโกรธซึ่งกันและกัน มีความรักสามัคคีกันร่วมแรงร่วมใจกันมันก็สำเร็จได้เร็ววัน”

เมื่อเสร็จธุระเรื่องการขออนุญาตจัดสร้งวัดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ใหญ่อ้ายและคุณตาจันทร์แก้ว จึงได้ทำการรังวัดที่ดินทั้ง ๔ ทิศ อันเป็นสถานที่จะทำการสร้างวัดนั้น และได้บอกให้ชาวบ้านรับทราบทั่วกัน เพื่อขอแรงสามัคคีช่วยกันมาสร้างวัด

ในการก่อสร้างครั้งแรกนั้น ท่านเจ้าคุณพระพิศิษฎ์ธรรมภาณ ได้เป็นองค์ประธานในการก่อสร้างศาลาทำบุญเอนกประสงค์ขึ้นมาหนึ่งหลัง เป็นศาลาไม้ที่มีห้องพักพระภิกษุและสามเณร ๒ ห้องติดเป็นสถานที่เดียวกัน และสร้างกุฏิขึ้นอีก ๓ หลังในเวลาต่อมา พร้อมทั้งห้องน้ำ ๑ หลัง เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว ได้ทำการเปิดป้ายศาลาทำบุญขึ้น ในวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ . ๒๕๒๕ โดยมีพระพิศิษฎ์ธรรมภาณ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และมีผู้ใหญ่อ้าย คำแสง เป็นประธานฝ่ายฆราวาส มีคุณตาจันทร์แก้ว จำปาวัน เป็นกรรมการ

ในพรรษาแรกนั้น เมื่อการก่อสร้างได้ขยายบริเวณและศาสนสถานต่าง ๆ ได้เกิดขึ้นตามกำลังศรัทธาของชาวบ้านนั้น ท่านเจ้าคุณโดยมอบหมายให้ หลวงพ่อพยุง อนาลโย มาเป็นเจ้าสำนักสงฆ์พร้อมด้วยสามเณร ๔ รูป รวมแล้ว ๕ รูป มาจำพรรษาที่สำนักสงฆ์แห่งนี้เพื่อปกครองดูแลการก่อสร้างและเริ่มพัฒนาสำนักสงฆ์ให้เป็นที่รู้จักของคนในชุมชน ทางด้านการทำบุญศาสนพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างศรัทธายังชาวบ้าน และพัฒนาวัดตามลำดับ หลวงพ่อพยุงได้อยู่บริหารการสร้างวัดได้สักระยะก็ได้เดินทางไปจำพรรษาที่อื่นด้วยเช่นกัน ในระหว่างนั้นการก่อสร้างจึงได้หยุดชะงักลงชั่วคราว

ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 พระเจริญ สุมังฺคโล ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าสำนักแทน ได้มีการก่อสร้างถาวรวัตถุและศาสนสถานเรื่อยมา ได้แก่ โรงครัว , อาคารเก็บพัสดุ , ศาลาการเปรียญ โดยมีพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระพิศิษฎ์ธรรมภาณ เป็นประธานดำเนินการสร้างฝ่ายสงฆ์ และมีผู้ใหญ่อ้าย คำแสง , พ่อจันทร์แก้ว จำปาวัน เป็นกรรมการดำเนินการก่อสร้าง โรงครัวและอาคารเก็บพัสดุจนแล้วเร็จ ส่วนอาคารศาลาการเปรียญยังไม่เสร็จเรียบร้อยดีในขณะนั้น

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2538 ทางวัดจึงได้บูรณะพระอุโบสถขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยการนำของ "หลวงปู่สอาด กุสลจิตโต" เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ยกเสาเอกพระอุโบสถ เมื่อวันที่ เดือน 2538 การดำเนินการก่อสร้างเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จนแล้วสร็จสมบูรณ์ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาลงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และได้ทำการผูกพัธสีมาในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545

ในระหว่าง ปี พ.ศ. 2538 - 2566 (ปีปัจจุบัน) "หลวงปู่สอาด กุสลจิตโต" ยังเป็นประธานอุปถัมภ์ในการก่อสร้างถาวรวัตถุ ด้านศาสนสถานอันสำคัญในวัด และเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ด้านการอบรมสั่งสอนญาติโยมและศิษยานุศิษย์ให้ร่วมกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เพื่อร่วมสร้างมหาทานบารมีกับท่าน ทั้งยังเป็นการแบ่งเบาภาระต่าง ๆ ในการถวายปัจจัยร่วมก่อสร้างอาคารสถานที่ภายในบริเวณวัดสันตินิคมจนสำเร็จในทุกโครงการ เห็นได้จากความสงบร่มเย็นภายในวัด และความงดงามในศิลปะการก่อสร้าง ที่แสดงออกมาในรูปแบบของศิลปกรรมที่ผสมผสานกันอย่างลงตัวของอาคารสถานที่ต่าง ๆ ทำให้ญาติโยมที่มาทำบุญได้เห็นทัศนียภาพที่เจริญตาเจริญใจเป็นอย่างยิ่ง

วันที่ประกาศ : 5 พฤศจิกายน 2558 โดย : วัดสันตินิคม
DSC_0508.JPG (108.59 KiB) เข้าดูแล้ว 522 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »


:) :D วัดสันตินิคมตำบลใหม่พัฒนาอำเภอเกาะคาจังหวัดลำปาง :) :D


:o :o นรก สวรรค์ วัดสันตินิคม อ.เกาะคา จ.ลำปาง :o :o
ไฟล์แนบ
นรกภูมิ จาก วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี<br /><br />นรกภูมิ หรือเรียกโดยย่อว่า &quot;นรก&quot; (บาลี: निरय, นิรย; สันสกฤต: नरक, นรก; จีน: 那落迦, นาเหลาเจี๋ย; ญี่ปุ่น: 地獄, จิโกะกุ; พม่า:  งาเย; มลายู: neraka เนอรากา) คือ ดินแดนหนึ่งซึ่งตามศาสนาพุทธเชื่อกันว่าผู้ทำบาปจะต้องไปเกิดทันทีหรือถูกลงโทษตามคำพิพากษาของพระยม<br /><br />ตามไตรภูมิพระร่วง นรกภูมิเป็นดินแดนหนึ่งในกามภพอันเป็นภพหนึ่งในภพทั้งสาม คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ รวมเรียกว่า &quot;ไตรภพ&quot; หรือ &quot;ไตรภูมิ&quot;<br /><br />นรกของทางพุทธศาสนาต่างจากนรกของทางตะวันตกในสองประการ คือ สัตว์โลกมิได้ถูกส่งตัวไปเกิดและลงโทษในนรกภูมิตามคำพิพากษาของเทพ แต่เป็นเพราะบาปกรรมที่ตนได้กระทำเมื่อมีชีวิต และระยะเวลาถูกลงโทษในนรกนั้นเป็นไปตามโทษานุโทษ มิได้ชั่วกัปชั่วกัลป์เหมือนอย่างนรกของฝรั่ง กระนั้นก็นานเอาการอยู่ ซึ่งเมื่อพ้นโทษจากนรกแล้วจะได้กลับไปเกิดในโลกที่สูงขึ้นตามแต่กรรมดีที่ได้กระทำไว้หรือตามแต่ผลกรรมที่เหลืออยู่ แล้วแต่กรณี<br /><br />ในไตรภูมิกถา<br /><br />ตามจักรวาลวิทยาในศาสนาพุทธ นรกเป็นดินแดนหนึ่งซึ่งอยู่ใต้ชมพูทวีปหรือมนุษย์โลกลงไป และมี 9 ชั้นหรือที่เรียกว่า &quot;ขุม&quot; สำหรับลงทัณฑ์ต่างๆ แก่สัตว์บาปที่ไปเกิด ประกอบไปด้วยมหานรก 9 ขุม ยมโลก 360 ขุม อยู่รอบ 4 ทิศๆละ 10 ของมหานรกแต่ละขุม และ อุสสทนรก 128 ขุม อยู่รอบๆ 4 ทิศๆ ละ 4 ของมหานรกแต่ละขุม สัตว์นรกเมื่อถูกลง ทัณฑ์ทรมานแล้วก็จะเกิดขึ้นใหม่ถูกทรมานซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่าจะหมดกรรม<br /><br />นรกแต่ละขุม  นรกภูมิแบ่งขุมนรกหลัก ๆ ได้เป็น 8 ขุม ดังนี้<br /><br />1.สัญชีวมหานรก<br />2.กาฬสุตตมหานรก<br />3.สังฆาฏมหานรก<br />4.โรรุวมหานรก<br />5.มหาโรรุวมหานรก<br />6.ตาปนมหานรก<br />7.มหาตาปนมหานรก<br />8.อเวจีมหานรก
นรกภูมิ จาก วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี

นรกภูมิ หรือเรียกโดยย่อว่า "นรก" (บาลี: निरय, นิรย; สันสกฤต: नरक, นรก; จีน: 那落迦, นาเหลาเจี๋ย; ญี่ปุ่น: 地獄, จิโกะกุ; พม่า: งาเย; มลายู: neraka เนอรากา) คือ ดินแดนหนึ่งซึ่งตามศาสนาพุทธเชื่อกันว่าผู้ทำบาปจะต้องไปเกิดทันทีหรือถูกลงโทษตามคำพิพากษาของพระยม

ตามไตรภูมิพระร่วง นรกภูมิเป็นดินแดนหนึ่งในกามภพอันเป็นภพหนึ่งในภพทั้งสาม คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ รวมเรียกว่า "ไตรภพ" หรือ "ไตรภูมิ"

นรกของทางพุทธศาสนาต่างจากนรกของทางตะวันตกในสองประการ คือ สัตว์โลกมิได้ถูกส่งตัวไปเกิดและลงโทษในนรกภูมิตามคำพิพากษาของเทพ แต่เป็นเพราะบาปกรรมที่ตนได้กระทำเมื่อมีชีวิต และระยะเวลาถูกลงโทษในนรกนั้นเป็นไปตามโทษานุโทษ มิได้ชั่วกัปชั่วกัลป์เหมือนอย่างนรกของฝรั่ง กระนั้นก็นานเอาการอยู่ ซึ่งเมื่อพ้นโทษจากนรกแล้วจะได้กลับไปเกิดในโลกที่สูงขึ้นตามแต่กรรมดีที่ได้กระทำไว้หรือตามแต่ผลกรรมที่เหลืออยู่ แล้วแต่กรณี

