


2018 Shimano Ultegra R8000
Moderator: Cycling B®y, spinbike, velocity
เปิดตัวกันอย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับชุดอะไหล่เสือหมอบ Ultegra R8000 หลังจากที่ได้มีภาพหลุดออกมาจากต่างประเทศเป็นช่วงๆ ในที่ผ่านมา Shimano ก็ได้เปิดตัวชุดอะไหล่เสือหมอบ Dura-Ace 9100 ไปแล้ว ในปีนี้จึงเป็นธรรมเนียมตามปกติของ Shimano ที่จะเปิดตัวอะไหล่รุ่นรองลงมานั้นก็คือ Ultegra หลังจากที่ Shimano เปิดตัวชุดอะไหล่ Ultegra 6800 ในปี 2013 วงการเสือหมอบก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากเบรกจับขอบล้อ มาสู่ ดีสเบรค ซึ่งระหว่างนั้นเอง Shimano ก็ไม่ค่อยมั่นใจในทิศทางตลาดเสือหมอบดีสเบรค จึงได้ผลิตมือเกียร์เสือหมอบดีสเบรกในรุ่น ST-R685 (เกียร์แบบกลไก) และ ST-R785(เกียร์แบบไฟฟ้า) ซึ่งมือเกียร์ทั้งสองรุ่นเป็นอะไหล่ในชุด Non-Series ซึ่งผลิตออกมาหยั่งเชิงตลาดดูก่อน
เมื่อ Shimano มีความมั่นใจในทิศทางตลาดเสือหมอบดีสเบรกแล้ว จึ่งได้ออกชุดอะไหล่เสือหมอบดีสเบรกในรุ่น 91XX เมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งก็ได้การตอบรับจากตลาดดีพอสมควร มาปีนี้จึงได้ออก Ultegra R8000 ที่เป็นชุดอะไหล่เสือหมอบที่มีให้เลือกทั้งเบรกแบบจับขอบล้อ และ ดีสเบรก
เพื่อป้องกันความสับสนในการเรียกรหัสของมือเกียร์ Ultegra 80xx ที่มีหน้าตาเหมือนกัน ทั้งเบรกจับขอบล้อ และ ดีสเบรก ทั้งเกียร์เบบไฟฟ้า และ เกียร์แบบสายสลิง จึงขอสรุปรหัสของมือเกียร์ Ultegra 80xx ดังตารางด้านบนนี้น่ะครับ
ST-R8000 เป็นมือเกียร์แบบสายสลิง เบรกแบบจับขอบล้อ
ST-R8020เป็นมือเกียร์แบบสายสลิง เบรกแบบดีส
ST-R8050 เป็นมือเกียร์แบบไฟฟ้า เบรกแบบจับขอบล้อ
ST-R8070 เป็นมือเกียร์แบบไฟฟ้า เบรกแบบดีส
ซึ่งมือเกียร์ทั้งสี่รุ่น มีรูปร่างและขนาดใกล้เคียงกันมาก
อย่างที่รู้ๆกันว่า ธรรมเนียมของ Shimano จะพัฒนาอะไหล่รุ่นสูงสุดก่อน แล้วค่อยนำเทคโนโลยีมาพัฒนาใช้ในอะไหล่รุ่นลองลงมา ปีที่แล้ว Shimano เปิดตัว Dura-Ace 91XX ซึ่งเป็นอะไหล่เสือหมอบรุ่นสูงสุดของขาย แต่สำหรับอะไหล่รุ่น Ultegra เป็นอะไหล่ที่มีการขายมากกว่า Dura-Ace เพราะราคาย่อมเยากว่ากันเยอะ ดังนั้นการพัฒนา Ultegra R80XX ทาง Shimano จึงใช้เทคโนโลยีจาก Dura-Ace มาเป็นต้นแบบในการพัฒนา Ultegra ตัวใหม่นี้ คลิปด้านบนการแนะนำ Dura-Ace 91XX ในชุดอะไหล่ Ultegra 80XX นี่จะมีอะไหล่ทุกอย่างตาม Dura-Ace 91XX ยกเว้นขาจาน Power Meter เท่านั้น
ST-R8000 เป็นมือเกียร์แบบสายสลิง เบรกแบบจับขอบล้อ
ST-R8020เป็นมือเกียร์แบบสายสลิง เบรกแบบดีส
ST-R8050 เป็นมือเกียร์แบบไฟฟ้า เบรกแบบจับขอบล้อ
ST-R8070 เป็นมือเกียร์แบบไฟฟ้า เบรกแบบดีส
มาเจาะลึกกันที่ละชิ้น เริ่มต้นด้วยมือเกียร์กันเป็นส่วนแรก จากรูปด้านบนจะเห็นว่า มือเกียร์ทั้ง 4 รุ่นมีขนาดและหน้าตาใกล้เกียงกันมาก ทั้งเบรกจับขอบล้อ/ดีสเบรก เกียร์สายสลิง/เกียร์ไฟฟ้า Shimano ยังคงออกแบบมือเกียร์เป็นแบบ Dual Control Level ที่มีก้ามเปลี่ยนเกียร์และก้ามเบรกร่วมกัน โดยมีก้ามลดเกียร์(Down shift) ซ่อนอยู่ด้านหลังก้ามเบรก
ในเมือเกียร์แบบกลไก ได้มีการออกแบบชิ้นส่วนภายในใหม่ ช่วยให้การเปลี่ยนเกียร์ทำได้ มุมการเปลี่ยร์เกียร์น้อยลงกว่าเดิม ทำให้การเปลี่ยนเกียร์สามารถทำให้เร็วขึ้น (กรณีขึ้นจานใหญ่ หรือ เฟืองใหญ่)
ส่วนในมือเกียร์แบบดีสเบรกก็ได้มีการปรับปรุงการเลียเบรกให้ดีขึ้น สามารถปรับตั้งระยะกำเบรกได้กว้างขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถปรับระยะหน้าผ้าเบรกได้ด้วย
หากเปรียบเทียบกับมือเกียร์รุ่นเก่าอย่าง Ultegra 6800 หรือ ST-R785 ซึ่งเป็นมือเกียร์ไฟฟ้า/ดีสเบรก จะพบว่ามือเกียร์ของ Ultegra 80XX ออกแบบได้มีขนาดเล็กกระทัดมากกว่ารุ่นก่อน ซึ่งนั่นก็จะทำให้จับถนัด ไม่เมื่อยมือเวลาขี่ระยะทางไกลๆ
ที่เป็นของใหม่สำหรับมือเกียร์ Ultegra ST-8020 / ST-8070 ก็เป็นจะเป็นการเพิ่มปุ่นกดบนฮูดของมือเกียร์ ที่ผู้ใช้สามารุปรับแต่งปุ่มให้ใช้งานในหน้าที่ต่างๆไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนเกียร์ หรือ การเลื่อนหน้าจอ Cycling Computer ซึ่งเป็นเทคโนโลยีจาก Dura-Ace 91xx
ระบบเกียร์ Di2 ของ Ultegra 80XX นั่นยกเครื่องมาจากรุ่นพี่่ Dura-Ace 91XX กันเลย โดยโหมดการทำงานจะมี 3 โหมดดังนี้
1.โหมด Full - Synchro Shift คือระบบเปลี่ยนเกียร์ด้วยมือเกียร์ด้านขวาข้างเดียว เกียร์จะเปลี่ยนอัตราทนมากขึ้นหรือน้อยลง ตามที่โปรแกรมไว้ โดยการเปลี่ยนเกียร์ที่มือเกียร์ข้างขวาข้างเดียว จะสามารถควบคุมได้ทั้งสับจาน และ ตีนผี ได้ตามที่ตั้งโปรแกรมอัตราทดไว้
2.โหมด Semi - Syncro shift คือ โหมดการทำงานเปลี่ยนเกียร์แบบ Manual ที่เมื่อใด มีการเปลี่ยนเกียร์ที่สับจาน เช่นจากจานใหญ่ ไปจานเล็ก หรือ จากจานเล็กไปจานใหญ่ ตีนผีจะทำการเปลี่ยนเกียร์ให้รอบขาของผู้ขี่มีความต่อเนืองโดยอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น เมื่อเปลี่ยนจากจานหน้าเล็ก ขึ้นไปจานหน้าใหญ่ ตีนผีก็จะปรับโซ่ไปที่เฟืองหลังใหญ่ขึ้นโดยอัตโนมัติ โดยที่ผู้ขี่ปรับแค่สับจาน เพื่อให้รอบขาไม่กระตุก หรือ สะดุด จากเกียร์หนักเกินไป หรือ ในทางตรงกันข้าม เมื่อผู้ขี่เปลี่ยนจานหน้า จากจานใหญ่ ลงมาจานเล็ก เกียร์จะปรับตีนผีให้โซ่ลงมาที่เฟืองเล็กโดยอัตโนมัติด้วย เพื่อป้องกันรอบขาวืดจากเกียร์เบาเกินไป
3.โหมด Manual อันนี้เป็นโหมดเปลี่ยนเกียร์ที่สับจาน และ ตีนผี ตามการสั่งการของผู้ขี่ทั้งหมด
การเปลี่ยนโหมดการทำงานของเกียร์สามารถทำได้ด้วยกดกดปุ่ม 2 ครั้งที่ Junction A แล้วดูไฟกระพริบว่าเกียร์อยู่โหมดอะไร
นอกจากนั้นหากมีการติดตั้ง Shimano D-Fly Wireless Unit ผู้ใช้สามารถปรับตั้งโปรแกรมการเปลี่ยนเกียน์ได้จาก Smart phone ทั้งระะบบแอนดอรอย และ ISO
ชุดอะไหล่ Ultegra นอกจากจะมีอะไหล่เสือหมอบแล้ว ยังมีอะไหล่มือเบรกแยก และ มือเกียร์แยกสำหรับตลาดรถไตรกีฬาอีกด้วย สำหรับ R80XX ก็ได้ออกอะไหล่สำหรับตลาดกล่มนี้โดย ออกมือเกียร์แยกไฟฟ้า ทั้งแบบติดแอโร่บาร์ และ แบบติดกับมือเบรกมาให้เป็นใช้ ส่วนมือเบรกนั้นยังคงเป็นเบรกแบบจับขอบล้อ ไม่มีมือเบรกแบบดีสสำหรับตลาดไตรกีฬาจาก Shimano
สำหรับคนที่ต้องการจะใช้ชุดขับ R80XX กับจักรยานไตรกีฬา ด้วยเกียร์แบบกลไกล คงจะต้องไปใช้ชุดเกียร์ไตรกีฬาจาก Ultegra 68XX แทน
ขาจานใหม่ ของ Ultegra 80XX มีให้เลือกรุ่นเดียวคือ FC-R8000 ซึ่งหน้าตาก็ถอดแบบมาจากรุ่นพี่ Dura-Ace R9100 ที่มีการขยายขนาดขาจานด้านขวา(ใบจาน)ให้ใหญ่ขึ้น เพื่อความแข็งแรงในจังหวะการกดบันไดที่ตำแหน่ง 3 นาฬิกา Shimano ยังคงเลือกใช้เทคโนโลยี Hollow tech II ขาจานกลวง แกนกะโหลก 24 ม.ม. ที่สามารถใช้กับเฟรมได้หลากหลายชนิดกะโหลก
ปัญหาอีกอย่างของเสือหมอบดีสเบรกคือ ตัวถังมีกะโหลกที่แคบ เชนเสตมีระยะที่สั้น แต่เดิมดุมหลังกว้างแค่ 130 มม ย่อมไม่มีปัญหาเรื่องโซ่เยื้อง แต่พอมาเป็นดุมหลังเสือหมอบดีสที่มีความกว้าง 135 มม ในแบบแกนปลด หรือ 142 ในแบบแกนสอด การใช้เกียร์จึงมีการเยื้องกันระหว่างจานหน้ากับเฟืองหลังมาก Shimano จึ่งได้แก้ปัญหานี้ ด้วยการเลื่อนฟันของใบจาน ออกไปด้านขวามากขึ้นเพื่อลงความเยื้องของแนวโซ่ โดยไม่ต้องยืดกระโหลกออกให้กว้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาโซ่เยื้อง ทำให้ระยะ Q-Factor ยังคงเท่าเดิม แต่เพิ่มเติมคือแนวโซ่ที่กว้างขึ้นรับกับดุมหลังดีสเบรก
ถ้าไม่การเลื่อนฟันของใบจากออกมาด้านนอกมากขึ้นก็จะเกิดปัญหา โซ่เยื้องเช่นรูปด้านบนครับ
ใบจานยังคงเป็นแบบ 4 รูเยื้องมุมฉากแบบเดียวกับ Dura-Ace 91XX มีขนาดใบจานให้เลือก 4 ชุด คือ
1. 53-39 ฟัน
2. 52-36 ฟัน
3 50 -34 ฟัน
4.ขนาดใหม่ล่าสุด 46-36 ฟันสำหรับ Cyclocross
ส่วนขาจานทำมา 4 ขนาดความยาว คือ 165 ม.ม. / 170 ม.ม./172.5 ม.ม. และ 175 ม.ม. ส่วนน้ำหนักขาจานรุ่นใหม่ สเปคโรงงานระบุดังนี้
1.690 g (53-39T)
2.681 g (52-36T)
3.674 g (50-34T)
4. 668 g (46-36T)
ถือว่าเบาลงกว่าขาจาน Ultegra FC-6800 ที่หนักประมาณ 765 กร้ม
สับจานของ Ultegra 80XX นั้นถอดแบบมาจากรุ่นพี่ Dura-Ace 91XX ทั้งแบบไฟฟ้า และ แบบกลไก จุดเด่นอยู่ที่การทำสับจานให้มีขนาดเล็กกระทัดรัดลง ซึ่งก็ส่งผมให้น้ำหนักเบาลง นอกจากนั้นสับจานแบบกลไก ยังมีฟังชั่นตัวปรับเร่งความดึงสายเกียร์ในตัว ทำให้สะดวกในการปรับแต่งเกียร์ ที่สับคัญการออกแบบใหม่ ยังช่วยให้การเก็บสายเกียร์เรียบร้อยมากขึ้นไม่มีปลายสายโผล่มาให้เกะกะ
คลิปแสดงตัวอย่างการติดตั้งสับจานของ Dura-Ace 9100 ซึ่่งสับจาน Ultegra 80XX ก็ติดตั้งคล้ายกัน
สำหรับกะโหลกของ Ultegra 68XX Shimano ไม่ได้มีอะไรออกใหม่ ยังคงใช้กะโหลกชุดของ Ultegra 6800 ได้เหมือนเดิม คือ SM-BBR60 สำหรับกะโหลกแบเกลียว และ SM-BB72-41 สำหรับกะโหลกแบบ Pressfit
โซ่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไร ยังคงใช้โซ่รุ่นเดิมคือ CN-HG701-11 ที่เพิ่มเติมคือ ข้อต่อโซ่ 11 สปีดของ Shimano เอง ที่เพิ่งผลิตขายออกสู่ตลาด รหัส SM-CN900-11
เฟืองหลังของ Ultegra 80XX ออกมาให้เลือกใช้สองรุ่นคือ
1.CS-R8000 เป็นเฟืองเสือหมอบที่มีขนาดใหญ่สุด 28 ฟัน ต้องใช้กับตีนผีขาสั้น จะมีขนาดให้เลือกดังนี้
1.1 ขนาด 11-25 ฟัน
1.2 ขนาด 11-28 ฟัน
1.3 ขนาด 11-30 ฟัน
1.4 ขนาด 12-25 ฟัน
1.5 ขนาด 14-28 ฟัน (เฟืองเยาวชน)
2.CS-HG800 เป็นเฟืองขนาดกว้างพิเศษ คือ 11-34 ฟัน สำหรับเสือหมอบทางฝุ่น หรือ สายขึ้นเขา
ตีนผีของ Ultegra 68XX ออกแบบด้วยแนวคิด Shadow แบบเดียวกับ Dura-Ace 91XX การควบคุมตีนผียังคงใช้ดัชนีเกียร์แบบ SIS ไม่สามารถใช้ร่วมกันกับ ดัชนีเกียร์แบบ Dyna sys 11 ของเสือภูเขาได้ ทั้งมือเกียร์ และ ตีนฝี ถึงแม้ตีนผี Ultegra ใหม้จะเป็นตีนผีแบบ Shadow เหมือนตีนผีเสือภูเขาแล้วก็ตาม แต่เราสามารถดัดแปลงตีนผีของเสือภูเขา Shimano 11 สปีด ให้มาใช้กับมือเกียร์เสือหมอบ Shimano 11 สปีด เพื่อการใช้เฟืองเสือภูเขา 11-42 กับเสือหมอบได้ สามารถอ่านดูได้ในกระทู้ DIY กระทู้นี้
ตีนผีของ Ultegra 80XX จะมี 4 รุ่นตามชนิดของระบบเกียร์ และ ความยาวของขาตีนผีดังนี้
ระบบเกียร์กลไก จะใช้รหัสตีนผี RD-R8000 จะมีให้ตีนผีให้เลือกใช้ 2 ตัวคือ
1.RD-R8000-SS เป็นตีนผีขาสั้น สำหรับเฟืองหลังขนาด 11-25 ฟัน ถึง 11-30 พัน
2.RD-R8000-GS เป็นตีนผีขาสั้น สำหรับเฟืองหลังขนาด 11-28 ฟัน ถึง 11-34 ฟัน
ระบบเกียร์ไฟฟ้า จะใช้รหัสตีนผี RD-R8050 จะมีให้ตีนผีให้เลือกใช้ 2 ตัวคือ
1.RD-R8000-SS เป็นตีนผีขาสั้น สำหรับเฟืองหลังขนาด 11-25 ฟัน ถึง 11-30 พัน
2.RD-R8000-GS เป็นตีนผีขาสั้น สำหรับเฟืองหลังขนาด 11-28 ฟัน ถึง 11-34 ฟัน
สำหรับการยึดตีนผี Ultegra 80XX นั้นสามารถยึดได้ทั้งแบบ Dropout มาตรฐาน และ Dropout แบบ Direct mount
สำหรับเบรกแบบจับขอบล้อ Ultegra 80XX จะมีอยู่สองแบบให้เลือก คือ
1.เบรกแบบยึดน็อตตรงกลาง (BR-R800) สำหรับเฟรมเสือหมอบแบบดั่งเดิม
2.เบรกแบบ Direct Mount (BR8010F และ BR-R8010R)จะเป็นการยึดเบรกเข้ากับเฟรมด้วยน็อตสองตัว คล้ายๆวีเบรกของเสือภูเขา ซึ่งแบบ Direct Mount ก็จะมีแบบยึดด้านบน สำหรับใช้งานกับรถปกติ และ แบบยึดด้านล่างด้านหลัง สำหรับรถที่ซ่อนเบรก
สำหรับดีสเบรก ตัวเบรกดีสของ Ultegra 80XX เป็นคาลิเปอร์แบบ Flat Mount เท่านั้น สามารถใช้กับใบดีสขนาด 160 ม.ม. และ 140 ม.ม. ผ้าเบรกมีคลีบระบายความร้อนเพื่อช่วยให้เบรกเย็นลงเร็วขึ้น เมื่อใช้งานหนัก
ใบดีสเบรกของ Ultegra 80XX มีให้เลือกสองขนาดคือ 160 ม.ม.( 6 นิ้ว) และ 140 ม.ม. (5 นิ้ว) เป็นใบดีสแบบสามชั้น มีแผ่นระบายความร้อนในตัว พร้อมลบคมด้านนอกให้ขอบใบโค้งมน
หาอ่านความรู้เพิ่มเดิมระบบดีสเบรกเสือหมอบได้จากกระทู้นี้ครับ
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=60&t=1588496