หน้า 4 จากทั้งหมด 62

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 09 ธ.ค. 2010, 12:58
โดย phunson
ขอบคุณความรู้ดีๆ ครับ กำลังติดตามอยู๋

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 09 ธ.ค. 2010, 15:30
โดย อู๊ด-พีระ
20.กินอย่างฉลาด อ่านฉลากก่อนกิน

การอ่านฉลากก่อนกินไม่ว่าจะเป็นอาหารใดก็ตามที่มีบรรจุภัณฑ์ ทำให้เรารู้ชัดว่าจะกินอะไรเข้าไป เรารู้ข้อมูลเพื่อจะได้ตัดสินใจซื้อหรือกินเข้าไปหรือไม่ มีของกินหลายอย่างที่ห่อไว้สวยหรูแต่พอดูเนื้อในจากฉลากแล้วแทบไม่อยากเชื่อเลยว่ามันเบาโหวงเหวงแทบไม่มีคุณค่าทางอาหารใดๆ เลย แล้วส่วนไหนของฉลากล่ะที่จะบอกสิ่งที่เราอยากรู้ เริ่มแรกเลยให้ดูที่หัวฉลากก่อน จะรู้ส่วนผสมได้ตรงบรรทัดบนสุดต้องมีคำเขียนไว้ว่า Nutrition Fact ซึ่งหมายความว่า ข้อมูลทางโภชนาการ พอเจอคำนี้ก็ไล่อ่านลงมาทีละหัวข้อได้เลยซึ่งเราจะแจกแจงกันไปทีละคำตอบนี้

Total Energy : หมายถึงพลังงานรวมเป็นกิโลจูลส์หรือเป็นแคลอรี่ ถ้าพบคำว่ากิโลจูลส์ก็หมายความว่า 4.2 กิโลจูลส์เท่ากับ 1 แคลอรี่ เทียบกลับมาเป็นแคลอรี่ได้ในเมื่อบ้านเราถนัดกับคำว่าแคลอรี่มากกว่ากิโลจูลส์เมื่อจะวัดพลังงาน ตามปกติแล้วผู้หญิงจะต้องการพลังงาน 6,000 กิโลจูลส์ในขณะที่ผู้ชายต้องการมากกว่าคือ 8,000 กิโลจูลส์ และนักจักรยานโดยเฉลี่ยจะต้องเติมพลังงานเข้าไปตั้งแต่ 800 ถึง 1,500 กิโลจูลส์ทุกๆ ชั่วโมงขณะปั่นจักรยาน เพื่อให้มีพลังงานใช้ได้อย่างตื่นเนื่อง

Protein : หมายถึงปริมาณโปรตีนที่ผสมอยู่ในเนื้ออาหารนั้น ร่างกายจะใช้โปรตีนไปเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ พบได้ทั่วไปในอาหารจากเนื้อสัตว์ ในไข่ รวมทั้งถั่วซึ่งเป็นพืชมีโปรตีนสูงกว่าพืชอื่นๆ ทั่วไป มากกว่าอาหารแป้งอย่างขนมปัง บิสกิต ซีเรียล สแน็คและน้ำมัน ผู้ใหญ่ต้องการโปรตีน 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมจึงจะได้สารอาหารครบ

Carbohydrate : คือปริมาณของคาร์โบไฮเดรตในอาหารชนิดนั้น ได้จากแป้งและน้ำตาล เป็นพลังงานหลักให้กล้ามเนื้อ ขนมปังหนึ่งแผ่นจะมีคาร์โบไฮเดรตประมาณ 15 กรัม เป็นการยากที่จะประมาณว่าใครจะต้องใช้คาร์โบไฮเดรตกันคนละเท่าไร เพราะจะมีองค์ประกอบอื่นๆ มาเกี่ยวข้องด้วยทั้งอายุ ความหนักหนาของการซ้อม เพศ แต่ก็ประมาณหยาบๆ ได้ว่ารับคาร์โบไฮเดรตเข้าไปน้อยกว่าวันละร้อยกรัมเมื่อไหร่นั่นคือคุณไม่มีเรี่ยวแรงซ้ำยังทำให้ระบบเผาผลาญอาหารเสียหายแน่ๆ

Sugar : คือปริมาณน้ำตาลในอาหาร ข้อสังเกตประการหนึ่งคืออาหารแห้งส่วนใหญ่มักจะมีน้ำตาลสูงทั้งที่เราต้องการน้ำตาลแต่ถ้ามีมากไปก็จะเป็นผลเสียต่อตับและการผลิตอินซูลินเพื่อควบคุมปริมาณน้ำตาล

Total fat : หมายถึงปริมาณไขมันในอาหาร แบ่งได้เป็นไขมันอิ่มตัว ไขมันอิ่มตัวเชิงเดี่ยว, เชิงซ้อน, ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน อย่างไรก็ตามฉลากข้างกล่องจะบอกจำนวนของไขมันอิ่มตัวเอาไว้แต่ก็อาจจะระบุส่วนประกอบอื่นๆ ด้วยอย่างเช่นไขมันอิ่มตัวแล้วแยกย่อยออกไปเป็นเชิงเดี่ยวและเชิงซ้อน

Dietary fiber : ไฟเบอร์คือส่วนประกอบของอาหารในส่วนที่ไม่ย่อยสลายและจะถูกขับออกมาเป็นของเสีย ผู้ใหญ่ทั้งชายและหญิงต้องการปริมาณไฟเบอร์วันละ 30 กรัมเป็นอย่างน้อย จะมากกว่านั้นก็ได้ กินไฟเบอร์มากๆ ทำให้อิ่มเร็วแต่ในขณะเดียวกันก็ไม่อ้วนเพราะมันไม่ย่อย มีไฟเบอร์มากในพืชผักผลไม้ต่างๆ และขนมปังโฮลวีต

Sodium : โซเดียมก็คือเกลือนั่นเอง เป็นการบอกปริมาณเกลือที่ผสมอยู่ในอาหาร ซึ่งต้องผสมอยู่ไม่มากกว่า 2,000 มิลลิกรัมจึงจะไม่เป็นอันตรายสำหรับการบริโภคของผู้ใหญ่ ตามปกติอาหารบรรจุสำเร็จจะมีปริมาณเกลืออยู่ไม่มากกว่า 1,000 มิลลิกรัม

เมื่อรู้แล้วว่ามีอะไรบรรจุในอาหารบ้าง ต่อไปก็เป็นกลเม็ดเพื่อหาประโยชน์จากการอ่านฉลากข้างหีบห่อให้ได้มากที่สุด
1.มองหาอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวน้อยกว่า 3 กรัม จากน้ำหนัก 100 กรัมของอาหาร
2.มองหาปริมาณไฟเบอร์มากกว่า 3 กรัมต่อหนึ่งมือของอาหารประเภทขนมปังและซีเรียล
3.ต้องมีไขมันน้อยกว่า 3 กรัมต่อผลิตภัณฑ์ประเภทไขมันต่ำ (โลว์แฟ็ต) ทั้งหมด 100 กรัม
4.ต้องให้มีคาร์โบไฮเดรต 30-45 กรัมต่ออาหารในหนึ่งมื้อ
5.ต้องมีคาร์โบไฮเดรต 15-30 กรัมในอาหารมื้อกลางวัน
6.ต้องมีโปรตีน 10-20 กรัมต่ออาหารมื้อหลักทุกมื้อ
7.มีโปรตีน 5-10 กรัมสำหรับอาหารว่าง

ส่วนพวกเรานักจักรยานที่ใช้พลังงานค่อนข้างมากในการปั่นแต่ละครั้ง หากต้องการจะปั่นให้ตลอดรอดฝั่งก็ต้องกินข้าวให้มากหน่อยก่อนปั่นจักรยานประมาณ 90 นาที เพื่อให้อาหารมีเวลาย่อยเป็นพลังงานไม่ใช่กินปุ๊บปั่นปั๊บ แบบนั้นไม่ถึงครึ่งทางคงได้อ้วกกันเละเทะ อาหารที่สมดุลจะมีส่วนผสมระหว่างคาร์โบไฮเดรตกับโปรตีนและไขมันอิ่มตัวในปริมาณเหมาะสม อาหารที่มีแต่คาร์โบไฮเดรตล้วนๆ อย่างเช่น เจล สปอร์ตดริงค์และของหวานต่างๆ ถ้าจะกินให้ผลจริงๆ ควรใช้ในช่วงท้ายๆ ของการปั่น จะช่วยให้มีกำลังวังชาเพิ่มขึ้นพอให้ปั่นจนจบได้สบายๆ แต่ข้อควรระวังสำหรับสแน็คหรืออาหารว่างก็คือมันมีไขมันสูง ถ้ากินมากเกินไปจนกลายเป็นมื้อหลักอาจอ้วนได้ถ้าไม่ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายเผาผลาญไขมันออกไป
ดังนั้นนักจักรยานทั้งหลาย เมื่ออ่านบทความนี้แล้วจงอย่าอ่านอย่างเดียว อ่านแล้วต้องปั่นจักรยานด้วยนะ เดี๋ยวอ้วนแล้วจะหาว่าไม่เตือน

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 09 ธ.ค. 2010, 15:31
โดย อู๊ด-พีระ

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 09 ธ.ค. 2010, 15:46
โดย SEtup
ขอบคุณครับ :D

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 09 ธ.ค. 2010, 18:48
โดย อู๊ด-พีระ
21.ออกกำลังด้วยการปั่นจักรยาน.....เพื่อสุขภาพ

รูปภาพ

ทางเลือกหรือทัศนะของการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันอีกทาง
เลือกหนึ่งที่อยากแนะนำคือการปั่นจักรยานแบบ Fitness จักรยานแบบเสือภูเขาและจักรยานเสือหมอบ จะมีลักษณะและประโยชน์แตกต่างกันไป

การปั่นจักรยานอยู่กับที่หรือจักรยาน Fitness ที่มีขายกันตามห้างสรรพสินค้าทั่วไปเป็นจักรยานชนิด
ที่ช่วยให้เราได้ใช้พลังงานในการออกกำลังกายอีกรูปแบบหนึ่งมีข้อดีอยู่มากมายใกล้เคียงกับการวิ่ง
จ๊อกกิ้งในการเผาผลาญพลังงานแถมยังดีกว่าตรงที่ไม่มีแรงกระแทกที่เกิดขึ้นกับข้อต่อต่างๆคล้าย
กับการเต้นแอโรบิคในน้ำเพียงแต่บางคนจะรู้สึกเบื่อเท่านั้นยิ่งถ้าเป็นคนขี้เหงาจะไม่ค่อยชอบแต่ขอ
แนะนำให้ไปปั่นจักรยานชนิดนี้หน้าTVและเป็นรายการที่เราชอบเช่นละครที่ทำให้เพลิดเพลินซักครึ่ง
ชั่วโมงก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อร่างกายของเราการปั่นจักรยานแบบดังกล่าวเราจะปั่นอยู่บนที่
ี่ราบขนานกับพื้น แบบนี้แนะนำว่าเหมาะกับผู้ที่มีอายุมากขึ้นอีกนิดเพราะที่นั่งไม่สูงนักถ้าเกิดหน้ามืด
ตามัวขึ้นมายังล้มหรือตกลงมาจากที่นั่งไม่สูงนักแรงกระแทกจะน้อยลงอีกอย่างคือคนไข้ที่เป็นโรค
ปวดหลังจะเหมาะอย่างยิ่งขอแนะนำให้ออกกำลังกายด้วยวิธีนี้เพราะน้ำหนักตัวของเขาจะถูกแบกรับ
โดยอานเท่านั้นไม่มีแรงกระแทกน้ำหนักตัวตั้งแต่ก้นไปจนถึงศีรษะอานจะเป็นตัวรับน้ำหนักไว้หมด
เลยคนที่เป็นโรคปวดหลังหรือคนอ้วนไม่เหมาะกับการไปวิ่งจ๊อกกิ้งแต่ถ้านั่งขี่จักรยานพื้น
ราบน้ำหนักตัวทั้งหมดจะตกที่อานกับที่รองนั่งฉะนั้นเวลาถีบจะไม่มีแรงกระทำต่อข้อต่อมาก
ไม่มีแรงกระแทกจึงเหมาะมากสำหรับคนอ้วนหรือผู้ที่ปวดหลังแต่แถมอีกนิดว่าสิ่งสำคัญที่
จะให้ได้ผลดีคือเราต้องใช้เวลาของความหนักในการออกกำลังที่กำหนดให้ตามหลักของการออก
กำลังกายแบบแอโรบิคคือให้ชีพจรของเราเต้นสูงขึ้นถึงระดับ70% ซึ่งคำนวณง่ายๆก็คือ170 -อายุ
โดยประมาณระดับนี้จะถึงจุดที่หัวใจปอดและหลอดเลือดต่างๆทำงานในระดับที่ได้ผลดีและเป็นประ
โยชน์ต่อร่างกายอย่างยิ่ง

