หน้า 1 จากทั้งหมด 1

REVIEW VERVE INFOCRANK ถ้าความแม่นยำคือสิ่งที่คุณต้องการ

โพสต์: 01 ก.ย. 2015, 19:27
โดย giro
REVIEW VERVE INFOCRANK
ถ้าความแม่นยำคือสิ่งที่คุณต้องการ
00.jpg
00.jpg (237.51 KiB) เข้าดูแล้ว 7249 ครั้ง
สืบเนื่องจากบทความเก่า
แกะกลอ่ง Verve InfoCrank http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... ilit=verve
ได้เวลามานั่งวิเคราะห์การใช้งานของพาวเวอร์มิเตอร์ที่มีการยอมรับถึงความแม่นยำระดับสูงที่สุดเทียบเท่ากับเสป็คของโปรในราคาที่ย่อมกว่ากันกว่าเท่าตัว ซึ่งมาพร้อมกับฟังก์ชั่นที่ครบที่สุดตัวหนึ่ง และมีการดูแลและใช้งานที่ไม่ได้ยากซับซ้อนอะไร
01.jpg
01.jpg (205.35 KiB) เข้าดูแล้ว 7249 ครั้ง
ถ้าถามว่า เพราะอะไร Verve ถึงมั่นใจในความแม่นยำ? ต้องย้อนกลับไปอธิบายอีกนิดหน่อยครับว่า ถ้าพูดถึง Power Meter ที่ยอมรับกันว่าเป็นที่สุดก็ต้องนึกถึง SRM ที่บรรดาโปรใช้กันมากที่สุด และมีค่าความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ส่วน Verve มีความเกี่ยวข้องในเรื่องวัตต์ๆตรงที่ เป็นผู้ผลิตหนึ่งในเครื่องที่เอาไว้สำหรับคาลิเบรทเจ้า SRM นั่นแหละครับ ...พูดง่ายๆคือเค้าทำเครื่องมือสำหรับปรับตั้งความแม่นยำให้ SRM ในระดับอุตสาหกรรมนั่นเอง และด้วยเหตุนี้เมื่อ Verve มีโปรเจ็คสร้างพาวเวอร์มิเตอร์ของตนเอง จึงคิดสร้างระบบและการวัดค่าที่แม่นยำและเสถียรที่สุดเท่าที่สามารถทำได้
IMG_4214.jpg
กระบวนการทำงาน
วิธีการทำงานของระบบวัดแรงบิดของ InfoCrank ใช้วิธีการวัดผ่าน Strain Gauge 8 ตัวบนขาทั้ง 2 ข้าง (ข้างละ 4 ตัว) วัดแรงบิดที่เกิดขึ้นเมื่อออกแรงกดบันไดไปหมุนขาจาน โดย Strain Gauge ทั้ง 4 ตัวใช้วิธีวัดกระแสไฟฟ้าที่วิ่งผ่านวัสดุบ่งชี้ซึ่งเป็นโลหะ เมื่อเกิดแรงกระทำที่ขาจาน ก็ส่งผลให้กระแสไฟฟ้าที่วิ่งผ่านเกิดการเปลี่ยนแปลง และนำมาเป็นต้นกำเนิดว่าเกิดการบิดตัวจากแรงบิดเท่าไหร่ ซึ่งถือว่าละเอียดสูงที่สุดในบรรดาวิธีการวัดทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีระบบการประเมินแนวแรงว่าแรงดังกล่าวเกิดจากการบิดตัวของแรงเฉือนที่กระทำกับขาจาน และไม่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนด้วยหรือไม่ เพื่อให้ได้ค่าวัตต์ที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนเท่านั้นมากที่สุด
01.jpg
01.jpg (205.35 KiB) เข้าดูแล้ว 7249 ครั้ง
จากแรงบิดดังกล่าว ร่วมกับพื้นฐานฟิสิกส์เบื้องต้นเมื่อ วัตต์ = แรงบิดในหนึ่งช่วงเวลา InfoCrank ก็นำแรงบิดดังกล่าวประเมินผ่านระยะเวลาที่ขาจานหมุนรอบตัวเอง ทั้งจากเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวที่สามารถระบุตำแหน่งของขาจานบนรอบวงได้ ร่วมกับเซ็นเซอร์วัดรอบขาแบบแม่เหล็กแยกซ้ายขวาอิสระ จุดนี้ถือว่าเป็นการย้อนกลับไปหาพื้นฐานย้อนยุคแต่ใช้งานได้จริง เพราะส่งผลให้ได้รอบขาที่แม่นยำที่สุด (เซ็นเซอร์ต่างๆมีโอกาสเพี้ยนได้ทั้งจับการเคลื่อนไหว และจับควมราบเรียบของแรงกดป เมื่อได้แรงบิดที่มั่นใจได้ว่า"แม่น"ที่สุดเท่าที่ทำได้ (เพราะเล่นออกแบบขาจานเอง เลือกวัสดุเอง ควบคุมการผลิตเอง จนกระทั่งทำการปรับตั้งเอง) กับรอบขาและการหมุนของขาจานที่แม่นยำที่สุด InfoCrank จึงมั่นใจว่าได้ค่าวัตต์ที่คลาดเคลื่อนน้อยที่สุด
00a.jpg
00a.jpg (22.21 KiB) เข้าดูแล้ว 7249 ครั้ง
ลองสังเกตุภาพประกอบตัวด้านบนนี้นะครับ Verve ให้ข้อมูลว่าในแรงกระทำบนขาจาน มีแรงกระทำที่ไม่ก่อให้เกิดแรงขับเคลื่อนไปที่ระบบขับเคลื่อนในรูปแบบใดได้บ้าง ซึ่งวิธีการวาง Strain Gauge ของ InfoCrank ร่วมกับการออกแบบทรงขาจาน ทำให้สามารถตรวจจับจำแนกแนวแรงแบบต่างๆได้ชัดเจน ซึ่งทำให้สามารถกรองเอาแรงอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปได้ เหลือเพียงแรงที่ขับเคลื่อนจริงๆเท่านั้นที่จะนำไปใช้บันทึกและแสดงข้อมูล

การใช้งาน
02.jpg
02.jpg (380.26 KiB) เข้าดูแล้ว 7249 ครั้ง
InfoCrank ใช้พลังงานจากถ่านกระดุมขนาดเล็ก SR44 ข้างละ 2 ก้อน (แต่ทดสอบลองใช้ถ่านเบอร์ใกล้เคียงก็ใช้งานได้ แต่ในระยะยาวๆน่าจะมีอายุสั้นกว่า) มีระบบไฟ LED แสดงสถานะใส่ถ่านเห็นได้ชัดเจน ที่สำคัญ ต้งติดตั้งแม่เหล็กวัดรอบขาใต้กระโหลกหรือใต้ Chain Stay ด้วยถึงจะทำงานได้นะครับ ไม่งั้นจะไม่ยอมอ่านค่าวัตต์ให้ การติดตั้งไม่ได้ซับซ้อนอะไร เมื่อแม่เหล็กอยู๋ในระยะพอดีแล้วหมุนขาจานผ่าน ก็จะมีไฟแสดงกระพริบบอกว่าใช้งานได้แล้ว จากนั้นก็จับคู่กับไมล์ต่างๆได้ไม่ซับซ้อนอะไร
03.jpg
03.jpg (338.86 KiB) เข้าดูแล้ว 7249 ครั้ง
InfoCrank แสดงค่าวัตต์ได้แม่นยำแค่ไหน?? ข้อนี้ต้องยอมแพ้ต่อการทดสอบครับ เพราะจนด้วยใจจะหาห้องทดลอง มีการประเมินแรงบิด วัด ถ่วง ดูว่าแรงบิดที่ได้เป็นกี่ทอร์ค เพี้ยนหรือตรงแค่ไหน ดังนั้นมันจะสมคำร่ำลือ 0.5% หรือเปล่า อันนี้ผมคงต้องทิ้งเอาไว้เป็นปริศนาธรรม แต่อยากให้ลองตั้งสมมุติฐานเอาไว้ว่า "ถึงไม่แม่นก็เกือบแม่น" ด้วยสรรพคุการทำงานของมันที่สมเหตุสมผลในการได้มาซึ่งค่าวัตต์ที่มีหลายๆอย่างมีชั้นเชิงเหนือระบบอื่นๆของหลายๆยี่ห้อ แต่สิ่งที่น่าทดสอบซึ่งเป็นการปราบเซียนของพาวเวอร์มิเตอร์คือ "อุณหภูมิ" เพราะอุณหภูมิส่งผลกับการขยายตัวและหดตัวของโลหะ ซึ่งส่งผลอย่างยิ่งกับกระแสไฟฟ้าที่ผ่าน Strain Gauge ที่เปลี่ยนแปลงไปน้อยนิดก็ส่งผลกับแรงบิดที่ต่างๆปได้แล้ว แล้วเป็นอุปสรรคให้วัดวัตต์หลายๆตัวตกม้าตายเอาได้ง่ายๆ ว่าแล้วผมก็ลองเล่นแบบซนๆ ลองปั่นไปเท่าเดิม เกรียร์เดิม รอบขาเดิม แล้ว ... เอาไดร์เป่าผมเป่าขาจานมันซะเลย ผลที่ได้คือ ไม่มีอาการเพี้ยนไปกว่าค่าปกติ ถือว่าผ่านไปได้ด้วยดี และหมดข้อกังวลเรื่องนี้ ก็ลองมาเปรียบเทียบค่าที่ได้กับวัตต์ตัวอื่นดูกันต่อได้เลย
06.jpg
ลองเปรียบเทียบการใช้งานระวห่าง InfoCrank กับพาวเวอร์มิเตอร์ตัวอื่นที่หามาลองได้ และคงไม่มีตัวไหนเหมาะไปกว่า PowerTap G3 ที่มีความแม่นยำสุงที่สุดตัวหนึ่ง และอยู๋ที่ดุมหลัง สามารถนำมาติดตั้งบนจัรกยานคันเดียวกันได้ค่าจากแรงเดียวกันเพื่อมาลองดูว่าค่าที่ได้แตกต่างกันมากแค่ไหน
05.jpg
ก่อนอื่นผมต้องอธิบายนะครับ ค่าที่ได้จากพาวเวอร์มิเตอร์จะได้เท่าไหร่ไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญเพราะการใช้งานใช้ในเชิงเปรียยบเทียบกับค่าอ้างอิงของตัวมันเอง พูดง่ายๆคือพาวเวอร์มิเตอร์แต่ละตัวจะวัดค่าที่ได้ตรงกันหรือไม่นั้นไม่ได้ถือว่ามันดีหรือแย่กว่ากัน แต่สิ่งสำคัญคือ"แนวโน้มของแรง" หรือ trend ของกราฟที่วัดมีการตอบสนองต่อแรงในลักษณะเดียวกันหรือไม่ อ่อนไหวต่อแรงกระทำและตอบสนองได้ดีแค่ไหนมากกว่า ที่อาจจะบ่งชี้ให้เห็นว่าในขั้นการใช้่งานเชิงลึก ตัวไหนมีความลึกของการวัดที่ชัดเจนกว่ากัน
04a.jpg
04a.jpg (368.89 KiB) เข้าดูแล้ว 7249 ครั้ง
ดังนั้นในกระบวนการลองเปรียบเทียบพาวเวอร์มิเตอร์สองตัวนี้ จะติดตั้งและใฃ้งานในสภาวะทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะได้แก่
-การใช้งานบนเทรนเนอร์ในร่ม เพื่อควบคุมปัจจัยแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นให้มีน้อยที่สุด
-การใช้งานบนถนนทั่วไป ในการใช้งานจริง มีฝน ร้อน แดด และสัญญาณรบกวนจาก ANT+ หรือคลื่นอื่นๆ
ในการใช้งานทั้ง 2 กรณีจะมีทั้ง steady pace หรือการขี่ให้ได้แรงวัตต์ที่เรียบคงที่มากที่สุด และการเน้นสร้าง matches หรือพีคของวัตต์ระเบิดระยะสั้นๆ เพื่อดูการตอบสนองต่อแรงว่าทำได้เหมือนกันแค่ไหน
04b.jpg
04b.jpg (390.83 KiB) เข้าดูแล้ว 7249 ครั้ง
ผลจากตัวอย่างการทดลองใช้งาน
graph 1.jpg
graph 1.jpg (62.35 KiB) เข้าดูแล้ว 7249 ครั้ง
จากการทดลองขี่ด้วยกำลังที่ค่อนข้างคงที่ มีรอยต่กของวัตต์ในแต่ละช่วงจากการเปลี่ยนเกียร์และปรับรอบขาให้ได้วัตต์เท่าเดิมเพื่อสังเกตุการตอบสนองของการวัดแรงบิดที่สัมพันธ์กับรอบขา พบว่าโดยรวมแล้วในกลุ่มพาวเวอร์มิเตอร์ที่มีความคาดเคลื่อน 0.5-1.5% อย่างตัวอย่างสองตัวนี้ แทบไม่มีค่าวัตต์แตกต่างกันเลย ค่าวัตต์ที่ได้เป็นตัวเลขที่แตกต่างกันประมาณ 4.0-5.0% ซึ่งถือเป็นค่าปกติของความแตกต่างระหว่างการวัดที่ระบบส่งกำลังและวัดที่ดุมล้อหลัง ถ้าไม่นำค่ามาเทียบ(เทียบไปก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา) ก็ย่อมไม่มีความจำเป็นต้องมามองว่าความต่างเท่านี้มีผลกับการใช้ซ้อมหรือไม่
graph 2.jpg
graph 2.jpg (96.25 KiB) เข้าดูแล้ว 7249 ครั้ง
แต่เมื่อแยกกราฟของทั้งสองตัวออกจากกัน จะเห็นว่ามีบางจุดที่พาวเวอร์มิเตอร์ทั้งสองตัว บันทึกค่าที่ได้แตกต่างกัน บางจุดตัวหนึ่งไม่มีค่าเปลี่ยน แต่อีกตัวกลับมีค่าเปลี่ยนไปแตกต่างอย่างเป็นประเด็น
04.jpg
04.jpg (68.72 KiB) เข้าดูแล้ว 7249 ครั้ง
อะไรคือปัจจัยของจุดเหล่านั้น?
ลองสังเกตุผลที่ได้จากกราฟของการขี่อีกหนึ่งครั้ง ที่มีการสร้าง matches ของการระเบิดวัตต์ระยะสั้นๆเป็นพักๆ
graph 3.jpg
graph 3.jpg (109.18 KiB) เข้าดูแล้ว 7249 ครั้ง
ถ้าสังเกตุในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของวัตต์อย่างรวดเร็ว จะเริ่มเห็นได้ว่าพาวเวอร์มิเตอร์ทั้งสองตัว มีการตอบสนองของแรงบิดเริ่มไม่เหมือนกัน และมีบางจุดที่แรงที่ได้ต่างกัน ซึ่งผลของการวัดดังกล่าวก็ยังส่งผลถึงค่าวัตต์ในแต่ละช่วงระยะเวลาให้มีความคลาดเคลื่อนแตกต่างกันออกไปดังตารางต่อไปนี้
table.jpg
table.jpg (95.31 KiB) เข้าดูแล้ว 7249 ครั้ง
ความต่างของค่าวัตต์ที่บันทึกได้ที่แต่ละช่วงของการวัดมีผลลัพธ์ที่ได้แตกต่างกันจนน่าตกใจที่ระยะเฉลี่ย 60 นาที ซึ่งควรจะเป็นค่าที่ได้ผลใกล้เคียงค่าเฉลี่ยทั่วไปมากที่สุด แต่กลับแตกต่างกันมากกว่า 9% ในขณะที่ช่วงอื่นๆแสดงค่าได้ใกล้เคียงกันน่าพอใจ และมีอัตราความคาดเคลื่อนจากกันเฉลี่ยอยู่ที่ 4.06% ซึ่งก็ถือว่าเป็นเกณฑ์ที่เป็นปกติของทั้งสองตัวนี้
มีความเป็นไปได้หรือไม่ว่าค่าพีคที่แตกต่างในแต่ละครั้งอาจต่างกันไม่มากแต่ส่งผลให้ได้ค่ารวมๆต่างกัน?
ลองสังเกตุกราฟที่เจาะเฉพาะช่วงที่วัตต์แปรเปลี่ยนมากต่อไปนี้
graph 4.jpg
จากกราฟด้านบนเป็นข้อมูลที่บันทึกได้จาก InfoCrank และด้านล่างจาก PowerTap ซึ่งทั้ง 2 ตัวตั้งให้ไมล์ทำการบันทึกค่าละเอียดที่สุด(ทุก 1 วินาที) โดยไม่มีการบีบอัดข้อมูล(smart recording) และตั้งให้แสดงค่าในซอฟท์แวร์แบบไม่มีการกรองข้อมูลใดๆ จะเห็นได้ทันทีว่า InfoCrank มีการตอบสนองกับวัตต์ต่างๆเร็วและจับค่าได้อ่อนไหวกว่ามากๆ หากมีการเร่งก็จะตอบสนองได้ทันที เมื่อลดแรงลงก็สามารถแสดงค่าวัตต์ที่ละเอียดได้มากกว่า ซึ่งนี่คือผลที่ได้จากการออกแบบวิธีการวัดที่ Strain Gauge ถึงข้างละ 4 ตัว ร่วมกับการตอบสนองกับรอบขาที่วัดได้จริงผสมกับเซ็นเซอร์จับความเคลือ่นไหว
graph 5.jpg
เมื่อตั้ง filter ให้กรองข้อมูลขนาดเล็กที่ไม่สำคัญ ข้อมูลปลีกย่อยที่สั้นกว่า 3 วินาทีออกไปก็ยังเห็นความต่างของแนวการตอบสนองของกราฟได้อยู่บ้าง
จุดที่น่าสังเกตุคือจุดที่วัตต์ตกลงอย่างทันที ซึ่งเกิดจากรอยต่อของการเปลี่ยนเกียร์ที่เฟืองหลังซึ่งนอกจากตอบสนองออกมาเป็นวัตต์ที่ลดลงในจังหวะราขา ยังมีวัตต์ที่สุงขึ้นจากการออกแรงหมุนขาจานเพื่อรักษารอบขาเอาไว้ ซึ่งแสดงได้ชัดเจนบน InfoCrank แต่แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงในอีกตัวเลย
11.jpg
11.jpg (319.13 KiB) เข้าดูแล้ว 7249 ครั้ง
แปลว่าอย่างไร?
แน่นอนว่าสำหรับการใช้งานทั่วไป เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการฝึกซ้อมหรือบอกระดับความหนักในการขี่จักรยาน เทียบเป็นสัดส่วนกับค่าวัตต์อ้างอิงใช้งาน(FTP)ของตนเอง พาวเวอร์มิเตอร์ทั้งสองตัวผและอื่นๆในกลุ่มที่มีค่าความคลาดเคลื่อนใกล้เคียงกัน)ทำงานได้ดีไม่แตกต่างกัน สิ่งที่ต่างคือการตอบสนองต่อแรงที่กระทำจริงๆในระดับวินาที เท่านั้นที่อาจส่งผลกับการนำมาวิเคราะห์การใช้งานได้ ยิ่งในปัจจุบัน พาวเวอร์มิเตอร์มีความสามารถในการแสกนค่าต่างๆเช่นความราบเรียบของการออกแรง, ความสามารถในการควงบันได ร่วมกับซอฟท์แวร์ต่างๆได้ผลแสดงที่ชัดเจน ที่ระดับค่าวัตต์เหล่านั้น ความละเอียดมากๆมีผลต่อการประเมินทั้งสิ้น

แถมท้ายอีกหนึ่งอย่างที่กราฟอาจแสดงออกมาไม่ได้ชัดเจนคือช่วงท้ายที่สุดของการปั่นบนเทรนเนอร์ผมได้ทดลองออกแรงชนิด"แผ่วเบา" เบาขนาดที่แทบไม่มีแรงหมุนล้อเลยแม้แต่นิดเดียว ตัวหนึ่งวัดค่าได้อยู่ในระดับ 2-4 วัตต์บนหน้าจอ อีกตัวหนึ่งแสดงค่าได้ 0 วัตต์ พอเพิ่มแรงนิดหน่อย ตัวหนึ่งแสดงค่าได้ 7-8 วัตต์ อีกตัวแสดงค่าได้ 5-6 วัตต์ นั่นแปลว่าความอ่อนไหวต่อแรงกระทำระดับละเอียดมากๆของพาวเวอร์มิเตอร์แต่ละตัวมีไม่เท่ากันเห็นผลได้ชัดเจน
อีกประการที่น่าตลกสำหรับกรณีนี้ แต่น่าจะเป็นที่ PowerTap ตัวเดียว ถ้าปล่อยรถไหลลงจากเนินยาวๆแล้วทำการ"กึ่งฟรีขา" หรือหมุนขาตามไปด้วยแบบเกือบๆจะออกแรงส่งแต่มีเสียงดุมฟรีตลอดแน่นอน ผลที่ได้คือ เจ้า InfoCrank แสดงค่าได้ 0 วัตต์ แต่ PowerTap ขึ้นวัตต์ที่มากกว่า 0 .... อันนนี้เป็นจุดอ่อนของ PowerTap ครับ เพราะ Power2Max อีกตัวก็ไม่เป็น เป็นเช่นนี้เพราะระบบขับเคลื่อนมันไปหมุนดุมหลัง และไปเกิดแรงบิดใน Strain Gauge ของดุมเข้านิดๆหน่อยๆเลยเกิดเป็นค่าวัตต์ผีหลอกขึ้นมานั่นเอง (แต่อย่าคิดว่า TP กระจอกนะครับ เพราะผลการทดสอบหลายสำนัก มันแม่นกว่าพวกวัดที่จานบางตัวเสียอีก)

