กรดแลคติค ของดีที่มีประโยชน์

สอบถามเทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร เชิญห้องนี้เลย
giro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3092
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 15:14
Tel: 0865040751
team: Team Bike And Body Cycoling
Bike: Kemo KE-R5, Giant Propel Advance SL, Specialized Alez E5 Revolution
ตำแหน่ง: ซอยอารีย์ พหลโยธิน กทม.
ติดต่อ:

กรดแลคติค ของดีที่มีประโยชน์

โพสต์ โดย giro »

ผมได้อ่านเจอบทความทางวิทยาศาสตร์ที่อธิบายการวิจัยและแนวคิด(ค่อนข้าง)ใหม่สำหรับการรับรู้เกี่ยวกับกรดแลคติคและการออกกำลังกาย ที่ดูเหมือนว่าหลายๆคนจะยังไม่ทราบ หากไม่ได้เรียนมาทางสายวิทยาศาสตร์การกีฬาลงลึกอย่างแท้จริง เพราะ พวกเทรนเนอร์ทั้งหลายที่แนะนำการออกกำลังกายส่วนมากจะยังคงใช้ทฤษฏีเดิมที่กล่าวถึงกรดแลคติคในด้านลบเสียมาก จึงได้แปลและเรียบเรียงมาให้ได้ลองอ่าน เป็นการจุดประกายให้นำไปศึกษาลงลึกต่อไป ซึ่งเนื้อหาที่หยิบมานี้เป็นการอธิบายระบบการทำงานอย่างง่ายๆ มีบางแหล่งที่อธิบายสูตรคำนวนและระบบการทำงานในเชิงเคมีชีวภาพ ซึ่ง น่าจะเข้าใจยาก(มาก)ถึงขั้นต้องไปรื้อพื้นฐานเคมีสมัยมัธยมมานั่งดูว่า .... ไอ้ลบ ลบ บวก บวก เลาธาตุมันมาชนกัน มันเปลี่ยนยังไง ?? ยิ่งอ่านยิ่งมึน ยิ่งพยายามตามทฤษฏี ยั่งปวดหัว เลยอ่านผ่านๆไป ขอคว้ามาแต่ส่วนที่เข้าใจ"ง่าย" จะดีกว่า ใครที่พอจะสามารถอธิบายกลไกของมันทางเคมีชีวภาพให้เข้าใจเป็นสูตรได้ง่าย ก็รบกวนมาเลคเชอร์ให้ได้เข้าใจกันลึกซึ้งลงไปด้วยครับ

บทแรก
"กรดแลคติคไม่ใช่ของเสียของกล้ามเนื้อ มันคือพลังงานของกล้ามเนื้อ"
ตีพิมพ์วารสารวชาการ 16 พฤษภาคม 2006
โดย จีน่า โคลาตา


หลายๆคนที่เคยเล่นกีฬาและออกกำลังกายอย่างจริงจังคงได้รับคำเตือนและเนื้อหาเกี่ยวกับกรดแลคติคที่ว่ากรดเหล่านี้ถูกสร้างมาจากกล้ามเนื้อเป็นเหตุของอาการร้อนผ่าวและส่สงผลให้กล้ามเนื้อล้าจนถึงขั้นไม่สามารถทำงานหนักต่อไปได้อีก

โค้ชและผู้แนะนำการออกกำลังกายนิยมเตือนและวางแผนการออกกำลังกายให้กับผู้รักการออกกำลังไปจนนักกีฬาว่าอย่าได้ออกกำลังกายก้าวข้าม"แลคเตทเทรโชลด์" จุดที่ร่างกายทำงานหนักจนเกิดกรดแลคติคขึ้นมา ซึ่งต้องศึกษาเจาะเลือดกันเป็นยกใหญ่เพื่อจะหาเพดานตรงนี้ให้เจออย่างแม่นยำจะได้วางแผนการซ้อมได้อย่างถ่องแท้

