☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

สอบถามเทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร เชิญห้องนี้เลย
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

136.คำถามถามบ่อยและความเข้าใจอันคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับฮาร์ทเรทมอนิเตอร์ (ตอนที่ 2)

รูปภาพเรามาต่อกันกับคำถามและปัญหาเกี่ยวกับการใช้ฮาร์ทเรทมอนิเตอร์ครับ

6. ผมต้องการเพียงแค่ค่า HR เฉลี่ย
มีหลายคนที่ใช้ HRM แล้วตั้งคำถามว่า “ผมทราบค่า HR เฉลี่ยระหว่างการฝึกทำอินเตอร์วัล แต่ค่าที่อ่านได้มันรวมค่า HR ทั้งในช่วงวอร์มอัพและคูลดาวน์เข้าไว้ด้วย จะทำยังไงเพื่อให้ได้ค่า HR เฉลี่ยโดยไม่บิดเบือนเพราะมีค่า HR ต่ำ ๆ จากสองช่วงต้นและท้ายเข้ามาปะปนด้วย ?”
คำตอบของก็คือให้คุณสวมนาฬิกาไว้กับข้อมือแต่ติดหน้าปัดของ HRM ไว้กับแฮนด์ ให้ใช้นาฬิกาธรรมดาที่มีฟังก์ชั่นจับเวลาไว้จับเวลาในแต่ละช่วง เริ่มใช้ฟังก์ชั่นจับเวลาบนมอนิเตอร์เมื่อเฉพาะหลังจากการวอร์มอัพเสร็จและก่อนการคูลดาวน์ทุกครั้ง เพราะ HRM จะเริ่มวัดอัตราชีพจรเมื่อนาฬิกาจับเวลาเริ่มเดิน ทำเช่นนี้จะช่วยให้คุณดูค่าในเวลาแต่ละช่วงได้ โดยแบ่งเป็นส่วน ๆ ทั้งวอร์มอัพ-ออกกำลังและช่วงคูลดาวน์ รวมไปถึงช่วงที่ทำอินเตอร์วัลด้วย

7. จะใช้ HRM วัดพลังงานได้อย่างเดียวกับเครื่องมือวัดพลังงาน หรือเพาเวอร์เอาท์พุทได้ไหมครับ ?
จะเป็นประโยชน์มากถ้าได้รู้ว่าตอนขี่จักรยานไปนั้นใช้พลังงานไปเท่าไร การจะวัดพลังงานดังกล่าวให้ได้คุณต้องมีเครื่องวัดพิเศษ บางครั้งมันจะถูกติดตั้งไว้ที่ดุมหลังจักรยาน เครื่องมือชนิดนี้แพงมาก มีราคาตั้งแต่ 600 ดอลลาร์ไปจนถึง 1,000 ดอลลาร์ อย่างไรก็ตามเครื่องมือ HRM นี้ถ้ามันถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้กับจักรยาน ซึ่งจะบอกได้ทั้งค่าความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ค่า HR ระยะทางที่ขี่และความเร็ว ก็น่าจะเพียงพอแล้วสำหรับการให้ข้อมูลที่จำเป็น อันเกี่ยวข้องกับการขี่จักรยานของคุณ มันช่วยให้คุณพัฒนาฝีมือตัวเองได้ แม้ว่าจะไม่วัดพลังงานออกมาเป็นวัตต์ก็ตาม มันไม่สามารถวัดพลังงานเป็นวัตต์ได้ ถ้าต้องการแบบนี้จริง ๆ ก็ต้องใช้เครื่องวัดพลังงานโดยเฉพาะ ตามที่กล่าวแล้วข้างต้น

8. ไม่รู้จะเลือก HRM ไว้ใช้อย่างไรดี
คนส่วนใหญ่พบว่าฮาร์ทเรท มอนิเตอร์มีคุณสมบัติครบถ้วนเท่าที่ตอนต้องการ แต่ปัญหาคือเมื่อใดที่คุณซื้อมันใช้งานเป็นครั้งแรกในชีวิต คุณอาจไม่รู้ว่าพวกฟังก์ชั่นต่าง ๆ นั้นมันมีไว้เพื่ออะไร พวกเราส่วนใหญ่อยากจะใช้มอนิเตอร์เป็นเหมือนนาฬิกาข้อมือ ปัจจุบันนี้ผู้ผลิตต่าง ๆ ก็ลดขนาดของมันลงให้เล็กจนสามารถสวมใส่ติดตัวไปได้ทุกวัน รวมทั้งทำให้สวยพอจะเป็นเครื่องประดับได้อย่างไม่เก้อเขิน วิธีเลือกที่ดีที่สุดก็คือการขอคู่มือการใช้งานจากร้านค้าอ่านเสียก่อน เพื่อให้ทราบวิธีการทำงานของมัน เพื่อให้เข้าใจว่าฟังก์ชั่นต่าง ๆ นั้นเหมาะสมกับสภาพการใช้งานที่คุณต้องการหรือไม่ จำไว้อย่างหนึ่งว่าบางฟังก์ชั่นที่ไม่จำเป็นก็ไม่จำเป็นต้องซื้อ การเลือกใช้ HRM ที่มีฟังก์ชั่นจำเป็นต่อการใช้งานนั้นจะประหยัดเงินกว่าการซื้อของดี ๆ ซับซ้อนกว่ามาใช้ แต่ใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

9. พบว่าค่าตัวเลขที่แสดงนั้นเปลี่ยนไปเปลี่ยนมามากภายในหนึ่งวัน
HRM ของคุณคือสิ่งที่บ่งบอกถึงสภาพทางร่างกายและความกดดันทางอารมณ์ได้ในชั่วขณะหนึ่ง ถ้ามันทำงานได้เป็นปกติแต่มีความเปลี่ยนแปลงมาก นั่นย่อมหมายความว่าตัวคุณเองตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ดีในแต่ละวัน
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงใน HR นั้นมีอยู่หลายอย่าง เช่นการใช้ยา ความเครียดทางอารมณ์ นอนน้อย พักผ่อนน้อย การได้อยู่ในสถานที่ซึ่งภูมิอากาศแตกต่างไปจากเดิม การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนอนหรืออยู่ในที่ซึ่งสูง – ต่ำ ต่างจากที่เคยเป็นอยู่ ทั้งหมดนี้ก็ทำให้ค่า HR เปลี่ยนแปลงได้

10. ผมดาวน์โหลดข้อมูลจากตัวมอนิเตอร์เข้าคอมพิวเตอร์ได้ แต่ก็ไม่เข้าใจถึงความหมายของข้อมูลพวกนั้น
ถ้าคุณมีปัญหาเช่นนี้ ขอบอกได้เลยว่าคุณไม่ได้เจอมันคนเดียว เพราะมีอยู่หลายครั้งทีเดียวที่ซอฟต์แวร์เป็นสิ่งที่ยากจะเข้าใจ พวกวิศวกรชอบสร้างซอฟต์แวร์โดยยึดตามความสามารถของเครื่องจักรที่กระทำได้โดยไม่สนใจล่ะว่าคนใช้เครื่องมือนั้นจะเข้าใจข้อมูลที่มันแสดงหรือเปล่า ทางออกของคุณก็คือถ้าต้องการใช้งานข้อมูลไหน ก็เลือกรับรู้แต่ข้อมูลนั้นไม่ต้องไปสนใจเรื่องอื่น ต่อไปถ้ามีเวลาค่อยมาดูอีกทีก็ยังไหว รับรองได้เลยว่าถ้าคุณมีความพยายามพอ ก็จะเข้าใจการทำงานเกือบทั้งหมดของข้อมูลที่มันแสดงออกบนจอคอมพิวเตอร์
รูปภาพ
คิดว่าคุณที่ใช้ HRM อยู่แล้วน่าจะเข้าใจเครื่องมือของตัวเองดีขึ้น และใช้งานมันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่วนคนที่ยังไม่ได้ใช้ HRM น่าจะเป็นเครื่องมืออีกชนิดที่น่าจะลงทุน การขี่จักรยานของคุณจะสนุกว่าเดิมเมื่อใช้มัน

ข้อมูลจาก Thai Cycling Club ขอบคุณมากครับ
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
แก้วสกาย
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 411
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2010, 22:29
Tel: 0805818328
team: khok samrong bike
Bike: Giant กับ

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

โพสต์ โดย แก้วสกาย »

ขอบคุณครับสําหรับข้อมูลดีดี
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

137.เถียงกันไม่เลิก ระหว่างยางธรรมดากับยางฮาล์ฟ

เถียงกันไม่เลิก ระหว่างยางธรรมดากับยางฮาล์ฟ
รูปภาพยางฮาล์ฟ หรือ ทูบูล่าร์ (Tubular) ในภาษาอังกฤษนั่นแท้จริงก็คือยางที่เอายางในเชื่อมติดกับยางนอกแล้วทากาวติดกับขอบล้อ ส่วนยางแบบมียางในที่เราใช้กันนั้นมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า คลินเซอร์ จากคุณสมบัติที่พิจารณาอย่างผิวเผินจะทำให้มีแนวโน้มหนักไปในทางที่เชื่อว่า ทูบูล่าร์ดีกว่า เพราะมันเป็นทางเลือกของพวกนักจักรยานมือโปรและพวกที่ชนะอยู่บ่อย ๆ ในการแข่งขันระดับโลก แต่ถ้าหากเอามาเปรียบเทียบกันจริง ๆ อย่างตัวต่อตัวเราจะพบว่าไม่ยุติธรรม หากจะเอายางคลินเซอร์ธรรมดาไปเปรียบเทียบกับยาง ทูบูล่าระดับไฮ-เอนด์

ลองเอายางคลินเซอร์กับทูบูล่าร์ในระดับเดียวกันมาเปรียบเทียบกันเถอะแล้วคุณจะเข้าใจว่ามันแทบไม่ต่างกันเลย ทั้งความรู้สึกที่ได้จากการขี่และประสิทธิภาพของตัวยางเอง ในขณะที่มันไม่ต่างกันในด้านการต้านทานต่อรอยขีดข่วนและของมีคม หลักฐานอันไม่ปรากฏชัดคือการอ้างว่ายางทูบูล่าร์กลับจะทนต่อการรั่วเพราะยางบิดตัวได้ดีกว่ายางคลินเซอร์ เหตุผลที่อ้างเช่นนั้นก็เพราะยางทูบูล่าร์มีอัตราการบิดตัวต่ำมากเมื่อเทียบกับคลินเซอร์ การบิดตัวต่ำจึงทำให้เสียดสีกับขอบล้อได้น้อย โอกาสจะรั่วก็มีน้อยตามไปด้วย

แต่ที่แน่นอนที่สุดคือวงล้อประกอบยางทูบูล่าร์จะเบากว่าแบบคลินเซอร์ แต่ในขณะที่วงล้อเบากว่าอาจจะทำให้รู้สึกเหมือนกับจะตอบสนองต่อแรงปั่นได้ดีกว่า มันกลับทำความเร็วได้ไม่มากกว่า เรื่องนี้วิศวกรของทีมแชร์เวโล คือ ดามอน รินาร์ด ผู้ค้นคว้าวิจัยให้ได้ข้อได้เปรียบเพื่อนำมาใช้กับทีมมากที่สุด แสดงความคิดเห็นว่า “ล้อที่หนักกว่านั้นไม่ใช่ปัญหาใหญ่อย่างที่พวกนักจักรยานทั่วไปชอบคิดกัน ผมคำนวณแล้ว แม้ว่าจะมีแรงฉุดจริงแต่ก็มีน้อยมาก”
รูปภาพดังนั้นพวกนักจักรยานมือโปรจึงเลือกใช้ยางทูบูล่าร์ตามความเชื่อของตัวเอง ไม่ใช่เพื่อลดน้ำหนักอะไรเลยเพราะเอาจริง ๆ แล้วมันให้ความรู้สึกในการขี่แทบไม่ต่างกัน ที่พวกมือโปรเขาเลือกยางทูบูล่าร์ก็เพราะเขามีรถบริการคอยขับตามไปตลอดทาง ส่วนพวกเราถ้ายางเกิดแตกขึ้นมาคงทำอะไรไม่ได้จริง ๆ นอกจากเดิน ถ้าในกลุ่มไม่มีใครพกยางสำรองติดตัวเลย

ถ้าคุณยังไม่มั่นใจว่าด้วยประสิทธิภาพแล้วมันแทบไม่ต่างกันแต่เราก็มีข้อคิดให้คุณได้อย่างหนึ่งคือ ถ้าหากจะใช้ยางทูบูล่าร์ คนในกลุ่มควรจะมีมันติดตัวไปด้วย หากเกิดปัญหาตรงนี้จะง่ายมากในการเปลี่ยน แต่ถ้าไม่มีมืออาชีพจริง ๆ อยู่ใกล้ตัว ยางคลินเซอร์แบบประกอบยางนอกและยางในเดิม ๆ นั่นก็ใช้ดีทีเดียว ราคาไม่แพง หาซื้อง่าย ประกอบล้อก็ง่าย จะพกยางในติดตัวไปพร้อมกับหลอดคาร์บอนได้ออกไซด์เพื่อเติมลมยางก็ได้ ง่ายกว่าตั้งเยอะ

การเลือกใช้ยางคลินเซอร์หรือทูบูล่าร์จึงน่าจะเป็นเรื่องรสนิยม หรือความชอบส่วนบุคคลมากกว่า เป็นเรื่องของสไตล์มากกว่าประโยชน์ใช้สอยจริง ๆ

ข้อมูลจาก Thai Cycling Club ขอบคุณมากครับ
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
ลุงจืด
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 249
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 มิ.ย. 2011, 16:18
Tel: 0833482767
team: พังโคนทีม
Bike: RC แบบแม่บ้าน จับฉลากได้จากงานกาชาด
ติดต่อ:

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

โพสต์ โดย ลุงจืด »

คนแก่ ได้ความรู้เพิ่ม ขอบใจ หลานๆๆ :)
ขาไม่แรง แต่หากว่าอยากไปนํามู่
รูปประจำตัวสมาชิก
lert-mtb
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 133
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ต.ค. 2010, 19:35
Tel: 0-8-1-0-2-9-4-3-2-5
Bike: TFS 500D + nirone 7

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

โพสต์ โดย lert-mtb »

ขอบคุณมากครับ สำหรับความรู้ คอยติดตามอยู่นะครับ :D :D
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

ลุงจืด เขียน:คนแก่ ได้ความรู้เพิ่ม ขอบใจ หลานๆๆ :)
[img]http://www.thaimtb.com/forum/download/file.php?avatar=42431_1304727401.jpg[/img] lert-mtb เขียน:ขอบคุณมากครับ สำหรับความรู้ คอยติดตามอยู่นะครับ :D :D
ครับผม!...ขอบคุณครับ :)
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

138.กฎจราจร..ที่นักปั่นจักรยานทุกท่านควรทราบ

กฎจราจร...มาตราที่เกี่ยวข้องกับผู้ขับขี่จักรยาน
รูปภาพ
พระราชบัญญติจราจรทางบก พ.ศ. 2522

มาตรา 79 ทางใดที่ได้จัดไว้สำรหับรถจักรยาน ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับในทางนั้น

มาตรา 80 รถจักรยานที่ใช้ในทางเดินรถ ไหล่ทาง หรือทางที่จัดไว้สำหรับรถจักรยาน ผู้ขับขี่จักรยานต้องจัดให้มี
1) กระดิ่งที่ให้เสียงสัญญาณได้ยินได้ในระยะไม่น้อยกว่าสามสิบเมตร
2) เครื่องห้ามที่ใช้การได้ดีเมื่อใช้สามารถทำให้รถจักรยานหยุดได้ในทันที
3) โคมไฟติดหน้ารถจักรยานแสงขาวไม่น้อยกว่าหนึ่งดวงที่ให้แสงไฟส่องตรงไปข้าง หน้าเห็นพื้นทางได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่าสิบห้าเมตร และอยู่ในระดับต่ำกว่าสายตาของผู้ขับขี่ซึ่งขับรถสวนมา
4) โดยไฟติดท้ายรถจักรยานแสงแดงไม่น้อยกว่าหนึ่งดวงที่ให้แสงสว่างตรงไปข้าง หลังหรือติดวัตถุสะท้อนแสงสีแดงแทน ซึ่งเมื่อถูกส่องให้มีแสงสะท้อน

มาตรา 81 ในเวลาต้องเปิดไฟตาม มาตรา 11 หรือ มาตรา 61 ผู้ขัขี่รถจักรยานอยู่ในทางเดินรถ ไหล่ทาง หรือทางที่จัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน ต้องจุดโคมไฟแสงขาวหน้ารถเพื่อให้ผู้ขับขี่ หรือคนเดินเท้า ซึ่งขับรถหรือเดินสวนสามารถมองเห็นรถ

มาตรา 82 ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับให้ชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ ไหล่ทาง หรือทางที่จัดทำไว้สำหรับรถจักรยานมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางด้านซ็ยสุดของทางเดินรถ ต้องขับขี่รถจักรยานให้ชิดช่องเดินรถประจำทางนั้น

มาตรา 83 ในทางเดินรถไหล่ทางหรือทางที่จัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถจักรยาน
1) ขับโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
2) ขับโดยไม่จับคันบังคับรถ
3) ขับขนานกันเกินสองคัน เว้นแต่ขับในทางที่จัดไว้สำหรับรถจักรยาน
4) ขับโดยนั่งบนที่อื่นมิใช่อานที่จัดไว้เป็นที่นั่งตามปกติ
5) ขับโดยบรรทุกผู้อื่น เว้นแต่รถจักรยานสามล้อสำหรับบรรทุกคน ทั้งนี้ตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด
6) บรรทุก หรือถือสิ่งของใด ๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวาง การจับคันบังคับรถ หรืออันอาจจะเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
7) เกาะหรือพ่วงรถอื่นที่กำลังแล่นอยู่

มาตรา 84 เว้นแต่บทบัญญัติในลักษณะนี้จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ให้ผู้ขับขี่รถจักรยานปฏิบัติตาม
รูปภาพ

ข้อมูลจาก Thai Cycling Club ขอบคุณมากครับ
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

139.รู้จักกับคาร์บอนไฟเบอร์กันสักนิด

รู้จักกับคาร์บอนไฟเบอร์กันสักนิด
รูปภาพวัสดุใช้สร้างเฟรมจักรยานเริ่มจากไม้ แล้วต่อมาก็พัฒนาเป็นเหล็ก อลูมินั่ม ไทเทเนียม และล่าสุดจนถึงปัจจุบันคือคาร์บอนไฟเบอร์ซึ่งเมื่อมาประกอบเป็นเฟรมหรือส่วนประกอบของยานพาหนะอื่นใดในรูปของคอมโพสิต (Composite) คือลำพังแต่ตัวคาร์บอนเองไม่พอต้องมีสารอื่นมาช่วยยึดเหนี่ยวโมเลกุลของมัน เพื่อให้ได้ทั้งความแข็งแกร่งและเบา เพราะคุณสมบัติคือความแข็งแกร่งและเบานี้รวมทั้งนุ่มนวลเมื่อควบขี่เหนือวัตถุอื่นนี้เองที่ทำให้คาร์บอนคอมโพสิตยังคงเป็นวัสดุสุดยอดปรารถนาของนักจักรยานผู้ปรารถนาความเป็นที่สุด ทั้งความเบาและแข็งแกร่ง
คาร์บอนไฟเบอร์ มีชื่อเรียกต่างกันแต่ในความหมายเหมือนกันได้ทั้งกราไฟต์,คาร์บอน กราไฟต์ หรือ CF เกิดจากธาตุคาร์บอนหรือถ่าน หากจะว่าไปก็คือรูปหนึ่งของสารซึ่งหากถูกบดอัดด้วยแรงดันสูงและความร้อนนานเข้าก็จะกลายเป็นเพชร คาร์บอนไฟเบอร์จริง ๆ แล้วคือเส้นใยวัสดุเกิดจากการใช้กรรมวิธีรีดอะตอมของคาร์บอน ออกเป็นเส้นสุดเหนียวและเส้นผ่าศูนย์กลางบางเพียง 0.005 ถึง 0.010 มม. จากเส้นผ่าศูนย์กลางที่บางมาก ๆ แต่เหนียวนี้เองที่ทำให้มันคงความเหนียวไว้ได้โดยยังบางเฉียบ ไม่ต้องพอกเนื้อให้หนาเพื่อทนแรงดึงและแรงเฉือนได้เหมือนวัสดุอื่นหรือแม้แต่โลหะ
ลำพังเส้นใยคาร์บอนเดี่ยว ๆ คงทำอะไรไม่ได้ มันจึงถูกนำมาพันกันเป็นวัสดุเสมือนเส้นด้าย ก่อนจะนำด้ายคาร์บอนนั้นมาถักทอเป็นแผ่น ถ้าจะว่าเฟรมจักรยานของเราทำจากแผ่นผ้าก็ได้ แต่มันมีอะไรมากกว่านั้นคือการถักทอเส้นสายคาร์บอนให้เป็นแผ่นนั้นแต่ละผู้ผลิตจะมีกรรมวิธีถักทอแตกต่างกันไป ซึ่งแต่ละเจ้าก็บอกว่ากรรมวิธีของตนจะทำให้ได้เนื้อคาร์บอนที่เหนียวกว่าพร้อมทั้งจดสิทธิบัตรไว้เพื่อป้องกันคนลอกเลียนแบบ พอได้เส้นใบคาร์บอนเป็นแผ่นบาง ๆ แล้วยังใช่ว่าจะนำมาประกอบเป็นเฟรมได้ เพราะมันยังอ่อนตัวอยู่มาก เปรียบเสมือนผ้าชิ้นหนึ่งซึ่งต้องมีกรรมวิธีทำให้ผ้าแข็งตัวตั้งเป็นรูปทรงอยู่ได้ หากจะพูดแบบชาวบ้านก็คือต้องเอาผ้าไปชุบแป้งเปียก ซึ่งเปรียบกรรมวิธีชุบกาวหรือแป้งเปียกของผ้าคาร์บอนไฟเบอร์ไว้ได้ในทำนองเดียวกัน คือต้องน้ำเอาแผ่นบาง ๆ ของคาร์บอนมาเรียงทับกันตามรูปแบบที่วิศวกรรคำนวณมาว่าจะรับแรงกระทำได้มากที่สุด แล้วเทวัสดุเรซิ่นซึ่งก็คือพลาสติกเนื้อเหนียวที่ยังอยู่ในรูปของของเหลวลงในพิมพ์ทับแต่ละชั้นของแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ ก่อนจะรีดฟองอากาศออกแล้วอัดด้วยความร้อนเพื่อช่วยให้เนื้อเรซิ่นซึมเข้าไปแทรกอยู่ระหว่างโมเลกุลของคาร์บอนไฟเบอร์ เพราะความเบาแต่แข็งของมันนี่เองที่ทำให้ถูกนำไปสร้างอากาศยานในปัจจุบัน แต่การจะทำให้เบาและแข็งได้ขนาดนี้ต้องมีกรรมวิธีละเอียดอ่อนมากซึ่งมีไม่กี่ประเทศในโลกเท่านั้นทำได้ สหรัฐอเมริกาคืออันดับ 1 ในการสร้าคาร์บอนไฟเบอร์ ใช้ในยวดยานหลายชนิดตั้งแต่ยานอวกาศ รถยนต์ รถแข่งจนถึงจักรยาน นอกจากข้อดีคือแข็งแกร่งและเบาแล้ว จุดอ่อนของมันก็มีคือมันอ่อนไหวต่อแรงกระเทือน พูดง่าย ๆ คือคุณไม่สามารถหักเฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ได้ด้วยการเอามือถึง แต่ถ้าเอาค้อนทุบเปรี้ยงเดียวกันจะกะเทาะแตกออกเป็นชิ้น ๆ ไม่ว่าจะมาจากค่ายไหนก็จะลงเอยด้วยจุดจบแบบเดียวกันหมด ที่ว่าสหรัฐฯ เก่งเรื่องคาร์บอนไฟเบอร์ก็เพราะมันเกิดขึ้นที่นี่เมื่อปี 1958 จากการคิดค้นของด็อกเตอร์โรเจอร์ เบคอนให้กับบริษัทยูเนียน คาร์ไบด์ในเมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ เริ่มจากแผ่นเรย็อง ก่อนเมื่อยังไม่มีอะไรดีกว่า กระทั่งค้นพบว่าสามารถรีดเส้นใยจากคาร์บอนมาถักเป็นเชือกแล้วสานเป็นแผ่นได้ ในช่วงทศวรรษที่ 1960 ด็อกเตอร์อาคิโอะ ชินโดะ ชาวญี่ปุ่นแห่งสำนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแห่งญี่ปุ่น ได้คิดค้นวิธีสร้างวัสดุคาร์บอนคอมโพสิตให้ดีขึ้น ก่อนจะมีผู้นำกรรมวิธีอื่นมาใช้เพื่อเสริมความแข็งแกร่งและรีดเนื้อให้เบาลงที่สุดจนถึงปัจจุบัน ข้างต้นนั่นคือความเป็นมาพอสังเขปของคาร์บอนไฟเบอร์ วัสดุยอดนิยมใช้เพื่อสร้างอากาศยานราคาแพงที่ตัววัสดุต้องการความเบาเพื่อประหยัดเชื้อเพลิง แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องแข็งแกร่งด้วยเพื่อทดรับภาระหนัก ๆ จากแรงบิด แรงกด แรงดึงและกระแทกกระทั้นทั้งระหว่างอยู่ในอากาศและเมื่อร่อนลงจอด เทคโนโลยีคาร์บอนไฟเบอร์แพร่เข้ามาสู่วงการจักรยานเมื่อไม่ถึง 20 ปีนี้เอง หลังจากเฟรมจักรยานถูกสร้างด้วยเหล็กกล้า ตามด้วยอลูมินั่ม ไทเทเนียมและคาร์บอนไฟเบอร์ซึ่งเบาพอ ๆ กับไทเทเนียมแต่ความกระด้างน้อยกว่าเมื่อมาเป็นเฟรมจักรยาน มันคือเทคโนโลยีล่าสุดที่ต้องใช้ทั้งความละเอียดอ่อนในการผลิตและการออกแบบ และบริษัทที่ผลิตเฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ต้องถูกผลิตในประเทศเท่านั้น หรือหากจะยินยอมให้ประเทศอื่น ๆ ผลิตเฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ก็ต้องอยู่ในรุ่นดีน้อยกว่าผลิตในอเมริกา เราจึงเห็นตัวอักษรว่า Made in USA หรือ Made in Italy หรือประเทศอื่น ๆ ประทับไว้ที่เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ของจักรยานระดับ ไฮ-เอนด์ราคาแพงลิบ เมื่อการผลิตเฟรมคาร์บอนด้วยละเอียดอ่อนการจะสร้างให้ดีจริง ๆ จึงทำได้ยาก บางบริษัทสร้างเฟรมคาร์บอนไว้จำหน่ายได้ในเกรดเดียวกับใช้แข่ง ในขณะที่บางบริษัททำดีได้แค่เฟรมใช้แข่งเท่านั้นแต่เฟรมที่จำหน่ายในตลาดแม้จะดูเหมือนกันแต่ก็ด้อยกว่าในด้านคุณสมบัติลึก ๆ ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจอยากเป็นเจ้าของเฟรมจักรยานจากคาร์บอนไฟเบอร์ เรามีข้อเสนอให้คุณพิจารณาดังนี้
ต้องมีเงิน : เพราะมันเป็นของแพง คุณจึงต้องมีเงินตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไปถ้าอยากจะได้เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ แต่ก็ใช่ว่าราคาประมาณเท่านี้แล้วจะได้ของดีพร้อม ของดีจริงต้องแพงกว่านั้น ในราคาดังกล่าวคุณอาจจะได้เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์เพียงระดับต้นหรือระดับกลางเท่านั้น หมายความว่าน้ำหนักของมันยังมากอยู่เมื่อเทียบกับระดับสูงหรือแพงกว่า ตัวเฟรมยังบิดตัวได้มากเมื่อถูกแรงกระทำเช่นขณะนักจักรยานลุกขึ้นโยกตอนขึ้นภูเขา
หาข้อมูล : แหล่งข้อมูลที่ดี คือรีวิวในอินเตอร์เน็ตและนิตยสารจักรยานต่าง ๆ เช่น Velonews, Procycling, Cyclingnews, Mountainbike Action ซึ่งนิตยสารที่ยกตัวอย่างมานี้จะมีเว็บไซต์ของตัวเองลงท้ายด้วย .COM ทั้งหมด ให้คุณเข้าไปค้นหาข้อมูลของจักรยานคาร์บอนไฟเบอร์ที่หมายตาไว้ แล้วนำมาเปรียบเทียบกันได้จากการทดสอบของนักปั่นมือโปร ซึ่งจะเขียนความเห็นเกี่ยวกับเฟรมแต่ละตัวหลังการทดสอบไว้ชัดเจน อีกแหล่งหนึ่งคือในกลุ่มนักจักรยานที่ปั่นด้วยกันซึ่งจะบอกคุณได้ถึงคุณสมบัติที่เขาชอบในแบรนด์ต่าง ๆ ข้อดีคืออาจจะได้ขี่ทดสอบเฟรมคาร์บอนด้วยครั้งละหลาย ๆ แบรน์เพื่อเปรียบเทียบ
อีกแหล่งที่อาจจะหายากหน่อยคือร้านรับทำสีจักรยาน ตามปกติแล้วร้านเหล่านี้คือร้านทำสีรถ แต่ในกลุ่มจักรยานระดับฮาร์ดคอร์แล้วพวกเขาจะรู้ดีว่าจะเอาเฟรมจักรยานไปทำสีหรือเปลี่ยนสีได้ที่ไหน ร้านทำสีจักรยานนี่แหละคือแหล่งข้อมูลสำคัญที่สุดและบิดเบือนได้ยากในด้านคุณภาพของเนื้อวัสดุ เพราะก่อนจะลงสีใหม่เขาต้องขัดหรือลอกสีเก่าออกให้หมดก่อน ตามด้วยการขัดกระดาษทรายก่อนจะลงสีใหม่ ตอนลอกสีเก่าออกนี่แหละที่จะเห็นว่าเฟรมไหนมีฟองอากาศซึ่งเป็นตัวบั่นทอนความแข็งแกร่งของเฟรมได้ชัดเจน เฟรมตัวไหนมีฟองอากาศมากที่สุดหรือไม่มีเลยร้านเขาจะบอกได้ ที่แน่ ๆ คือฟองอากาศน้อยหรือไม่มีเลยย่อมดีกว่ามีฟองอากาศมาก ร้านจักรยานมีบริการหลังการขาย : เพราะเฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ทนแรงกระทำบางรูปแบบได้ แต่อาจจะเหราะบางต่อแรงกระทำอีกรูปแบบหนึ่ง บางครั้งมันจึงเปราะและแตกได้ ถ้าคุณขี่อย่างถูกวิธีแต่เฟรมแตกหรือหักก็ยังเคลมได้ หรือหากไปขี่ผิดวิธีมาแล้วเฟรมแตกหักทางร้านก็ยังเสนอเงื่อนไขดี ๆ ให้ได้อีก เช่น ซื้อเฟรมใหม่ได้ส่วนลด 30-40 % หากซื้อจากร้านโนเนมหรือหิ้วมาจากต่างประเทศแล้วเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น เงินเกือบแสนสำหรับค่าเฟรมของคุณจะกลายเป็นศูนย์ไปทันทีที่มันชำรุด
ดูจากประวัติการแข่งขัน : เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์แบรนด์หนึ่งเป็นสปอนเซอร์ให้นักแข่งผู้ครองแชมป์ตูร์เดอฟร็องซ์มาหลายสมัย มันก็ถูกล่ะที่เขาเก่งเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่การที่เขาเลือกใช้เฟรมแบรนด์นั้นก็เพราะมันต้องมีคุณสมบัติบางอย่างที่เขาชอบ ถูกใจ หากมองตามที่เห็นก็คือเฟรมแบรนด์นี้เข้าไปสนับสนุนนักจักรยานคนนั้นพร้อมทั้งทีม แต่มองในอีกแง่หนึ่งคือเมื่อนักจักรยานนั้นมีชื่อเสียงก้องโลกขึ้นมาแล้วย่อมมีสิทธิ์จะเปลี่ยนแบรนด์ที่สนับสนุนทีมอยู่ได้แต่ทำไม่ไม่เปลี่ยน ถ้ามันดีสำหรับนักจักรยานคนนั้นได้มันก็ต้องดีสำหรับคุณเช่นกัน เคยคิดเช่นนี้หรือเปล่า นี่น่าจะเป็นวิธีคิดที่ง่ายที่สุดแล้วในการเลือกแบรนด์เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์
สำหรับนักจักรยานผู้ต้องการเป็นเจ้าของเฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ทั้งสี่ข้อข้างต้นนี้ก็น่าจะพอเพียงแล้วสำหรับใช้เป็นแนวทางตัดสินใจ