ได้เวลาสรุปกันแล้วว่า InfoCrank ผลรวมการใช้งานเป็นอย่างไร
ข้อดี
1.แม่น ... ข้อนี้ผมขอรวมไปถึงเสถียร ไว แสดงค่าได้ละเอียดและวางใจได้กับทุกรายละเอียดที่นำมาวิเคราะห์ต่อ คงเป็นการยากที่จะนำมาเทียบกับอีกหลายๆตัวเช่น Rotor, Power2Max ว่าการตอบสนองเป็นอย่างไร แต่ถ้าพูดถึงแรงสั้นๆ ไม่กี่วินาที แม้แต่การแสดงบนหน้าจอไมล์ InfoCrank ก็ยังคงแสดงค่าได้สัมพันธ์กับแรงกระทำจริงๆมากกว่า
2.รองรับฟังก์ชั่นหลายๆอย่าง... การที่วัดแยกสองข้างอย่างสิ้นเชิง และสามารถตรวจจับการเคลื่อนไหว ระบุตำแหน่งของตัวเองบนขาจานได้แปลว่าสามารถวิเคราะห์วงรอบการปั่นได้ พร้อมกับสามารถวิเคราะห์แรงที่"ได้งาน" กับ "เสียเปล่า" ของคนปั่นได้อีกด้วย ซึ่งต้องใช้งานร่วมกับซอฟท์แวร์อื่น
3.ราคา .. หลายๆคนอาจมองว่าแพงสำหรับค่าตัวเกินครึ่งแสนมานิดหน่อย แต่ถ้าเทียบกับ SRM หรือ Quarq คงต้องบอกว่าอย่างไรเสีย InfoCrank ก็ยังมีค่าตัวที่ถูกกว่า และมีราคาที่ไม่ได้ทิ้งไปจาก Power2Max เลยด้วยซ้ำ เพราะค่าตัวนี้รวมทั้งขาจาน ใจานและมาครบในตัว
4.ใช้งานได้สะดวก... การเปลี่ยนถ่าน และปรับตั้ง การติดตั้ง ทำได้ง่ายด้วยตนเอง สามารถเปลี่ยนใบจานได้โดยไม่มีผลต่อความแม่นยำ ในขณะที่วัตต์บางตัวเปลี่ยนถ่านเองไม่ได้ต้องส่งไปโรงงาน และบางตัวห้ามเปลี่ยนใบจานเพราะส่งผลกับความแม่นยำทันที
IMG_4202.jpg
ข้อสเีย
1.หน้าตา .... ผมเป็นคนไม่ค่อยใส่ใจกับเรื่องนี้มากนักเพราะเชื่อว่าแล้วแต่รสนิยมของแต่ละคน แต่ InfoCrank ทำให้ผมเชื่อได้ว่า ของบางอย่างมันมีแนวโน้มจะถูกมองว่าหน้าตาไม่ดี เพราะเกือบทุกคนมองตรงกันว่ามันไม่สวยเอาเสียเลย เป็นสุดยอดแห่งวิศวกรรมที่ไม่เสริมแต่งอะไรทั้งสิ้น Less Is More ยังยอมแพ้ โดยเฉพาะโมเดลที่เป็นสีเงิน .. บอกตามตรงว่าเหมือนกับจานเสือหมอบรุ่นล่างมากๆครับ
2.ถ่านราคาแพง ... อาจจะฟังดูไม่มีตรรกะว่าพาวเวอร์มิเตอร์ราคาครึ่งแสนกลับมาบ่นถ่านราคาไม่กี่ร้อย เจ้าถ่านที่ระบุให้ใช้เป็นถ่านแบบที่หาไม่ง่าย แถมราคาไม่ถูก ครบชุด 4 ก้อนก็สนนค่าตัวไม่ใช่เล่นๆ ในขณะที่แนวโน้มการใช้งานวัตต์ยุคใหม่ๆนอกจากใช้ถ่านกระดุมทั่วไปได้ ยังลามไปยังถ่าน AA,AAA ใส่ได้เลย สะดวก สบาย หาง่าย
3.ที่วัดรอบขาน่ากลัวหลุดง่าย .... ที่วัดรอบขาใต้กระโหลก ติดด้วยกาวแปะเอาไว้ ผมค่อนข้างกังวลว่าล้างรถบ่อยๆ ขี่บ่อยๆ ฝุ่น ทรายจะทำให้วันดีคืนร้ายกลับบ้านมารอบขาติดข้างเดียว เลยทำการดามด้วยแผ่นพลาสติคทับไว้ไขกับน็อตยึดถ่าน Di2 กันหล่นหายอีกตัว

InfoCrank เหมาะกับใคร?
ถ้าคุณมองว่าพาวเวอร์มิเตอร์ตัวละ 3 หมื่นแพง ไม่ว่าจะมีหรือไม่ใช้ก็ตาม คุณไม่เหมาะกับเจ้านี่ครับ ถ้าคุณมองว่าพาวเวอร์มิเตอร์แท้ที่จริงแล้วมีราคาตั้งแต่สามหมื่น ไปจนแสนกว่า และมีกลุ่มที่มีราคาปลายๆหลักหมื่นไปเกือบแสนอยู่อีกหลายตัว เทียบกับสิ่งที่มันทำได้ จะมองว่าราคานี้ถือว่ามีเหตุมีผลเป็นไปได้ ที่สำคัญ ถ้าคุณมองหาการซ้อมแบบซีเรียสมากๆ อยากวิเคราะห์ทุกๆอย่างที่ทำให้ปั่นได้ดีขึ้น อยากซ้อมจนถึงขั้นการนำค่าละเอียดระดับวินาทีมาดูเป็นแนวทางการพัฒนา ราคานี้เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
มีซอฟท์แวร์หลายๆตัวที่สามารถเชื่อมต่อผ่าน ANT+ เพื่อดูลีลาการปั่น ขาสองข้าง การออกแรงกลมหรือไม่ การดูว่าพีคแต่ละครั้งขาซ้ายและขวา ออกแรงต่างกันได้เท่าไหร่ ที่กี่องศา ของเหล่านี้เป็นรายละเอียดปลีกย่อยเพียงไม่กี่วินาที ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำไมโปรทั้งหลายถึงมุ่งไปที่ SRM เพราะใช้ค่าที่ละเอียดขนาดนี้ในการฝึกซ้อมนั่นเอง

ข้อมูลปลีกย่อยเพิ่มเติม
-ขณะนี้รุ่น InfoCrank Classic (รุ่นล่าสุด) มีเฉพาะ 130BCD แบบ 5 แฉกเท่านั้น ในอนาคตจะออกรุ่น 110BCD ออกมาแต่ยังไม่มีข่าวว่าจะออกแบบ 4 แฉก(มาตรฐาน Shimano)
-InfoCrank Classic มาในเสป็คแกน 24 มม. มีรุ่นก่อนหน้าที่มาในเสป็คแกน 30 มม. ซึ่งทำได้ทุกอย่างเหมือนกันหมด มีความละเอียดเหมือนกัน แต่แกนใหญ่กว่าสำหรับเฟรม BB30[homeimg=300,250]http://www.thaimtb.com/forum/picture_mt ... 252045.jpg[/homeimg]

Re: REVIEW VERVE INFOCRANK ถ้าความแม่นยำคือสิ่งที่คุณต้องการ

โพสต์: 01 ก.ย. 2015, 20:43
โดย AstroKAney
ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะครับ :D

Re: REVIEW VERVE INFOCRANK ถ้าความแม่นยำคือสิ่งที่คุณต้องการ

โพสต์: 01 ก.ย. 2015, 20:56
โดย Smoothie
มันเยี่ยมเลยครับ แต่ราคาก็นะ :lol:

Re: REVIEW VERVE INFOCRANK ถ้าความแม่นยำคือสิ่งที่คุณต้องการ

โพสต์: 02 ก.ย. 2015, 10:02
โดย gorath
ขอบคุณครับ

Re: REVIEW VERVE INFOCRANK ถ้าความแม่นยำคือสิ่งที่คุณต้องการ

โพสต์: 02 ก.ย. 2015, 13:55
โดย waranon1974
ขอบคุณครับ

Re: REVIEW VERVE INFOCRANK ถ้าความแม่นยำคือสิ่งที่คุณต้องการ

โพสต์: 04 ก.ย. 2015, 11:07
โดย ride in box
เข้าใจเลยครับ

Re: REVIEW VERVE INFOCRANK ถ้าความแม่นยำคือสิ่งที่คุณต้องการ

โพสต์: 07 ก.ย. 2015, 12:49
โดย iPower
อ่านแล้วไปปัดฝุ่นหาล้อ PowerTap G3 ที่ทิ้งไว้จะสองปีละ
มาลองใช้อีกที่ซิแบตน่าจะหมดแล้ว
ของแบบนี้ไม่มีก็อยากมี มีแล้วใช้แปบๆก็หายยากละ

Re: REVIEW VERVE INFOCRANK ถ้าความแม่นยำคือสิ่งที่คุณต้องการ

โพสต์: 24 ต.ค. 2015, 11:43
โดย Jrr
ขอถามนอกเรท่องครับ ความสติฟของขาจานเป็นอย่างไรบ้างครับ

Re: REVIEW VERVE INFOCRANK ถ้าความแม่นยำคือสิ่งที่คุณต้องการ

โพสต์: 26 ต.ค. 2015, 13:39
โดย giro
Jrr เขียน:ขอถามนอกเรท่องครับ ความสติฟของขาจานเป็นอย่างไรบ้างครับ
ผมหนักแค่ 56-57 กก. ปกติวัตต์กดก็ไม่ได้มากมายอะไร กระทืบสุดๆก็ได้แค่ 700-900 วัตต์ (ทีเดียวด้วย ถ้าเอาติดๆกันหลายๆดอกต้องแค่ 600 วัตต์) ดังนั้นบอกตามตรงว่ามีจานไม่กี่ตัวเท่านั้นที่ผมรู็สึกว่ามัน "ย้วย" (แต่มี ยี่ห้ออะไรไม่ขอบอกครับ ต่ยี่ห้อนั้น ยุคนั้นเป็นที่รู็กันดีของเว็บฝรั่งว่ามันย้วยเอาเรื่อง)
สำหรับ InfoCrank ซึ่งขาเป็นอลูฯขึ้นรูปมาแบบไร้รอยต่อ โอเคครับว่าน้ำหนักมันอาจจะไม่ได้เบาเทพๆแบบขาอลูฯเบาๆ แต่จัดว่าไม่ได้หนัก และท่สำคัญ มันก็จัดได้ว่า"แข็ง"สู้เท้าน้อยๆของผมได้เทียบแล้วก็ไม่ได้รู้สึกว่ามันย้วยอะไร

สำหรับผมขาเหล่านี้ให้ความรู้สึกเดียวกันกับ InfoCrank
Shimano 105, Shimano Ultegra 6800, Shimano Dura-Ace 7900, Shimano Dura-Ace Di2 9000
Sram Force 110BCD 52/36, Sram Red
FSA Gossamer 110BCD 52/36
Rotor 3D+, Rotor 3D
ซึ่งสำหรับคนที่แรงกระทืบแน่นๆบางท่านสามารถแยกความต่างของ Ultegra 6800 และ Dura-Ace 7900 ได้ (ซึ่งผมแยกไม่ออก)
ส่วนขาจานที่ผมยอมรับว่ามันรู็สึกการส่งแรงต่างจากกลุ่มเบื้องต้นคือ
Campagnolo Chorus 53/39, ControllTech 110BCD 53/39, FSA Energy 130BCD 56/39
ซึ่งมัน*อาจจะ* มีอาการ flex ได้จากปัจจัยหลายๆจุดซึ่งไม่ได้แปลว่ามาจาก"ขาจาน" โดยตรงนะครับ ทั้งทรงของใบจานและ BCD กับขนาดใบจานก็มีผลในเรื่องนี้เช่นกัน
และหากมองให้ลึก ใบจานเองก็มีผลสำคัญมากๆ อย่าง FSA Energy ผมใส่ใบแอโร่ของ Vision ซึ่งเป็นอลูมินั่มใบใหญ่กว่าปกติ ตัวใบไม่ได้เหมาะกับการกระทืบ หากนำไปกระทืบโยกขึ้นก็จะรู้สึกว่ามันไม่ได้แน่นส่งแรงเหมือนตัวอื่นๆ อันนี้เป็นการใช้ของไม่ถูกประเภทเองครับ ส่วน ControlTech มันเป็นจุดอ่อนของการใช้ BCD110 ร่วมกับใบ 53 และตัวใบเองก็เป็นใบ oem ที่ผมสั่งมาใส่เองด้วย น่าจะเป็นปัญหาของโครงสร้างใบมากกว่า

ผมจึงไม่ค่อยใส่ความเห็นด้านนี้ครับ แรงหน่อมๆแบบนี้ ไม่ขอฟันธงว่าจานหรือขาจานอะไร stiff มากน้อยแบบไหน ถ้าไม่ได้ต่างจริงๆ บอกตามตรงว่าแยกไม่ออกครับ