****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

บอร์ดนี้ คุยเรื่องเกี่ยวกับอุปกรณ์วัดความเร็ว ทั้งไมล์ธรรมดา ไร้สาย หรือระบบ GPS

ผู้ดูแล: seven@klein, Cycling B®y, tntm, เสือ Spectrum

กฏการใช้บอร์ด
บอร์ดนี้ คุยเรื่องเกี่ยวกับอุปกรณ์วัดความเร็ว ทั้งไมล์ธรรมดา ไร้สาย หรือระบบ GPS
รูปประจำตัวสมาชิก
Bike station
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 376
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ส.ค. 2009, 00:03
Tel: 02-722-9999
team: True Sawasdee Hotel-Bike station
Bike: Specialized S work

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย Bike station »

อับดุลย์คนนี้ เป็นคนให้ข้อมูลที่ฟังง่าย ได้ใจความ เนื่องจากเค้าต้องอธิบาย อ้อร้อ กับสาวๆให้เคลิบเคลิ้มบ่อยๆนะครับ :lol:
>>> กด Like ... Bike Station Fan page
02-722-9999
อังคาร - ศุกร์ เปิด 10.00 -19.00
เสาร์ - อาทิตย์ เปิด 10.00 - 17.00
** วันจันทร์ หยุด **
รูปประจำตัวสมาชิก
ปั่น
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3299
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 16:25
Bike: RB only

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย ปั่น »

มิน่า เผลอผ่านมาถึงได้เคลิ้มนัก ฮิ้วววว...

ขอบคุณครับข้อมูลมีประโยชน์มากครับ
โจ๊ก
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย lucifer »

เดี๋ยว จะมาช่วยทำให้ คนเคลิบเคลิ้มหลงไหล วูบวาบ เพิ่มขึ้น ฮ่า ฮ่า
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
Steve
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1100
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ส.ค. 2008, 12:21
team: 347 Cycle Square

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย Steve »

:lol: :lol: :lol: ผมก็หลงไปด้วย ยังมีอีกเยอะครับสำหรับคำว่า Power Meter ลองหาข้อมูลจากอากู๋ก่อนก็ได้ครับ อันไหนไม่เข้าใจก็เอามาถาม รับรองคนในนี้ตอบได้หมดครับ :lol:
รูปประจำตัวสมาชิก
phongsiri
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 5786
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.พ. 2009, 11:25
Tel: -
team: Nong Khai Cycling Club

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย phongsiri »

แค่เริ่มก็มันส์ละครับ :lol:
ชีวิตที่ผ่านมานั้นมันคุ้มค่าจริงหรือ และตอนนี้ได้ทำอะไรเพื่อจะก้าวต่อไปแล้วหรือยัง
If not now. When? Let's get start.
คิดมากเกินไป ก็ออกทะเลไปเรื่อยๆ
รูปประจำตัวสมาชิก
chewchew
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 847
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 พ.ค. 2009, 16:40
Tel: ศูนย์แปด 2-445-92ห้าสี่
team: อยู่มันทุกทีมแหละ
Bike: Specialized Highroad, Bianchi C2C, Trek 1.9

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย chewchew »

ปักไว้ก่อน เดี๋ยวกลับมาอ่าน
รับตัดสติกเกอร์ติดเฟรมและล้อ ทุกชิ้นครับ สนใจคลิกดูตัวอย่างที่นี่ครับ --> http://www.facebook.com/groups/301446209970276/

คอนเวอร์เจ้นซ์ ดีไซน์ แอนด์​ พริ้นติ้ง
ผู้ให้บริการงานพิมพ์ครบวงจร
โบรชัวร์ แผ่นพับ ใบปลิว นามบัตร และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ
ราคาย่อมเยาว์ สบายกระเป๋า
รูปประจำตัวสมาชิก
kutoto
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1639
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2009, 12:01
Tel: 089-200-2606
team: TOTO BIKE
Bike: = จักรยาน

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย kutoto »

ปูเสื่อรอครับ :mrgreen:
กดเลย TOTO BIKE กทม.(วัดอรุณ)

Strava (IOS, Adroid และ ไมล์ที่มี GPS) แอฟดีๆสำหรับนักปั่น+วิ่ง
ID = Anuwat Itthikamollert
รูปประจำตัวสมาชิก
OpenEarth
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2119
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2008, 10:17
Tel: 086แปด92สามสาม0สาม
team: Weekend Bike Club
Bike: จักรยานเก่าๆ สาวไม่แล คนแก่ไม่มอง
ติดต่อ:

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย OpenEarth »

อยากรู้มานานล่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี แล้วจะคอยเข้ามาอ่านครับ :lol: ตอนนี้รู้อย่างเดียวว่าถ้าติดหวัดต้องกินยาแก้แพ้ จะทำให้ชนะได้ง่ายขึ้น :shock:
Can we learn to care. Can we learn to share.
>>>>Goto my Facebook click<<<<
Panu888
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 82
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2011, 21:24
team: ไม่มีครับ
Bike: Time RX Instinct

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย Panu888 »

เตรียมป๊อบคอร์น รอแล้วครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย lucifer »

ผมคบกับ Power meter มาได้แค่ 2 เดือนครึ่งเท่านั้น แต่มันทำให้ชีวิตผมง่ายขึ้นกว่าเดิมมากเลย :mrgreen:

เราอาจจะสงสัยนะครับว่า ทำไมมันต้องมีmonitorอะไรกันวุ่นวายนักหรือ???
ถ้าเราขับรถ เราก็รู้ว่า บนหน้าปัทม์(หรือ monitor )ของรถยนต์นั้น จะมีทั้งมาตรวัดความเร็ว มาตรวัดรอบ มาตรวัดความร้อน มาตรวัดปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง บ้างคันก็อาจจะมีมาตรวัดอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง
จักรยานก็สามารถmonitor สิ่งเหล่านี้ได้ครับ เพียงแต่มันไม่ได้ตรงไปตรงมานัก

ถ้าเทียบกันง่ายๆ และเข้าใจได้ไม่ลำบาก
- มาตรวัดความเร็วในจักรยานก็เป็นอะไรที่ตรงไปตรงมาอยู่แล้ว ไม่ต้องทำความเข้าใจมาก แต่ต้องทราบว่าปัจจัยต่อความเร็วมีมากมายนะครับ สภาพถนน สภาพลม ลักษณะการปั่นในกลุ่ม ปั่นเดี่ยว ปั่นกลุ่ม
- มาตรวัดรอบขา ก็คล้ายกับมาตรวัดรอบเครื่องนั่นแหละครับ เพราะจักรยานขับเคลื่อนด้วยขา (และกล้ามเนื้อเสริมอื่นๆที่มาช่วยเพิ่มบทบาท ) รอบขาที่กระทำต่อลูกบันได ก็ไม่ผิดอะไรกับรอบเครื่องยนต์
- มาตรวัดอัตราชีพจร ก็อย่างที่คุณโก๋กล่าวไว้ แต่ผมจะเทียบเคียงให้เห็นง่ายๆว่า อัตราชีพจรนั้นไม่ใช่รอบเครื่อง แต่เป็นสิ่งผสมผสานกันระหว่างมาตรวัดอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง+มาตรวัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น+มาตรวัดอุณหภูมิของไอเสีย ( เครื่องยนต์ที่แต่งความแรงมาอย่างสุดๆ จะต้องติดมาตรวัดอุณหภูมิของไอเสียด้วย เพราะมันเป็นตัวที่ไวที่สุดที่จะบอกว่าการผสมเชื้อเพลิงกับอากาศมีความผิดพลาดจนถึงจุดวิกฤติที่เครื่องยนต์จะรับไม่ได้ )

อัตราชีพจร จะเป็นค่าองค์รวมที่บอกให้เรารู้ถึงการใช้เชื้อเพลิงและการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงของกล้ามเนื้อ ใช้เชื้อเพลิงมาก สิ้นเปลืองมาก ชีพจรก็สูง แต่มันไม่ใช่สาเหตุเดียวที่ทำให้ชีพจรสูง การทำงานของร่างกายเพื่อรักษาอุณหภูมิกายให้คงที่ ( อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมมีผลต่ออุณหภูมิกาย , ถึงแม้เราจะเป็นสัตว์เลือดอุ่น ก็ไม่ได้แปลว่าอุณหภูมิกายจะมีค่าคงที่ แต่ร่างกายของสัตว์เลือดอุ่นมีความสามารถในการปรับรักษาอุณหภูมิกายให้มีค่าอยู่ในช่วงที่เหมาะสม ไม่เปลี่ยนไปตามสิ่งแวดล้อม , แต่อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมที่สูงขึ้น ร่างกายจะต้องเพิ่มพลังงานในการที่ระบายความร้อนในร่างกายออกไปให้มากขึ้น แปลว่ายิ่งร้อนก็ยิ่งต้องใช้เชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น ซึ่งผิดกับอากาศแวดล้อมที่หนาว ซึ่งเดิมที่ร่างกายต้องการเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นในการสร้างความร้อนให้แก่ร่างกาย แต่การออกกำลังกายเป็นการสร้างความร้อนได้เป็นอย่างดี ร่างกายจึงแทบจะไม่ต้องออกแรงอะไรมากสำหรับในการเร่งการระบายความร้อน ) และที่เหนืออื่นใด อารมณ์มีผลต่อชีพจรมาก ยามตื่นเต้น ตกใจ ชีพจรสามารถเพิ่มขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว , แต่อย่างไรก็ตาม มันก็เป็นมาตรวัดอุณหภูมิไอเสียได้เป็นอย่างดี ต้องไม่ลืมว่าเมื่อร่างกายมีของเสียมากขึ้น ร่างกายย่อมต้องเพิ่มการทำงาน ใช้เชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นในการขจัดของเสียเหล่านั้น และที่สำคัญของการเป็นมาตรวัดอุณหภูมิไอเสีย ก็คือ เมื่อมันลากกันจนสุด 100% มันจะทนได้นานแค่ไหน ??? ผู้ที่ฝึกมา กับ ผู้ที่ไม่เคยฝึกมา , ผู้ที่แข็งแรง กับ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ย่อมแตกต่างกัน

ชีพจรจึงเป็นตัวชี้วัดแบบสัมพัทธ์กับความสามารถของร่างกายเป็นหลัก มีการเปลี่ยนแปลงที่ช้า แต่ถ้าสังเกตให้ดี มันจะมีแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน แต่การจะใช้ชีพจรเพียงอย่างเดียวมาใช้ประกอบการฝึก จะไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลยจริงๆ แม้แต่ผู้ที่มีความเข้าใจและผ่านการฝึกมาอย่างดี แต่ภายใต้ภาวะกดดัน ชีพจรก็อาจจะไม่ใช่สิ่งที่สามารถเชื่อถือได้นัก

- Power meter ก็คล้ายกับเครื่องวัดแรงม้า แต่เป็นแรงม้าที่ขาของเรากระทำกับจักรยาน เราสร้างแรงม้าออกมา จักรยานตอบสนองต่อแรงม้าที่เราสร้างขึ้น
แล้วมันบอกอะไรให้เราได้ บอกอะไรจนทำให้บางคน(รวมทั้งผม)ต้องยอมเสียเงินก้อนใหญ่เพื่อเอามันมาใช้งาน

อ่านต่อ เพื่อความสบายสายตา
|
|
V
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
StoneRoses
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3149
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2009, 16:12
Bike: Pinarello Dogma F8, Trek Speed Concept 9.9

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย StoneRoses »

ชักคันๆ
เอาของไรดี

PowerTap G3 + ENVE 65mm คิดว่าเป็นไงครับ?
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย lucifer »

ต่อครับ

ไม่อยากจะเอาสูตรอะไรมาอ้างมาก มันเข้าใจยาก แต่ผลไม้ย่อมมีเปลือกเพื่อรสชาดที่หอมหวาน ดังนั้นจึงต้องเอามาอ้างเป็นพื้นฐานให้เข้าใจครับ
แรงม้าที่วัดได้นั้น เขาคิดมาจาก
แรงบิด คูณด้วย รอบขา ( Torque x RPM )
ส่วนแรงบิด คิดมาจาก แรงที่กระทำกับลูกบันได คูณด้วย ความยาวขาจาน ( Torque = Force x Crank arm length )

บนจักรยานคันเดียวกันของเรา ขาจานยาวเท่าเดิม ดังนั้น แรงม้าที่วัดมาได้จึงสัมพันธ์โดยตรงกับแรงที่กระทำกับลูกบันได

แต่แรงที่กระทำกับลูกบันไดนั้น ในแต่ละคนอาจจะแตกต่างกัน ถ้าใช้บันไดธรรมดา แรงที่กระทำกับลูกบันได ก็คือแรงที่ได้จากการถีบ , พอใช้บันไดclipless แต่ควงรอบขาไม่เป็น แรงที่กระทำกับลูกบันไดก็คือแรงที่ได้จากการถีบและการดึง , ถ้าเข้าใจเรื่องการควงรอบขามากขึ้น แรงที่กระทำกับลูกบันไดก็จะได้เสริมมาจากการป้ายและการไสเท้า และสุดท้ายเมื่อชำนาญ และฝึกจนกลมกลืน แรงที่กระทำกับลูกบันไดจะเกิดขึ้นในทุกๆองศาของรอบการหมุนของบันได

power meter จะวัดแรงบิดในทุกๆองศาของรอบการหมุนมาทำการเฉลี่ยออกมาเป็นค่าพลังงาน หรือ กำลัง หน่วยออกมาเป็นWatt แต่watt meter ไม่ได้วัดพลังงานที่ร่างกายใช้นะครับ แต่วัดพลังงานหรือกำลังที่กระทำกับจักรยาน ( กระทำกับชุดcrank หรือ กระทำกับดุมล้อ , ขึ้นกับว่าวัดที่ใด แต่วัดที่ใดก็ได้ค่าเฉลี่ยที่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากการเสียแรงไปกับการดึงโซ่ที่ภาวะ steady stage นั้นน้อยมาก , แต่จะแตกต่างกันบ้าง ในช่วงเริ่มต้นออกแรง และช่วงยกบันได )


