


DIY # 30 ติดตั้งสับจาน Shimano 9100/8000/5810
Moderator: Cycling B®y, spinbike, velocity
หลังจากที่ Shimano ได้ออกอะไหล่เสือหมอบ Shimano Dura-Ace รุ่น 9100 ที่เป็นอะไหล่เสือหมอบที่รองรับทั้งเบรกจับขอบล้อ และ ดีสเบรกในปีที่แล้ว(2016) ในอะไหล่รุ่นนี้ Shimano ได้เปลี่ยนรูบแบบการทำงานของสับจานใหม่จากรุ่นก่อนๆ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการรองรับดุมหลังกว้างมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ดุมหลังแกนปลด 130 ม.ม. สำหรับล้อเสือหมอบแบบเบรกจับขอบล้อ ดุมหลัง 135 ม.ม. สำหรับล้อเสือหมอบดีสแกนปลด และ 142 ม.ม. สำหรับล้อเสือหมอบดีสแบบแกนสอด
อย่างที่ทราบกันว่าเสือหมอบนั้น มีกะโหลกที่แคบเพียงประมาณ 68 มม (เสือภูเขา 73 มม) และ ระยะความกว้างระหว่างขาจานด้านนอกของเสือหมอบ (Q-Factor) จะแคบกว่าของขาจานเสือภูเขา การขยายดุมหลังของเสือหมอบให้กว้างขึ้น เพื่อรองรับการใช้งานแบบดีสเบรก ย่อมจะทำให้เกิดปัญหาโซ่สีสับจาน ในการใช้งานบางเกียร์
จากรูปข้างบนจะเห็นว่า ในกรณีที่ใช้งานจานหน้าเล็กสุด-เฟืองหลังเล็กสุด จะทำให้เกิดปัญหาโซ่สีสับจาน
ตารางด้านบนแสดงการทดลอง ใช้ชุดขับเคลื่อนเสือหมอบ กับดุมหลัง 130 และ 135 มม ที่ระยะห่างระหว่างกะโหลกกับดุมหลังที่ต่างกัน OK คือโซ่ไม่สีสับจาน M คือมีสีบ้างนิดๆ R คือสีเต็มๆ
จากตารางจะเห็นว่าถ้ามีหากยืดหางกลังให้ยาวขึ้นก็จะลดอาการโซ่ติดสับจานได้ แต่ในทางปฎิบัติรถเสือหมอบจะมีเฟรมที่หางหลังสั่น เพื่อให้การขี่ที่พุ่ง ดังนั้นการที่จะใช้ระบบขับเคลื่อนกับเสือหมอบดีสเบรกให้ราบรื่น จึงจำเป้นต้องมีการออกแบบจานหน้าใหม่ เพื่อรองรับดุมหลังที่กว้างมากขึ้น ในหางหลังที่สั้นแบบเสือหมอบ เมื่อออกแบบจานหน้าใหม่ ก็ต้องมีการออกแบบสับจานใหม่เช่นกัน
ข้อมูลอ้างอิงจาก https://goo.gl/wZ3ZBa
เรามาดูหน้าตาของสับจาน Shimano รุ่นปัจจุบัน FD-R9100 กับ รุ่นก่อนหน้านี้ FD-9000 ซึ่งทั้งคู่เป็นสับจานชั้น Dura-Ace เหมือนกัน แต่ต่างรุ่นปีเท่านั้นเอง
รูปแรกมองจากด้านขวารถ ซ้ายมือคือ สับจาน Dura-Ace รุ่นที่แล้ว FD-9000 และ ด้านขวามือคือสับจาน Dura-Ace รุ่นปัจจุบัน FD-9100 จะเห็นว่า FD-9000 จะมีส่วนบนสูงยาวกว่า FD-R91000
หากมองมุมบนจะเห็นความยาวของ FD-900 ชัดยิ่งขึ้น
หากมองม้านหลังจะพบว่า จุดหมุนของ FD-R9100 (ซ้ายมือ) จะมีความกว้างมากกว่า จุดหมุนของ FD-9000 (ซ้ายมือ)
มองด้านหลังจะเห็นกลไกลการทำงานที่เปลี่ยนไป -R9100 (ซ้ายมือ) จะมีกลไกลกระเดืองทดแรงในการดึงสับจานให้เคลื่อนที่ ส่วน FD-9000 (ซ้ายมือ) จะใช้คานงัดให้สับจานเคลื่อนที่ตรงๆ
รูน็อตล็อค H-L ของ FD-9000 จะอยู่ด้านบนของสับจาน
รูน็อตล็อค H-L ของ FD-R9100 จะอยู่ด้านข้างขวาของสับจาน ซึ่งเป็นด้านนอก
น็อตยันตัวถังเพื่อปรับมุมสับจานของ FD-9000
น็อตยันตัวถังเพื่อปรับมุมสับจานของ FD-R9100
ชิ้นส่วนของสับจาน FD-9000
ชิ้นส่วนของสับจาน FD-R9100
รูปแรกมองจากด้านขวารถ ซ้ายมือคือ สับจาน Dura-Ace รุ่นที่แล้ว FD-9000 และ ด้านขวามือคือสับจาน Dura-Ace รุ่นปัจจุบัน FD-9100 จะเห็นว่า FD-9000 จะมีส่วนบนสูงยาวกว่า FD-R91000
หากมองมุมบนจะเห็นความยาวของ FD-900 ชัดยิ่งขึ้น
หากมองม้านหลังจะพบว่า จุดหมุนของ FD-R9100 (ซ้ายมือ) จะมีความกว้างมากกว่า จุดหมุนของ FD-9000 (ซ้ายมือ)
มองด้านหลังจะเห็นกลไกลการทำงานที่เปลี่ยนไป -R9100 (ซ้ายมือ) จะมีกลไกลกระเดืองทดแรงในการดึงสับจานให้เคลื่อนที่ ส่วน FD-9000 (ซ้ายมือ) จะใช้คานงัดให้สับจานเคลื่อนที่ตรงๆ
รูน็อตล็อค H-L ของ FD-9000 จะอยู่ด้านบนของสับจาน
รูน็อตล็อค H-L ของ FD-R9100 จะอยู่ด้านข้างขวาของสับจาน ซึ่งเป็นด้านนอก
น็อตยันตัวถังเพื่อปรับมุมสับจานของ FD-9000
น็อตยันตัวถังเพื่อปรับมุมสับจานของ FD-R9100
ชิ้นส่วนของสับจาน FD-9000
ชิ้นส่วนของสับจาน FD-R9100
จุดต่างของสับจาน FD-R9100 กับสับจานรุ่นก่อนๆก็คือ การมีตัวเร่งความตึงสายเกียร์อยู่ในตัวสับจาน ตั่งเร่งสายนี้จะทำงานด้วยหลักการที่ว่า เมื่อเราล็อคสายเกียร์ ไว้กับน็อตหกเหลี่ยมสีเงินแล้ว เราสามารถขันน็อตหกเหลี่ยมสีดำแนวตั้ง เพื่อยันให้จุดที่ยึดสายหมุนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ซึ่งนั่นจะทำให้สายเกียร์ตึงขึ้น
นอกจากจะใช้วิธีการการรั้งสายเกียร์จากกะโหลกมาดึงสับจานแบบเสือหมอบทั่วไปแล้ว FD-R9100 ยังมีจุดหยุดปลอกสายเกียร์อยู่ในตัว สำหรับเสือหมอบสายลุย ที่ต้องการจะใช้ปลอกสายเกียร์เต็มเส้น เพื่อป้องกันฝุ่น โคลน มาลดประสิทธิภาพการทำงานของสายเกียร์
ก่อนจะลงมือติดตั้ง มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า แม้จานหน้าของเสือหมอบจะมีแค่ 2 ใบ แต่มือเกียร์ Shimano สามารถปรับตำแหน่งสับจานได้ 4 ตำแหน่ง จะเป็นสองตำแหน่งหลักในใบจาน คือ จานเล็ก และ จานใหญ่ นอกจากนั้นยังมีสองตำแหน่งสำหรับการใช้โซ่เยื้องกันมากๆ (Trim) ซึ่งจะมีอยู่สองตำแหน่งคือ
1.ทริมจานใหญ่ (X) กล่าวคือ หากมีการใช้จานหน้าใหญ่ แล้วเปลี่ยนเฟืองหลังให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจนถึงใหญ่สุด อาจทำให้โซ่สีกับสับจานได้ Shimano จึ่งออกแบบตำแหน่งเกียร์ทริมจานใหญ่มาให้เพื่อ สับจานได้เลื่อนไปด้านซ้ายเล็กน้อย เพื่อไม่สีกับโซ่ โดยโซ่ยังคงอยู่บนจานใหญ่ ไม่ตกลงมาจานเล็ก
การเปลี่ยนตำแหน่งสับจานจากจานใหญ่ มาที่ตำแหน่งทริมจานใหญ่ ทำได้โดยการกดก้านลดเกียร์ที่มือเกียร์ด้านซ้ายเพียงเล็กน้อย เพื่อเป็นการทริมเกียร์ สับจานก็จะเลื่อนมาด้านซ็ายเล็กน้อย โดยที่โซ่ยังคงอยู่บนจานใหญ่ ไม่ตกลงมาจานเล็ก
แต่ถ้าหากกดก้านลดเกียร์ที่มือเกียร์ด้านซ้ายมาก จะเป็นการเปลี่ยนแนวโซ่ จากใช้จานหน้า มาใช้จานเล็ก
2.ทริมจานเล็ก (V) หากมีการใช้จานหน้าเล็ก แล้วเปลี่ยนเฟืองหลังให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจนถึงใหญ่สุด อาจทำให้โซ่สีกับสับจานได้ Shimano จึ่งออกแบบตำแหน่งเกียร์ทริมจานเล็ดมาให้เพื่อ สับจานได้เลื่อนไปด้านซ้ายเล็กน้อย เพื่อไม่สีกับโซ่ โดยโซ่ยังคงอยู่บนจานเล็ก
การเปลี่ยนตำแหน่งสับจานจากจานเล็ก มาที่ตำแหน่งทริมจานเล็กเล็ก ทำได้โดยการกดก้านลดเกียร์ที่มือเกียร์ด้านซ้ายเพียงเล็กน้อย เพื่อเป็นการทริมเกียร์ สับจานก็จะเลื่อนมาด้านซ็ายเล็กน้อย โดยที่โซ่ยังคงอยู่บนจานเล็ก และ ไม่สีกับสับจาน
V คือ ตำแหน่งทริมจานเล็ก
W คือ ตำแหน่งจากเล็ก
X คือ ตำแหน่งทริมจานใหญ่
ํY คือ ตำแหน่งจานใหญ่
1.ทริมจานใหญ่ (X) กล่าวคือ หากมีการใช้จานหน้าใหญ่ แล้วเปลี่ยนเฟืองหลังให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจนถึงใหญ่สุด อาจทำให้โซ่สีกับสับจานได้ Shimano จึ่งออกแบบตำแหน่งเกียร์ทริมจานใหญ่มาให้เพื่อ สับจานได้เลื่อนไปด้านซ้ายเล็กน้อย เพื่อไม่สีกับโซ่ โดยโซ่ยังคงอยู่บนจานใหญ่ ไม่ตกลงมาจานเล็ก
การเปลี่ยนตำแหน่งสับจานจากจานใหญ่ มาที่ตำแหน่งทริมจานใหญ่ ทำได้โดยการกดก้านลดเกียร์ที่มือเกียร์ด้านซ้ายเพียงเล็กน้อย เพื่อเป็นการทริมเกียร์ สับจานก็จะเลื่อนมาด้านซ็ายเล็กน้อย โดยที่โซ่ยังคงอยู่บนจานใหญ่ ไม่ตกลงมาจานเล็ก
แต่ถ้าหากกดก้านลดเกียร์ที่มือเกียร์ด้านซ้ายมาก จะเป็นการเปลี่ยนแนวโซ่ จากใช้จานหน้า มาใช้จานเล็ก
2.ทริมจานเล็ก (V) หากมีการใช้จานหน้าเล็ก แล้วเปลี่ยนเฟืองหลังให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจนถึงใหญ่สุด อาจทำให้โซ่สีกับสับจานได้ Shimano จึ่งออกแบบตำแหน่งเกียร์ทริมจานเล็ดมาให้เพื่อ สับจานได้เลื่อนไปด้านซ้ายเล็กน้อย เพื่อไม่สีกับโซ่ โดยโซ่ยังคงอยู่บนจานเล็ก
การเปลี่ยนตำแหน่งสับจานจากจานเล็ก มาที่ตำแหน่งทริมจานเล็กเล็ก ทำได้โดยการกดก้านลดเกียร์ที่มือเกียร์ด้านซ้ายเพียงเล็กน้อย เพื่อเป็นการทริมเกียร์ สับจานก็จะเลื่อนมาด้านซ็ายเล็กน้อย โดยที่โซ่ยังคงอยู่บนจานเล็ก และ ไม่สีกับสับจาน
V คือ ตำแหน่งทริมจานเล็ก
W คือ ตำแหน่งจากเล็ก
X คือ ตำแหน่งทริมจานใหญ่
ํY คือ ตำแหน่งจานใหญ่
ในปีนี้ นอกจาก Shimano ได้ออกอะไหล่ Ultegra 8000 แล้ว ยังได้ออกสับจาน 105 ตัวใหม่ รหัส FD-5801 ที่ใช้ระบบการทำงานแบบเดียวกับ Dura-Ace 9100 และ Ultegra 8000 อีกด้วย ดังนั้น Shimano จึงมีสับจานระบบใหม่นี้ครบทั้ง 3 รุ่น
Dura-Ace FD-R9100
Ultegra FD-R8000
New 105 FD-5801
Dura-Ace FD-R9100
Ultegra FD-R8000
New 105 FD-5801
ก่อนจะลงมือติดตั้งสับจาน ขอทำความเข้าใจขั้นตอนในการติดตั้งสับจาน เสือหมอบรุ่นใหม่ซึ่งจะมีดังนี้
1.ยึดสับจานกับหูยึดสับจานพอหลวมๆ
2.ขันน็อตล็อค L ของสับจาน เพื่อดันขอบสับจานให้ออกมาเสมอขนานกันกับใบจานใหญ่
3.ปรับระดับความสูงของสับจานให้ได้ตำแหน่งที่เหมาะสม สูงกว่าใบจาน 1-3 มม เพื่อกะระยะการติดแผ่นรองน็อตยัน
4.ติดแผ่นรองน็อตยัน
5.ปรับสับจานไปอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ทั้งความสูง และ มุมให้ปลายงุ้มเข้าด้านใน 0.1-0.5 มม
6.ยึดสับจานเข้ากับหูยึดสับจานให้แน่นหนา
7.ขันน็อตยันสับจานให้สันสับจานขนนานกับใบจานใหญ่
8.เช็คตำแหน่งตัวเร่งสายในสับจานให้อยู่ในตำแหน่งที่พร้อมยัน
9.ปรับตำแหน่งมือเกียร์ไปที่ ทริมจานใหญ่ และ ตีนผีไปที่เฟืองหลังใหญ่สุด
10.เช็ความตึงสายเกียร์จากมือเกียร์ให้เรียบร้อบ
11.ยึดสายเกียร์เข้ากับสับจาน โดยร้อยสายเกียร์ให้ถูกต้องเรียบร้อย
12.หมุนน็อตตัวเร่งสายให้เครื่องหมายด้านหลังสับจานตรงกัน
13.ตั้งน็อตล็อค H
14.ปรับสับจานไปที่ตำแหน่งทริมจานเล็ก
15.ตั้งน็อตล็อค L ให้สับจานสีโซ่
16.ใส่ที่ฝาครอบปิดสับจาน
17.ตัดสายเกียร์ และ ใส่ตัวปิดปลายสายเกียร์ให้เรียบร้อย
1.ยึดสับจานกับหูยึดสับจานพอหลวมๆ
2.ขันน็อตล็อค L ของสับจาน เพื่อดันขอบสับจานให้ออกมาเสมอขนานกันกับใบจานใหญ่
3.ปรับระดับความสูงของสับจานให้ได้ตำแหน่งที่เหมาะสม สูงกว่าใบจาน 1-3 มม เพื่อกะระยะการติดแผ่นรองน็อตยัน
4.ติดแผ่นรองน็อตยัน
5.ปรับสับจานไปอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ทั้งความสูง และ มุมให้ปลายงุ้มเข้าด้านใน 0.1-0.5 มม
6.ยึดสับจานเข้ากับหูยึดสับจานให้แน่นหนา
7.ขันน็อตยันสับจานให้สันสับจานขนนานกับใบจานใหญ่
8.เช็คตำแหน่งตัวเร่งสายในสับจานให้อยู่ในตำแหน่งที่พร้อมยัน
9.ปรับตำแหน่งมือเกียร์ไปที่ ทริมจานใหญ่ และ ตีนผีไปที่เฟืองหลังใหญ่สุด
10.เช็ความตึงสายเกียร์จากมือเกียร์ให้เรียบร้อบ
11.ยึดสายเกียร์เข้ากับสับจาน โดยร้อยสายเกียร์ให้ถูกต้องเรียบร้อย
12.หมุนน็อตตัวเร่งสายให้เครื่องหมายด้านหลังสับจานตรงกัน
13.ตั้งน็อตล็อค H
14.ปรับสับจานไปที่ตำแหน่งทริมจานเล็ก
15.ตั้งน็อตล็อค L ให้สับจานสีโซ่
16.ใส่ที่ฝาครอบปิดสับจาน
17.ตัดสายเกียร์ และ ใส่ตัวปิดปลายสายเกียร์ให้เรียบร้อย
3.ปรับระดับความสูงของสับจานให้ได้ตำแหน่งที่เหมาะสม สูงกว่าใบจาน 1-3 มม เพื่อกะระยะการติดแผ่นรองน็อตยัน