ในไตรภูมิกถา

ตามจักรวาลวิทยาในศาสนาพุทธ นรกเป็นดินแดนหนึ่งซึ่งอยู่ใต้ชมพูทวีปหรือมนุษย์โลกลงไป และมี 9 ชั้นหรือที่เรียกว่า "ขุม" สำหรับลงทัณฑ์ต่างๆ แก่สัตว์บาปที่ไปเกิด ประกอบไปด้วยมหานรก 9 ขุม ยมโลก 360 ขุม อยู่รอบ 4 ทิศๆละ 10 ของมหานรกแต่ละขุม และ อุสสทนรก 128 ขุม อยู่รอบๆ 4 ทิศๆ ละ 4 ของมหานรกแต่ละขุม สัตว์นรกเมื่อถูกลง ทัณฑ์ทรมานแล้วก็จะเกิดขึ้นใหม่ถูกทรมานซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่าจะหมดกรรม

นรกแต่ละขุม นรกภูมิแบ่งขุมนรกหลัก ๆ ได้เป็น 8 ขุม ดังนี้

1.สัญชีวมหานรก
2.กาฬสุตตมหานรก
3.สังฆาฏมหานรก
4.โรรุวมหานรก
5.มหาโรรุวมหานรก
6.ตาปนมหานรก
7.มหาตาปนมหานรก
8.อเวจีมหานรก
DSC_0525.JPG (92.42 KiB) เข้าดูแล้ว 514 ครั้ง
DSC_0526.JPG
DSC_0526.JPG (55.2 KiB) เข้าดูแล้ว 514 ครั้ง
DSC_0527.JPG
DSC_0527.JPG (82.58 KiB) เข้าดูแล้ว 514 ครั้ง
DSC_0528.JPG
DSC_0528.JPG (70.55 KiB) เข้าดูแล้ว 514 ครั้ง
DSC_0529.JPG
DSC_0529.JPG (77.87 KiB) เข้าดูแล้ว 514 ครั้ง
DSC_0530.JPG
DSC_0530.JPG (86.06 KiB) เข้าดูแล้ว 514 ครั้ง
DSC_0531.JPG
DSC_0531.JPG (79.15 KiB) เข้าดูแล้ว 514 ครั้ง
DSC_0532.JPG
DSC_0532.JPG (71.08 KiB) เข้าดูแล้ว 514 ครั้ง
DSC_0533.JPG
DSC_0533.JPG (83.02 KiB) เข้าดูแล้ว 514 ครั้ง
DSC_0534.JPG
DSC_0534.JPG (76.85 KiB) เข้าดูแล้ว 514 ครั้ง
DSC_0535.JPG
DSC_0535.JPG (72.17 KiB) เข้าดูแล้ว 514 ครั้ง
DSC_0536.JPG
DSC_0536.JPG (76.75 KiB) เข้าดูแล้ว 514 ครั้ง
671736_0.jpg
671736_0.jpg (103.52 KiB) เข้าดูแล้ว 514 ครั้ง
671737_0.jpg
671744_0.jpg
DSC_0519.JPG
DSC_0519.JPG (98.53 KiB) เข้าดูแล้ว 514 ครั้ง
DSC_0540.JPG
DSC_0540.JPG (72.82 KiB) เข้าดูแล้ว 514 ครั้ง
DSC_0542.JPG
DSC_0542.JPG (89.14 KiB) เข้าดูแล้ว 514 ครั้ง
DSC_0549.JPG
DSC_0549.JPG (143.47 KiB) เข้าดูแล้ว 514 ครั้ง
สวรรค์  จาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี<br /><br />สวรรค์ (สันสกฤต: स्वर्ग, สฺวรฺค) หมายถึง ภพหนึ่งในคติของศาสนาต่าง ๆ เช่น ศาสนายูดาห์ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม อันเป็นสถานที่ตอบแทนคุณงามความดีของมนุษย์ที่ได้ทำไปเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลกนี้<br /><br />รากศัพท์<br /><br />คำว่า &quot;สวรรค์&quot; ในภาษาไทยนั้นเป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤต ภาษาไทอื่น ๆ มักใช้คำว่า &quot;เมืองฟ้า&quot; เช่น  &quot;เมิงฟ้า&quot; ในภาษาไทดำ<br /><br />พระพุทธศาสนา บทความหลัก: เทวโลก<br /><br />สวรรค์ในความเชื่อทางศาสนาพุทธ แปลว่า ภูมิหรือดินแดนที่มีอารมณ์เลิศด้วยดี เป็นที่อยู่ของเทวดา เหตุที่ทำให้มาเกิดเป็นเทวดาเพราะได้ สร้างบุญกุศลไว้เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ เมื่ออุบัติขึ้นก็ตั้งอยู่ในวัยหนุ่มสาวทันที งดงามตลอดเวลา จนกว่าจะถึงเวลาจุติ ไม่มีความแก่บังเกิดขึ้นเหมือนในเมืองมนุษย์ วิมานคือที่อยู่อาศัยของเทวดา ล้วนมีความวิจิตรงดงาม มีขนาดแตกต่างกัน มี ความเป็นอยู่สะดวกสบาย มีอาหารทิพย์บังเกิด ขึ้น มีบริวารคอยรับใช้ใกล้ชิด เสื้อผ้าเป็นทิพย์ วิจิตรงดงาม บังเกิดขึ้นให้สวมใส่ <br /><br />กิจกรรมแต่ละวันก็มีการเที่ยวเพลิดเพลินบันเทิงอยู่กับการชมสวน การสังสรรค์กันระหว่างทวยเทพทั้งหลาย ส่วนจะอุบัติขึ้น ณ สวรรค์ชั้นไหน เป็น เทวดาประเภทใด และอยู่ในฐานะอะไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับบุญที่ตัวเองสั่งสมมาเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ ซึ่งได้มีกล่าวไว้ในคิลายนสูตร ของพระไตรปิฎกภาษาบาลี ดังนี้<br /><br />1.จาตุมหาราชิกา ตั้งอยู่ ณ เชิงเขาพระสุเมรุ ที่ได้ชื่อสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา เพราะมีเทพผู้เป็นใหญ่ครองสวรรค์ชั้นนี้อยู่ 4 ท่าน คือ ท้าวธตรฐปกครองพวกคนธรรพ์ ท้าววิรุฬหกปกครองพวกกุมภัณฑ์ ท้าววิรูปักษ์ปกครองพวกนาค ท้าวเวสสุวรรณปกครองพวกยักษ์<br /><br />2.ดาวดึงส์ ตั้งอยู่ที่บนยอดเขาพระสุเมรุ ที่ชื่อว่า ดาวดึงส์ เพราะเป็นที่อยู่ของเทพผู้ปกครองภพถึง 33 องค์ โดยมีท้าวสักกะเป็นประธาน และที่สำคัญมีจุฬามณีเจดีย์ ซึ่งทุกวันพระเทวดาจะมาประชุมกันที่ศาลาสุธรรมา เพื่อรับฟังโอวาทจากท้าวสักกะ<br /><br />3.ยามา มีท้าวสุยามะเป็นจอมเทพ<br /><br />4.ดุสิต มีท้าวสันดุสิตเป็นจอมเทพ<br /><br />5.นิมมานรดี มีท้าวสุนิมมิตเป็นจอมเทพ<br /><br />6.ปรนิมมิตวสวัตดี มีท้าววสวัตตีเป็นจอมเทพ
สวรรค์ จาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สวรรค์ (สันสกฤต: स्वर्ग, สฺวรฺค) หมายถึง ภพหนึ่งในคติของศาสนาต่าง ๆ เช่น ศาสนายูดาห์ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม อันเป็นสถานที่ตอบแทนคุณงามความดีของมนุษย์ที่ได้ทำไปเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลกนี้

รากศัพท์

คำว่า "สวรรค์" ในภาษาไทยนั้นเป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤต ภาษาไทอื่น ๆ มักใช้คำว่า "เมืองฟ้า" เช่น "เมิงฟ้า" ในภาษาไทดำ

พระพุทธศาสนา บทความหลัก: เทวโลก

สวรรค์ในความเชื่อทางศาสนาพุทธ แปลว่า ภูมิหรือดินแดนที่มีอารมณ์เลิศด้วยดี เป็นที่อยู่ของเทวดา เหตุที่ทำให้มาเกิดเป็นเทวดาเพราะได้ สร้างบุญกุศลไว้เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ เมื่ออุบัติขึ้นก็ตั้งอยู่ในวัยหนุ่มสาวทันที งดงามตลอดเวลา จนกว่าจะถึงเวลาจุติ ไม่มีความแก่บังเกิดขึ้นเหมือนในเมืองมนุษย์ วิมานคือที่อยู่อาศัยของเทวดา ล้วนมีความวิจิตรงดงาม มีขนาดแตกต่างกัน มี ความเป็นอยู่สะดวกสบาย มีอาหารทิพย์บังเกิด ขึ้น มีบริวารคอยรับใช้ใกล้ชิด เสื้อผ้าเป็นทิพย์ วิจิตรงดงาม บังเกิดขึ้นให้สวมใส่

กิจกรรมแต่ละวันก็มีการเที่ยวเพลิดเพลินบันเทิงอยู่กับการชมสวน การสังสรรค์กันระหว่างทวยเทพทั้งหลาย ส่วนจะอุบัติขึ้น ณ สวรรค์ชั้นไหน เป็น เทวดาประเภทใด และอยู่ในฐานะอะไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับบุญที่ตัวเองสั่งสมมาเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ ซึ่งได้มีกล่าวไว้ในคิลายนสูตร ของพระไตรปิฎกภาษาบาลี ดังนี้

1.จาตุมหาราชิกา ตั้งอยู่ ณ เชิงเขาพระสุเมรุ ที่ได้ชื่อสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา เพราะมีเทพผู้เป็นใหญ่ครองสวรรค์ชั้นนี้อยู่ 4 ท่าน คือ ท้าวธตรฐปกครองพวกคนธรรพ์ ท้าววิรุฬหกปกครองพวกกุมภัณฑ์ ท้าววิรูปักษ์ปกครองพวกนาค ท้าวเวสสุวรรณปกครองพวกยักษ์

2.ดาวดึงส์ ตั้งอยู่ที่บนยอดเขาพระสุเมรุ ที่ชื่อว่า ดาวดึงส์ เพราะเป็นที่อยู่ของเทพผู้ปกครองภพถึง 33 องค์ โดยมีท้าวสักกะเป็นประธาน และที่สำคัญมีจุฬามณีเจดีย์ ซึ่งทุกวันพระเทวดาจะมาประชุมกันที่ศาลาสุธรรมา เพื่อรับฟังโอวาทจากท้าวสักกะ

3.ยามา มีท้าวสุยามะเป็นจอมเทพ

4.ดุสิต มีท้าวสันดุสิตเป็นจอมเทพ

5.นิมมานรดี มีท้าวสุนิมมิตเป็นจอมเทพ

6.ปรนิมมิตวสวัตดี มีท้าววสวัตตีเป็นจอมเทพ
433949684_440930945083694_4402882405208861839_n.jpg (125.36 KiB) เข้าดูแล้ว 514 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:idea: :idea: ขอพาท่านมารู้จักสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่มาพร้อมกับเราตั้งแต่เกิด จนสุดท้ายของชีวิต แค่นั้นยังไม่พอ ยังสามารถนำพาเราไปสู่ภพภูมิต่างๆ ที่เป็นที่สุด แห่งภพภูมิ ได้อีกด้วย “สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือ ลม หาย ใจ” :o :o

ณ ปัจจุบันนี้ มีงานวิจัยมากมาย รวมถึงคัมภีร์โบราณ ต่างบรรยายสรรพคุณของ ลมหายใจ ไว้มากมายมหาศาล โดยที่ ผู้ที่นำความลับนี้มาบอกเป็นคนแรก ได้แก่ “พระพุทธเจ้า” นั่นเอง "ลมหายใจคือสิ่งมหัศจรรย์ที่สุดในตัวเรา" แต่ก็ เป็นสิ่งที่ถูกมองข้าม มากที่สุด เช่นกัน

ลมหายใจ เป็นสิ่งที่มีพลังมหาศาล และเป็นเหตุปัจจัยสำคัญที่ทำให้พระพุทธเจ้าตรัสรู้ความจริงของจักรวาล แม้ในวันนี้ โลกได้มีวิวัฒนาการกว้างไกลไปมาก มาลองดูวิจัยต่างๆที่เกี่ยวกับลมหายใจดูบ้าง เพื่อที่จะให้ทุกคนได้เห็นคุณค่าของลมหายใจอย่างเป็นรูปธรรม จะได้รู้จักการทำงานของกายและใจของตน ผ่านลมหายใจ ตอนนี้จะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดแล้ว มาดูกัน

๑) ลมหายใจกำหนดอายุขัย -รู้ไหมว่า ลมหายใจมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอัตราการเต้นของ "หัวใจ" ด้วยน่ะ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด มีขีดจำกัดของการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 1 พันล้านครั้งในชีวิต หากสัตว์ชนิดไหน "หายใจถี่หายใจตื้น" มันจะอายุสั้น ส่วนสัตว์ชนิดไหน "หายใจช้าหายใจลึก" มันจะอายุยืน ฉะนั้น สิ่งนี้จึงเป็นข้อบ่งชี้ให้คุณประเมินตัวเองได้เลยว่า คุณจะอายุสั้นหรืออายุยืน ก็จะสามารถรู้ได้จากการฝึกดูลมหายใจนี้เอง

๒) หายใจถูกต้องป้องกันและรักษาโรคร้าย ได้มากมาย -เมื่อเรา "ฝึกลมหายใจให้ลึกและยาว" -คุณจะพบว่าโรคต่างๆ ที่เป็นเรื้อรังมานาน สามารถหายไปได้ ได้แก่

๒.๑ โรคไมเกรน - ท่านโกเอ็นก้า วิปัสสนาจารย์มหาเศรษฐีชาวอินเดีย ไปรักษาโรคนี้ที่ไหนก็ไม่หาย สุดท้ายก็หายได้จากการฝึก อานาปานสติ นี่ก็คือต้นเหตุที่ทำให้การปฏิบัติธรรมสายท่านโกเอ็นก้า เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางไปทั่วโลก เฉกเช่นทุกวันนี้
๒.๒ โรคหัวใจและโรคความดัน - การ "หายใจลึกและช้า" สามารถลดความดันโลหิตลงได้อย่างเห็นผลทันตา และสามารถช่วยผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจกำเริบ ให้อาการดีขึ้นได้ด้วยการ "หายใจลึกๆ และช้า"
๒.๓ โรคเครียดเรื้อรัง -โรคนี้นำมาซึ่งโรค อื่นๆ เป็นแพคเกจใหญ่เลย ทั้งนอนไม่หลับ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง สารพิษเพิ่มในเลือด -ซึ่งสำหรับวิธีแก้นี้ นพ.แอนดรู ไวล์ แพทย์ชื่อดังเคยกล่าวเอาไว้ว่า “หากจะให้ผมแนะนำเคล็ดลับการมีสุขภาพที่ดีเพียงข้อเดียว ผมจะบอกสั้นๆ แค่ว่า จงฝึก "หายใจอย่างถูกวิธี”

