หน้า 25 จากทั้งหมด 325

Re: เล่าเรื่อง/เส้นทางปั่นวันอาทิตย์ จากหาดใหญ่ ไป-กลับ ใน 1 วัน

โพสต์: 28 ก.ย. 2009, 21:00
โดย TigerSmile'Hy
รูปภาพ
  • วันเสาร์ เป็นวันหยุด(งานหลวง)
  • วันอาทิตย์ เป็นวันปั่นจักรยานแห่งชาติ
  • วันจันทร์ เป็นวันนั่งรวมรวมข้อมูลสรุปทริป

  • วันอังคาร, พุธ และพฤหัสฯ เป็นการทะยอยรายงานทริป
  • วันศุกร์ ประชุมสภา และจัดทำข้อมูลเตรียมการปั่นทริปต่อไป
... ครบ 7 วันแล้วยังหว่า ... อิอิอิ :lol:

... ส่วนเรื่องของกินอันนี้แล้วแต่"ด-ว-ง" :D

... มาถึงเรื่อง"บัตรแรกที่ท่านเลือก"ไม่ใช้มัน .... การเลิกมันไม่น่าจะยากกว่าการเลิก"บุหรี่" นะ...ผมว่า อิอิอิ ก่อนนี้ผมมีบัตร"คุณผู้หญิงที่ชื่อออน" หรือชาวบ้านชอบเรียก "อีอ้อน" ผมว่าเขาใช้คำพูดไม่ค่อยสุภาพ ... แจ้งทางเอกสารว่าบัญชีผมขาดการติดต่อมา 2 ปี หากไม่รับการติดต่อกลับภายใน 15 วัน ทางบริษัทต้องขอยกเลิกบัญชีของท่านทันที ... "ขอบคุณ" คือคำตอบที่ผมมีให้ในใจ 555

... อีกเรื่องบัตรเครดิต"เมืองธนาคาร" มันขยันเพิ่มวงเงินในบัตร เพิ่มเสร็จมันก็ส่งเอกสารมาบอกเรา เยินยอเราว่าเป็นลูกค้าที่ดีเกรด A (หากเที่ยบกับถุงมือก็คงยี่ห้อ "โลวี่-ฮาตี้" ... เที่ยบกับดุมก็คงเป็น"โฮ-ปี้" ... เทียบกับไปท้ายก็คงเป็น"ยี่ห้อสลบ" ... น๊อก) ว่างๆ มีพนักงานเสียงใสๆ โทรมาบอกให้เอาเงินไปใช้สัก"แสน" ... ผมรีบบอก"ตกลง" ส่งเป็นธนาณัติมาตามที่อยู่ในใบแจ้งหนี้ซิ ... คุณเธอก็ไม่ยอม 555 พอโทรมาบ่อยๆ ผมก็เกล้งทำเป็นโมโหขอให้โอนสายไปแผนกบัตรฯ คุณเธอถามว่าจะคุยเรื่องอะไร? ... ผมบอกว่าจะขอยกเลิกบัตรฯ คุณเธอจึงรีบจบการสนทนา ... ขืนโอนไปแล้วผมยกเลิกบัตรจริง ... เธอตกงาน ชัวร์
รูปภาพ รูปภาพ

:arrow: หัวรุ่งวันอาทิตย์ที่ 27 กย. 52 ... อันที่จริงผมตื่นแต่ตี "4 สิบ 5" เพราะท่าน ผบ.ฯ ทั่นจะไปร่วมเดิน-วิ่ง ของเทศบาล ต.คอหงส์ฯ เลย

ต้องตั้ง"ลูกยาม" หรือนาฬิกาให้มันทำหน้าที่บ้าง ... (จริงๆ ไม่ได้ใช้นาฬิกาหรอกนะ ใช้มือถือนี่แหละ...อิอิอิ) เสียงปลุก กะ เสียงฝนกระทบ

หลังคา มันกลมกลืนประสานเป็นทำนองเดียวกัน คุณ ผบ.ฯ ท่านหลับต่อ ... อันตัวข้าพเจ้าก็เลยต้องมานั่งน่าคอมฯ เปิดเน็ทดูว่าจะมีใครสักคน"

แคนเซิล" ... ไม่ยักจะมีแฮะ .... :roll:

... ตี 5 สิบ 5 มีเสียงทางสาย"โฟนอิน" บอกว่าขอดูลาดเลาตอน ตี 5 ครึ่ง ;)

... ตี 5 สี่ 10 มีเสียง"โฟนอิน" บอกว่าเจอกันหน้าคาร์ฟู ตอน ตี 5 ห้า 10 ;) ไม่ต้องรอผม ... ไปรอที่ถานีเลย ผมตอบ

... 6 โมง 5 นาที ก็หน้าสลอนกันอยู่ที่ถานีรถไฟหาดใหญ่,,, หมอจักรยานทำหน้าที่ไปรับตั๋วมา 1 ชุด 4 ที่ ... มิสะเตอปังเลยอาสาเป็นนายแบบ(

เพราะหน้าตาให้) ส่วนเฮียตือขอถอยห่างๆ :lol:

... ขบวนที่ 446 เวลาออก(ตามตาราง 6 โมง 30 ... เวลาถึงถานีพัดลุง 8 โมง 30) แต่ของจริงถึง 9 โมงครึ่ง ตามที่ใครบาง

คนเกริ่นให้ฟังไปแล้ว 555 รฟท. น่ารักออกจะตาย :mrgreen:

รูปภาพ รูปภาพ

... ค่าโดยสารฟรี 4 ท่าน ... ส่วน"เสือ" ตัวละ 90.- เท่ากันหมด ไม่แบ่งแยกเลยว่าดุม"โอ-ปี้" หรือ "ดุมจักรพรรดิ์" ... ดุม xt(r) เก่าๆ น่าจะลดราคาให้บ้างนะพี่ รฟท. :oops: ขณะอยู่บนรถไฟมี"ตาลุง" คนหนึ่งถามว่า "ไอ้หลายชาย ... คันไหนแพงสุดว๊ะ" พอทียังงี้รุมชี้มาที่"เหล็กไหลขาว-แดง" :o

Re: เล่าเรื่อง/เส้นทางปั่นวันอาทิตย์ จากหาดใหญ่ ไป-กลับ ใน 1 วัน

โพสต์: 28 ก.ย. 2009, 21:26
โดย TigerSmile'Hy
รูปภาพ
รูปภาพ

:| 3 ชั่วโมงถัดมาเราก็ได้ลงมายืดเส้นยืดสายกันที่"พัทลุง" ซะที ... โดยมาคณะ"4 คูณ 100" (อ่านว่า สี่ - คูน - ร้อย) ทีมดังแห่งเมืองลุงมาคอยรับที่สถานีรถไฟ...

รูปภาพ รูปภาพรูปภาพ

... ที่แรกที่ไปคือ"ร้านศิริชัยฯ" เกาเหลา-ตำลึง-เลือหมู ... ที่อร่อยชื่อดังอีกเช่นกัน(มีร้านเดียว) :oops: เราไปสายจึงมีตัวเลือกค่อนข้างน้อย... แต่ก็ได้รับบริการครบถ้วนทั่วหน้า (อิ่มจัง...ตังค์อยู่โคร๊บบบบบบบบ) ขอบคุณครับ

รูปภาพ รูปภาพ

... หอโพนมงคลที่แรกที่เราไปชมคือโพนอนันตชัย อยู่ในลำดับที่ 7 ใน 9 ลำดับ เหตุที่เรามาที่นี่ก่อนเพราะอยู่ใกล้สถานีรถไฟพัทลุง อยู่ถัดมาทางทิศใต้ของสถานี และอยู่ฝั่งตะวันตกของทางรถไฟ ... หากนั่งรถไฟจากหาดใหญ่จะอยู่ทางซ้ายมือ มองเห็นได้ชัดเจน บริเวณนั้นเขาเรียกสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรตื ร.9 คาดว่าน่าจะเป็นทีดินของการรถไฟฯ
โพนอนันตชัย (ชื่อเดิม - อีโด)
โพนแห่งวัดท่าสำเภาใต้ อำเภอเมืองพัทลุง สร้างเมื่อ พ.ศ.2430 แต่ไม่ปรากฏข้อมูลว่า ใครเป็นผู้สร้าง
เป็นโพนรุ่นเล็ก ทำจากไม้ประดู่ สูง 57 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 35 เซนติเมตร มีลูกลัก 78 อัน ขนาด 4 หุน

เป็นโพนบอกเวลาเช้า - เย็น เหตุฉุกเฉิน มีอายุมาก เสียงดังก้องกังวาน ไม่เป็นสองรองใครเรื่องเสียง แม้อาจจะไม่ได้แชมป์สนามใหญ่หรือสนามกลาง กระนั้นก็ติดรองแชมป์ทุกปี ส่วนสนามภูธร ระดับตำบล - หมู่บ้าน ยากที่คู่แข่งชนะได้

Re: เล่าเรื่อง/เส้นทางปั่นวันอาทิตย์ จากหาดใหญ่ ไป-กลับ ใน 1 วัน

โพสต์: 28 ก.ย. 2009, 21:54
โดย Mr.Pang
:mrgreen: ขอเข้ามาขั้นกลางระหว่างการรายงานของพี่เสือยิ้มก่อนนะครับ

:mrgreen: ก่อนอื่น ต้องขอขอบคุณพี่ๆ ทีมงาน สี่ คูน ร้อย แห่งเมืองพัทลุง นะครับ ที่ต้อนรับพวกกระผมเป็นอย่างดีมากๆ (หมายถึงอิ่มมากๆนะครับ :lol: )
และได้ตีนโพนมหามงคลทั้ง 9 ใบ นอกจากนั้นยังได้กราบพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ(พระสี่มุมเมือง) ที่ศักดิ์สิทธิ์ดูแลปกป้องประจำทิศใต้ด้วย
พอตีโพนได้ครบทั้ง 9 ใบ ยางผมก็แบนทันที ผมคิดในทางที่ดีมันทำให้ผมต้องเดินทางช้าออกไปอีกนิดหนึ่ง น่าจะทำให้แคล้วคลาดจากเหตุร้ายแน่ๆ เลย :P

:mrgreen: ส่วนเรื่องตะโพน กับโพนผมก็อยากรู้เหมือนกันครับ และยังไงรบกวนค้นหาให้อีกซักเรื่องหนึ่งว่า "ทำไมประตูทางขึ้นรถไฟจึงได้เล็กเช่นนี้ครับ" อยากรู้จริงๆ :lol:

:mrgreen: รายงานข่าวเพิ่มเติมครับ เฮียตือปลอดภัยครับ ไม่มีปัญหาเจ็บที่มือนิดหน่อย นอกนั้นปกติ ทุกอย่าง :mrgreen: เห็นไหมขนาดมีเคราะห์ ยังจากหนักเป็นเบาเลย นี่แหล่ะอนิสงค์ของการทำบุญไหว้พระมา สาธุ สาธุ สาธุ :P

:mrgreen: รอฟังการบรรยายของพี่เสือยิ้มต่อดีกว่า :lol: :lol: :lol: :lol: :lol:

Re: เล่าเรื่อง/เส้นทางปั่นวันอาทิตย์ จากหาดใหญ่ ไป-กลับ ใน 1 วัน

โพสต์: 28 ก.ย. 2009, 23:39
โดย DraftBeer
แข่งก็แข่งไม่จบปั่นได้รอบเดียว จุกซะก่อน(ซ้อมไม่ถึง+อดนอน)
รู้งี้ไปร่วม ทริปพัทลุงด้วยดีกว่า

Re: เล่าเรื่อง/เส้นทางปั่นวันอาทิตย์ จากหาดใหญ่ ไป-กลับ ใน 1 วัน

โพสต์: 29 ก.ย. 2009, 06:51
โดย TigerSmile'Hy
รูปภาพ
:idea: ทักทายกันยามเช้ากับ รั้งท้ายทีมส์ หัวหน้าทีมแอบไปเที่ยว สมาชิกไปแข่ง ... กลับมาคงได้รับเงิน(ค่า)อัดฉีด :P อย่างนี้ต้องฟ้อง กกต. ให้เพิกถอนสิทธิฯ (หัวหน้า) 5 ปี ... ดีครับ แข่งก็สนุก, ปั่นเที่ยวก็สนุกไปอีกแบบ

:arrow: ตึง...ตึง...ตึง... นี่เป็นเสียงของเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง เรียกว่า "โพน" จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับ "กลอง"

... โพนเป็นภาษาท้องถิ่นของภาคใต้ใช้เรียกเครื่องดนตรีพื้นบ้าน เสียงของมันมีความดังก้องกังวาน ที่แสดงถึงพลังอำนาจ ความยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะโพนที่จังหวัดพัทลุงนั้นได้รับการยอมรับว่า ยอดเยี่ยมไม่เป็นรองใคร

ทำความรู้จัก "โพน" เมืองพัทลุง
... ไม่ว่าต้นกำเนิดของโพนจะมาจากที่ใดก็ตาม แต่ที่แน่นอนที่สุดคือ "โพน" อยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนพัทลุงหรือคนเมืองลุงมายาวนาน วิธีการทำโพน และลีลาท่าทางการตีโพนของคนเมืองพัทลุงก็จะไม่เหมือนกับเมืองอื่นๆ คือมีทั้งความสวยงามและความแข็งแรงเข้มแข็งอยู่ในที

... สำหรับอดีตของโพนนั้น ในอดีตจะนำมาตีเพื่อให้สัญญาณเวลาฉันท์อาหาร ใช้ตีบอกเหตุร้ายในเวลากลางคืน หรือตีโพนเพื่อเป็นสัญญาณการเรียกประชุม นอกจากนั้นยังใช้โพนเพื่อให้จังหวะการลากพระสร้างความสนุกสนานให้กับขบวนลากพระ การลากพระ(ชักพระ)เป็นประเพณีที่สืบทอดมาแต่โบราณของชาวใต้จัดขึ้นในวันออกพรรษา

เรียนรู้วิธีการทำโพน จากภูมิปัญญา
... ปัจจุบันการทำโพนกลายเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดพัทลุงไปแล้ว โดยเฉพาะที่หมู่บ้านทำโพน ม. 3 ต.ปรางหมู่ อ.เมือง จ.พัทลุง ถือเป็นหมู่บ้านที่ขึ้นชื่อลือชาในการทำโพนมาแต่ช้านาน ช่างทำโพนหมู่บ้านนี้ถ่ายทอดเคล็ดลับวิธีการทำโพนสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น โดยในปัจจบันมีการมีการประยุกต์ นำเทคนิคและคิดค้นวิธีการเพื่อให้ได้โพนที่มีเสียงไพเราะมากยิ่งขึ้น

... เมื่อปลายเดือน กรกฏาคม 2552 ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้รับเชิญจาก ททท.หาดใหญ่ ไปร่วมปั่นจักรยานเพื่อแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวรอบทะเลสาปสงขลา (25-27 กค. 52) ได้เดินทางไปยังบ้านเลขที่ 45 ม. 3 ต.ปรางหมู่ อ.เมือง จ.พัทลุง 93000 บ้านของ"พ่อกล่อม ชูแก้ว" พัทลุง-นักหุ้มโพนมือฉกาจ สร้างตำนานสืบทอดบรรพบุรุษ

รูปภาพ รูปภาพ

... ครอบครัวนี้ได้รับการสืบทอดการทำโพนมาแต่รุ่นก่อนๆ ปู-ย่า-ลูก-หลาน ช่วยกันทำโพน ... ลูก-หลาน รับหน้าที่ตีโพน ทั้งแต่แข่ง ตีโชว์ตามงานพิธีต่างๆ อย่างเช่นเมื่อ 26 กค. ตอนตี 3 มีการตีเป็นสัญญาณปล่อยตัวนักวิ่งมาราธอน ที่หาดใหญ่(วิ่งไปแหลมโพธิ์) กลอง"โพน"คู่นี้ และ ลูก กับ หลานชาย คู่นี้อีกเช่นกันรับหน้าที่ตีฯ ... ตอนที่คณะของเราเข้าไปชมและขอให้เขาตี 2 คนนี้ยังบ่นให้ฟังว่า"เหนื่อยอยู่เลย" แต่พออธิบายว่าคณะที่มาเป็นสื่อมวลชนและผู้ประกอบการท่องเที่ยวจากกรุงเทพฯ ... น้อง 2 คนบรรเลงตีแบบไม่ยั้ง สังเกตได้จากเนื้อที่แก้มเต้นพริ้วตามเสียงกลอง"โพน"

รูปภาพ
รูปภาพ รูปภาพ รูปภาพ
รูปภาพ รูปภาพ

Re: เล่าเรื่อง/เส้นทางปั่นวันอาทิตย์ จากหาดใหญ่ ไป-กลับ ใน 1 วัน

โพสต์: 29 ก.ย. 2009, 07:33
โดย TigerSmile'Hy
รูปภาพ
รูปภาพ รูปภาพ รูปภาพ

... ขั้นตอนการทำโพนนั้น ช่างจะเริ่มจากการการคัดเลือกไม้ที่จะนำมาทำ ไม้ที่นิยมนำมาทำจะเป็นไม้เนื้อแข็งได้แก่ ไม้ตลาดโตนด ไม้จำปาปีก ไม้ขนุนป่า ทั้งต้นมาตัดให้มีความสมส่วนกับเส้นผ่าศูนย์กลางของไม้ที่นำมาทำ โดยมีสัดส่วนความกว้างของหน้าโพนยาวเท่ากับความยาวของหน่วยโพน ตั้งแต่ช่วงระหว่างลูกสักของหน้าโพนทั้งสองหน้า

... หลังจากนั้นเจาะให้มีลักษณะกลมกลวงเป็นอกไก่ โดยใช้ ขวาน สิ่ว ปิ้ง ขวานถาก สิ่งกระทุ้ง เมื่อขุดเจาะไม้เป็นหน่วยโพนตามความต้องการแล้ว นำหน่วยโพนมาวางบนหมอนรองโพนซึ่งมีความกว้างกว่าหน้าโพน อาจเป็นแผ่นไม้หรือตีไม้เป็นกากบาทวางอยู่ในตำแหน่งตรงกลางของลานแม่ไฟ ซึ่งเป็นแผงหรือผังไม้สี่เหลี่ยมจัตุรัสใช้ยึดคันเบ็ดในการดึงรั้งการขึงหนัง

... สำหรับหนังที่ใช้หุ้มโพนนิยมใช้หนังควายแก่ และผอมเนื่องจากมีไขมันติดน้อย มีความทนทาน ถ้าหากเป็นควายที่มีการใช้งานยิ่งดีเพราะว่าหนังจะมีความเหนียว และทนทานสามารถใช้งานได้นาน หนังที่จะใช้ต้องเป็นหนังสด นำมาหุ้มหน้าโพนด้วยการแทงไม้กลัดกับชายหนังเพื่อเกี่ยวหูชองแช่เกลือ นำมาขึงแผงตากให้แห้งแล้วนำมาฆ่า (ฆ่าหนังคือการตีหนัง) โดยนำมาแช่น้ำที่ผสมกับหยวกกล้วย ลูกมะเฟืองเหลี่ยม ตะไคร้แช่หมักไว้หนึ่งคืน แล้วนำมาฆ่าด้วยการตีด้วยค้อนไม้ที่ทำด้วยไม้กระถินณรงค์ด้ามหวายตีจนหนังยึดตัวเต็มที่แล้วนำไปหุ้มโพน (การตีฆ่าหนังต่อตีไปเรื่อยๆจนหนังตึงและดังดี)

... หลังจากนั้นนำเนื้อมะพร้าวกะทิมาชโลมหนัง เพื่อให้น้ำกะทิกัดหนังทำให้หนังเป็นมันใสและสีผิวหนังลอกออกจะเป็นสีขาวสวย ขณะที่ตีหนังจะต้องชโลมมะพร้าวกะทิลงบนหนังทิ้งไว้ทั้งคืน จนกว่าจะได้หน้าโพนที่เสียงดี และมีข้อควรระวังคือ เวลาตากหนังต้องระวังไม่ให้มดแดงขึ้น เพราะหนังที่มดแดงปัสสาวะใส่จะทำให้หนังหมดสภาพ และก่อนที่จะหุ้มหน้าโพนจะต้องเจาะรูลูกสักให้ห่างจากขอบลงมาเล็กน้อย เจาะให้รอบหน่วยโพนทั้ง 2 ด้าน ลูกสักแต่ละลูกจะห่างกันไม่เกิน 2 เซนติเมตร โพน 1 ลูกจะใช้ลูกสักประมาณ 80-150 ลูก ดึงหนังให้ตึงใช้ไม้กลัดที่เหลาจากไม้ไผ่ให้แหลมมาแทงชายหนัง เพื่อใช้เป็นที่ยึดจับหูชองให้รอบผืนหนัง เกี่ยวหูชองด้วยเชือกที่มีความแข็งแรงรอบหน่วยโพนแล้วใช้ไม้คันเบ็ดที่มีความแข็งแรงทนทานในการรับน้ำหนักแรงดึงสอดใส่ในหูชอง ปลายไม้คันเบ็ดด้านหนึ่งเลยเข้าไปสอดขัดกับหมอนรองโพน ส่วนปลายไม้คันเบ็ดอีกด้านหนึ่งใช้เชือกผูกดึงไว้กับไม้ลานแม่ไฟ แล้วตีหนังให้ยึดตึงสลับกับดึงคันเบ็ดลงมาเรื่อง ๆ จนหนังตึงและได้เสียงที่ต้องการ

... เมื่อได้หนังที่เสียงไพเราะแล้วนำลูกสักที่เหลาด้วยไม้เป็นเดือยแหลมหัวมนด้วยไม้เนื้อแข็ง ตอกยึดหนังกับหน่วยโพนตามรูที่เจ้าไว้โดยรอบหน่วยโพน แล้วใช้หวายมาขัดเป็นปลอกลายหางเลนรัดหนังกับหน่วยโพนใต้แนวลูกสักทั้ง 2 ด้าน ก็จะเสร็จสิ้นการหุ้มโพน จากนั้นนำโพนลงจากหมอนรองโพนแล้วนำมาใส่ขาไม้ยึดโพนให้ตั้งได้อย่างมั่นคง
เคล็ดลับ ที่ (ไม่) ลับกับการตีโพน

... เสกสรร อ่อนทอง แชมป์โพนขนาดกลาง เล่าให้ฟังว่า "เริ่มเล่นโพนมาตั้งแต่อายุ 16 ปี โดยเริ่มเล่นกันในหมู่บ้าน จะมีนักเรียน นักศึกษา มาซ้อมตีกัน โดยจะฝึกซ้อมทุกวัน ตั้งแต่ 5 โมงเย็นถึง 3 ทุ่ม ปีนี้เป็นแรกที่ผมได้รางวัลถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ หลักสำคัญในการตีโพนคือต้องตีให้ดังๆใส่แรงเต็มที่ คนที่ตัวใหญ่ได้เปรียบเพราะมีแรงเยอะ โพนที่ใช้แข่งชื่อว่า สุวรรณโณ เหตุผลที่ใช้ชื่อโพนสุวรรณโณเพราะว่าเป็นฉายาทางธรรมที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้"

... เสกสรร ยังบอกอีกว่า เทคนิคการตีโพนที่ดี ผู้ตีต้องมีร่างกายแข็งแรงและมีพละกำลังมากเพราะต้องตีให้ครบตามเวลาที่กำหนด ผู้ตีโพนต้องมีลูกเล่นและไหวพริบยั่วเย้าให้คู่แข่งหลงทาง โพนเสียงทุ้มจะเป็นเสียงที่ต้องให้ตีสม่ำเสมอ ส่วนโพนเสียงแหลมจะต้องตีขัดให้กรรมการได้ยิน โดยรวบรวมพลังที่มีแล้วทิ้งลงไปที่จุดกลางโพน ความแรงและพละกำลังในการตีโพนต้องสม่ำเสมอ
ย้อนอดีตประเพณีแข่งโพน
... ประเพณีแข่งโพน เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวปักษ์ใต้ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมๆกับประเพณีลากพระ เนื่องจากวัดส่วนมากจะอยู่ในละแวกเดียวกัน เสียงโพนที่ดังกึกก้องนั้นทำให้ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าดังมาจากวัดไหน จึงเป็นที่มาของการแข่งโพน จังหวัดพัทลุงมีงานแข่งขันโพนที่ยิ่งใหญ่และสนุกสนานกว่าเมืองอื่นๆและจัดในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ตรงกับวันออกพรรษา ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี จึงมีคำพูดจากปากของผู้ที่ได้ชมการแข่งโพน "จะร้อยพันแม้นหมื่นเสียงตะโกน ฤาจะสู้เสียงแข่งโพนที่เมืองลุง" กลายเป็นคำกล่าวที่สะท้อนให้เห็นความยิ่งใหญ่และความมีชื่อเสียงของกลองโพนที่จังหวัดพัทลุง จนเป็นที่กล่าวขานกันว่า "จะแลแข่งโพนให้หรอยและหนุกต้องแข่งโพนเมืองลุง"

... ลักษณะของการแข่งโพนสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทด้วยกันคือ การแข่งขันมือ (ตีทน) การแข่งขันมือไม่ค่อยได้รับความนิยมเนื่องจากต้องใช้เวลาตีนาน เพราะต้องแข่งขันกันจนกว่าผู้ตีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะหมดแรง หรือมืออ่อนลงไปเองจึงตัดสินรู้แพ้รู้ชนะได้ อีกประเภทหนึ่งคือการแข่งขันจันเสียง การแข่งขันจันเสียงนี้จะได้รับความนิยมมากในปัจจุบันเพราะสามารถตัดสินผู้ชนะได้ง่ายและใช้เวลาเพียงนิดเดียว

... การแข่งขันตีโพน มักจะเริ่มขึ้นในช่วงปลายเดือน 10 และสิ้นสุดในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งตรงกับวันออกพรรษาพอดี สถานที่ทำการแข่งขันจะขึ้นอยู่กับคณะกรรมการผู้จัดว่าจะจัดขึ้นที่ใด ส่วนมากนิยมแข่งขันกันในช่วงกลางคืนตั้งแต่เวลา 21.00 น. เป็นต้นไป ถ้าหากมีผู้เข้าแข่งขันตีโพนจำนวนมากอาจจะแบ่งประเภทของกลองโพนโดยวัดจากเส้นผ่านศูนย์กลางได้เป็น ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่

... การตีโพนเป็นศิลปะที่เปรียบเหมือนสัญลักษณ์ของจังหวัดพัทลุง ถ้าลูกหลานไม่ช่วยกันอนุรักษ์ไว้หรือช่วยกันเผยแพร่ศิลปะที่ดีงามนี้ให้คนทั่วไปได้รู้จัก โพนจะกลายเป็นเครื่องประดับชิ้นหนึ่งที่ประดับไว้ในบ้านเพื่อความสวยงามเท่านั้น และเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลกับชีวิต อยากเชิญชวนให้มาชมการแข่งขันตีโพนและร่วมตีโพนสำคัญๆที่หอโพนทั้ง 9 จุดในจังหวัดพัทลุง และถ้ามาที่จังหวัดพัทลุงแล้วไม่ได้มาตีโพนทั้ง 9 ลูก ก็เหมือนมาไม่ถึงจังหวัดพัทลุงโดยสมบูรณ์

ขอขอบคุณข้อมูลจาก ท่องเที่ยววิถีไทย

Re: เล่าเรื่อง/เส้นทางปั่นวันอาทิตย์ จากหาดใหญ่ ไป-กลับ ใน 1 วัน

โพสต์: 29 ก.ย. 2009, 07:41
โดย TigerSmile'Hy
ตะโพน ... จาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%99 เขียน:รูปภาพ
  • ตะโพน เป็นเครื่องดนตรีที่ขึงด้วยหนัง ตัวตะโพนทำด้วยไม้สักหรือไม้ขนุน เรียกว่า หุ่น ขุดแต่งให้เป็นโพรงภายใน ขึ้นหนัง 2 หน้า ดึงด้วยสายหนังโยงเร่งเสียงเรียกว่า หนังเรียด หน้าใหญ่มีความกว้างประมาณ 25 ซม เรียกว่า หน้าเท่ง ติดหน้าด้วยข้าวสุกบดผสมกับขี้เถ้าเพื่อถ่วงเสียง อีกหน้าหนึ่งเล็กกว่ามีขนาดประมาณ 22 ซม เรียกว่า หน้ามัด ตัวกลองยาวประมาณ 48 ซม รอบ ๆ ขอบหนังที่ขึ้นหน้า ถักด้วยหนังที่ตีเกลียวเป็นเส้นเล็กๆ เรียกว่า ไส้ละมาน แล้วจึงเอาหนังเรียดร้อยในช่วงของไส้ละมานทั้งสองข้าง โยงเรียงไปโดยรอบจนมองไม่เห็นไม้หุ่น มีหนังพันตรงกลางเรียกว่า รัดอก ข้างบนรัดอกทำเป็นหูหิ้วและมีเท้ารองให้ ตัวตะโพนวางนอนอยู่บนเท้า ใช้ฝ่ามือซ้ายขวาตีได้ทั้งสองหน้า ใช้สำหรับบรรเลงผสมอยู่ในวงปี่พาทย์ ทำหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับต่าง ๆ
  • ตะโพนนี้ ถือเป็นบรมครูทางดุริยางคศิลป์ นับว่าพระประโคนธรรพ เป็นครูตะโพน เมื่อจะเริ่มการบรรเลง จะต้องนำดอกไม้ธูปเทียน บูชาตะโพนก่อนทุกครั้ง และถือเป็นประเพณีสืบต่อกันมา เหตุที่ต้องกราบใหว้บูชาก็เพราะ ตะโพนเป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงร่วมกับ สังข์ บัณเฑาะว์ และ มโหระทึก ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประจำองค์ของเทพเจ้า และสมมุติเทพ ดังนี้คือ สังข์ประจำพระองค์พระนารายณ์ และพระอินทร์ บัณเฑาะว์ ประจำองค์พระอิศวร มโหระทึก เป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบพระอิศริยยศองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งถือเป็นสมมุติเทพส่วนตะโพนนั้นเป็นกลองที่พระคเณศได้เป็นผู้ตีเป็นคนแรก ดังนั้น ตะโพนเมื่อนำมาร่วมบรรเลงในวงปี่พาทย์ จึงถือเป็นบรมครู และทำหน้าที่กำกับหน้าทับต่างๆทั้งหมด
รูปภาพ
ณ ที่นี้ผมเข้าใจเอาเองว่า "กลอง"โพน เป็นการรวมเรียกโดยใช้สรรพนาม"กลอง"นำหน้าเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงที่มีลักษณะองค์ประกอบด้วยไม้, หนัง ... ฯลฯ ส่วน"ตะโพน" คือคำนามที่ใช้เรียกเครื่องดนตรีที่ชาวบ้านเรียกว่า"โพน" ... อิอิอิ งงไหมเนี่ย

Re: เล่าเรื่อง/เส้นทางปั่นวันอาทิตย์ จากหาดใหญ่ ไป-กลับ ใน 1 วัน

โพสต์: 29 ก.ย. 2009, 09:31
โดย TigerSmile'Hy
รูปภาพ
รูปภาพ รูปภาพ รูปภาพ

... ร่ายยาวเรื่อง"โพน" มามากพอควร มาต่อกิจกรรมเล็กๆ ของเราดีกว่า ... เราออกปั่นไปตาม ถ.ราเมศวร์ ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3.5 กม. ถึงแยก"ท่ามิหรำ" ถึงแห่งวัดอินทราวาส (ท่ามิหรำ) ทางขวามือ โดยการนำทางของ" สี่ คูณ ร้อย" จ้าวเดิม

รูปภาพ รูปภาพ
โพนก้องฟ้า (ชื่อเดิม - ฟ้าลั่น)
โพนแห่งวัดอินทราวาส (ท่ามิหรำ) อ.เมืองพัทลุง สร้างขึ้นโดยพระครูตาแก้ว และพระปลัดประคอง ธมุมปาโล เมื่อ พ.ศ. 2497
เป็นโพนใหญ่ สูง 76 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 51 ซม. ทำจากไม้ขนุนทอง ลูกสักมี 98 อัน ขนาด 3 หุนครึ่ง มีนายแปลก ขุนชำนาญ เป็นผู้ตี

ผลงานที่สร้างชื่อคือเป็นแชมป์ในงานประเพณีแข่งโพน-ลากพระ ติดต่อกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536-2540 เป็นที่โจษจันกันในหมู่นักเลงโพนทุกเพศ ทุกวัย รูปทรงสวยงาม เสียงดัง มีเสน่ห์
รูปภาพ รูปภาพ รูปภาพ

... วัดอินทราวาส (ท่ามิหรำ) พิกัด N7.61075 E100.05654เป็นวัดเก่าแก่ของเมืองพัทลุง ละแวกนี้เรียกกันว่า"บ้านท่ามิหรำ หรือ ท่าหรำ" เคยเป็นจุดผ่านที่สำคัญของการเดินทางโดยรถยนต์ที่จะต้องผ่านขึ้นไปทางตรัง หรือ นครศรีฯ และจังหวัดอื่นๆ สมัยเด็กๆ ที่ยังไม่มีถนนสายเอเชียตัดผ่าน ผมนั่งรถไป/กลับตรัง-กระบี่-ภูเก็ต รถต้องมาจอดรอพักผู้โดยสารที่นี่เหมือนท่าแพขนานยนต์สงขลาแต่เดิม จะมีใครเกิดทันบ้างเนี่ย

บ้านท่ามิหรำตั้งอยู่ ในเขต เทศบาลพัทลุงส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งอยู่ทางทิศใต้ และทิศตะวันตกของเขตเทศบาล เมืองพัทลุง ห่างจากศาลากลาง จังหวัดพัทลุงประมาณ 3 กิโลเมตร
พัทลุง.คอม http://www.phatlung.com/place/bantamiram.php เขียน: พระธรรมเมธาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดภูผาภิมุข สัณนิษฐานคำว่า ท่ามิหรำ ปรากฎในหนังสือ เทพสาร คำว่า “ ท่ามิหรำ” มาจาก ท่ามิฬนครำ หมายถึงเมืองของชาว ทมิฬ ( ที่อยู่ ของชาวทมิฬ ) ที่อพยพมาจากประเทศลังกา
นายถัด พรหมาณพ ( อดีตผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง ) ให้ความเห็นว่า ท่ามิหรำ มาจากคำว่า “ท่าหมีร่ำ”
(ร้อง ) คือ สมัยโบราณหมีจะข้ามคลองตรงที่บ้านท่ามิหรำ เนื่องจากน้ำมากหมีข้ามไม่ได้ จึงส่งเสียงร้อง คนจึงเรียกชื่อตรงนี้ว่า “ ท่าหมีร่ำ” นานๆก็เพี้ยนเป็นท่ามิหรำ และยังมีคำบอกเล่าว่า บริวณนี้เป็นท่าน้ำมาก่อน ต่อมามีชาวอิสลามอาศัยอยู่ ลูกสาวคนหนึ่งชื่อ “หรำ “
ไปตกน้ำตายที่ท่าน้ำ จึงเรียกท่านี้ว่า “ ท่าอิหรำ” และก็เรียกเพี้ยนมาเป็น “ ท่ามิหรำ”
แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่า บ้านท่ามิหรำ เคยเป็นชุมชนเก่าแก่ อายุนับร้อยๆปี หลักฐานเคยเป็นที่ตั้งสถานที่ทำการของราชการ เรียกว่า “ บ้านทำเนียบ ” ( บริเวณด้านทิศเหนือของที่ประดิษฐานอนุสาวรีย์พระยาทุกขราษฎร์ ) ปัจจุบันชื่อบ้านค่อยหดหายเลือนลางไป แต่ชาวบ้านยังมีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตน ซึ่งมีวัดอินทราวาส หรือวัดท่ามิหรำเป็นศูนย์รวมจิตใจ ชาวบ้านใกล้เคียงตลอดมา
หุหุหุ จะมาจาก "ท่ามิฬนครำ" , “ ท่าหมีร่ำ” หรือ “ ท่าอิหรำ” ... ล้วนฟังแล้วน่ากลัวทั้งสิ้น มิน่าชาวจักรยานเมืองลุงเขาตั้งชื่อทีมกันแบบดุดุทั้งนั้นเลย สี่-คูณ-ร้อย งิ, ผีสิง งิ, ฟั่นเฟือน งิ, เลื่อนลอย งิ :lol: :lol: :lol:

Re: เล่าเรื่อง/เส้นทางปั่นวันอาทิตย์ จากหาดใหญ่ ไป-กลับ ใน 1 วัน

โพสต์: 29 ก.ย. 2009, 09:57
โดย TigerSmile'Hy
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ รูปภาพ
โพนมงคลลำดับที่ 2/9 เขียน:โพนพสุธาสนั่น (ชื่อเดิม - สุธาลั่น)
โพนแห่งจังหวัดสงขลา ไม่ปรากฏว่าเป็นของวัดใด แต่มีคนแลกเปลี่ยนกับโพนตาพ่วง จุลพูน ข้างโพนมีรอยระบุปีที่สร้าง คือ พ.ศ. 2471
เป็นโพนขนาดใหญ่ สูง 80 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 61 ซม. ทำจากไม้ตะเคียน มีลูกสัก 100 อัน ขนาด 3 หุน ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของนายพ่วง จุลพูน

โพนสุธาสนั่น เป็นโพนที่มีเสียงยืด ทุ้ม มีจุดเด่นที่รูปทรงสวยงาม สมส่วน เคยเป็นแชมป์ไทยสยามภูธรและรองแชมป์ถ้วยพระราชทาน
... ออกจากวัดอินทราวาส ปั่นย้อนกลับมาทางเดิม บนถนนราเมศวร์ (กลับมาทางทิศตะวันออก) เพียงแค่ 300 เมตร ก็จะถึง"สวนกาญจนาภิเษกเทศบาลเมืองพัทลุง" พิกัด N7.61112 E100.05906 เป็นหอโพนมงคลลำดับที่ 3 ใน 9 ลำดับ ... งานนี้หนูนา 1 ในทีม สี่คูณร้อย พาเราเลยไป ..."นาแลไม่เห็นโพนฮะพี่ยิ้ม" :lol: แลไหรอยู่ละน๊อง :D สรุปว่าหอโพนที่ 2 นี้เราเป็นผู้ชวนชาวเมืองลุง(หนูนา) มาดูโพน :lol: แต่คุณหนูนาพาพวกเรา"ข้ามโพน" :D น่าจะเป็นการคาดไม่ถึง(เข็มขัดสั้น) ที่หอโพนมงคลทั้ง 2 จุดนี้มันอยู่ห่างกันแค่ 300 เมตร ในความเห็นส่วนตัวผมไม่ค่อยเห็นด้วยสักเท่าไหร่ในการวางจุดที่ 2 ... ยิ่งเป็นสวนสาธารณะ ผมยิ่งไม่เห็นด้วยเพราะ"ขาดการดูแล" หากเทียบกับ"โพนก้องฟ้า" ที่วัดินทราวาส จุดนั้นผมคิดว่าเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง

รูปภาพ รูปภาพ รูปภาพ รูปภาพ

... อากาศเริ่มร้อน แต่พวกเรา 8 คนยังยิ้มแย้ม สดชื่น นี่คือ มิตรภาพ

Re: เล่าเรื่อง/เส้นทางปั่นวันอาทิตย์ จากหาดใหญ่ ไป-กลับ ใน 1 วัน

โพสต์: 29 ก.ย. 2009, 10:40
โดย pacharasupattanagul
ผมมือใหม่ อยู่อ.เมืองสงขลา ใช้รถTrek3900 อยากจะไปด้วยคนได้ไหมครับ ไม่ทราบว่ามันเหนื่อยมากไหมครับ พี่ๆ

Re: เล่าเรื่อง/เส้นทางปั่นวันอาทิตย์ จากหาดใหญ่ ไป-กลับ ใน 1 วัน

โพสต์: 29 ก.ย. 2009, 11:11
โดย TigerSmile'Hy
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ รูปภาพ รูปภาพ
โพนมงคลลำดับที่ 3/9 เขียน:โพนขวัญเมือง (ชื่อเดิม - ฟ้าเมืองลุง) มีการแลกเปลี่ยนโพนกันหลายทอด ท้ายที่สุดอยู่ในความผิดชอบของนายฉกรรจ์ ศารานุรักษ์ ที่เป็นผู้ตีด้วย
สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2496 เป็นโพนขนาดใหญ่ ทำด้วยไม้ตะเคียนทอง สูง 82 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 59 ซม. มีลูกสัก 76 อัน ขนาด 4 หุน

โพนฟ้าเมืองลุงเคยคว้าแชมป์โพนถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2543 เคยเป็นแชมป์ระดับตำบล-หมู่บ้านมาทุกปี หลังจากที่ประสบความสำเร็จสูงสุด จึงไม่ไปแข่งขันที่สนามใดเลยจวบจนปัจจุบัน
... เราปั่นฯ ย้อนกลับมาอีกราว 1,800 เมตร บนถนนราเมศวร์ ก็จะมาถึงหอโพนมงคลลำดับที่ 3 ใน 9ลำดับ ตั้งอยู่ระหว่างศาลากลางกับศาลจังหวัดพัทลุงพิกัด N7.61589 E100.07432 ซึ่งจุดเด่นของที่นี่คือ ศาลาจตุรมุข เป็นที่ประดิษฐาน ของพระสี่มุมเมืองหรือเรียกชื่อเต็มๆว่า "พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ" กิจกรรมที่เรามาคือเรื่อง"โพนมงคล" แต่ ณ จุดนี้เราต้องเริ่มที่ไหว้พระ"พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ" ซึ่งมีลำดับความสำคัญเหนือกว่า

รูปภาพ รูปภาพ รูปภาพ

... ที่โดดเด่นกว่านั้น มิสะเตอปัง กะ เฮียตือ ลงมือปั่น"ทักษิณาวัตร" คือวนขวา 3 รอบ โดยมีหมอจักรยานของเราคอยให้สัญญาณ ... :P ครบแล้วก็เข้าไปไหว้พระกันครับ

รูปภาพ
รูปภาพ

... ฝากรูปนี้ให้พี่ธานินทร์ 520 ด้วยนะครับ ... อิอิอิ (ถ่ายเมื่อครั้งไปร่วมฯ ททท.หาดใหญ่ 26/7/52)
ศาลาจตุรมุข

:arrow: เป็นที่ประดิษฐาน ของพระสี่มุมเมืองหรือเรียกชื่อเต็มๆว่า "พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ" เป็นพระพุทธรูปประจำภาคใต้ และพระคู่บ้านคู่เมืองของพัทลุง ประดิษฐานอยู่ภายในศาลาจัตุรมุขหล่อด้วยสำริดปางสมาธิ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลปัจจุบัน โปรดเกล้าฯ พระราชทานไว้ที่จังหวัดพัทลุง เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑ ตั้งอยู่ระหว่างศาลากลางกับศาลจังหวัดพัทลุง หน้าสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง (เยื้องเล็กน้อย)

:arrow: ประวัติความเป็นมา ของพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ เป็นพระพุทธปฏิมาปางตรัสรู้ หน้าตักกว้าง ๔๙ นิ้ว สูง ๖๙ นิ้ว โลหะที่ใช้หล่อประกอบด้วยทองเหลือง ๒ ส่วน ทองแดง ๑ ส่วน ทองขาว ๑ ส่วน น้ำหนักประมาณ ๔๐๐ กิโลกรัม เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง พระพุทธรูปปางนี้มีเพียง ๔ องค์ทั่วประเทศที่กรมการรักษาดินแดนสร้างขึ้น โดยพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์ ได้เสด็จพระราชดำเนินเททองด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ ๒ ส.ค. ๒๕๑๑ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๙ ปีวอก เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษก โดยพระมหาเถระผู้ทรงคุณวุฒิ นับว่าเป็นพิธีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศครั้งหนึ่งด้วย
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระพุทธปฏิมาทั้ง ๔ องค์นั้นและได้ประดิษฐานไว้ ณ สี่มุมเมืองของประเทศ ได้แก่
  • ๑.ทิศตะวันตก ประดิษฐานไว้ที่ จ.ราชบุรี (บนยอดเขาแก่นจันทร์)
  • ๒.ทิศเหนือ ประดิษฐานไว้ที่ จ.ลำปาง (ข้างศาลเจ้าพ่อหลักเมือง)
  • ๓.ทิศตะวันออก ประดิษฐานไว้ที่ จ.สระบุรี (หน้าศาลากลางจังหวัด) และ
  • ๔. ทิศใต้ ประดิษฐานไว้ที่ จ.พัทลุง (ตั้งอยู่ระหว่างศาลากลางกับศาลจังหวัดพัทลุง)
และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามพระพุทธปฏิมาทั้ง ๔ องค์ ว่า "พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ"

Re: เล่าเรื่อง/เส้นทางปั่นวันอาทิตย์ จากหาดใหญ่ ไป-กลับ ใน 1 วัน

โพสต์: 29 ก.ย. 2009, 11:27
โดย TigerSmile'Hy
pacharasupattanagul เขียน:ผมมือใหม่ อยู่อ.เมืองสงขลา ใช้รถTrek3900 อยากจะไปด้วยคนได้ไหมครับ ไม่ทราบว่ามันเหนื่อยมากไหมครับ พี่ๆ
สวัสดีดีครับ ... ยินดีที่เข้ามาทักทายฯ "เหนื่อยมากไหมครับ" ความเหนื่อยล้า มันเลี่ยงไม่ได้ครับ ส่วนจะมาก จะน้อย มันมีองค์ประกอบหลายๆ อย่างรวมๆ กัน ....แต่สิ่งที่ผมคิดว่าน่าจะสำคัญมาลำดับต้นๆ คือ ใจ ครับ ... หมดใจ ก็สิ้นหมดทุกอย่าง :P

... มือใหม่ มือเก่า ไม่ค่อยสำคัญ สำคัญที่เรามี"ความถี่" ในการออกกำลังกายบ่อยแค่ไหน ความฟิต ไม่เคยอยู่กับใครคงที่คงวานัก หากผู้นั้นไม่ค่อยจะ"ปั่น"ให้คงที่คงวา :mrgreen: มีรถ 6-7 คัน (บางคนแถวๆ นี้นะ) ก็ช่วยไม่ได้ ... ฮา

มีโอกาสคงได้ร่วมปั่นกันนะครับ...ยินดีที่ได้รู้จัก

Re: เล่าเรื่อง/เส้นทางปั่นวันอาทิตย์ จากหาดใหญ่ ไป-กลับ ใน 1 วัน

โพสต์: 29 ก.ย. 2009, 12:03
โดย ดีน
สรุปว่า 18 ตุลาคม 52 นะครับ ลุงยิ้ม
ไปเกาะนางคำเหนือ ไปกลับ 125 โล
ไม่โร้ต้องเตรียมไหรไปมั่ง

Re: เล่าเรื่อง/เส้นทางปั่นวันอาทิตย์ จากหาดใหญ่ ไป-กลับ ใน 1 วัน

โพสต์: 29 ก.ย. 2009, 13:21
โดย pacharasupattanagul
TigerSmile'Hy เขียน:
pacharasupattanagul เขียน:ผมมือใหม่ อยู่อ.เมืองสงขลา ใช้รถTrek3900 อยากจะไปด้วยคนได้ไหมครับ ไม่ทราบว่ามันเหนื่อยมากไหมครับ พี่ๆ
สวัสดีดีครับ ... ยินดีที่เข้ามาทักทายฯ "เหนื่อยมากไหมครับ" ความเหนื่อยล้า มันเลี่ยงไม่ได้ครับ ส่วนจะมาก จะน้อย มันมีองค์ประกอบหลายๆ อย่างรวมๆ กัน ....แต่สิ่งที่ผมคิดว่าน่าจะสำคัญมาลำดับต้นๆ คือ ใจ ครับ ... หมดใจ ก็สิ้นหมดทุกอย่าง :P

... มือใหม่ มือเก่า ไม่ค่อยสำคัญ สำคัญที่เรามี"ความถี่" ในการออกกำลังกายบ่อยแค่ไหน ความฟิต ไม่เคยอยู่กับใครคงที่คงวานัก หากผู้นั้นไม่ค่อยจะ"ปั่น"ให้คงที่คงวา :mrgreen: มีรถ 6-7 คัน (บางคนแถวๆ นี้นะ) ก็ช่วยไม่ได้ ... ฮา

มีโอกาสคงได้ร่วมปั่นกันนะครับ...ยินดีที่ได้รู้จัก
ครับพี่ครับ หากผมมีเวลาว่างก็ไปด้วยคนครับ ผมอายุ18ปีครับ ยังเด็กอยู่ไหมครับ

Re: เล่าเรื่อง/เส้นทางปั่นวันอาทิตย์ จากหาดใหญ่ ไป-กลับ ใน 1 วัน

โพสต์: 29 ก.ย. 2009, 13:31
โดย TigerSmile'Hy
:arrow: อิอิอิ อายุเป็นเพียงตัวเลข ... ดีใจที่มีคนเรียกพี่ :P
ดีน เขียน:สรุปว่า 18 ตุลาคม 52 นะครับ ลุงยิ้ม
ไปเกาะนางคำเหนือ ไปกลับ 125 โล
ไม่โร้ต้องเตรียมไหรไปมั่ง
... อิอิอิ ก็คงมีเรื่องสถานที่กินมื้อเที่ยง แถวๆ "เกาะนางคำเหนือ" ผมไม่เคยเข้าไป บังฯ ลองนึกๆ ดูว่าพอมีร้านข้าว, ข้าวยำ, หนมจีน หรืออย่างอื่นที่กินได้ :lol: มื้อเช้าก็คงจัดการกันให้เสร็จก่อนออกเดินทาง... :P

... อ้อ มีอีกเรื่อง "แรง" ปั่นฯ ครับของใครของมัน ยืมกันแบบยางในไม่ได้ :?
รูปภาพ รูปภาพ

... ฝากข่าวนี้บรรจุเป็นวาระ(เพื่อทราบ) เข้าที่ประชุมสภาฯ ศุกร์นี้ด้วย ... ฉุยฉายทีม :lol: จะไปร่วมปั่น"บ้านเก่าบังดีน ณ โคกเมา ... อาทิตย์ที่ 18 ตค. 52 (60% จะซ้ำทางเดิมที่ไปปั่นชม 4 เกาะ ... เกาะหมาก เกาะนางคำ เกาะยวน และ เกาะแน่นๆ นะน้องนะ) :D