คราวนี้เอาแค่ประโยชน์พื้นฐานที่จะได้ในเบื้องต้นกันก่อนนะครับ

- ออกแรงมาก ได้wattมาก ----> เรื่องจริง เพราะเป็นพื้นฐานของการสร้างสมการ แต่สิ่งที่ต้องคิด ก็คือ ได้wattมาก แต่ร่างกายใช้พลังงานมากเป็นสัดส่วนเดียวกันกับwattที่วัดได้จากจักรยานหรือไม่ ในภาวะทั่วไปนั้น ตอบว่าเป็นสัดส่วนที่ไปด้วยกัน แต่ในบางสภาวะ อาจจะไม่เป็นสัดส่วนเดียวกัน แล้วจะยกcaseให้ฟังในส่วนต่อไป


- ถ้าเราติดmonitorมากมาย ร่วมกับwatt meter เราจะพบว่าในบางกรณี ที่ความเร็วเท่าเดิม ลักษณะการปั่นบางลักษณะได้wattออกมามาก ลักษณะการปั่นบางลักษณะได้wattออกมาน้อย แต่รถไม่เปลี่ยนความเร็วหรือเปลี่ยนก็เปลี่ยนน้อยมาก ทำไม???
--> อย่างที่บอกแล้วนะครับว่า watt meter ทำการวัดแรงบิดในลักษณะเฉลี่ยจากทุกๆรอบองศาของการหมุน เชื่อไหม บางครั้งเราออกแรงกดบันไดเพียงอย่างเดียว แรงกดนั้นอาจจะมากกว่าแรงที่กระทำกับลูกบันไดอย่างต่อเนื่องที่เกิดกับการปั่นบันไดในลักษณะวงกลม (ควงรอบขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ออกแรงได้ทุกองศาของรอบการหมุน) แรงที่กระทำกับลูกบันไดอย่างต่อเนื่องในทุกๆรอบองศาจึงอาจจะมีค่าเพียงไม่มากนัก เมื่อทำการวัดออกมาจึงได้wattที่ไม่สูง แต่การถีบเพียงอย่างเดียวและถีบอย่างแรง อาจจะทำให้เกิดแรงบิดกับขาจานได้อย่างมากมากกว่าการควงบันได wattที่วัดออกมาจึงอาจจะได้ค่าที่สูงขึ้นไปอีก แต่รถไม่ได้ไปเร็วขึ้นกว่าเดิม

ผลลัพธ์ คือ เปลืองแรง เปล่าประโยชน์ เปลืองเชื้อเพลิงของร่างกาย แน่นอนชีพจรเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน วัดwattได้เพิ่มขึ้นแน่ แต่เสียเปล่า
ประโยชน์จากข้อนี้ ทำให้เราพบว่า ออกแรงอย่างไรให้ได้wattที่ต่ำที่สุด โดยที่ความเร็วของรถไม่ลดลง หรือ เปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด ตรงนี้นำมาซึ่งประโยชน์ของการใช้พลังงานที่มีจำกัดของร่างกายให้ได้ประโยชน์สูงที่สุด เพราะจุดประสงค์จริงๆคือ เราต้องการความเร็ว แต่เราต้องการความเร็วสูงที่สุดที่ออกแรงน้อยที่สุด ( เข้าใจก่อนนะ ผมไม่ได้พูดถึงเรื่องการระเบิดพลัง แต่ผมกำลังพูดถึงพื้นฐานของการออกแรงอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ )

watt meterจะทำให้เราพัฒนาลักษณะในการควงบันได การออกแรงกระทำกับลูกบันไดในทุกๆองศาของรอบการปั่น ยิ่งออกแรงกระทำได้อย่างต่อเนื่อง กลมกลืน ก็ไม่จำเป็นต้องระเบิดแรงในบางช่วงอย่างเปล่าประโยชน์ พูดง่ายๆออกแรงน้อยๆแต่ออกแรงนานๆเอ๊ย ออกแรงแบบต่อเนื่องไม่มีการสะดุด ทำให้ไม่ต้องเร่ง ผ่อน เร่ง ผ่อน แบบการย่ำบันได


- เรื่องที่ผมพบกับตัวเอง รอบขาที่เหมาะสม กับ wattที่ต่ำที่สุด และ ความเร็วไม่เปลี่ยนแปลง นี่คือข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่า เกียร์หนักขึ้น 1 เกียร์ รอบขาลดลง แต่ให้ความเร็วเท่ากับเกียร์เดิมแต่เพิ่มรอบขาขึ้น แต่wattที่วัดได้ กลับไม่เท่ากัน ผมพบปรากฏการณ์ลักษณะนี้ทั้งวัตต์มิเตอร์ที่ติดบนcrank ( Power2Max ) และวัตต์มิเตอร์ที่ติดที่ดุม (​ PowerTap G3 ) ถึงขนาดเอามาใส่ไว้ในรถคันเดียวกัน แล้วลองปั่นเปรียบเทียบpaternกันบนเทรนเนอร์
สิ่งที่ผมพบและอธิบายได้จากmonitorตรงกับความรู้สึกของเพื่อนอีกหลายคน เมื่อเพิ่มรอบขาขึ้นจนถึงจุดที่เราสบายที่สุด wattที่วัดได้จะมีค่าน้อยลงกว่าเมื่อเราเพิ่มเป็นเกียร์หนักแต่ใช้รอบขาลดลง โดยยังคงความเร็วไว้เท่าเดิม

ทำไม??
เคยนั่งคิดเล่นอยู่หลายครั้ง แล้วพิจารณาสิ่งที่เราได้จากการปั่นรอบขา 100RPM ซึ่งกลายเป็นช่วงรอบขาที่ผมปั่นแล้วสบายที่สุด ( ไม่ใช่ 90RPMดังเช่นที่ดังที่ผมเคยฝึกมาในช่วงที่ก่อนจะเลิกปันจักรยานไป , น่าจะเป็นจากการทำลายวิทยายุทธเดิม ด้วยการหยุดปั่นไป 4 ปี แล้วกลับมาฝึกใหม่นับตั้งแต่ 0 :lol: ) พอนั่งคิดดูก็พอจะบอกเหตุผลเข้าข้างตัวเองว่า เมื่อรอบการหมุนได้ถึงจุดหนึ่ง ก็จะเกิดแรงเหวี่ยงให้เราคงรอบการหมุนนั้นต่อไป แรงเหวี่ยงนี้ไม่ได้มาจากความผสมผสานของการทำงานของกล้ามเนื้อมัดต่างๆเพียงอย่างเดียว แต่แรงเหวี่ยงอันเกิดจากมวลของลูกบันได ของรองเท้า ของเท้า ของขาของเรา ผสมกันเป็นมวลที่ถูกสั่งให้หมุนวนรอบกระโหลก เมื่อมันถึงจุดๆหนึ่งที่เราฝึกมาแล้วคุ้นเคย แรงเหวี่ยงนี้ก็จะเสริมแรงของกล้ามเนื้อทำให้เกิดแรงบิดกระทำกับใบจาน และเมื่อมันกลมกลืนกันมากพอ เราก็ไม่จำเป็นต้องออกแรงกระทำต่อลูกบันไดมากมายนัก นอกจากนั้นที่รอบการหมุนที่เราคุ้นเคย กล้ามเนื้อมัดต่างๆสามารถทำงานผสมผสานกันได้อย่างลงตัว คาบการหด และคาบการคลายตัวของกล้ามเนื้อ ลงตัวพอดีกับห้วงเวลาของรอบการหมุนพอดี ---> เราจึงเรียนรู้การออกแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้

คราวนี้อ้างสูตรหละ แรงม้า = แรงบิด x รอบขา แล้วจะเป็นไปได้ไหม ถ้าแรงม้าเท่าเดิม โดยเพิ่มรอบขามากขึ้น ซึ่งนั่นก็แปลว่าแรงบิดจะลดลง คือ ออกแรงกระทำลดลง
ตรงนี้เป็นไปได้จากการค้นพบด้วยตนเอง แม้แต่ในเกียร์เดียวกัน เมื่อเพิ่มรอบขาขึ้นอย่างช้าๆ โดยพยายามไม่ทำให้wattที่วัดได้เปลี่ยนแปลงไปมากมายนัก พอมาถึงจุดที่รอบขาเหมาะสมของเรา เราก็จะพบว่าwattที่ได้ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อใช้รอบขาต่ำๆ ---> ออกแรงลดลง ได้แรงม้าเท่าเดิม :mrgreen:

แต่ สิ่งหนึ่งที่พบ แต่ไม่ใช่ประโยชน์ก็คือ เมื่อเพิ่มรอบขาขึ้นไปเรื่อยๆ แรงม้าที่วัดได้จะมีค่าลดลงไปอีก wattที่วัดได้ต่ำลงไปจริงๆ ตรงนี้ก็อย่าเพิ่งตีความหมายว่า รอบขายิ่งสูง ยิ่งออกแรงน้อยลงเด็ดขาดนะครับ
เพราะค่าความสัมพันธ์ระหว่างการใช้พลังงานของร่างกาย ( บอกแล้วนะ ไม่ใช่ค่าwatt ที่วัดได้ที่กระโหลก) กับ รอบขาที่ใช้ มันมีความสัมพันธ์กันเป็นกราฟparabolaหัวทิ่ม
คือ เมื่อเพิ่มรอบขาขึ้นไปเรื่อยๆ การใช้พลังงานจะเริ่มลดลงจนถึงจุดที่ต่ำที่สุด แต่เมื่อสูงกว่านั้น อัตราการใช้พลังงานจะเพิ่มขึ้น

แต่เมื่ออัตราการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นแล้วทำไมจึงวัดค่าwattได้น้อยลง???
การใช้พลังงานเหมือนกับ input ใส่เข้าไปเท่าไหร่!!!!!
การวัดค่าWattเหมือนกับ Output ออกมาเท่าไหร่!!!!

อันนี้เป็นผลจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งพบว่าที่รอบขาที่สูงเกินไป จะทำให้ประสิทธิภาพของแรงที่ได้ลดลง คือ ใส่เข้าไปเยอะ แต่ออกมาน้อย โดยอิงกับparameterต่างๆคือ หัวใจจะเต้นเร็วขึ้น หายใจมากขึ้น มีการใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น อัตราส่วนระหว่างการใช้พลังงานต่อผลลัพธ์ที่ได้จึงลดลง แต่ก็มีข้อดีตรงที่กล้ามเนื้อจะผ่อนคลายมากขึ้น รอบขาที่เร็วขึ้นจะทำให้มีการส่งเลือดดำกลับเข้าสู่หัวใจได้มากขึ้น ทำให้หัวใจส่งเลือดออกไปได้มากขึ้น และเลือดก็จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้มากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อได้รับสารอาหารและกำจัดของเสียต่างๆออกได้รวดเร็วขึ้น

ดังนั้น การอ่านเฉพาะเพียงwattอย่างเดียว โดยไม่ดูparameterอื่นๆเลย ก็ไม่อาจจะตีความเข้าข้างตัวเองในแง่เดียวได้เสมอไป ความเหมาะสมกันระหว่างค่าwattและparameterอื่นๆ เช่นรอบขา ชีพจร ความเร็ว ก็แล้วแต่ช่วยส่งเสริมการฝึกซ้อมให้เราดีขึ้นเรื่อยๆ
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย lucifer »

StoneRoses เขียน:ชักคันๆ
เอาของไรดี

PowerTap G3 + ENVE 65mm คิดว่าเป็นไงครับ?
เหมือนกับ โปร ถามมือสมัครเล่นเลยครับ ฮ่า ฮ่า ผมเป็นแค่มือสมัครเล่นเท่านั้นนะ แต่หาทางลัดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการฝึก เพื่อให้ได้ถึงเป้าประสงค์ที่รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม

watt meter แบบวัดจากดุม โดยเฉพาะ G3 มีข้อดีแน่ๆครับ คือ ดุม G3 มันเบามาก แค่ 3ขีดนิดๆ ( หนักกว่าดุมหลังดีๆอย่างDT240s หรือ King R45 ไม่ถึงขีด ) แต่power2maxตัวเดียวมันบวกขึ้นไปอีก 2 ขีด :lol:
แต่ข้อดีของวัดจากดุม คือ ใช้กับรถได้ทุกคัน
ข้อดีของวัดจากcrankคือ ใช้ได้กับชุดล้อทุกๆชุดที่เรามีอยู่ ฮ่า ฮ่า

ข้อเสียของวัดจากดุมคือ ห้ามเบื่อชุดล้อชุดนั้นเด็ดขาด :mrgreen: และสิ่งที่ผมเจอซึ่งคล้ายๆกับฝรั่งเจอก็คือ ในช่วงที่ยกบันไดปล่อยรถไหล ไม่กระทำการออกแรงใดๆต่อลูกบันได พบว่าPowerTap ยังอ่านwattได้อยู่ ตรงนี้เข้าใจว่า น่าจะมาจากแรงของขอบล้อที่เกิดจากการหมุน มากระทำกับtorque tubeภายในpowertap ( torque tube วัดแรงบิดจากการบิดของดุมที่ได้แรงมาจากโซ่ หรือ วัดแรงบิดที่ได้จากแรงที่มาจากขอบล้อผ่านซี่ลวด ) หรือ อาจจะเป็น bug ของfirmware อันนี้ไม่แน่ใจเหมือนกันครับ
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
DayRyder
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 12
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2011, 13:08
Bike: Parlee, De Rosa, Colnago, Cinelli, Milani, Co-motion

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย DayRyder »

ขอบคุณ...มากมายครับ

;)
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย lucifer »

มาเล่าให้ฟังต่อครับ วันนี้คงจะนั่งโม้ได้ยาว เพราะไม่มีงานทำ แถมเมื่อคืนอยู่เวรก็โดนจัดหนัก กว่าจะเอาตัวลงขนานกับพื้นโลกได้ก็ ตีสาม อาศัยว่าตอนเย็นทำความสนุกสนานบนเทรนเนอร์พอแล้ว และคิดว่าถ้าเย็นนี้ไปซ่ามากๆ โดยที่พักผ่อนไม่พอด้วย อาจจะไม่ได้ประโยชน์อันใด

เริ่มต่อดีกว่า

ถ้าคิดว่า Power meter เป็นแค่เครื่องประดับแฮนด์ หรือ ไม่รู้ว่าจะเอามันมาใช้เป็นประโยชน์อันใด ผมไม่แนะนำใครให้ซื้อเด็ดขาด เห็นด้วยกับเสี่ยนุอย่างยิ่งว่า "แพงก็แพง หนักก็หนัก" แถมหน้าตาก็ไม่ใช่ว่าสาวเห็นแล้วกรี๊ด ฮ่า ฮ่า

ขั้นตอนเท่าที่ผมเริ่มต้นศึกษาจากในตำรา พอจะสรุปออกเป็นขั้นตอนดังนี้
1. หา Hardware ก่อน ไม่มีwatt meter ก็ไม่ต้องพูดกันต่อ เพราะการฝึกโดยอิงwatt meter มันจะเป็นการฝึกที่ไม่อิงกับHRMเลย จริงๆอยู่ที่อาจจะใช้ค่า HR มาเทียบเคียงฝึกได้ หรือ อาจจะใช้ค่า RPE ( Rate of Percieve Exertion ) มาฝึกได้ แต่สิ่งที่ได้มันไม่ตรงเป้าเท่ากับการใช้ watt meter ( อ่านเสริมเรื่องราวอันเป็นพื้นฐานที่ http://www.bikeloves.com/board_qa/show_ ... ?qID=10930 น่าจะเป็นการปูพื้นได้แน่นขึ้น , ลงเข็มก่อนเทคานดีกว่าครับ )
2. หา Software เดี๋ยวนี้ง่ายแล้วครับ ไม่จำเป็นต้องจดอะไรกันมากมายแล้ว เพราะ Power meter ยอดฮิต 3 หน่อพ่อรูปงามที่เสี่ยนุยกมานั้น เขาเป็น Ant+ compatible ใครใช้Garminก็หัวเราะสบายๆ เพราะSoftwareหลายตัว คุยกับGarmin EDGE500 , 800 รู้เรื่องแบบชิลๆ , softwareที่น่าใช้ที่สุด เพราะราคาไม่แพง และแปลผลได้ง่ายๆ ไม่ต้องจดอะไรมากมาย ก็คือ WKO+ ของ Trainingpeaks http://home.trainingpeaks.com/wko-deskt ... nload.aspx ลองไปดูกันนะครับ
3. หาตัวตนของคุณเองให้พบก่อน ตัวตนของเรานั้นก็คือ ข้อจำกัดต่างๆ เช่น หาค่า FTP , Functional threshold power ให้ได้ก่อน เพื่อที่จะแบ่ง power zone , จากนั้นก็ต้องหา Power profile แล้วหาจุดแข็ง จุดอ่อนของเรา จากนั้นจึงเข้าโปรแกรมการฝึก
4. หาความรู้ เพราะโปรแกรมการฝึก หรือ วิธีการฝึก มันเป็นสิ่งที่ในปัจจุบันไม่ใช่ความลัพธ์กันอีกต่อไป แค่ในเวปของTrainingpeaksเอง ก็มีบทความให้อ่านและทำความเข้าใจง่ายๆ แต่ถ้าอยากจะรู้แบบแน่นๆ เนื้อๆ รวมทั้งมีโปรแกรมฝึกและสามารถคิดต่อยอดได้ ผมแนะนำหนังสือให้เล่มหนึ่ง " Training and Racing with a power meter , 2nd edition by Hunter Allen and Andrew Coggan " เข้าใจง่ายดีครับ ภาษาไม่ยากนัก น้ำเยอะหน่อย แต่ช่วยให้เข้าใจอะไรง่ายขึ้นเยอะ ผมยังอ่านไม่จบเล่ม กะว่าจะอ่านสัก 2 เที่ยว แล้วค่อยสรุปออกมาไว้ใช้ประโยชน์ :lol:

ประสพการณ์ส่วนตัว 2 เดือนครึ่ง หลังจากใช้ power meter
ตอนไปซื้อPower2Max เสี่ยนุแซวว่า อยากเทิร์นโปรตอนแก่หรือพี่ :lol: :lol: :lol: เราก็แซวกันขำๆ เพราะเสี่ยนุกับผมรู้จักกันมานาน ขี่จักรยานด้วยกันที่นครปฐมมาตั้งแต่เมื่อ 10กว่าปีที่แล้ว ตอนนี้เสี่ยแกเทิร์นโปรแล้ว ส่วนผมยังต๊อกๆแต๊กๆเหมือนเดิม แถมยังหยุดยาวไป 4 ปี กลับมาเริ่มใหม่อีกที อายุมันก็มากแล้ว จะไปไล่คนอื่นเขาทัน ก็ต้องฝึกตามคำภีร์ ขืนเล่นมวยวัดมีหวังธาตุไฟเข้าแทรกแน่นอน )
ผมก็บอกเสี่ยสั้นๆว่า มันเป็นทางเดินที่ตรง เร็ว และปลอดภัยที่สุด สำหรับการกลับมาฝึกเพื่อให้ฟิตได้สักครึ่งหนึ่งของสมัยยังหนุ่ม

ผมเริ่มอะไรกับpower meter ผมเริ่มจากการหาค่า FTP และแบ่งPower zone จากนั้นก็เป็นการฝึก Base training โดยยังไม่สนใจจะหาpower profile ของตัวเองเลย จริงๆมันก็เหลือเชื่อนะครับ เพราะก่อนจะใช้power meter ผมพยายามสร้าง base training โดยใช้ HRM อยู่หลายเดือน ปั่นบนถนนบ้าง ปั่นบนเทรนเนอร์บ้าง แต่ดูเหมือนผลที่ได้มันพัฒนาช้ามาก , ยิ่งระยะหลังๆยิ่งมีการศึกษาและชี้ว่า HRMไม่ไวพอ รวมถึงมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมาย

ผมกลับมาเริ่มฝึก base training ใหม่โดยใช้ power meter ออกแรงโดยเน้นที่ Zone ของ Endurance และ บางครั้งก็จะไต่ไปที่ Tempo ในบางครั้ง เดิมเคยพบว่า การเพิ่มระยะทางในแต่ละวันนั้น ไม่ใช่เรืองง่ายเลย เพดานมันไปยันที่ 40กม. เกินกว่านั้นมีปัญหามากมาย โดยเฉพาะขาไป และขากลับ ที่ผมเจอลมกลับทิศกัน HRMนั้นตอบสนองช้ามาก ไม่ใช่สิ่งชี้วัดที่ว่องไวขนาดจะระบุzoneของการฝึกในช่วง 10นาทีแรกได้ และไม่ได้บอกอะไรได้เลยหากการปั่นครั้งนั้น ไม่นิ่งพอ โดยเฉพาะการเข้ากลุ่มที่กระชาก ผ่อน กระชาก ผ่อน ถ้าbase training ยังไม่แน่น เราจะไม่สามารถรู้เลยว่า ช่วงที่เรากำลังผ่อนนั้น เป็นช่วงactive recoveryหรือเปล่า

ผมได้ประโยชน์จากpower meterมากในการฝึกสร้าง base training โดยเฉพาะช่วงปั่นกลับจากกำแพงแสน ซึ่งเป็นช่วงที่ปั่นต้านลม การวางแผนเรื่องการออกแรง การเลือกใช้wattที่เชื่อได้ว่าเราสามารถกลับถึงได้แน่ ทำให้เกิดความมั่นใจที่จะเพิ่มระยะทางมากขึ้น ล่าสุดผมพบว่าบนเส้นทางเดิมๆ ที่ปั่นประจำ ผมได้ watt เฉลี่ยเพิ่มขึ้น , ความเร็วเฉลี่ยเพิ่มขึ้น แต่อัตราการเต้นโดยเฉลี่ยของหัวใจเท่าเดิม ---> สิ่งนี้บอกว่าผมเริ่มพัฒนาขึ้นแล้ว

:mrgreen: :mrgreen: :mrgreen:

เรื่องโปรแกรมการฝึกนั้น รอผมฝึกbase training อีกสัก 1-2เดือน ก็คงอ่านตำราเล่มนี้เสร็จพอดี :lol:
ผมก็คอยอ่านจากผู้รู้ท่านอื่นๆเหมือนกันครับ
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
ตอบกลับ

กลับไปยัง “ไมล์วัดความเร็ว (HRM/GPS/Power meter)”