๓) ลมหายใจกับออกซิเจน -ร่างกายคนเราต้องการออกซิเจน ในการทำทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งกิน กะพริบตา เคี้ยว -นอกจากนั้นการ "หายใจลึกและยาว" จะช่วยบำรุงสมอง รักษาความจำ และชะลอโรคต่างๆ ยิ่งคุณหายใจถูกต้อง "ลึกและยาว" เท่าไหร่ ออกซิเจนก็จะเข้าสู่ร่างกายคุณได้มากมายมหาศาลเท่านั้น และมันจะทำให้คุณฉลาดมากขึ้นเพราะสมองได้รับออกซิเจน ที่เพียงพอ

๔) หายใจเป็น ทำให้หน้าเด็ก -เมื่อหายใจเป็น หายใจเต็มปอด ออกซิเจนจะไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างทั่วถึง -ทำให้ใบหน้ามีน้ำมีนวล เต่งตึง สดใส อ่อนกว่าวัย และขับสารพิษได้อีกด้วย

๕) ลมหายใจเป็นตัวกำหนด ระดับความสำเร็จในชีวิต -คุณควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ดีแค่ไหน? -รู้ไหมว่า อากาศที่เราหายใจเข้าไป มีผลต่ออารมณ์โดยตรง -หากคุณตื่นเต้น โกรธ กลัว หรือประหม่า ลองฝึก "หายใจเข้าออกยาวๆ" ดู เพราะการหายใจลึกๆ ยาวๆ จะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนหน้า ที่เป็นตัวบริหารและควบคุมอารมณ์ต่างๆ โดยตรง -สมองส่วนนี้ ยิ่งแข็งแรงมากขึ้นเท่าไหร่ คุณก็จะเป็นอีกคนที่มีสิทธิ์ที่จะควบคุมอารมณ์ของตัวเอง และกำหนดชะตาชีวิตใหม่ให้ตัวเอง ไม่ตกเป็นทาสของความกลัว ความโกรธ ความเกลียด มากขึ้นเท่านั้น

๖) สุดท้ายนี้ อยากให้ลองเอาสิ่งที่บอกเล่านี้ ไปฝึกทำดูน่ะ -นั่นก็คือฝึก "หายใจเข้า/ออกให้ยาวๆ" -แรกๆ อาจจะอึดอัด ก็ให้ลดการบังคับควบคุมมัน และออกมาดูว่า ตอนนี้ธรรมชาติของลมหายใจ ที่ไม่เคยฝึกมันก็เป็นแบบนี้ -ค่อยๆ ทำไปและบอกตัวเองเป็นเชิงสัญลักษณ์ เช่น ทุกครั้งที่เห็นวัตถุสีขาว จะกลับมาอยู่กับลมหายใจ และฝึกหายใจยาว -ทำไปสบายๆ สนุกกับมัน สังเกตสิ่งที่ปรากฎขึ้นกับร่างกายและความรู้สึกนึกคิดของเรา ออกมาเป็นผู้รู้ ผู้ดู ผู้สังเกตการณ์ ซะบ้าง -เพราะการเอาแต่ควบคุม ทุกอย่าง โดยไม่รู้จักธรรมชาติของมันนั้น ทำให้เราเป็นทุกข์มานานเกินไปแล้ว ทีนี้ก็ลอง ออกมาเป็นผู้ดู เพื่อเห็นความจริง เกี่ยวกับตัวเองดูบ้าง ทำไปเรื่อยๆ เน้นต่อเนื่องมากกว่า เก่ง แล้วคุณก็จะเป็นอีกคนหนึ่งที่ "หายใจเป็น” และรู้ด้วยตัวเองกับตากับใจว่า ไม่มีสมบัติชิ้นใดจะมีค่ามากไปกว่า “การหายใจอย่างถูกต้อง” อีกแล้ว ขออนุโมทนาในบุญกุศลของทุกท่าน ที่ได้ทำ ด้วย
:idea: :idea:

:) :D ออกจากเที่ยวชมนรก-สวรรค์ ที่วัดสันตินิคม เราก็เดินทางกลับ ผ่านมาทางโป่งน้ำร้อน ก็ถือโอกาสพาอาม่า ไปแช่น้ำร้อนผ่อนคลาย และไปกินไข่ออนเซนทีอร่อยมาก ๆ ใครผ่านไปอย่าลืมแวะนะครับ ได้ผ่อนคลายได้ชิมไข่ที่แสนอร่อยต่างกับไข่ต้มธรรมดาของเรามากเลย ดีใจที่เห็นอาม่าของเรามีความสุข :) :D


:) :D โป่งน้ำร้อนเกาะคาลำปางสวยนอนแช่น้ำผ่อนคลายกายสบายใจ :) :D
ไฟล์แนบ
433998214_1145124119998020_5490206199935714780_n.jpg
433998214_1145124119998020_5490206199935714780_n.jpg (104.4 KiB) เข้าดูแล้ว 381 ครั้ง
433938283_278666805284570_2802104393776530270_n.jpg
433938283_278666805284570_2802104393776530270_n.jpg (91.36 KiB) เข้าดูแล้ว 381 ครั้ง
เมื่อวันที่ ๒๕-๒๖ มี.ค.๖๗ คุณนายเข้ารับการผ่าตัดท่อน้ำตาตัน กว่าจะได้ผ่าหมอนัดตรวจสอบความยาก-ง่าย ของการผ่าตัด สุดท้ายหมอบอกว่าอายุเราก็มากแล้ว ผ่าข้างนอกจะ ง่าย ปลอดภัยกว่า (คุณแม่ไม่ต้องการความสวยงามแล้ว ?) แต่ถ้าผ่าด้านในข้อดีคือจะไม่เห็นแผลเป็น แต่ยากกว่าค่ารักษาแพงกว่าด้วย ความเสี่ยงสูงกว่าผ่าด้านนอก สรุปคุณนายเลือกเอาที่หมอง่าย คือผ่าด้านนอก (อาจจะเสียดายตังค์ ๕๕)<br /><br />เข้าห้องผ่าตัดช่วง ๔ โมงเย็น ใช้เวลาในการดำเนินการชั่วโมงกว่า ๆ ก็กลับห้อง ช่วงยาชาหมดฤทธิ์ อาการปวดก็รุนแรงขึ้น พาราเอาไม่อยู่ ก็เลยได้เวลาทดสอบจิตที่ฝึกไว้ดีแล้ว เข้าสมาธิดูลมหายใจ ปล่อยให้ร่างกายดำเนินไปตามวิถีทาง ส่วนจิตใจถูกกำกับควบคุมด้วยวิชาของพุทธะ ผลลัพธ์คือ คุณนายสู้กับความปวดได้อย่างยอดเยี่ยม ปรบมือให้รัว ๆ ครับ (สุดยอด)
เมื่อวันที่ ๒๕-๒๖ มี.ค.๖๗ คุณนายเข้ารับการผ่าตัดท่อน้ำตาตัน กว่าจะได้ผ่าหมอนัดตรวจสอบความยาก-ง่าย ของการผ่าตัด สุดท้ายหมอบอกว่าอายุเราก็มากแล้ว ผ่าข้างนอกจะ ง่าย ปลอดภัยกว่า (คุณแม่ไม่ต้องการความสวยงามแล้ว ?) แต่ถ้าผ่าด้านในข้อดีคือจะไม่เห็นแผลเป็น แต่ยากกว่าค่ารักษาแพงกว่าด้วย ความเสี่ยงสูงกว่าผ่าด้านนอก สรุปคุณนายเลือกเอาที่หมอง่าย คือผ่าด้านนอก (อาจจะเสียดายตังค์ ๕๕)

เข้าห้องผ่าตัดช่วง ๔ โมงเย็น ใช้เวลาในการดำเนินการชั่วโมงกว่า ๆ ก็กลับห้อง ช่วงยาชาหมดฤทธิ์ อาการปวดก็รุนแรงขึ้น พาราเอาไม่อยู่ ก็เลยได้เวลาทดสอบจิตที่ฝึกไว้ดีแล้ว เข้าสมาธิดูลมหายใจ ปล่อยให้ร่างกายดำเนินไปตามวิถีทาง ส่วนจิตใจถูกกำกับควบคุมด้วยวิชาของพุทธะ ผลลัพธ์คือ คุณนายสู้กับความปวดได้อย่างยอดเยี่ยม ปรบมือให้รัว ๆ ครับ (สุดยอด)
433980103_389873153997180_2401127052702030606_n.jpg (99.41 KiB) เข้าดูแล้ว 381 ครั้ง
DSC_0557.JPG
DSC_0560.JPG
DSC_0560.JPG (94.88 KiB) เข้าดูแล้ว 381 ครั้ง
DSC_0558.JPG
DSC_0558.JPG (130.71 KiB) เข้าดูแล้ว 381 ครั้ง
DSC_0559.JPG
DSC_0559.JPG (133.8 KiB) เข้าดูแล้ว 381 ครั้ง
DSC_0554.JPG
DSC_0554.JPG (108.63 KiB) เข้าดูแล้ว 381 ครั้ง
DSC_0555.JPG
DSC_0555.JPG (90.65 KiB) เข้าดูแล้ว 381 ครั้ง
DSC_0556.JPG
DSC_0556.JPG (129.2 KiB) เข้าดูแล้ว 381 ครั้ง
671758_0.jpg
671758_0.jpg (129.81 KiB) เข้าดูแล้ว 381 ครั้ง
671760_0.jpg
671762_0.jpg
671765_0.jpg
671767_0.jpg
671767_0.jpg (122.3 KiB) เข้าดูแล้ว 381 ครั้ง
671768_0.jpg
671769_0.jpg
671770_0.jpg
671770_0.jpg (109.42 KiB) เข้าดูแล้ว 381 ครั้ง
671773_0.jpg
“เกาะคาออนเซ็น” ที่กิน ที่เที่ยว ที่พักผ่อนพร้อมบำบัดในเวลาเดียวกัน ไปเที่ยวกันนะ..<br /><br />“สายน้ำแม่แก้ บ่อน้ำแร่โป่งร้อน ลือกระฉ่อนนวดสมุนไพร อบอุ่นไอสายใยวัฒนธรรม” คือคำขวัญของที่นี่เค้าล่ะ<br /><br />แต่เดิม ที่นี่มีน้ำพุร้อนผุดออกมาตามหาดทรายเลาะตามริมแม่น้ำ ชุมชนจึงมีการให้สัมปทานเข้ามาบริหารจัดการ จนถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งของจังหวัดลำปาง เราจะรู้จักที่นี่ในนาม “โป่งร้อนเกาะคา” หรือ “เกาะคาออนเซ็น”<br /><br />“โป่งร้อนเกาะคา” ตั้งอยู่ที่ อ.เกาะคา จ.ลำปาง เราขับรถผ่านตัวอำเภอเกาะคา ในเส้นทางหลักของวัดพระธาตุลำปางหลวง และเลี้ยวซ้ายไปตามป้ายของวัดไหล่หิน  จากนั้นขับรถตามป้ายบอกทางไปเรื่อย ๆ ไม่นานนัก เราก็จะเจอป้ายเชิญชวนริมถนนที่สะดุดตาดังภาพ เลี้ยวซ้ายเข้าไปได้เลย ประมาณ ๕๐๐ เมตร ก็ดับเครื่องเที่ยวกันโล้ด..!! หากกลัวว่าจะหลง ก็เปิด GPS นำทางได้นะ<br /><br />“โป่งร้อนเกาะคา” มีจุดสำหรับบริการไข่ออนเซ็นที่แช่แล้วไว้จำหน่าย แต่หากนำไข่มาแช่เอง จะคิดค่าบริการฟองละ ๒ บาท เพราะที่นี่ให้บริการโดยสัมปทาน ไปแล้วก็อย่าลืมอุดหนุนคนละ ๒,๓ ฟอง นะครับ<br /><br />ส่วนการแช่น้ำร้อนน้ำอุ่นนี้ เป็นการบำบัดด้วยวิธีทางธรรมชาติที่ได้ผลมาช้านาน เทคนิคเล็ก ๆ ที่เราควรรู้คือ อย่าแช่นานเกิน ๑๐ นาที และให้สลับกับน้ำเย็นไปเรื่อย ๆ  เพื่อสร้างสมดุลให้กับร่างกาย อย่าลืมนะ
“เกาะคาออนเซ็น” ที่กิน ที่เที่ยว ที่พักผ่อนพร้อมบำบัดในเวลาเดียวกัน ไปเที่ยวกันนะ..

“สายน้ำแม่แก้ บ่อน้ำแร่โป่งร้อน ลือกระฉ่อนนวดสมุนไพร อบอุ่นไอสายใยวัฒนธรรม” คือคำขวัญของที่นี่เค้าล่ะ

แต่เดิม ที่นี่มีน้ำพุร้อนผุดออกมาตามหาดทรายเลาะตามริมแม่น้ำ ชุมชนจึงมีการให้สัมปทานเข้ามาบริหารจัดการ จนถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งของจังหวัดลำปาง เราจะรู้จักที่นี่ในนาม “โป่งร้อนเกาะคา” หรือ “เกาะคาออนเซ็น”

“โป่งร้อนเกาะคา” ตั้งอยู่ที่ อ.เกาะคา จ.ลำปาง เราขับรถผ่านตัวอำเภอเกาะคา ในเส้นทางหลักของวัดพระธาตุลำปางหลวง และเลี้ยวซ้ายไปตามป้ายของวัดไหล่หิน จากนั้นขับรถตามป้ายบอกทางไปเรื่อย ๆ ไม่นานนัก เราก็จะเจอป้ายเชิญชวนริมถนนที่สะดุดตาดังภาพ เลี้ยวซ้ายเข้าไปได้เลย ประมาณ ๕๐๐ เมตร ก็ดับเครื่องเที่ยวกันโล้ด..!! หากกลัวว่าจะหลง ก็เปิด GPS นำทางได้นะ

“โป่งร้อนเกาะคา” มีจุดสำหรับบริการไข่ออนเซ็นที่แช่แล้วไว้จำหน่าย แต่หากนำไข่มาแช่เอง จะคิดค่าบริการฟองละ ๒ บาท เพราะที่นี่ให้บริการโดยสัมปทาน ไปแล้วก็อย่าลืมอุดหนุนคนละ ๒,๓ ฟอง นะครับ

ส่วนการแช่น้ำร้อนน้ำอุ่นนี้ เป็นการบำบัดด้วยวิธีทางธรรมชาติที่ได้ผลมาช้านาน เทคนิคเล็ก ๆ ที่เราควรรู้คือ อย่าแช่นานเกิน ๑๐ นาที และให้สลับกับน้ำเย็นไปเรื่อย ๆ เพื่อสร้างสมดุลให้กับร่างกาย อย่าลืมนะ
แก้ไขล่าสุดโดย Deang-sarapee เมื่อ 27 มี.ค. 2024, 12:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
ตอบกลับ

กลับไปยัง “ทัวร์ริ่ง (Touring)”