☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

สอบถามเทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร เชิญห้องนี้เลย
รูปประจำตัวสมาชิก
vespa_08
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 87
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ค. 2010, 22:04
Tel: -
team: -
Bike: Trek 2.5

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ☆☆☆

โพสต์ โดย vespa_08 »

:D ...ขอบคุณที่แนะนำสิ่งดีๆให้ผมและผู้อ่านครับผม...
รูปประจำตัวสมาชิก
Bird3205
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 311
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2008, 17:24
Tel: mini@mini
team: mini@mini
Bike: giant tcr slr carbon/giant tcr composite/giant tcr hight road/giant xtc advance/giant escape city/ giant talon29/giant atx 870

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ☆☆☆

โพสต์ โดย Bird3205 »

:D :D :D :
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

แก้ไขล่าสุดโดย อู๊ด-พีระ เมื่อ 10 พ.ค. 2011, 10:38, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง
รูปประจำตัวสมาชิก
chakaphan_sri
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2809
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ม.ค. 2011, 11:20
team: ทองเนื้อเก้า [IN9ER BANGSAPHAN] - สวนหลวงไบด์
Bike: รถถีบกับเสือขนุน
ตำแหน่ง: บางพาน

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ☆☆☆

โพสต์ โดย chakaphan_sri »

ทุกเรื่องที่อยากรู้ต้อง คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ สุดๆ ครับ
จะประสบความสำเร็จได้จะต้องมีคำว่า "วัด" อยู่ในใจตลอด..แล้ว "วัด" คืออะไร...Positive thinking
พูดคุยกันที่บางสะพาน http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=53&t=89631
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

118.การดูแลรักษาจักรยานเสือภูเขาด้วยตนเอง

การดูแลจักรยานเสือภูเขาด้วยตนเอง
รูปภาพ แม้คุณจะมิใช่ช่างซ่อมเสือภูเขา และคุณอาจรู้เรื่องเครื่องจักรกลน้อยถึงน้อยมาก แต่เพื่อความสนุกสนานในการเดินทางโดยไม่มีอุปสรรคจุกจิก ในระหว่างการเดินทางแต่ละครั้ง คุณสามารถดูแลเสือภูเขาด้วยตนเองได้ตามตารางการดูแลดังต่อไปนี้

ทุกครั้งก่อนการนำเสือภูเขาออกทริป
- ตรวจการเกาะของดุมล้อให้แน่นหนา
- ตรวจสภาพยางและความดันของลม
- ตรวจคอแฮนด์ให้ตั้งตรงทางและแน่นหนา
- ตรวจสอบการทำงานของเบรกให้เป็นปกติ
- ฉีดน้ำมันหล่อลื่นตามจุดต่างๆให้ครบครัน

ทุกครั้งเมื่อสิ้นสุดการเดินทาง - ล้างและเช็ดตัวจักรยานและชิ้นส่วนต่างๆ และตากให้แห้งสนิท
- ตรวจดูร่องรอยการกระทบกระแทกและบาดแผลต่างๆ หากมี
ให้ฉีดน้ำยากันสนิมและน้ำมันรักษาเนื้อโลหะ
- ฉีดน้ำมันหล่อลื่นตามจุดต่างๆให้ครบครัน

ตรวจทุกสัปดาห์
- เช็ดตัวรถด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆ ให้ทั่วคัน
- ตรวจซี่ลวดไม่ให้หย่อน

ตรวจทุกเดือน - ตรวจสอบและหยอดน้ำมันโซ่และเฟืองท้าย
- ตรวจสอบและหล่อลื่นตัวจัดเฟือง
- ตรวจหานอตที่หลวมตามจุดต่างๆ
- ตรวจสอบสายเกียร์และเบรก หารอยสึกและชำรุด
- ตรวจสอบและปรับลูกปืนคอจักรยาน

ตรวจทุก 3 เดือน - ตรวจดูรอยสึกของขอบล้อ เปลี่ยนถ้าจำเป็น
- ตรวจและหล่อลื่นมือจับเบรก
- ทำความสะอาดจักรยานทั้งคันด้วยผ้าและน้ำอุ่น
- ตรวจสอบชุดบันได

ตรวจปีละครั้ง
- อัดจาระบีลูกปืนที่กะโหลกและแกนบันได
- อัดจาระบีลูกปืนล้อหน้าและล้อหลัง
- อัดจาระบีคอจักรยาน
- หล่อลื่นหลักอาน

หวังว่าเพื่อน ๆ คงจะไม่ลืมดูแลรักษาจักรยานคันเก่งของเราให้ใช้งานได้ดีเสมอนะครับ จะได้ใช้งานคู่กันไปอีกนานแสนนาน

[การดูแลรักษาจักรยานเสือภูเขาด้วยตนเอง]

ที่มา : หนังสือเสือภูเขาแรมทาง
แก้ไขล่าสุดโดย อู๊ด-พีระ เมื่อ 10 พ.ค. 2011, 10:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

แก้ไขล่าสุดโดย อู๊ด-พีระ เมื่อ 10 พ.ค. 2011, 10:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

119.สำหรับจักรยาน มันมีมากกว่าแค่ 2 ล้อ

สำหรับจักรยาน มันมีมากว่าแค่ 2 ล้อ

จักรยานคือพาหนะแบบแรก ๆ ที่เราคุ้นเคยดี พอเริ่มเดินได้พ่อแม่ก็ซื้อจักรยานให้ มันไม่ใช่จักรยาน 2 ล้ออย่างที่ขี่กันในปัจจุบันแต่เป็น 3 ล้อ เราทุกคนต่างเริ่มต้นกับจักรยาน 3 ล้อก่อนที่จะมารู้จักกับความเพลิดเพลินและความเร็วแบบสองล้อทั้งเสือภูเขา,เสือหมอบ และอื่น ๆ พอรู้จักจักรยาน 2 ล้อแล้วเราก็ละทิ้งเจ้า 3 ล้อมากประโยชน์นี้เสียสิ้นเชิง ทั้งที่มันยังทรงคุณประโยชน์อยู่ ไม่ว่าจะใช้เพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อประโยชน์อื่น เช่น ขนของหรือเพื่อการเดินทางของคนพิการ แม้จักรยาน 3 ล้อจะมีทั้งแบบล้อเดี่ยวข้างหน้าและสองล้อหน้าเพื่อหันเลี้ยวบังคับทิศทาง แต่เราเลือกจะกล่าวถึงแบบแรกมากกว่าแบบหลัง เนื่องจากมันขี่ง่ายกว่าและเป็นที่นิยมมากกว่ามาหลายปีแล้ว ทั้งเพื่อสันทนาการและเพื่อประกอบอาชีพ (สามล้อถีบตามต่างจังหวัดเป็นแบบล้อเดี่ยวอยู่หน้า)

รูปภาพ

จักรยานสามล้อ
แม้จะดูไม่ค่อยคล่องตัวเพราะมีส่วนกว้างจากสองล้อที่ยื่นออกไปข้างซ้ายและขวา แต่ข้อได้เปรียบของเจ้าสามล้อนี้คือความเสถียร ถึงคุณจะเลี้ยวตัวไม่เก่งบนสองล้อก็ขี่มันได้ เวลาเจอถนนลื่นสามล้ออาจจะไถลบ้างแต่ไม่ต้องกลัวว่ามันจะคว่ำ พอถึงเส้นทางลมแรงก็ไม่ต้องกลัวว่าจะโดยพัดล้มเหมือนสองล้ออีก ใครที่กลัวเรื่องการทรงตัวย่อมไม่กลัวการขี่สามล้อ คนผู้ทุพลภาพสามารถใช้สามล้อดัดแปลงเป็นใช้มือขับเคลื่อนแทนเท้าได้เช่นกัน

สามล้อใช้ง่ายและทรงตัวง่ายกว่าเมื่อบรรทุกสัมภาระหนัก ได้เปรียบอย่างมากเวลาไปช็อปปิ้ง หรือใช้บรรทุกอุปกรณ์เดินป่าตั้งแคมป์กันช่วงสุดสัปดาห์ ใช้บรรทุกลูกหลานเล็ก ๆ ก็ได้ ในสามล้อรับจ้างที่เราเห็นกับบ่อย ๆ ในต่างจังหวัดนั้นจะมีที่นั่งบรรทุกได้สองถึง 3 คน ซึ่งสามารถทำได้ในจักรยานสองล้อซึ่งไม่มีล้อรองรับและกระจายน้ำหนัก

จะดัดแปลงเป็นแทนเดิมแบบขี่สองคนช่วยกันออกแรงพร้อมบรรทุกสัมภาระข้างหลังอีกก็ยังได้ ไม่มีอะไรแตกต่างไปจากจักรยานสองล้อที่เราคุ้นเคยกันเลยเพียงแต่ล้อมากกว่าและค่อนข้างหาที่จอดยากกว่า แต่เมื่อถึงที่จอดคุณก็เพียงแต่เดินลงมาจากมัน ไม่ต้องพิงหรือใช้ขาตั้งซึ่งอาจล้มได้ง่ายเหมือนสองล้อ ในถนนเมือง สามล้ออาจจะเสียเปรียบตรงที่ไม่สามารถลัดเลาะไปตามแถวรถยนต์ระหว่างการจราจรติดขัด แต่ก็มีผู้ผลิตบางแห่งที่ทำสามล้อให้แคบพอจะเผชิญกับสภาพการจราจรแบบนั้นได้ ข้อดีของมันอีกข้อนอกจากเรื่องการทรงตัวก็คือการมองเห็นสภาพการจราจรได้ไกล มองข้ามหลังคารถได้โดยนั่งอยู่บนอาน เมื่อต้องเปลี่ยนทิศทางมันก็เลี้ยวได้ด้วยมุมแคบ ๆ

ถ้าคุณยังไม่เคยขี่จักรยานสองล้อ การขี่สามล้อจึงเป็นเรื่องแสนง่ายเพราะไม่ต้องทรงตัว ไม่ต้องเลี้ยงตัวเหมือนพวกสองล้อ แค่ก้าวขาขึ้นคร่อมอานแล้วเหยียบลูกบันไดก็สนุกกับมันได้แล้ว สิ่งเดี่ยวที่อาจจะทำให้อึดอัดในตอนแรก ๆ ก็คือลักษณะสามล้อที่แปลก ไม่ค่อยมีใครขี่กันนี่เองซึ่งอาจทำให้เขินจนเลิกขี่ได้ตอนแรก ๆ แต่ถ้าผ่านจุดนั้นมาได้ทุกสิ่งก็ง่ายสำหรับคุณ

การขี่จักรยานสองล้อคือความพยายามสร้างสมดุลให้ได้บนเครื่องจักรซึ่งไร้ความสมดุล มันไม่สามารถตั้งอยู่ได้ด้วยตัวเอง ต้องใช้นักจักรยานสร้างสมดุลให้ด้วยการเลี้ยงตัว พยายามเฉลี่ยน้ำหนักตัวเองให้ลงตรงกลางให้ได้ เมื่อจะล้มไปในทิศทางใดก็ต้องใช้น้ำหนักขืนไปในทิศทางตรงข้าม
เทคนิคที่ต้องฝึกสำหรับสามล้อคือตอนเลี้ยวเข้าโค้ง กับจักรยานสองล้อนั้นเมื่อเข้าโค้งคุณต้องเอนตัวเข้าหาจุดศูนย์กลางโค้ง เพื่อต้านแรงหนีศูนย์กลางและเพื่อช่วยเลี้ยวเวลาเดียวกัน แต่กับสามล้อคุณทำแบบนั้นไม่ได้เพราะมีล้ออีกล้อหนึ่งคอยยันอยู่ไม่ให้เอียง ถ้าตั้งตัวตรงและความเร็วมากพอคุณจะหลุดโค้ง จะเลี้ยวให้ได้ดีจึงต้องเอียงตัวเข้าหาจุดศูนย์กลางโค้งประกอบการบังคับเลี้ยว ใช้แฮนด์ให้ได้ประโยชน์มากที่สุดในเมื่อตรงนั้นไม่มีจุดยกโค้งให้ วิธีฝึกคือคุณต้องหาที่ว่างให้ได้แม้ขนาดเท่ากับเครื่องเดียวกับสนามบาสเก็ตบอลก็พอ แล้วจากนั้นจึงพยายามเลี้ยวให้ได้ภายในความกว้าง ตามปกติแล้วเลี้ยวได้แค่ครึ่งของความกว้างเท่านั้นเว้นแต่ใช้ความเร็วค่อนข้างสูงจะต้องใช้การเอี้ยวตัวเข้าหาวงในช่วย

ข้อควรระวังของสามล้อมีอยู่ไม่กี่อย่างและหนึ่งในนั้นคือเมื่อเข้าโค้งคุณควรเอนตัวเข้าด้านในให้เหมาะสมตามความเร็วที่พุ่งมา หากไม่เอนตัวไม่สมดุลกับความเร็วแล้วล้อด้านในอาจยกตัวขึ้นส่งผลให้ตะแคงแอ้งแม้งได้ อย่าพยายามตีโค้งให้เร็วโดยไม่ได้ฝึกมาก่อน เพราะคุณจะประมาณความเร็วและเอนตัวได้ไม่มากพอชดเชยน้ำหนักหนีศูนย์กลางที่พยายามยกล้อด้านใน

เมื่อเข้าโค้งนั้นการใช้เพลาเดียวกันอาจทำให้ลำบากในการทรงตัว เพราะล้อด้านในที่หมุนเร็วเท่า ๆ กับด้านนอกจะพยายาม “ดิ้น” จนหลุดโค้งถ้าความเร็วมากพอ เพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้บางแบบจึงติดระบบแยกเพลาแบบดิฟเฟอเรนทิเอท มาให้เพื่อปรับการทำงานของล้อด้านในและนอกให้สมดุล ถ้าคุณนึกไม่ออกว่าระบบดิฟเฟอเรนทิเอท ของสามล้อเป็นยังไงก็ลองคิดถึงรถยนต์ เวลายกมันขึ้นขาตั้งตอนจะอัดฉีดให้ลองไปหมุนล้อข้างใดข้างหนึ่งดูแล้วจะพบว่าอีกข้างนั้นหมุนไปทางตรงกันข้ามเพราะเวลาเข้าโค้งล้อด้านในจะหมุนด้วยความเร็วต่ำกว่าล้อด้านนอกตามความเป็นจริง ดิฟเฟอเรนทิเอทจะช่วยให้มันหมุนตามลักษณะดังกล่าว เพราะหากปล่อยให้ล้อทั้งคู่หมุนด้วยความเร็วเท่ากันรถจะไม่เกาะถนน เป็นสาเหตุหนึ่งของการแหกโค้ง
สามล้อเป็นจักรยานแบบที่ฝรั่งเรียกว่า “Three tracks” ล้อแต่ละล้อมีแนวทางการเคลื่อนที่ของตัวเอง แตกต่างจากสองล้อซึ่งล้อหลังวิ่งทับรอยของล้อหน้าจึงได้เปรียบกว่าในเส้นทางวิบากมีหลุมบ่อมากหรือที่ทุรกันดาร ข้อเสียที่มีก็คือด้านความเร็วที่มีแรงฉุดมากกว่าสองล้อจากล้อที่สามที่ยื่นออกมาก มันเพิ่มทั้งน้ำหนักและแรงฉุด ถ้ามีเกียร์ก็ต้องทำพิเศษเพราะต้องร้อยเพลาเข้ากลางแกนดุม แตกต่างจากจักรยานสองล้อซึ่งติดเฟืองไว้ปลายดุม ในจักรยานสามล้อทั่วไปจะวางเบรกไว้ล้อหน้า เพราะตำแหน่งติดเบรกล้อหลังหาค่อนข้างยาก ต้องใช้ความระมัดระวังสูงสุดเมื่อปั่นลงทางชันมวลที่มากบวกกับเบรกที่ด้อยอยู่แล้วอาจทำให้เสียการทรงตัว มันจึงเหมาะกว่าถ้าจะใช้แต่เฉพาะทางราบ
รูปภาพ

จักรยานนอนถีบ (Recumbent)

เมื่อพูดถึงรีคัมเบนต์แล้วจะพบว่ามันมีความแตกต่างหลายข้อจากจักรยานสองล้อหรือสามล้อธรรมดา ที่เห็นชัด ๆ นอกจากท่าทางการขี่ก็คือลักษณะทางเรขาคณิตมีมากมายหลายขนาดและแบบ จะให้เป็นแทนเดมเพื่อขี่สองคนช่วยกันปั่นก็ได้

ข้อได้เปรียบของจักรยานนอนถีบ ก็คือความสบายและประสิทธิภาพสูง การขี่จักรยานนอนช่วยลดปัญหาเจ็บก้นไปได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์เพราะไม่ต้องนั่งบนอานให้น้ำหนักตัวกดทับกระดูกก้นกบกันอาน ไม่ปลดคอเพราะไม่ต้องก้มมือไม่ชาเพราะไม่ได้ก้มจึงไม่มีน้ำหนักตัวกดลงไปที่อุ้งมือ โดยเฉพาะผู้มีปัญหาปวดหลังแล้วจักรยานนอนเหมาะมาก

เมื่อมองถึงด้านนิรภัยจะพบความจริงอีกข้อหนึ่ง ว่าน้ำหนักคนขี่กระจายลงอย่างทั่วถึงในจักรยานนอน พอน้ำหนักถูกระจายทั่วคุณก็ใช้เบรกหน้าได้อย่างสบาย ๆ ไม่มีทางตีลังกาข้ามแฮนด์ไปได้เลยเพราะลำตัวคนขี่ไม่ได้ก้มอยู่เหนือแฮนด์ เท้านักจักรยานยังยันถึงพื้นได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องลุกจากที่นั่งเหมือนพวกสองล้อ ข้อเสียเปรียบคือมันค่อนข้างเตี้ยกว่าจักรยานธรรมดาเพราะต้องนอนขี่ เลยทำให้ทัศนวิสัยจำกัดโดยเฉพาะถ้าจะมองข้ามหลังรถยนต์คันหน้านั้นทำไม่ได้เลย มองข้าง ๆ ก็ไม่ค่อยเห็นเพราะเตี้ยเช่นกัน ข้อด้อยนี้จึงทำให้จักรยานนอนถีบไม่เหมาะกับการใช้งานในเมือง อีกประการหนึ่งคือเมื่อความเร็วลดต่ำมาก ๆ จะทำให้ความสามารถในการทรงตัวด้อยลง จึงไม่เหมาะจะขี่ขึ้นที่สูงอย่างสะพานชันและเนินเขา ไม่เหมือนจักรยานสองล้อที่สามารถลุกขึ้นโยกได้

จักรยานนอนแบบระยะฐานล้อสั้นจะเบากว่าและควบคุมทิศทางได้ง่ายกว่าแบบฐานล้อยาว ด้วยการนอนปั่นจึงทำให้ลูกบันไดวางตัวอยู่เหนือพื้นได้มาก ถ้าอยากขี่จักรยานแบบนี้คงต้องฝึกกันสักระยะหนึ่ง จึงจะเคยชินกับท่าทางการขี่แบบใหม่ที่แตกต่างจากสองล้อหรือสามล้อธรรมดาสิ้นเชิง ข้อดีหนึ่งที่ทดแทนกันได้คือมันทำความเร็วได้สูงเพราะลู่ลมแต่ขณะเดียวกันก็เลี้ยวโค้งได้ยากเมื่อความเร็วต่ำ และเมื่อคนขี่อยู่ในท่านอนหรือท่านั่งระดับต่ำ การให้สัญญากับรถยนต์คันหน้าจะทำได้ยาก วิธีแก้ก็คือติดเสาธงไว้กับหลังที่นั่ง มันต้องสูงพอที่คนขับรถจะเห็นได้ทั้งจากข้างหน้าและข้างหลัง

แฮนด์ของจักรยานนอนอาจจะวางไว้เหนือหรือใต้แนวขาก็ได้แล้วแต่การออกแบบ การวางแฮนด์ต่ำไม่ได้หมายความว่าเพื่อให้ลู่ลม แต่เพื่อเน้นผ่อนคลายมากกว่าสิ่งใด การให้แฮนด์ลอยอยู่สูงและคนขี่ทำท่าเหมือนกับโหนราวอะไรสักอย่างจะทำให้เลือดไม่เดินและปวด ชา ทำให้ขี่ทางไกลได้ยาก
ปัจจุบันมักมีผู้เอาจักรยานนอนปั่นมาทำลานสถิติกันมากด้านความเร็วทางตรง เป็นจักรยานที่ให้ความสนุกสนานได้ดีเมื่อขี่กันเป็นกลุ่ม แต่ยังไม่เหมาะกับการใช้ในเมืองเนื่องจากขึ้น ลงยาก ทรงตัวยากตอนแรก ๆ อาจเป็นอันตรายช่วงออกตัวหน้าไฟแดง ในต่างประเทศเราจึงเห็นมันในชนบทที่ถนนมีรถแล่นน้อยสำหรับพวกนักจักรยานวันหยุดผู้พิสมัยความสนุทรีย์ในท่านอนขี่มากกว่านั่ง

ไม่ว่าจะเป็นจักรยานสามล้อหรือนอนถีบ ทั้งสองแบบนี้ต่างหาดูได้ยากในเมืองไทย เพราะคนไทยไม่นิยมเล่น สามล้อนั้นอาจมีให้เห็นบ้างในบางจังหวัดไกล ๆ แต่ก็เป็นแบบเพื่อทำมาหากินอย่างเดียว แต่ที่ใช้สามล้อเพื่อออกกำลังกายแบบจริงจังนั้นไม่มี เนื่องจากภาพของมันทำให้นึกถึงแต่เด็กขี่สามล้อ ผู้ใหญ่ขี่สามล้อถ้าไม่ใช่เพื่อรับจ้างคงดูพิลึก ชอบกลอยู่

ส่วนจักรยานนอนถีบนั้นก็แทบไม่มีเหมือนกันในเมืองไทย น่าจะเป็นเพราะลักษณะการวางตัวคนขี่มากกว่าอย่างอื่นที่ทำให้เข้าใจว่าใช้ยาก มีจักรยานนอนถีบให้เห็นบ้างทางภาคเหนือ แต่นอกจากนั้นไม่ค่อยเคยมีใครขี่เลย แล้วคนขี่ก็มักเป็นฝรั่งมากกว่าคนไทย
ทั้งสามล้อและจักรยานนอนถีบคืออีกประเภทของจักรยานที่เราอยากให้เพื่อนรู้จักเพื่อเอาไว้เป็นทางเลือก นอกเหนือไปจากจักรยานสองล้อธรรมดา

ข้อมูลจาก Thai Cycling Club ขอบคุณมากครับ
แก้ไขล่าสุดโดย อู๊ด-พีระ เมื่อ 10 พ.ค. 2011, 10:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

แก้ไขล่าสุดโดย อู๊ด-พีระ เมื่อ 10 พ.ค. 2011, 10:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

120.จักรยานพับ ทางเลือกใหม่ของชาวเมือง

รูปภาพจักรยานพับ ทางเลือกใหม่ของชาวเมือง

ในยุคปัจจุบันที่ราคาน้ำมันลอยตัว เดี๋ยวปรับขึ้นปรับลงเป็นรายวัน ทางเลือกหนึ่งของผู้ใช้รถยนต์ก็คือการหาพาหนะที่ประหยัดกว่ามาใช้งานแทน
จึงต้องมีจักรยานสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมารองรับความต้องการตรงนี้ มันต้องตอบสนองความต้องการได้ในด้านความเร็วที่ใช้ได้ในเขตเมือง สามารถพาคุณไปได้ในทุกที่ในระยะทางใกล้ ๆ บรรทุกสัมภาระอย่างกระเป๋าคอมพิวเตอร์หรือเป้ใส่ของใช้ที่จำเป็น เพื่อให้คุณปฏิบัติภารกิจได้อย่างไม่ขาดตอน ที่สำคัญคือต้องประหยัดเนื้อที่จอด จอดได้ทุกที่ไม่เกี่ยงพื้นที่ จะมีอะไรลงตัวล่ะนอกจากต้องเป็นจักรยานพับได้ (Folding Bicycle)
นับเป็นแนวโน้มหรือ “เทรนด์” ที่กำลังได้รับความนิยมในหมู่นักธุรกิจรุ่นใหม่ผู้ไม่จำกัดการเดินทางในเมืองอยู่แต่กับรูปแบบเพื่อตอบสนองความคล่องตัวของคนเมืองโดยเฉพาะ มันประกอบขึ้นด้วยโลหะชนิดเดียวกับจักรยานเสือหมอบและเสือภูเขา แต่จดเด่นของ “เสือพับ” นี้คือโครงของมันจะมีจุดยึดติดกันด้วยสลักบานพับ ซึ่งสามารถพับให้มีขนาดเหลือเพียงครึ่งเดียวของปริมาตรเดิมในยามต้องการเคลื่อนย้าย เก็บ หรือจอดไว้ใกล้โต๊ะทำงาน

ข้อมูลจาก Thai Cycling Club ขอบคุณมากครับ
แก้ไขล่าสุดโดย อู๊ด-พีระ เมื่อ 10 พ.ค. 2011, 10:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

แก้ไขล่าสุดโดย อู๊ด-พีระ เมื่อ 10 พ.ค. 2011, 10:37, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

2011 Track Cycling World Cup - Mens Keirin Final

2011 Track Cycling World Cup - Mens Keirin Final
[youtube]9UafA2541c4&feature=player_embedded#at=23[/youtube]

Bauge vs Kenny sprint world championships 2011 final
[youtube]npcysPZFkBc&feature=player_embedded[/youtube]
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

121.ฟิกซ์เกียร์ Fixed Gear: การเลือกซื้อตัวถังให้พอดีกับขนาดร่างกาย

รูปภาพ

การเลือกซื้อตัวถังให้พอดีกับขนาดร่างกาย [ฟิกซ์เกียร์ Fixed Gear]
การเลือกขนาดของตัวถังที่เราจะนำมาใช้งาน ซึ่งการที่เราเลือกขนาดรถได้เหมาะสมกับร่างกายจะทำให้เราใช้งานรถได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งสาย Tick และสายปั่น สิ่งแรกที่เราจะต้องรู้ก่อนทำการเลือกขนาดของตัวถังที่จะนำมาขี่ ก็คือความยาวช่วงขา ซึ่งช่วงขาแป็นตัวแปรหลักในการเลือกขนาดรถมาใช้งาน เพราะว่ารถแต่ละขนาดก็จะออกแบบมาสำหรับคนที่มีช่วงขาไม่เท่ากันการวัดความยาวช่วงขาเป็นการวัดความยาวจากพื้นถึงหว่างขาเมื่อเรายืนตรงซึ่งคำนี่จะถูกนำไปใช้ในการพิจารณาเลือกขนาดของรถ อีกส่วนหนึ่งใช้ในการพิจารณาเลือกขนาดของรถอีกส่วนหนึ่งจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับค่า Stand Over ของรถ [ฟิกซ์เกียร์ Fixed Gear]
Stand Over คือค่าที่ใช้วัดระยะความสูงของท่อบนรถเทียบกับพื้น ซึ่งค่ำนี้จะใช้ประกอบเปรียบเทียบกับค่าความยาวช่วงขา กล่าวคือหาค่าความยาวช่วงขามากกว่า Stand Over จะทำให้สามารถยืนให้หว่างขาคร่อมท่อบนได้แต่ถ้าหากความยาวหว่างขาน้อยกว่า Stand Over จะทำให้ไม่สามารถยืนคร่อมท่อบนได้ ทำให้หว่างขาพาดอยู่กับท่อบน ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ก็ต้องตะแคงรถทิ้งน้ำหนักตัวบนขาข้างใดข้างหนึ่งที่เหยียบพื้นก่อน แล้วใช้ขาข้างที่เหลือเหยียบบันไดไว้
เมื่อเราได้ทราบค่าความยาวช่วงขาแล้ว เราก็นำค่าที่เราวัดได้ไปเทียบกับตารางเทียบขนาดของผู้ผลิต หากไม่มีตารางเปรียบเทียบขนาดของผู้ผลิต ว่าช่วงขาเท่าไหน ควรจะขี่รถขนาดเท่าไร หรือหากไม่มีตารางเปรียบเทียบก็ใช้การกะขนาดเอาขนาดของตัวถังจะมีการบอกตามค่าความยาวของท่อนั่ง ซึ่งใช้หน่วยวัดความยาวสองมาตรฐานคือการวัดด้วยหน่วยเซนติเมตร (นิยมใช้ในจักรยานเสือหมอบ) และการวัดเป็นนิ้ว (นิยมใช้ในจักรยานเสือภูเขา) และมาตรฐานการวัดความยาวของตัวถังยังมีมาตรฐานการวัดอยู่สองแบบ คือการวัดแบบ Center to Center (C-C) เป็นการวัดความยาวจากจุดศูนย์กลางกะโหลกถึงจุดศูนย์กลางของจุดเชื่อมของท่อนั่งกับท่อบนและการวัดแบบ Center To top (C-T) เป็นการวัดความยาวของท่อนั่งจากจุดศูนย์กลางกะโหลกไปยังปากของท่อนั่งที่จะใส่หลักอาน
การเลือกเฟรมมาใช้งานสำหรับชาวฟิกซ์เกียร์ (Fixed Gear) ต้องคำนึงถึงขนาดตัวถังแล้ว สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ประเภทของการใช้งานหากเป็นสายปั่นควรเลือกตัวถังให้พอดีตัวหรือเล็กกว่าเล็กน้อย โดยให้ท่อบนของรถอยู่ต่ำกว่าหว่างขาประมาณ 1-2 นิ้ว หากเป็นสาย Tick ก็ให้ใช้ตัวถังที่ท่อบนอยู่ต่ำกว่าหว่างขามากกว่า เพื่อความสะดวกในการลงรถฉุกเฉิน เพราะการขี่สาย Tick นั้นอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ง่ายหากเลือกรถที่มีท่อบนต่ำกว่าหว่างขามากกว่า 2 นิ้วจะช่วยให้ลดการโดยท่อบนกระแทกหว่างขา[ฟิกซ์เกียร์ Fixed Gear]
เสร็จจากการเลือกขนาดรถแล้วก็ให้ปรับความสูงของเบาะให้เหมาะสมตามความถนัดโดยการปรับความสูงของหลักอาน เรื่องต่อไปที่ผู้ขี่ต้องพิจารณาอีกเรื่องก็คือการปรับมุมการก้มขี่ ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วร่างกายคนเราจะมีความแตกต่างกัน บางคนช่วงขาสั้นแต่กระดูกสันหลังยาว บางคนก็อาจจะช่วงขายาวแต่กระดูกสันหลังสั้น ซึ่งการปรับมุมก้มของหลังจะมีตัวแปรที่เกี่ยวข้องกันอยู่ 3 ตัวคือ หนึ่งความยาวท่อบนของตัวถัง สองความยาวและความสูงของคอแฮนด์ สามคือชนิดและความกว้างของแฮนด์ที่ใช้ ซึ่งผู้ที่จะต้องเลือกใช้และปรับแต่งตามความเหมาะสมของตัวเอง [ฟิกซ์เกียร์ Fixed Gear]
สำหรับสายปั่นอาจหาคอแฮนด์ที่มีความยาวและใช้แฮนด์เสือหมอบที่ต้องก้มหลังมากมาใช้งานเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะการขี่ ส่วนในสาย Tick ก็อาจจะให้คอแฮนด์ขนาดสั้นติดตั้งอยู่สูงจากตัวรถโดยดการใช้แหวนรองคอหลาย ๆ ตัวแล้วใช้แฮนด์ตรง ก็จะช่วยให้ตำแหน่งจับแฮนด์จะอยู่สูงทำให้ง่ายในการเล่นท่า หรืออาจจะติดตั้งคอแฮนด์ต่ำ ๆ แต่นำแฮนด์ยกสูงมาใช้ก็จะช่วยให้ตำแหน่งจับแฮนด์ ทำให้การเล่นท่าทำได้ง่าย
หวังว่าบทความนี้คงจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านบ้าง ในการเลือกซื้อตัวถังให้พอดีกับขนาดร่างกายและการปรับแต่งรถให้ขี่ได้อย่างเหมาะสมครับ..[ฟิกซ์เกียร์ Fixed Gear]

ข้อมูลจาก Thai Cycling Club ขอบคุณมากครับ
แก้ไขล่าสุดโดย อู๊ด-พีระ เมื่อ 10 พ.ค. 2011, 10:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
newnet501
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 38
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 11:29
Tel: 0851346297
Bike: Merida sub 40D

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ☆☆☆

โพสต์ โดย newnet501 »

พึ่งเปิดมาเจอครับ ลองเปิดดูคร่าวๆ.แล้ว...มีความรู้ให้อ่านเยอะเลย
ขอบคุณครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
hper12
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 75
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2010, 20:14
Tel: 0859459451
team: เพชรบูรณ์
Bike: m4

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ☆☆☆

โพสต์ โดย hper12 »

ทุกเรื่องที่อยากรู้ :o
รูปประจำตัวสมาชิก
naris072
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 579
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ค. 2009, 13:13
Tel: 0864064202
team: ยังไม่มีครับ สนใจการเล่นไตรกีฬาครับ
Bike: Trek 4400:2010

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ☆☆☆

โพสต์ โดย naris072 »

เยี่ยมเลยครับ เชียร์!!!!
--------------------------------
ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
-------------------------------
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร”