เรื่องของกะโหลก(แต่ไม่กะลาน่ะคับ) พอดีไปอ่านเจอเลยเอามาฝากถ้าซ้ำก็ขออภัย

ถ้าเป็นรถหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นของเสือหมอบโดยเฉพาะ เชิญเข้าห้องนี้ครับ

ผู้ดูแล: Cycling B®y, spinbike, velocity

รูปประจำตัวสมาชิก
BENNIE
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 23
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2011, 22:59
Tel: 0811910636
team: ปั่นตามใจ
Bike: Spider (Vintage)

เรื่องของกะโหลก(แต่ไม่กะลาน่ะคับ) พอดีไปอ่านเจอเลยเอามาฝากถ้าซ้ำก็ขออภัย

โพสต์ โดย BENNIE »

กระโหลก (bottom bracket , BB) เป็นส่วนสำคัญของระบบขับเคลื่อนจักรยาน มีหน้าที่เป็นแกนหมุนของชุดขาจาน ก่อนที่เราจะกล่าวลึกเข้าไปในรายละเอียด ผมขอพาไปรู้จักกับคำศัพท์ต่อไปนี้ก่อนดีกว่านะ

- BB shell คือ ส่วนของเฟรมจักรยานที่เราขันกระโหลกเข้าไป โดยส่วนของBB shell จะถูกtapเกลียวไว้ เพื่อสำหรับขันฝาปิดกระโหลก
- BB cup หรือ ฝาปิดกระโหลก โดยจะมีเกลียวเป็นลักษณะเกลียวตัวผู้ที่พอดิบพอดีกันกับBB shell ทั้งเส้นผ่าศูนย์กลาง,ระยะเกลียว และทิศของเกลียว BB cup จะมีด้วยกัน 2 ด้าน
คือ ด้านซ้ายและด้านขวานั่นเอง
- BB spindle หรือ แกนกระโหลก

เอาหละเรามาวกเข้ามาเรื่องของกระโหลกกันดีกว่าครับ การที่เราจะซื้อกระโหลกตัวใหม่มาเปลี่ยนแทนตัวเก่านั้น เราต้องรู้ข้อมูลอะไรบ้าง

1. BB spindle มีสิ่งที่ต้องทราบอยู่ 2 ประการคือ
- ความยาวของแกนกระโหลก ซึ่งมีอยู่มากมายหลายขนาด ได้แก่ 103 , 107 , 110 , 113 , 116 , 118 , 120 , 122 mm ดูแล้วช่างหลากหลายจริงๆ แต่ที่เราคุ้นเคยกันนั้น คงจะเป็นขนาด 107 , 110 และ 113 mm เสียมากกว่า เพราะว่าเป็นขนาดที่ทำออกมาใช้กับชุดขาจานในรุ่นบนๆ ส่วนความยาวที่เหลือนั้น มักจะเป็นรุ่นเฉพาะที่ทำออกมาสำหรับชุดขาจานเฉพาะรุ่นนั้นๆไป
ความยาวของแกนกระโหลกมีผลต่อจักรยานอย่างไร ?
ถ้าเอากระโหลกมาดู จะพบว่าแกนกระโหลกทั้ง 2ด้านนั้นมีความยาวไม่เท่ากัน โดยด้านขวาซึ่งเป็นด้านที่จะใส่ชุดขาจานและใบจานหน้า หรือเรียกว่า drive side จะยาวกว่าทางด้านซ้ายเสมอ เพราะว่าจะถูกออกแบบมาเผื่อสำหรับชุดใบจานหน้าซึ่งมีความหนามากกว่า ขาจานด้านซ้าย(ซึ่งไม่มีอะไรมาเกะกะ) ความยาวรวมของแกนกระโหลกที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ก็จะมีผลทำให้ความยาวของแกนทั้ง2ด้านเพิ่มขึ้น หรือ ลดลงตามส่วนด้วย

การที่แกนกระโหลกยาวขึ้นจะมีผลทำให้ชุดใบจานหน้าและขาจานขยับตัวออกมาห่างจากเฟรมมากขึ้น และในทางกลับกันถ้าแกนกระโหลกสั้นลง ชุดใบจานหน้าและขาจานก็จะขยับตัวเข้าใกล้กับเฟรมมากขึ้น จึงมีคำที่ช่วยในการอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นไปอีก คำนั้นก็คือคำว่า"chain line" จริงๆแล้วคำว่าchain line เป็นคำที่มีความหมายค่อนข้างหลากหลาย ทั้งในแง่ของผู้ผลิตอย่างshimano ก็ให้ความหมายแบบหนึ่ง ในแง่ของmanual ก็ให้อีกความหมายหนึ่ง แต่ในความเป็นจริงแล้วล้วนแต่มีความหมายตรงกันทั้งสิ้น เรามาทำความเข้าใจกันอย่างง่ายๆดีกว่านะครับ

Chainline คือเส้นที่ลากจากจุดกึ่งกลางของชุดใบจานหน้าไปยังจุดกึ่งกลางของชุดเฟืองหลัง โดยถ้าเป็นชุดจานหน้า3ใบกับเฟืองหลัง9ใบ ก็จะหมายถึงเส้นที่ลากจากจานกลางไปยังเฟืองของเกียร์5นั่นเอง

ตามทฤษฎีแล้ว แนวchainlineควรจะขนานกับแนวฐานล้อของจักรยาน ทั้งนี้เพื่อให้การทำงานของชุดเกียร์ทั้งจานหน้าและเฟืองหลัง สามารถทำงานได้ครบถ้วน โดยที่โซ่ไม่ได้บิดตัวเบี่ยงเบนไปมากนัก จึงมีการวัดระยะchainlineเพื่อใช้อ้างอิง โดยจะวัดจากกึ่งกลางของท่อนั่ง(seat tube)ไปยังยอดของใบจานกลาง

รูปภาพ จักรยานเสือภูเขามาตรฐานที่มีดุมหลังกว้าง135mm และไม่มีการการบิดของเฟรม ระยะChainlineที่จะทำให้แนวของchainlineขนานกับแนวฐานล้อ จะมีค่าประมาณ 47.5 mm

ส่วนจักรยานเสือหมอบที่มีดุมหลังกว้าง130mm ระยะChainlineที่จะทำให้แนวของchainlineขนานกับแนวฐานล้อ จะมีค่าประมาณ 45 mm

สำหรับshimanoนั้น มักจะทำกระโหลกสำหรับจักรยานเสือภูเขาที่มีความยาวให้เลือก 2 ขนาด เช่นกระโหลกแบบTapered BB-UN72 จะมีความยาวแกนกระโหลกให้เลือก 2 ขนาดคือ 110 และ 113 mm โดยถ้าใช้กระโหลกแกนยาว 110 mm จะได้ระยะchainline เท่ากับ 47.5 mm แต่ถ้าใช้กระโหลกแกนยาว 113mm จะได้ระยะchainlineเพิ่มขึ้นเป็น 50 mm ( สำหรับกระโหลกแบบSplined BB-ES70 จะมี 2 ช่วงความยาวคือ 113 และ 118mm ซึ่งจะให้ระยะchainline 47.5 และ 50.0mm ตามลำดับ)

คำถามก็คงจะผุดขึ้นมาในใจหละสิว่า ทำมาทำไม? เพราะเมื่อใช้แล้วchainlineก็จะเบนออกมาจากเดิม? คำตอบมันมีอยู่ในตัวของมันเอง คือ จักรยานเสือภูเขานั้นมีความหลากหลายในเรื่องของchain stayหรือตะเกียบโซ่ รถบางค่ายมีตะเกียบโซ่ใหญ่และหนาแถมยังกางอ้าออกมาอีก โดยเฉพาะพวกfull suspensionที่มีmain pivotหรือจุดหมุนหลักอยู่ด้านล่าง ซึ่งถ้าหากใช้แกนกระโหลก110mm อาจจะทำให้ขาจานหรือชุดใบจาน อยู่ชิดกับchain stayมากเกินไป ถ้าหากมีการบิดตัวของขาจานหรือของchain stay ก็อาจจะเกิดการกระทบกันได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องยอมขยับระยะchainlineออกมาจากเดิมอีก2.5mm ซึ่งระยะดังกล่าวไม่ได้มีผลมากมายนักต่อการทำงานของชุดเกียร์หลักๆ เพียงแต่ในตำแหน่งจานหน้าเล็กสุด และเฟืองเกียร์หลังใหญ่สุดหรือตำแหน่งเกียร์1-1 แนวโซ่อาจจะเบี่ยงตัวไปมากกว่าปกติบ้าง ในขณะที่การทำงานของชุดจานหน้าในการลดจานจากใบจานกลางลงมาใบจานเล็กยังอยู่ในช่วงที่ยอมรับได้

( ในรถที่chain stayไม่ได้ใหญ่นัก ก็สามารถใช้กับกระโหลกแกนยาว110mmได้อย่างสบาย แต่ถ้าเป็นรถที่chain stay เล็กๆ เช่น พวกที่ทำมาจากโครโมลี่ ก็อาจจะใช้แกนกระโหลกยาวเพียง107mmได้อย่างสบายๆ โดยที่ระยะchainline แทบจะไม่ได้ลดลงมาเลยด้วยซ้ำ เพราะแกนทางด้านซ้ายมันหดเข้ามาในสัดส่วนที่มากกว่าทางด้านขวาครับ )

ในความคิดเห็นของผมแล้ว สำหรับชุดขับเคลื่อนมาตรฐานทั่วไปถ้าหากไม่มีปัญหาเรื่องระยะห่างระหว่างขาจานกับchain stayแล้ว กระโหลก107หรือ110mm ก็น่าจะลงตัวที่สุดแล้ว เพราะจะได้ระยะchainlineที่เหมาะสมที่สุด

ลักษณะส่วนปลายของแกนกระโหลก ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบ คือ
- Tapered square block ซึ่งเป็นแบบที่เราคุ้นเคย และพบเห็นได้ทั่วๆไป
รูปภาพ

Splined block ซึ่งยังแบ่งออกเป็น 2 มาตรฐาน คือ
1 Shimano type ส่วนปลายจะเป็นร่องหยักและสัน จำนวน 8 ร่อง ในครั้งแรกนั้นได้พัฒนามาใช้กับอุปกรณ์ขับเคลื่อนในชุดXTR (BB-M952) ต่อมาในปี2000จึงได้พัฒนามาใช้กับกระโหลกในรุ่นรองลงมา(BB-ES70) แต่ไม่สามารถใช้แทนกันได้
รูปภาพ
รูปภาพ
2 มาตรฐานที่ทางTruvative, RacefaceและChrisKing ร่วมมือกันพัฒนาขึ้นมาจะมีลักษณะคล้ายกับของShimano แต่จะมีจำนวนร่องและสันมากกว่า คือ 10 ร่อง

2 BB shell width หรือความกว้างของเฟรมในส่วนที่ขันกระโหลกเข้าไป จะมีค่าอยู่ด้วยกัน 3 ขนาดคือ 68 ,70 และ73 mm โดยทั่วๆไปแล้วเฟรมที่ถูกผลิตมาจากโรงงานทางไต้หวันส่วนใหญ่จะมีBB shell กว้าง68mm ในขณะที่รถที่ผลิตจากอเมริกาส่วนใหญ่ เช่น Klein , Gary Fisher ,Trek (รุ่นสูงๆ) ฯลฯ จะมีBB shell กว้าง 73 mm ในขณะที่บางยี่ห้อใช้BB shell กว้าง 68 mm ( สำหรับMTBแล้ว ขนาดของBB shell กว้าง70 mm ไม่ค่อยมีให้เห็นนัก ) อยากจะรู้ว่ากว้างเท่าไรก็ไม่เห็นจะยากเลยนี่ครับ วัดซะก็หมดเรื่อง


แล้วทำไมต้องทำให้BB shell กว้างแตกต่างกัน?
เป็นเพราะความแตกต่างกันในแง่ของการออกแบบรูปร่าง และลักษณะของchain stay คือ ถ้าchain stay อวบอ้วนมาก เมื่อนำมาเชื่อมกับBB shell ถ้าหากBB shell กว้างไม่พอ ก็จะดูไม่สวย หรือล้นออกมาทางด้านข้างได้ และสิ่งหนึ่งที่ทางผู้ผลิตคิดไว้ในใจก็คือ BB shell ที่กว้างกว่าย่อมจะทำให้เฟรมนั้นstiffและแข็งแรงกว่า

โดยทั่วไปแล้วกระโหลกมาตรฐานที่ผลิตออกมาขายกันในท้องตลาด เช่นShimano ส่วนของBB cupด้านขวาจะเป็นfixed BB cup คือจะติดแน่นกับส่วนของตัวกระโหลกเองและจะมีลักษณะเป็นบ่า เพื่อที่เวลาขันเข้าไปในBB shell จนสุดแล้วจะได้ระยะchainlineตามที่ทางโรงงานผู้ผลิตต้องการ ส่วนBB cupด้านซ้ายจะไม่ได้เป็นชิ้นเดียวกับตัวกระโหลก แต่จะทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดความตึงในการขันยึดกระโหลกเข้ากับBB shell ซึ่งBB cupด้านซ้ายนี้จะเรียกว่าเป็นแบบadjustable BB cup ดังนั้นทางผู้ผลิตจึงจะต้องผลิตกระโหลกสำหรับBB shell ที่กว้างแตกต่างกันด้วย เพราะการนำเอากระโหลกที่ทำมาสำหรับBB shell 68 mm มาใช้กับเฟรมที่มี BB shell 73 mm ขาจานด้านขวาและชุดใบจานจะขยับออกมาจากเฟรม(ระยะchainlineขยับออกไปจากนอกรถหรือระยะchainlineเพิ่มขึ้น) ส่วนขาจานด้านซ้ายจะขยับเข้าไปชิดเฟรมมากขึ้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้บริโภคที่จะต้องเลือกกระโหลกที่เหมาะสมและถูกต้องกับBB shellของจักรยานตัวเอง ซึ่งวิธีง่ายที่สุดคือวัดความกว้างของBB shellของเฟรม

แต่สำหรับกระโหลกบางยี่ห้อที่มีBB cup เป็นแบบadjustable BB cup ทั้ง 2 ด้าน เช่น RaceFace จะสามารถปรับใช้ได้กับBB shellหลายๆขนาด ในกรณีที่จะเลือกใช้กระโหลกที่มีadjustable BB cupทั้ง 2 ด้าน ผู้ติดตั้งเองจะต้องวัดระยะchainlineให้ถูกต้องด้วย

ลำพังแค่นี้ เวลาไปเลือกซื้อกระโหลก ก็ต้องเลือกให้ถูกทั้งความยาวแกน คือ จะเอา 110 หรือ 113 mm แล้วยังจะต้องเลือกให้ถูกต้องกับ BB shell อีก ว่าจะกว้างเท่าไหร่ 68 หรือ 73 mm หรือว่าจะเจอ 70mm ก็คงแล้วแต่จะเลือกซื้อกันนะครับ ขอให้ถูกต้องกับรถที่ใช้ก็แล้วกัน

3 เกลียวกระโหลก เกลียวของBB cup แต่ละด้านนั้นจะต้องมีลักษณะที่เข้ากันได้กับเกลียวของBB shellจึงจะสามารถขันเข้าไปได้

ลักษณะของเกลียว
1 ขนาดของเกลียว
- เส้นผ่าศูนย์กลางของเกลียว จะถูกกำหนดจากเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอก(outer diameter , OD.)ของเกลียวตัวผู้หรือ สกรูนั่นเอง โดยจะกำหนดเป็นค่าตามทฤษฎีหรือที่เรียกว่าnominal OD. ซึ่งถ้าหากวัดจริงๆactual OD.ก็จะมีค่าน้อยกว่ากันเล็กน้อย เนื่องจากขั้นตอนในการทำเกลียวจะต้องมีการสึกหรอของเนื้อโลหะไปบ้าง เช่น nominal OD. = 35.0 mm วัดจริงอาจจะได้ 34.6 - 34.9 mm เป็นต้น ซึ่งอาจจะใช้หน่วยเป็นนิ้วหรือmetric แล้วแต่ทางผู้ผลิต

- ระยะเกลียว (pitch) กรณีที่ใช้หน่วยเป็นนิ้ว จะเขียนเป็นจำนวนเกลียวในระยะ1นิ้ว เช่น 24tpi (threads per inch) พูดง่ายๆคือ เกลียวยาว1นิ้วจะมีร่องเกลียว24ร่อง (ถ้าหมุนรอบตัวเอง24รอบ สกรูตัวนั้นก็จะขยับออกไป1นิ้ว) หรือ อาจจะใช้หน่วยmetric โดยจะเขียนเป็นระยะเกลียวเลย เช่น 1mm พูดง่ายๆคือว่าแต่ละเกลียวจะมีระยะห่างกัน 1 mm นั่นเอง
ขนาดของเกลียวจะถูกเขียนให้เข้าใจตรงกัน ดังตัวอย่าง เช่น
1.37" x 24tpi หมายถึงเกลียว ที่เกลียวตัวผู้มีขนาด nominal OD. = 1.37นิ้ว มีระยะเกลียวเท่ากับ 24 เกลียวต่อนิ้ว
M35 x 1mm หมายถึงเกลียว ที่เกลียวตัวผู้มีขนาด nominal OD. = 35mm มีระยะเกลียวแต่ละเกลียวห่างกัน 1 mm
M36 x 24tpi หมายถึงเกลียว ที่เกลียวตัวผู้มีขนาด nominal OD. = 36mm มีระยะเกลียวเท่ากับ 24 เกลียวต่อนิ้ว เป็นต้น
รูปภาพ

2 ทิศของเกลียว(thread direction) มีอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะ คือ
1 เกลียวขวา (right-hand thread , RH. thread) เป็นทิศของเกลียวที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน โดยสกรูจะเดินหน้าเข้าไปเมื่อหมุนในทิศตามเข็มนาฬิกา และจะถอยออกมาเมื่อหมุนในทิศทวนเข็มนาฬิกา เมื่อนำสกรูมาดูในแนวตั้งจะเห็นว่าลักษณะของเกลียวจะเอียงลาดขึ้นไปทางด้านขวา

2 เกลียวซ้าย (left-hand thread , LH. thread) เป็นทิศของเกลียวที่กลับทางกันกับเกลียวขวา คือ สกรูจะเดินหน้าเข้าไปเมื่อหมุนในทิศทวนเข็มนาฬิกา และจะถอยออกมาเมื่อหมุนในทิศตามเข็มนาฬิกา เมื่อนำสกรูมาดูในแนวตั้งจะเห็นว่าลักษณะของเกลียวจะเอียงลาดขึ้นไปทางด้านซ้าย เกลียวซ้ายจะถูกนำมาใช้กับชิ้นงานที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งผู้ผลิตจะต้องบอกเอาไว้ในคู่มือเสมอ

วกเข้ามาเรื่องของเกลียวกระโหลกกันสักทีนะครับว่ามันมีลักษณะอย่างไร?
เกลียวกระโหลกของจักรยานนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายมาตรฐานทีเดียว เรามาดูกันนะครับว่าแต่ละมาตรฐานนั้นมีลักษณะอย่างไรบ้าง

1 BSC(British Standard Cycle) ขนาดเกลียว 1.370" x 24tpi
ISO(International Standard Organization)ขนาดเกลียว 1.375" x 24tpi
* ฝาปิดกระโหลกด้านซ้ายจะเป็นเกลียวขวา แต่ฝาปิดกระโหลกด้านขวาจะเป็นเกลียวซ้าย *
ถ้าวัดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกจริงๆของเกลียว BB cup จะอยู่ในช่วง 34.6-34.9 mm. และเส้นผ่าศูนย์กลางภายในจริงๆของเกลียว BB shell จะอยู่ในช่วง 33.6-33.9mm.
ในทางปฏิบัติจริงๆแล้ว มาตรฐานทั้ง2แบบนี้ จะมีขนาดเท่ากัน นอกจากนี้ยัง เป็นมาตรฐานเกลียวกระโหลกที่ใช้กับจักรยานทุกๆคันที่ผลิตออกมาจากประเทศในเอเซีย รวมไปถึงจักรยานส่วนใหญ่ที่ผลิตในสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงจักรยานส่วนใหญ่ที่ผลิตมาจากประเทศต่างๆ และยังรวมไปถึงกระโหลกไต้หวันหรือญี่ปุ่นทุกๆอันที่ผลิตออกมาโดยไม่บ่งบอกชนิดของเกลียว และเป็นมาตรฐานเกลียวกระโหลกที่ใช้ในจักรยานเสือภูเขาแทบทุกยี่ห้อ ซึ่งทางShimanoจะใช้รหัสว่า BC 1.37 x 24" ในบางยี่ห้ออาจจะใช้รหัสว่า BC 1.370 x 24tpi


2 Italian ขนาดเกลียว M36 x 24tpi
* ฝาปิดกระโหลกด้านซ้ายจะเป็นเกลียวขวา และฝาปิดกระโหลกด้านขวาจะเป็นเกลียวขวาด้วย *
ถ้าวัดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกจริงๆของเกลียว BB cup จะอยู่ในช่วง 35.6-35.9 mm. และเส้นผ่าศูนย์กลางภายในจริงๆของเกลียว BB shell จะอยู่ในช่วง 34.6-34.9mm.
ใช้กับจักรยานแทบทุกยี่ห้อที่ผลิตในอิตาลีโดยเฉพาะจักรยานถนน และจักรยานถนนบางยี่ห้อของอเมริกาที่ส่งไปขายยังอิตาลีและยุโรป นอกจากนี้ยังใช้กับจักรยานบางยี่ห้อที่ผลิตในเมกซิโก
กระโหลกจะใช้รหัสว่า IT M36 x 24" หรือ IT M36 x 24tpi


3 Swiss ขนาดเกลียว M35 x 1mm
* ฝาปิดกระโหลกด้านซ้ายจะเป็นเกลียวขวา แต่ฝาปิดกระโหลกด้านขวาจะเป็นเกลียวซ้าย *
ถ้าวัดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกจริงๆของเกลียว BB cup จะอยู่ในช่วง 34.6-34.9 mm. และเส้นผ่าศูนย์กลางภายในจริงๆของเกลียว BB shell จะอยู่ในช่วง 33.6-33.9mm.
เป็นมาตรฐานเกลียวกระโหลกที่ใช้กับจักรยานที่ผลิตในฝรั่งเศสตั้งแต่ปลายช่วงยุค70 (1961-1970) จนถึงช่วงกลางยุค80 (1971 - 1980)


4 French ขนาดเกลียว M35 x 1mm
* ฝาปิดกระโหลกด้านซ้ายจะเป็นเกลียวขวา และฝาปิดกระโหลกด้านขวาจะเป็นเกลียวขวาด้วย *
ถ้าวัดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกจริงๆของเกลียว BB cup จะอยู่ในช่วง 34.6-34.9 mm. และเส้นผ่าศูนย์กลางภายในจริงๆของเกลียว BB shell จะอยู่ในช่วง 33.6-33.9mm.
เป็นมาตรฐานเกลียวกระโหลกที่ใช้กับจักรยานที่ผลิตในฝรั่งเศสตั้งแต่ช่วงกลางยุค80เป็นต้นมา ซึ่งจะเห็นว่าจะมีขนาดเดียวกันกับเกลียวSwiss แต่จะต่างกันที่ทิศเกลียวของฝาปิดกระโหลกด้านขวาเท่านั้น


5 Whitworth ขนาดเกลียว 1-3/8" x 26tpi
* ฝาปิดกระโหลกด้านซ้ายจะเป็นเกลียวขวา แต่ฝาปิดกระโหลกด้านขวาจะเป็นเกลียวซ้าย *
ถ้าวัดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกจริงๆของเกลียว BB cup จะอยู่ในช่วง 34.6-34.9 mm. และเส้นผ่าศูนย์กลางภายในจริงๆของเกลียว BB shell จะอยู่ในช่วง 33.6-33.9mm.
เป็นมาตรฐานเกลียวกระโหลกที่ใช้กับจักรยานราคาไม่แพงบางยี่ห้อในประเทศอังกฤษ โดยเฉพาะยี่ห้อที่มี 3 speeds และ 10 speeds


รูปภาพ ตัวอย่างสำหรับฉลากของกระโหลกของShimano ที่บอกให้ทราบว่า เป็นกระโหลกรุ่น ES-70 ใช้กับBB shellกว้าง68mm , BB cupเป็นเกลียวมาตรฐานBSC , แกนยาว 113 mm และบอกว่าด้านใดเป็นด้านขวาหรือซ้าย

รูปภาพสำหรับกระโหลกแบบTaperedนั้น จะตอกตัวเลขบอกความยาวของแกนกระโหลกไว้ที่แกนกระโหลกด้านซ้าย
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: เรื่องของกะโหลก(แต่ไม่กะลาน่ะคับ) พอดีไปอ่านเจอเลยเอามาฝากถ้าซ้ำก็ขออภัย

โพสต์ โดย lucifer »

ขอบคุณครับ
หลายๆเรืองมันล้าสมัยไปแล้ว เพราะมันผ่านมาแล้ว 12ปี

http://www.bikeloves.com/webboard/00169.shtml
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
น้องหนึ่ง
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 10797
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 04:07
Tel: 0891441866
ตำแหน่ง: http://www.thaimtb.com/forum/viewforum.php?f=528
ติดต่อ:

Re: เรื่องของกะโหลก(แต่ไม่กะลาน่ะคับ) พอดีไปอ่านเจอเลยเอามาฝากถ้าซ้ำก็ขออภัย

โพสต์ โดย น้องหนึ่ง »

ขอบคุณครับ

น่าจะลงเครดิตไว้ซักหน่อยนะ
ร้านจักรยานฝีมือดี มาดึกๆได้

www.thaimtb.com/forum/viewforum.php?f=528
www.facebook.com/HomeMadeBicycle
รูปประจำตัวสมาชิก
as35912077
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 328
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ธ.ค. 2011, 21:44
team: เด็กแวนซ์
Bike: Trek 3900 V
ตำแหน่ง: กรุงเทพฯ

Re: เรื่องของกะโหลก(แต่ไม่กะลาน่ะคับ) พอดีไปอ่านเจอเลยเอามาฝากถ้าซ้ำก็ขออภัย

โพสต์ โดย as35912077 »

ฉึกๆ
คิดจะอัพรถให้ดีๆ ถ้าแรงไม่มีก็เท่านั้น
รูปประจำตัวสมาชิก
BENNIE
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 23
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2011, 22:59
Tel: 0811910636
team: ปั่นตามใจ
Bike: Spider (Vintage)

Re: เรื่องของกะโหลก(แต่ไม่กะลาน่ะคับ) พอดีไปอ่านเจอเลยเอามาฝากถ้าซ้ำก็ขออภัย

โพสต์ โดย BENNIE »

น้องหนึ่ง เขียน:ขอบคุณครับ

น่าจะลงเครดิตไว้ซักหน่อยนะ
ขอบคุณที่แนะนำคับ แบบว่ามือใหม่อ่ะคับ :)
รูปประจำตัวสมาชิก
BENNIE
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 23
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2011, 22:59
Tel: 0811910636
team: ปั่นตามใจ
Bike: Spider (Vintage)

Re: เรื่องของกะโหลก(แต่ไม่กะลาน่ะคับ) พอดีไปอ่านเจอเลยเอามาฝากถ้าซ้ำก็ขออภัย

โพสต์ โดย BENNIE »

lucifer เขียน:ขอบคุณครับ
หลายๆเรืองมันล้าสมัยไปแล้ว เพราะมันผ่านมาแล้ว 12ปี

http://www.bikeloves.com/webboard/00169.shtml
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำคับผม :) แต่ผมคิดว่าถึงเรื่องมันจะผ่านมา 12 ปีแล้วแต่ก็อาจจะมีหลายๆคนยังไม่เคยรู้ อย่างเช่นผมคนนึงแหละคับ :)
รูปประจำตัวสมาชิก
โยชูวา
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1327
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ส.ค. 2009, 23:11
Tel: 0834169645
team: FREEDOM

Re: เรื่องของกะโหลก(แต่ไม่กะลาน่ะคับ) พอดีไปอ่านเจอเลยเอามาฝากถ้าซ้ำก็ขออภัย

โพสต์ โดย โยชูวา »

BENNIE เขียน:
lucifer เขียน:ขอบคุณครับ
หลายๆเรืองมันล้าสมัยไปแล้ว เพราะมันผ่านมาแล้ว 12ปี

http://www.bikeloves.com/webboard/00169.shtml
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำคับผม :) แต่ผมคิดว่าถึงเรื่องมันจะผ่านมา 12 ปีแล้วแต่ก็อาจจะมีหลายๆคนยังไม่เคยรู้ อย่างเช่นผมคนนึงแหละคับ :)

กูรูจักรยาน lucifer เจ้าของบทความท่านมาcomment เองเลยละครับ
ถ้าบอกแหล่งที่มาของข้อมูลไว้ด้วยก็ดีนะครับ วันหน้าท่านอาจจะมีกำลังใจ มีเวลา หาข้อมูลดีๆเขียน update มาให้เรา่อ่านอีกครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
Tazzy21
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1601
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 15:58
Tel: 081-4562181
team: เสือเมืองพาน
Bike: Louis Garneau_Five , Louis Garneau_CR , Wheeler เก่าๆๆ , Miyata , แม่บ้านโค-ตะ-ระเก๋าเก่า

Re: เรื่องของกะโหลก(แต่ไม่กะลาน่ะคับ) พอดีไปอ่านเจอเลยเอามาฝากถ้าซ้ำก็ขออภัย

โพสต์ โดย Tazzy21 »

แหร่มเลย :mrgreen: :mrgreen: :mrgreen:
ปั่นไปเรื่อยๆ ....เดี๋ยวก็หายเหนื่อยเอง.....แต่ตอนนี้เริ่มเหนื่อยแล้ว
รูปประจำตัวสมาชิก
หน้าแง๊ว~*
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2538
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ธ.ค. 2010, 21:15
Bike: wilier luna

Re: เรื่องของกะโหลก(แต่ไม่กะลาน่ะคับ) พอดีไปอ่านเจอเลยเอามาฝากถ้าซ้ำก็ขออภัย

โพสต์ โดย หน้าแง๊ว~* »

ต้นฉบับมาตอบก่อนใครเลย :lol:
(\_(\
(=' :')
(,(")(")
Pajero
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 564
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 มี.ค. 2012, 05:53
team: TCC.
Bike: ANCHOR
ตำแหน่ง: นนทบุรี
ติดต่อ:

Re: เรื่องของกะโหลก(แต่ไม่กะลาน่ะคับ) พอดีไปอ่านเจอเลยเอามาฝากถ้าซ้ำก็ขออภัย

โพสต์ โดย Pajero »

จุดใต้ตำตอ :lol:

บทความมีประโยชน์มากครับ
แมวป่า Pajero
รูปประจำตัวสมาชิก
เสืออ้วน 129
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 895
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2011, 20:15
team: สมาคม หาดใหญ่ปีโป้ เอ็นดูร้านซ์ คลับ , ปั่นตามหลัง เด็ก สตรี และคนชรา
Bike: เสือภูเข็น , เสือหอบ

Re: เรื่องของกะโหลก(แต่ไม่กะลาน่ะคับ) พอดีไปอ่านเจอเลยเอามาฝากถ้าซ้ำก็ขออภัย

โพสต์ โดย เสืออ้วน 129 »

เรื่องกะโหลก (กะลา)
ตัวหนัก ปั่นช้า แรงน้อย แต่ไม่เคยหันหัวรถกลับ

รับรันอินล้อทุกชนิด ติดต่อทาง PM

You'll Never Ride Alone
spi1500cc
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 181
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2012, 00:21
Bike: Bianchi

Re: เรื่องของกะโหลก(แต่ไม่กะลาน่ะคับ) พอดีไปอ่านเจอเลยเอามาฝากถ้าซ้ำก็ขออภัย

โพสต์ โดย spi1500cc »

รบกวนผู้รู้หน่อยครับ กระโหลกของไอ้เสือผมด้านที่มีขาจานสามารถใช้อุปกรณ์ของ Ice tools ขันออกได้ปกติ แต่อีกด้านที่เป็น Adjustable BB cup มันกลับใส่ลงไปไม่ได้คือเกลียวมันเล็กกว่านิดนึง แต่คันอื่นๆ ผมใช้ขันออกได้ทั้ง 2 ด้าน แต่ตัวนี้มันกลับไม่ได้ครับเป็น MTB Panasonic ครับ หรือว่าต้องใช้ตัวบล็อคเล็กกว่านี้ผมก็ไม่รู้ว่าขนาดปกติมันขนาดเท่าไร แล้วเล็กกว่านี้มันขนาดเท่าไรนะครับ อีกอย่างไม่รู้จะไปหาซื้อได้ที่ไหนบ้างครับ อยากมีเก็บไว้เลยครับ ขอบคุณครับ กระโหลก รหัส BB-LP26 Shimano Japan ครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: เรื่องของกะโหลก(แต่ไม่กะลาน่ะคับ) พอดีไปอ่านเจอเลยเอามาฝากถ้าซ้ำก็ขออภัย

โพสต์ โดย lucifer »

ไม่ได้มีเกลียวพิเศษหรอกครับ ข้างซ้ายไม่น่าจะมีปัญหานะครับ นอกจากเวลาใส่เข้าไปแล้วมันปีนเกลียว ก็เลยขันเข้าไปไม่ได้ ( ขันออกมาได้ ก็ต้องขันใส่เข้าไปได้สิครับ ไม่งั้นคนแรกที่ขันเข้าไปจะขันเข้าไปได้อย่างไร ยกเว้นคนแรกมันขันเข้าไปจนเกลียวล้มไปหมดแล้ว พอเรารื้อออกมาก็เลยหาทางเข้าไปใหม่ไม่ได้ ซึ่งนั่นจะเป็นเร่ืองเศร้ามากกกกกกก )

ปัญหาสำคัญๆ ก็คือ เวลาใส่เข้าไป เรามักจะเอียงเข้าไป หรือ เผลอเอียงหน่อยๆ เกลียวมันก็เลยปีน ถ้าฝืนขันเข้าไปต่อ ก็จะเสียของ

ถอดกระโหลกด้านขวาออกมาก่อนเลยนะครับ

ล้างทำความสะอาดเกลียวกระโหลกของเฟรมให้สะอาดด้วย WD-40 ใช้แปรงสีฟันเก่าๆ ปัดไปตามร่องเกลียวทำความสะอาดให้เกลี้ยงและลื่น เช็ดให้สะอาด เช็คดูว่าร่องเกลียวยังดีอยู่หรือเปล่า มีร่องรอยเกลียวล้ม เกลียวรูดบ้างไหม ถ้าปกติดีก็ให้เอาจารบีป้ายบางๆ แล้วลองเอาฝาปิดกระโหลกด้านซ้ายใส่เข้าไปแล้วหมุนด้วยมือเบาๆ ถ้าไม่เข้าเพราะขืน ก็ให้หมุนกลับสักหลายๆรอบ แล้วหมุนเข้าไปใหม่อีก

ส่วนตัวกระโหลกก็ให้ทำความสะอาดด้วยเช่นกันครับ จะได้ใส่ฝาด้านซ้ายได้ง่ายๆ

ผมมีวิธีง่ายๆกับการขันเกลียวกระโหลก คือ ผมจะใช้วิธีการหมุนออกสักหลายๆรอบ เพื่อให้สะดุดเจอทางเข้าก่อน แล้วจึงหมุนเข้าไปเบาๆ

พอหมุนเข้าไปได้สัก 1-2 รอบ จึงใส่กระโหลกเข้าไปทางด้านขวาจนสุดบ่า ซึ่งจะยังเหลือระยะทางด้านซ้ายให้ขันฝาปิดกระโหลกเข้าไปจนแน่นได้ครับ เพราะบางทีตัวกระโหลกเองก็อาจจะดันให้ฝาปิดกระโหลกเอียงโดยไม่รู้ตัว ทำให้มันเข้าไปไม่เต็มหน้า จึงเป็นเหตุให้เราใส่เข้าไปไม่ได้
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
spi1500cc
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 181
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2012, 00:21
Bike: Bianchi

Re: เรื่องของกะโหลก(แต่ไม่กะลาน่ะคับ) พอดีไปอ่านเจอเลยเอามาฝากถ้าซ้ำก็ขออภัย

โพสต์ โดย spi1500cc »

โทษทีครับสงสัยบอกผิดครับ คือไอ้ตัวที่จะขันเอา BB Cup ออกนะครับของ Icetools มันใส่เข้าไปไม่ได้ครับ เหมือนมันใหญ่กว่าตัว BB Cup อยู่นิดนึงนะครับ
รูปภาพ
lucifer เขียน:ไม่ได้มีเกลียวพิเศษหรอกครับ ข้างซ้ายไม่น่าจะมีปัญหานะครับ นอกจากเวลาใส่เข้าไปแล้วมันปีนเกลียว ก็เลยขันเข้าไปไม่ได้ ( ขันออกมาได้ ก็ต้องขันใส่เข้าไปได้สิครับ ไม่งั้นคนแรกที่ขันเข้าไปจะขันเข้าไปได้อย่างไร ยกเว้นคนแรกมันขันเข้าไปจนเกลียวล้มไปหมดแล้ว พอเรารื้อออกมาก็เลยหาทางเข้าไปใหม่ไม่ได้ ซึ่งนั่นจะเป็นเร่ืองเศร้ามากกกกกกก )

ปัญหาสำคัญๆ ก็คือ เวลาใส่เข้าไป เรามักจะเอียงเข้าไป หรือ เผลอเอียงหน่อยๆ เกลียวมันก็เลยปีน ถ้าฝืนขันเข้าไปต่อ ก็จะเสียของ

ถอดกระโหลกด้านขวาออกมาก่อนเลยนะครับ

ล้างทำความสะอาดเกลียวกระโหลกของเฟรมให้สะอาดด้วย WD-40 ใช้แปรงสีฟันเก่าๆ ปัดไปตามร่องเกลียวทำความสะอาดให้เกลี้ยงและลื่น เช็ดให้สะอาด เช็คดูว่าร่องเกลียวยังดีอยู่หรือเปล่า มีร่องรอยเกลียวล้ม เกลียวรูดบ้างไหม ถ้าปกติดีก็ให้เอาจารบีป้ายบางๆ แล้วลองเอาฝาปิดกระโหลกด้านซ้ายใส่เข้าไปแล้วหมุนด้วยมือเบาๆ ถ้าไม่เข้าเพราะขืน ก็ให้หมุนกลับสักหลายๆรอบ แล้วหมุนเข้าไปใหม่อีก

ส่วนตัวกระโหลกก็ให้ทำความสะอาดด้วยเช่นกันครับ จะได้ใส่ฝาด้านซ้ายได้ง่ายๆ

ผมมีวิธีง่ายๆกับการขันเกลียวกระโหลก คือ ผมจะใช้วิธีการหมุนออกสักหลายๆรอบ เพื่อให้สะดุดเจอทางเข้าก่อน แล้วจึงหมุนเข้าไปเบาๆ

พอหมุนเข้าไปได้สัก 1-2 รอบ จึงใส่กระโหลกเข้าไปทางด้านขวาจนสุดบ่า ซึ่งจะยังเหลือระยะทางด้านซ้ายให้ขันฝาปิดกระโหลกเข้าไปจนแน่นได้ครับ เพราะบางทีตัวกระโหลกเองก็อาจจะดันให้ฝาปิดกระโหลกเอียงโดยไม่รู้ตัว ทำให้มันเข้าไปไม่เต็มหน้า จึงเป็นเหตุให้เราใส่เข้าไปไม่ได้
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เสือหมอบ (roadbike)”