☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

สอบถามเทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร เชิญห้องนี้เลย
รูปประจำตัวสมาชิก
TPK-TCR
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 519
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ค. 2011, 15:47
Bike: Pinarello Dogma 2, BMC SLR01, Eureika
ตำแหน่ง: ชลบุรี

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

โพสต์ โดย TPK-TCR »

ต้องดำเนินการแบบมีแบบแผนในการฝึกซ่อมไม่มั่วอีกต่อไป

https://byfiles.storage.live.com/y1pO4- ... jpg?psid=1
The opportunity exists for the occasion.
Better to give opportunity to people who seize opportunity.
<<<การให้โอกาศกับคนที่ด้อยโอกาศ ดีกว่าการให้โอกาศกับคนที่ชอบฉวยโอกาศ>>


http://www.youtube.com/watch?feature=pl ... sEc#t=215s
รูปประจำตัวสมาชิก
TPK-TCR
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 519
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ค. 2011, 15:47
Bike: Pinarello Dogma 2, BMC SLR01, Eureika
ตำแหน่ง: ชลบุรี

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

โพสต์ โดย TPK-TCR »

รูปไม่ขึ้นแก้ไขครับ

รูปภาพ

รูปภาพ
The opportunity exists for the occasion.
Better to give opportunity to people who seize opportunity.
<<<การให้โอกาศกับคนที่ด้อยโอกาศ ดีกว่าการให้โอกาศกับคนที่ชอบฉวยโอกาศ>>


http://www.youtube.com/watch?feature=pl ... sEc#t=215s
รูปประจำตัวสมาชิก
millky88
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 737
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2010, 14:49
Tel: 092-5323945
Bike: MERIDA HFS 4000
ตำแหน่ง: รามคำแหง 96

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

โพสต์ โดย millky88 »

เป็นประโยชน์มาก
somJr
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 257
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ส.ค. 2011, 17:53
Tel: 08 41393779
Bike: รถถีบ

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

โพสต์ โดย somJr »

ขอบคุณมากๆครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

แก้ไขล่าสุดโดย อู๊ด-พีระ เมื่อ 16 พ.ย. 2011, 17:07, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

158.ทำไมนักปั่นจักรยานส่วนใหญ่จึงต้องโกนขนหน้าแข้ง

รูปภาพ

หลายคนคงเคยเห็นนักปั่นจักรยานทั่วไปโดยส่วนใหญ่เวลาเรามองที่ขาของพวกเขา เราอาจสงสัยว่าเขาทำไมไม่มีขนหน้าแข้ง ผมเองก็เป็นคนหนึ่งครับที่เคยโกนขนหน้าแข็ง ตอนสมัยที่ผมยังแข่งขันจักรยานอยู่โดยไม่ไม่รู้เลยว่า ทำไมเราต้องโกนมันออกด้วย ผมเคยถามพวกพี่ๆ ที่ฝึกซ้อมด้วยกัน พวกเขาก็ตอบว่า "ทำให้ลู่ลมบ้าง ทำให้ง่ายต่อการนวดขาบ้าง" แต่ผมก็ไม่ได้สนใจอะไรเห็นพวกพี่เขาโกนผมก็โกนตามเขาด้วย โดยผมรู้สึกว่าถ้าโกนขนหน้าแข้งตามพวกพี่เขาเราก็จะได้ดูเป็นมืออาชีพขึ้นบ้างครับนึกแล้วก็ ตลกเหมือนกันครับ แต่อันที่จริงแล้วการโกนขนหน้าแข้งหรือ ขาของนักปั่นจักรยานนั้น จากการที่ผมได้ไปหาอ่านตามเว็บไซ และบทความตามนิตยสารต่างๆ แล้วจึงได้รู้ว่ามันมีประโยชน์กับเราชาวนักปั่นจักรยานอยู่ไม่น้อยเลยครับ ไม่เพียงแต่โกนตามแฟชั่น หรือโกนตามเพื่อนไปให้ดูกลมกลืน เท่านั้น และเหตุผลก็มีดังนี้ครับ

•เพื่อให้ง่ายต่อการนวดคลายกล้ามเนื้อ อันนี้เป็นความจริงครับโดยส่วนใหญ่แล้วนักปั่นจักรยานส่วนใหญ่มักจะนวดคลายกล้ามเนื้อขาของตนด้วย แป้งซึ่งแป้งในที่นี้ก็คือแป้งที่เราใช้ทาตัวหลังอาบน้ำนั่นแหละครับยี่ห้ออะไรก็ได้ ผมก็นวดด้วยแป้งเช่นกันครับ ลองนึกดูนะครับถ้าเราไม่โกนขนหน้าแข้งออกเวลาเรานวดมันจะเจ็บ เพราะราวกับว่าเราดึงขนหน้าแข้งของตนเองทุกวันแต่พอเราโกนมันออกแล้ว ลื่นเลยครับนวดได้อย่างคล่องตัว แต่หากเป็นสุภาพสตรี อาจไม่ประสบกับปัญหานี้เพราะผู้หญิงโดยส่วนมากจะไม่มีขนหน้าแข้งครับ
•ทำให้ง่ายต่อการรักษาความสะอาด เพราะเวลาเราปั่นจักรยานตามท้องถนนนั้นจะมีฝุ่น และสิ่งสกปรกมากมายเช่น ฝุ่น, คราบน้ำมัน เป็นต้น หากเรามีขาที่ปราศจากขนแล้ว มันจะทำให้ขาของเรายากต่อการที่พวกฝุ่น และควันต่างๆ จะมาเกาะ และยังมีประโยชน์มากหาก เพื่อนๆ เป็นนักปั่นจักรยานเสื่อภูเขา เพราะเวลาเพื่อนๆ ปั่นไปในเส้นทางที่ค้อนข้างรก หรือปั่นไปในป่าแล้วอาจจะเจอหนามของต้นไม้เกี่ยวขนหน้าแข้งทำให้เราบาดเจ็บได้ ซึ้งถ้าหากเราโกนขนหน้าแข้งออกแล้ว หนาม หรือกิ่งไม้จึงไม่สามารถเกี่ยวขนเราได้ครับ
•ง่ายต่อการรักษาบาดแผลเวลาเราเกิดอุบัติเหตุ จากการปั่นจักรยาน เพราะแผลถลอกที่เกิดจากการล้มเวลาเราปั่นจักรยานนั้นหากจะทำให้หายเร็วนั้นเราต้องหมั่นรักษาความสะอาด และใส่ยาทุกวัน ซึ่งในเรื่องนี้ผมมีประสบการณ์มาแล้วครับสมัยที่ยังปั่นจักรยานอยู่ หากเราไม่รักษาความสะอาดของแผลเป็นประจำ จะทำให้แผลนั้นหายช้ามากเราจึงต้องล้างแผล และทายาทุกวันครับจึงจะทำให้แผลหายเร็วขึ้น

ขอบคุณบทความจาก: www.thbike.blogspot.com ขอบคุณมากครับ
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

159.ปฏิวัติการซ้อมด้วย Power Tap

รูปภาพถึงยุคของการพัฒนาด้านการฝึกซ้อมปั่นจักรยานกันอย่างเต็มขั้นด้วยการปั่นที่รู้ขอบเขต เป้าหมายที่ยากเกินจะไปถึง อาจไม่ใช่ฝันอีกต่อไป ปัจจุบันการฝึกซ้อมเพื่อเป้าหมายในแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป บางคนเพื่อการแข่งขัน บางท่านเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง หรือแม้บางกลุ่มขอเพียงแค่ ออกทริปกับเพื่อน ๆ ได้อย่างสนุกสนานก็พอ แต่จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ทุกคนต่างมุ่งหวังให้ตนแข็งแรงขึ้นกว่าเดิม หากมีอุปกรณ์ที่สามารถทำให้เราแข็งแรงขึ้น ในแบบที่เหมาะสมกับลักษณะการปั่นของเรา แล้วยังเป็นเสมือนโค้ชที่ดูแลการฝึกซ้อมแบบเป็นขั้นตอน คุณว่ามันน่าสนไหมล่ะ เจ้าสิ่งที่ว่านี้ก็คือ “Power Tap”

Power Tap เกิดจากการคิดค้นของบริษัท Cycle Ops ที่ระดมเหล่านักวิทยาศาสตร์ด้านกีฬาและนักกีฬาชั้นแนวหน้าของโลกเพื่อมุ่งหวังให้ศักยภาพในด้านการใช้พละกำลัง ถูกนำมาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หลักการทำงานนี้ถูกเรียกว่า Watt ซึ่ง วัตต์ นี้คือพลังงานที่เกิดจากแรงกระทำของกล้ามเนื้อ ส่งถ่ายไปสู่เครื่องรับที่เราเรียกมันว่า Power Meter ซึ่งเจ้าตัวหาค่าวัตต์ในปัจจุบัน มีหลายรูปแบบ วัดค่าจากขาจาน,กะโหลก,ลูกบันไดหรือดุมล้อ แต่ตัวที่มีค่าเฉลี่ยแน่นอนและได้รับความนิยมมากที่สุดคือแบบขาจาน และแบบดุม ในแบบขาจานมีราคาค่อนข้างแพง และจำกัดเพียงแค่รถเพียงคันเดียว ทำให้ไม่เหมาะกับการนำมาฝึกซ้อมในแบบชีวิตประจำวัน การวัดค่าจากดุม จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในเรื่องลักษณะการใช้งาน อีกทั้งราคาก็ยังไม่แพงจนเกินไป

Power Tap เป็น Power Meter ที่วัดค่าจากดุมล้อหลังของจักรยาน ด้วยการทำงานแบบไร้สาย 2.4GHz ถ้าจะถามว่ามันดีกว่าเครื่องมือที่เรารู้จักอย่างเช่น ไมล์วัดความเร็ว ,ไมล์วัดรอบขา,ตัววัดชีพจร จริงหรือ ตอบ จริงครับ เพราะการทำงานทั้ง 3 อย่าง ความเร็ว รอบขา หัวใจ อาจเพียงพอกับความต้องการในแบบพื้นฐาน ซึ่งแตกต่างจากการทำงานของ Power Tap ที่คลอบคลุมทั้ง 3 อย่างเข้าด้วยกันและเพิ่มจุดขายที่เกิดจากแรงกระทำ
รูปภาพ

ไม่ว่าจะเป็นการออกแรงเหยียบหรือออกแรงกด ไปบนลูกบันได พลังงานทั้งหมดก็จะถูกส่งถ่ายทอดออกมาสู่หน้าจอ เรียกว่าวัตต์ แล้วเจ้าวัตต์มันดีกว่ายังไง การฝึกซ้อมแบบทั่วไป ง่ายที่สุดคือดูความเร็วในขณะปั่นกับความเร็วเฉลี่ยหลังปั่นเสร็จ ดีขึ้นมาหน่อยก็ดูอัตราการเต้นของหัวใจควบคู่ไปกับความเร็วที่ใช้อยู่ เหนื่อยก็ลดความเร็วลง หายเหนื่อยก็เร่งขึ้นไป หรือแม้แต่ผู้ที่จริงจังขึ้นมาอีกนิด คิดถึงเรื่องค่าเฉลี่ยเป็นหลัก เช่น หัวใจเฉลี่ย ความเร็วเฉลี่ย ซึ่งก็เป็นวิธีที่ถูกต้อง แต่ยังไม่ดีที่สุด เนื่องจากการทำงานของหัวใจในแต่ละวัน อาจมีการคาดเคลื่อนได้จากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น การพักผ่อนน้อย การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ฯลฯ ส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจในวันที่ฝึกซ้อมสูงกว่าปกติ ดังนั้นการซ้อมในค่าเฉลี่ยเดิมคงไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ แล้วความเร็วเฉลี่ยล่ะเกี่ยวข้องกันยังไง “ลม” คือศัตรูตัวฉกาจของจักรยาน เป็นไปไม่ได้ที่ลมจะเหมือนกันทุกวัน ทิศทางลมก็แตกต่างเอาแน่เอานอนไม่ได้เกี่ยวข้องไปถึงรอบขาที่ใช้ ก็ยากที่จะคุมให้อยู่ในรอบที่คุ้นเคย ต่อให้เราดูอัตราการเต้นของหัวใจควบคู่ไปด้วยก็ตาม ดังนั้น การใช้พละกำลัง ซึ่งหมายถึง การออกแรงเหยียบไปบนลูกบันไดจึงเป็นทางออกของเรื่องนี้
รูปภาพเคยได้ยินคำว่า “หนึ่งแรงม้าเท่ากับ 746 วัตต์” กันบ้างหรือเปล่าครับ ใครพอได้ยินมาบ้างก็จะถึงบางอ้อเลยทีเดียว แรงม้าก็เปรียบเสมือนแรงคนนั่นเอง ซึ่งรถยนต์ที่แรง ๆ ก็ต้องมีแรงม้าเยอะ ๆ คนเราก็เช่นกัน นักปั่นระดับโลกอย่ากง มาร์ค คาเวนดิช เจ้าของเสื้อเขียน Tour de France 2011 คนล่าสุด ก็สามารถออกแรงสปริ๊นต์เรียกม้ามาใช้ได้ถึง 2 ตัวแบบเหลือ ๆ เลยทีเดียว เมื่อวัตต์เท่ากับการออกแรง คำว่าการเฉลี่ยแรงจึงเกิดขึ้น การเฉลี่ยแรง หมายถึง การออกแรงปั่นให้อยู่ในเกณฑ์ค่าเฉลี่ยวัตต์ที่เราทำได้ นั่นก็คือ การรู้จักตัวเอง ก่อนการรู้จักตัวเองก็ต้องมีการทดสอบร่างกายกับเจ้า Power Tap กันเล็กน้อย ซึ่งคู่มือการใช้งานจะมีให้มาด้วยและอธิบายการทำงานอย่างละเอียด หลังทดสอบจนทราบข้อมูลพื้นฐาน และวางเป้าหมายในการปั่น เจ้า Power Tap จะเป็นตัวควบคุม การออกแรงปั่นของเราให้อยู่ในค่าเฉลี่ยที่เราทำได้โดยดูตัวเลหน้าจอ ค่าวัตต์ ที่เป็นเปอร์เซ็นต์ หรือเป็น AV ตามแต่เราจะต้องการ ใช้ควบคู่กับอัตราการเต้นของหัวใจ รอบขา และความเร็ว ซึ่งคงจะไม่มองแล้วละครับว่า ความเร็วจะวิ่งเท่าไหร่ก็แล้วแต่ ลมจะแรงเท่าใดก็ไม่สน สนแต่ตัวเลขที่อยู่ด้านหน้าจอ มันต้องไม่เกินหรือต่ำกว่าที่เราทำได้ เรียกกันง่าย ๆ ว่าการเฉลี่ยแรง

เมื่อรู้ขีดจำกัดของร่างกาย รู้ระยะทำการของแรงที่ทำได้ เข้าใจถึงระยะเวลาของการปั่นที่เหมาะสม การพัฒนาก็เริ่มขึ้น พร้อมกับการบันทึกข้อมูลการฝึกซ้อมของตัวเราด้วยคอมพิวเตอร์จะถูกนำมาใช้ และโปรแกรมนี้ใช้เก็บข้อมูลการฝึกซ้อมที่มีชื่อว่า Power Agent จะช่วยให้เรารู้ขีดความสามารถในทุก ๆ ครั้งที่ออกปั่น และยังสามารถต่อยอดการพัฒนาในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งเป้าหมายของแต่ละคนที่แตกต่างกันไป เริ่มออกดอกออกผล คนที่ไม่เคยรู้เลยว่าในหนึ่งชั่วโมง เราสามารถทดความเหนื่อยล้าได้ขนาดไหนก็จะเข้าใจและบริหารแรงอย่างถูกต้อง นักปั่นที่ต้องการหนีคู่แข่งในระยะเป้าหมายก็สามารถกำหนดระยะทางในแบบที่ตนทำได้ หรือแม้แต่ผู้ที่ต้องการเอาชนะตัวเอง เพื่อพิชิตเส้นทางที่ท้าทายก็สบายใจได้เมื่อมีเจ้า Power Tap อยู่เคียงข้าง

มันเหมือนกันว่าคุณมีโค้ชคอยติดตามตัวไปตลอดทุกที่ คำว่าหมดก่อนถึงหรือไปไม่รอดจะจางหายไปจากตัวผู้ฝึกซ้อม แชมป์ตูร์เดอฟร็องซ์ คนล่าสุดอย่าง ดาเดล อีแวนส์ ก็เริ่มจากการใช้ Power Tap ในการฝึกซ้อมและสามารถคว้าแชมป์โลกในปี 2009 ได้สำเร็จ หากมองถึงอนาคตและคิดจะพัฒนาพละกำลังเพื่อเป้าหมายที่ใจต้องการ Power Tap อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ทำให้ชีวิตการปั่นของเรา ๆ ท่าน ๆ เป็นเรื่องที่สนุก และท้าท้ายความสามารถอย่างแท้จริง

ข้อมูลจาก Thai Cycling Club ขอบคุณมากครับ
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

160.เจ็ดเคล็ดลับ ของนักปั่นมือโปร ตอนที่ 1

รูปภาพอยากรู้หรือไม่ว่านักจักรยานอาชีพ หรือที่ใคร ๆเรียกว่า มือโปรฯ เขาซ้อมและแข่งกันอย่างไรถึงได้ดูง่ายดายหนักหนา หรือถ้าเกิดจักรยานขัดข้องขึ้นมาล่ะเขาทำอย่างไร หรือทำไมจักรยานของเขาถึงได้ดูเหมือนจะบังคับง่ายดายเหลือเกิน ตรงนี้แหละที่มีเคล็ดลับ และต่อไปนี้คือสิ่งที่เราขอนำเสนอเพื่อคุณจะได้เป็นเช่นนั้นบ้าง แต่จะเป็นมือโปร ได้หรือไม่นั้น ลำพังแค่อ่านอย่างเดียวคงช่วยไม่ได้ มันต้องออกไปขี่จักรยานและเรียนรู้ด้วยตนเองเสียก่อน ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับ 7 ข้อของนักปั่นมือโปรที่เราควรเอาเยี่ยงอย่าง

1. มีโอกาสจงนอน และนอนให้มากเข้าไว้
ถึงจะไม่ใช่นักจักรยานระดับมือโปรฯ ราอูล เดอ จ็อง แห่งทีมเพียว แพลนเน็ต เรซิ่ง ก็เป็นนักจักรยานผู้จริงจัง มุ่งมั่น ความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะเป็นหนึ่งในนักไตรกีฬา ทำให้เขาไม่เคยหลุดกลุ่มเลยเมื่อเผชิญหน้ากันนักจักรยานเก่ง ๆ ขณะที่มีงานทำเป็นเรื่องเป็นราวอยู่แล้ว เขาก็ยังต้องแบ่งเวลาไปซึมซับเทคนิคการซ้อมและแข่งกับพวกมือระดับโลก “ผมโชคดีครับที่มีเพื่อนเป็นนักกีฬาระดับโลกอยู่หลายคน คนพวกนี้แหละคือแหล่งความรู้และเทคนิคการแข่งที่ผมจะดูดเอามา หลังจากได้คลุกคลีกับพวกมือโปร ๆ มาทั้งวันผมก็รู้ความลับอันน่าประหลาด มันไม่ใช่ว่าจะเน้นแต่ซ้อม ๆ กันอย่างเดียว แต่กลับเป็นตรงกันข้ามเลย คือแทนที่พวกเขาจะเอาแต่ซ้อม และซ้อม พวกเขากลับให้ความสำคัญกับเรื่องที่มันไม่น่าจะเป็นเรื่องด้วย คือการนอน”

ราอูลอธิบายว่า “พวกมือโปรฯนี่แหละครับคือนักนอนหลับระดับโลกเลย พวกเขาจะไม่มีอาการนอนไม่หลับ ไม่กระสับกระส่ายเด็ดขาด แค่หัวถึงหมอนเท่านั้นแค่ครึ่งนาทีต่อมาเขาก็หลับฝันหวานแล้ว ถ้าคุณไม่สามารถนอนเอาแรงตอนกลางวันช่วงสั้น ๆ ได้ ก็จงเข้านอนเวลาเดียวกันทุกวันครับ ตัวผมเองต้องการวันละแปดชั่วโมงเพื่อจะได้ตื่นมากระปรี้กระเปร่าในตอนเช้า ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องง่าย ๆ ก็จริงแต่ผมก็ต้องฝึกกันนานเลยล่ะ กว่าจะนอนให้เป็นเวลาได้ คุณต้องฝึกให้หนักพอกับต้องแบ่งเวลาให้ร่างกายฟื้นสภาพด้วยครับ การนอนหลับนี่แหละคือเครื่องมือเพื่อฟื้นสภาพดีที่สุดสำหรับเรา”

2. หาโอกาสนอนกลางวันให้ได้
นอกจากการเข้านอนให้เป็นเวลาทุกวันซึ่งตามปกติพวกมือโปรฯ จะนอนกันวันละ 9 ชั่วโมง แล้วหาโอกาสนอนกลางวันให้ได้ก็สำคัญไม่แพ้กัน พวกเขารู้ว่าการนอนกลางวันช่วยได้ทั้งกับเรื่องการซ้อมและสมรรถภาพร่างกาย โค้ชบางคนพิจารณาว่าต้องนอนกลางวันกันเลยหลังซ้อมแล้วจนถึงกับต้องระบุไว้ในสัญญากันเลย
รูปภาพตามคำพูดของ ด็อกเตอร์ เจโรน สวาร์ท แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬาละการฝึกซ้อม ที่สปอร์ตส์ ไซน์ อินสติติวต์ ออฟ เซาธ์แอฟริกา เขาบอกว่าการได้นอนจะทำให้ร่างกายฟื้นตัวเร็ว ทั้งยังไปเร่งกระบวนการเผาผลาญสารอาหารของกล้ามเนื้อด้วย “การนอนมาก ๆ ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต (โกรว์ธ ฮอร์โมน) ออกมาซึ่งกระบวนการนี้จะเกิดขึ้นหลังจากนอนไปได้เพียงครึ่งชั่วโมงหรือสี่สิบนาทีเท่านั้น โกรว์ธ ฮร์เมนจะช่วยเร่งกระบวนการฟื้นตัวและเผาผลาญไขมัน พวกมือโปรฯ จะเก็บเกี่ยวตักตวงผลประโยชน์จากการนอนกลางวันได้เยอะ”

3.ติดเบอร์ให้แน่น ๆ เข้าไว้
การซ้อมนั่นสำคัญจริง แต่ก็มีอีกเรื่องที่สำคัญและหลายคนไม่ค่อยนึกถึง เรื่องที่ว่านั่นคือเบอร์ประจำตัวนักแข่ง พวกมือโปรฯ หลายคนที่พยายามพับเบอร์แข่งของตัวเองให้เล็กที่สุด ติดมันไว้ข้างหลังให้ต่ำที่สุด้วย บางครั้งต้องใช้เข็มกลัดถึงแปดตัวเพื่อให้มั่นใจว่าลมต้องไม่พัดเข้าไปได้แผ่นเบอร์นั่นเพยิบพยาบจนทำให้ปั่นช้าลง เบอร์แข่งที่สะบัดปลิวนั่นไม่เพียงแต่ทำให้ต้านลมเท่านั้น มันยังทำให้ตัวคุณเองและเพื่อน ๆ ร่วมแข่งขันต้องเสียสมาธิด้วย การติดเบอร์นี้เหมือนกันที่ทำให้เราทราบว่าคนไหนมือใหม่คนไหนที่เป็นนักกีฬาจักรยานจริงจัง และใส่ใจในทุกรายละเอียด

ข้อมูลจาก Thai Cycling Club ขอบคุณมากครับ
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
Newteerawat
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2383
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ม.ค. 2011, 21:34
team: HCCT(HuaHin Chaam Cycle Team)
Bike: Giant propel sl/Giant Trinity/GIANT TCR SL

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

โพสต์ โดย Newteerawat »

ขอบคุณมากครับบบ
รูปประจำตัวสมาชิก
kalasin_club
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 62
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2009, 12:32
Tel: 088-5624465
Bike: KLIEN
ตำแหน่ง: kalasin,Thailand

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

โพสต์ โดย kalasin_club »

:D :D

ด่วน****088-5624465****


>>>>ติดตามข่าวสาร สินค้าใหม่ๆแบบทันท่วงทีได้ที่<<<<< https://www.facebook.com/nattapong.chewpattayagon
รูปประจำตัวสมาชิก
tarock13
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 เม.ย. 2011, 01:26
team: ......
Bike: trek 3900

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

โพสต์ โดย tarock13 »

:D :D :D
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

161.เจ็ดเคล็ดลับ ของนักปั่นมือโปร ตอนที่ 2

เรามาต่อด้วยเคล็ดลับต่อไปกันเลยครับ

รูปภาพ 4.อย่าสวมนาฬิกาหรือฮาร์ทเรท มอนิเตอร์แข่ง สำหรับ เจมส์ คันนามา หนึ่งในนักไตรกีฬามือโปรแห่งแอฟริกาใต้ การแข่งโดยสวมเครื่องวัดชีพจร (ฮาร์ทเรท มอนิเตอร์) จะส่งผลกระทบต่อการรับรู้สภาพร่างกายในวันแข่ง ถ้าคุณจะใช้ฮาร์ทเรท ระหว่างซ้อมก็ได้ แต่สำหรับเจมส์แล้วเขามีเหตุผลที่จะไม่ใช้อุปกรณ์นี้ในวันแข่ง เพราะเขาพบว่าผลจากมอนิเตอร์และเวลามันไม่สัมพันธ์กับความรู้สึกที่ร่างกายสัมผัสได้ ด้วยเหตุผลว่า “มีตั้งหลายสิ่งที่ทำให้คุณเป็นนักกีฬาที่เก่งและปัจจัยเหล่านั้นก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลยกับเรื่องเวลาหรืออัตราชีพจร ผมใช้ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ติดตัวมาตลอดเวลาคือสมองครับ สมองนี่แหละที่รับสัญญาณต่าง ๆ มาจากทั่วทุกส่วนของร่างกาย และนี่คือวิธีการควบคุมการแข่งขันที่ดีที่สุดของผม ไม่ใช่ว่าเครื่องฮาร์ทเรท มอนิเตอร์จะใช้ไม่ได้นะ แต่มันทำให้เราฟังเสียงร่ายกายตัวเองบอกน้อยลง ซึ่งในความคิดของผมแล้วการฟังเสียงจากสมองนี่แหละสำคัญกว่าอะไรทั้งหมด”

คำแนะนำของเจมส์คือ “ถ้าจะแข่งก็ไม่จำเป็นต้องใช้ฮาร์ทเรท มอนิเตอร์ แต่ให้หันมาฟังร่างกายตัวเองให้มากเข้าไว้ ถ้าคุณใช้ฮาร์ทเรท มอนิเตอร์อยู่ก็ลองหยุดใช้มันระยะหนึ่ง แล้วลองสวมใส่มันอีกก็จะรู้ว่าผลจากหน้าปัดของเครื่องมือชนิดนี้แทบจะไม่ต่างจากความรู้สึกของตัวเองเลย”

5.ลดความดันลม
เดวิด จอร์จ ผู้เปลี่ยนจากการแข่งเสือหมอบมาเป็นเมาเท่นไบค์ และปัจจุบันนี้เป็นนักแข่งเมาเท่นไบค์อาชีพให้ทีม 360 ไลฟ์ เรียนรู้ได้มากจากความดันลมยางในระดับต่าง ๆ “ตอนแรกผมก็คิดว่าเหมือน ๆ กันหมด แต่พอลองความดันลมที่ระดับต่าง ๆ แล้วจึงได้รู้ว่ามันทำให้การขี่ของเราเปลี่ยนไป ทั้งยังทำให้รู้สึกเหมือนขี่จักรยานคันใหม่อีกด้วย” ด้วยเมาเท่นไบค์วงล้อ 29 นิ้วแบรนด์ Scott Scale ที่เดวิดใช้แข่งในหลายรายการนั้นเขาอาจต้องปล่อยลมยางออกมาบ้างเพื่อให้ซับแรงกระแทกและเกาะเส้นทางได้ดี นี่เองจึงทำให้รู้ว่ายางที่ความดันลดลงเล็กน้อยนั่นจะทำให้เกาะเส้นทางได้ดีกว่ายางแข็ง ๆ

“ผมเห็นเพื่อนักแข่งหลายคนที่ใช้ความดันลม 30 -43 psi ในขณะที่พวกเราใช้แค่ 20 psi เท่านั้น แต่ถึงคนที่ตัวหนักจะใช้ความดันลม 25 psi มันก็ยังทำให้การเกาะเส้นทางและการบังคับจักรยานง่ายขึ้น นอกจากยางธรรมดาแล้ว เดี๋ยวนี้ยังมียางทิวบ์เลสให้เลือกใช้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ความดันลมยางสูง ๆ ด้วย”

รูปภาพ

6.คลายน็อตบางตัว
ไดแลน เวน เดอร์เมิร์ฟ ช่างประจำทีม สเปเชียไลส์ คือผู้คร่ำหวอดในโลกของนักจักรยานเสือหมอบ นักไตรกีฬาและนักเมาเท่นไบค์ทั่วโลก ไดแลนรู้ว่าการเซ็ตรถคือสิ่งสำคัญในเมื่อสมรรถนะของคนขี่จักรยานขึ้นอยู่กับความมั่นใจที่นักแข่งมีต่ออุปกรณ์ โดยเฉพาะในโลกของดาวน์ฮิลล์และฟรีไรด์ซึ่งการโดดและลงมาให้ได้อย่างปลอดภัยนั้นขึ้นอยู่กับความไว้เนื้อเชื่อใจในจักรยาน ไดแลน ยอมรับว่าเขาคลายน็อตออกหลายตัวในจักรยานของนักเมาเท่นไบค์ดาวน์ฮิลล์หลายคน รวมทั้ง สเปเชียไลส์ เดโม 8 ของนักจักรยานฟรีไรด์ชาวคานาเดี้ยนคือ ดาร์เรน เบอร์โคลธ

“น็อตทุกตัวบนจักรขานของเขาไม่ได้ขันให้ตรงตามกำหนดหรอกครับ คุณสามารถหมุนแฮนด์ ขยับเบรก ซิฟเตอร์ และหลักอานได้ด้วยมือเปล่า ๆ เราทำไว้เพื่อว่าถ้าเขาล้มแล้วจะได้เอาชิ้นส่วนพวกนี้มาขันกลับเข้าที่ได้รวดเร็วระหว่างแข่ง เราไม่ต้องการให้อะไรมันหักหรืองดจากการถูกระแทก ถ้าจักรยานต้องถูกกระแทกกระทั้นบ่อย ๆ และมีโอกาสที่ชิ้นส่วนจะหักพังแล้ว การให้มันเลื่อนได้ด้วยมือย่อมจะดีกว่าให้ติดแน่นแล้วหักเมื่อถูกกระแทก”

เทคนิคอีกอย่างที่ไดแลนทำก็คือการเจาะรูชุดกะโหลก “เราทำเช่นนี้เพื่อจะได้สอดแผ่นพลาสติกเข้าไปขัดไม่ให้มันหมุนได้ไงครับ ตรงนี้แหละที่ทำให้นักจักรยานมั่นใจว่าบันไดของตัวเองจะยังอยู่ที่เดิม ระหว่างกำลังตีลังกาอยู่กลางอากาศ พอกลับลงมาที่พื้นจะได้ไม่ต้องพะวงกับตำแหน่งของบันไดอีก”

รูปภาพ 7.ใส่ใจต่อขาจานหน้า
การเปลี่ยนรูปแบบการแข่งจากเสือหมอบมาเป็นเมาเท่นไบค์ของ เดวิด จอร์จ ทำให้ได้มุมมองแปลก ๆ ในการปรับแต่งจักรยาน แม้เดวิดจะสูงปานกลางคือ 177 ซม. เขาก็ยังเชื่อว่านักเมาเท่นไบค์ที่ตัวเล็กกว่าน่าจะใช้ขาจานสั้นกว่า หลังจากการแข่งเสือหมอบมาตลอดด้วยขาจานยาว 172.5 มม. เดวิดก็คิดว่ามันแปลกที่การเปลี่ยนมาแข่งเมาเท่นไบค์ทำให้ต้องเปลี่ยนมาใช้ขาจานยาย 175 มม. “มีเรื่องเล่าในวงการจักรยานอย่างนี้ครับว่า ยิ่งขาจานยาวเท่าไรยิ่งช่วยให้มีแรงส่งผ่านไปปั่นจานมากขึ้นเท่านั้น ผมคิดว่ามันไม่น่าจะใช่ครับ คนตัวเล็กก็ต้องใช้ขาจานสั้นลงสิ เพื่อให้มันเข้ากับสรีระของพวกเขาเองโดยเฉพาะกับผู้หญิงที่มีแรงปั่นน้อยกว่าผู้ชาย การใช้ขาจานสั้นนี่แหละจะช่วยลดพลังงานได้ในเมื่อคุณสามารถปั่นมันได้เร็วและด้วยช่วงที่สั้นกว่า ช่วงขึ้นเขาก็จะเร่งขึ้นได้เร็วกว่าด้วยเช่นกัน”

ดังนั้น เดวิดกับเพื่อนในทีม 360 ไลฟ์ คือ เควิน อีแวนส์ สูง 171 ซม. จึงเริ่มใช้ขาจานแบรนด์ โรเตอร์ หนึ่งในไม่กี่แบรนด์ที่มีขาจานยาง 172.5 มม. และเขาเองก็เชื่อว่ามีทางเลือกสองทางเท่านั้นในการแข่งจักรยานคือ “ปั่นเกียร์หนักหรือปั่นบันไดให้ไว” เขาเชื่อมั่นว่าขาจานสั้นจะช่วยให้นักจักรยานตัวเตี้ยปั่นลูกบันไดได้เร็วกว่า ซึ่งจะมีผลดีต่อเนื่องคือคงกำลังเอาไว้ได้นานและในที่สุดก็จะเหนื่อยล้าได้น้อยกว่าการปั่นขาจานยาว ๆ โดยไม่ดูสรีระของตัวเอง

ทั้งหมดนี้คือความคิดของนักจักรยานและช่างมือโปรฯ ซึ่งใช้ประสบการณ์ของตัวเองมาเพื่อบอกเล่า ในทำนองเดียวกันคุณ ๆ ต่างก็มีประสบการณ์ของตัวเองที่แตกต่างออกไป ขึ้นอยู่ว่าจะเลือกใช้ข้อไหนให้เป็นประโยชน์เท่านั้น ใช่ว่าจะต้องหลับหูหลับตาเชื่อกันตลอดครับ...

ข้อมูลจาก Thai Cycling Club ขอบคุณมากครับ
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร”