เรื่องของวัยกับนักปั่น ฤาอายุเป็นแค่ตัวเลข?

สอบถามเทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร เชิญห้องนี้เลย
รูปประจำตัวสมาชิก
พล 347
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1101
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 20:24
team: 347 Cycling Team
Bike: Cannondale EVO
ติดต่อ:

เรื่องของวัยกับนักปั่น ฤาอายุเป็นแค่ตัวเลข?

โพสต์ โดย พล 347 »

รูปภาพ

ทำยังไงจึงจะปั่นจักรยานดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ไม่มีใครเลยวัยปั่นจริง ๆ หรือ


ไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่เรา ๆ ท่าน ๆ ไม่สามารถรักษาฟอร์มการปั่นกันได้เมื่ออายุมากขึ้น
นักปั่นหลายคนปั่นดีขึ้นเมื่ออายุ 50 ปีดีกว่าตอนอายุ 40 เสียอีก เรื่องของเรื่องก็อยู่ที่
ความรู้ความเข้าใจในกระบวนการ แก่ (aging) และเสาะหาการฝึกซ้อมที่ถูกต้องเหมาะสมครับ

เกิดอะไรขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น


เรารับรู้กันโดยทั่วไปว่าอายุที่เหมาะสมคนส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จในอาชีพกีฬาอยู่ในช่วง 20-35 ปี
เพราะเป็นวัยที่การผสมผสานระหว่างความแข็งแกร่งของร่างกาย ความทนทานของกล้ามเนื้อ สภาพจิตใจ
และประสาทสัมผัสตอบสนองอย่างสมบูรณ์ที่สุด ข้อยกเว้นก็อาจมีบ้าง อย่างเช่นกีฬาประเภทยิมนาสติก
ที่ต้องการความยืดหยุ่น และการสอดคล้องการประสานงานของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ มากกว่าพละกำลัง
หรือความทนทานส่วนใหญ่จะอายุไม่เกิน 20 ปี

รูปภาพ
กราฟนี้แสดงสมรรถนะของการออกกำลังกายตามช่วงอายุของบุคคล 3 พวกที่แตกต่างกัน
ไล่มาตั้งแต่พวกที่ไม่ออกกำลังกายเลยจนถึงประเภทอิลิท หรือระดับโปร มืออาชีพหรือทีมชาติก็ว่าได้
ช่วงอายุ 20 ปีถึง 35 ปี ดูเหมือนจะเป็นช่วงที่ร่างกายมีศักยภาพที่จะมีสมรรถนะของร่างกายได้สูงสุด
แล้วจะค่อย ๆ ลดลงประมาณ 2% ต่อปี ขึ้นอยู่กับว่าใครจะยังคงรักษาวินัย คุณภาพการฝึกซ้อมอย่าง
สม่ำเสมอได้มากน้อยแค่ไหน


แต่นักปั่นกลุ่มที่ 2 เส้นสีฟ้า ซึ่งเริ่มหันมาปั่นจักรยานเมื่ออายุเลยช่วง 30 ปี (late starter)
กลับมีสมรรถนะดีขึ้นเรื่อย ๆ จนอายุ 50ปีได้ กลายเป็นเรื่องตรงข้ามครับ แทนที่จะลดลงกลับสวนทางไปเลย

นักปั่นกลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 จะเป็นพวกที่มีความสุขกับประโยชน์ของสมรรถนะและสุขภาพกายที่ดีได้
ในอีกหลายปีต่อมา เมื่อเทียบกับบุคคลกลุ่มที่ 3 ที่แทบไม่ได้ออกกำลังกายเลยนั้น จะพบกับการ
ถดถอยของร่างกายอย่างรวดเร็วตั้งแต่วัย 30 ต้น ๆ ด้วยซ้ำไป


รูปภาพ

และแน่นอนครับในกีฬาอย่างจักรยานที่ตกอยู่ตรงใจกลางพอดิบพอดีของทั้งความอึด ทนทาน ความเร็ว แรงและพละกำลัง
นักกีฬาส่วนใหญ่เริ่มนับวันก้าวถอยหลังเมื่ออายุ 30 กลาง ๆ

ผลกระทบของวัยต่อร่างกายคนเราในวัยนี้ น่าทึ่งมากครับ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
ความเข้มข้นของมวลกระดูก รวมถึงประสิทธิภาพระบบหายใจทั้งหมดเริ่มลดลง
ว่ากันง่าย ๆ แค่เพื่อต้องการปั่นให้ได้ความเร็วเท่าเดิม ที่เคยทำได้สมัยหนุ่ม ๆ
ให้ได้นั้น ก็..พอทำได้....แต่...เหนื่อยและต้องใช้เวลานานขึ้นครับ

ความเป็นจริงก็คือเราปั่นได้ไม่แรงเหมือนเดิมเสียแล้ว ระบบเผาผลาญพลังงาน (เมตาโบลิซึ่ม - จำนวนแคลอรี่ที่ร่างกาย
ต้องการใช้ในแต่ละวัน)เริ่มเปลี่ยนแปลง ทำให้เริ่มมีไขมันเหลือใช้สะสมมากขึ้น หรืออ้วนง่ายขึ้นนั่นเอง ระบบภูมิต้านทาน
ต่าง ๆ เริ่มลดลง เริ่มสูญเสียความสามารถในตรวจจับการต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ทำให้ป่วยง่ายและบ่อยขึ้น
แถมใช้เวลานานในการรักษาอีก ที่แย่ไปกว่านี้ก็คือมันจะเริ่มแย่ลงไปเรื่อย ๆ และเรื่อย ๆ เมื่อเราอายุมากขึ้น
เฮ้อ ! เหนื่อย !!!


แต่ ... ในขณะที่คนส่วนใหญ่คิดว่าเราไม่สามารถทำได้ดีมากไปกว่านี้หลังจากอายุเลย 35 ไปแล้ว
กลับมีสิ่งที่พบเห็นได้บ่อยขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการจักรยานก็คือมันได้รับความนิยมมากขึ้น
ในกลุ่มคนที่อายุมากขึ้น ในทริปจักรยานหรือสนามแข่งจักรยานส่วนใหญ่ ไม่ว่าบ้านเราหรือที่ไหน ๆ
ก็จะพบว่ากลุ่มนักกีฬารุ่นอายุ 35-45 ปี มักเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในเสมอ หรือลองสังเกตุดูนักปั่นใน
แต่ละก๊วนหรือกลุ่ม ก็ยิ่งชัดเจน คนกลุ่มนี้เริ่มหันมาปั่นจักรยานในช่วงปีที่น่าจะเลยวัยที่ตัวเอง
มีศักยะภาพทางสมรรถนะทางกายสูงสุดไปแล้วด้วย แต่ที่สำคัญ หลายคนยิ่งปั่นยิ่งแรงดีวันดีคืนด้วย
ทำไม

รูปภาพ


เรื่องของเรื่องก็คือเราครับ ตัวเราเองนี่แหละ สามารถลด ตัด ทอน หรือไล่บี้ ฉีกหนีผลกระทบของวัยต่อร่างกาย
(ในแง่ประสิทธิภาพการปั่นนะครับ) ทิ้งได้โดยไม่มีเยื่อใย โดยการทำความรู้ความเข้าใจและสร้างโปรแกรม
การซ้อมและฝึกฝนร่างกายที่ถูกต้องครับ มีการค้นพบว่าแค่การฝึกซ้อมเบา ๆ ที่เหมาะสมสำหรับวัยเลย 30
ยังสามารถส่งผลให้เรารักษาคุณภาพของ ‘สุขภาพ’ และ ‘ไลฟ์สไตล์’ ได้ในอีกหลายปีต่อมาทีเดียว

มีงานวิจัยที่ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังมาและต่อเนื่องหลายปีระบุว่า ความฟิตพร้อมของร่างกาย
(fitness)ของบุคคลทั่วไป ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลัง ถดถอยลงถึง 6-10% ได้ใน 10 ปี
เมื่อย่างเข้าวัยกลางคน เมื่อเทียบกับการลดลงแค่ 2% (ใน 10 ปี)ในกลุ่มบุคคลที่ออก
กำลังกายที่ถูกต้องและสม่ำเสมอ ดังนั้นแทบไม่เป็นที่แปลกใจเลยที่คนอายุ 65 ปี
(ย้ำนะครับ ที่ consistently well-trained) อาจมีสุขภาพร่างกายดีกว่ากลุ่มคน
อายุน้อยกว่าถึงหนึ่งในสามที่ไม่ค่อยออกกำลังกายเสียอีก
รูปภาพ

ไม่มีใครเลยวัยปั่น จริงหรือ

ถึงแม้ว่ามันแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะบรรลุถึงสมรรถนะสูง (performance potential)
เทียบเท่าที่เราเคยทำหรืออาจทำได้สมัยยังหนุ่มแน่นไวไฟ หรือในวัยที่สามารถมีศักยภาพทางสมรรถนะสูงสุดได้
แต่ความเป็นจริงก็คือพวกเราส่วนใหญ่ในทางปฏิบัติแล้ว (เน้นนะครับว่าส่วนใหญ่ที่หันมาปั่นมากขึ้นตอนอายุมากแล้ว)
ก็ไม่เคยบรรลุสมรรถนะสูงสุดที่ร่างกายควรจะทำได้เมื่อยังเยาว์วัยอยู่ดี เรื่องของเรื่องก็เพราะตอนนั้น
ยังไม่ได้ปั่นจักรยานเป็นบ้าเป็นหลังเหมือนตอนนี้นี่ครับ ซึ่งอาจจะมาจากภาระหน้าที่ การเรียน การงาน
ครอบครัวสังคม หรือสู้แรงจูงใจด้านอื่นไม่ได้ เช่นมัวแต่ไปเหล่สาว เป็นต้น ย้ำอีกที ในเมื่อเราไม่สามารถ
ทำได้ดีเทียบเท่าในอดีตที่เราควรจะสามารถทำได้ (ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ได้ทำหรอก)
เพราะฉะนั้นในปัจจุบันเราควรจะทำได้ดีกว่าในอดีตที่เราได้ทำจริง ๆมา
หรือมีความเป็นไปได้มากขึ้นที่เราจะทำได้ดีกว่าเดิมเมื่อวัยสูงขึ้นครับ ชักงง !

แล้วถ้าเราเริ่มปั่นจักรยานเมื่อวัยมากขึ้น เช่น ที่วัยเกิน 35 ปี ซึ่งเราก็พบแล้วว่าคนส่วนใหญ่หันมา
ปั่นกันในวัยนี้กันมากขึ้นนั้น การถดถอยของความฟิตพร้อมของร่างกายปกติที่ ลดลงได้ 1-2% ต่อปี
ก็น่าจะสามารถทำให้มลายหายไปได้ด้วยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ระบบการฝึกซ้อม
อาหารการกินและไลฟ์สไตล์เสียใหม่ แล้วเราก็จะพบเองว่าระดับความฟิตพร้อมของ
ร่างกายนั้นแทนที่จะลดลงตามวัย กลับตรงข้ามครับ เราสามารถกระชากวัยทิ้ง
ไต่ระดับสมรรถนะได้สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงจุดสูงสุดที่อายุ 50 ปีกว่าได้ครับ

ดูจากรูปอีกครั้ง
รูปภาพ

เส้นสีแดคือกลุ่มนักกีฬาระดับตัวจริงทั้งหลายแหล่ ทีมชาติ ทีมเขต ทีมนักเรียนยันมหา ฯ ลัย หรือแม้กระทั่งนักกีฬาอาชีพ พวกที่เริ่มฝึกซ้อมออกกำลังกายตั้งแต่อายุ 12-15 ปี และ (ต้องย้ำครับ) ยังคงฝึกซ้อมอย่างต่อเนื่อง ไม่ปล่อยตัวอ้วนท้วนสมบูรณ์ พวกนี้สมรรถนะจะสูงสุดอยู่ในวัย 25-30 ปี ก่อนไต่ระดับลงมา แต่ก็รักษาระดับไว้ดีเยี่ยมและดีตลอดทุกช่วงวัย ถ้าเอ่ยชื่อก็กลุ่มคนอย่าง โกเหลียง หรืออดีตนักปั่นทีมชาติหลายคนที่ยังขึ้นยืนบนแท่นโพเดียมในเกือบจะทุก ๆ สนาม เป็นประจำ นั่นแหละครับ นักปั่นกลุ่มนี้ สามารถรักษาสมรรถนะทางกายได้สูงกว่าทุกกลุ่ม ทุกช่วงอายุครับ

เทียบกับกลุ่ม 3 เส้นสีเขียว บุคคลทั่วไปส่วนใหญ่อยู่กลุ่มนี้ ไม่มีประวัติการออกกำลังกายมาตั้งแต่เด็ก หรือออกกำลังกายนิด ๆ หน่อย (หัวใจไม่เคยเต้นเกิน 70% นานมากกว่า ครึ่งชั่วโมง) ทำงานออฟฟิส พักผ่อนกับบ้าน เดินเล่น ดูหนังฟังเพลง สมรรถนะร่างกายพวกเขาไม่เคยผ่านเส้นเฉลี่ยและตกลงอยู่ในระดับแย่อย่างรวดเร็วเมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป

กลุ่มที่สอง เส้นสีฟ้า เส้นระหว่างสองเส้นข้างบน พวกนี้คือกลุ่มพวกเรา ๆ ท่าน ๆ ครับ ที่หันมาฝึกฝนออกกำลังกายปั่นจักรยานสม่ำเสมอกันเมื่ออายุมากแล้ว ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถหันไปต่อกรหรือแข่งขันกับกลุ่มแรกได้ แต่ก็พบว่ายังมีศักยะภาพสูงที่จะสามารถพัฒนาสมรรถนะให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จนอายุใกล้เคียง 50-60 ปีเลยทีเดียว ตรงนี้แหละครับที่น่าสนใจ

พรสวรรค์หรือพรแสวง
รูปภาพ
จะเรียกว่าอะไรก็ได้แต่ เรื่องของเรื่องก็คือนักปั่นกลุ่มสองที่หันมาเอาจริงเอาจังกับการแข่งขันก็อย่าท้อใจไปเลยครับ
ที่ฝึกซ้อมมากขนาดไหนยังไงก็ยังยากที่จะเอาชนะกลุ่มที่ 1 ได้ (ย้ำ ที่มีการซ้อมที่ไม่แตกต่างกันนะครับ)
อันนี้เป็นโอกาสของแต่ละคนครับ ซึ่งส่วนใหญ่เราก็พบเห็นบ่อย ๆ แล้วว่าใครก็ตามที่จะเป็นนักกีฬาระดับโลกได้นั้น
ไม่ว่าจะเป็นอย่างนักปั่นอย่าง แล๊นซ์ อาร์มสตรอง นักฟุตบอล นักว่ายน้ำ นักมวย นักเทนนิส อย่างภราดร
หรือแม้กระทั่งนักกอล์ฟอย่าง ไทเกอร์ วู้ด พวกเขาเหล่านั้นหันมาฝึกฝน เสริมสร้างทักษะ พละกำลัง
ความแข็งแกร่ง ความทนทาน จนฝังอยู่ใน กระดูก กล้ามเนื้อ ลมหายใจ กันตั้งแต่เด็ก ๆ
จนแทบจะกลายเป็นดีเอ็นเอ ไปแล้วครับ


จะยังไงก็ตามแต่ สำหรับนักปั่นเพื่อสุขภาพอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ คราวนี้เห็นทีจะหมดข้ออ้างเสียแล้ว
ว่าเป็นนักปั่นเลยวัย แล้วจะไม่สามารถไล่ตามนักปั่นขาแรงหนุ่ม ๆ ทั้งหลายทัน ถ้าแค่เพิ่งหันมาปั่นด้วยกัน
(หรืออยู่กลุ่มสองสีฟ้าเหมือนกัน) ก็สามารถสู้เขาได้ครับ และก็ควรจะดีกว่าด้วย คนอายุ 50 ปี
ก็ต้องปั่นได้ดีกว่าคนอายุ 40 ปี แต่ก็นั่นแหละแค่รู้แต่ไม่ลงมือฝึกฝนกันจริง ๆ จังก็คงจะเห็นผลได้ยาก

อ่านเรื่องนี้แล้วรู้สึกว่า เราไม่ได้แย่หรือเกินวัยปั่นไปเสียทีเดียว ยังมีความเป็นไปได้ที่จะปั่นได้ดีกว่าหนุ่ม ๆ
ขาแรงอีกตั้งเยอะ เกิดแรงบันดาลใจขึ้นมามากพอที่จะทำให้ตื่นเช้า ๆ ขึ้นมาเข็นจักรยานออกไปปั่นกับ
เพื่อนฝูงอีกซักรอบสองรอบได้ ปีใหม่นี้เห็นทีต้องเปลี่ยนแนวทางฝึกซ้อมเสียใหม่แล้วครับ


วัยเด็ก มีแรง มีเวลา ไม่มีเงิน
วัยทำงาน มีแรง มีเงิน ไม่มีเวลา
วัยชรา มีเงิน มีเวลา แต่ไม่มีแรง (ปั่น) ซะแล้ว


ใครไม่รู้เขียนบทความนี้ไว้ คงจะถูกใจคนหลายคน รวมทั้งผมด้วยครับ
อ่านแล้วรู้สึกใจหายวูบ กลัววัยชรามาเยือนครับ รีบจูงจักรยานไปปั่นเลย...

เอ้า...แล้วจะซ้อมกันยังไงละเนี่ย ไม่เห็นบอกเลย

แย้มนิดหนึ่ง อ่านแล้วอึ้งเลยครับ ตรงข้ามกับที่ความรู้ความเข้าใจเดิม ๆ ทุกอย่าง
แต่ขอเก็บ (กั๊ก)ไว้ต่อคราวหน้าครับ แฮ่ม ! :P :P :P
รูปประจำตัวสมาชิก
พล 347
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1101
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 20:24
team: 347 Cycling Team
Bike: Cannondale EVO
ติดต่อ:

Re: เรื่องของวัยกับนักปั่น ฤาอายุเป็นแค่ตัวเลข?

โพสต์ โดย พล 347 »

กลัวโปรเบียร์จะไม่ได้นอน ขอฝากอีกซักตอนครับ ;) ;) ;)

ได้เวลาปั่นกระชากวัยแล้วครับ

จะว่ากันเป็นเรื่อง ๆ ไปครับ โดยเริ่มต้นด้วยระบบกล้ามเนื้อ กระดูก ไขมันและมวลกาย
จนถึงระบบประสาทกันเลย เนื้อหาหลักยังเป็นการนำเสนอแนวความคิดและหลักการสำคัญ ๆ นะครับ

รูปภาพ

Use it or lose it
ใช้งานมันก่อนจะไม่มีให้ใช้ หนามยอกเอาหนามบ่งครับ

ระบบกล้ามเนื้อ

ผลของวัยต่อกล้ามเนื้อ
ความแข็งแกร่งลดลง เส้นใยกล้ามเนื้อ (muscle fibre) เริ่มเสียสมดุลย์ โดยจะหันไปเพิ่มประเภท
type I slow-twitch มากขึ้น และลดปริมาณของ type II fast-twitch ลง

ใครเรียนวิชาสุขภาพอนามัย สมัย ม. ต้น ถ้ายังพอจำกันได้ ลูกผมเรียนอยู่พอดี
ได้เวลาเรียกเอามาใช้แล้วครับ เส้นใยกล้ามเนื้อของคนเรามี 2 ประเภท
รูปภาพ

ประเภทที่ 2 หรือ type II-fast twitch เป็นกล้ามเนื้อของหนุ่ม ๆ
แคล่วคล่อง ไวไฟ เร็วและแรง แต่ไม่อึด คล้าย ๆ กับเบนซินหมุนเร็ว เปิดปุ๊บ ติดปั๊บ ทำนองนั้น
เป็นเส้นใยที่เกี่ยวข้องกับ ความแข็งแกร่ง ทำนองเข็ง(แกร่ง) เร็ว ยืดเร็ว หดเร็ว
ซึ่งเหมาะสำหรับการออกกำลังที่มี ความหนักหน่วงสูง แต่ไม่อึด ไม่ทน ไม่นาน
พบมากในวัยหนุ่ม สาว ทำให้พวกนี้กระฉับกระเฉง ว่องไว ปานกามนิตหนุ่ม พวกนักสปริ้นเตอร์ หรือพวก
ชอบตีหัวหน้าเส้น นั่นแหละเหมาะ

รูปภาพ

ส่วนอีกพวกก็ type I-slow twitch ตรงข้ามกับพวกแรก เป็นประเภทหนุ่มเหลือน้อย
แข็ง(แกร่ง)น้อย ช้าหน่อยแต่นาน อึด ทน ทำนองนั้น ก็คงคล้าย ๆ ดีเซล หมุนช้า
เหมาะสำหรับนักปั่นทางไกล หรือนักวิ่งมาราธอน พบมากขึ้นในคน ส.ว. (สูงวัย) ครับ
รูปภาพ

เอ๊ะ เรากำลังพูดถึงเรื่องอะไรกันเนี่ย อย่าไขว้เขว

แล้วไงต่อมันมีความหมายอะไร
ว่ากันง่าย ๆ เมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อพวกนี้ก็เริ่มสูญเสียมวล ความยืดหยุ่น เปราะ
ความสามารถยืดหดตัว ก็คือมีอาการสึกหรอและหย่อนยานนั่นแหละ
ส่งผลให้มีการปวดร้าวตามข้อต่อได้ง่ายขึ้น เราจะรู้สึกว่าไม่สามารถฝึกซ้อม
ได้เข้มข้นเหมือนเดิม ที่สำคัญก็คือ นักปั่น สว จะปั่นกันไม่เร็วพอครับ
ส่วนเหตุผลที่ปั่นไม่เร็วพอก็คือ เพราะพวกเขาปั่นไม่เร็วพอ
นั่นเอง เหตุคือผล ผลคือเหตุ ครับ เป็นไง งงมั๊ย

การสูญเสียมวลกล้ามเนื้ออันเป็นเรื่องปกติของวัยจะลดทอนความแข็งแกร่งและพลังที่พึงสร้างได้
แต่ที่แย่ไปอีกก็คือ การฝึกซ้อมตามปกติส่วนใหญ่ของคนวัยนี้ก็คือมักปั่นระยะไกล แต่ปั่นช้า
ประเภทฝึกความอึด (endurance) เป็นหลักนั่นแหละครับ การซ้อมแบบนี้กลับช่วยกระตุ้น
อัตราการเปลี่ยน เส้นใยกล้ามเนื้อ จาก type II fast-twitch ไปสู่ type I slow-twitch
หรือ endurance มากขึ้นไปอีก ว่ากันง่าย ๆ การฝึกซ้อมปั่นที่ ”ช้า” ลงนี้ไปส่งเสริม
กระบวนการ ”ช้า” ของร่างกายให้มากขึ้นครับ มันยิ่งแต่จะทำให้แย่ลงไปใหญ่ครับ


ดังนั้นนักปั่น สว ทั้งหลายต้องวางเป้าหมายหลักในการฝึกซ้อมเสียใหม่โดยอยู่ที่การ
ลดทอนผลของวัยต่อกล้ามเนื้อเป็นหลักครับ โดยต้องเน้นไปที่ การฝึกซ้อมที่สั้นขึ้น
เร็วขึ้น แรงขึ้น ซึ่งก็คือพวก อินเทอร์วอล (interval) ให้มากขึ้นนั่นเอง
แทนที่จะเป็นพวก endurance ตามแบบเดิมซึ่งมีผลน้อยมาก
ต่อการป้องกันการแปรสภาพของกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากวัย


รูปภาพ

การฝึกซ้อมแบบเข้มข้น หนักหน่วงของนักปั่น ส.ว. จะส่งผลให้มีการเสริมสร้างเส้นใย
กล้ามเนื้อได้เท่า ๆ กันคนที่หนุ่มกว่ามาก ๆ ได้เหมือนกันเลยครับ เพราะฉะนั้น
รู้ยังงี้แล้วก็ต้องหาโปรแกรมฝึกซ้อมที่เน้นพิเศษพาะทางด้าน
cycle specific strength training กันให้มากขึ้น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งครับ
ทั้งยังช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับกล้ามเนื้อและรอยต่อแล้วยังรวมถึงเป็นฝึก
ให้กล้ามเนื้อทนทานต่ออาการบาดเจ็บ สึกหรออีกด้วย


รูปภาพ

แต่ทั้งนี้ทุกครั้งก่อนและหลังโปรแกรมซ้อมเหล่านี้ ต้องมั่นใจว่า มีการวอร์มอัพ
คูลดาว์น ร่างกาย รวมทั้งการยืดกล้ามเนื้อ อย่างถูกวิธี จะช่วยลดอาการ
ปวดเมื่อยล้าของกล้ามเนื้ออันเนื่องจากวัยได้ดีครับ

รูปภาพ
ว่าแล้วก็กางตำรา เสาะหาการฝึกซ้อม interval กันให้มากหน่อยละครับ
ส่วนใครจะถนัดแบบไหน ประเภทไหน ซ้อมที่ไหน กับใคร ที่เหมาะกับตัวเอง
ก็ว่ากันตามสบายครับผม ถ้าหาไม่ได้กันจริง ๆ เดี๋ยวมีแจกครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
นู๋เล็ก
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1003
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2011, 00:14
Tel: 0880917500
team: -
Bike: SURLY,NOBEL STAR

Re: เรื่องของวัยกับนักปั่น ฤาอายุเป็นแค่ตัวเลข?

โพสต์ โดย นู๋เล็ก »

ผมเป็นพวก สว.ครับ เรื่มปั่นก็ 60 เข้าไปแล้ว มีโปรแกรมฝึกซ้อมดีๆก็ช่วยเผยแพร่ด้วยครับ..ยังมีไฟ...อยู่
:arrow: คนเกษียณ..เขียนให้อ่าน.....สว.มือใหม่หัวใจบอลลูน..
http://thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=53&t=322520

:arrow:คนเกษียณ....เขียนให้อ่าน (2) ... ซ้อมปั่นเขาเขียว....เดี๋ยวเดียวก็ถึง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 6&t=344145
umbabab
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3727
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 21:14
Bike: NEObike16 14 ,Giant escept3,Peugeot crique,BSroadman,giant revice

Re: เรื่องของวัยกับนักปั่น ฤาอายุเป็นแค่ตัวเลข?

โพสต์ โดย umbabab »

คนแก่อ่านแล้วได้กำลังใจขึ้นเยอะเลย
ความเจ็บปวดของคุณ จะกลายเป็นตัวของคุณ
nin2011

Re: เรื่องของวัยกับนักปั่น ฤาอายุเป็นแค่ตัวเลข?

โพสต์ โดย nin2011 »

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ
ผมว่าผมอยู่กลุ่มสอง อายุก็ใกล้ 50 เข้าไปทุกที และขอยืนยันว่าเป็นดังที่ว่ามาทั้งหมดจริงๆ
เพราะผมรู้สึกได้ว่าหลังจากฝึกซ้อมมากขึ้น ถูกวิธีขึ้น มีเวลาและใจให้กับการฝึกซ้อมอย่างจริงจังมากขึ้น รู้สึกได้เลยว่ามันดีกว่าตอนอายุ 35 จริงๆ
ก็แอบหวังไว้ในใจเล่นๆว่า อยากปั่นจักรยานเที่ยวให้ได้จนอายุ 70 ปีครับ ผมไม่ใช้นักกี่ฬาที่ลงแข่งขัน แต่เป็นพวกชอบออกกำลังกาย และปั่นจักรยานเที่ยว

ขอบคุณสำหรับข้อมูลและช่วยให้เป็นกำลังใจสำหรับคนที่จะเป็นสว.กันทุกท่าน
รูปประจำตัวสมาชิก
jackcsk
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1750
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 พ.ย. 2009, 09:22
Tel: 086-8484644
team: สมาคมจักรยานเมืองพัทยา Pattaya sport cycling association
Bike: --Rocky vertex 70--โคลัมบัสเหมือนพี่ตูน^_^

Re: เรื่องของวัยกับนักปั่น ฤาอายุเป็นแค่ตัวเลข?

โพสต์ โดย jackcsk »

ผมอยู่กลุ่ม 2 เริ่มปั่นอายุ 29 ย่าง 30 ตอนนี้จะ 31 แล้ว แรงตอนอายุ 50 ก็คงไม่สาย :D
สมาคมจักรยานเมืองพัทยา
Pattaya sport cycling association
lotus
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4620
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 03:57
team: รวมมิตร
Bike: Wheeler Ti, CSK หมอบ
ติดต่อ:

Re: เรื่องของวัยกับนักปั่น ฤาอายุเป็นแค่ตัวเลข?

โพสต์ โดย lotus »

อยู่กลุ่มสองเหมือนกัน เริ่มปั่นตอนอายุ 47 ไม่สายครับ เพราะตอนนี้ 59 แล้ว ยังปั่นเสือภูเขาทางเรียบดูดเสือหมอบขากลับบ้านพุน้ำร้อนชายแดนมาเมืองกาญจน์ความเร็ว สูงสุด 45-46 ได้ไม่หลุดราวๆ 30 กม แล้วกลุ่มหยุดพักทานน้ำครับ แต่ต้องยอมรับสังขารเหนื่อยมากๆ หลังจากนั้นไม่กล้าตามกลุ่มขาแรงหมอบ 5 คนนี้อีกเมื่อเริ่มใหม่ ไล่ปั่นเข้ากับกลุ่มหมอบอื่นๆ ความเร็ว 30-32 เองแต่ทวนลมนิดหน่อย แต่ในที่สุดก็ยอมปล่อยหลังตามได้ราวๆ 10 กม สังขารมันบอกว่าถ้าฝืนตามอีกก็จะเป็นตะคริว เลยปั่นเสือภูเขาคนเดียวความเร็วเหลือแค่ 25-26 ใช้เกียร์เบาเลี้ยงรอบขาไว้เมื่อระยะทางเหลืออีกราวๆ 30 กมครับ วันนั้นปั่น 140 กม

บทความดีมากๆ ครับ คนแก่เสียเปรียบคนหนุ่มตรงที่แรงสู้ไม่ได้ แต่ชดเชยได้ตรงมีเวลาซ้อมมากกว่าเพราะไม่ต้องทำงานหนักแล้ว ผมต้องซ้อมมากกว่าคนหนุ่มสองเท่าถึงจะปั่นร่วมขาแรงได้ครับ อ่อนซ้อมนิดหน่อยเมื่อไร หลุดทันที
ไฟล์แนบ
64773-38.jpg
64773-38.jpg (54.13 KiB) เข้าดูแล้ว 19408 ครั้ง
รูปประจำตัวสมาชิก
Kob@Truth
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 9456
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 17:27
Tel: 081-807-0983
team: Invert to newborn...!!!
Bike: TFS300,Alpha Black 2.5

Re: เรื่องของวัยกับนักปั่น ฤาอายุเป็นแค่ตัวเลข?

โพสต์ โดย Kob@Truth »

ถึงว่า ผมปั่นไป Trip เจอพี่ เจ้าของกระทู้.........ถึงได้ปั่นไปหัวเราะไปอย่างมีความสุข....อิๆ
มีโอกาสคงได้เจอกันอีกนะพี่ Trip ไหนก็ Trip นึง แหละ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ครับ
:mrgreen:
"เป็นคนที่ดีไม่พอ......ต้องบ้าด้วย...อิๆ"

หมอบบางแสน Click This Below!
http://www.BSRB.com
ก็อยากจะปั่นมันๆ อย่างคนรอบจัดเขาบ้างงัย :)
http://www.100รอบ.net
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือพ่อลูกอ่อน
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1811
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2010, 09:53
team: สุดทางที่ด่านซ้าย@เลย
Bike: มิรินด้า

Re: เรื่องของวัยกับนักปั่น ฤาอายุเป็นแค่ตัวเลข?

โพสต์ โดย เสือพ่อลูกอ่อน »

แวะเข้ามารับสาระครับ ;)
ผมเริ่มปั่นตอนอายุสามสิบนี่ยังไม่สายน่อ เหอๆ :lol:
ถึงจะจน แต่ก็ขี้เมา
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือเด็กมั้ง
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 15165
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 06:08
Tel: อยากรู้ให้โทรมาถาม
team: ศูนย์ฝึกกองบิน46 ,แอพอร์ตกรุ๊ป
Bike: orbea alma carbonสีuci ,specialized allez ,mini java สีขาว ,trek3900
ตำแหน่ง: 16°49′N 100°16′E / 16.82°N 100.27°E / 16.82; 100.27
ติดต่อ:

Re: เรื่องของวัยกับนักปั่น ฤาอายุเป็นแค่ตัวเลข?

โพสต์ โดย เสือเด็กมั้ง »

เริ่มตอนอายุ13 แล้วมันอยู่ช่วงไหนละเนี่ย :lol:
หมอบแล้วร่างกายจะแข็งแรงไม่มีโรคภัยเบียดเบียน
cartoon : http://thaimanga.thai-forum.net/
http://www.cartooniverse.co.uk/
http://www.trekkingthai.com/
รูปประจำตัวสมาชิก
WaadZ
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 74
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ม.ค. 2011, 18:02
Bike: Surly Troll /Surly LHT

Re: เรื่องของวัยกับนักปั่น ฤาอายุเป็นแค่ตัวเลข?

โพสต์ โดย WaadZ »

เดี๋ยวไว้จะชวนคุณพ่อมาอ่านครับ อ่านแล้วน่าจะเป็นแรงบันดาลใจได้ดีเลย
ผมเองเริ่ม 30 ต้นๆ เดี๋ยวไปแรงตอนเกษียณคงยังไม่สาย :lol:
< Bike along a long old road >
Naughty Bike
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2089
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ส.ค. 2009, 18:50
team: ปั่นมินิ (แดก)มาราธอน
Bike: trek 1.9, jamis full sus
ตำแหน่ง: สุขุมวิท ซอย 3

Re: เรื่องของวัยกับนักปั่น ฤาอายุเป็นแค่ตัวเลข?

โพสต์ โดย Naughty Bike »

ผมว่าอยู่ที่คนด้วยครับ มันมีหลายแบบ :D :D :D

ถ้านักกีฬาอายุ 40 แล้วกินเที่ยวอ้วนเผละ พอ 41 เริ่มปั่นจริงจัง กว่าจะถึง 50 ก็ปั่นแข้งโป๊กกว่าตอน 40 อยู่แล้ว

แร๊งงงงงงงงงงง 555555
ปั่น มินิ แดก มาราธอน
รูปประจำตัวสมาชิก
breeze
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1892
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2011, 16:14
Tel: 0849407000
team: ยังไม่มีสังกัด แต่อยู่แถวพระราม 5 บางกรวย ครับ
Bike: Dahon Archer P18 , Anchor CX900

Re: เรื่องของวัยกับนักปั่น ฤาอายุเป็นแค่ตัวเลข?

โพสต์ โดย breeze »

ผมเริ่มตอนนี้ 32 อ่านแล้วรู้สึกดี ที่คิดถูกต้อง

กับกีฬาที่ถูกทางด้วย
keree
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 11528
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 08:22
Tel: 0878926437
team: คีรีรัฐไบค์คลับ
Bike: TCR.Advanced ATX.LE
ติดต่อ:

Re: เรื่องของวัยกับนักปั่น ฤาอายุเป็นแค่ตัวเลข?

โพสต์ โดย keree »

ขอบคุณครับ :)
osk 103

ฉลาดคิดรอบรู้เป็นครูสอน จะนั่งนอนรู้ตนบนวิถี
รบกี่ครั้งยั้งจิตคิดให้ดี สติมีสอนตนย่อมพ้นภัย

(ศิวกรณ์)
รูปประจำตัวสมาชิก
pOmz
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6116
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ส.ค. 2008, 07:55
Tel: AIS 085-2656952
Bike: Fuji Altamira Ltd.

Re: เรื่องของวัยกับนักปั่น ฤาอายุเป็นแค่ตัวเลข?

โพสต์ โดย pOmz »

ปักหมุดครับ
เด็กดี .. ต้องใส่แว่น
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร”