

ความรู้พื้นฐานจักรยาน # 6 Modern Road bike chrankset
Moderator: Cycling B®y, spinbike, velocity, Cycling B®y, spinbike, velocity
กะโหลกเสือหมอบเป็นอะไรที่ปวดหัวสำหรับนักปั่นมือใหม่ หากมีการดัดแปลงข้ามชนิด แน่นอนว่าองค์ประกอบพื้นฐานของระบบกะโหลกเสือหมอบ ประกอบด้วยสามส่วน คือ ขาจาน โพรงกะโหลก (ฺฺBottom Bracket Shell) และ ลูกปืนกระโหลก ซึ่งหากจะใช้งานให้ลงตัว จะต้องทำการเลือกทำสามส่วนให้เหมาะสมและพอดี ซึ่งในปัจจุบันเฟรมเสือหมอบก็มีโพรงกระโหลกเสือหมอบก็มีหลายแบบหลายมาตรฐานกันเหลือเกิน
เพื่อเป็นการปูความรู้พื้นฐาน ในการนำไปดัดแปลงใช้งานกันได้ กระทู้นี้จึงแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ส่วนแรกจะพูดถึงขาจาน(Chrankset) เพื่อทำการรู้จักส่วนประกอบของของระบบกระโหลกส่วนแรก ส่วนที่สอง(ที่ตามมา)จะเป็นส่วนของการทำความรู้จักโพรงกะโหลกมาตรฐานต่างๆที่มีใช้กัน และ ส่วนที่สามเมื่อรู้จักขาจาน กับ กะโหลกแล้ว ก็มาหาลูกปืนที่จะใช้งาน ซึ่งเมื่อรู้หลักแล้วก็สามารถเลือกใช้ดัดแปลงกันได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และ มีประสิทธิภาพกัน
ก่อนจะไปทำความรู้จักขาจาน ต้องขออธิบายพื้นฐานอีกอย่างในการแบ่งประเถทขาจานก่อน ภาพบนเป็นขาจานแบบเก่า เรียกว่าขาจาน 3 ชิ้น คือ จะมีขาจานซ้าย(ขาจานเปล่าๆ) ขาจานขวา(รวมใบจาน) และ กะโหลก ซึ่งกะโหลกจะมีหลายรูปแบบ
ปัจจุบันระบบขาจาน 3 ชิ้น ได้รับความนิยมลดน้อยลง มีใช้ในรถรุ่นล่างๆ
ปี 2003 Shimano ได้เปิดตัวระบบขาจานรวมแกนกระโหลก ชื่อ Hollowtech II ซึ่งจะเรียกว่าขาจาน 2 ชิ้น (ลูกปืนกะโหลกแยกออกจากแกนกะโหลก) หลังจากนั้นทิศทางของตลาดจักรยานจึงมีการผลิตขาจานสองชิ้นออกสู่ตลาดมากขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันขาจานเสือหมอบที่มีขายในท้องตลาดจะมีขนาดความโตของแกนกะโหลกแตกต่างกันตามมาตรฐานของผู้ผลิตแต่ละราย ซึ่งก็พอสรุบได้ดังตารางด้านบน
ก่อนจะไปดูรายละเอียดของขาจานแต่ละยี่ห้อ ขอตัดไปที่ระบบล็อกขาจานแต่ละแบบซึ่งพอจำแนกได้ดังนี้
1.ระบบล็อคขาจานแบบหนีบกะโหลก
ระบบนี้จะพบเห็นในขาจานของ Shimano และ FSA บางรุ่น ข้อดีของระบบนี้คือการล็อคขาจานสามารถปรับลื่นระยะหนีบแกนกะโหลกได้เล็กน้อย ส่วนข้อด้อยก็น่าจะเป็นต้องขันน็อตหลายตัวในการล็อคขาจาน
2.ระบบล็อคขาจานแบบสวมอัด มีแหวนดูดในตัว
ระบบนี้จะพบได้แพร่หลายมากกว่า ทั้งในขาจาน GXP ของ SRAM หรือ BB30 จะมีการทำเดือยที่แกนกะโหลก และ ทำร่องรับที่ขานจาน เวลาติดตั้งก็อัดขาจานเข้ากับแกนกะโหลกให้แน่น ส่วนในการประกอบ จะมีการติดตั้งวงแหวนดันขาจานออกที่ขาจาน เมื่อขันน็อตยึดขาจานออก น็อตยึดขาจานจะไปดันขาจานให้หลุดออกจากแกนกะโหลก
การยึดแกนกะโหลกเข้ากับขาจาน จะยึดกับขาจานด้านซ้าย หรือ ขาจานด้านขวาก็ได้แล้วแต่การออกแบบ
แถมด้วยคลิปติดตั้งของ Rotor ครับ
1.ระบบล็อคขาจานแบบหนีบกะโหลก
ระบบนี้จะพบเห็นในขาจานของ Shimano และ FSA บางรุ่น ข้อดีของระบบนี้คือการล็อคขาจานสามารถปรับลื่นระยะหนีบแกนกะโหลกได้เล็กน้อย ส่วนข้อด้อยก็น่าจะเป็นต้องขันน็อตหลายตัวในการล็อคขาจาน
2.ระบบล็อคขาจานแบบสวมอัด มีแหวนดูดในตัว
ระบบนี้จะพบได้แพร่หลายมากกว่า ทั้งในขาจาน GXP ของ SRAM หรือ BB30 จะมีการทำเดือยที่แกนกะโหลก และ ทำร่องรับที่ขานจาน เวลาติดตั้งก็อัดขาจานเข้ากับแกนกะโหลกให้แน่น ส่วนในการประกอบ จะมีการติดตั้งวงแหวนดันขาจานออกที่ขาจาน เมื่อขันน็อตยึดขาจานออก น็อตยึดขาจานจะไปดันขาจานให้หลุดออกจากแกนกะโหลก
การยึดแกนกะโหลกเข้ากับขาจาน จะยึดกับขาจานด้านซ้าย หรือ ขาจานด้านขวาก็ได้แล้วแต่การออกแบบ
แถมด้วยคลิปติดตั้งของ Rotor ครับ
3.ระบบล็อคขาจานแบบสวมอัด แบบไม่มีแหวนดูด
ขาจานบางรุ่น เช่นขาจานของ Cannondale เป็นระบบสวมดัด แต่ไม่มีตัวดูดในตัว วีธีการใส่ก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ในการถอดขาจานออกจากแกนกะโหลกจะต้องใช้เครื่องมือดูดขาจานออกจากแกนกะโหลก
ขาจานบางรุ่น เช่นขาจานของ Cannondale เป็นระบบสวมดัด แต่ไม่มีตัวดูดในตัว วีธีการใส่ก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ในการถอดขาจานออกจากแกนกะโหลกจะต้องใช้เครื่องมือดูดขาจานออกจากแกนกะโหลก
4. ระบบล็อค Campagnolo Power-Torque
เป็นขาจานแบบสวมอัดกับแกนกระโหลก ไม่สามารถใช้ตัวดูดได้ ต้องใช้เครื่องมือดึงขาจานออกจากแกนเวลาจะถอด
เป็นขาจานแบบสวมอัดกับแกนกระโหลก ไม่สามารถใช้ตัวดูดได้ ต้องใช้เครื่องมือดึงขาจานออกจากแกนเวลาจะถอด
5.ระบบล็อค Campagnolo Ultra Torque
เป็นขาจานที่มีการยึดแกนกะโหลกเข้ากับขาจานทั้งสองข้าง โดยใช้การเชื่อมแกนกะโหลกเข้าด้วยกันด้วยการขันน็อต
นอกจากจะมีใช้ในขาจานของ Campagnolo แล้ว ยังมีใช้กับขาจาน BB30 ของ Specializedบางรุ่น
เป็นขาจานที่มีการยึดแกนกะโหลกเข้ากับขาจานทั้งสองข้าง โดยใช้การเชื่อมแกนกะโหลกเข้าด้วยกันด้วยการขันน็อต
นอกจากจะมีใช้ในขาจานของ Campagnolo แล้ว ยังมีใช้กับขาจาน BB30 ของ Specializedบางรุ่น
ขนาดของแกนกะโหลก เป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้ผลิตต่างใช้มาตรญานที่แตกต่างกัน ที่พบเห็นบ่อยๆก็จะมี
1.มาตรฐานแกน 24 มม
พบได้ในขาจาน Shimano Hollowtech II ทุกรุ่น และ FSA บางรุ่น
2.มาตรฐาน GXP
พบได้ในขาจาน Tuvativ และ SRAM แกนกะโหลกจะโต 24 มม โดยปกติ แต่ปลายด้านที่เสียบกับขาจานด้านซ้ายจะมีการลดขนาดแกนเหลือ 22 ม.ม.
3.มาตรฐาน BB 30
แกนกะโหลกจะโต 30 มม ตามมาตรฐาน จะมีความยาวแกนกะโหลกสองขนาด คือ สั้น กับ ยาว บางรุ่นที่จะมีตัวปรับปรีโหลดในตัว
1.มาตรฐานแกน 24 มม
พบได้ในขาจาน Shimano Hollowtech II ทุกรุ่น และ FSA บางรุ่น
2.มาตรฐาน GXP
พบได้ในขาจาน Tuvativ และ SRAM แกนกะโหลกจะโต 24 มม โดยปกติ แต่ปลายด้านที่เสียบกับขาจานด้านซ้ายจะมีการลดขนาดแกนเหลือ 22 ม.ม.
3.มาตรฐาน BB 30
แกนกะโหลกจะโต 30 มม ตามมาตรฐาน จะมีความยาวแกนกะโหลกสองขนาด คือ สั้น กับ ยาว บางรุ่นที่จะมีตัวปรับปรีโหลดในตัว
ความยาวของแกนกะโหลกเป็นหนึ่งปัจจัยในการนำขาจานไปใช้งานกับเฟรมชนิดต่างๆ หากแกนยาวพอก็สามารถใช้งานกับเฟรมได้ หากแกนกะโหลกยาวไม่พอก็หมดสิทธิ์ จากรูปด้านบนจะเห็นว่าขาจาน BB30 จะมีความยาวแกนกะโหลกอยู่สองขนาด
ส่วนขาจาน BB30 รุ่นใหม่จะมีความยาวแกนกะโหลกใกล้เคียงกับแกนกะโหลก Shimano
ฺฺBB30 แกนยาว จะมีความยาวแกนกะโหลกประมาณ 111.7 ม.ม.
ฺฺBB30 แกนสั้น จะมีความยาวแกนกะโหลกประมาณ 80.8 ม.ม.
ขาจานเสือหมอบ Shimano จะมีความยาวแกนกะโหลก ประมาณ 109.8 ม.ม.
ขอขอบคุณ พี่นุ ร้าน Bike Station สำหรับการถ่ายภาพขาจาน
ขอจบภาคแรกไว้แค่นี้ก่อนน่ะครับ สำหรับภาพขาจาน ภาคต่อไปจะเป็นเรื่อง โพรงกะโหลก (ฺBottom Bracket Shell )
คลิปนี้เป็นนำจิ้มสำหรับภาค 2 ก่อนจะไปภาพ 3 เรื่องการเลือกลูกปืนและการแปลงขาจานใส่เฟรมแบบต่างๆ ส่วนใครมีข้อสงสัยเรื่องขาจานก็โพสถามในกระทู้นี้ได้ครับ เจอกันเมื่อชาติต้องการครับ
คลิปนี้เป็นนำจิ้มสำหรับภาค 2 ก่อนจะไปภาพ 3 เรื่องการเลือกลูกปืนและการแปลงขาจานใส่เฟรมแบบต่างๆ ส่วนใครมีข้อสงสัยเรื่องขาจานก็โพสถามในกระทู้นี้ได้ครับ เจอกันเมื่อชาติต้องการครับ