กระทู้นี้ไม่เกี่ยวกับจักรยาน เรื่องพระล้วนๆ

ผู้ดูแล: ส.กวง, thor

กฏการใช้บอร์ด
ชื่อกลุ่ม -TOUR BIKE
ที่อยู่ - 115/49 หมู่บ้านชลลดา ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110
ผู้ดูแลบอร์ด - ส.กวง โทร. 08-1442-6385
E-Mail : gtourbike @gmail.com
ตอบกลับ
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือโก๋หน้าวัง
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1279
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ส.ค. 2008, 19:59
Tel: 081XXXXXXX
team: Bike to Work
Bike: Trek 6500

กระทู้นี้ไม่เกี่ยวกับจักรยาน เรื่องพระล้วนๆ

โพสต์ โดย เสือโก๋หน้าวัง »

ปีใหม่แล้ว เอาสิ่งที่เป็นมงคลมาให้อ่านกันบ้างดีก่า

เกร็ดเล็ก-เกร็ดน้อย : สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ปรกโพธิ์

:arrow: เห็นเพื่อนๆหลายๆคนห้อยพระประจำกายตอนไปออกทริปทางไกลด้วยกัน แหมดีจัง เป็นคนไทยไปไหนมีพระไปด้วยนั้นอุ่นใจที่ซู๊ด ยิ่งไปนอนค้างแรมในที่ที่เราไม่รู้จักมาก่อน มีพระห้อยคอไว้มันก็ทำให้อุ่นใจมิใช่น้อย พระดีๆไม่จำเป็นต้องมีราคาแพงครับ พระท้องถิ่นบางที่ก็ประสบการณ์มาก และเป็นที่หวงแหนของชาวบ้านอย่างที่สุด ทั้งที่บางทีบูชาไม่กี่ร้อยบาทก็ตาม

ก็พอดีมีเพื่อนที่อยู่นอกวงการจักรยานมาถามเรื่องพระเครื่องสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์ เลยเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และไม่เคยเล่าให้พี่น้องพวกเราฟังมาก่อนถึงความเป็นมา ก็เลยคิดว่าเอามาเล่าสู่พี่น้อง Tour Bike + Bike to work ฟังดีกว่า คือว่าเรื่องของเรื่องคือ ถ้าท่านใดมีสมเด็จวัดระฆังองค์นี้ แนะนำให้เก็บเลยนะครับเพราะเป็นสมเด็จวัดระฆังของจริงไม่มีปลอม ห้อยได้อย่างสบายใจแน่นอน


พวกที่เล่นหากันในวงการพระส่วนใหญ่เค้าจะเก็บพวกพิมพ์ใหญ่ หรือพิมพ์นิยมอื่นๆ ก็ช่างเขา ที่แนะนำพิมพ์นี้เพราะว่าเหตุผลก็คือ พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์ เป็นพิมพ์เดียวเท่านั้นที่ ไม่ถูกกดพิมพ์โดยยายขำ (เพราะยายขำไปหาพิมพ์ที่กุฏีสมเด็จแล้วไม่เจอ) ดังนั้นจึงเป็นพิมพ์เดียวที่ไม่มีการปลอมมาตั้งแต่สมัยโบราณ พระองค์ที่ห้อยบนคอพวกเสี่ยๆ ราคาหลายสิบล้านนั้น อาจมีหลายองค์เป็นสมเด็จยายขำ เลยไม่แปลกใจว่าหลายคนห้อยสมเด็จแล้วถูกยิงตาย แต่ถ้าห้อยพิมพ์ปกโพธิ์ละก็ ไม่มีทาง อันนี้เก็บมาเป็นความลับกว่าร้อยปี เพิ่งมาแดงเอาตอนนี้แหละครับ ถ้ามีใครคิดจะปลอมตอนนี้ ก็ต้องบอกว่า ช้าไปแล้วน้องเอ๋ย กว่าเนื้อจะได้ที่ ก็ต้องอีก 100 ปี ป่านนั้นพี่คงย่อยสลายเป็นผงขี้เถ้าไปแล้ว

แต่เดิมนั้นบรรดาเซียนๆเชื่อกันว่าไม่มีพิมพ์ดังกล่าวอยู่ในสารระบบ เลยไม่มีใครเล่นหากัน กอร์ปกับไม่มีพระให้ศึกษา ถ้าเอาไปให้เซียนดู เซียนก็ตีเก้หมด ก็เลยไม่มีใครสนใจปลอมออกมาเพราะคนไม่เล่นหากัน แต่มาสมัยนี้พบหลักฐานใหม่ทั้งจากบันทึกในหอจดหมายเหตุและคำบอกเล่าจากพระรุ่นเก่าๆที่เคยอยู่ใกล้ชิดกับท่าน (อย่างเช่นหลวงปู่คำ, ท่านเจ้าคุณพระธรรมถาวร (ช่วง)) ว่า ตอนที่อยู่วัดระฆัง สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านได้สร้างสมเด็จปรกโพธิ์ไว้ทั้งหมด หลายรุ่น และจะสร้างทุกครั้งที่มีเลื่อนสมณศักดิ์เพื่อแจกให้กับคนสำคัญๆเท่านั้น เพราะคำว่าปรกโพธิ์ก็คือความร่มเย็น ถ้าระดับคนสำคัญของประเทศรู้สึกร่มเย็น ประชาชนก็จะอยู่อย่างร่มเย็นเป็ฯสุขไปด้วย เท่าที่มีหลักฐานชัดเจนมีการสร้างอยู่ 3 รุ่นหลักๆคือ

1. ตอนที่ท่านอายุ 60 ปี ทำทั้งหมด 60 องค์ มีใบโพธิ์ด้านละ 5 ใบ
2. ตอนที่ท่านอายุ 70 ปี ทำทั้งหมด 70 องค์ มีใบโพธิ์ด้านละ 7 ใบ
3. ตอนที่ท่านอายุ 80 ปี ทำทั้งหมด 80 องค์ มีใบโพธิ์ด้านละ 9 ใบ

ทั้งหมดจึงมีอยู่แค่ 210 องค์เท่านั้น ที่สมเด็จท่านทำเอาไว้ และทั้งสามรุ่น เนื้อและพิมพ์ จะแตกต่างกันออกไป จะนำมาเทียบกันไม่ได้โดยเด็ดขาด และในวงการพระจะเจอพิมพ์ใบโพธิ์ 7 ใบ เป็นส่วนมาก แต่ใบโพธิ์ 9 ใบ ทั้งที่จำนวนสร้างเยอะกว่า แต่เชื่อไหมครับว่าหายากมาก อาจเป็นเพราะคนที่มีอยู่นั้นพากันเก็บหมด ไม่มีใครยอมปล่อย จะมีก็แต่พวกที่ไม่แน่ใจว่าจริงหรือไม่ พอคนบอกว่าผิดพิมพ์ ก็เลยถอดใจ ปล่อยออกไปในราคาถูกๆแต่หารู้ไม่ว่านั่นแหละของดีที่สุด ระดับเพชรเม็ดงามเลยหละ ถ้าเจอคนที่เค้ารู้จริง อาการอย่างนี้ก็เรียกว่าเข้าทางโจรไป

รูปภาพ

สำหรับองค์ที่เอามาโชว์นี้คือ สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์ รุ่น 80 ปี ตอนที่ท่านได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพุฒาจารย์ พี่น้องครับ ทั้งโลกนี้มีอยู่ 80 องค์เท่านั้นครับ พรรคพวกวกันเอารูปมาให้ดูแล้วถามว่าของเป็นจริงหรือเปล่า เพราะมีคนจะปล่อยให้ ดูแล้วใช่ก็เลยตัดสินใจเล่าประวัติพระองค์นี้(ชุดนี้)ให้ฟัง (ส่วนเพื่อนจะเช่าหรือไม่เช่ามันก็เรื่องของเพื่อนว่ะ ฮาฮาๆๆ ข้าไม่เกี่ยว) แต่จะบอกว่าในชีวิตข้าเคยผ่านตามาแค่องค์เดียวเท่านั้น เจ้าของเป็นคนแก่ๆแถวกาญจนบุรี แกให้ดู แล้วเล่าเรื่องราวว่าได้มาอย่างไรให้ฟัง เรื่องของเรื่องคือแกได้มาจากพ่อของแกอีกที แต่ความไม่ธรรมดาคือพ่อของแกมีบ้านเดิมอยู่ใกล้วัดระฆัง นะซิ!! และตอนที่แกให้ดู พระที่วางอยู่รอบข้างพระองค์นี้ มีสมเด็จวัดระฆังพิมพ์อื่นๆวางอยู่อีกถึง 4-5 องค์ ส่องดูแล้วแท้หมดทุกองค์ครับ เสือโก๋เลยถึงบางอ้อก็คราวนี้ (แต่ตอนนี้ผมไม่รู้ว่าแกเสียชีวิตไปหรือยัง เพราะตอนนั้นแกก็ 90 กว่าแล้ว และไม่ได้เจอแกมา 10 กว่าปีแล้ว และถ้าแกเสียไปแล้ว ไม่รู้ว่าพระไปตกอยู่ที่ใครบ้าง :roll: )

และองค์ปรกโพธิ์ที่เอ็งเอารูปมาให้ข้าดู ก็เป็นองค์ที่สองในชีวิตว่ะเพื่อนเกลอ แต่บอกตามตรง ดีจัง แต่สวยสู้องค์แรกไม่ได้ว่ะ แต่ก็เป็นหนึ่งใน 80 องค์ ไปนอนคิดเอาละกันเพื่อนเอ้ย :mrgreen:

เนื่องจากผมเคยเห็นตัวเป็นๆมาแล้ว สวยจริงๆครับพิมพ์ปรกโพธิ์รุ่นใบโพธิ์ 9 เม็ดนี้หนะ และจงจำไว้เลยว่าพิมพ์นี้ เนื้อองค์พระจะแก่ปูนเปลือกหอยและออกขาวหม่น และของที่ท่านทำไว้ทุกองค์จะลงเคลือบรักสีดำ (รักของไทย-เขมร) และปิดทองทั้งหมด เพื่อรักษาเนื้อพระ เนื้อพระจะแกร่งมาก มีน้ำหนัก โยนใส่กระจกจะดังกริ๊ง เวลาส่องดูเนื้อพระจะเห็นเกสรดอกไม้ เม็ดข้าว ต่อให้ล้างรักออกก็จะยังเห็นคราบทองคำเปลวติดอยู่ ส่องสะท้อนแสงตะวันระยับงามตา ขอบข้างจะมีรอยยุบของผงพุทธคุณชัดเจน ส่วนเนื้อพระเหมือนเล็บคนเรา คือดูไกลๆจะผิวด้าน ส่องด้วยกล้องเนื้อพระจะมันวาว ดูนุ่มตา ที่เค้าเรียกว่าเนื้อแบบกระเบื้องกังไส ส่องดูเหมือนมีชีวิตเลยทีเดียว เรียกได้ว่าครบถ้วนกระบวนสมเด็จแบบปฏิเสธไม่ได้เลยหละครับถ้าใครได้ไว้ถือว่าสุดยอดแห่งความโชคดีครับ ในชีวิตนี้เห็นมาสององค์ ถือว่าเป็นบุญตา และสององค์ที่ผ่านมา เหมือนกันเด๊ะ

และถ้าให้ผมเลือกระหว่างวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ กับพิมพ์ปรกโพธิ์ ผมเอาองค์นี้ดีกว่าครับ ด้วยเหตุผลที่ว่า

:arrow: 1. เพราะไม่ต้องเสี่ยงที่จะเจอกับสมเด็จยายขำอย่างแน่นอน
:arrow: 2. เพราะเป็นรุ่นฉลองสมณศักดิ์ สมเด็จพุฒาจารย์ ก่อนท่านจะมรณภาพ 5 ปี ท่านทำพิเศษ ไว้แจกคนพิเศษเท่านั้น
:arrow: 3. ถ้าไม่ดีจริง และไม่อยากให้คงอยู่ได้นานๆจริงๆ ท่านก็คงไม่ลงรักปิดทองไว้ทุกองค์หรอกครับ แสดงว่าเป็นพิมพ์ที่สำคัญและมีความหมายมาก
:arrow: 4. เพราะมันมีอยู่แค่ 80 องค์ในโลกนี้ (อีกหน่อยก็คงไม่ต่างกับพระกริ่งปวเรศเท่าไหร่ที่มีไม่ถึง 100 องค์)
:arrow: 5. เพราะราคาเช่าบูชายังไม่ถูกดันไปแรงๆ อันนี้เพราะว่าพวกเซียนๆมัวแต่ไปสนใจพิมพ์อื่นอยู่ ทำให้สามารถซื้อหา "ลัมเบอร์กีนี" มาใช้ในราคา "ทาทานาโน" ได้

อย่างไรก็ตาม "พระเครื่อง" เค้าไม่ได้วัดกันที่ราคาเพราะมันถูกปั่นอยู่ตลอดเวลา แต่ศรัทธาและความเคารพในคุณงามความดีของท่านต่างหากที่เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด มีเพื่อนผมบางคนแขวนฟันกรามของแม่ที่หลุดออกมา แล้วเค้าเอาไปแกะเป็นพระคล้ายพระชัยวัฒน์องค์เล็กๆ แล้วนำมาเลี่ยมทองแขวนเพียงองค์เดียว เท่านั้นก็พอ พอเกิดอุบัติเหตุก็กลับแคล้วคลาดมาได้ การงานก็เจริญก้าวหน้าไม่ติดขัด ทั้งนี้เพราะความกตัญญูรู้คุณบุพการีเป็นที่ตั้งนั่นเอง

และถ้าใครเคยไปถวายอาหารกับหลวงปู่หอม ที่วัดบางเตยนอก หรือ ใน เนี่ย จะไม่ได้ อยู่แถวปทุมธานี อยู่เลยแยกร้อยศพไปหน่อย ท่านจะถามก่อนทุกครั้งเลยว่า ก่อนเอาอาหารมาให้ท่าน ใส่อาหารให้พระที่บ้านหรือยัง หลายคนงง ถ้าตอบว่า "ยัง" ท่านจะบอกว่า ให้ไปใส่ให้พระที่บ้านก่อน แล้วค่อยนำมาถวายท่าน หมายความว่า ให้พ่อแม่อิ่มก่อน จึงมาใส่ให้พระ ถ้ามาใส่ให้พระ แล้วไม่เคยดูแลพ่อแม่ (พระที่บ้าน)เลยก็ไม่มีประโยชน์ พระองค์นี้มรณภาพไปแล้วสองสามปี แต่สังขารท่านไม่เน่าเปื่อย ยังนอนอย่างสงบนิ่งในโลกแก้วที่วัด ถ้าปั่นจักรยานผ่านไป ไปแวะกราบสังขารท่านได้....ต่อให้แขวนพระดี แต่ใจไม่ดี วาจาไม่ดี การกระทำไม่ดี ต่อให้แพงแสนแพง ก็ไม่มีประโยชน์ครับ เหมือนเอาหิน เอาดิน ไปแขวนคอ ฉะนั้นเอง...


สุดท้ายนี้....อย่าให้คนที่จะปล่อยพระให้เอ็งมาอ่านกระทู้นี้ก่อนล่ะเพื่อนเอ้ย เพราะเค้าอาจเปลี่ยนใจไม่ให้เอ็งเช่าก็ได้ และขอให้เอ็งโชคดีนะเจ้าเพื่อนเกลอ....เอวัง

รูปภาพ
แก้ไขล่าสุดโดย เสือโก๋หน้าวัง เมื่อ 26 ธ.ค. 2009, 23:00, แก้ไขแล้ว 18 ครั้ง
เห็นทุกข์ตัวเดียว ทุกอย่างจะดีเอง....
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือเอ๋ฅน...ครยก
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2193
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 09:02
Tel: 089-9025110
team: ฅน...ครยก , ชมรมจักรยานฯนครนายก
Bike: GT Outport

Re: กระทู้นี้ไม่เกี่ยวกับจักรยาน และไม่น่าจะมีอะไรที่น่าสนใจ แต่

โพสต์ โดย เสือเอ๋ฅน...ครยก »

ใช่พิมพ์แบบนี้หรือเปล่าครับเสือโก๋
รูปภาพ
วาดฝันบนหลังอาน ปั่นผ่านคืนและวัน หลงไหลบนโลกกว้าง สุดทางคือ........บ้านเรา!!!!
รักธรรมชาติ สวนเกษตร ชอบความสงบ ที่พักสบาย ลานกางเต้นท์ติดเขา กิจกรรมผจญภัย คิดถึงเรา"บ้านสวนชญานันทน์โฮมสเตย์" นครนายก
https://www.facebook.com/bansuanchayanan
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือโก๋หน้าวัง
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1279
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ส.ค. 2008, 19:59
Tel: 081XXXXXXX
team: Bike to Work
Bike: Trek 6500

Re: กระทู้นี้ไม่เกี่ยวกับจักรยาน และไม่น่าจะมีอะไรที่น่าสนใจ แต่

โพสต์ โดย เสือโก๋หน้าวัง »

พิมพ์ปกโพธิ์เหมือนพิมพ์ที่เสือนำมาแสดงให้ดูครับ
แต่ของวัดระฆังไม่ใช่แบบในรูปนั้นนะ องค์นี้ดูแล้วเป็นพระสร้างรุ่นหลัง
สำหรับองค์ที่เสือเอ๋นำมาโชว์ ข้าพเจ้าไม่รู้สำนัก เพราะตอนหลังสร้างกันเยอะมาก :mrgreen:
เห็นทุกข์ตัวเดียว ทุกอย่างจะดีเอง....
รูปประจำตัวสมาชิก
เอก
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 392
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 09:15
Bike: merida mongoose

Re: กระทู้นี้ไม่เกี่ยวกับจักรยาน และไม่น่าจะมีอะไรที่น่าสนใจ

โพสต์ โดย เอก »

มีเหรียญมาให้ชมกันปลอมหรือปล่าวไม่ทราบเพราะไม่ได้ทำกับมือ

เป็นเหรียญที่ ร.5 สร้างให้ ร.6

รูปภาพ

เหรียญที่ระลึกเปิดทางรถไฟ 21ธ.ค. 2433

รูปภาพ
Bike for relax ,comfortable ,take it easy ,happy in one's mind ,to be healthy,to be well, to be all right.
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือโก๋หน้าวัง
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1279
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ส.ค. 2008, 19:59
Tel: 081XXXXXXX
team: Bike to Work
Bike: Trek 6500

Re: กระทู้นี้ไม่เกี่ยวกับจักรยาน และไม่น่าจะมีอะไรที่น่าสนใจ

โพสต์ โดย เสือโก๋หน้าวัง »

อันหลังนี่ พี่เอกต้องคล้องคอแล้วนั่งรถไฟไปโคราช แล้วไปปั่นกับเฮียกวงที่วังน้ำเขียว ถึงจะได้อารมณ์ครับ ;)
เห็นทุกข์ตัวเดียว ทุกอย่างจะดีเอง....
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือโก๋หน้าวัง
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1279
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ส.ค. 2008, 19:59
Tel: 081XXXXXXX
team: Bike to Work
Bike: Trek 6500

Re: กระทู้นี้ไม่เกี่ยวกับจักรยาน และไม่น่าจะมีอะไรที่น่าสนใจ

โพสต์ โดย เสือโก๋หน้าวัง »

This is the Highly Recommended!!!

องค์ต่อไป ขอย้ายขึ้นไปทางเหนือนิดหนึ่งครับ ก่อนที่จะพาลงใต้ต่อไป เหรียญครูบาคำหล้าเหรียญนี้ วันนี้ท่านยังสามารถหาเช่าบูชาได้ในหลักร้อยถึงหลักพัน แต่ต่อไปอีกไม่นานจะไม่มีให้บูชาอีกแล้ว เพราะอาจต้องหากันในหลักแสน เพราะเหรียญของครูบาคำหล้าเหรียญนี้ กำลังพุ่งทะยานสู่อันดับหนึ่งของพระเกจิล้านนาในเวลานี้ แบบไม่ต้องให้พวกนิตยสารพระเขียนเชียร์เลย เพราะของท่านดีจากเนื้อในจริงๆ

เหรียญครูบาคำหล้า รุ่นแรก สร้างปี ๒๕๐๕ ออกที่วัดจันดี จังหวัดเชียงราย

ชีวประวัติของครูบาคำหล้า ฐิตสํวโร
วัดพระธาตุขุนห้วยสวดอรัญญวาสีสังวราราม บ้านใหม่เจริญไพร อ.เชียงคำ จ.พะเยา

รูปภาพ

1.สถานะเดิม

ครูบาคำหล้า ฉายา สํวโร นามเดิม คำหล้า นามสกุล สุภายศ นามบิดา นายใจ มารดานางน้อย สุภายศ บ้านสันโค้งหลวง มีพี่น้องร่วมสายโลหิตด้วยกัน 5 คน และท่านเป็นคนสุดท้องจึงได้นามว่า “คำหล้า” มีรายชื่อดังนี้

1. นางบุญปั๋น เนตรสุวรรณ
2. นางสุจา วิจิตรรัตน์ (เสียชีวิต)
3. นางสุข สุภายศ (เสียชีวิต)
4. นางสุวรรณ สุรัตน์
5. ครูบาคำหล้า สํวโร(มรณภาพ)

2. ชาติกาล
ท่านครูบาคำหล้าเกิดเมื่อวันพุธ ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2460 ขึ้น 11 เดือน 3 (เดือนห้าเหนือ) ตรงกับปีมะเส็ง ณ บ้านสันโค้งหลวง เลขที่ 14 ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย

3. การศึกษา

ชีวิตเมื่อเยาว์วัยตั้งแต่อายุ 1-8 ปี ท่านก็อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดามารดาและญาติ มีชีวิติความเป็นอยู่เหมือนเด็กทั้งหลาย เคยเลี้ยงควาย วัว ตามทุ่งนา มีนิสัยร่าเริงว่านอนสอนง่าย เมื่ออายุ 9 ปี มีนิสัยเปลี่ยนไปไม่ชอบรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยปลาหรือเนื้อสัตว์ ชอบรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยผักเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะจะชอบทานจำพวกน้ำพริกน้ำผักที่ทำจากผักกาด และน้ำหน่อ และผลไม้ต่าง ๆ เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2469 ขณะมีอายุ 9 ขวบได้เรียนหนังสือ ณ โรงเรียนจำรูญราษฎร์ ซึ่งตั้งอยู่หน้าวัดเจ็ดยอดในชั้นประถมปีที่ 1 และในปลายปีนี้เองที่ท่านได้เจ็บป่วยอย่างหนักเกือบเอาชีวิตไม่รอดไม่ยอมทานอาหารเป็นเวลา 3 วัน ทานเฉพาะใบส้มลม โดยเอาใบส้มลมมาห่อใบตองแล้วหมกไฟจนสุกจึงนำไปจิ้มกับเกลือใช้ทานแทนอาหาร นอกจากนี้ยังป่วยเป็นตุ่มพุพอง ในช่วงบริเวณใต้เข่าจนถึงเท้าทั้ง 2 ข้างใช้ยาหลายชนิดก็ไม่หายจึงได้นำเอาน้ำมันขี้โล้มาทาในที่สุดโรคนั้นก็พอทุเลาลง การเรียนหนังสือก็มีความรู้ สามารถอ่านออกเขียนได้เป็นอย่างดี



4. ถวายตัวเป็นศิษย์ท่านครูบาศรีวิชัย

ในปีนี้เอง ท่านครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนาไทย ซึ่งมีคนเคารพนับถือมากได้เดินทางกลับจากการไปบูรณะพระธาตุดอยตุง ซึ่งเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในภาคเหนือได้มาพำนักวัดเชียงยืน (วัดสันโค้งหลวง)

คุณพ่อใจ และแม่น้อย สุภายศ ก็ได้นำบุตรของตน คือ เด็กชายคำหล้า ไปนมัสการท่านครูบาศรีวิชัย พร้อมทั้งกราบเรียนว่าบุตรชายคนนี้มีนิสัยไม่ชอบทานเนื้อ ทานปลา ชอบทานอาหารที่ปรุงด้วยพืชผักเท่านั้นจึงเป็นสาเหตุทำให้ไม่ค่อยสบายจึงขอมอบบุตรชายให้ท่านครูบาได้เมตตาช่วยอบรมสั่งสอนด้วย เล่ากันว่า พ่อหนานทองสิงห์ ซึ่งเป็นญาติผู้ใหญ่ได้นำเอาผ้าเหลืองมาบนกับเจ้าที่วัดเชียงยืนไว้ว่า “ถ้าภายใน 2-3 วันนี้ถ้าเด็กชายคำหล้าหายป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บทุกชนิดจะขอให้เด็กชายคำหล้าบวชเป็นสามเณรแก้บน” ปรากฏเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ภายหลังจากนั้นไม่นานเด็กชายคำหล้าก็หายป่วยพ่อแม่จึงดีใจมากให้ไปบรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา


5. ครูบาศรีวิชัยเป็นประธานในการบรรพชา

ในปีพ.ศ. 2470 ขณะที่เด็กชายคำหล้ามีอายุได้10 ปี ก็ได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ณ วิหารวัดเชียงยืน โดยมีท่านพระครูบาศรีวิชัย เป็นประธานสงฆ์พร้อมทั้งพระสงฆ์ที่เข้าพิธีอีก 10 รูปท่านครูบาศรีวิชัยได้ตั้งฉายาให้ว่า “ฐิตสํวโร” แปลว่าผู้มีความสำรวมที่มั่นคงดี ท่านครูบาศรีวิชัยได้มาแสดงธรรมโปรดคณะศรัทธาอยู่ประมาณ 1 สัปดาห์ ท่านก็เดินธุดงค์จาริกไปยังจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนต่อไป ในการที่สามเณรคำหล้าได้รับการบรรพชาจากท่านครุบาศรีวิชัยในครั้งนี้ได้นำความปลาบปลื้มปิติยินดีมาสู่บิดามารดาและวงศาคณาญาติเป็นอย่างมาก เมื่อสามเณรคำหล้าได้บรรพชาเป็นสามเณรเรียบร้อยแล้วก็ได้ประจำอยู่ ณ วัดเชียงยืน และได้เข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนเชียงรายจรูญราษฎร์ จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากนั้นก็เข้าศึกษาต่อชั้นม. 1 โรงเรียนสามัคคีวิทยา (ขณะนั้นตั้งอยู่ใกล้วัดดอยงำเมือง) จนสำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จึงลาออก ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี

ในขณะที่ศึกษาอยู่โรงเรียนสามัคคีวิทยาคมนั้น ท่านได้เริ่มชักชวนคณะศรัทธา คณะญาติและผู้ใจบุญทั้งหลายได้ก่อสร้างเจดีย์ 1 องค์ ขนานกว้าง 7 ศอก สูง 9 ศอก ด้านหลังวิหารวัดเชียงยืน ภายหลังได้ทรุดโทรมและได้มีการบูรณะขึ้นใหม่ในสมัยพระครูเมธังกรญาณ เป็นเจ้าอาวาสวัดเชียงยืน

6. การศึกษาพระธรรมวินัย

เมื่อท่านได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว นอกจากจะศึกษาวิชาสามัญแล้ว ท่านยังสนใจศึกษาพระธรรมวินัยอันเป็นหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่องจำทำวัตรสวดมนต์เจ็ดตำนานได้คล่องแคลวมีความรู้แตกฉาน ด้านอักษรล้านนา (ภาษาล้านนา) เทศนาธรรมอักษรล้านนาและชอบเทศน์มหาเวสสันดรชาดก โดยเฉพาะกัณฑ์มหาพนท่านชอบมากจำได้คล่องปากเปล่าได้เข้าสอบความรู้พระปริยัติธรรม ณ สนามสอบวัดเจ็ดยอด สอบได้น.ธ.ตรี สมัยยังเป็นสามเณร

พ.ศ. 2477 ขณะที่ท่านได้อายุ 17 ปีท่านได้ออกเดินธุดงค์จากเชียงราย ผ่านอ.แม่สรวย ไปยังวัดฮ่างต่ำ อ.เวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เพื่อไปศึกษาภาษาบาลี และภาษาโบราณกับครูบาปัญญา อยู่ที่นั่งประมาณ 3 พรรษา จึงกลับมาอยู่ที่วัดเชียงยืน ได้นำเอาความรู้ที่ได้รับ มาอบรมสั่งสอนเพื่อนสหธรรมิกพระเณรในวัด และอบรมศิลธรรมกัมมัฏฐานแก่คณะศรัทธาทั้งหลาย ตามปกติท่านเป็นผู้มีความมักน้อยสันโดษชอบอยู่ในสถานที่สงบวิเวก ดังนั้น บิดามารดาและหมู่ญาติของท่านจึงได้ร่วมใจกันสร้างกุฏิกัมมัฏฐานถวายไว้ 1 หลัง ซึ่งท่านก็ได้อาศัยจำศิลภาวนา และมีความพอใจในการอยู่คนเดียวมาก

7. การอุปสมบท

ได้เข้าสู่พิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 8 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2481 ขณะอายุได้ 21 ปี ตามหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือสุทธิว่า สำเร็จเป็นพระภิกษุ เมื่อเวลา 16 นาฬิกา 27 นาที ของวันนั้น ณ พัทธสีมา วัดมุงเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ได้รับฉายาว่า “สํวโร ภิกขุ” โดยมี

1. หลวงพ่อพระครูพุทธิสารเวที (แฮด เทววํโส) วัดมุงเมือง เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เป็นพระอุปัชฌาย์
2. เจ้าคุณพระวีรญาณมุณี (หมื่น สุมโน) วัดเจ็ดยอด เผยแผ่จังหวัดเชียงราย )เป็นพระกรรมวาจาจารย์
3. พระมหาบัว โกมโล ครูสอนบาลี วัดมุงเมือง เป็นพระอนุสาสนาจารย์

ภายหลังที่ได้รับอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านก็ศึกษาและปฏิบัติธรรม เจริญเมตตาภาวนา ได้สั่งสอนธรรมะแก่พระภิกษุสามเณรวัดเชียงยืนและแก่คณะศรัทธาประชาชนทั่วไป ได้ชักชวนคณะศรัทธาสร้างกุฏิเพื่อเป็นที่พักอาศัยของพระภิกษุสามเณร 1 หลัง และสร้างกุฏิเพื่อใช้เดินจงกลม 1 หลัง ขณะที่ท่านจำพรรษาที่ ณ วัดเชียงยืน พ่อใจ สุภายศ ยอมบิดาของท่านก็ได้มาเอาใจใส่อุปัฎฐาก เพราะโยมบิดาท่านเป็นมรรคนายกของวัด และเป็นผู้นำชาวบ้านสันโค้งหลวงในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วย

เมื่อพ่อใจ สุภายศ อายุได้ 64 ปี ได้ถึงแก่กรรมท่านได้จัดงานฌาปณกิจศพตามประเพณี ในขณะนั้น คุณแม่น้อย สุภายศ โยมมารดาของท่านได้เป็นที่ประทับร่างทรงของเจ้าพ่อเจ้าแม่หลายองค์ และได้เป็นร่างทรงมาตั้งแต่ครูมามีอายุ 5-6 ขวบแล้วจนบัดนี้ก็ยังเป็นร่างทรงของวิณญาณอื่น ๆ เช่น

1. เจ้าแม่คำเขียว
2. เจ้าพ่อคำฟู
3. เจ้าอินต๊ะปัฏฐาน
4. เจ้าหลวงโมกขาว
5. เจ้าแม่คำแดง
6. เจ้าแม่สร้อยคำ



8. ครูบา ได้แนะนำมารดาให้ตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิ

ในสมัยโบราณ ประชาชนยังไม่นิยมเข้ารับรักษาตัวตามโรงพยาบาลต่าง ๆ เมื่อท่านทราบว่าแม่น้อย สุภายศเป็นร่างทรงของเจ้าพ่อเจ้าแม่หลายองค์ และยังสามารถเอารากไม้และสมุนไพรมาเสกเป่าและให้คนนำไปต้มกินบ้าง ทำให้ผู้คนทั้งหลายหลั่งไหลกันมารักษาโรคภัยไข้เจ็บจนเต็มบ้านทุกวัน บ้านของแม่น้อยจึงพรุกพร่านไปด้วยแขกไม่ขาดหาเวลาพักผ่อนแทบไม่มี ท่านครูบาคำหล้า เล่าว่าท่านระลึกถึงมารดาของพระสารีบุตรได้ชักชวนมารดาให้ยินดีในศิลทานภาวนาและเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจนกลายเป็นคนมีสัมมาทิฏฐิ ท่านครูบาคำหล้าจึงไปขอร้องคุณแม่น้อย มารดาของท่านอย่าได้เป็นร่างทรงของเจ้าพ่อเจ้าแม่ต่าง ๆ อีกได้เอาธรรมะไปเทศนาให้โยมแม่ฟังจนสามารถทำให้แม่เลิกเป็นร่างทรงและได้ออกบวชเป็นชีและได้นำเอาเครื่องสักการะ เครื่องเข้าทรงของเจ้าพ่อเจ้าแม่ทั้งหลายไปทิ้งเสีย ซึ่งได้รับการวิพากย์วิจารย์กันอย่างมาก แต่ครูบาท่านบอกว่าท่านทำถูกต้องแล้ว เมื่อแม่ชีน้อยท่านปฏิบัติธรรมอยู่จนมีอายุได้ 64 ปี ก็ถึงแก่กรรม ห่างจากโยมพ่ออยู่ประมาณ 4 เดือนเท่านั้น ท่านครูบาก็ได้จัดทำบุญฌาปนกิจศพมารดาตามประเพณี

9. บำเพ็ญธุดงควัตรต่างประเทศ

เมื่อโยมบิดาโยมมารดาได้ถึงแก่กรรมไปแล้วท่านครูบาคำหล้าเล่าว่าท่านจึงไม่ค่อยเป็นห่วงกังวลอะไรเพราะถ้าพ่อแม่ยังอยู่ ก็ต้องเอาใจใส่ดูแลท่านตามสมควรเพราะพระพุทธเจ้าเองยังตรัสสั่งสอนไว้ว่าการบำรุงบิดามารดานั้น ด้วยการให้อามิสทานบ้าง ธรรมทานบ้าง ไม่ถือว่าผิดสมณวินัย พระองค์ยังทรงยกย่องด้วยเพราะเคยมีเรื่องภิกษุรูปหนึ่งได้เอาอาหารที่ตนได้รับจากบิณฑบาตมาแล้วแบ่งให้แก่บิดามารดาชรา ภิกษุหลายรูปตำหนิท่าน เมื่อพระพุทธเจ้าทราบได้เรียกภิกษุรูปนั้นมาตรัสถามทราบเรื่องราวความเป็นจริงแล้ว พระองค์ทรงอนุโมทนาสาธุการ ดังนั้น ในกาลต่อมา ท่านครูบาคำหล้า จึงได้เดินธุดงค์จาริกไปถึงสำนักวัดน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ท่านได้ศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานกับหลวงปู่ครูบาอินทจักร (ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณพระสุธรรมยานเถระพระราชาคณะฝ่ายวิปัสนาธุระ) ได้ศึกษาอยู่ที่สำนักวัดน้ำบ่อหลวงอยู่ 3 พรรษา จึงกลับมาอยู่วัดเชียงยืน จังหวัดเชียราย

อยู่มาไม่นานท่านครูบาก็ได้เดินธุดงค์ไปตามป่าเขาหาสถานที่สงบวิเวก ท่านเล่าว่าได้อยู้ใกล้ชิดกับธรรมชาติทำให้จิตใจมีความปิติสุข ท่านเดินทางไปหลายที่หลายแห่งไม่คิดจะกลับมาอยู่ที่วัดเชียงยืนอีกต่อไปเพราะวัดอยู่ในเมืองมีหมู่ญาติมากก็อาจไปมาหาสู่กัน จะเสียเวลาในการปฏิบัติธรรม ท่านจึงเดินธุดงค์ไปทางทิศเหนือ ผ่านอำเภอแม่สายเข้าสู่อำเภอท่าขี้เหล็กในอณาเขตของประเทศพม่า ได้ไปถึงเมืองพง เมืองเลน เมืองยอง เมืองพะยาก เมืองเชียงรุ้ง เมืองเชียงตุง จึงได้ขาดการติดต่อกับญาติพี่น้องทางเชียงรายเป็นเวลา 3 ปีเศษ ดังนั้นทางหมู่ญาติก็เป็นห่วงมาก พ่อน้อยแสน เนตรสุวรรณ ผู้เป็นพี่เขยและญาติคนอื่น ๆ อีก 4 คนจึงได้เดินทางออกตามหาติดตามไปยังประเทศพม่าเพื่อสืบข่าวท่านครูบาคำหล้า ได้พำนักอยู่ ณ ที่ใด ใช้เวลาติดตามหาตัวท่านอยู่นานแรมเดือน ในที่สุดจึงได้พบท่านครูบา จำศีลภาวนาอยู่ในป่าแห่งหนึ่งในเมืองพง ประเทศพม่า หมู่ญาติที่ไปพบต่างก์มีความดีใจมาก ทีแรกก็คิดว่าท่านอาจมรณภาพไปเสียแล้ว จึงนิมนต์ท่านกลับมาจำพรรษา ณ วัดเชียงยืน (สันโค้งหลวง) อีก

10. ครูบาสร้างวัดพระธาตุจอมสักสังวรารามเป็นแห่งแรก

เมื่อท่านครูบาคำหล้า ได้กลับมาอยู่วัดเชียงยืนแล้ว ท่านก็ได้สั่งสอนศีลธรรมแก่ประชาชนให้ยินดีในการให้ทานให้รักษาศีลและเจริญเมตตาภาวนาพอออกพรรษาแล้วท่านก็เดินธุดงค์ไปต่างถิ่นอีกได้ไปอยู่ป่าบ้านห้วยขม ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ได้ปฏิบัติธรรมอยู่อย่างสม่ำเสมอและจาริกต่อไปเรื่อย ๆ เพราะไม่ชอบติดอยู่ที่นั่นเอง จนกระทั่งวันหนึ่งท่านครูบาได้ไปพบซากเจดีย์เก่าแก่แห่งหนึ่งมีสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมมากของวัดร้างแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของบ้าขัวแคร่ ต.บ้านดู่ อ.เมือง จ.เชียงราย

เล่ากันว่า ณ วักร้างแห่งนี้ชาวบ้านขัวแคร่เล่ากันว่ามีผุดุมาก เวลากลางคืนใครจะเดินผ่านบริเวณนั้นไม่ได้จะถูกผีหลอก ครูบาคำหล้าเห็นว่าสถานที่แห่งนี้มีความสงบวิเวกเหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรม ไม่ห่างไกลจากหมู่บ้านจนเกินไป สะดวกแก่การออกบิณฑบาตเมื่อท่านครูบา ได้มาปักกดอยู่ ณ วัดร้างแห่งนี้ ท่านเล่าว่าในระยะแรก ๆ ถูกผีหลอกอยู่หลายคืนแต่ท่านครูบาไม่เคยกลัว ได้สวดมนต์ภาวนาแผ่เมตตาจิตขอให้สรรพสัตว์ได้ยู่ร่วมกันอย่างสันติวิธี อย่าได้เบียดเบียนกันเลย ทางคณะศรัทธาชาวบ้านขัวแคร่ เมื่อทราบข่าวว่ามีพระกรรมฐานมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดร้างแห่งนี้ก็ดีใจจึงได้ชักชวนกันไปทำบุญตักบาตรไปฟังธรรมไปสนทนาธรรมะกับท่านครูบาคำหล้า ก็เกิดความเลื่อมใส จึงยินดีรับใช้ปรนนิบัติบำรุง ท่านครูบาจึงได้สร้างเจดีย์ขึ้นใหม่โดยครอบเจดีย์องค์เก่าจนสำเร็จนับเป็นเจดีย์องค์แรกพร้อมกับสร้างวิการเรือนไม้สักยกใต้ถุนสูงจำนวน 1 หลัง ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของเจดีย์และเจดีแห่งนี้ต่อมาได้รับการขนานนามว่า “พระธาตุจอมสักสังวราราม” เพราะตั้งอยู่ในดงไม้สัก และท่านครูบาคำหล้า สํวโรเป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างไว้นั่นเอง

11. พบกับครูบาอินถา กัลยาณมิตรที่สำคัญ

เมื่อท่านครูบาคำหล้า สํวโร ได้ปฏิบัติกัมมัฏฐาน และจำพรรษาอยู่ ณ วัดพระธาตุจอมสักอยู่นั้นได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งเป็นนักปฏิบัติธรรมที่เคร่งครัดเช่นเดียวกัน ท่านมีครอบครัวมาแล้วได้ลาออกบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา โดยอุปสมบท ณ วัดสีย่องเปียะ ต.ม่วงคำ อ.ตะโก่ง จ.หม่องระแหม่ง ประเทศพม่า ท่านมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านขัวแคร่ ได้เดินทางกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดเมืองนอน ได้มาพักชั่วชาว ณ วัดพระธาตุจอมสัก คณะศรัทธาและหมู่ญาติจึงได้ขอนิมนต์พระภิกษุรูปนั้นไว้ ขอให้อยู่ช่วยงานก่อสร้างและอยู่ปฏิบัติธรรมกับท่านครูบาคำหล้า ภิกษุรูปนั้นคือ หลวงพ่อครูบาอินถา สุทนฺโต ท่านครูบาทั้งสองจึงได้ช่วยกันพัฒนาวัดพระธาตุจอมสัก โดยร่วมกันก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ มีกุฏิ วิหาร ศาลา กำแพง บันไดนาค สถานที่กักเก็บน้ำ และเสนาสนะต่าง ๆ อีกมาก ท่านครูบาอินถา ได้เป็นกัลยาณมิตรผู้ยิ่งใหญ่ได้ร่วมบำเพ็ญทานบารมี ศีลบารมีร่วมกับท่านครูบาคำหล้า จนตราบเท่าท่านได้ถึงอายุขัยมรณภาพจากไปเมื่อประมาณ 32 ปีล่วงแล้วนี้เอง

12. ไปศึกษาที่มหาธาตุวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร

ในปีพ.ศ. 2496 พระพิมลธรรม (อาสภมหาเถระ) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์และสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองได้นิมนต์ท่านครูบาคำหล้าและครูบาอินถาทั้งสองรูปไปอบรมวิปัสนากัมมัฏฐาน ณ สำนักวัดมหาธาตุ ของมหาธาตุวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ท่านได้ไปรับการอบรมอยู่ 3 เดือนเศษเมื่อเสร็จการอบรมแล้วก็ได้เดินทางกลับมาอยู่ที่วัดพระธาตุจอมสักตามเดิม ต่อมาท่านครูบาทั้งสองก็ได้รับนิมนต์ให้ไปเป็นประทานก่อสร้าง หรือบูรณปฏิสังขรณ์ปูชณียสถาน และถาวรวัตถุหลายแห่ง โดยไปดำเนินการก่อสร้างต่างตำบล ต่างอำเภอ และต่างจังหวัดทั้งในจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน

13. ผลงานด้านการก่อสร้าง

การไปทำการก่อสร้างปูชณียสถานหรือถาวรวัตถุตามสถานที่ต่าง ๆ นั้นท่านครูบาคำหล้าจะพิจจารณาดูก่อนว่าจะมีใครเป็นหัวหน้ามายืนยันกับท่านก่อนว่าพร้อมจะให้ความร่วมมือและจะต้องมีคณะศรัทธาที่มีความเคารพเลื่อมใสในตัวท่านจริง ๆ ท่านจึงจะยินดีรับนิมนต์ ถ้าไม่พร้อมทั้ง 2 ประการนี้ครูบาจะไม่รับนิมนต์ ทั้งนี้เพราะการก่อสร้างแต่ละแห่งนั้นมักจะสำเร็จลงอย่างรวจเร็วเพราะมีคนเคารพเลื่อมใสและตั้งใจทำงานและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีนั่นเอง และทุกแห่งที่ครูบาไปดำเนินการจะไม่มีการออกใบฎีกาเรี่ยรายขอให้ผู้ทำบุญมุ่งเอากุศลความดีเป็นที่ตั้ง อย่าทำบุญเอาหน้า หรือสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น หรือบริจาคเงินไปแล้ว เกิดความเสียดายอาลัย ก็ไม่เป็นบุญเป็นกุศล ท่านครูบาคำหล้านั้นแม้ไม่ได้ศึกษามาทางสายสถาปัตยกรรมการก่อสร้างก็ตาม แต่ท่านครูบา ก็สนใจศึกษางานก่อสร้างด้วยตนเอง และมีพรสวรรค์ในด้านวรรณกรรม มีความชำนาญทางด้านนี้เป็นพิเศษงานส่วนใหญ่ท่านครูบาชอบสร้างเจดีย์เพราะท่านบอกว่าสร้างแล้วมีคนกราบไหว้ ลองลงมาก็คือการสร้างโบสถ์ วิหาร กุฏิ ศาลา สะพาน และเสนาสนะต่าง ๆ ผลงานทางด้านการก่อสร้างของท่านครูบาคำหล้า สํวโร และท่านครูบาอินถา สุทนฺโตนั้น จะขอนำมากล่าวตามลำดับ ดังต่อไปนี้

1. สร้างเจดีย์โบสถ์ วิหาร กุฏิ หอฉัน กำแพง บันไดนาค ถังกักเก็บน้ำฝน และเสนาสนะต่าง ๆ ณ วัดพระธาตุจอมสักสังวราราม ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
2. สร้างวิหารและบูรณะพระธาตุวัดพระธาตุเจดีย์คำ ตำบลเจดีคำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
3. สร้างเจดีย์วัดกู่แก้ว ตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียวราย
4. สร้างเจดีย์วัดพระธาตุดอยเขาควายพร้อมทั้งกุฏิ หอฉัน บันไดนาค และยักษ์ 2 ตน ถังเก็บน้ำฝน และเสนาสนะอื่น ๆ บนดอยเขาควาย ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
5. สร้างวิหารวัดพระเจ้านั่งดิน ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
6. สร้างเจดีย์วัดพระแก้ว ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
7. สร้างเจดีย์วิหารวัดพระธาตุภูซาง ตำบลภูซาง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
8. สร้างเจดีย์ขุนบง ตำบลสบบง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
9. สร้างเจดีย์เด่นหล้าจอมสวรรค์ ตำบลยางฮอม อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
10. สร้างเจดีย์ วิหาร วัดพระธาตุปูล้าน ตำบลไม้ยา อำเภอเมืองพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย
11. สร้างเจดีย์ป่าตาล ตำบลป่าตาล อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
12. สร้างพระธาตุ และวิหารวัดพระธาตุขิงแกง ตำบลจุน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา
13. สร้างเจดีย์วัดจอมทอง ตำบลปล้อง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
14. สร้างสะพานข้ามแม่น้ำพุง ตำบลป่าแงะ อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย
15. สร้างเจดีย์ปูขวาง ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
16. สร้างวิหารวัดพระธาตุจอมสวรรค์ บ้านสันขี้เหล็ก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
17. สร้างพระธาตุศรีมหาโพธิ์ วัดพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลเวียงอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
18. สร้างเจดีย์วัดนาซาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
19. สร้างเจดีย์โบสถ์ วิหาร หอฉัน และเสนาสนะอื่น ๆ วัดวังถ้ำแก้ว ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
20. สร้างเจดีย์วัดนาหนุน ตำบลแสนทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
21. สร้างวิหารวัดสะเกิน ตำบลยอด อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน
22. สร้างวิหาร กุฏิ ศาลา หอฉัน และเขื่อนกั้นน้ำวัดพระธาตุขุนห้วยสวดโดยการฝังท่อแอสร่อน นำเอาน้ำที่กั้นไว้นั้นไปใช้ในหมู่บ้านแวนโค้ง ทั้ง 2 หมู่บ้าน มีระยะทางไกล 3 กิโลเมตรและยังได้พบกระแสน้ำที่ไหลเข้าใกล้กุฏิของท่านครูบาคำหล้า นำมาให้ในบริเวณสำนักปฏิบัติธรรม วัดพระธาตุขุนห้วยสวดอรัญญวาสีสังวราราม ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
23. ในปี พ.ศ. 2532 ท่านครูบาคำหล้าได้มีความดำริจะสร้างพระเจดีย์ประดิษฐานไว้บนดอยห้วยขุนสวด ได้ขอรถจากผู้มีจิตศรัทธาไปทำการปรับพื้นที่บริเวณนั้น แต่ปลายปีนี้เองที่ท่านครูบาคำหล้าได้อาพาธจนต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล การก่อสร้างจึงต้องต้องพักไว้


14. การเดินทางไปเยี่ยมแดนพุทธภูมิ (อินเดีย-เนปาล)

ในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 ท่านครูบาคำหล้า สํวโร พร้องทั้งคณะของท่านอันมีพระมหาหมื่น ปญฺญาธโร(ปัจจุบันคือพระครูศรีปริยัติวิธาน รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย) วัดพระสิงห์ พระครูอนันทขันติคุณ วัดเจ็ดยอดเชียงราย และอุบาสกอุบาสิกา มีพระภิกษุจำนวน 6 รูป และฆราวาส 21 คน ได้เดินทางไปนมัสการพุทธสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง คือ

1. สถานที่ประสูติ ตั้งอยู่สวนลุมพินี ตำบลรุมมินเดย์ เขตประเทศเนปาล
2. สถานที่ตรัสรู้ ตั้งอยู่ที่พุทธคยา ตำบลคะยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
3. สถานที่แสดงประฐมเทศนาคือธรรมจักกัปปวัตนสูตร ตั้งอยู่ป่าอิสิปนมฤคทายวัน ตำบลสารนาถ ใกล้กรุงพาราณสี รัฐ ยู.พี. ประเทศอินเดีย
4. สถานที่พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพาน ตั้งอยู่ที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินาคาร์ รัฐ ยู.พี. ประเทศอินเดีย

การเดินทางไปเยี่ยมดินแดนพุทธภูมิครั้งนี้ท่านครูบาเล่าว่าได้ประโยชน์มหาศาล เพราะได้ไปเห็นเทวทูตทั้ง 4 และไปพบสัจธรรม หากได้ไปประเทศอินเดียมาแล้วจะมีความซาบซึ้งในเรื่องพระพุทธานุสติและยิ่งเพิ่มความเคารพเลื่อมใสในพระพุทธเจ้ามากขึ้น ท่านครูบาคำหล้ายังได้นำเอาดินจากพุทธสังเวชนียสถานทั้ง 4 และดินจากปูชนียสถานที่สำคัญแห่งอื่น ๆ เอามาผสมกับเกศาของท่านและครูบาอินถาสร้างเป็นพระพิมพ์รูปเหมือน 2 หน้าของครูบาเพื่อแจกให้แก่คณะศรัทธาญาติโยมที่เคารพนับถือท่าน จะได้นำเอาไปสักการบูชา ในงานปอยหลวงคือฉลองวิหาร และอุโบสถ วัดพระธาตุจอมสักสังวราราม เพราะการทำบุญฉลองเป็นงานใหญ่ในปีพ.ศ. 2521 เมื่อท่านครูบาอยู่ ณ สถานที่ใดพอสมควรแล้วท่านก็จะย้ายไปอยู่ที่สถานที่แห่งใหม่อีก แห่งสุดท้ายที่ท่านพำนักอยู่นานที่สุดคือ วัดพระธาตุขุนห้วยสวดอรัญวาสีสังวราราม บ้านใหม่เจริญไพร ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

15. ธรรมะโอวาทของครูบาคำหล้า

ท่านครูบาคำหล้านั้น นอกจากจะเป็นนักปฏิบัติธรรม มีศิลาจารวัตรที่เคร่งครัดแล้ว ยังมีปฏิภาณไหวพริบในการสั่งสอนในเวลาการแสดงธรรมเทศนาท่านจะยกเอาคำสุภาษิตบ้าง สำนวนคำพังเพยบ้าง บางคำก็มีคำพื้นเมืองคือภาษาถิ่นเป็นถ้อยคำที่เข้าใจได้ง่าย ๆ คนฟังก็ไม่รู้สึกเบื่อ และคนฟังก็ตั้งใจฟังอยู่ในอาการอันสงบ เป็นที่น่าเสียดายที่การจัดพิมพ์หนังสือคราวนี้ไม่ได้รวบรวมพระธรรมเทศนาที่ท่านครูบาเทศนาในโอกาสต่าง ๆ มาพิมพ์ไว้ คงจะได้จัดทำในโอกาสอันสมควรต่อไป

ในด้านธรรมะสำหรับใช้ปฏิบัตินั้น ท่านมักจะสอนธรรมะที่ง่าย ๆ เช่นเรื่องบุญกิริยาวัตถุคือ เรื่องการทำบุญให้ทาน การรักษาศีล และการเจริญสมาธิภาวนานั้นท่านครูบามักจะสอนให้ภาวนาบทว่า พทฺโธ พทฺโธ พทฺโธ บ้างครั้งก็สอนให้ใช้บทว่า ยุบหนอ พองหนอ บางครั้งท่านก็สอนให้เจริญ อานาปานสติกัมมัฏฐาน คือการกำหนดลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ ข้อสำคัญท่านครูบา ก็จะแนะนำว่าอย่ายึดติดในสำนักนั้นสำนักนี้ดีกว่ากัน จงทำจิตใจให้สงบระงับ มีจิตใจที่ใสสะอาด ปราศจากกิเลศนิกรณ์ธรรม ไม่เกิดการฟุ้งซ่านก็เป็นการดีที่สุด ท่านครูบาบอกว่านักปฏิบัติธรรมทั้งหลายควรจะปิดทวาร คำว่าทวารหมายถึงประตูเข้าออกของกิเลศคือปิดกายทวาร สิ่งที่ผ่านเข้าทางกาย ปิดวจีทวาร สิ่งที่ผ่านทางวาจา ปิดมโนทวาร สิ่งชั่วร้ายที่ผ่านเข้าทางใจจะต้องปิดกั้นมันหมดเพื่อทำจิตใจให้เป็นสมาธิ เมื่อจิตใจเป็นสมาธิ ปัญญาก็จะเกิดมีขึ้นมาเอง และนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย จะต้องยินดีในสถานที่สงบเงียบเช่นในป่า ใกล้ภูเขาหลีกเว้นจากการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เพราะธรรมให้เกิดความวุ่นวาย อย่าเห็นแก่การกิน การนอน การคุย การเล่น แม้แต่วิทยุ โทรทัศน์ ตลอดถึงหนังสือพิมพ์ก็ควรงดดู งดอ่าน จะอ่านก็ควรเป็นหนังสือธรรมะเท่านั้น ท่านยังพูดตำหนิพระเณรที่ชอบดูทีวีไม่สนใจข้อวัตรปฏิบัติของสมณะที่ดีชอบดูรายการมวยและส่งเสียงดังทั่ววัด ชอบเล่นหวย ซึ่งเป็นการพนันอีกชนิดหนึ่ง ล้วนแต่อยู่ในประเภทกิเลศหนาปัญญาหยาบทั้งสิ้น

มีคนไปขอเลขขอหวยกับท่านครูบาคำหล้า ท่านจะหัวเราะและพูดว่า เห็นเราเป็นคนตาทิพหรือ ทำไมหนอ มนุษย์เราชอบรวยทางลัดมีความขี้เกียจไม่ขยันทำการงานเงินทองจะหลั่งใหลมาเองได้อย่างไรกัน ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างขอร้องอ้อนวอนได้ละก้อพระพุทธเจ้า ก็ไม่ต้องบำเพ็ญบารมีอะไร ก็คงอ้อนวอนขอร้องเป็นพระพุทธเจ้าเอาได้เลย

16. ของดีที่ครูบา ให้แก่พุทธบริษัท

มีประชาชนเป็นจำนวนมากมีความเคารพเลื่อมใสในท่านครูบาคำหล้าที่ตั้งใจไปทำบุญไปฟังธรรมะจากท่านก็มีอยู่ แต่ก็มีคนบางพวกที่เข้าใจว่า ท่านเป็นนักบุญบ้างเป็นพระอรหันต์มีวาจาศักดิ์สิทธิ์บ้าง มักจะไปรบกวนขอของดีจากท่านครูบา ท่านครูบาก็จะถามว่า เห็นเราเป็นคนวิเศษหรือ ถ้ามีคนไปขอหวยว่า งวดหน้าเลขจะออกอะไรขอเมตตาบอกด้วยเถิด ท่านครูบา จะหัวเราะคงจะนึกขำคนถามแล้วท่านก็จะถามคนนั้นว่า รู้จักคำว่าอบายมุขไหม แล้วท่านครูบา ก็จะอธิบายคำว่าอบายมุขให้ฟังว่า การเป็นนักเลงสุรา นักเลงหญิง นักเลงเล่นการพนัน แม้แต่การเล่นหวยก็สงเคราะห์เข้าใจในการเล่นการพนัน มักมีแต่ความวอดวายฉิบหายผิดหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า อย่าได้เล่นเป็นอันขาด พอเข้าใจไหม อนึ่ง จะขอนำเอาคติธรรมคำสอนของท่านครูบาคำหล้า ซึ่งได้พูดไว้ในโอกาสต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นคติสอนใจและนำไปเป็นข้อประพฤติปฏิบัติได้เป็นอย่างดี

คติสอนของท่านครูบาคำหล้า สํวโร

1. คนเรานั้น โลกีย์บ่หลุด โลกุตตร์บ่ได้
หมายความว่า มนุษญ์เราไม่สามารถจะพ้นจากโลกนี้ไปได้ง่าย แลไม่สามารถจะบำเพ็ญเอาโลกุตรสมบัติ คือ มรรค ผล นิพพาน อันเป็นโลกุตรธรรมชั้นสูงได้

2. จะยะอะหยังหื้อยะแต๊ ๆ กันยะเลาะแหละ มันบ่จ่างปอกิ๋น
หมายความว่า ถ้าท่านจะทำสิ่งใดก็ขอให้ทำสิ่งนั้นอย่างจริงจัง อย่าสักว่าทำเล่น ๆ ถ้าทำจริงแล้วทุกอย่างก็จะสำเร็จจะมั่งมีเหลือกินเหลือใช้

3. สัญชาตญาณของสัตว์ทั้งหลาย มันมีแต่เซาะหากิ๋นกับตั๋วต๋ายเต่าอั้น
หมายความว่า ธรรมดาว่าสัตว์ทั้งหลายนั้น มีปกติแสวงหาอาหารและกลัวแต่ความตายเท่านั้น แต่สำหรับมนุษย์เรานั้นจะต้องมีสติปัญญา รู้จักแก้ไขอุปสรรค์ปัญหาดีกว่าสัตว์เหล่านั้น

4. ยากอะไรไม่ยากเท่าปฏิสังขรณ์ ถอนอะไรไม่ยากเท่าถอนมานะ ละอะไรไม่ยากเท่าละอวิชชา
หมายความว่า ถ้าทำสิ่งใดไว้ หากมันชำรุดทรุดโทรม จะไปทำการซ่อมแซมขึ้นมาใหม่มันยากมาก คนมีทิฏฐิมานะจัด มักเอาใจยากเพราะเขาจะยึดเอาความคิดเห็นตนฝ่ายเดียว เหตุที่คนไม่บรรลุพระนิพพาน เพราะมีกิเลศหนาถูกอวิชชาคือความโง่เหลาห่อหุ้มจิตใจไว้

5. อย่าเป็นคนใหญ่เพราะกำข้าว อย่าเป็นคนเฒ่าเพราะอยู่เมิน
หมายความว่า คนเราเติบโตขึ้นมาได้เพราะการกินอาหาร แต่เมื่อโตขึ้นมาแล้วต้องรู้จักคิด รู้จักทำ รู้จักใช้สติปัญญา มีเหตุผล เวลาแก่เฒ่าต้องรู้จักจำศีลภาวนา อย่าห่วงแต่ลูกหลานหรืออาศัยอยู่ไปเป็นวัน ๆ ไม่ทำประโยชน์อันใดไว้

6. เกิดเป็นคนจงมืนตากว้างผ่อตางไกล๋
หมายความว่า คนเราเกิดมาเป็นมนุษย์ ถือว่าแสนประเสริฐแล้ว อย่าได้เป็นคนมีใจคับแคบ อย่าเห็นแก่ตัว ต้องเห็นแก่ส่วนรวม ต้องทำตัวให้เป็นประโยชน์แก่ชาติ แก่ศาสนา แก่แผ่นดินที่ตนเกิด

7. มืนตาแล้วต้องสว่างไป อย่าเป็นคนรกโลก
หมายความว่า คนเราได้เกิดมาในโลกนี้ ถือว่ายังมีกิเลศตัณหาอยู่ ก็ต้องทำลายล้างกิเลสออกจากสันดานเพื่อจะได้ไปเกิดในภพในชาติที่ดีมีพระนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า อย่าทำตนเป็นเสี้ยนหนาม หรือเป็นคนไม่มีศีลธรรม ถือว่าเสียชาติเกิดรกแผ่นดินเปล่า ๆ

17. ท่านครูบาคำหล้าอาพาธ

ปลายปีพ.ศ. 2532 ท่านครูบาคำหล้า สํวโร ได้เจริญอายุถึง 73 ปี 33 พรรษา นับตั้งแต่ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีประชาชนได้ยกย่องสักการบูชาเป็นจำนวนมาก ท่านอยู่ในวัยชราแม้กิจนิมนต์นอกวัด ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ท่านก็จะไม่ไป ท่านครูบา ได้เจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ อันเป็นธรรมดาของสังขารตามปกติ ถ้าไม่เจ็บป่วยมากท่านครูบา จะไม่ยอมไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยเฉพาะโรคเก๊าที่เท้าของท่านนับว่าเป็นโรคที่คอยรบกวน ท่านครูบามาตลอด ซึ่งท่านก็พยายามรักษาเองมาโดยตลอดโดยการใช้ยาสมุนไพรบ้าง ยาแผนปัจจุบันบ้าง บางครั้งก็นั่งสมาธิบำบัดโรค ต่อมาท่านได้ป่วยเป็นโรคลำไส้อักเสบอีก ทำให้ท่านฉันอาหารได้น้อยลง ทำให้สุขภาพไม่ค่อยจะแข็งแรง แม้จะพยายามรักษาโดยวิธีการต่าง ๆ ก็มีอาการพอทุเลาลงบ้างเท่านั้น บรรดาคณะศิษยานุศิษย์ คณะญาติ และคณะศรัทธา จึงได้ขออาราธนาท่านไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลหลายแห่ง เช่น โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา โรงพยาบาลลานนา จังหวัดเชียงใหม่ พอมีอาการทุเลาขึ้น ท่านครูบาก็ขอออกจากโรงพยาบาลลานนา เพื่อมารักษาโตอยู่ที่วัดพระธาตุขุนห้วยสวด ต่อมาไม่นานนักอาการป่วยของท่านก็กำเริบขึ้นอีก ฉันอาหารได้น้อยลง คณะศิษย์ และคณะศรัทธาที่เคารพก็นิมนต์ครูบา ไปพักรักษาตัวอยู่ ณ ตึกสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย ประมาณ 1 สัปดาห์ อาการก็ไม่ค่อยจะดีขึ้น ฉันอาหารไม่ค่อยได้สุขภาพร่างกายผอมลง ถึงกระนั้นครูบาก็ข่มเวทนาความรู้สึกเจ็บป่วยได้ แสดงว่าด้านพลังจิตของท่านเข้มแข็งมาก อาการป่วยของท่านทรุดลงเรื่อย ๆ ย่างน่าวิตก จนท่านเอ่ยปากพูดว่าป่วยครั้งนี้คงจะเอาไม่อยู่นะ

18. ชีวิตครูบาคำหล้า ตอนอวสาน วันมหาวิปโยคของชาวพุทธ

เมื่อเวลาเช้าของวันจันทร์ ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2533 เวลา 06 : 59 น. ท่านครูบาคำหล้า สํวโรก็สิ้นลมปาณได้ถึงกาลมรณภาพ ละสังขารจากพวกเราผู้เป็นพุทธบริษัท ไปด้วยอาการอันสงบ แผ่นดินแห่งพุทธธรรม ได้สูญเสียพระมหาเถระผู้ใหญ่รูปหนึ่ง ผู้มีปฏิปทาและศิลาจารวัตรอันงดงามหาที่ตำหนิไม่ได้ ปฏิบัติตนเคร่งครัดด้านพระธรรมวินัย มีความมักน้อยสันโดษ มีเมตตาธรรมพรหมวิหารอันล้ำเลิศ เป็นมนุษย์ทรัพยากรบุคคลอันล้ำค่า ที่ไสวสว่างอยู่ในท่ามกลางดวงใจของบรรดาชาวพุทธทุกหมู่เหล่า ท่านเป็นพระนักปฏิบัติฝ่ายวิปัสสนาธุระ อธิษฐาน ฉันแต่มังสวิรัติวันละมื้อเดียวตั้งแต่อุปสมบทมาตลอดชีวิต และทำความดีมาโดยมิได้มุ่งหวังสมณฐานันดรศักดิ์ใด ๆ เลย เล่ากันว่าในวันที่ครูบาคำหล้าได้มรณภาพ ณ สำนักสงฆ์ปฏิบัติธรรมวัดพระธาตุขุนห้วยสวด พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ต่างกล่าวยืนยันกันว่า ก่อนเที่ยงของวันนั้น บริเวณวัด ซึ่งใกล้กับขุนเขาห้วยขุนสวดมีเสียงสั่นคล้ายแผ่นดินไหว ต่างก็มีอาการสะดุ้งตกใจ มองไปทางอากาศก็เห็นท้องฟ้ามืดคลึ้มคล้ายจะมีฝนตกหนักทั้งวัน แต่ก็ไม่มีฝนตกลงมาเลย สร้างความแปลกใจยิ่งนัก นับว่าเป็นเรื่องที่น่ามหัศจรรย์ยิ่งนัก

หลวงพ่อครูบาคำหล้า สํวโร ได้ถึงกาลมรณภาพเมื่องวันที่ 8 เดือน มกราคม พ.ศ. 2533 เวลา 06.59 น.ได้อาราธนาศพของท่าน ไปตั้งบำเพ็ญกุศล ณ วัดเชตุพน (วัดสันโค้งน้อย) เชียงราย จนถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 เพื่ออนุวัตรตามคำสั่งของท่าน ก่อนจะมรณภาพ เคยสั่งการไว้ว่าท่านมรณภาพที่ใดก็ตามขอให้นำศพท่านไปเผาที่ห้วยขุนสวด เพราะเป็นสถานที่ครูบาได้เลือกไปอยู่ประจำเพื่อปฏิบัติธรรม เป็นแห่งสุดท้ายในวัยชราของท่าน ดังนั้นท่านคณะสงฆ์ อันมีท่านเจ้าคณะจังหวัดเชียงรายพร้อมทั้งพระเถระนุเถระทั้งหลาย ฝ่ายฆราวาสอันมีคณะศรัทธาประชาชนผู้ที่มีความเคารพเลื่อมใสในท่านครูบาจึงได้ขออาราธนาศพของท่านเคลื่อนย้ายไปตั้งบำเพ็ญกุศล ณ วัดขุนห้วยสวด ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

ขบวนการแห่ศพของท่านครูบาคำหล้า สํวโร ได้เคลื่อนออกจากวัดพระฌชตุพน จังหวัดเชียงราย ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 ผ่านไปตามถนนสายเชียงราย เชียงคำ จนถึงวัดห้วยขุนสวด ระยะทางประมาณ 85 กิโลเมตร โดยออกจากเชียงราย เมื่อเวลา 12.00น. ได้ไปถึงวัดขุนห้วยสวด เวลา 22.00 น. ของวันเดียวกันใช้เวลานานราว 10 ชั่งโมง นับว่าเป็นการเคลื่อนศพที่ยิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ที่ไม่เคยพบเคยเห็นที่ใหนมาก่อนเพราะตลอด 2 ฟากทางนั้น จะมีคณะประชาชนที่มีความเคารพเลื่อมใสในตัวครูบาจะถือข้าวตอกดอกไม้มาโปรยมากราบไหว้บูชา สักการะ และร่วมบริจาคเงินทองกำลังศรัทธาทำให้ขบวนการแห่ศพของท่านครูบาต้องเคลื่อนไปอย่างช้า ๆ เมื่อถึงอำเภอเชียงคำ ณ ที่นั่น นายทองคำ เขื่อนทา ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา พร้อมด้วยคณะข้าราชการ พ่อค้าประชาชนหลายหมู่บ้าน ชาวเขาหลายเผ่าและคณะสงฆ์อำเภอเชียงคำ ตลอดถึงผู้ที่อยู่ใกล้เคียงก็ได้มาคอยต้อนรับเพื่อเคารพศพท่านครูบา มีการนำเอาตุงนับจำนวนหลายร้อยพร้อมทั้งมีขบวนกองเกียรติยศเดินนำหน้าขบวนศพของท่านครูบาไปจนถึงวัดพระธาตุขุนห้วยสวด เหตุการณ์ครั้งนั้นแสดงออกถึงความเคารพ ความเลื่อมใส ความกตัญญูที่ทุกคนได้แสดงออกให้ปรากฏสุดที่จะบรรยายได้

การตั้งศพของหลวงพ่อครูบา ได้บำเพ็ญกุศล ณ วัดพระธาตุขุนห้วยสวด มรณภาพเมื่อปีพ.ศ. 2533 ฌาปณกิจเมื่อปี พ.ศ. 2535

ครับ....การมรณภาพของท่านที่จังหวัดเชียงราย ตอนที่เค้าอัญเชิญสังขารของท่านมาที่อำเภอเชียงคำ ซึ่งอยู่ห่างกันราวๆ ๘๒ กิโลเมตรนั้น มีประชาชนเรือนหมื่นเดินเท้าตามขบวนอัญเชิญสังขารของท่านจากเชียงรายมายังอำเภอเชียงคำ ในขณะที่ผ่านอำเภอต่างๆก็มีประชาชนที่ทราบข่าวได้ออกมาสักการะร่างของท่านกันเต็มไปหมด และบ้างก็พากันเดินเท้าตามมาจนถึงอำเภอเชียงคำ บ้างก็เดินไปร้องไห้ไป บ้างก็พนมไหว้มาตลอดทาง ปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่เคยปรากฏมาก่อนในผืนดินล้านนาตอนบนแห่งนี้ นี่แหละครับ บารมีของพระอริยเจ้า ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มาตลอดทั้งชีวิตของท่าน จนถึงตอนนี้ ชื่อของครูบาคำหล้าก็ยังเป็นที่เล่าขานของคนเฒ่าคนแก่แถบนั้น ผมไปปั่นจักรยานที่เชียงคำก็ยังได้ยินผู้คนกล่าวถึงท่านอยู่เสมอ

เหล่านี้ทำให้ผมไม่แปลกใจเลยว่า ในบรรดาเหรียญบูชาในพื้นแผ่นดินล้านนา เหรียญครูบาคำหล้า ปี ๒๕๐๕ กำลังพุ่งทยานขึ้นจนได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในขณะนี้

ราคาในท้องถิ่นตอนนี้ให้เช่าบูชาอยู่ที่ ๒๐๐๐ ถึง ๒๕๐๐ บาท แต่ขอโทษนะครับ หาเหรียญไม่ได้ง่ายๆนัก เพราะเป็นเหรียญที่มีประสบการณ์สูง และเป็นที่หวงแหนของคนที่เป็นเจ้าของอย่างมาก พวกทหารที่ทำงานในค่ายแถวเชียงคำถึงกับห้อยเดี่ยวกันเต็มค่ายเลยครับ เพราะประสบการณ์เรื่อง "เหนียว" นั้น มีสูงมาก

ถ้าไปปั่นจักรยานแถวๆเชียงราย เชียงคำ แล้วเจอ แนะนำให้เก็บได้เลยครับ เป็นอีกเหรียญที่ขึ้นคอได้อย่างสบายใจ อาราธนาท่านตอนออกทริปยาวเพื่อกันอุบัติเหตุ และป้องกันอะไรก็ตามที่มองไม่เห็นตัวครับ

ปล. ตอนนี้มีเหรียญปลอมออกมาแล้ว ให้ระวังด้วย เหรียญแท้จะเป็นไปตามรูปข้างล่างนี้ เนื้อเหรียญเป็นทองฝาบาตรสีเหลืองสวย และมีกะไหล่เงิน สังเกตตรงสระ อา จะมีหัวสองแฉกเป็นลิ้นงู และต้องดูรูปหน้าของท่านไว้ให้ดี ของปลอมจะทำไม่เหมือน นั้นละคือเหรียญที่ทันท่านปลุกเสก และยังมีเหรียญเสริมแจกตอนงานศพอีก แต่หน้าตาไม่เหมือนท่านและก็ไม่มีตำหนิดังที่บอกกล่าว แต่ก่อนของแท้หาง่ายแต่ปัจจุบันกลายเป็นของหายากและมีราคาไปแล้ว พุทธคุณเหรียญดีทางแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี เป็นเหรียญที่มากด้วยประสบการณ์แบบไม่ต้องให้เซียนมาเขียนเชียร์ก็ดัง เพราะคนพื้นที่เค้าประสบกันมามาก ใครมีโอกาสเป็นเจ้าของโปรดเก็บไว้ให้ดี

เหรียญครูบาคำหล้าออกปี 2505 ที่วัดจันดี ซึ่งในด้านหลังเหรียญได้ระบุไว้เช่นนี้แต่ไม่ได้เกี่ยวเนื่องอะไรกับหลวงพ่อคล้าย วัดสวนขันเลยนะครับ เพียงแค่ว่าตอนสมัยนั้นทางวัดไปให้ช่างเขาปั๊มเหรียญแล้วเผอิญมีบล็อคของหลวงพ่อคล้ายที่ออกวัดจันดีอยู่ ทางกรรมการจึงให้ใช่แม่พิมพ์บล็อคนั้นแต่ย่อขนาดให้เล็กลงหน่อย เพราะวัดชื่อตรงกันคือวัดจันดี เท่านั้นเอง และได้อาศัยแบบของหลวงพ่อคล้ายเป็นต้นแบบ ครูบาคำหล้าพลังจิตท่านนั้นกล้าแกร่งขนาดที่ว่าคนท้องถิ่นแขวนเหรียญท่านโดนฟ้าผ่ายังไม่เป็นอะไรเลย หรือ ที่เชียงรายเด็กเล็กห้อยเหรียญท่านตกน้ำเป็นชั่วโมงๆกว่าคนจะมาพบ เด็กยังไม่จมน้ำตายเลย และยิ่งเรื่องแคล้วคลาดกับอุบัติเหตุบนท้องถนนถ้าจะเล่ายิ่งกว่านิยายเสียอีก อันหลังนี่เหมาะกับชาวจักรยานอย่างพวกเรา ฮิฮิ


รูปภาพ

รูปภาพ
แก้ไขล่าสุดโดย เสือโก๋หน้าวัง เมื่อ 26 ธ.ค. 2009, 22:53, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง
เห็นทุกข์ตัวเดียว ทุกอย่างจะดีเอง....
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือโก๋หน้าวัง
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1279
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ส.ค. 2008, 19:59
Tel: 081XXXXXXX
team: Bike to Work
Bike: Trek 6500

Re: กระทู้นี้ไม่เกี่ยวกับจักรยาน และไม่น่าจะมีอะไรที่น่าสนใจ

โพสต์ โดย เสือโก๋หน้าวัง »

ก่อนจะลงใต้ มาแวะที่นนทบุรีก่อนครับ เหรียญแนะนำอีกเหรียญหนึ่งที่มีประสบการณ์ด้านความ “เหนียว” ก็คือ

เหรียญแป๊ะยิ้ม ของหลวงพ่อทองสุข ปรมาจารย์รุ่นที่สาม แห่งสำนักวัดสะพานสูง อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ก็เหมือนอย่างที่ผ่านมา ผมจะแนะนำพระดี เช่าบูชาไม่แพง เพื่อให้พี่น้องได้ติดตัวใช้กัน ตอนออกทริปทางไกล (ถ้าต้องการ)

(อันที่จริงมีหลายเหรียญของหลายจังหวัดก็ดี แต่ที่ไม่ได้แนะนำ ทั้งนี้เนื่องจากราคาไปไม่กลับแล้ว และไม่อยู่ในวิสัยที่จะหาได้แล้ว อีกทั้งของปลอมยังมีมากครับ)

สำหรับองค์นี้ (ไม่ใช่ในภาพนะครับ) คุณตารับมาจากมือหลวงพ่อทองสุขหนึ่งกำมือใหญ่ๆ น่าจะเป็นร้อยเหรียญได้มั้งครับ แต่ตอนนี้แจกไปหมดแล้วครับ หลวงพ่อทองสุขท่านบอกว่า ให้เอานี่ติดตัวไว้ หน้าหลวงปู่เอี่ยมไม่สวย แต่เหรียญนี้ดีจังว่ะ เรียกว่าถ้าแขวนแล้วตายโหง ไม่ต้องมานับถือกัน แต่มีข้อแม้ว่าต้องไม่ผิดครูด้วยนะคือว่า

:arrow: 1. ต้องไม่ละเมิดลูกเมียใคร
:arrow: 2. ต้องไม่ด่าบุพการีใคร
:arrow: 3. ต้องไม่ลบหลู่ครูบาอาจารย์ของใคร
:arrow: 4. ห้ามใส่เข้าซ่องโสเภณี และถาจะมีอะไรกับภรรยาให้ถอดทุกครั้ง

นอกนั้นไม่ห้าม ถ้าไม่เชื่อ ผิดครู ยิงออกทุกราย

กรณีบางระจัน เป็นตัวอย่าง....."ส่วนพระอาจารย์ธรรมโชติ์ ผู้กระทำสายสิญจน์มงคล ผ้าประเจียดแลตะกรุดแจกจ่ายให้กับคนในค่าย เมื่อแรกก็มีคุณอยู่ยงคงกระพันแคล้วคลาดป้องกันอันตรายได้ขลังอยู่ แต่ต่อมาภายหลัง ผู้คนมาอยู่ในค่ายมากสำส่อน ที่นับถือแท้บ้าง ไม่แท้บ้าง ก็เลยพาลเสื่อมตบะเดชะลง ที่อยู่คงบ้าง ก็ต้องอาวุธบาดเจ็บล้มตายบ้าง แลตัวพระอาจารย์ธรรมโชติ์นั้น บ้างก็ว่ามรณภาพอยู่ในค่ายบ้างก็ว่าหายสาปสูญไป หาได้พบศพไม่"

กลับมาที่เหรียญนี้อีกครั้ง....นี่เป็นอีกหนึ่งเหรียญที่คนไม่รู้ เซียนไม่สน เพราะไม่สวย จึงหาของปลอมยาก ราคาเช่าบูชา 500 -1000 บาท แล้วแต่สภาพเหรียญ ปัจจุบันหาได้ไม่ยาก ลองถามคนปากเกร็ดดูยังพอมีอยู่
69540-1.jpg
69540-1.jpg (29.19 KiB) เข้าดูแล้ว 8978 ครั้ง
69540-2.jpg
69540-2.jpg (31.55 KiB) เข้าดูแล้ว 8978 ครั้ง
แก้ไขล่าสุดโดย เสือโก๋หน้าวัง เมื่อ 28 ธ.ค. 2009, 14:33, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
เห็นทุกข์ตัวเดียว ทุกอย่างจะดีเอง....
รูปประจำตัวสมาชิก
โอ๋ นวมินทร์
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 65
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ส.ค. 2008, 11:12
Tel: 085-1599784
Bike: Trek 6500

Re: กระทู้นี้ไม่เกี่ยวกับจักรยาน และไม่น่าจะมีอะไรที่น่าสนใจ

โพสต์ โดย โอ๋ นวมินทร์ »

คราวหน้าถ้าจะเดินทางโดยรถไฟต้องขอยืมพี่เอกไปคล้องคอหน่อยละครับรถไฟจะได้ไม่ต้องสไตล์กัน ฮิฮิ
โก๋ วันไหนว่างไปดูกรุบ้านผมไหมสมบัติ ตา ปู่ พอดู ตอนนี้ต้องดูแลคนเดียว ไม่อยู่บ้านก็ต้องล็อคห้องกลัวน้องเขยมัน
เข้าไปหยิบ เซ็งเป็ด
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือโก๋หน้าวัง
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1279
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ส.ค. 2008, 19:59
Tel: 081XXXXXXX
team: Bike to Work
Bike: Trek 6500

Re: กระทู้นี้ไม่เกี่ยวกับจักรยาน และไม่น่าจะมีอะไรที่น่าสนใจ

โพสต์ โดย เสือโก๋หน้าวัง »

แขวนพระ สะสมพระต้องซื่อสัตย์ ไม่เอาของผู้อื่นที่เค้าไม่ได้ให้ครับ

"ไม่ใช่ของเรา อย่าเอาไป"

ถ้าเป็นของเรา ท่านจะตามมาอยู่กับเราเอง ไม่ต้องห่วง

:arrow: ถ้าเริ่มต้น ไปลักขโมยเอาของเขา ก็ผิดศีลข้อสองแล้ว
:arrow: ยิ่งไปโกหกเค้า ว่าพระปลอม แล้วหลอกเอาของเขามาก็ผิดศีลข้อสี่อีก
:arrow: ขโมยพระไปขาย โดนข้อหาขายพระกินไปอีก 1 กระทง หลวงพ่อทองสุขเคยบอกคุณตาว่า จะขายพระวัดอื่น หลวงพ่อไม่ว่า แต่สำหรับ วัดสะพานสูง หลวงพ่อขอบิณฑบาตรนะจ๊ะ

โดนไปสองสามข้อหา ไม่เวิร์กครับ

ของแถม .....
มีหลายคนชอบบอกว่าพระอยู่ที่ใจ ก็ถูก แต่ไม่ทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากว่าถ้าคนพูดไม่เคยดูใจตนเองว่าสกปรกโสมมขนาดไหน เหมาะที่จะเป็นที่อยู่ของพระหรือไม่ ถ้าสะอาดพระก็อยู่ ถ้าไม่สะอาด พระก็ไม่อยู่ บางคนศีลข้อเดียวยังรักษาไว้ไม่ได้ แล้วจะให้พระไปอยู่ในใจ อันนี้ก็ต้องบอกว่ากลับไปต่อหางแถวเลยนะเพื่อน

บ้างก็ว่าแขวนพระก็เกิดอุบัติเหตุตายออกเยอะไป อันนี้ก็ไม่เคยดูพฤติกรรมของคนแขวนว่า ทำผิดครูหรือไม่ ที่ท่านห้ามไว้ ทำได้หรือเปล่า ถ้าทำไม่ได้ ท่านก็คงช่วยอะไรไม่ได้ อันนี้ก็ทางใครทางมัน

บ้างก็ว่างมงาย สมัยนี้ไม่มีแล้ว ก็ต้องบอกว่า ข้าว่ามี และข้าจะงมของข้าเฟ้ย มีอะไรอะป่าว เอ็งไม่งมมันก็เรื่องของเอ็ง เพราะธรรมดานั้น เรื่องของเอ็งมันก็ไม่ใช่เรื่องของข้า และเรื่องของข้ามันก็ไม่ใช่เรื่องของเอ็ง ฮาฮา เฮิ้ก.....
เห็นทุกข์ตัวเดียว ทุกอย่างจะดีเอง....
รูปประจำตัวสมาชิก
rak monthon2
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 13925
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2009, 14:31
Tel: โทร โทรโทร ไม่ติดอย่าโทร
team: กินลมชมวิว
Bike: รถถีบมือสอง
ตำแหน่ง: ใต้ฟ้าเดียวกัน

Re: กระทู้นี้ไม่เกี่ยวกับจักรยาน และไม่น่าจะมีอะไรที่น่าสนใจ

โพสต์ โดย rak monthon2 »

พักขา แวะมาอ่านคุณโก๋บรรยายสักหน่อย... :P :P :P
ความพอดีอยู่ตรงไหน : หากเรารู้จักคำว่าพอ มันก็จะเป็นสิ่งที่ดี
************************************************************
มีคนกล่าวไว้ว่า หากท่าน วิ่งได้ไม่เร็วเท่ากับกระต่าย ก็ขอให้ท่าน จงขยันเดินให้ได้อย่างเต่า
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือโก๋หน้าวัง
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1279
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ส.ค. 2008, 19:59
Tel: 081XXXXXXX
team: Bike to Work
Bike: Trek 6500

Re: กระทู้นี้ไม่เกี่ยวกับจักรยาน และไม่น่าจะมีอะไรที่น่าสนใจ

โพสต์ โดย เสือโก๋หน้าวัง »

อันนี้เป็นอีกองค์ที่แน่นอนเรื่องมหาอุด แบบไร้ข้อกังขา ถ้ามีปัญญาหามาได้ ก็ขอแนะนำครับ

พระปิดตาหลวงปู่เปีย วัดค้างคาว จังหวัดนนทบุรี

เมื่อราวๆ 30 ปีที่แล้ว ด้วยความเป็นหนุ่มเมืองนนท์ คุณตาแกก็จะมีกิจกรรมยามว่างอย่างหนึ่งกับเพื่อนๆก็คือ “ยิงพระ” ครับ พี่น้องอย่าเข้าใจผิดว่าไปยิงพระยิงเณรนะครับ ยิงพระเครื่องครับ ทุกๆวันหยุด แกจะนัดเพื่อนไปยิงพระกันในสวนทุเรียนเมืองนนท์ คือว่าเอาพระไปผูกกับต้นไม้แล้วยิงด้วยปืนลูกโม่ ก่อนยิงต้องขอขมาพระก่อนทุกครั้ง หลายองค์ยิงไม่ออกก็จะเก็บไว้ แล้วบอกต่อๆกันไปว่าดี ให้ไปขอท่านมาอีกเพื่อติดตัวไว้ ส่วนองค์ที่ยิงออกก็จะเอาไปไว้ที่วัดเพื่อเป็นการแสดงความเคารพท่าน

มีวันหนึ่งได้พระปิดตาหลวงปู่เปีย วัดค้างคาว (อยู่ตรงข้ามกับวัดเข-มา คนละฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา) มาองค์หนึ่ง แกก็เลยนัดเพื่อนๆเอาปืนลูกโม่ที่ยืมของพ่อมาไปลองยิงดู เชื่อไม้ครับว่าองค์อื่น เวลายิงไม่ออกปืนจะดังแก๊รกๆๆ แต่ของหลวงปู่เปียนี่เล่นเอาปืนแตก โม่กระจุยหลุดกระจายเลยครับ ทุกคนที่เห็นตะลึงกันหมด ของท่านแรงจริงๆ ตั้งแต่นั้นมาแกเก็บเลย พระปิดตาหลวงปู่เปียนี่หนะ เคยเอาให้พรรคพวกไป สงสัยว่าพวกดันเอาไปใส่เข้าไปในซ่อง อยู่ดีๆพระแตกดังเปรี๊ยะ หักครึ่งเลยครับ แกเสียดายของๆแกชิปป๋งเลย

สำหรับ หลวงปู่เปีย วัดค้างคาว ท่านเป็นพระเกจิเมืองนนทบุรี รุ่นเดียวกับสมเด็จโต ท่านถือได้ว่าเป็นเกจิรุ่นพี่ หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง พระปิดตาของท่านถือได้ว่าหาตัวจริง ถึงยุคได้ ยากยิ่ง ซึ่งก็มีคนกล่าวไว้ว่าพระของหลวงปู่เนี่ยแหละที่เป็นต้นแบบ หรือแรงบันดาลใจให้กับหลวงปู่เอี่ยม ในการสร้างพระพิมพ์ปิดตา วัดสะพานสูง พระปิดตาบางพิมพ์ของท่านจะอุดตะกรุดเงินที่ท่านจารเองไว้ที่ก้นพระครับ สำหรับพิมพ์พระของท่านไม่มีใครขโมยไปได้ เพราะท่านแกะติดไว้กับไม้แผ่นในกุฏีของท่านครับ ถ้าจะเอาไปต้องงัดพื้นกุฏีเอาไปทั้งแผ่น

http://www.pralanna.com/boardpage.php?topicid=13676
แก้ไขล่าสุดโดย เสือโก๋หน้าวัง เมื่อ 31 ธ.ค. 2009, 13:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
เห็นทุกข์ตัวเดียว ทุกอย่างจะดีเอง....
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือโก๋หน้าวัง
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1279
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ส.ค. 2008, 19:59
Tel: 081XXXXXXX
team: Bike to Work
Bike: Trek 6500

Re: กระทู้นี้ไม่เกี่ยวกับจักรยาน และไม่น่าจะมีอะไรที่น่าสนใจ

โพสต์ โดย เสือโก๋หน้าวัง »

ไปแวะที่ระยองนิดหนึ่งดีกว่า วันนี้จะมาแนะนำสุดยอดของขุนแผนแห่งยุคปัจจุบัน อันว่าศักราชนี้เห็นจะไม่มีใครเกิน

ขุนแผน ผงพรายกุมาร ของ หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่


รูปภาพ

ที่เฮี้ยนสุดๆในเรื่องของเมตตามหานิยม โชคลาภ และ แคล้วคลาด ใครแขวนพระของหลวงปู่ทิมแล้ว เรียกได้ว่าจะมีประสบการณ์แบบเฮี้ยนๆทุกราย เพราะของๆท่านแรงจริงๆ ตอนนี้ราคาเช่าหาดันทะลุหลักหมื่น หรือองค์สวยๆ ทะลุแสนไปเรียบร้อยแล้วครับทั่น
ไอ้ราคาไม่เท่าไหร่ แต่กล้าห้อยหรือเปล่าเหอะ

เรื่องของเรื่องก็คือ เมื่อกลางปี 2515 หลวงปู่ท่านก็อยู่ของท่านดีๆ คณะกรรมการวัดละหารไร่ โดยมี นายสาย แก้วสว่าง ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นไวยาวัจกรประจำวัด ก็ได้ประชุมกันเรื่องการสร้างพระเครื่องโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการตอบแทนคุณความดีของชาวบ้านและสาธุชนทั่วไป ซึ่งเป็นผู้ที่มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินร่วมทำบุญกับวัดละหารไร่ โดยเฉพาะในงานผูกพัทธสีมาพระอุโบสถ วัดละหารไร่
ก็เลยไปกราบเรียนหลวงปู่ บอกว่าจะทำอย่างไรจะให้พระที่สร้างขึ้นมีพุทธคุณดีในทุกด้าน ซึ่งในการนี้หลวงปู่ทิมได้เปรยออกมาว่า สมัยก่อน ได้ค้นพบและศึกษาเรียนรู้จากคัมภีร์โบราณของลป.สังข์เฒ่า วัดละหารใหญ่ ซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่ของท่าน ซึ่งตามตำราได้กล่าวไว้ว่าหากได้ผงพรายกุมารมหาภูติผสมใส่ลงไปในพระเครื่องด้วย พระเครื่องที่สร้างขึ้นนี้จะมีความศักดิ์สิทธิ์มากขึ้นเพราะมีอานุภาพแห่งพรายกุมารมหาภูติแฝงอยู่คอยช่วยเหลือเอื้ออำนวยพร กรรมการจึงได้ขอให้หลวงปู่สร้างพระผงพรายกุมารออกแจกจ่าย

แต่อย่างไรก็ตาม การทำผงพรายกุมารฯ นั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ผู้สร้างจะต้องกำหนดฤกษ์ผานาทีตลอดจนพิธีกรรมต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามตำราบังคับเท่านั้น ซึ่งเคล็ดการจะเป็นเคล็ดการสร้างโดยนำภูติ(ที่ไม่ใช่ผี) ที่ยังไม่ถึงเวลาได้จุติเป็นมนุษย์ แล้วมีเหตุต้องมีอันเป็นไปก่อนเวลาอันควร (เรียกง่ายๆว่าตายตั้งแต่อยู่ในท้อง หรือเด็กตายทั้งกลม) มาอธิษฐานจิตบวชให้เป็นเทพเทวดาก่อน ซึ่งพระเกจิอาจารย์ที่ทำได้จะต้องสำเร็จธรรมชั้นสูงเท่านั้นและต้องมีพลังจิตอันแรงกล้า เมื่อภูติได้รับการบวชเป็นเทพ เราจะเรียกว่า "พ่อพลาย" ชื่อเต็มก็คือ "พ่อพรายมหาภูติ" ซึ่งจะมีฤทธิ์ มีเดช มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัวเอง และมีธรรมะและพุทธคุณของคุณพระและครูอาจารย์เป็นที่พึ่ง มาสิงสถิตย์อยู่ในพระเครื่องนั้น และคนที่แขวนพระจะต้องตั้งมั่นในพระรัตนตรัยและตั้งใจที่จะทำแต่บุญและกุศล เพื่อให้ภูติที่สถิย์อยู่ได้อนุโมทนาบุญ และเมื่อถึงเวลาภูตเหล่านั้นต้องไปจุติ จะได้ไปเกิดในที่สุขภพ หรือภพภูมิที่ดีนั่นเอง

เมื่อนำคุณเทพมารวมกับคุณพระ ก็จะทำให้ผู้ที่แขวนพระผงพรายกุมารมีประสบการณ์แปลก ๆ เหนือกว่าพระเครื่องทั่วๆครับ เพราะพ่อพลายจะออกมาช่วยในเรื่องที่เป็นบุญเป็นกุศล อาทิ มีอัยการคนหนึ่งแขวนพระขุนแผนผงพรายกุมารแล้วขับรถด้วยเร็วสูงเกือบไปชนคันหน้า โชคดีมีเสียงมากระซิบข้างหูบอกว่า "ระวัง" ก็เลยเบรกทันรอดไปครับ.. และถ้าจิตของผู้แขวนพระสามารถจูนได้กับพระก็ยิ่งดี เพราะจะมี sense พิเศษบางอย่างแบบว่าหากมีเหตุไม่ดีจะมีอาการให้รู้ครับ เช่นร้อนคอ หงุดหงิด ซึ่งเป็นอาการที่ผู้อาราธนาที่เข้าถึงจะทราบดี เสมือนเป็นเครื่องเตือนภัยพิบัติให้ทราบล่วงหน้า จากสิ่งต่างๆ เหล่านี้ตลอดจนประสบการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่เรื่อย ๆ ทำให้เกิดการเล่าขานแบบปากต่อปาก ตลอดจนผู้อาราธนาทำให้มีความต้องการพระแท้ ๆ ของ หลวงปู่ทิม โดยเฉพาะพระขุนแผนผงพรายกุมาร จึงทำให้ตอนนี้ค่าบูชาพระได้ขยับไปได้เรื่อยๆ แบบไม่หยุดแล้วครับ

อันที่จริง ไอ้เจ้าเคล็ดวิชาทำนองนี้ในบ้านเราจะมีพระเกจิอาจารย์เป็นที่รู้จักที่ทำได้โดยไม่เป็นอันตรายกับผู้อาราธนา ถ้าเป็นเกจิที่ล่วงลับไปแล้วก็มี หลวงพ่อเต๋ คงทอง แห่งวัดสามง่าม จ.นครปฐม ผู้สร้างกุมารทองอันโด่งดังจนถึงปัจจุบัน กับลป.ทิม อิสริโก แห่งวัดละหารไร่ จ.ระยองนี่ล่ะครับ ถ้ายังมีชีวิตอยู่ก็ หลวงปู่ชื่น วัดตาอี จ.บุรีรัมย์ และหลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ จังหวัดระยอง หรือชลบุรีนี่จำไม่ได้ องค์หลังนี่ท่านเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ทิมเอง

ชักมันส์แล้วมั้ยล่ะครับพี่น้อง มาเล่าต่อละกัน....ในปี 2515 นั่นเอง เมื่อหลวงปู่ทิมมีความต้องการที่จะทำผงพรายกุมารมหาภูติ เพื่อนำมาเป็นมวลสารที่สำคัญยิ่งในการสร้างปลุกเสกพระเครื่องในครั้งนี้นั้น ก็มีปัญหาว่าท่านเป็นพระในพระพุทธศาสนาไอ้การที่จะไปเอาภูติที่ว่านั้นทำไม่ได้ เพราะชาวบ้านเค้าจะติฉินนินทา และบรรดาลูกศิษย์ยุคแรกของหลวงปู่ทิม อิสริโก ทั้งหมดก็ไม่มีใครกล้าเสนอตัวอาสากระทำการในครั้งนี้เลย เพราะต่างคนต่างก็เกรงกลัวความอาถรรพ์ของผีตายทั้งกลม ซึ่งโบราณกล่าวไว้ว่ามีความดุร้ายและหวงลูกมาก ถึงขั้นตามเอาชีวิตกันเลยทีเดียว

ตอนนั้นก็มีแต่เพียง “หมอกุหลาบ จ้อยเจริญ “ ผู้เดียวที่มีวิชาคาถาอาคมและสมาธิกล้าแข็งเพียงพอ กล้าขอเสนอตัวรับอาสาสนองพระคุณหลวงปู่ทิม จะไปนำ ” กะโหลกพรายกุมาร “ วัตถุอาถรรพ์สำคัญยิ่ง จากหญิงตายทั้งกลมมาให้หลวงปู่

หลวงปู่ได้ระบุว่าจะต้องเป็นเด็กผู้ชาย แม่ตายทั้งกลมโดยอุบัติเหตุ(ตายโหง) และต้องตายในวันเสาร์ และมีกำหนดที่จะเผาในวันอังคารด้วย

ต่อมาระยะหนึ่ง ได้มีหญิงชาวบ้านท้องแก่คนหนึ่งได้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุอย่างสยดสยองในวันเสาร์ และมีกำหนดจะเผาในวันอังคารและทางญาติได้นำศพมาไว้ที่ป่าช้าวัดละหารใหญ่ ปัจจุบันเป็นบริเวณที่ชาวบ้านทำไร่สับปะรด พอหมอกุหลาบรู้เรื่องเข้า ก็ไปแจ้งหลวงปู่ หลวงปู่ก็เลยนัดให้หมอกุหลาบมาหาในพระอุโบสถกลางดึกวันหนึ่ง หมอกุหลาบนั่งสนทนากับหลวงปู่จนดึกประมาณเกือบๆเที่ยงคืนซึ่งเป็นฤกษ์ที่หลวงปู่ได้คำนวณไว้แล้ว แล้วหลวงปู่ก็ควักให้มีดหมอให้ไปหนึ่งเล่ม บอกว่าให้ใช้มีดหมอนี้กรีดเอาเด็กที่ตายในท้องออกมา เมื่อได้เด็กมาแล้ว ให้เดินออกมาจากป่าช้า ไม่ว่าจะได้ยินเสียงอะไร หรือมีอะไรเกิดขึ้นอย่าหันกลับไปมองเด็ดขาด ให้เดินหน้าอย่างเดียวเท่านั้น มิฉะนั้นอาจต้องเป็นผีเฝ้าป่าช้าได้

หมอกุหลาบ จ้อยเจริญรับคำสั่งหลวงปู่ สะพายย่าม เดินเข้าป่าช้าเวลาเที่ยงคืนตรง พอไปถึงหน้าป่าช้า หมอกุหลาบ จ้อยเจริญ ก็ต้องพบกับอิทธิฤทธิ์ของผีพรายนายป่าช้า แม่นางพราย เข้าทันที “ วิญญาณของนายป่าช้า แม่นางพราย และพรายกุมาร มีอยู่จริงเห็นตัวตนเป็นเงาใสๆ ลางๆ เหมือนกับภาพที่สะท้อนบนพื้น ในปัจจุบันวิญญาณเหล่านี้ก็ยังอยู่คุ้มครองที่วัดละหารไร่” หมอกุหลาบเล่าให้ฟังอีกต่อไปว่าเวลานั้น ฟ้าที่เคยสงบ ก็กลับมีเมฆครึ้ม อยู่ๆก็มีฟ้าแลบน่ากลัว และอยู่ๆก็มีลมพัดแรงจนต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าช้าแกว่งไปมา มีเสียงโหยหวนดังระงมไปหมด แต่ด้วยบารมีของหลวงปู่ทิม กอร์ปคาถาอาคมที่หลวงปู่ทิมได้ประสิทธิประสาทให้นั้น ทำให้นายป่าช้า แม่นางพราย และพรายกุมาร ได้ยินยอมและเต็มใจ หรือเปิดป่าช้าให้ในที่สุด เมื่อทุกอย่างสงบลง หมอกุหลาบเดินเข้าไปในป่าช้าพร้อมกับบริกรรมคาถาไปด้วย เมื่อไปถึงที่ไว้ศพ ก็นำมีดกรีดพุงผีตายทั้งกลม อีตอนที่จิ้มลงไปนี่ซิครับ หมอกุหลาบบอกว่าไม่รู้ไปโดนเส้นอะไรเข้า ผีดันลืมตาขึ้นมา ถ้าเป็นคนธรรมดาคงเสียสติไปแล้ว เมื่อได้เด็กมาแล้ว หมอกุหลาบก็เอาผ้าขาวห่อไว้แล้วเดินออกมา เล่าว่ามีเสียงโหยหวนตามมาเป็นระยะ แต่หมอกุหลาบก็ไม่ได้หันหลังไปดูตามคำสั่งหลวงปู่

คืนนั้น หมอกุหลาบ จ้อยเจริญ ได้กระทำการครั้งนี้ได้สำเร็จเรียบร้อยทุกประการ เมื่อได้มาแล้ว ก็นำไปให้หลวงปู่ทิมดู และได้นำใส่ห่อผ้าไปเก็บไว้หลังพระประธานในพระอุโบสถหลังเก่าเพราะไม่มีใครเข้าไป เป็นระยะเวลาประมาณสามถึงสี่เดือน จนกระโหลกพรายกุมารแห้งสนิทหมดกลิ่นดีแล้ว จึงนำมาโขลกตำให้ละเอียดแล้วผสมกับผงวิเศษสำคัญต่างๆ ที่หลวงปู่ทิมมอบให้มาจนครบทั้งหมดผสมน้ำแช่เกสรบัวทั้งห้า ปั้นเป็นแท่งขนาดใหญ่ แล้วตากแดดไว้จนแห้งสนิท เมื่อได้ฤกษ์งาม ยามดีวันดี ตามที่หลวงปู่ทิมได้กำหนดไว้ จึงจะนำแท่งผงปั้นนี้มาเขียนอักขระพระยันต์ต่างๆ บนกระดานชนวน กระทำในพระอุโบสถหลังเก่า ท่ามกลางการเจริญพระพุทธมนต์ของพระสงฆ์ ๙ รูป โดยหลวงปู่ทิมอิสริโก เป็นประธานสงฆ์ เขียนอักขระพระยันต์ต่างๆ ลงบนกระดานชนวนแล้วลบผงก่อนเป็นปฐมฤกษ์ แล้วจึงมอบให้หมอกุหลาบ จ้อยเจริญ เป็นผู้ลงอักขระพระยันต์และลบผงต่อไป การปลุกเสกผงพรายกุมารมหาภูตินี้ หลวงปู่ทิมท่านได้ปลุกเสกพรายกุมารทั้งหลายให้เป็นกึ่งเทพกึ่งภูติเป็นมหาภูติขวาและซ้าย(พระพรายคู่ เป็นรูปเทวดานั่งคู่กัน แทนรูปมหาภูติซ้าย-ขวา) วิญญาณพรายกุมารที่สถิตย์ในพระเครื่องของหลวงปู่ทิมนั้นไม่ใช่มีอยู่ตนเดียว แต่มีมากมายหลายตน ทั้งนี้เพราะหลวงปู่ทิมได้อธิฐานให้วิญญาณพรายกุมารทุกตนที่ผ่านไปมาในบริเวณพิธี หากจะช่วยกันบำรุงพระพุทธศาสนา ก็ให้มาสถิตย์อยู่รวมกันในผงพรายกุมารมหาภูติที่ท่านปลุกเสกนี้ ให้มีอิทธิฤทธิ์คอยช่วยเหลือคุ้มครองอำนวยพรให้ผู้ที่แขวนพระอยู่ระยะเวลาหนึ่ง จึงไปจุติเมื่อถึงเวลาของตนเอง

หลังจากที่เสร็จพิธีเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ได้ผงพรายกุมารมหาภูติบริสุทธิ์สีขาวหม่นอมเทาประมาณ 1 ถาดใหญ่ เมื่อแบ่งผสมผงว่านมหามงคลแล้วจะได้ผงพรายกุมารมหาภูติเนื้อละเอียดสีน้ำตาลเข้มประมาณ 1 กะละมังใหญ่ ผงทั้งหมดได้นำไปเก็บรวบรวมไว้ในกุฎิหลวงปู่ทิม เมื่อจะทำพระเครื่องพวกกรรมการวัดก็จะขออนุญาตหลวงปู่ทิมไปตักแบ่งเอามาผสมผงที่จะกดพิมพ์พระอีกครั้งหนึ่ง

หมอกุหลาบ จ้อยเจริญ กล่าวยืนยันโดยเห็นกับตาตนเองว่า “ผงที่หลวงปู่ทิมอิสริโก เขียนอักขระพระยันต์ต่างๆ นั้น หลุดร่วงทะลุลอดกระดานชนวนลงมา และทะลุผ้าขาวที่ปูรองเอาไว้ถึงเจ็ดชั้นจนถึงพื้นพระอุโบสถวัดละหารไร่ “ที่กล่าวนี้ไม่ได้กล่าวเกินความจริงแต่อย่าง แต่กล่าวเปิดเผยเพื่อให้ท่านทั้งหลายที่ศรัทธาหลวงปู่ทิมอิสริโก จะได้เกิดความปิติ และซาบซึ้ง ในบุญญาบารมีของหลวงปู่ทิมอิสริโก หากผู้ใดได้ครอบครองบูชา พระผงขุนแผนพรายกุมาร นับว่าท่านมีของวิเศษขั้นสูงอยู่กับ จะส่งผลให้เกิดโภคทรัพย์ ความเจริญรุ่งเรือง เป็นสิริมงคลแก่ตนเอง นับว่าเป็นบุญกุศลของผู้นั้นที่เคยได้ร่วมสร้างกันมา หลวงปู่ท่านกล่าวว่าพระของท่านมีเจ้าของอยู่แล้ว ของของใครต้องมาอยู่กับผู้นั้น ผู้ใดมิใช่เจ้าของจักมีอันต้องเปลี่ยนมือไปไม่ช้าก็เร็ว

พระหลวงปู่ทิมน่าจะเหมาะกับพวกชอบปั่นเดี่ยว เพราะจะมีอะไรคอยคุ้มกันไปตลอดทางแบบล้อมหน้าล้อมหลังเลยทีเดียวเชียว กางเต๊นท์ที่ไหนก็ไม่ต้องกลัว จะมี XX เดินไปมารอบๆเต๊นท์ ขนาดที่ว่าเค้าเห็นคนนั่งเต็มรถทั้งที่นั่งอยู่คนเดียวก็มีมาแล้ว หุหุ


หลวงปู่ดู่ - ผงพรายกุมาร - อาจารย์เบิ้ม

เมื่อประมาณปี ๒๕๒๐ขณะนั้นเป็นเวลาบ่ายเย็น หลวงปู่ดู่ แห่งวัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ออกมานั่งคุยกับศิษย์ที่บริเวณระเบียงกุฏิของท่าน
เมื่อนั่งคุยกันชั่วครู่ใหญ่ หลวงปู่ดู่และศิษย์เห็นรถยนต์คันหนึ่งวิ่งเข้ามาในวัดแล้วจอด มีชาย ๔ คนลงจากรถ และเดินตรงมาที่กุฏิของท่าน


"เอ๊ะ..อ้ายพวกนี้มาแปลก..." หลวงปู่ดู่อุทาน
"มันเอาผีมาด้วย"

บรรดาศิษย์ของหลวงปู่ดู่ เมื่อได้ยินหลวงปู่พูดถึงผี ก็พากันชะเง้อดูคนทั้งสี่ "เอ...ผมมองไม่เห็นผี"
ศิษย์คนหนึ่งบอกกับหลวงปู่

"ผมไม่เห็นมีอะไรผิดปกติ มีอะไรหรือครับหลวงปู่..."

หลวงปู่ดู่หัวเราะกับศิษย์ และพูดกับศิษย์ว่า..

"ฉันเห็นผีมันล้อมรอบพวกสี่คนที่กำลังเดินมาเต็มไปหมด"

คนทั้งสี่ เมื่อเดินมาถึงหน้าบันได้กุฏิ ก็พากันถอดรองเท้าแล้วพากันขึ้นบนกุฏิ คลานเข้ามากราบหลวงปู่ดู่..

"นี่...พวกเธอมาหาฉัน ทำไมจึงเอาผีมาด้วย"
หลวงปู่ดู่ถามชายทั้งสี่ พร้อมกับหัวเราะด้วยอารมณ์ดี

คนทั้งสี่มองหน้ากัน ตีหน้าเลิ่กลั่ก เมื่อได้ยินหลวงปู่ดู่บอกว่า พวกตนที่มาหา...พาผีมาด้วย

"ผีที่ไหนครับหลวงปู่"
นายเบิ้ม พบร่มเย็น (ต้นฉบับเดิมเขียนไว้อย่างนี้แต่จริงๆแล้วคือท่านอ.สุวัฒน์ พบร่มเย็นครับ) หนึ่งในสี่คนที่มาหาหลวงปู่
ถามขึ้นด้วยความสงสัย

"ยังไม่รู้อีกเรอะ" หลวงปู่ดู่หัวเราะด้วยอารมณ์ดี

"ผีมันออกมาจากพระที่แขวนอยู่ที่คอน่ะสิ"

ทั้งสี่คนที่มาหาหลวงปู่ถึงบาง "อ้อ"

คนทั้งสี่ที่มาหาหลวงปู่ดู่ บอกว่าเป็นลูกศิษย์ของ หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง และทุกคนมีพระเครื่องที่หลวงปู่ทิมสร้าง แขวนอยู่บนคอ
เช่น พระขุนแผนผงพรายกุมาร พระพรายเพชรพรายบัว (พระสององค์ติดกัน) พระพิมพ์สี่เหลี่ยมหัวโต...หรือพระเล็กๆ แบบสามเหลี่ยมเรียกนางพญา
และพระขุนแผนเล็กและใหญ่ บรรดาพระเครื่องที่เอ่ยนามมานี้ นอกจากจะมีผงพระพุทธคุณแล้ว ยังผสม "ผงผีพรายกุมาร" ที่ได้มาจากเด็กที่ตายทั้งกลม....

คนทั้งสี่นำสร้อยคอที่แขวนพระที่มีส่วนผสมของผงพรายกุมาร ให้หลวงปู่ดู หลวงปู่นั่งหลับตาชั่วครู่ใหญ่บอกว่า

"ของเขาแรงใช้ได้ดีทีเดียว แต่ดูเหมือนผู้สร้าง..ได้เสีย..เสียแล้ว"

"ครับ...เป็นพระเครื่องของท่านหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง ที่ได้สร้างขึ้น และหลวงปู่ทิมได้มรณภาพมากว่า ๒ ปีแล้ว..."
นายเบิ้ม พบร่มเย็น บอกแก่หลวงปู่ดู่...

คนทั้งสี่อัศจรรย์ใจที่หลวงปู่ดู่ท่านรู้ว่าที่คอของพวกตน มีพระเครื่องที่ท่านหลวงปู่ทิมใช้ผงพระพุทธคุณ และผงพรายกุมารผสมป่นลงไป
แล้วปลุกเสกสร้างเป็นองค์พระขึ้นคนทั้งสี่ที่มาหาหลวงปู่ดู่ จึงเคารพหลวงปู่ดู่เป็นอย่างยิ่ง ทั้งสี่คนนั่งคุยกับหลวงปู่ดู่อยู่ครู่ใหญ่

คุณชินพร ศิษย์เอกของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จึงได้ถามหลวงปู่ดู่ว่า...

"ท่านหลวงปู่ทิม อาจารย์ของผม เป็นพระเถระที่ยึดมั่นพระธรรม และพระวินัยของพระพุทธองค์อย่างเคร่งครัด ไม่ยินดียินร้ายในรูป รส กลิ่น เสียง และถือสันโดษ
เป็นพระภิกษุที่มีศีลลาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส หลวงปู่ทิมได้สร้างพระเครื่องโดยมีผงพรายกุมารที่ท่านทำมาจากเด็กตายทั้งกลมจากท้องมารดา การกระทำของหลวงปู่ทิม จะเป็นบาปหรือไม่"

หลวงปู่ดู่ตอบว่า "ไม่บาป การที่ไม่บาปเป็นเพราะว่าเด็กที่อยู่ในท้องแม่ยังไม่เกิดเป็นตัวตน คือยังไม่มีธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ยังไม่มีวิญญาณมาสถิตย์
และแม่เด็กก็ได้ตายไปแล้ว ซึ่งแม่เด็กและเด็ก ก็จะกลับสู่สภาพเดิม คือ เป็นผงธุลีธาตุไป"

หลวงปู่ดู่พูดแล้วหยุดเล็กน้อย

"การที่ถามว่า เอาหัวกระโหลกเด็กที่อยู่ในท้องของแม่ที่ตายทั้งกลมมาทำของจะบาปไหม...เรื่องนี้มันคนละเรื่องกัน เด็กที่อยู่ในท้องของแม่ที่ตายทั้งกลมนั้น
อยู่ในลักษณะที่ว่า ไม่มีตัวตน ไม่มีวิญญาณที่จะไปเกิด สภาพของเด็กที่อยู่ในท้องของแม่ที่ตายทั้งกลม จึงเหมือนกับก้อนเนื้อก้อนหนึ่งและถ้านำเด็กที่อยู่ในท้องของแม่ที่ตายทั้งกลมมาปลุกเสกด้วยอาคมและปลุกเสกด้วยธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ก็จะอยู่ในลักษณะหนึ่งที่ทางไสยศาสตร์เรียกว่า ภูติ หรือ มหาภูติ
และถ้าเราเอาตัว ภูติ ที่ปลุกเสกด้วยอาคมและธาตุทั้งสี่มาทำของ ของนั้นก็จะมีอิทธิฤทธิ์ยิ่ง.."

คำอธิบายของหลวงปู่ดู่ทำให้คุณชินพรและพวกหายข้องใจในเรื่องที่นำเด็กในท้องของแม่ที่ตายทั้งกลมมาปลุกเสกแล้วป่นทำเป็นผงนำไปผสมกับผงพระพุทธคุณ
แล้วนำไปสร้างพระ...หรืออุดผงนี้ลงที่ด้ามมีดหมอหรือนำผงนี้อุดที่องค์พระที่สร้างขึ้น ที่บรรดาคนทั่วไป มักจะเรียกผงนี้ว่า ผงพรายกุมาร......
เห็นทุกข์ตัวเดียว ทุกอย่างจะดีเอง....
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือโก๋หน้าวัง
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1279
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ส.ค. 2008, 19:59
Tel: 081XXXXXXX
team: Bike to Work
Bike: Trek 6500

Re: กระทู้นี้ไม่เกี่ยวกับจักรยาน

โพสต์ โดย เสือโก๋หน้าวัง »

คั่นรายการนิดหนึ่งครับ.....
:P
รูปภาพ

ครูบาเจ้าศรีวิชัย ท่านคือตนบุญแห่งล้านนา หลวงปู่มั่น คือ มหาบุรุษย์แห่งแผ่นดินอีสาน ท่านทั้งสองมีความผูกพันเกี่ยวเนื้องกัน ด้วยเหตุท่านเป็นพระร่วมยุค ร่วมสมัยกัน แม่องค์หลวงปู่มั่นจะเป็นพระทางอีสาน แต่ท่านตามท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ มาปฏิบัติศาสนกิจยังแผ่นดิยเชียงใหม่ เป็นเหตุให้ทั้งสององค์มีความผูกพันกันยิ่งนัก

ขอเล่าไปถึงความผูกพันระหว่างครูบาเจ้าศรีวิชัยกับพระธรรมยุติก่อน อย่างที่เราทราบกันดีว่าครูบาเจ้า ท่านมักถูกพระสังฆาธิการทางล้านนากลั่นแกล้ง ซึ่งเป็นที่น่าแปลกพระที่กลั่นแกล้งท่านเป็นพระร่วมนิกายกับท่าน แต่พระที่คอยช่วยเหลือท่านกับเป็นพระต่างนิกาย เช่น สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระวชิรญาณวโรส และสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรณ์สิริวัฒน์ เป็นต้น

อีกครั้งหนึ่งขณะที่ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ท่านมีดำริจะบูรณะพระวิหารหลวงวัดเจดีย์หลวง ท่านเห็นว่าสายธรรมยุติมิเคยก่อสร้างอะไรใหญ่โต ขณะนั้นครูบาเจ้า ท่านกำลังสร้างพระวิหารหลวงอยู่ ซึ่งเป็นการใหญ่โตมาก ท่านเจ้าคุณจึงใคร่ปรึกษาครูบาเจ้า มิดำริจะไปหาครูบาเจ้าที่วัดพระสิงห์ แต่ครูบาเจ้าชิงมากราบนมัสการท่าเจ้าคุณก่อน ครูบาเจ้าท่านยังว่า "ท่านเจ้าคุณเป็นพระผู้ใหญ่ ตัวข้าน้อยเป็นพระผู้น้อย จะให้ท่านไปหาข้าน้อยก่อนได้อย่างไร" ก่อนท่านเจ้าคุณจะกลับกรุงเทพท่านได้หาโอกาสไปเยี่ยมครูบาเจ้า ที่วัดพระสิงห์ด้วย

ส่วนหลวงมั่นนั้น เคยพบและสนทนาธรรมกับพระครูบาศรีวิชัย หลังจากที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยถูกอธิกรณ์แล้ว หลวงปู่มั่น เคยออกปากชวนครูบาเจ้าศรีวิชัยออกมาปฏิบัติกัมมัฏฐานด้วยกัน แต่ครูบาเจ้าศรีวิชัยปฏิเสธโดยกล่าวว่า ท่านได้บำเพ็ญบารมีมาทางพระโพธิสัตว์ และได้รับการพยากรณ์แล้ว เปลี่ยนแปลงไม่ได้

ต่อมาท่านเจ้าคุณอุบาลี สนใจใคร่รู้ถึงภูมิธรรมและปฏิปทาตามวิถีทางที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยดำเนินอยู่ จึงได้สอบถามหลวงปู่มั่น ซึ่งท่านได้กราบเรียนพระเดชพระคุณให้ทราบว่า "พระศรีวิชัยองค์นี้เป็นพระโพธิสัตว์ ปรารถนาพระโพธิญาณ ขณะนี้กำลังบำเพ็ญเพียรสร้างสมบารมีอยู่ ซึ่งต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารอีกนาน จนกว่าการสั่งสมบารมีธรรมจะบริบูรณ์"

หลวงปู่มั่นกับครูบาเจ้าท่านมีความผูกพันกันมาก หลวงตามหาบัวเคยเล่าเอาไว้ว่า ตอนที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยกำลังดำเนินการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ขณะนั้นหลวงปู่มั่นจำพรรษาอยู่วัดป่าแม่กอย อ.พร้าว ท่านหยั่งรู้ด้วยญาณวิถี และบอกกับบรรดาศิษย์ให้เจริญกรรมฐาน ภาวนา หลวงปู่ท่านว่าวันนี้พระศรีวิชัยจะทำการใหญ่ ให้ภาวนาส่งกำลังใจให้ พระครูบาศรีวิชัยทำการนี้ให้สำเร็จ

นับว่าครูบาอาจารย์ทั้งสององค์นี้มีความผูกพันกันมาก ท่านทั้งสองมิได้มีองค์ใดเก่งกว่าองค์ใด แต่ทั้งสององค์เสมอกันในใจของบรรดาศิษย์ และจะอยู่ในบรรดาศิษย์ตลอดไป
เห็นทุกข์ตัวเดียว ทุกอย่างจะดีเอง....
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือโก๋หน้าวัง
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1279
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ส.ค. 2008, 19:59
Tel: 081XXXXXXX
team: Bike to Work
Bike: Trek 6500

Re: กระทู้นี้ไม่เกี่ยวกับจักรยาน เรื่องพระล้วนๆ

โพสต์ โดย เสือโก๋หน้าวัง »

พื้นที่นี้จองไว้สำหรับพระเครื่องเมืองใต้...อาณาจักรตามพรลิงค์
1234489673.jpg
1234489673.jpg (39.36 KiB) เข้าดูแล้ว 8800 ครั้ง
เห็นทุกข์ตัวเดียว ทุกอย่างจะดีเอง....
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือโก๋หน้าวัง
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1279
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ส.ค. 2008, 19:59
Tel: 081XXXXXXX
team: Bike to Work
Bike: Trek 6500

Re: กระทู้นี้ไม่เกี่ยวกับจักรยาน เรื่องพระล้วนๆ

โพสต์ โดย เสือโก๋หน้าวัง »

ไฟล์แนบ
luangporglun.jpg
luangporglun.jpg (53.07 KiB) เข้าดูแล้ว 8766 ครั้ง
เห็นทุกข์ตัวเดียว ทุกอย่างจะดีเอง....
ตอบกลับ

กลับไปยัง “TOUR BIKE”