


แกะกล่อง SRAM GX Eagle ก่อนขึ้นชก
Moderator: Cycling B®y, เสือ Spectrum, tntm, seven@klein
หลังจากที่เคยลงกระทู้แนะนำชุดชับเคลื่อน SRAM GX Eagle ไปแล้วเมื่อ 14 มิ.ย. 60 ในกระทู้นี้
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=59&t=1620621
ตอนนี้ของก็เข้ามาขายในบ้านเราไปแล้ว พอดีได้รับความอนุเคราะห์จากทาง บริษัท เวิลด์ไบค์ จำกัด ให้ยืมมาทดสอบ เลยถือโอกาสแกะกล่องของจริงมาให้ดูกัน โดยจะเป็นกระทู้ 3 ภาค
ภาคแรก คือ กระทู้นี้เป็นการแกะกล่องแนะนำให้รู้จัก SRAM GX Eagle จากของจริง พร้อมทั้งออฟชั่นและรายละเอียดต่างๆ
ภาคสอง เป็นการสาธิตการติดตั้ง SRAM GX Eagle กับรถจริงๆว่ามีรายละเอียด และ วิธีการติดตั้งอย่างไรบ้าง
ภาคสาม เป็นการทดสอบใช้งานของจริง
ไม่พูดพล่ามทำเพลงเริ่มกันชิ้นแรกที่เฟืองหลัง 10-50 ฟันกันเลยน่ะครับ
มาในกล่องสวยงาม โลโก้นกอินทรีเด่นชัด
เปิดกล่องออกมาเจอเฟืองคว่ำอยู่
พลิกขึ้นมาดูเห็นกันชัดๆ กับเฟืองหลัง 12 สปีดขนาด 10-50 ฟัน
เหตุที่เฟือง SRAM มีขนาดเฟืองเล็ก 10 ฟันได้นั้น เป็นผลของการออกแบบโม่ใหม่ ที่ชื่อ XD-Drive
ด้านหลังของเฟือง 12 ขนาด 50 ฟัน จะเป็นร่องสำหรับขบกันกับโม่ เพื่อส่งผ่านกำลังจากเฟืองหลังไปยังล้อ
น้ำหนักเฟืองหลังชั่งจริง 449 กรัม
เฟืองด้านหลังมีบอกขนาด 10-50 ฟัน
ร่องที่เฟืองหลังใบใหญ่สุด สำหรับขบกับโม่ ด้านในระเป็นเกลียวของปลอกขันล็อกโม่
SRAM แนะนำให้ใช้เฟืองหลังกับโซ่ของ SRAM ที่มีรหัส Eagle เท่านั้น
ใช้เทคนิคการผลิตเฟืองหลังแบบ X-Dome ของ SRAM แต่จะแตกต่างจาก XX1 และ XO1 ตรงที่ GX ใช้เทคนิคการอัดหมุดยึดใบเฟืองแต่ละใบให้เป็นชิ้นเดียวกัน แทนที่จะเป็นการขึ้นรูปจากโลหะชิ้นเดียวแบบ XX1 และ XO1 ถึงจะขึ้นรูปแบบยึดหมุดแต่ก็ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องความแข็งแรง เพราะ SRAM ยึดหมุดอย่างแน่นหนา ในการหยึดเฟืองหลังแต่ละใบเข้าด้วยกันเป็นชิ้นเดียว
เฟืองหลังใบที่ 11 ขนาด 42 ฟัน และ เฟืองหลังใบที่ 12 ขนาด 50 ฟัน
รูปเฟืองหลัง กับ โม่ XD-Drive ในรูปเป็นโม่ของ MAVIC
มาในกล่องสวยงาม โลโก้นกอินทรีเด่นชัด
เปิดกล่องออกมาเจอเฟืองคว่ำอยู่
พลิกขึ้นมาดูเห็นกันชัดๆ กับเฟืองหลัง 12 สปีดขนาด 10-50 ฟัน
เหตุที่เฟือง SRAM มีขนาดเฟืองเล็ก 10 ฟันได้นั้น เป็นผลของการออกแบบโม่ใหม่ ที่ชื่อ XD-Drive
ด้านหลังของเฟือง 12 ขนาด 50 ฟัน จะเป็นร่องสำหรับขบกันกับโม่ เพื่อส่งผ่านกำลังจากเฟืองหลังไปยังล้อ
น้ำหนักเฟืองหลังชั่งจริง 449 กรัม
เฟืองด้านหลังมีบอกขนาด 10-50 ฟัน
ร่องที่เฟืองหลังใบใหญ่สุด สำหรับขบกับโม่ ด้านในระเป็นเกลียวของปลอกขันล็อกโม่
SRAM แนะนำให้ใช้เฟืองหลังกับโซ่ของ SRAM ที่มีรหัส Eagle เท่านั้น
ใช้เทคนิคการผลิตเฟืองหลังแบบ X-Dome ของ SRAM แต่จะแตกต่างจาก XX1 และ XO1 ตรงที่ GX ใช้เทคนิคการอัดหมุดยึดใบเฟืองแต่ละใบให้เป็นชิ้นเดียวกัน แทนที่จะเป็นการขึ้นรูปจากโลหะชิ้นเดียวแบบ XX1 และ XO1 ถึงจะขึ้นรูปแบบยึดหมุดแต่ก็ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องความแข็งแรง เพราะ SRAM ยึดหมุดอย่างแน่นหนา ในการหยึดเฟืองหลังแต่ละใบเข้าด้วยกันเป็นชิ้นเดียว
เฟืองหลังใบที่ 11 ขนาด 42 ฟัน และ เฟืองหลังใบที่ 12 ขนาด 50 ฟัน
รูปเฟืองหลัง กับ โม่ XD-Drive ในรูปเป็นโม่ของ MAVIC
ตัวต่อไปเป็นตีนผี GX Eagle
มาในกล่องสีแดง โกโล้นกอินทรี
เปิดกล่องออกมาเจอตีนผีวางอยู่ในช่อง และ มีเครื่องมือวัดตำแหน่งการตั้งรั้งตีนผีแถมมาให้ด้วย
หน้าตาของตีนผี และ เครื่องมือตั้ง
เป็นตีผี SRAM Type 3
เฟืองฟูลเล่ของตีนผี จะใช้ขนาด 12 ฟันในเฟืองบน และ 14 ฟันในตัวล่าง
เครื่องมือวัดตีนผี จะใช้หาตำแหน่งในการตั้งรั้งตีนผีกับเฟืองหลังใบใหญ่สุด (วิธีใช้ติดตามดูตอนติดตั้งภาค 2 ครับ)
เป็นตีนผี SRAM Type 3 จะปุ่มล็อกตีนผีให้โซ๋หย่อน เวลาที่จะถอด-ไส่ ล้อหลัง เนื่องจาก SRAM Eagle ออกแบบมาให้ใช้แบบใบจานเดียว ตีนผีจะมีแรงดึงโซ่ให้ตึงมากเป้นพิเศษ เวลาถอดหรือไส่ล้อ หากไม่ล็อคให้ตีนผีหย่อนโซ่ จะถอด-ใส่ล้อยากครับ
น้ำหนักชั่งจากของจริง 290 กรัม
คลิปแสดงการล็อคตีนผีของ SRAM Type 2 ซึ่งใช้เหมือนกับ Type 3 มีขั้นตอนดังนี้
1.ดันปลายตีนผีไปด้านหน้า
2.กดปุ่มล็อคคีนผี
โซ่ก็จะหย่อนทำให้ถอดล้อได้ง่าย ส่วนการปลดล็อคตีนผีทำได้โดยใส่ล้อหลังให้เรียบร้อย แล้วดันปลายตีนผีไปข้างหน้าเล็กน้อย สลักล็อคตีนผีก็จะหดตัวคลายตีผีให้รั้งโซ่ให้ตึงพร้อมใช้งาน
มาในกล่องสีแดง โกโล้นกอินทรี
เปิดกล่องออกมาเจอตีนผีวางอยู่ในช่อง และ มีเครื่องมือวัดตำแหน่งการตั้งรั้งตีนผีแถมมาให้ด้วย
หน้าตาของตีนผี และ เครื่องมือตั้ง
เป็นตีผี SRAM Type 3
เฟืองฟูลเล่ของตีนผี จะใช้ขนาด 12 ฟันในเฟืองบน และ 14 ฟันในตัวล่าง
เครื่องมือวัดตีนผี จะใช้หาตำแหน่งในการตั้งรั้งตีนผีกับเฟืองหลังใบใหญ่สุด (วิธีใช้ติดตามดูตอนติดตั้งภาค 2 ครับ)
เป็นตีนผี SRAM Type 3 จะปุ่มล็อกตีนผีให้โซ๋หย่อน เวลาที่จะถอด-ไส่ ล้อหลัง เนื่องจาก SRAM Eagle ออกแบบมาให้ใช้แบบใบจานเดียว ตีนผีจะมีแรงดึงโซ่ให้ตึงมากเป้นพิเศษ เวลาถอดหรือไส่ล้อ หากไม่ล็อคให้ตีนผีหย่อนโซ่ จะถอด-ใส่ล้อยากครับ
น้ำหนักชั่งจากของจริง 290 กรัม
คลิปแสดงการล็อคตีนผีของ SRAM Type 2 ซึ่งใช้เหมือนกับ Type 3 มีขั้นตอนดังนี้
1.ดันปลายตีนผีไปด้านหน้า
2.กดปุ่มล็อคคีนผี
โซ่ก็จะหย่อนทำให้ถอดล้อได้ง่าย ส่วนการปลดล็อคตีนผีทำได้โดยใส่ล้อหลังให้เรียบร้อย แล้วดันปลายตีนผีไปข้างหน้าเล็กน้อย สลักล็อคตีนผีก็จะหดตัวคลายตีผีให้รั้งโซ่ให้ตึงพร้อมใช้งาน
มือเกียร์
แกะล่องออกมาอย่างงกันน่ะครับ
ออกแบบตามสไตล์ SRAM Trigger ใช้นิ้วโป้งกดและดันเกียร์
เปิดด้านล่างกล่องเจอ แคมป์รัดมือเกียร์
น้ำหนักชั่งจริง 131 กรัม
แกะล่องออกมาอย่างงกันน่ะครับ
ออกแบบตามสไตล์ SRAM Trigger ใช้นิ้วโป้งกดและดันเกียร์
เปิดด้านล่างกล่องเจอ แคมป์รัดมือเกียร์
น้ำหนักชั่งจริง 131 กรัม
กระโหลกที่ใช้ในการทดสอบครั้งนี้เป็นกระโหลก Press Fit ของ SRAM ที่ด้านใบจานจะมีขนาด 24 มม และ ด้านขาเปล่าจะมีขนาด 22 มม ตามมาตรฐานกะโหลก GXP ของ SRAM
สุดท้ายเป็นขาจาน GX Eagle
เกะของจริงออกมาจากกล่อง ในรูปเป็นใบขนาด 32 ฟันน่ะครับ
มีแหวนรองบันไดแถมมาให้ 2 อัน
ใบจานผลิตด้วยเทคโนโลยี X-Sync 2 ของ SRAM หากดูใกล้ๆจะเป็นฟันของใบจาน เล็ก-ใหญ่ สลับกัน อันที่เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งในการป้องกันโซ่ตก
ขาจานผลิดแบบหล่อขึ้นรูปโดยมีร่องด้านในเพื่อลดน้ำหนัก แต่ก็มีการรเสริมกากะบาดเพื่อความแข็งแรง
ใบจานใช้แบบ Direct Mount ยึดด้วยน็อต 6 แฉก 3 ตัวกับขาจานด้านขวาโดยตรง
แกนกะโหลก GXP ที่ลูกปืนด้านใบจานใช้ขนาด 24 มม และ ลูกปืนด้านขาจานเปล่าใช้ขนาด 22 มม
น้ำหนักชั่งจริงกับใบ 32 ฟัน 627 กรัม
เกะของจริงออกมาจากกล่อง ในรูปเป็นใบขนาด 32 ฟันน่ะครับ
มีแหวนรองบันไดแถมมาให้ 2 อัน
ใบจานผลิตด้วยเทคโนโลยี X-Sync 2 ของ SRAM หากดูใกล้ๆจะเป็นฟันของใบจาน เล็ก-ใหญ่ สลับกัน อันที่เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งในการป้องกันโซ่ตก
ขาจานผลิดแบบหล่อขึ้นรูปโดยมีร่องด้านในเพื่อลดน้ำหนัก แต่ก็มีการรเสริมกากะบาดเพื่อความแข็งแรง
ใบจานใช้แบบ Direct Mount ยึดด้วยน็อต 6 แฉก 3 ตัวกับขาจานด้านขวาโดยตรง
แกนกะโหลก GXP ที่ลูกปืนด้านใบจานใช้ขนาด 24 มม และ ลูกปืนด้านขาจานเปล่าใช้ขนาด 22 มม
น้ำหนักชั่งจริงกับใบ 32 ฟัน 627 กรัม
SRAM จะมีใบจานให้เลือกใช้ 4 ขนาดฟัน คือ 32/34/36/38 ฟัน เวลาซื้อจะต้องเลือกให้ถูกกับขนาดล้อ การใช้งาน และ ทักษะของผู้ขี่ ปีนี้พิเศษตรงมีใบรูปไข่ออกมาเป็นออฟชั่ยให้เลือกใช้งาน นอกจากใบกลมปกติ
โซ่ 12 สปิดของ GX Eagle จำนวน 126 ข้อ ที่มีตัวปลดโซ๋เร็ว แถมมาให้ด้วย น้ำหนักชั่างรวมกล่อง 313 กรัม
ขอจบการแกะกล่องไว้เพียงเท่านี้ ใครมีข้อสงสัยอะไรก็โพสถามไว้ในกระทู้นี้น่ะครับ ติดตามชมภาค 2 ติดตั้ง และ ภาค 3 ทดสอบของจริงไว้ในโอกาสต่อไป เร็วๆนี้ ของขอบคุณ บริษัท เวิลด์ไบค์ จำกัด ที่ให้ยืมชุด GX Eagle มาทดสอบด้วยครับ