แต่เมื่อเวลาผ่านไปดูเหมือนว่าจะไม่เป็นเช่นนั้น กรดแลคติคสามารถถูกนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานแทนที่จะเป็นแค่ของเสียจากระบบการทำงานของกล้ามเนื้อ ร่ายกายสังเคราะห์กรดเหล่านี้โดยใช้กลูโคสเป้นหนึ่งในวัตถุดิบและมีกระบวนการที่จะสามารถนำกรดชนิดนี้มาก่อให้เกิดประโยชน์ในการออกกำลังกายหนักๆได้ และนี่คือปัจจัยที่ทำให้นักกีฬาชั้นนำที่ได้รับการฝึกฝนมาเป้นอย่างดีสามารถออกแรงได้หนักและนานเพราะกล้ามเนื้อของเขาได้รับการปรับปรุงกระบวนการนี้ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำให้สามารถซึมซับเปลี่ยนกรดแลคติคกลับมาเป็นประโยชน์ได้มากและเร็วกว่าคนธรรมดา

"ทฤษฏีในด้านลบของกรดแลคติคนั้นถูกสร้างมากว่าหนึ่งศตวรรษที่แล้ว" ศ.จอร์จ บรูคส์ แห่งภาควิชาชีววิทยาเชิงลึก มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย, เบิร์คลีย์ กล่าวใว้ "มันถูกฝังลึกลงในแนวคิดเบื้องต้นว่าต้องเป้นในทำนองนั้น"

"เป็นหนึ่งในข้อผิดพลาดที่คลาสสิคที่สุดของวงการวิทยาศาสตร์ชีวภาพ" ดร.บรูคส์กล่าว

ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 (1900s) นักวิทยาศาสตร์ ออตโต แมยร์ฮอฟ ได้ทำการทดลองโดยส่งประจุไฟฟ้าช็อคเข้าไปในขาของกบเพื่อสร้างกรดแลคติคขึ้นมา เขาพบว่าขากบที่เต็มไปด้วยกรดแลคติคเกร็งนิ่งไม่สามารถขยับได้ หลังจากศึกษาต่อ ดร.แมยร์ฮอฟ ได้สรุปว่ากรดแลคติคเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการล้าจนไม่สามารถทำงานได้อย่างหนักต่อไป

นั่งคือต้นกำเนิดของทฤษฏีที่ว่า "กล้ามเนื้อที่มีปริมาณออกซิเจนน้อยลงและทำงานหนักจะมีกรดแลคติคเพิ่มขึ้น จนทำให้ไม่สามารถทำงานหนักต่อไปได้"

นักกีฬาจึงได้รับการสอนให้ฝึกซ้อมโดยอาศัยไกลโคเจนจานกลูโคสเป็นแหล่งพลังงานให้ได้มากที่สุดแทนที่การทำงานหนักในช่วงอะแนโรบิค ไม่เช่นนั้นจะต้องชดใช้ด้วยราคาที่แสนแพงจากปริมาณกรดแลคติคที่มากขึ้นในกล้ามเนื้ออันเป็นเหตุให้กระบวนการดังกล่าวล่มสลายลง นักวิทยาศาสตร์แทบไม่เคยตั้งข้อสงสัยกับทฤษฏีนี้เลยตลอด 100 ปีที่ผ่านมา แต่ ดร.บรูคส์ ได้เริ่มสนใจในการศึกษาเนื้อหานี้ตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 60s เมื่อครั้งที่เขาวิ่งอยู่ในลู่ของมหาวิทยาลัยควีนส์คอลลเลจ และโค้ชเตือนเขาให้ระวังเพดานการฝึกซ้อมอย่าให้เกินแลคเตทเทรโชลด์

จากนั้นเมื่อเขาเริ่มต้นศึกษาต่อระดับปริญญาเอกด้านกายภาพการออกกำลังกาย เขาเลือกที่จะศึกษาเกี่ยวกับกรดแลคติคนี้เอง

"ผมใช้คลื่นวิทยุกระตุ้นการเกิดกรดแลคติคในหนูทดลอง และพบว่า พวกมันสามารถเผาผลาญใช้มันไปได้รวดเร็วยิ่งกว่าแหล่งพลังงานอื่นๆที่ได้ทดลองให้เปรียบเทียบกัน" ดร.บรูคส์อธิบาย เขาตั้งข้อสงสัยว่ากรดแลคติคน่าจะถูกร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อประโยชน์อะไรซักอย่างและน่าจะถูกใช้ไปในเชิงแหล่งพลังงานของร่างกายในการออกกำลังระดับสูงมากๆ

จนปลายยุค 70s ดร.บรูคส์ได้ตีพิมพ์สิ่งที่เขาศึกษาค้นพบสมมุติฐานนี้ และได้รับการโต้แย้งจากนักวิทยาศาสตร์มากมาย ดร.บรูคส์เล่าต่อว่า "ผมได้รับปัญหาอย่างยิ่งใหญ่ในการพยายามเผยแพร่แนวคิดเบื้องต้นนี้ ผมไม่สามารถหาเงินทุนเพื่อทำการทดลองศึกษาต่อได้ จดหมายตอบกลับทั้งหมดคือจดหมายปฏิเสธ" แต่เขายังคงเดินหน้าศึกษาลงลึกในห้องทดลองต่อไปจนสามารถนำการทดลองไปสู่มนุษย์ได้อย่างปลอดภัย ผลการทดลองยิ่งชี้ชัดว่าแนวคิดสมมุติฐานของเขามีความจริงซ่อนอยู่

ท้ายที่สุด นักวิจัยจำนวนมากเริ่มสนับสนุนแนวคิดของเขา เริ่มศึกษาค้นคว้าลงลึกมากมายและเปลี่ยนแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์การกีฬาสมัยใหม่

"หลักฐานทางการวิจัยได้ชัดเจนและน่าเชื่อถือ" ศ.บรูซ แกลดเดน ศาสตราจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยแอนเบิร์น กล่าวสนับสนุนแนวคิดนี้ "ค่อนข้างเป็นที่ชัดเจนว่ามันง่ายเกินไปที่จะสรุปว่ากรดแลคติคคือสารพิษที่ควรหลีกเลี่ยงและเป็นต้นเหตุของการล้า"

วลีที่ว่า 'กรดแลคติคเป็นต้นกำเนิดแห่งอาการล้า' ดุจะไม่น่าเชื่อถือนักในแนวคิดของ ศ.แกลดเดน

"กรดแลคติคจะหายไปจากกล้ามเนื้อภายในหนึ่งชั่วโมงหากการออกกำลังกายนั้นยังคงดำเนินต่อไป"เขากล่าวต่ออีกว่า"แต่คุณจะเมื่อยล้าวันหนึ่งถึงสามวันหลังจากการออกกำลังกาย ซึ่งระยะเวลาขาดช่วงนี้เองที่ยังไม่สามารถอธิบายสาเหตุได้อย่างชัดเจน"

ความเข้าใจปัจจุบันเข้าใจว่ากล้ามเนื้อเปลี่ยนกลูโคสหรือไกลโคเจนไปเป็นกรดแลคติค และกรดแลคติคจะถูกนำไปใช้โดยไมโตคอนเดรีย ไมโตรคอนเดรียคือโรงงานสังเคราะห์พลังงานภายในเซลกล้ามเนื้อของเรา

ไมโตคอนเดรียอาศัยโปรตีนพิเศษทำหน้าที่ขนส่งสิ่งต่างๆเข้า-ออกโรงงาน ดร.บรูคส์พบอีกว่า การฝึกซ้อมที่หนักอย่างเป็นวิชาการสามารถเพิ่มมวลไมโตคอนเดรียในเซลได้กว่าสองเท่า

"ทฤษฏีเก่าไม่สามารถอธิบายได้ว่ากรดแลคติคทำงานกับกล้ามเนื้ออย่างไรจึงส่งผลให้กล้ามเนื้อล้าอย่างรุนแรง" ดร.บรูคส์อธิบายเพิ่ม

และในที่สุด ดร.บรูคส์ให้ข้อมูลอีกว่าผู้ฝึกสอนจำนวนมากจะฝึกนักกีฬาอย่างหนักแม้ว่าจะเชื่อมั่นในทฤษฏีเก่าเกี่ยวกับกรดแลคติคและนั่นคือกระบวนการเพิ่มความสามารถของไมโตคอนเดรีย ดร.บรูคส์เสริมว่า "ผู้ฝึกสอนเหล่านั้นเข้าใจในกระบวนการบางอย่างที่นักวิทยศาสตร์ไม่เคยเข้าใจ"

เหล่าผู้ฝึกสอนเรียนรู้จากประสบการณ์และความผิดพลาดว่านักกีฬาจะพัฒนาได้มากขึ้นแม้ว่าเขาจะฝึกหนักขึ้น นานขึ้น และจะยิ่งเก่งขึ้นเมื่อยิ่งยืดเวลาการฝึกในระดับความทนทานสูงนานยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

และนั่นคือการเพิ่มมวลไมโตคอนเดรียในกล้ามเนื้อ ทำให้สามารถเผาผลาญกรดแลคติคมาเป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นการออกกำลังในขั้นที่หนักจนร่ายกายสร้างกรดแลคติคจำนวนมากก็ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไปหากมีไมโตคอนเดรียที่พร้อม ซึ่งนั่นทำให้กล้ามเนื้อของนักกีฬาทำงานได้หนักขึ้นและนานขึ้น

ก่อนการแข่งสำคัญนักกีฬาทั้งหลายจะผ่านการฝึกที่หนักมากๆ และความหนักมหาศาลนั้นเองที่เพิ่มไมโตคอนเดรียมากขึ้นไปด้วย ดร.บรูคส์สรุปว่านั่นคือหัวใจที่ทำให้เกิดการพัฒนา

แล้วนักวิทยาศาสตร์การกีฬาล่ะ?
ดร.บรูคส์ทิ้งท้ายใว้ว่า
"นักวิทยาศาสตร์การกีฬาที่ยังพูดว่า'คุณกำลังอยู่ในช่วงอะแนโรบิคคุณต้องลดลงมาเติมออกซิเจน' พวกเค้าคือพวกที่ยังติดอยู่กับปี 1920"

........................................................................
พอจะได้ไอเดียมั้ยครับ? อาจจะขัดแย้งกับหลายๆบทความที่เคยผ่านตากันมาแล้ว ถ้ายังไม่สะใจ มาต่อบทความต่อไปเลยดีกว่าครับ
..........................................................................
"กรดแลคติค สร้างอะไรได้มากกว่าแคำว่าล้า"
โดยอลิซาเบธ ควินน์
21 พฤศจิกายน 2003
จากบทตีพิมพ์ในวารสารนักศึกษาคอลัมน์สุขภาพ ภาควิชาวิทยาศาสตร์เพื่อการออกกำลังกาย วิทยาลัยศิลปะและวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา


หลังจากที่กรดแลคติคได้ถูกจำกัดความใหม่แทนที่ต้นเหตุแห่งอาการล้าและความล้มเหลวในการทำงานหนักของกล้ามเนื้อ บัดนี้มันถูกมองใหม่ในมุมมองที่เป็นประโยชน์ในระบบการสังเกคราะห์พลังงานของร่างกาย ศ.จอร์จ บรูคส์ ได้ให้แนวคิดว่ากรดแลคติคเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญในการสร้างพลังงานของกล้ามเนื้อในการทำงานหนัก ช่วยกระบวนการคงกลูโคสในกระแสโลหิต, การนำไกลโคเจนมาจากตับ และ ช่วยให้กล้ามเนื้อสามารถรอดจากการหมดประสิทธิภาพเมือ่ทำงานหนักมากๆ

ไกลโคเจนเ)นหนึ่งในแหล่งพลังงานที่สำคัญทีสุดของกล้ามเนื้อ ไกลโคเจนที่ถูกสะสมใว้จะถูกนำมาแตกออกเป้นกลูโคสในกระบวนการที่เรียกกันว่าไกลโคไลซิส โมเลกุลของกลูโคสจะถูกแตกออกเป็นโมเลกุลกรดไพรูวิคสองโมเลกุลและกระบวนการนี้เองจะก่อให้เกิดอะดิโนไซน์ไตรฟอสเฟท(Adenosine Triphosphate : ATP) โดยปกติแล้วกรดไพรูวิคจะเข้าสู่ไมโตคอนเดรียและเกิดกระบวนการแอซิเดทสร้างอะดิโนไซน์ไทรฟอสเฟทขึ้นมาอีก อย่างไรก็ดี ในสภาวะที่ร่างกายขาดปริมาณออกซิเจนที่จะมาก่อให้เกิดปฏิกริยาขั้นที่สองนี้ กรดไพรูวิคจะกลายสภาพเป็นกรดแลคติค และกระบวนการนี้เองที่จะเพิ่มปริมาณของกรดแลคติคจากกล้ามเนื้อไปสู่กระแสโลหิต เรียกกันว่า อะแนโรบิคไกลโคไลซิส(ระบบไกลโคไลซิสแบบไม่ใช้ออกซิเจน:ผู้แปล) หรือกระบวนการเปลี่ยนไกลโคเจนไปเป็นพลังงานโดยกล้ามเนื้อโดยไม่อาศัยออกซิเจน หรือกระบวนการสังเคราะห์ ATP(อะดิโนไซน์ ไตรฟอสเฟท)ผ่านกระบวนการอะแนโรบิคไกลโคไลซิส เพื่อยืนหยัดให้กล้ามเนื้อยังได้รับพลังงานจากกระบวนการไกลโคไลซิสอยู่อย่างต่อนเอง และส่งให้กล้ามเนื้อยังทำงานหนักต่อไปได้ในยามที่มีความเครียดเกิดขึ้นมากมายแล้ว

และเมื่อร่างกายกลับสู่สภาพที่มีปริมาณออกซิเจนเพียงพอ กรดแลคติคจะถูกเปลี่ยนกลับไปเป็นกลูโคสอีกครั้งโดยตับและเนื้อเยื่อส่วนอื่น(เรียกกันวากระบวนการออกซิเดชั่น) ซึ่งจะทำให้วงจรทั้งหมดหมุนเวียนครบรอบอย่างสมบูรณ์ นี่คือกระบวนการที่ ดร.บรูคส์ค้นพบ

ในการออกกำลังกาย ร่างกายมนุษย์อาศัยพลังงานส่สงไปให้กล้ามเนื้อสามารถทำงานได้อย่างที่ต้องการ เพื่อบรรลุจุดสูงสุดต้องอาศัยทั้งกระบวนการแบบแอโรบิคและอะแนโรบิคที่ดีเยี่ยม ซึ่งกระแลคติคจะได้รับการสร้างและสลายไปอย่างต่อเนื่องแม้แต่ในขณะพัก การศึกษาพบว่าแม้แต่ในระดับการสังเคราะห์พลังงานแบบแอโรบิค(แอโรบิคไกลโคไลซิส)กรดแลคติคก็ยังคงถูกสร้างเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของกระบวนการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความหนักและยาวนอนของการออกกำลังกายนั้น(ผู้แปลขอเสริม:ดังนั้นแปลว่าแม้การซ้อมจะอยู๋ในระดับแอโรบิคเสียเป็นส่วนใหญ่แต่แปลว่าหากนานและหนักมากร่างกายก็จะมีการสร้างกรดแลคติคขึ้นมาแม้จะอยู่ในระดับพักตัว) ซึ่งระดับแลคเตทเทรโชลด์ก็จะหมายถึงระดับความหนักที่่ร่างกายมีปริมาณแลคติคเพิ่มขึ้นอย่างเป็นปัจจัยสำคัญ(ก้าวกระโดด) ซึ่งจะอยู่ในช่วงตั้งแต่ 50-80% ของอัตราบริโภคออกซิเจนสุงที่สุด ซึ่งค่าการดูดซึมออกซิเจนสูงสุด(VO2max)จะเป็นปัจจัยที่จะประเมินอัตราความสามารถในการสร้างและนำแลคติคไปใช้ กระบวนการนี้มักพบได้ง่ายในการออกกำลังแบบอะแนโรบิคระยะสั้นเช่นวิ่ง 400 เมตรหรือว่ายน้ำ 100 เมตร

เมื่อกรดแลคติคถูกสร้างมาผ่านกระบวนการอะแนโรบิคไกลโคไลซิส ร่างกายควรจะคงความหนักของการออกกำลังกายในระดับนั้นเอาใว้เนื่องจากระบบทั้งหมดจะเตรียมพร้อมรับพลังงานที่มาจากกระบวนการนี้ หากยุติกระบวนการนี้อย่างฉับพลัน กล้ามเนื้อจะขาดพลังงานในช่วงเวลาหนึ่งซึงนั้นจะเป็นต้นเหตุสำคัญของอาการล้าของกล้ามเนื้อที่ชัดเจน หากคงความหนักเอาใว้ได้ ปริมาณของกรดแลคติคจะคงที่สม่ำเสมอไม่เพิ่มหรือลดอย่างฉับพลัน

อย่างไรก็ดีแม้ว่าการถอยกลับไประยะฟื้นที่ร่างกายสามารถลดปริมาณกรดแลคติคได้รวดเร็วกว่าแต่ก็จะทำให้ปริมาณของไกลโคเจนที่สะสมลดลงอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน ดังนั้นการใช้กระบวนการทั้งหมดอย่างผสมผสานจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับการสร้างและนำกรดแลคติคไปใช้งานพร้อมๆไปกับการสะสมไกลโคเจนเข้าไปใหม่ อาจพูดได้ว่านักกีฬาควรจะคูลดาวน์หลังออกกำลังจนกระทั่งการหายใจและชีพจรกลับสู่ระดับปกติแล้วจึงพัก และอาหารแบบคาร์โบไฮเดรทมหาศาลจะเป็นปัจจัยต่อมาเพื่อการสะสมไกลโคเจนกลับเข้าไปแทนที่

โดยการสรุปพบว่ากรดแลคติคไม่ใช่ของเสียที่ไร้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นมันสามารถเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญรองรับการเล่นกีฬาได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามหากร่างกายก้าวสู่ระดับแลคเตทเทรโชลด์ กรดแลคติคที่ไม่มีประโยชน์จะกลายเป็นตัวเร่งให้เกิดการล้าได้ง่าย เป็นโชคดีที่กระบวนการนี้สามารถป้องกันได้ง่ายด้วยการเพิ่มสมรรถภาพของไมโตคอนเดรียด้วยการฝึกซ้อม เรียนรู้ที่จะกำจัดด้วยการคูลดาวน์ และการเติมปริมาณคาร์โบไฮเดรทอย่างเหมาะสม

.........................................................................
จบแล้วครับ อ่านแล้ว งง กันมั้ยครับ? ถ้าไม่งง อยากลงลึก เอาใว้ผมหาทางทำความเข้าใจมันได้แล้วจะมานั่งถกกันต่อไปเพราะดูเหมือนว่า เมื่อลงไปในตารางการนำไปใช้งาน พบว่าหลายสำนักยังคงมีรูปแบบการคำนวนต่างกันไป มีสูตรการซ้อมต่างกันไป ทั้งนี้คงเป็นเพราะแม้จะมีนักวิจัยศึกษาเรื่องนี้กันอย่างร่วมสมัย แต่หลายๆกระบวนการยังคงเป้นกล่องดำที่ไม่สามารถอธิบายได้อย่างกระจ่างชัดอยู่

เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่เป็นหมอ หรือ นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ขอนิมนต์มาช่วยกันแบ่งปันสิ่งที่มีด้วยครับ

เชื่อว่าหลังจบตูร์ คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมคอนตาดอร์ถึงได้ รุกแล้ว รุกอีก ตอกตะปูใส่ฝาโลงคู่แข่งได้อย่างต่อเนื่อง บทความนี้ก็คงจะพอทำให้จินตนาการออกว่าเหตุใดร่างกายของนักปั่นคนนี้ถึงได้แกร่งทนทานได้เพียงนั้นครับ :)
ฟังสาระจักรยาน Podcast
https://open.spotify.com/show/76iDUCWXgqqixg1CmoSDIp
ข่าวสารจัรกยาน
https://www.facebook.com/cyclinghubthailand/
รูปประจำตัวสมาชิก
น้องหนึ่ง
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 10797
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 04:07
Tel: 0891441866
ตำแหน่ง: http://www.thaimtb.com/forum/viewforum.php?f=528
ติดต่อ:

Re: กรดแลคติค ของดีที่มีประโยชน์

โพสต์ โดย น้องหนึ่ง »

อ่านแล้วดูเหมือนว่า ผู้ร้ายจะกลายมาเป็นพระเอก เพียงแต่ต้องข้ามยอดเขาลูกนี้ไปให้ได้เท่านั้น
ร้านจักรยานฝีมือดี มาดึกๆได้

www.thaimtb.com/forum/viewforum.php?f=528
www.facebook.com/HomeMadeBicycle
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือ Spectrum
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4450
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 12:58
Tel: -
team: 99 City Bike
Bike: LA Spectrum

Re: กรดแลคติค ของดีที่มีประโยชน์

โพสต์ โดย เสือ Spectrum »

ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ๆ ที่น่าสนใจครับ
เมื่อพ้นไปจากการ "แพ้" หรือ "ชนะ" เราก็จะได้อยู่ในที่ที่ไม่มี "ความทุกข์ใจ"
รูปประจำตัวสมาชิก
cyberlag
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 180
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2009, 09:25
Tel: 0870010380
team: แสนสุข
Bike: trek 8500 ปี 09

Re: กรดแลคติค ของดีที่มีประโยชน์

โพสต์ โดย cyberlag »

ขอบคุณมากๆครับ
*~เต่าไม่เคยกัดล้อ~* ..อิอิ..
รูปประจำตัวสมาชิก
rak monthon2
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 13925
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2009, 14:31
Tel: โทร โทรโทร ไม่ติดอย่าโทร
team: กินลมชมวิว
Bike: รถถีบมือสอง
ตำแหน่ง: ใต้ฟ้าเดียวกัน

Re: กรดแลคติค ของดีที่มีประโยชน์

โพสต์ โดย rak monthon2 »

คลายความกังวลไปได้เยอะทีเดียว... ขอบคุณครับ สำหรับบทความและคำแปลดีๆ
รูปประจำตัวสมาชิก
เต
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4769
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 02:17
Bike: ไม่ยึดติด
ตำแหน่ง: ดินแดง กรุงเทพฯ
ติดต่อ:

Re: กรดแลคติค ของดีที่มีประโยชน์

โพสต์ โดย เต »

เยี่ยมมากน้องชาย... ขยันหามาเล่า
จั๊ว
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3014
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ส.ค. 2008, 18:27
ตำแหน่ง: พระราม2ปากซอย24
ติดต่อ:

Re: กรดแลคติค ของดีที่มีประโยชน์

โพสต์ โดย จั๊ว »

ขอบคุณครับ
---->>>>>hs0chq<<<<<----
รถไม่แพง แรงก้อ..งั้นๆ
รับสั่งทำเทรนเนอร์ลูกกลิ้ง http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 4&t=251133
รายระเอียดเทรนเนอร์บน Facebook http://facebook.com/hs0chq
รูปประจำตัวสมาชิก
x ray
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3034
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2009, 12:52
team: 401 cycling
Bike: SL3 neon red

Re: กรดแลคติค ของดีที่มีประโยชน์

โพสต์ โดย x ray »

เยี่ยมมากครับพี่giro สิ่งที่เป็นความรู้ต่างๆที่พี่นำเสนอนั้น ล้วนแต่เป็นแนวทาง และข้อปฏิบัติสำหรับมือใหม่ๆ ที่ไม่มีความรู้อะไรเลย
ได้ศึกษา บอกตรงๆนะครับ ความรู้สึกผมเหมือนเข้าห้องเรียน แล้วรอครูมาสอน โพสแต่ละโพสไม่ใช่สั้นๆ :) :)
นำ้ใจงามๆแบบนี้ ต้องชู 2นิ้วคร้าบ สุดยอดจริงๆๆ :P :P
รูปประจำตัวสมาชิก
vara-indy
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 414
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2008, 19:14
Bike: เดินเท้า ร่ายมนต์ ย่นระยะทาง

Re: กรดแลคติค ของดีที่มีประโยชน์

โพสต์ โดย vara-indy »

ขอบคุณ
สำหรับสาระดีๆ
นะครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
golf_bangsaen
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6233
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ม.ค. 2009, 16:25
Tel: 087-60-70-891
team: BangSaen Road Bike (BSRB)
Bike: Bianchi 1885 2011 & Kuata Kalibur TT 2009 & LA 12"

Re: กรดแลคติค ของดีที่มีประโยชน์

โพสต์ โดย golf_bangsaen »

ขอบคุณคับบบบบบบบบ
Team>>>Bangsaen Road Bike
TUNED BY DR.EGG!!!
Kornwicton
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 329
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ม.ค. 2009, 03:44
Tel: 087-9565356
team: ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพฯบุรีรัมย์
Bike: Trek 1.9 Gary Fisher
ตำแหน่ง: ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพฯบุรีรัมย์
ติดต่อ:

Re: กรดแลคติค ของดีที่มีประโยชน์

โพสต์ โดย Kornwicton »

ไปนอนก่อน พรุ่งนี้มาอ่านต่อ :D :D
รูปประจำตัวสมาชิก
Seabiscuit
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1556
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ส.ค. 2008, 18:47
Tel: 081-1382601
team: Deep
Bike: KLEIN ทับทิมกรอบ, Trek F21, มิโอะจัง
ตำแหน่ง: 22/2 หมู่ 14 ต.ตะพง อ.เมือง จ.ระยอง 21000
ติดต่อ:

Re: กรดแลคติค ของดีที่มีประโยชน์

โพสต์ โดย Seabiscuit »

อ่านบทความนี้แล้วผมนึกถึงพี่เล็ก สุรจิตต์ บูรพาการกลึง ขึ้นมาเป็นคนแรกเลยครับ 8-) 8-) 8-)

"มีใจ มีไมโตคอนเดรีย" :lol: :lol: :lol:

จะเก็บตังค์ซื้อลูกกลิ้ง Buffalo มาปั่นสักหน่อยจะได้มีจิตวิญญาณของผู้ทำลูกกลิ้ง มาทำให้บรรยากาศเก่าๆที่เคยซ้อมกลับมาอีกครั้ง :twisted:

http://www.thaimtb.com/cgi-bin/viewkato ... 69518&st=1
ไฟล์แนบ
บูรพาการกลึง
บูรพาการกลึง
.jpg (28.72 KiB) เข้าดูแล้ว 23507 ครั้ง
Shell เขายายดา
รูปประจำตัวสมาชิก
2die4
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1213
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 15:49
Tel: 0834486162
ตำแหน่ง: Rama III
ติดต่อ:

Re: กรดแลคติค ของดีที่มีประโยชน์

โพสต์ โดย 2die4 »

ขอบคุณมากครับ
Stay away from me!!
ต๊องแน่ง☆•°°•.•°°•☆ต๊องแน่ง☆•°°•.•°°•☆\m/
รูปประจำตัวสมาชิก
rote2128
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1381
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2008, 10:41

Re: กรดแลคติค ของดีที่มีประโยชน์

โพสต์ โดย rote2128 »

ผมอ่าน1 รอบ เข้าใจนิดหน่อย
คิดว่าต้องประมาณ 5 รอบถึงจะเข้าใจแจ่มแจ้ง
ขอบคุณครับ
รถไม่แพง แรงเหลือน้อย
bongza
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1277
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ม.ค. 2009, 14:00
Tel: 0867470266
Bike: ขอแค่มีล้อ
ตำแหน่ง: 60/2 ม.1 ซ.สุขนิรันดร์ ถ.เจ้าฟ้า ต.วิชิต อ.เมือง ภูเก็ต
ติดต่อ:

Re: กรดแลคติค ของดีที่มีประโยชน์

โพสต์ โดย bongza »

ใครเข้าใจแล้ว ช่วยสรุปให้หน่อยครับ
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร”