หน้า 74 จากทั้งหมด 75

Re: จานไข่ ที่มา คู่มือการใช้งาน และ ผลการทดสอบ

โพสต์: 12 ก.พ. 2016, 15:21
โดย zzzz
อินทนนท์ Seson

เดี๋ยวตกเทรน

OBS
มาว่ากันเป็นข้อๆครับ

1.รู้เขา
ใช่ เขา ถึงจะเรียกดอยก็เหอะ...เขาลูกนี้ ไม่ใช่ที่ที่ไปปั่นกันเล่นๆไหวนะครับ
การไต่ระยะจากจอมทองขึ้นไปถึงยอด ต้องใต่ความสูงถึงประมาณ 2300 เมตร!!!
มาดูกันว่าต้องมีต้นทุนเป็นอะไรบ้างเพื่อไปพิชิตยอดดอยให้สำเร็จ
เอาง่ายๆ บ้านๆ เชิงประมาณการนะครับ

Basic Physic
-การไต่ดอย มองว่าเป็นการสะสมพลังงานในรูปของพลังงานศักด์ในเชิงของความสูง
สมการง่ายๆ
Ep = m*g*h ดังตัวอย่าง
m= นน.คน+รถ+อื่นๆ สมมุติคำนวนที่ = 100 kg
g= แรงดึงดูดของโลก 9.81 m2/s
h= สูง 2300 เมตร
Ep = 100*9.81*2300 = 2,256.3 KJ

นี่คือพลังงานต้นทุนที่ต้องใช้ + เพิ่มจากการปั่นทางราบนะครับ
เอาแค่ที่ต้องใช้เพราะความสูงล้วนๆ

2.รู้เรา
อันตัวเรานี้ จ่ายพลังงานลงไปที่รถได้เท่าไหร่......
ถ้าใช้ Power meter คงรู้แม่นๆ ว่า FTP(Functional Threshold Power) เรามี W อยู่เท่าไหร่
แต่เอาง่ายๆ
นักปั่นมือใหม่ 150-180 มือเก๋า 180-270 มืออาชีพ 270++
ทีนี่ เรารู้ต้นทุนพลังงานเป็น KJ หรืออ่านว่า กิโลจูล
เรารู้กำลังของตัวเรา เช่น 200 วัต FTP คือ แช่ 200 วัตได้หลายๆชั่วโมง
แปลงเป็น กิโลจูล ได้ดังนี้
200 * 60 วินาที * 60 นาที = 720 KJ ต่อ 1 ชั่วโมง

ดังนั้น เราจะไปปีนดอยได้ เวลาที่เราทำได้ควรจะอยู่ที่
2,256.3/720 = 3.13 ชั่วโมง
แต่อย่าลืม ตัวเลขนี้คิดจากต้นทุนความสูงอย่างเดียวนะคร้าบ ไม่รวมปัจจัยอื่นๆ
ดังนั้น ตัวเลขนี้ จึงเป็นไปไม่ได้ในทางปฎิบัต
แต่ให้ดูเพื่อใช้เป็นค่าอ้างอิง เวลาดีที่สุดที่เป็นไปทางทฤษดี...เท่านั้น...


3.ตั้งเป้าหมาย
เอาน้ำหนักคน+รถ = 100โล ไปขึ้นดอย ตัวเรามี 200 w
เวลาน้อยที่สุดที่เป็นไปได้คือ 3.13 ชั่วโมง
เป้ามี ชัดเจนดี แต่ยังไงก็ไม่มีทางถึงหรอก แค่โดนแรงเสียดทาน โดนลม เข้าไปก็จบกันแล้ว
แต่ มันคือตัวเลขที่เราใช้ตั้งใว้ในใจครับว่า นี่เลขนี้แหละ สุดๆของเราจริงๆ

-ถ้าเราเพิ่ม FTP ของเราได้ เอา 10% ก็ 20 วัตละกัน
เวลาจะดีขึ้นเท่าไหร่
เอาน้ำหนักคน+รถ = 100โล ไปขึ้นดอย ตัวเรามี 220 w
เวลาน้อยที่สุดที่เป็นไปได้คือ 2.85 ชั่วโมง น่าสนไหม....

-ถ้าเราลดน้ำหนักละ เอา 10% ก็ 90 กิโลละกัน
เวลาจะดีขึ้นเท่าไหร่
เอาน้ำหนักคน+รถ = 90โล ไปขึ้นดอย ตัวเรามี 200 w
เวลาน้อยที่สุดที่เป็นไปได้คือ 2.82 ชั่วโมง น่าสนไหม....

-ถ้าเราลดน้ำหนัก และ เพิ่ม FTP ละ เอา 10%ทั้งสองอย่าง
เอาน้ำหนักคน+รถ = 90โล ตัวเรามี 220 w
เหลือ 2.56 ชั่วโมง

ลอง Best Model
ถ้าหนักสัก 65 กิโล คน 58 รถ 7 และมี FTP สัก 300w
( นี่ก็ 4.6 w/Kg เข้าไปแล้ว คริสฟรูมเขาว่าช่วง Peak มี 6.2-6.8 w/kg แต่ที่พื้นราบและอากาศเย็นนะครับ )
เลขที่ออกคือ 1.35 ชั่วโมง
เป้าที่มองเห็น......

ปีนี้รอลุ้นโปรครับ
เขาอยากทำลายสถิติ sub 2 hr ..
ซึ่ง มองจากตัวเลขแล้ว เป็นไปได้มากๆ...ขอลุ้นด้วยคน


4.เลือก Strategy ที่จะใช้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
หลักๆเลย
เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย.....555555

การเพิ่ม FTP ทำได้สองทางครับ
ทางแรกคือ
การเพิ่มโดยตรง ต้องสะสมโดยการซ้อมครับ ใช้เวลา หาสูตรการบิ้วอับ FTP ได้มากมายบนอินเตอเน็ท
กับทางที่สองคือ
ลดการศูญเสียที่ไม่ก่อให้เกิดผล คือ ฝึกปั่นวงให้เป็น
และรู้จักรอบขาที่เราสามารถให้กำลังที่ FTP แบบต่อเนื่องได้
ตรงนี้ต้องขยายความ
เราจ่าย 220 วัตแช่ได้ แต่ ที่รอบขาช่วงไหนละ... บางท่านอาจจะ 80-90
แล้วที่ต่ำกว่า 80 ละ เราจ่าย 220 วัตแช่ได้ไหม
คำตอบคือ อาจจะ...แต่ผลแน่ๆคือ แรงที่ใช้ต่อรอบมากขึ้น อาจจะเกิดตะคริวได้
ตรงนี้เลยเป็นที่มาของ การอับเฟืองท้ายเป็น 36-42 ฟัน เพื่อ รักษารอบขาที่เราจ่ายกำลังได้ตามเสป็กนั้นเอง
ที่เขาเรียกว่าเซ็ทรถไว้ เพื่อให้ไปตามวัต ไล่รอบใด อย่าให้เกียร หมด นั้นเอง

แล้วการลดน้ำหนักละ.....
คิดง่ายๆ หนักร้อยโล มีแรง 200 w
จากสมการด้านบน การลดน้ำหนัก"สิบกิโลกรัมแรก"
ทำให้ถึงเร็วขึ้น กิโลกรัมละ สองนาที...
ลดได้สิบโล
ถึงเร็วขึ้น 20 นาทีเลยนา.........555555555

ตัวรถ หากเป็นสายเน้น อับเบา อันนี้เข้าใจได้ง่าย จ่ายปุ๊บ เบาปั๊บ..

ตัวคน แนะนำเรื่อง การบริโภค และการขับถ่าย ก่อนและ ระหว่างการปั่นครับ
เอาง่ายๆไม่เสียตัง ฝึกนิสัยเข้าห้องน้ำแต่เช้าให้คุ้นชิน ออกเท่าไหร่ เบาลงเท่านั้น

....
ยาวหน่อย
แต่นี่คือภาพรวมแบบคร่าวๆ
ขอให้แตะยอดดอยกันอย่างมีความสุขครับ

Re: จานไข่ ที่มา คู่มือการใช้งาน และ ผลการทดสอบ

โพสต์: 12 ก.พ. 2016, 19:08
โดย ntummavi
สุดยอดเลยเรยผมได้แนวทางล่ะ ขอ 3.5 ชม. ขาไม่แตะพื้น...

Re: จานไข่ ที่มา คู่มือการใช้งาน และ ผลการทดสอบ

โพสต์: 04 เม.ย. 2016, 09:36
โดย zzzz
...จินตนาการ เป็นมากกว่า ความรู้... :twisted: :twisted: :twisted:

cr. ... คุณก้อรู้ว่าใคร...

Re: จานไข่ ที่มา คู่มือการใช้งาน และ ผลการทดสอบ

โพสต์: 04 เม.ย. 2016, 09:59
โดย Quatar
:idea: อร้ากกกก ทำไมใหญ่ป่านนี้!!!!!!!

Re: จานไข่ ที่มา คู่มือการใช้งาน และ ผลการทดสอบ

โพสต์: 22 เม.ย. 2016, 09:37
โดย gackuto
หน้าสนใจ

Re: จานไข่ ที่มา คู่มือการใช้งาน และ ผลการทดสอบ

โพสต์: 21 พ.ค. 2016, 21:29
โดย Mr.coffee
:D

Re: จานไข่ ที่มา คู่มือการใช้งาน และ ผลการทดสอบ

โพสต์: 18 ก.ค. 2016, 09:34
โดย zzzz
มี paper น่าอ่านมานำเสนอครัับ ของสดๆใหม่ๆ ปี 2015 เลย

http://ac.els-cdn.com/S0167945715300592 ... a3c1e01766

ว่าด้วยเรื่อง power distribution ของแต่ละข้อต่อ
และปริมาณการใช้ o2 รวมของชุดกล้ามเนื้อ
ที่รอบขาต่างๆ
และที่วัตต่างๆ 100-225 w

ขอไม่ตัดตอนนะครับ
เพราะเนื้อหามีประโยชน และ อ่านง่าย...
ทำความเข้าใจ และ นำไปสังเกตุการปั่นของตัวเองดู
...รู้เรา...ล้วนๆ
Have Fun ...

Re: จานไข่ ที่มา คู่มือการใช้งาน และ ผลการทดสอบ

โพสต์: 27 ธ.ค. 2016, 11:11
โดย zzzz
เขียนไว้เมื่อปีที่แล้วครับ

ปีนี้ ไม่รู้จะเป็นยังไง... จะได้ไปไหมหนอออออ......
zzzz เขียน:อินทนนท์ Seson

เดี๋ยวตกเทรน

OBS
มาว่ากันเป็นข้อๆครับ

1.รู้เขา
ใช่ เขา ถึงจะเรียกดอยก็เหอะ...เขาลูกนี้ ไม่ใช่ที่ที่ไปปั่นกันเล่นๆไหวนะครับ
การไต่ระยะจากจอมทองขึ้นไปถึงยอด ต้องใต่ความสูงถึงประมาณ 2300 เมตร!!!
มาดูกันว่าต้องมีต้นทุนเป็นอะไรบ้างเพื่อไปพิชิตยอดดอยให้สำเร็จ
เอาง่ายๆ บ้านๆ เชิงประมาณการนะครับ

Basic Physic
-การไต่ดอย มองว่าเป็นการสะสมพลังงานในรูปของพลังงานศักด์ในเชิงของความสูง
สมการง่ายๆ
Ep = m*g*h ดังตัวอย่าง
m= นน.คน+รถ+อื่นๆ สมมุติคำนวนที่ = 100 kg
g= แรงดึงดูดของโลก 9.81 m2/s
h= สูง 2300 เมตร
Ep = 100*9.81*2300 = 2,256.3 KJ

นี่คือพลังงานต้นทุนที่ต้องใช้ + เพิ่มจากการปั่นทางราบนะครับ
เอาแค่ที่ต้องใช้เพราะความสูงล้วนๆ

2.รู้เรา
อันตัวเรานี้ จ่ายพลังงานลงไปที่รถได้เท่าไหร่......
ถ้าใช้ Power meter คงรู้แม่นๆ ว่า FTP(Functional Threshold Power) เรามี W อยู่เท่าไหร่
แต่เอาง่ายๆ
นักปั่นมือใหม่ 150-180 มือเก๋า 180-270 มืออาชีพ 270++
ทีนี่ เรารู้ต้นทุนพลังงานเป็น KJ หรืออ่านว่า กิโลจูล
เรารู้กำลังของตัวเรา เช่น 200 วัต FTP คือ แช่ 200 วัตได้หลายๆชั่วโมง
แปลงเป็น กิโลจูล ได้ดังนี้
200 * 60 วินาที * 60 นาที = 720 KJ ต่อ 1 ชั่วโมง

ดังนั้น เราจะไปปีนดอยได้ เวลาที่เราทำได้ควรจะอยู่ที่
2,256.3/720 = 3.13 ชั่วโมง
แต่อย่าลืม ตัวเลขนี้คิดจากต้นทุนความสูงอย่างเดียวนะคร้าบ ไม่รวมปัจจัยอื่นๆ
ดังนั้น ตัวเลขนี้ จึงเป็นไปไม่ได้ในทางปฎิบัต
แต่ให้ดูเพื่อใช้เป็นค่าอ้างอิง เวลาดีที่สุดที่เป็นไปทางทฤษดี...เท่านั้น...


3.ตั้งเป้าหมาย
เอาน้ำหนักคน+รถ = 100โล ไปขึ้นดอย ตัวเรามี 200 w
เวลาน้อยที่สุดที่เป็นไปได้คือ 3.13 ชั่วโมง
เป้ามี ชัดเจนดี แต่ยังไงก็ไม่มีทางถึงหรอก แค่โดนแรงเสียดทาน โดนลม เข้าไปก็จบกันแล้ว
แต่ มันคือตัวเลขที่เราใช้ตั้งใว้ในใจครับว่า นี่เลขนี้แหละ สุดๆของเราจริงๆ

-ถ้าเราเพิ่ม FTP ของเราได้ เอา 10% ก็ 20 วัตละกัน
เวลาจะดีขึ้นเท่าไหร่
เอาน้ำหนักคน+รถ = 100โล ไปขึ้นดอย ตัวเรามี 220 w
เวลาน้อยที่สุดที่เป็นไปได้คือ 2.85 ชั่วโมง น่าสนไหม....

-ถ้าเราลดน้ำหนักละ เอา 10% ก็ 90 กิโลละกัน
เวลาจะดีขึ้นเท่าไหร่
เอาน้ำหนักคน+รถ = 90โล ไปขึ้นดอย ตัวเรามี 200 w
เวลาน้อยที่สุดที่เป็นไปได้คือ 2.82 ชั่วโมง น่าสนไหม....

-ถ้าเราลดน้ำหนัก และ เพิ่ม FTP ละ เอา 10%ทั้งสองอย่าง
เอาน้ำหนักคน+รถ = 90โล ตัวเรามี 220 w
เหลือ 2.56 ชั่วโมง

ลอง Best Model
ถ้าหนักสัก 65 กิโล คน 58 รถ 7 และมี FTP สัก 300w
( นี่ก็ 4.6 w/Kg เข้าไปแล้ว คริสฟรูมเขาว่าช่วง Peak มี 6.2-6.8 w/kg แต่ที่พื้นราบและอากาศเย็นนะครับ )
เลขที่ออกคือ 1.35 ชั่วโมง
เป้าที่มองเห็น......

ปีนี้รอลุ้นโปรครับ
เขาอยากทำลายสถิติ sub 2 hr ..
ซึ่ง มองจากตัวเลขแล้ว เป็นไปได้มากๆ...ขอลุ้นด้วยคน


4.เลือก Strategy ที่จะใช้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
หลักๆเลย
เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย.....555555

การเพิ่ม FTP ทำได้สองทางครับ
ทางแรกคือ
การเพิ่มโดยตรง ต้องสะสมโดยการซ้อมครับ ใช้เวลา หาสูตรการบิ้วอับ FTP ได้มากมายบนอินเตอเน็ท
กับทางที่สองคือ
ลดการศูญเสียที่ไม่ก่อให้เกิดผล คือ ฝึกปั่นวงให้เป็น
และรู้จักรอบขาที่เราสามารถให้กำลังที่ FTP แบบต่อเนื่องได้
ตรงนี้ต้องขยายความ
เราจ่าย 220 วัตแช่ได้ แต่ ที่รอบขาช่วงไหนละ... บางท่านอาจจะ 80-90
แล้วที่ต่ำกว่า 80 ละ เราจ่าย 220 วัตแช่ได้ไหม
คำตอบคือ อาจจะ...แต่ผลแน่ๆคือ แรงที่ใช้ต่อรอบมากขึ้น อาจจะเกิดตะคริวได้
ตรงนี้เลยเป็นที่มาของ การอับเฟืองท้ายเป็น 36-42 ฟัน เพื่อ รักษารอบขาที่เราจ่ายกำลังได้ตามเสป็กนั้นเอง
ที่เขาเรียกว่าเซ็ทรถไว้ เพื่อให้ไปตามวัต ไล่รอบใด อย่าให้เกียร หมด นั้นเอง

แล้วการลดน้ำหนักละ.....
คิดง่ายๆ หนักร้อยโล มีแรง 200 w
จากสมการด้านบน การลดน้ำหนัก"สิบกิโลกรัมแรก"
ทำให้ถึงเร็วขึ้น กิโลกรัมละ สองนาที...
ลดได้สิบโล
ถึงเร็วขึ้น 20 นาทีเลยนา.........555555555

ตัวรถ หากเป็นสายเน้น อับเบา อันนี้เข้าใจได้ง่าย จ่ายปุ๊บ เบาปั๊บ..

ตัวคน แนะนำเรื่อง การบริโภค และการขับถ่าย ก่อนและ ระหว่างการปั่นครับ
เอาง่ายๆไม่เสียตัง ฝึกนิสัยเข้าห้องน้ำแต่เช้าให้คุ้นชิน ออกเท่าไหร่ เบาลงเท่านั้น

....
ยาวหน่อย
แต่นี่คือภาพรวมแบบคร่าวๆ
ขอให้แตะยอดดอยกันอย่างมีความสุขครับ

Re: จานไข่ ที่มา คู่มือการใช้งาน และ ผลการทดสอบ

โพสต์: 27 ธ.ค. 2016, 11:19
โดย zzzz
หนึ่งปีที่ผ่านมานี้ เน้นพัฒนา Carbon fiber chainring เป็นหลักครับ
จังหวะดีมากที่ได้ Dr.Larent ผู้ชำนาณการด้าน Carbon fiber โดยตรงเป็นที่ปรึกษา

จึงทำให้ เข้าใจชัดเจนว่า Carbon fiber จริงๆแล้ว
มันคือ "อะไร"

เมื่อรู้จักมันดีถึงขั้นสนิทสนมกันแบบนี้แล้ว
ถึงวันนี้ จะชวนให้ Carbon Fiber มาทำงานแปลกๆ แบบที่คนอื่นเขาไม่ทำกัน ทีนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากแล้วหละครับ

อีกไม่นานคงมีอะไร สนุกๆ ล้ำๆ ใน Dr.EGG Style ออกมาให้ใช้กันครับ

Re: จานไข่ ที่มา คู่มือการใช้งาน และ ผลการทดสอบ

โพสต์: 17 พ.ค. 2017, 14:14
โดย Rattapol Pattana
มาลงชื่อ ว่าตามอ่านอยู่ครับ

Re: จานไข่ ที่มา คู่มือการใช้งาน และ ผลการทดสอบ

โพสต์: 17 พ.ค. 2017, 16:15
โดย Chiny
รูปภาพ

จากใบ Stainless ต้นแบบหนักๆ มาเป็นใบ Carbon เบาๆ ครับ

รูปภาพ
:D :D :D

Re: จานไข่ ที่มา คู่มือการใช้งาน และ ผลการทดสอบ

โพสต์: 25 พ.ค. 2017, 10:23
โดย zzzz
ใช้ math ง่ายๆ มาprove มิติต่างๆ
ทำมา 2 clip ครับ
เชินรับชม

have fun

https://www.facebook.com/zhor.thana.3/p ... 9985923222

https://www.facebook.com/zhor.thana.3/p ... 6162221271

Re: จานไข่ ที่มา คู่มือการใช้งาน และ ผลการทดสอบ

โพสต์: 28 พ.ค. 2017, 17:38
โดย iPower
อ่านมาสมัยตอนหนึ่ง
ผ่านมาหลายปี นึกไม่ถึงไปไกลสุดขอบโลกซะแล้ว
ความรู้แน่นจริง ออกแบบบนพื้นฐานแบบนี้มีเหตุผล
น่าสนใจยิ่งนัก สูงของต่างปรเทศได้แน่นอน

Re: จานไข่ ที่มา คู่มือการใช้งาน และ ผลการทดสอบ

โพสต์: 05 ก.ค. 2017, 10:26
โดย zzzz
ภาค3 ความยาวขาจานครับ
ลืมเอาลิ้งมาใส่


https://m.facebook.com/story.php?story_ ... 4086953797

Have Fun..

Re: จานไข่ ที่มา คู่มือการใช้งาน และ ผลการทดสอบ

โพสต์: 11 ก.ค. 2017, 11:12
โดย Kob@Truth
จารย์....เงียบไปนานมากๆ แล้ว
เอารองเท้ามา Show หน่อย


รูปภาพ