จักรยานเสือภูเขา ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ จำเป็นไหมว่าจะต้องเป็นนักกีฬาเท่านั้นถึงจะขี่จักรยานประเภทนี้ได้ ส่วน อันตรายจากการปั่นจักรยานประเภทนี้มีหรือไม่ และจะได้ประโยชน์ อย่างไรบ้าง…?

จักรยานเสือภูเขาถือว่ากำลังเป็นที่นิยมกันมาก เพราะเป็นจักรยานที่ใช้ในการผจญภัย ให้ความสนุกสนานเป็นประโยชน์หลายทางทั้งร่างกายและจิตใจแต่อย่างไรก็ตามก็มีอันตรายอยู่ อย่างหนึ่งคือ ถ้าเกิดอุบัติเหตุรถล้ม หากไม่รุนแรงก็แค่ถลอก แต่ถ้ารุนแรงหน่อย ก็อาจมีกระดูกหักได้บ้างสำหรับผู้ที่ปั่นจักรยานเสือภูเขาส่วนใหญ่จะต้องฝึกตนเอง ให้มีความอดทนสูงในด้านพลังกล้ามเนื้ออาจจะต้องเล่น Weight Training คือการฝึกกล้ามเนื้อด้วยน้ำหนัก เพราะจักรยานเสือภูเขามันจะต่างกับจักรยานท่องเที่ยวทั่วไปที่ว่าพื้นที่ที่ใช้ขับขี่มักจะเป็นพื้นที่ราบชัน การมีพลังกล้ามเนื้อแข็งแรงจะช่วยให้ใช้จักรยานพวกนี้ได้ดีกว่า

การปั่นจักรยานประเภทเสือหมอบ พวกนี้ใช้ระยะทางไกลและซ้อมหนักวันหนึ่งๆ 3-5 ชั่วโมง ผู้ที่เป็นนักปั่นประเภทนี้มักจะปั่นระยะทางไกลข้ามจังหวัดกันเลยจะมีปัญหาก็ตรงเรื่องของอานซึ่งมันมี
ีลักษณะเรียวและถ้าปั่นไประยะทางไกลๆจะเกิดการเสียดสีอยู่นาแต่ขอแนะนำว่าไม่ต้องหวั่นกลัวถ้าผู้
ู้ที่เป็นนักปั่นจักรยานที่ต้องใช้ระยะเวลายาวนานอย่างจริงๆปัจจุบันมีอานที่เขาผลิตออกมาเพื่อป้องกัน
ไม่ให้วิตกเป็นอานชนิดพิเศษซึ่งจะมีร่องบากตรงกลางอานตามแนวยาวซึ่งตอนนี้มีจำหน่ายในเมือง
ไทยแล้ว ผู้ที่เป็นนักปั่นจักรยานประเภทนี้ก็เริ่มจะนำมาใช้กันเพิ่มขึ้น

สรุปแล้วการปั่นจักรยานลักษณะดังที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็ถือเป็นกีฬาเพื่อสุขภาพทั้งสิ้น !

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 09 ธ.ค. 2010, 18:49
โดย อู๊ด-พีระ

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 09 ธ.ค. 2010, 19:36
โดย อู๊ด-พีระ
22.เคล็ดลับแก้ตะคริว/สะอึก

สะอึก
เป็นอาการหนึ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกายของใครก็ได้ไม่เลือกเพศและวัย และไม่รู้สาเหตุที่ แท้จริง
และอาจเป็นเพราะสะอึกไม่ใช่อาการร้ายแรง ไม่เป็น อันตราย
ไม่เคยมีใครเสียชีวิตจาก การสะอึก จึงยังไม่มีการศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้อย่างจริงจัง
การสะอึกน่ารำคาญแค่ไหนคนที่กำลังสะอึกจะรู้ดี เพราะความรำคาญ จึงพยายามหาวิธีช่วยให้ หายสะอึกโดยเร็ว แล้วในที่สุดดูเหมือนว่าวิธีที่ดีที่สุดที่ได้ผล เกิน 80% ก็คือ การหายใจในถุงกระดาษ ไม่เกิน 5 นาที อาการสะอึกจะหายได้แต่ต้องเป็นถุงที่ไม่รั่ว

ตะคริว
ตะคริวนี้มักเกิดขึ้นในตอน เช้ามืด เป็นระยะเวลาสั้นๆ บางคนจึงใช้วิธีนอนนิ่งๆ ทนปวด ค่อยๆยืดขา ดัดปลายเท้า บีบนวด สักพักใหญ่ๆก็หาย
แต่เมื่อเร็วๆนี้ มีหมอประจำทีมนักกีฬาโอลิมปิกของอเมริกาได้พบตำรับเคล็ดลับแก้ตะคริว ได้ผลชะงัดมาก เพียงแต่ให้เอานิ้วหัวแม่มือ กับนิ้วชี้หนีบริมฝีปากบนไว้ไม่เกิน 1 นาที ตะคริวจะหายได้ อย่างมหัศจรรย์ บอกไม่ได้ว่าทำไมจึงหาย แต่บอก ได้ว่าได้ผลเกิน 80% เป็นตะคริวคราวใดก็ลองดู"Thank You" from 1 Member

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 09 ธ.ค. 2010, 20:49
โดย อู๊ด-พีระ
23.จักรยานหลายเกียร์

รูปภาพ

กำเนิดจักรยาน
จักรยานสองล้อรุ่นแรก ๆ ที่เป็นต้นแบบของจักรยานสองล้อในปัจจุบันมีกำเนิดขึ้นครั้งแรกเมื่อราวปี พ.ศ. 2343 ในปี พ.ศ. 2408 ได้มีการผลิตจักรยาน 2 ล้อ รุ่นหนึ่งซึ่งมีตัวล้อเป็นเหล็ก และมีขอบล้อทำด้วยไม้ กำลังเคลื่อนล้อได้มาจากแรงปั่นด้วยเท้าบนบันไดทั้งสองของรถจักรยาน เหมือนกับในรถสามล้อถีบปัจจุบัน ในช่วงต่อมาได้มีการใช้ล้อทำด้วยยาง และในราวปี พ.ศ. 2423-2433 ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางล้อหน้าได้ขยายใหญ่ขึ้นถึง 60 นิ้ว ซึ่งทำให้มันสามารถเคลื่อนที่ได้เป็นระยะทางถึง 16 ฟุต ในการปั่นบันไดรถจักรยานให้หมุน 1 รอบ อันมีผลให้มันสามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูง ทั้งในแนวราบและวิ่งลงเขาแต่สำหรับการขี่ขึ้นทางชันนั้นจะต้องออกแรงเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นการที่จุดศูนย์ถ่วงของตัวจักรยานอยู่สูงทำให้มันมีแนวโน้มที่จะพลิกคว่ำหรือเกิดอุบัติเหตุได้โดยง่าย ดังนั้น ในราวปี พ.ศ. 2428 จึงได้มีการผลิตจักรยานรุ่นใหม่ที่มีรูปลักษณะเหมือนจักรยานสมัยใหม่ในปัจจุบัน คือ ล้อทั้งสองมีขนาดเท่ากัน และมีเฟืองที่บันไดรถ เพื่อถ่ายทอดกำลังผ่านโซ่ไปยังล้อหลัง ทำให้เกิดลักษณะการขับขี่มั่นคงกว่าเดิม และยังให้อัตราทดกำลังด้วยการเลือกใช้เฟืองทดกำลังที่เหมาะสมสำหรับขับขี่โดยเฉพาะด้วยความเร็วต่ำแต่เบาแรงกว่าในขณะขี่ขึ้นเขาหรือทางชัน

รูปภาพ
รูปภาพ

อัตราทดของเกียร์
ด้านหน้าตรงขาถีบ
รูปที่ 1 โซ่ขับของจักรยานสองล้อชนิดมีเฟืองทดกำลัง โดยล้อหลังนั้น จะมีระบบเฟืองทดกำลังติดตั้งอยู่ ระบบเฟืองชนิดนี้ประกอบด้วยชิ้นส่วนประกอบที่สำคัญคือ ชุดเฟืองซึ่งติดตั้งอยู่กับกลไกซี่เฟืองขับกงล้อหมุนทางเดียว กลไกสำหรับเลือกเปลี่ยนให้โซ่ขับคล้องเข้ากับเฟืองแต่ละตัว และล้อรั้งดึงโซ่ ส่วนทางด้านหน้าของโซ่ขับนั้น จะคล้องอยู่กับชุดเฟืองขับที่อาจจะมีเฟืองอยู่ 2 หรือ 3 ตัว โดยจะรับกำลังขับมาจากแรงปั่นที่กระทำบนบันไดรถจักรยาน ดังนั้น ในตัวอย่างตามที่แสดงในรูปที่ 1 นี้ คือ มีเฟืองขับ 2 ตัว (2ขนาด) และมีเฟืองตามที่ล้อหลัง 5 ตัว (5 ขนาด) ก็จะทำให้ผู้ขับขี่สามารถเลือกอัตราทดกำลังจากแรงปั่นบันไดรถจักรยานสู่ล้อหลังได้ต่าง ๆ กันถึง 10 อัตราทด (เรียกทั่วไปว่า จักรยาน 10 เกียร์) หรือถ้าในกรณีที่มีเฟืองขับเพิ่มเป็น 3 ตัว ก็จะทำให้ได้อัตราทดกำลังทั้งหมด 15 อัตราทด (15 เกียร์) เป็นต้น
ในทุก ๆ อัตราทดที่เลือกใช้นั้นความตึงของโซ่ขับจะถูกรักษาไว้เสมอโดยอาศัยล้อรั้งดึงโซ่ ด้วยแรงสปริงที่ทำงานร่วมกับล้อนำโซ่ ซึ่งเป็นตัวนำให้สายโซ่ขับเปลี่ยนตำแหน่งจากเฟืองตัวหนึ่งสู่อีกตัวหนึ่งได้
กลไกเลือกเปลี่ยนอัตราทด (เกียร์) ที่ล้อหลังซึ่งเป็นตัวควบคุมการทำงานของล้อรั้งดึงโซ่ และล้อนำโซ่นั้น จะถูกควบคุมด้วยก้านมือโยก ซึ่งติดตั้งอยู่บนตัวโครงรถจักรยาน โดยผ่านทางเส้นลวด
การเลือกเปลี่ยนอัตราทด (เกียร์) ของชุดเฟืองที่บันไดรถจักรยานนั้น จะใช้ก้านกระเดื่องนำโซ่เปลี่ยนตำแหน่งของโซ่ขับจากเฟืองตัวหนึ่งไปยังเฟืองอีกตัวหนึ่ง โดยจะถูกควบคุมด้วยก้านมือโยกอีกก้านหนึ่งซึ่งติดตั้งบนตัวโครงจักรยาน ณ ตำแหน่งเดียวกับก้านมือโยกเปลี่ยนอัตราทดของล้อหลังผ่านทางเส้นลวดอีกเส้นหนึ่งต่างหาก

รูปภาพ

การเปลี่ยนเกียร์ทด
เมื่อโซ่ขับคล้องอยู่กับเฟืองตัวที่เล็กที่สุดของชุดเฟืองบนกงล้อหลังและเฟืองขับตัวที่ใหญ่ที่สุดนั้น อัตราทดที่ได้จะเหมาะสมที่สุดสำหรับการขับขี่ด้วยความเร็วสูง (เรียกโดยทั่วไปว่าใช้เกียร์สูงสุด) เมื่อผู้ขับขี่ดึงก้านมือโยกที่โครงรถจักรยานสำหรับเลือกเปลี่ยนอัตราทดที่ล้อหลังเส้นลวดจะดึงเปิดกลไกเลือกเปลี่ยนอัตราทดที่ล้อหลังขึ้น กลไกดังกล่าวนี้จะมีลักษณะเป็นกระเดื่อง 4 ชิ้น ติดอยู่ด้วยกัน ซึ่งเมื่อถูกดึงเปิดขึ้นมา จะมีลักษณะเหมือนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า (รูปที่ 2) ซึ่งการเปิดถ่างออกนี้ จะพาให้โซ่ขับเคลื่อนลงข้างล่างไปทางด้านซ้าย ผู้ขับขี่จึงต้องฝึกฝนการเปลี่ยนอัตราทดให้ชำนาญ คือ จะต้องทราบว่าเมื่อใดที่สายโซ่ขับจะจับคล้องเข้ากับเฟืองตัวที่ต้องการ (ในรูปนี้คือการเปลี่ยนสายโซ่ให้ไปคล้องกับเฟืองตัวใหญ่ที่สุด ซึ่งจะมีผลให้ความเร็วในการหมุนต่ำสุดในขณะที่ได้แรงบิดหมุนล้อหลังสูงที่สุด) การเปลี่ยนไปใช้เฟืองขนาดใหญ่ขึ้นนั้น ทำให้ล้อรั้งดึงโซ่ คลายปล่อยข้อโซ่ที่คล้องสำรองอยู่บนตัวมันออกมาให้แก่เฟืองตัวใหญ่นี้ ผลคือ ชุดล้อรั้งดึงโซ่จะถูกผลักหมุนไปด้านหน้าและเมื่อผู้ขับขี่ทำการเปลี่ยนอัตราทดให้ต่ำลง (ใช้เกียร์สูง) หรือใช้เฟืองขนาดเล็กลง กระบวนการเปลี่ยนอัตราทดก็จะกลับกัน ดังที่กล่าวมาแล้ว
กลไกเลือกเปลี่ยนอัตราทดที่บันไดจักรยานประกอบด้วยก้านกระเดื่องนำโซ่แบบธรรมดา ซึ่งสายโซ่จะร้อยผ่านและชุดกระเดื่อง 4 ชิ้น ซึ่งจะทำหน้าที่เลื่อนก้านมือโยก เส้นลวดก็จะทำการถ่างหรือหุบกระเดื่อง 4 ชิ้น อันเป็นการนำสายโซ่ให้เปลี่ยนจากเฟืองตัวหนึ่งไปสู่เฟืองจะสมบูรณ์เมื่อทำการปั่นบันไดจักรยานต่อไป และเนื่องจากเฟืองตัวใหญ่นั้น ต้องมีข้อโซ่เข้ามาคล้องจำนวนมากกว่าเฟืองตัวเล็ก ดังนั้นการเปลี่ยนมาใช้เฟืองตัวใหญ่จึงมีผลทำให้ชุดล้อรั้งดึงโซ่ที่ล้อหลังถูกผลักหมุนตัวไปด้านหน้า ส่วนในกรณีที่ทำการเปลี่ยนใช้เฟืองตัวเล็กแทนเฟืองตัวใหญ่นั้นกรรมวิธีจะกลับกันกับที่กล่าวมาแล้ว (รูปที่ 3)

รูปภาพ
รูปภาพ

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 09 ธ.ค. 2010, 20:52
โดย อู๊ด-พีระ

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 10 ธ.ค. 2010, 03:50
โดย Guhea
:o :o :o

ความรู้เน้นๆ

ขอบคุณมากๆครับ

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 10 ธ.ค. 2010, 08:53
โดย อู๊ด-พีระ
24.วิธีตั้งเบรคจักรยาน

Toe-in คือมุมที่ผ้าเบรคจับขอบล้อครับ

วิธีตั้งผ้าเบรคที่ถูกต้องคือ
1. เว้นระยะขอบบนของผ้าเบรคให้ต่ำกว่าขอบล้อ 1-2 มม. ตลอดทั้งแนว
2. ตั้งให้ผ้าเบรคด้านหน้า(ของตัวรถ)จับขอบล้อก่อนนิดหน่อย ตั้งได้โดยหาชิมหรือเศษกระดาษพับกันหนาซักครึ่งมิลฯรองที่ผ้าเบรคด้านท้ายแล้วจึงบีบก้ามเบรค จากนั้นจึงล็อคผ้าเบรคครับ
*วิธีนี้เป็นวิธีที่ถูกต้องในการตั้งองศาของผ้าเบรค จะมีผลมากกับรถเสือภูเขา ถ้าไม่ได้ตั้งอาจทำให้เกิดเสียงดังน่ารำคาญ และลดทอนประสิทธิภาพของผ้าเบรคไป แต่เสือหมอบนี้จะเห็นผลไม่ค่อยชัดเจนครับ ถ้ามักง่ายก็แค่คลายน็อตล็อกผ้าเบรค-กำมือเบรคพอให้ผ้าเบรคจับขอบล้อ-จัดระเบียบให้ขอบบนของผ้าเบรคต่ำกว่าและขนานกับขอบล้อ-กำมือเบรคให้แน่น-ล็อคน๊อต เป็นอันจบครับ
3. ตรวจสอบและปรับตั้งให้ผ้าเบรคสองข้างจับขอบล้อพร้อมกัน ก้ามเบรครุ่นดีๆจะมีตัวตั้ง ใช้หกเหลี่ยม(บางรุ่นใช้ไขควง)ลองขันดูแล้วสังเกตุความเปลี่ยนแปลงครับ ถ้ารุ่นถูก(หรือรุ่นเน้นเบาเช่นโทเค่น,ซีโร่ฯ)อาจต้องปรับที่น๊อตล็อคก้ามเบรคกับตัวเฟรมครับ ใจเย็นๆ ค่อยๆทำ
4. ปรับความตึงของสายเบรค เพื่อให้มือเบรคสองข้างใช้แรงในการบีบเท่ากัน หรือแล้วแต่ความชอบครับ

ลอกมาจากคุณ jumm

แจ๋วเลยครับjumm กำลังจะตั้งผ้าเบรคใหม่พอดี แต่อยากถามอีกนิดว่าทำใมต้อง "ตั้งให้ผ้าเบรคด้านหน้า(ของตัวรถ)จับขอบล้อก่อนนิดหน่อย "
ทำไมไม่ตั้งให้ขนานกันไปเลยล่ะครับ สงกะสัย

เนื่องจาก ก้ามเบรค มันมันวางตัวอยู่บนจุดหมุน
และมันต้องขยับเข้าออกได้คล่องตัว มันจะมีการให้ตัวได้นิดๆ
เมื่อเราบีบเบรคให้ ทำงาน ผ้าเบรคสัมพัสกับขอบล้อ จะเกิดแรงฝืดที่หน้าสัมพัส
ริมล้อจะพยายาม ดึงผ้าเบรค ให้วิ่งไปข้างหน้า
เมื่อมันดึงผ้าเบรคไปข้างหน้า มันก็จะดึงก้ามเบรค ที่ฝักเบรคติดตั้งอยู่ ให้ขยับเดินหน้าไปด้วย
ส่วนท้ายของผ้าเบรค ก็จะแนบเข้าไป เองโดย อัตโนมัต

ถ้าก้ามเบรค มีจุดหมุนที่แน่น และแข็งแรงมาก ขยับตัวได้น้อย
ก็ตั้ง โท-อิน ให้หลัง ผายออกแค่เล็กน้อย สัก 1มิลก็พอ
ถ้าก้ามเบรค มีจุดหมุน ที่ไม่แข็งแรง หลวมคลอน ให้ตัวได้มาก อาจจะตัองตั้ง โท-อิน ให้ด้านหลัง ผายออกที 2มิล 3มิล อยุ่ที่ว่า ก้ามเบรคโยกคลอนหลวมแค่ไหน

ทำความเข้าใจโดย ลองบีบเบรค โดยแรงสัก 20%-30% แล้วดันรถไปข้างหน้า จะเห็นการขยับตัวของ ก้ามเบรค และการเปลี่ยนมุมของ หน้าสัมพัส ผ้าเบรค กับขอบล้อ

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 10 ธ.ค. 2010, 08:55
โดย อู๊ด-พีระ

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 10 ธ.ค. 2010, 09:28
โดย อู๊ด-พีระ
25.ภาษาอังกฤษ สำหรับจักรยาน

รูปภาพ

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 10 ธ.ค. 2010, 10:32
โดย สิงห์ไร่เขือ
คนหลังอานดี นิสัยดีจริง ๆ เลย มีอะไรก็แบ่งปัน

ขอบคุณมากครับ สำหรับความรู้ที่ให้มา :D :D :D

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 10 ธ.ค. 2010, 12:41
โดย ลมโชย
ขอปักไว้อ่านนะครับ ความรู้ดีมากๆเลยครับ