ข้อมูลจาก Thai Cycling Club ขอบคุณมากครับ
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
ชิน
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4160
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ส.ค. 2008, 09:27
Tel: 083-248-5558
team: Nich-100Plus
Bike: Nich
ตำแหน่ง: อ่อนนุช
ติดต่อ:

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

โพสต์ โดย ชิน »

ขอปักกระทู้ดีๆไว้ด้วยนะครับ :mrgreen:
www.nichcycling.com
รูปประจำตัวสมาชิก
kittinun_pulek
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 23
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 เม.ย. 2011, 21:39
Tel: 081-134-@@@@
team: ว่าง
Bike: TREK 4300 /2010
ตำแหน่ง: บางขุนเทียน จ.กรุงเทพ

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

โพสต์ โดย kittinun_pulek »

อันนี้ดีมากๆเลย
ไฟล์แนบ
1924.gif
1924.gif (9.01 KiB) เข้าดูแล้ว 4608 ครั้ง
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

140.วิศวกรได้คิดค้นจักรยานไฟฟ้า ที่สามารถทรงตัวได้ด้วยตนเอง

เมื่อตอนคุณอายุประมาณเด็กอายุ 5 ขวบคงเคยรู้สึกว่าการขี่จักรยานนั้นไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเพราะต้องทรงตัวให้ได้บนรถที่มีเพียงล้อสองล้อ แต่ก็มีวิศวกรก็พยายามที่จะสร้างจักรยานที่สามารถทรงตัวได้ด้วยตนเองขึ้นมา โดยปราศจากการควบคุมจากมนุษย์ [จักรยานเสือหมอบ เสือภูเขา ดาวน์ฮิลล์]

รูปภาพ

อย่างไรก็ตาม วิศวกรจากมหาวิทยาลัยไคโอในเมืองโยโกฮาม่า ได้ทำการพัฒนาจักรยานไฟฟ้าที่สามารถทรงตัวได้ด้วยตนเองขึ้นมา โดยที่จักรยานนี้สามารถตั้งอยู่ได้ในขณะที่เคลื่อนที่ไปด้วยและมีมอเตอร์เป็นตัวขับเคลื่อน สำหรับเป้าหมายในครั้งนี้คือสร้างจักรยานที่มีประสิทธิภาพสูงที่สามารถเป็นทางเลือกใหม่ในวงการรถขนาดเล็ก
ยาสูชิโตะ ทานากะและโยชิสูกิ มูรากามิ จากสาขาวิศวกรรมการออกแบบ ของมหาวิทยาลัยไคโอ ได้กล่าว่า จักรยานเป็นยานพาหนะที่มีความสะดวกสบาย ความปลอดภัย โดยเฉพาะสามารถใช้ในการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามการเกิดอุบัติเหตุจากจักรยานก็เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุบ่อยๆ และจักรยานไฟฟ้าแบบใหม่นี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการที่จะช่วยลดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นได้อีกด้วย [จักรยานเสือหมอบ เสือภูเขา ดาวน์ฮิลล์]
และขั้นตอนแรกที่จะนำไปสู่แป้าหมายนั้น นักวิจัยได้ทำการออกแบบจักรยานไฟฟ้าที่สามารถรักษาสมดุลและเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง ในการจำลองและการทดลอง พวกเขาได้ทำการทดสอบโดยใช้การควบคุมความสมดุลและควบคุมเส้นทางควบคู่กันไป จนได้จักรยานที่สามารถขับเคลื่อนด้วยตัวของมันเอง
การเตรียมการทดลองนั้น ได้ใช้จักรยานทั่วไปประกอบด้วยโรเลอร์ 3 ตัว โดยที่อยู่ด้านหลัง 2 ตัวและอยู่ด้านหน้า 1 ตัว เมื่อโรเลอร์ด้านหลังหมุน โรเลอร์ด้านหน้าก็จะถูกหมุนผ่านเส้นลวด มอเตอร์ 2 ตัวที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของจักรยานจะถูกควบคุมมาจากมอเตอร์บนแฮนด์บังคับ มอเตอร์ที่ควบคุมล้อหลังมีความเร็วประมาณ 2.5 เมตรต่อวินาที
หน้าจอที่แสดงตำแหน่งและความสมดุลของจักรยานเป็นหน้าจอแบบ แอล ซี ดี ติดอยู่บริเวณด้านหลังของจักรยานและติดตั้งกล้อง เพื่อจับตำแหน่งที่ด้านหลังของจอภาพ ใช้เซนเซอร์ที่ชื่อ ไจโร ในการจับตำแหน่งมุมของจักรยานที่เปลี่ยนไป [จักรยานเสือหมอบ เสือภูเขา ดาวน์ฮิลล์]
ทีมของผู้ของออกแบบได้ทำการปรับปรุงแก้ไข รูปแบบการคำนวณความผิดปกติของถนนและคุณสมบัติของล้อ เป็นการยืนยันความเป็นไปได้ในการรักษาสมดุลของจักรยาน โดยไม่มีคนควบคุม
มูรากามิ กล่าวว่า เป้าหมายสุดท้ายของพวกเขาคือการรักษาสมดุล ในขณะที่มีความเร็วเป็นศูนย์ เนื่องจากอุบัติเหตุจากการตกจักรยานที่เกิดขึ้นนั้น เกิดเมื่อผู้สูงอายุหยุดปั่นจักรยานเมื่อถึงบริเวณทางข้าม [จักรยานเสือหมอบ เสือภูเขา ดาวน์ฮิลล์]

ที่มา :
http://www.physorg.com/news145018303.html
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร”