หน้า 4 จากทั้งหมด 5

Re: ส่วนใดของรถที่ทำให้ปั่นแล้วไหลลื่น..ล้อ? ชุดขับเคลื่อน?

โพสต์: 17 ก.ย. 2008, 18:59
โดย benher1st
ผมว่าอานครับ(เบาะ) เพราะถ้านั่งแล้วไม่สบายก้น รับรอง....(ล้อเล่นนะ)

Re: ส่วนใดของรถที่ทำให้ปั่นแล้วไหลลื่น..ล้อ? ชุดขับเคลื่อน?

โพสต์: 18 ก.ย. 2008, 01:30
โดย giro
ผมขอมาตอบแทน ในฐานะขาไม่แรง แต่บรรดาขาแรงคงเห็นพ้งอต้องกันว่าอยากเร็วต้อง ซ้อม ซ้อม ซ้อม อย่างถูกวิธีครับ

เรื่องนี้คงเป็นบทควาที่ยาวมากๆแน่นอนหากจะให้ไล่ทุกกระบวนการซ้อม ดังนั้นขอนำมาเฉพาะส่วนสำคัญจริงๆ อยากลึกกว่านั้น ลองค้นหาอ่านดูเพิ่มตามจากกระทู้เก่าหรือเวปทั่วไปนะครับ(โดยเฉพาะ bikelove)

๐อันดับแรกสุดจริงๆที่ขอพูดถึงการเป็นนักปั่นที่ดีคือ การควบคุมรถที่ดีและปลอดภัย เรียนรู้ระยะเบรค ความไวของรถ ปล่อยมือขี่แล้วคุมรถได้ เพราะในการปั่นเป็นกลุ่มสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับมือสมัครเล่นอย่งเราๆคือ"ความปลอดภัย" คงไม่ต้องบอกว่าออกทริปแล้วล้มเจ็บหนักต้องหยุดงาน มันแย่ขนาดใหน?? เช่นนั้นแล้วโดยส่วนตัวผมในอดีต เมื่อผมจูงจักรยานไปหากลุ่มปั่นกับฝรั่งแรกๆ สิ่งที่ฝรั่งบอกผมคือ learn to ride saftly สำคัญมากๆครับ อย่าสักแต่ว่าเร็ว แรง แล้วเป็นเครื่องร่อน ซ้ายไปขวามา เห็นเยอะตามทริปขนาดมหิมาทั่วไปที่มีเครือ่งร่อนเต็มไปหมด แรงไม่แรงผมไม่รู้ รู้แต่ว่า อันตราย ถ้าอยกาเป็นนักปั่นที่ดี เรียนรู้เรือ่งนี้เป็นอันดับแรกสุดครับ รักษาไลน์ให้ได้ ขี่ในกลุ่มให้ได้นิ่งและคาดเดาได้ เบรคและคุมรถได้อย่างดีสอดคล้องกับความเร็ว ลองจินตนาการว่าเราเป็นเหตุให้คนหลังเราล้มโครมๆ เสียงเสือหอมบล้อมทับกันเปรี้ยงปร้างมันไม่เพราะหรอกครับ และมูลค่าความเสียหายก็ไม่ต้องพูดถึง ......

๐ข้อที่สอง ใช้บันไดและรองเท้าให้คุ้ม มันออกแบบมาให้เราปั่นได้โดยที่ทั้งวงการปั่นมีการออกแรงอย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่ อย่าปั่นโดยการกด กระทืบ ดัน อย่างเดียว ออกแรงทั้งวงให้ได้อย่างดี คิดง่ายๆว่า ปั่นขาข้างเดียวให้ไปได้โดยไม่มีจุดบอดของการออกแรงนั่นแหละครับถูกแล้ว ดีวีดีสอนปั่นทุกสำนักสอนตรงกันหมดคือ ปั่นขาเดียวให้ได้ ถ้าทำไม่ได้ ขายรองเท้าและบันไดคลิปเลสทิ้งไปดีกว่าครับ ข้อนี้สำคัญมากๆ ถ้าได้ลองออกทริปหนักๆ โหดๆแล้วจะรู้ว่าวินาทีที่ตะคริวมันมาหา แต่ต้องไปต่อ มันสุดๆเพียงใด ต้องรู้จักเฉลี่ยแรงในวงที่เราปั่นให้ได้ นี่คือที่มาของคำว่า "สิงห์นักปั่น" ไม่ใช่ "สิงห์นักถีบ" เพราะเรา "ปั่น" หรือ "spin" บันได

๐ทีนี้มาถึงเรื่องยุ่งยากซับซ้อนออกเชิงวิชาการครับ เรื่องของ แอโรบคิและอะแนโรบิค เรียนรู้เรื่องนี้ใว้ครับ ลองหาอ่านเพิ่มนะครับ ผมขอสรุปง่ายตรงนี้ว่าพื้นฐานแรกที่สุดของการปั่นคือ รอบขาที่สูงหน่อยประมาณ 90-100 rpm แต่ เป็นความหนักของการปั่นที่สบายๆ ลองซ้อมที่ความหนักระดับนี้ รอบขอแบบนี้ยาวนานติดกันมากกว่า 45-60 นาที มันจะเหนื่อยคนละแบบกับที่เรามุ่งเน้นไปอัดหนักเอาเร็วเข้าว่า ใจเย็นๆและทำแบบนี้ไปสองเดือนสามเดือนครับ ไม่นานเห็นผลแน่นนอน เราจะ"อึด"กว่าเดิม มีพื้นฐานที่ดีในด้านของระบบแอโรบิคต่อไปแน่นอน

๐ความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อที่ใช้ปั่น มันเป็นความจริงแท้แน่นอนที่กล้ามเนื้อหลายชิ้นที่เราใช้ปั่นจักรยานแทบไม่ได้ถูกใช้งานในชีวิตประจำวันเลย ทำให้มันอ่อนแอมากๆ เมื่อคุณหัดรอบขา ประกอบกับการปั่นด้วยรอบขาที่ออกแรงอย่างดี คุณจะพบจุดอ่อนบนขาตัวเองแน่นอน พล้ามเนื้อบางส่วนอาจแข็งแรงมาก(ต้นขา สะโพก) บางส้วนอาจอ่อนแอมากปั่นไม่กี่นาทีก็ล้า(ต้นขาต้านล่างที่ใช้ดึง) วีธีที่ดีที่สุดคือเล่นเวทเทรนนิ่งหรือ มุ่งเน้นการซ้อมเฉพาะส่วนให้ทำงานให้หนักเพิ่มโหลดให้มันซะ โดยการปั่นเกียร์หนักๆมุ่งเน้นให้ครบทุกส่วนที่ใช้ปั่น แต่คุมระดับความเหนื่อยให้ไม่เยอะ

สุดท้ายนี้ขอนิยามคำว่า"เหนื่อย"ให้เข้าใจกันนะครับว่ามันเหนื่อยสองแบบ

เหนื่อยแบบแรกคือเหนื่อยแบบแอโรบคิ ร่างกายจะหอบแฮ่กๆ หายใจไม่ทัน หายใจติดขัด คลื่นไส้ สูดหายใจได้ไม่ลึก เวียนหัว แต่สังเกตุง่ายๆว่าผ่อนลงมาไม่นานก็หาย นี่แหละครับคือการทำงานของระบบแอโรบิคที่หนักมากๆ

เหนื่อยอีกแบบคือเหนื่อยแบบอะแนโรบิค มันจะหนักไปอีกแบบ รู้สึกร้อนวูบวาบที่ขา ออกแรงกดแต่มันแทบไม่มีแรงกดอีกต่อไป หายใจไม่ถี่นักแต่รู้สึกว่าหายใจเท่าใหร่ก็ไม่พอ ที่ระดับนี้ต่อให้พักแล้วแต่ยังมีอาการล้าตกค้างจนกว่าจะกำจัดของเสียจากการทำงานหนักของกล้ามเนื้อได้หมด

ในระยะแรกของพื้นฐานการปั่น อย่าไปนึกถึงเรื่องอะแนโรบิค เวลาปั่นกับกลุ่มอย่าเพิ่งน้อยอกน้อยใจที่ตามไม่ทัน แต่ขอให้มั่งเน้นที่เรื่องของกล้ามเนื้อและแอโรบิคเป็นหลักก่อน ทำเช่นนี้สามเดือน แล้วก็จะสามารถเอาตัวรอดได้แล้วครับ

ทีนี้ ก้าวต่อไปปั่นเสือหมอบอย่างไรให้สนุก มันมากกว่าที่กล่าวมาแน่นอน ส่วนตัวผมเอง เป็นพวกซ้อมน้อยๆ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมงโดยประมาณ ผมเลือกเพียงแค่สองอย่างที่กล่าวมาคือ แอโรบิคและความแข็งแกร่ง มันส่งผลให้สามารถออกทริปโหดพอได้ พอจะหมกไปใหว เพียงเท่านั้นจริงๆครับ หากต้องการมากกว่านี้มันต้องซ้อมเยอะกว่านี้ เพราะในขณะที่กลุ่มกระชากเล่นเกมส์หนีหรือไล่ล่ากัน เราต้องทำงานที่หนักบนระบบอะแนโรบคิ .ึ่งอันนี้แหละครับที่วัดกันว่าใครจะทนกว่ากัน อันนี้ใว้ว่ากัน หรือ อ่านใน bikelove เอาก็ได้

อีกประการที่สำคัญมากๆ คุณจะเปิดตำรากี่เล่มต่อกี่เล่ม ก็ไม่เท่ากับการปั่น ปั่น ปั่น เพราะขาแรงหลายต่อหลายท่านไม่เคยสนใจตำราเลยแต่ปั่นบ่อยๆ แทบทุกวัน ทั้งบนถนนทั่วไปและซ้อมจริงจัง แน่นอนว่ามันส่งผลได้อย่างมาก มันอธิบายเชิงวิชาการได้แน่นอนว่าโดยมากที่เราปั่นนั้นมันอยู๋บนระบบแอโรบิค ยิ่งเราปั่นมากเท่าใหร่ ไม่ว่าจะปั่นยังไงก็ตาม มันย่อมส่งผลที่ดีต่อการพัฒนาแน่นอน ข้อแม้มันอยู่ที่ระยะเวลาในการปั่นเท่านั้น ปั่นติดต่อกันให้ได้นานกว่า 40 นาที ถ้าทำได้เช่นนี้ ร่างกายพัฒนาแน่นอน

ย้ำนะครับ ซ้อมให้หนักให้ตายยังไงแต่ไม่นาน ก็สู้ซ้อมให้พอดีแต่นานพอไม่ได้ ถ้าขั้นสูงกว่านี้ก็คือคำว่า "อินเทอร์วัล" แล้วครับ ดั่งคำที่เกรก เลอมองด์ กล่าวว่า อินเทอร์วัลสัปดาห์ละ 7 ชั่วโมง ให้ผลดีกว่าซ้อมยาวๆสัปดาห์ละ 7 ชั่วโมง แต่ก่อนจะถึงระดับนั้น จะแข็งแรงพอจะเล่นอินเทอร์วัลสัปดาห์ละ 7 ชั่วโมงโดยไม่โอเวอร์เทรน มันต้องมีพื้นฐานแอโรบิคและรอบขาที่ดีก่อน

หาตัววัดชีพจรหรือ HRM มักตัว เล่นให้เป็นใช้ให้ถูก รับรองว่าสามารถควบคุมการซ้อมได้ดียิ่งขึ้นแน่นอน แต่อย่ามาเข้าสำนัก 3 ชั่วฉมงแบบผมครับ มันได้แค่ "เอาตัวรอด" มีบางช่วงที่ซ้อมเยอะๆหน่อยก็พัฒนามากหน่อย ช่วงใหนที่เล่นแค่ 3 ชั่วโมงเท่าเดิม มันก็ได้แค่เท่านั้นล่ะครับ ไม่มีอะไรได้มาโดยไม่ลงทุน

จักรยานมันสะท้อนชีวิตเราอย่างนึงคือ เราต้องหมั่น"สะสม" และ "สม่ำเสมอ" อย่าหวังโหมกระหน่ำเพื่อหวังผล ไม่มีประโยชน์

ปล. สามเดือนเก้าร้อยกว่าโล ก็ไม่นับว่ามาก และ ไม่นับว่าน้อย ขอแค่ให้แต่ละครั้งมันนานพอ ซักชั่วโมงโดยประมาณ ก็พอแล้ว ครั้งละ 20 กิโล น้อยไปครับ ไม่ถึงชั่วโมงก็เสร็จแล้ว ส่งผลได้ไม่มากนัก เปลี่นนเป็นครั้งละ 40 กิโล แต่เว้นทิ้งห่างไปดีกว่าครับ ระยะทางและความเร็วไม่ต้องสนใจเลยครับ สนใจแต่ความหนักและระยะเวลาดีกว่า

นี่ไม่ใช่บทสรุปของการเป็นขาแรงนะครับ เพราะผมซ้อมแค่นี้ก็ร่อแร่ๆทุกครั้ง แต่มันคือการซ้อมให้ได้ประโยชน์มากที่สุด อยากแรงอยากเก่งต้องซ้อมให้ถูกซ้อมให้ถึง พักผ่อนให้พอ บำรุงให้มาก ที่สำคัญ ปั่นให้สนุกและปลอดภัยครับ :)

Re: ส่วนใดของรถที่ทำให้ปั่นแล้วไหลลื่น..ล้อ? ชุดขับเคลื่อน?

โพสต์: 18 ก.ย. 2008, 07:47
โดย asored
เขียนดีมากครับ คุณGIRO :idea:

Re: ส่วนใดของรถที่ทำให้ปั่นแล้วไหลลื่น..ล้อ? ชุดขับเคลื่อน?

โพสต์: 18 ก.ย. 2008, 23:21
โดย iPoseidon
ขอบคุณ คุณ giro มากๆ คับ
อ่านแล้วได้ความรู้อีกเยอะเลย
ต้องไปลอง ปั่นใช้ขาข้างเดียวบ้างแล้ว เป็นสิงห์นักถีบมาตั้งนาน

Re: ส่วนใดของรถที่ทำให้ปั่นแล้วไหลลื่น..ล้อ? ชุดขับเคลื่อน?

โพสต์: 19 ก.ย. 2008, 01:48
โดย bird_
ขอบคุณคุณ Giro มากๆเลยครับ...ได้ความรู้อีกเพียบ...

Re: ส่วนใดของรถที่ทำให้ปั่นแล้วไหลลื่น..ล้อ? ชุดขับเคลื่อน?

โพสต์: 22 ก.ย. 2008, 09:36
โดย เจคุง
สวัสดีครับ...แอบอ่านหาความรู้มานานแล้วครับ ต้องขอบคุณพี่ๆเพื่อนๆ หลายๆท่านที่ share ความรู้ครับ
ส่วนที่คุณ กิฟท์ ถามตามหัวข้อ
ในความเห็นส่วนตัวผมคงต้องเป็น ชุดวงล้อ กับ หน้ากว้างของยางครับ
เจอมากับตัวเลยครับ
เพราะก่อนหน้านี้ผมขี่ภูเขาอยู่แล้วไปออกทริปกับชาวบ้านไปกลับ 150-160 โล
อยู่กลุ่มนำประมาณ 30 +/- โดยกลุ่มนำมี ทั้งหมอบและภูเขา สุดท้ายพอหมอบเร่ง...โดนทิ้งไปเกือบ 1 กิโลครับ
แล้วทุกครั้งพอกลับถึงบ้านก็หมดสภาพทุกครั้ง
หลังจากนั้นพยายามฝึกยังไงก็ตามไม่ทันสักที...อัดกับหมอบไปถึง 40 ก็อยู่ได้แค่ 1-2 นาทีก็หมดแรง
สุดท้ายตัดสินใจถอย หมอบ มารู้สึกได้เลยครับว่ามัน ไหล ลื่น พุ่ง กว่า ภูเขาเยอะ
อย่างเสาอาทิตย์ที่ผ่านมาไปกลับ 140 โล ขึ้นเขาไปกลับ 30 โล...ความเร็วทางราบที่ทำได้ 45 ความเร็วเฉลี่ยขาไป 40 โดนหมอบคันอื่นลาก
ขากลับ 35+/- กลับถึงบ้านยังมีแรงเหลืออยู่ครับ......
ปล. ถ้ารู้ว่าหมอบ สะใจอย่างนี้....รู้งี้ไม่เสียเงินถอย ภูเขา แล้ว.......

Re: ส่วนใดของรถที่ทำให้ปั่นแล้วไหลลื่น..ล้อ? ชุดขับเคลื่อน?

โพสต์: 22 ก.ย. 2008, 10:30
โดย Gift
:lol: :lol: คุณเจคุง ติดใจหมอบเหมือนกันเลย..

Re: ส่วนใดของรถที่ทำให้ปั่นแล้วไหลลื่น..ล้อ? ชุดขับเคลื่อน?

โพสต์: 22 ก.ย. 2008, 14:32
โดย ชิน
Gift เขียน::lol: :lol: คุณเจคุง ติดใจหมอบเหมือนกันเลย..
พี่เจ อยู่ที่ เมืองจีน เป็นเพื่อนรุ่นพี่ผมเองครับ หันมาปั่นใกล้ๆ กัน ผมก็ติดหมอบมากๆแล้วครับ 555 ไว้ว่างๆ เสารื อาทิตย์ไหนจะไปแจมด้วยนะครับ ว่าแต่ On the road วีคนี้ไปหรือปล่าวครับ กำลังชวนนายเอกไปด้วยอยู่ครับ

Re: ส่วนใดของรถที่ทำให้ปั่นแล้วไหลลื่น..ล้อ? ชุดขับเคลื่อน?

โพสต์: 22 ก.ย. 2008, 15:10
โดย เจคุง
chin@smk เขียน:
Gift เขียน::lol: :lol: คุณเจคุง ติดใจหมอบเหมือนกันเลย..
พี่เจ อยู่ที่ เมืองจีน เป็นเพื่อนรุ่นพี่ผมเองครับ หันมาปั่นใกล้ๆ กัน ผมก็ติดหมอบมากๆแล้วครับ 555 ไว้ว่างๆ เสารื อาทิตย์ไหนจะไปแจมด้วยนะครับ ว่าแต่ On the road วีคนี้ไปหรือปล่าวครับ กำลังชวนนายเอกไปด้วยอยู่ครับ
คุงชิน....ถ้าไม่มีไรผิดพลาด....อาทิตย์นี้เจอกัน.......

on the road

โพสต์: 22 ก.ย. 2008, 19:19
โดย Gift
ทริป on the road ไม่พลาดอยู่แล้วค่ะ ;) ..เจ้าเอกไปกับพี่เหนี่ยวหรือเปล่า.. แล้วยังงัยเจอกันอย่าลืมทักกันนะ..มองหาผู้หญิงตัวดำๆ ผมสั้นๆ เอาไว้..รับรองทักไม่ผิดคนแน่ๆ.. :lol:

Re: ส่วนใดของรถที่ทำให้ปั่นแล้วไหลลื่น..ล้อ? ชุดขับเคลื่อน?

โพสต์: 25 ก.ย. 2008, 02:19
โดย vermisse
ผมก็ฝึกปั่นไล่รถมอเตอร์ไซครับ ตอนปั่นแรกๆ แทบเป็นลม พอร่างกายมันอยู่ตัวแล้ว ก็จะรู้สึกได้ว่ามันลื่นไหลไปเองครับ เสือหมอบมันจะเหนื่อยตอนเริ่มทำความเร็ว พอปลายๆ มันไหล....สนุกดีครับ

Re: ส่วนใดของรถที่ทำให้ปั่นแล้วไหลลื่น..ล้อ? ชุดขับเคลื่อน?

โพสต์: 30 ก.ย. 2008, 00:04
โดย meng
ใครเคยลอง รถเพลาบ้าง (shaft drive,chainless drive) 7-8 speeds shimano
nexus หรือ alfine จะใช้แรงน้อยใหม?

Re: ส่วนใดของรถที่ทำให้ปั่นแล้วไหลลื่น..ล้อ? ชุดขับเคลื่อน?

โพสต์: 01 ต.ค. 2008, 13:10
โดย Ian101
หวัดดีคุณกิ๊ฟท์ ผมก็เป็นนักปั่นคนใหม่ เพิ่มเริ่มวันที่ 26 ม.ค. ปีนี้ ซ้อมบ้าง หยุดบ้าง ตั้งแต่ได้มาผมก็ปั่นมาไม่น้อยกว่า 7,000 โลแย้ว โดยที่ปั่นนั้นมีมีอาจารย์คอยนำเสมอ เขากึงบังคับหลายอย่างอาทิ รอบขา ความแข็งแรงขา การหมก และเฉลี่ยแรง ทั้งหมดพอเป็นแล้วต้องอาศัยประสบการณ์ในการนำว่า optimal speed (ความเร็วสูงสุด) แล้วแบ่งระยะทางให้เป็น

ยอมรับว่าอาจารย์ผมเขาตั้งใจปั้นผมมาเพราะตั้งแต่เริ่มเขาพาด้วยความเร็วเฉลี่ย 30++ ตลอดทาง แต่อาศัยการพักบ่อยในตอนแรก แต่พอปั่นไปนานๆ ก็เริ่มรู้หลายๆ จุดที่จะพัฒนาตัวได้และอะไรจำเป็นพอประมาณ

ต้องยอมรับว่าแรงเราจำเป็นที่สุด เพราะถ้าไม่มีแรงแล้วทำอะไรก็ไม่มีความหมาย ต่อให้มีเทคนิกก็นำมาใช้ไม่ได้หรือแม้แต่ของแต่ง ก็นำมาใช้ไม่ได้เต็มประสิทธิภาพจนทำให้เรารู้สึกว่าลงทุนเปล่า แต่ถ้าพอมีแรงแล้ว เท่าที่ลงทุนมาคือล้อ เพราะเป็นตัวที่สัมพัสกะพื้นถนนโดยตรง ผมไม่ได้บอกว่าล้อผมแพงแต่ถ้าเทียบกับล้อ standard แล้วดีกว่าเยอะ แต่ล้อผมหนักกว่า standard ล้อที่ดีของผมนั้นรักษาความเร็วได้นาน เลยไม่ต้องเติมแรงตลอดเวลา เวลาเข้าโค้งยังรู้สึกว่าความเร็วไม่ตกเหมือนล้อเดิม และที่สำคัญสุด มันรับแรงกระแทกไว้เยอะมาก ทำให้ไม่ล้ามากเกินไปเมื่อปั่นระยะไกล

ชุดขับเคลื่อนนั้น ไม่มีประสบการณ์มาก เพราะเปลี่ยนแต่จานหน้าอย่างเด๋ว แต่เทคนิกอย่างเด๋วที่อยากจะแนะนำคือ ปั่นให้จานมันเบาที่สุดจะได้ไม่หมดแรงและทำ้ให้กล้ามเนื้อทำไม่งานหนักเกิน แต่รอบขาต้องได้ด้วย แล้วเวลาต้องใช้ความเร็วแล้วจะได้ดึงออกมาตลอดโดยสับจานที่หนักได้ตลอด แต่การใช้รอบขาสูงจำเป็นต้องมีการฝึกการหายใจพร้อมกะหัวใจ ซึ่งจำเป็นต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิดยิ่งเฉพาะตอนแรกๆ ไม่งั้นอาจจะเหมือนผมต้องไปปรึกษาหมอ(โดยเฉพาะหมอหัวใจ)เป็นประจำ

Re: ส่วนใดของรถที่ทำให้ปั่นแล้วไหลลื่น..ล้อ? ชุดขับเคลื่อน?

โพสต์: 01 ต.ค. 2008, 13:57
โดย Gift
ขอบคุณค่ะคุณ Ian :D

Re: ส่วนใดของรถที่ทำให้ปั่นแล้วไหลลื่น..ล้อ? ชุดขับเคลื่อน?

โพสต์: 06 ต.ค. 2008, 15:34
โดย โก๋หม่อง
ขอบคุณผู้ตั้งคำถามและตอบคำถามมาก

ได้เพิ่มรอยหยักในสมองอีกเยอะเลยครับ มือใหม่เริ่มปั่นตามคำแนะนำเพื่อน :idea: