


พรีวิวเส้นทางงาน "ปั่นพิชิตอินทนนท์ คนพันธุ์อึด # 11"
ใกล้เข้ามาทุกขณะกับมหกรรมทรมานบันเทิงแห่งชาติ กับงาน "ปั่นพิชิตอินทนนท์ คนพันธุ์อึด # 11" ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561 จากการที่เคยไปร่วมงานนี้มาแล้ว 3 ครั้ง(ไปทำงานไม่ได้ปั่น) พบว่าหลายๆคนยังขี่กันแบบไม่มีการวางแผน ที่สำคัญคือ ไม่ค่อยมีข้อมูลเส้นทางมาให้ศึกษากันมากเท่าที่ควร เลยขอโอกาสนำเสนอข้อมูลเส้นทางปั่นพิชิตอินทนนท์ มาให้ทราบกัน เพื่อแต่ละคนจะได้วางแผนการขี่กันได้เหมาะสมกับตัวเองน่ะครับ
หลังจากคนหาข้อมูลจากอากู๋ (google.com) เลยได้รูปด้านบนออกมา ซึ่งก็เป็นรูปที่หลายๆคนอาจจะเคยเห็นมาแล้ว เป็นข้อมูลที่อัดแน่นกันจริงๆจนดูลำบาก
ยุคสมัยก็เปลี่ยนไปวงการจักรยานก็พัฒนาจนมีแอฟพิเคชั่น Starva ขึ้นมาในวงการจักรยานทำให้การศึกษาเส้นทางทำได้สะดวกขึ้น
ลิ้งดูเส้นทางดอนอินทนนท์ ใน Starva = https://www.strava.com/segments/3315402
ระยะทาง 46.0 กม.
ความชันเฉลี่ย 5 %
จุดต่ำสุด 293 เมตรจากระดับน้ำทะเล
จุดสูงสุด 2,469 เมตรจากระดับน้ำทะเล
ความแตกต่างแนวดิ่ง 2,176 เมตร
ในหน้าของ Starva ก็จะมีการแสดงแผลที่
และ กราฟแสดงความสูงของเส้นทาง
โดยสามารถลากเม้าท์บนกราฟความสูง แผนที่ก็จะแสดงตำแหน่ง ณ จัดนั้นสัมพันกับกราฟความสูง และ กราฟความสูงก็จะบอก ระยะทาง+ระดับความสูง+เปอร์เซ็นความชันให้เราทราบ
ตัวอย่างด้านบน ระยะทาง 39.7 กม มีความสูง 1,853 เมตร และ มีเบอร์เซ็นความชัน 23.7 %
ลิ้งดูเส้นทางดอนอินทนนท์ ใน Starva = https://www.strava.com/segments/3315402
ระยะทาง 46.0 กม.
ความชันเฉลี่ย 5 %
จุดต่ำสุด 293 เมตรจากระดับน้ำทะเล
จุดสูงสุด 2,469 เมตรจากระดับน้ำทะเล
ความแตกต่างแนวดิ่ง 2,176 เมตร
ในหน้าของ Starva ก็จะมีการแสดงแผลที่
และ กราฟแสดงความสูงของเส้นทาง
โดยสามารถลากเม้าท์บนกราฟความสูง แผนที่ก็จะแสดงตำแหน่ง ณ จัดนั้นสัมพันกับกราฟความสูง และ กราฟความสูงก็จะบอก ระยะทาง+ระดับความสูง+เปอร์เซ็นความชันให้เราทราบ
ตัวอย่างด้านบน ระยะทาง 39.7 กม มีความสูง 1,853 เมตร และ มีเบอร์เซ็นความชัน 23.7 %
ความชันเท่าไหร่ ทำไมเรียกเป็นเปอร์เซ็น ไม่เรียกเป็นองศา
ในทางปฎิบัติผมว่าเรียกเป็นเปอร์เซ็น น่าจะง่ายกว่าเรียกเป็นองศานะครับ
อย่างเครื่องมือวัดก็แค่ตลับเมตร แล้วก็ระดับน้ำ (สายยางใส่น้ำ)
แต่ถ้าต้องการจะรู็เป็นองศา ก็ต้องมีกล้องวัดมุม
หรือไม่ก็อาจจะวัดระยะ แล้วเข้าตรีโกณมิติ ...ผมว่ามันจะยุ่งยากกว่าเยอะครับ
รูปนี้ เขียนแบบเกือบๆเข้า scale
จากรูปก็คือ 10 % (ถ้าเอา 1% อาจจะดูลำบาก เพราะมุมมันน้อย ไม่งั้นก็ต้องลากเส้นฐานยาวมาก)
อธิบายแบบบ้านๆ ก็คือ
เส้นแนวราบ ยาว 100 ม.
เส้นแนวตั้งยกขึ้นไป 10 ม. (ทำมุมฉาก)
มุมแหลมก็จะประมาณ 6 องศา (จริงๆแล้ว 5 องศา 42 ลิบดา 38ฟิลิบดา)
ความยาวของเส้นเอียงก็จะยาวมากขึ้นอีกคือ 100.498 ม.
ก็อบมาจากความคิดเห็นของน้า Merf ในกระทู้นี้ครับ
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=60&t=284501&p=4034508#p4034508
กราฟนี้แสดงเปอร์เซ็นความชันตลอดเส้นทางจากจุดเริ่มต้นถึงยอดดอยอินทนนท์ครับ
สีฟ้า แสดง เส้นทางที่มีความชันน้อยกว่า 10 %
สีส้มอ่อน แสดง เส้นทางที่มีความชัน 10-20 %
สีแดง แสดงเส้นทางที่มีความชันมากกว่า 20 %
เทียบกันแบบบ้านๆ ก็คือ
-ความชัน 10 % ปั่นจักรยาน 10 เมตร พื้นสูงขึ้น 1 เมตร
-ความชัน 20 % ปั่นจักรยาน 10 เมตร พื้นสูงขึ้น 2 เมตร
-ความชัน 30 % ปั่นจักรยาน 10 เมตร พื้นสูงขึ้น 3 เมตร
สีฟ้า แสดง เส้นทางที่มีความชันน้อยกว่า 10 %
สีส้มอ่อน แสดง เส้นทางที่มีความชัน 10-20 %
สีแดง แสดงเส้นทางที่มีความชันมากกว่า 20 %
เทียบกันแบบบ้านๆ ก็คือ
-ความชัน 10 % ปั่นจักรยาน 10 เมตร พื้นสูงขึ้น 1 เมตร
-ความชัน 20 % ปั่นจักรยาน 10 เมตร พื้นสูงขึ้น 2 เมตร
-ความชัน 30 % ปั่นจักรยาน 10 เมตร พื้นสูงขึ้น 3 เมตร
คลิปแสดงเส้นทาง
คลิปการขี่ในเส้นทางจริง
ลองดูคลิปเส้นทาง และ คลิปการขี่จากสองคลิปนี้ประกอบกันก็ได้ครับ
ปัญหาที่พบสำหรับ คนที่กำลังยังไม่แข็งแรงพอ หรือ อ่อนซ้อม คือ รองเท้าครับ หลายๆคนประสบปัญหาใส่รองเท้าติดครีทขึ้นดอย ซึ่งทำให้เดินไม่สะดวก ถึงขนาดบางคนต้องถอดรองเท้าเดินก็มีให้เห็น เลยอยากจะแนะนำให้ติดรองเท้าแตะ หรือ รองเท้าผ้าใบสะพายหลังติดไปด้วยสักคู่ เพราะถ้าหากปั่นไม่ไหวต้องเดิน จะได้เดินสบายหน่อยครับ
คนที่ปั่นขึ้นดอยเร็วที่สุดปี 2560 Mr.Adrian ทำเวลาเข้าเส้นมาเป็นอันดับที่ 1 ได้สำเร็จด้วยเวลา Finish time 02:24:25 และ Net time 02:18:52
หลายคนอาจจะไปหนักใจตรงเนินเพราะธาตุ แต่ก็บอกว่ามีช่วงที่ชันกว่าเนินพระธาตุอยู่หลายเนิน เพียงแต่ไม่ได้ยาวเหมือนช่วงเนินพระธาตุครับ
ทางที่ดีแนะนำให้วางแผนขี่ขึ้นให้ถึงกิ่วแม่ปานก่อน 14.00 น(บ่าย 2) น่าจะเหมาะสมสำหรับระยะทางที่เหลือครับ เพราะหลังจากกิ่วแม่ปาน (กม 41) ทางก็ยังชันอยู่ และ ชันมากบางช่วง ยิ่งใกล้ยอดดอยยิ่งเหนื่อย หากถึงยอดดอยเย็นมาก อาจจะทำให้ลงดอยไม่สะดวกครับ
ปัญหาที่เจออีกอย่างของงานนี้ คือ การเป็นตะคิว ซึ่งอันนี้คงจะต้องเฝ้าระวังสถาพร่างกายของตัวเอง ถ้ามีสัญญาญการเกิดตะคิวก็ให้หยุดพัก หรือ ใช้เกียร์เบาง เพื่อลดแรงกดบันได
ข้อที่ต้องระวังอีกอย่างก็คือ เมื่อขี่ขึ้นถึงยอดดอยแล้ว จะต้องขี่จักรยานกลับลงมาที่ ลานจอดเฮลิคอบเตอร์ที่ กม 42 ซึ่งเป็นทางลงเขาที่มีความชัน อย่าปล่อยให้รถไหลลงด้วยความเร็วสูง อาจจะทำให้ควบคุมรถไม่ได้ และ เกิดอุบัติเหตุในที่สุด ทางที่ดีควรจะเลียเบรกค่อยๆไหลลงมาด้วยความเร็วไม่มากจะปลอดภัยกว่า
ที่สำคัญอีกอย่าง คือ วินัยในการเข้าคิวขึ้นรถครับ บางทีรถบรรทุกจักรยานลงดอยอาจจะขาดช่วงบ้าง ก็ให้ถ้อยทีถ้อยอาศัย ใจเย็นๆกัน
ที่สำคัญอีกอย่าง คือ วินัยในการเข้าคิวขึ้นรถครับ บางทีรถบรรทุกจักรยานลงดอยอาจจะขาดช่วงบ้าง ก็ให้ถ้อยทีถ้อยอาศัย ใจเย็นๆกัน
หวังว่าข้อมูลเส้นทางที่นำเสนอคงจะเป็นประโยชน์กับคนที่จะปั่นขึ้นดอยอินทนนท์ไม่มากก็น้อยน่ะครับ ศึกษาเส้นทางและวางแผนการขี่ไว้ก่อน จะได้แข่งกับตัวเองครับ
ขอบคุณมากครับ
ซักวันคงมีโอกาสบ้าง
สำหรับคนแรงน้อย ขาอ่อน
รถอะไรเหมาะสมที่สุดครับ
- MTB เบาๆ + ชุดเกียร์อัตราทดเยอะ (แบบว่ายองลงทุนทำรถใหม่ ใส่ตะเกียบเบาๆ เพื่องานนี้)
- หมอบเบาๆ + อัตราทดปานกลาง (ที่แปลงเฟืองท้ายกัน จานหน้าก็ยังให็กว่า MTB)
- Touring ปานกลาง แต่จานหน้า 3 ใบ
- รถพับ (อันนี้ใส่ไว้เฉยๆ = รถมี แต่คงไม่เอาไปแน่)
ซักวันคงมีโอกาสบ้าง
สำหรับคนแรงน้อย ขาอ่อน
รถอะไรเหมาะสมที่สุดครับ
- MTB เบาๆ + ชุดเกียร์อัตราทดเยอะ (แบบว่ายองลงทุนทำรถใหม่ ใส่ตะเกียบเบาๆ เพื่องานนี้)
- หมอบเบาๆ + อัตราทดปานกลาง (ที่แปลงเฟืองท้ายกัน จานหน้าก็ยังให็กว่า MTB)
- Touring ปานกลาง แต่จานหน้า 3 ใบ
- รถพับ (อันนี้ใส่ไว้เฉยๆ = รถมี แต่คงไม่เอาไปแน่)