หน้า 170 จากทั้งหมด 172

Re: เอาใจขาแรง ชมรมจักรยานชุมพร

โพสต์: 21 มี.ค. 2013, 23:29
โดย beeggs
พระเอกอีกตัว จานหน้าstandard ตีนผีไฟฟ้า11sp เคลื่อนไหวเร็วเท่าตัวพี่อย่างsuperrecord eps 11spd เท่าที่ลองแม่นยำ ไม่มีสะดุด กดง่ายไม่ต้องออกแรงเลยทีเดียว สามารถกดค้างรูดได้หมดทั้งชุดเฟือง

Re: เอาใจขาแรง ชมรมจักรยานชุมพร

โพสต์: 21 มี.ค. 2013, 23:32
โดย beeggs
บันไดDA7900 carbon จัดเองไม่ได้มาพร้อมรถ ไหนๆก็ไหนๆ

Re: เอาใจขาแรง ชมรมจักรยานชุมพร

โพสต์: 21 มี.ค. 2013, 23:34
โดย beeggs
wheelsetชุดเดิม จัดมานาน นน เท่าLW ต่ำ1กก ขอบกำลังดี ไม่เหวี่ยงแต่ไหลๆ

Re: เอาใจขาแรง ชมรมจักรยานชุมพร

โพสต์: 21 มี.ค. 2013, 23:41
โดย beeggs
จุกbianchiเงินวาว แบบธรรมดา

ขากระติกคาร์บอนติดรถ

Re: เอาใจขาแรง ชมรมจักรยานชุมพร

โพสต์: 22 มี.ค. 2013, 04:08
โดย โลมาโด้
สวยมากครับหมอ ชอบตรงตะเกียบเหมือนปีกอินทรีย์เลย

Re: เอาใจขาแรง ชมรมจักรยานชุมพร

โพสต์: 22 มี.ค. 2013, 07:24
โดย beeggs
เห็นกระทู้ร้างๆเลยเอามาโชว์ให้มันวิ่งหน่อย รายงานการใช้ รออีกนิด
อีกตัว canondale supersix รายต่อไป

Re: เอาใจขาแรง ชมรมจักรยานชุมพร

โพสต์: 22 มี.ค. 2013, 13:11
โดย beeggs
สาเหตุที่มารีวิว เพราะว่าเมื่อวานถอดสลักมาเช็คแบตเตอรี เห็นไฟเริ่มขึ้นสีเหลือง
เลยเพิ่งรู้ว่าเกือบ3เดือนแล้ว-_-'

ตัวนี้ตัวเฟรมอาจจะไม่ได้ไฮเทคที่สุดนะตอนนี้ เพราะออกมานานแล้ว ตัวใหม่ที่น่าลองตอนนี้อาจจะเป็นcervelo r5CA/madone7.9/SL4
จุดเด่นอาจจะต้องยกให้ชุดเกียร์ไฟฟ้าราคามหาโหด แพงอันดับ2รองจากรุ่นพี่superrecord eps ราคาตัวรองจากตัวนี้คือ DA Di2
Campagnolo ทำ11sp มานานแล้ว ผมก็เริ่มใช้แรกๆประมาณปี2009 ติดใจกับระบบนี้มานาน
1.แยกมือกด นิ้วชี้ขึ้นจานใหญ่
2.นิ้วโป้งตบจานเล็ก
พอขยับมาทำเกียร์ไฟฟ้า ก็ติดตามผลงานต่อ ดีที่ออกมาทันยังไม่เปลี่ยนใจไปDi2
รวมๆ การเข้าเกียร์ยังคงระบบcampagเช่นเดิม ปั๊ก ปั๊ก ไม่นุ่มนวลเหมือนshimano ความแม่นยำของเกียร์ระดับนี้แทบจะเดาได้ ว่าแม่นยำไม่ต่างกับตัวท๊อป
แต่ไฟฟ้าก็เข้ามาชดเชยความนุ่มนวลการshiftingได้พอสมควร
จุดเด่น ของชุดเกียร์campag eps(ไม่รู้ว่าshimanoเป็นยังไง)
1.สับหน้าเลื่อนตำแหน่งออโต้ได้3ตำแหน่ง ตามเฟืองหลังพอขึ้นเฟืองจนระยะเยื้องทำให้สับจานหน้าสีโซ่จะเลื่อนเอง
2.รูดได้หมด11เกียร์ กดปุ่มเดียวค้าง ขึ้นลงได้11เฟือง

Re: เอาใจขาแรง ชมรมจักรยานชุมพร

โพสต์: 22 มี.ค. 2013, 13:28
โดย beeggs
พูดถึงเฟรม oltre ปัจจุบันออกตัวtopมาใหม่ ใช้ชื่อว่า oltre xr เบาลง stiffมากขึ้น
ลองเอาไปปั่น ความรู้สึกแรกคือ การcontrol handlingทำได้ดีมาก ถ่วงนน.CG สมดุลหน้าหลังดี
เข้าโค้งได้ดีเยี่ยม ลองสปรินท์ดู นน ตัวนี้เคาะออกมาที่6.8ไม่รวมบันได ก็ทำได้ดีอาจจะได้นน ล้อที่เบากว่าคู่อื่นๆ
พอลองลากยาวดู ก็คงความเร็วได้ดีพอควร ยังรู้สึกมั่นใจกับการควบคุมรถที่เทพมากๆอยู่
ก่อนที่ตัดสินใจเลือกตัวนี้ มีพี่คนนึงลองมาหลายตัวก็บอกว่าเฟรมดีๆ
ทีนี้ลองมาขี่เทียบกับตัวอื่นดู เพื่อไม่bias เปรียบเทียบกับ cervelo r3รู้สึกเลยว่านน. สู้R3ไม่ได้ ทำให้รู้สึกว่าoltreหนืดกว่านิดๆ แต่handlingใช้ได้

Re: เอาใจขาแรง ชมรมจักรยานชุมพร

โพสต์: 22 มี.ค. 2013, 13:47
โดย beeggs
ลองเปรียบเทียบกับcervelo s2 ดูจะใกล้เคียงกันค่อนข้างมาก ทั้งhandling น้ำหนัก แต่ความstiffตัวs2ได้ความstiffไปขาดลอย แม้oltreจะกระทืบได้ไม่น่าเกลียด ซึ่งก็ชดเชยด้วยความนุ่มนวลสบายตูดไปแทน ทางยาวน่าจะสบายกว่า
โดยรวม oltreเพียงลำพังเป็นเฟรมที่ดีตัวนึง จัดอยู่ในall-rounderที่ดีตัวนึง ถ้าจะจับชนคงต้องเอาไปฟัดกับmadone
แต่หากจับชนกับเฟรมทางราบ หรือเฟรมเขาแท้คงไม่โดดไปทางไหนเป็นพิเศษ

Re: เอาใจขาแรง ชมรมจักรยานชุมพร

โพสต์: 23 มี.ค. 2013, 11:37
โดย beeggs
โลมาโด้ เขียน:สวยมากครับหมอ ชอบตรงตะเกียบเหมือนปีกอินทรีย์เลย
ครับ ช่วยบังลมturbulanceเข้ามาตีล้อหน้า ออกแบบดีหักเลี้ยวไม่ชน ผมมีอีกตัวspecialize สร้างปีกยื่นมาจากท่อล่าง เวลาหมุนจะชนตะเกียบจนเป็น :( รอยสีถลอก

Re: เอาใจขาแรง ชมรมจักรยานชุมพร

โพสต์: 11 พ.ค. 2013, 16:37
โดย Modenmana
พรุ่งนี้ไปกินข้าวทับหลี 7.00 โมงเช้า ล้อหมุนครับ เจอกันข้างตลาดสดเทศบาล ครับ 8-)

หวังว่าฝนคงไม่ตก

Re: เอาใจขาแรง ชมรมจักรยานชุมพร

โพสต์: 29 ก.ค. 2013, 15:34
โดย beeggs
เงียบ....

Re: เอาใจขาแรง ชมรมจักรยานชุมพร

โพสต์: 29 ก.ค. 2013, 15:45
โดย beeggs
Giro Air attack size m ขาย6,500.- สภาพลองใส่2ครั้ง
สาเหตุ หาตังค์ใช้หนี้บัตรเครดิต(coldsweat)

http://img545.imageshack.us/img545/446/61lf.jpg

Re: เอาใจขาแรง ชมรมจักรยานชุมพร

โพสต์: 07 ส.ค. 2013, 07:28
โดย beeggs
:? เก็บไว้ใช้ต่อไป
--------------------------
velocity เขียน:ก่อนที่จะอธิบายว่าทำไมใบจาน ROTOR Qringถึง"ไม่กลม"อยากให้ดูรูปต่อไปนี้ก่อนนะครับ

รูปภาพ

รูปข้างต้นจะแสดงมัดกล้ามเนื้อ มัดต่างๆที่ใช้ในการปั่นลูกบันได
สมมติว่าภาพวงกลมด้านซ้ายคือชุดขาจานปั่นที่มีทิศทางการหมุนตามเข็มนาฬิกา
ส่วนด้านขวาคือภาพแสดงมัดกล้ามเนื้อที่ออกแรงในช่วงจังหวะต่างๆ
ขอใ้ห้สังเกตดูสีของมัดกล้ามเนื้อแต่ละมัดกับสีที่ระบายลงไปในช่วงจังหวะการหมุน (ขอใช้ศัพท์แบบธรรมดาแทนชื่อเรียกจริงๆของกล้ามเนื้อมัดนั้นๆเพื่อความง่ายในการเข้าใจ)

จะเห็นได้ชัดว่ากล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆเช่นส่วนก้น(A) ต้นขา(B) น่อง (C) จะออกแรงมากในช่วงจังหวะการหมุนตั้งแต่ 12-6นาฬิกา
ส่วนกล้ามเนื้อมัดเล็กๆอื่นๆจะออกแรงในช่วงที่เหลือ
แต่โดยธรรมชาติแล้วช่วงที่ขาทั้งหมดจะออกแรงกดได้มากที่สุดจะอยู่ในช่วง 3-5 นาฬิกา เพราะกล้ามเนื้อต้นขา(B)เป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่มีขนาดใหญ่มีกำลังมากกว่ากล้ามเนื้อมัดอื่นๆ และช่วงจังหวะ 3-5นาฬิกา แรงดึงดูดของโลก และแรงส่งจากช่วงจังหวะก่อนหน้าของการปั่น จะช่วยส่งให้แรงกดในช่วงจังหวะ 3-5นาฬิกานี้มีมากที่สุดนั่นเอง




ทีนี้มาต่อว่าจาน ROTOR Qringออกแบบมาอย่างไร

โปรดดูรูปประกอบอธิบาย

รูปภาพ

เห็นได้ชัดว่าใบจาน Qring จะมีความรีมากที่สุดในช่วงที่ตำแหน่งบันไดอยู่ในช่วง 3-5นาฬิกา สอดคล้องกับระบบสรีระวิทยา ที่กล่าวไปก่อนหน้า
และสังเกตให้ดีว่าใบจานจะมีความรี หรือความหนักน้อยที่สุดในช่วง12 และ6นาฬิกา เพราะเป็นช่วงที่กล้ามเนืิ้อขาทั้งหมดออกแรงได้น้อยที่้สุดแทบจะเป็น0
ซึ่งตำแหน่ง 12 และ6 นาฬิกา นี้เองที่รู้จักกันดีว่า DEAD SPOT หรือจุดที่ไม่มีการออกแรงกดลงบนลูกบันได



ต่อไปคือคำอธิบายว่าแล้วรูเยอะๆบนใบจานมีไว้ปรับตำแหน่งอะไร
โปรดดูภาพประกอบ
รูปภาพ
ตำแหน่งของลูกบันไดเมื่อเซทใบจานที่ตำแหน่งที่ 1

รูปภาพ
ตำแหน่งของลูกบันไดเมื่อเซทใบจานที่ตำแหน่งที่ 3

รูปภาพ
ตำแหน่งของลูกบันไดเมื่อเซทใบจานที่ตำแหน่งที่ 5

สำหรับตำแหน่งใบจานที่2และ4 ก็จะอยู่ระหว่างตำแหน่งที่1,3,5 ตามลำดับ
เห็นได้ชัดว่าตำแหน่งที่1 จะมีช่วงรีสูงสุดเมื่อบันไดอยู่ในตำแหน่งที่ถัดจาก 3นาฬิกามาเล็กน้อย
ส่วนตำแหน่งที่3ซึ่งเป็นตำแหน่งมาตรฐานที่แนะนำ จะเป็นช่วงที่กล้ามเนื้อขาของคนปกติส่วนมากออกแรงได้มากที่สุดจึงถือเป็นตำแหน่งอ้างอิงในการใช้งาน
ส่วนตำแหน่งที่ 5 ช่วงความรีสูงสุดจะเกือบถึงตำแหน่ง 5นาฬิกา

แล้วตำแหน่งที่แตกต่างกันของความรีต่างๆนี้มีผลอย่างไร?
ขอตอบว่ามีครับและสำคัญด้วย
เริ่มจากระบบสรีระวิทยาของร่างกายเราก่อน ในร่างกายของแต่ละคนปกติแน่นอนว่ามีตำแหน่งของกล้ามเนื้อต่างๆเหมือนกัน
ที่ต่างกันคือ ขนาด ความแข็งแรง และเมื่อพิจารณาโดยรวมจะพบว่า สัดส่วนของความแข็งแรงระหว่างกล้ามเนื้อมัดต่างๆนั้นมีความต่างกันระหว่างบุคคล(เน้นว่าสัดส่วนเลยนะครับ)
สังเกตง่ายๆในนักวิ่ง ที่ไม่ใช่นักวิ่งระยะสั้นนะครับ กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง จะใหญ่อย่างเห็นได้ชัด ส่วนนักจักรยานที่ค่อนข้างจริงจังจะเห็นได้เลยว่ากล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า มีขนาดใหญ่
ตำแหน่งการนั่งและวางท่าในการขี่ก็มีผลต่อการออกแรงกดเช่นกัน โปรบางคนสามารถที่ออกแรงได้ดีที่สุดโดยที่ยังอยู่ในตำแหน่งที่ลู่ลมที่สุดได้
แต่โปรบางคนอาจจะออกแรงได้ดีที่สุดในท่านั่งที่อาจจะต้านลมมากกว่า ในส่วนนี้การเลือกอุปกรณ์อื่นๆ เช่นแอโรบาร์และหมวก รวมถึงชุดก็จะเป็นส่วนสำคัญ
ในเวปของROTOR ส่วนของF.A.Q ได้ให้คำแนะนำง่ายๆไว้ว่าสำหรับคนที่ชอบนั่งปั่นเต็มๆเบาะสามารถปรับจานมาใกล้ตำแหน่งที่1 ได้ ส่วนคนที่ออกแรงได้มากในการยืนปั่นก็แนะนำให้ปรับเลื่อนมาทางตำแหน่งที่ 5ครับ(เพราะเวลายืนปั่นตำแหน่งของร่างกายเราจะอยู่ด้านหน้าของกะโหลกการออกแรงได้ดีที่สุดจึงเยื้องไปใกล้ช่วง5นาฬิกา)

ขอสรุปว่า ช่วง "ถนัด" ในการออกแรงกดได้สูงสุด ของแต่ละคนจึงมีความแตกต่างกันบ้างตามปัจจัยเบื้องต้นดังกล่าว


ที่มาขนาดของความรีที่เหมาะสมของจาน Qring นี้ล้วนมาจากการทดลอง วัดผล เก็บข้อมูลซ้ำแล้ว ซ้ำเล่าอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ จากตัวแปรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบสรีระวิทยา กายวิภาค ชีวกลศาสตร์ของมนุษย์ มุมองศาของรถ ตำแหน่งการนั่งของจักรยาน เพื่อให้ได้ความรีที่พอเหมาะ พอดี ไม่มาก ไม่น้อยจนเกินไปครับ

ข้อมูลทั้งหมดข้างต้นสามารถหาได้จากเวปของ ROTOR และ FORUM เกี่ยวกับ การฝึกซ้อมจักรยาน วิทยาศาสตร์การกีฬา Biomechanics ของต่างประเทศ
โดยผมได้รวบรวมเสาะหามาเพื่อหวังว่าจะตอบทุกๆคำถามสำหรับจาน ROTOR Qring นะครับ

ส่วนผลจากการใช้งานของตัวผมเองสามารถสรุปได้ว่า ในการขี่ระยะยาว รอบขาเฉลี่ยดีขึ้น และชีพจรเฉลี่ยต่ำลงกว่าการใช้จานกลมธรรมดา แต่ขอเตือนไว้ล่วงหน้าว่าใช้แล้วระวังจะติดใจครับ :D :D
รวบรวมและเรียบเรียง...by ตั้ม Velocity

Re: เอาใจขาแรง ชมรมจักรยานชุมพร

โพสต์: 07 ส.ค. 2013, 15:22
โดย ParkGtong
ได้ความรู้มากครับหมอ