ในปัจจุบันแม้ทิศทางของตลาดรถเสือหมอบ จะเริ่มมีการใช้ดีสเบรกกันมากขึ้น ทั้งจากองค์ประกอบอันได้แก่ เฟรม ชุดขับเคลื่อนรวมเบรก และ ชุดล้อดีส แต่จักรยานเสือหมอบส่วนใหญ่ในตลาดก็ยังคงเป็นริมเบรก (เบรกจับขอบล้อ) แต่เดิมนั้นระบบเบรกเสือหมอบจะใช้ริมเบรกที่มีจุดยึดเบรกด้วยน็อตตรงกลางตัวเดียว โดยยุคแรกจะเป็นเบรกแบบจุดหมุนเดี่ยว ที่ใช้น็อตยึดเบรกเป็นจุดหมุนของเบรก ต่อมาเบรกของเสือหมอบก็ได้ พัฒนามาเป็นระบบสองจุดหมุน ซึ่งช่วยให้การเบรกมีความนุ่มนวล และ พลังเบรกมากขึัน แต่ก็ยังยึดเบรกเข้ากับเฟรมด้วยน็อตตัวเดียวอยู่เหมือนเดิม
ด้านซ้ายมือ คือ เบรกแบบจุดหมุนเดี่ยว ที่ใช้น็อตยึดเบรกเป็นจุดหมุน และ ด้านขวามือ คือ เบรกแบบสองจุดหมุน ที่ใช้น็อตยึดเบรกเป็นจุดหมุน และ มีการทำจุดหมุนของเบรกเพิ่มขึ้นมาอีกจุด
คลิปแสดงการทำงานของเบรกจุดหมุนเดี่ยว กับ จุดหมุนคู่
ต่อมาได้มีการพัฒนาระบบเบรกเสือหมอบแบบ Direct Mount ขึ้น โดยใช้แนวความคิดจากวีเบรกของเสือภูเขา และ เบรกแคนติเวเวอร์ มาพัฒนาใช้กับจักรยานเสือหมอบ โดยเบรกแบบ Direct Mount จะใช้การยึดเบรกเข้ากับเฟรมด้วยน็อตสองตัว ทำให้การติดยึดเบรคเข้ากับเฟรมมีความแข็งแรงมั่นคงเพิ่มมากขึ้น
หน้าตาของรูยึดเบรกแบบน็อตตัวเดียวในเสือหมอบรุ่นก่อนหน้านี้
หน้าตาของรูยึดเบรกแบบน็อตสองตัวสำหรับเบรกเสือหมอบแบบ Direct Mount
เบรกจักรยาน มีหน้าที่เพิ่มแรงเสียดทานระหว่างรถกับถนนให้มีมาก-น้อย ตามการควบคุมของผู้ขี่ ซึ่งการเพิ่มแรงเสียทางนี้เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการหยุดรถ , การชะลอความเร็ว , การจัดท่าทางการขี่ หรือ อื่นๆ เนื่องจากเบรกในทางอุดมคติ จะต้องสามารถสร้างแรงเสียดทานระหว่างรถจักรยานกับถนนได้ตามการความคุมของผู้ขี่ เมื่อเบรคทำงาน(หนีบขอบล้อ) จะมีการส่งผ่านแรงมายังเฟรม ซึ่งเบรกแบบเก่าจะยึดกับเฟรมด้วยน็อตเพียงตัวเดียว อาจจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของเบรกยังไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาเบรกระบบ Direct Mount ขึ้นมา เพื่อให้การทำงานของเบรกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการใช้จุดหยึดเบรกกับเฟรมด้วยน็อตสองตัว และ แบบแบบการทำงานของเบรกให้เป็นแบบสมมาตร (ผ้าเบรกเคลื่อนจับขอบล้อเท่ากัน) จึงทำให้ระบบเบรก Direct mount มีประสิทธิภาพในการทำงานดีกว่าระบบเบรกแบบเก่า สามารถควบคุมเบรกด้วยน้ำหนักการกำเบรกที่เบาแรงลงมากกว่าเดิม แต่ยังใช้ประสิทธิภาพการเบรกที่ไว้ใจได้