หน้า 8 จากทั้งหมด 62

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 20 ธ.ค. 2010, 08:28
โดย อู๊ด-พีระ

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 20 ธ.ค. 2010, 09:22
โดย อู๊ด-พีระ
[img]http://www.thaimtb.com/forum/download/file.php?avatar=27637_1291473830.jpg[/img] twniwat เขียน:โอ.. :o :o :o นี่.มันไม่ใช่ข้อความธรรมดาสำหรับผู้รักการปั่นจักรยาน..นี่คือคัมภีร์จักรยานนี่เอง ..ขอบคุณในความเผื่อแผ่ กุศลมหาศาลจงบังเกิดแก่ท่านและครอบครัวครับ :P :P
ขอบคุณครับ...โอกาสหน้าเชิญใหม่ครับผม!รูปภาพ

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 20 ธ.ค. 2010, 10:50
โดย aou
อยู่แต่ห้องซื้อขาย พึ่งเคยเข้ามาอ่าน ได้เทคนิคกับความรู้เยอะมากครับ ขอบคุณมากครับ :P

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 20 ธ.ค. 2010, 11:42
โดย อู๊ด-พีระ
[img]http://www.thaimtb.com/forum/download/file.php?avatar=39102_1285551620.gif[/img] aou เขียน:อยู่แต่ห้องซื้อขาย พึ่งเคยเข้ามาอ่าน ได้เทคนิคกับความรู้เยอะมากครับ ขอบคุณมากครับ :P
ไม่เป็นไร...โอกาสหน้าเชิญใหม่ครับ!รูปภาพ

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 20 ธ.ค. 2010, 16:48
โดย TAN.S
เก็บครับ

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 20 ธ.ค. 2010, 20:25
โดย auo-bike
เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากๆสำหรับชาวจักรยานครับ :idea:
ปักหมุดฉึกๆ 8-)
ขอขอบคุณมากๆครับ
---------------------------------
ช้าแต่ชัวว์
บุญรักษาครับ
:mrgreen:

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 20 ธ.ค. 2010, 21:50
โดย อู๊ด-พีระ
ได้เลยครับ!รูปภาพ

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 20 ธ.ค. 2010, 21:53
โดย อู๊ด-พีระ
auo-bike เขียน:เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากๆสำหรับชาวจักรยานครับ :idea:
ปักหมุดฉึกๆ 8-)
ขอขอบคุณมากๆครับ
---------------------------------
ช้าแต่ชัวว์
บุญรักษาครับ
:mrgreen:
ได้เลยครับ!...เชิญครับรูปภาพ

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 21 ธ.ค. 2010, 08:06
โดย อู๊ด-พีระ
35.การปะยางครับ

รูปภาพ

ไม่จำเป็นต้องซื้อแบบยกกล่องเป็นเซท ก้อได้ครับ
เพราะราคามันจะค่อนข้างสูง
อุปกรณ์จำเป็นมีดังนี้
1.ที่งัดยาง เป็น พลาสติก ใช้ 2 อันยิ่งดี ราว25-30/ชิ้น
2.กาวปะยาง เป็นกาว 3 Kแบบบรรจุหลอด ราว 10 บาท
3.กระดาษทราบเบอร์ละเอียดๆหน่อย ซัก 1 ตร.นิ้ว
4.สูบลมแบบใช้มือ (สูบพกพา) ราคาตั้งแต่ 250-++
5.แผ่นปะยาง ขายเป็นโหลจะถูกมาก ตก ชิ้นละ 2 บาทมั๊ง จำไม่ได้
แต่แนะนำครับ ให้ติดยางในไป 1 เส้น เวลายางแตกให้เปลี่ยนเส้นใหม่เลย
แล้วค่อยเก็บยางที่แตกมาปะที่บ้าน
หรือถ้ายังใช้ยางในอยู่แนะนำ แผ่นรองกันหนามครับ ราวเส้นละ 300/ล้อ
ใช้รองระหว่างยางนอก กับ ยางใน ช่วยลดการเสี่ยงต่อการแทง/ตำได้ ครับ
ส่วนการปะยาง ไม่ยากอย่าที่คิดครับ
คอนเซปง่ายๆ
1.ถอดล้อที่รั่วออกจากเฟรม
2.ใช้ที่งัดยางงัดยางนอกออก โดนเลาะไปรอบๆขอบล้อจน ขอบยางนอก
หลุดออกมาจากขอบล้อ
3.นำยางในออกมาหาจุดที่รั่ว/แตก โดยการใช้สูบลม สูบเข้าไป
หาตำแหน่งที่แตกให้เจอ ทำเครื่องหมาย/จำไว้
4.ใช้กระดาษทราย ขัดบริเวณรอยที่รั่ว เพื่อให้กางยางและแผ่นปะยางยึดติดได้ดีขึ้น
ไม่ต้องขัดมากจนกินเนื้อยางนะครับ ขัดซะ 4-5 ทีก้อพอ
5. จากนั้นทำความสะอาด โดยใช้ผ้าเช็ด ฝุ่นออก
6.ทากาวให้ทั่วบริเวณ แล้วนำแผ่นปะยางแปะลงไป รอจนเริ่มแห้ง
บีบกาวยางละเลงทับบนแผ่นปะอีกที(อันนี้จะช่วยให้ขอบแผ่นปะสนิมกับยางในดีขึ้น)
รอจนแห้งสนิทดี ในการใช้งานราว5-10นาทีก็ใช้ได้ แต่นานกว่านี้ได้ยิ่งดี
ลองสูบลมเข้าไป สังเกตอาการ
จบแล๊วคร๊าบบบบบบบบบบ หวังว่าคงเป้นประโยชน์นะครับ!.....

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 21 ธ.ค. 2010, 08:06
โดย อู๊ด-พีระ

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 21 ธ.ค. 2010, 09:00
โดย Reaw
รวมคำภีร์เสือภูเขา Print ไว้เป็นเล่มแล้วครับ

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 21 ธ.ค. 2010, 11:05
โดย เสือโยกิ
ขอบคุณมากนะคะ น่าจะจัดทำเป็นหนังสือได้เลยคะ มีประโยชน์มากค่ะ

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 21 ธ.ค. 2010, 13:58
โดย อู๊ด-พีระ
36.เกียร์จักยานเสือภูเขา

รูปภาพ

ปัญหานี้คงเป็นปัญหายอดฮิตสำหรับมือใหม่ทุกๆคนเนื่องมาจากระบบเกียร์ที่ค่อนข้างจะซับซ้อนสำหรับคนที่ยังไม่คุ้นเคย และจำนวนเกียร์ที่มีมากมายจนน่าปวดหัว [ ระบบเกียร์เป็นคำกล่าวรวมเกี่ยวกับระบบขับเคลื่อน(drive train)ทั้งระบบ ซึ่งประกอบด้วยชุดจานหน้า(chain ring) สับจานหน้า(front derailleur) ชุดเฟืองหลัง(cog) ตีนผี(rear derailleur) โซ่(chain)
และยังรวมไปถึงชุดเปลี่ยนเกียร์(shifter) ]

เกียร์จักรยานนั้นถูกออกแบบมาด้วยเหตุผลคล้ายกับเกียร์รถยนต์ คือเพื่อให้ผู้ถีบสามารถใช้รอบขาและแรงถีบได้อย่างเหมาะสมกับสภาพเส้นทาง ความเร็ว และสภาพของตัวผู้ถีบเอง โดยจะเลือกอัตราทดจากการเปลี่ยนตำแหน่งโซ่ในชุดจานหน้าซึ่งจะมีตั้งแต่ 2 - 3 จาน ร่วมกับการเปลี่ยนตำแหน่งโซ่ในชุดเฟืองหลังซึ่งมีตั้งแต่ 7 - 9 เฟือง ( CampagnoloและRitchey ได้ทำ
ชุดเฟืองหลัง10 เฟืองออกมาแล้ว แต่อาจจะยังไม่เป็นที่แพร่หลายเนื่องจากใช้เพื่อการแข่งขัน )

ในที่นี้ผมจะขอกล่าวเฉพาะชุดจานหน้า 3 จานและเฟืองหลัง 9 เฟืองของเสือภูเขาเท่านั้นทางShimanoได้ผลิตชุดขับเคลื่อนระบบนี้ตั้งแต่ชุดระดับกลางๆคือ Deore จนถึงชุดระดับสูงอย่าง XTR โดยอาจจะเรียกให้เข้าใจกันง่ายๆว่า ชุดขับเคลื่อน 27 speeds ซึ่งความหมายมาจาก 3 x 9 = 27 นั่นเอง ซึ่งการเรียกตำแหน่งเกียร์นั้นจะเรียกเป็นตัวเลขคล้ายกับเกียร์รถยนต์โดยจานหน้าใบเล็กสุด จะเรียกว่าจาน1 จานกลางจะเรียกว่าจาน2 จานใหญ่สุดจะเรียกว่าจาน3 คล้ายๆกับเกียร์รถยนต์ ตัวเลขที่มากขึ้นก็จะหมายถึงความเร็วที่เพิ่มขึ้นมา (และออกแรงเพิ่มขึ้น)ในขณะที่ชุดเฟืองหลังนั้นจะเรียกเฟืองใหญ่สุดว่าเฟือง1 แล้วเรียกไล่กันไปจนถึงเฟืองเล็กที่สุดว่าเฟือง9 หลายคนอาจจะเริ่มสับสน คือถ้าเฟืองหลังยิ่งเล็กลงความเร็วก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะสลับกันกับชุดจานหน้า ตัวอย่างในการเรียกให้เข้าใจตรงกัน เช่น ตำแหน่งเกียร์ 3-7จะหมายถึงจานหน้าอยู่ในตำแหน่งจาน3 และเฟืองหลังอยู่ในตำแหน่งเฟือง7 (คือเฟืองตัวที่ 3 นับขึ้นมาจากเฟืองที่เล็กที่สุด)

ผมจะใช้ตัวอย่างจากชุดขับเคลื่อนยอดฮิตที่มีชุดใบจานหน้า 44-32-22 ( ใบใหญ่44ฟันใบกลาง32ฟัน และใบเล็ก22ฟัน ) กับชุดเฟืองหลังมีจำนวนฟันเรียงกันดังนี้ 11-12-14-16-18-21-24-28-32 อัตราทดจะคำนวณโดยการนำจำนวนฟันของจานหน้าหารด้วยจำนวนฟันของเฟืองหลัง เช่น เกียร์ 3-9 จะมีอัตราทดเท่ากับ 44หารด้วย11 เท่ากับ 4.0 ซึ่งหมายถึงว่าถ้าเราปั่นบันไดครบ1รอบ ล้อหลังจะหมุนไปได้ 4 รอบ ดูตารางกันก็แล้วกันนะครับ

เฟือง 9 เฟือง 8 เฟือง 7 เฟือง 6 เฟือง 5 เฟือง 4 เฟือง 3 เฟือง 2 เฟือง 1
จาน 3 4.00 3.67 3.14 2.75 2.44 2.10 1.83 1.57 1.38
จาน 2 2.91 2.67 2.29 2.00 1.78 1.52 1.33 1.14 1.00
จาน 1 2.00 1.83 1.57 1.38 1.22 1.05 0.92 0.79 0.69
แล้วจะเลือกใช้เกียร์อย่างไรดีหละ

หลักการใช้เกียร์ที่เหมาะสมนั้นไม่มีอะไรมากไปกว่าการใช้ความหนักเบาให้พอดีกับแรงและสุขภาพของคุณเอง การใช้เกียร์ที่หนักอัตราทดสูงๆ เช่น 3-9 อาจจะเหมาะสมสำหรับความเร็วสูงสุดช่วงสั้นๆในทางเรียบหรือความเร็วในการลงเขา แต่ไม่เหมาะสำหรับการเดินทางไกลๆเพราะจะหนักเกินไป และผลสุดท้ายจะลงเอยกับเข่าของคุณเอง สู้ใช้เกียร์ที่เบากว่าแต่ใช้รอบขา
สูงกว่าไม่ได้ และเกียร์ที่เบาเกินไปก็ไม่มีประโยชน์ต่อการออกกำลังกาย น้ำหนักเกียร์ที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องที่คุณจะต้องเลือกใช้ตามความจำเป็น เช่นเดียวกันกับรถยนต์ที่ไม่มีใครใส่เกียร์5 ขึ้นดอยอินทนนท์ ไม่ว่าเครื่องยนต์จะทรงพลังแค่ไหนก้อตาม และถึงแม้ว่าจะขึ้นได้ผลเสียก้อคงตกกับเครื่องยนต์และระบบขับเคลื่อนเอง อันนี้จึงเป็นเรื่องของทางสายกลางที่คุณจะต้องหาเองเพราะว่าแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันไป

แล้วจะเลือกใช้เกียร์ไหนดีเอ่ย มีตั้ง 27 เกียร์แหนะ เรามาลองย้อนขึ้นไปดูที่ตารางอัตราทดอีกทีนะครับ คุณจะพบว่ามันไม่ได้มีอัตราทดหลากหลายกันถึง 27 speedsอย่างที่คิด บางอัตราทดก็จะเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน รวมไปถึงข้อจำกัดในเรื่องของแนวโซ่ จนเราไม่อาจจะใช้มันจริงๆจังๆได้ครบทั้งหมด และจากการใช้งานจริงๆเราจะใช้มันอย่างมากก็เพียง 15-16 อัตรา
ทดเท่านั้น

พูดถึงแนวโซ่ อาจจะสับสนกับคำว่าchain lineได้

ผมคงต้องขออนุญาตปูพื้นคำว่าchain lineเสียก่อนนะครับ คำว่าchain lineนั้นหมายถึงระยะห่างระหว่างจุดกึ่งกลางท่ออาน(seat tube)กับยอดใบจานกลาง[หรือจุดกึ่งกลางระหว่างจานหน้าใบใหญ่สุดกับใบเล็กสุด(ในกรณี 2 ใบจาน)] chain lineจะเป็นใช้ค่าอ้างอิงระยะห่างระหว่างชุดใบจานหน้ากับเฟรม ค่าchain line จะแปรผันไปตามความยาวของแกนกระโหลกลักษณะของชุดขาจาน(crank set) และการสวมเข้ากับแกนกระโหลก โดยทั่วไปแล้วสำหรับเสือภูเขาส่วนใหญ่ จะมีค่าchain lineอยู่ในช่วง 47.5 - 50.0mm

ส่วนคำว่าแนวโซ่ที่ผมจะใช้ตลอดบทความเรื่องนี้จะหมายถึงการเล็งแนวของโซ่จากเฟืองหลังไปหาจานหน้าหรือจากจานหน้าไปหาเฟืองหลังโดยเทียบกับแนวของล้อ คำว่าแนวโซ่ตรงมีความหมายว่าแนวโซ่ขนานกับแนวล้อ และแนวโซ่เบี่ยงเบน หมายถึงว่าแนวโซ่เบี่ยงเบนจากแนวขนานกับแนวล้อ

โซ่เป็นจุดที่เปราะบางที่สุดของระบบเกียร์

โซ่เป็นตัวถ่ายทอดแรงจากบันไดไปยังล้อหลัง โดยรับจากจานหน้าส่งต่อไปยังเฟืองหลังจุดอ่อนของโซ่ก็คือ ข้อโซ่ ข้อโซ่อาจจะได้รับการออกแบบมาอย่างดีสำหรับการรับแรงกระทำในแนวยาวซึ่งจะมาในรูปของการดึง แต่ไม่ได้ถูกออกแบบมาดีนักสำหรับการรับแรงบิด ทั้งการบิดเกลียวและการบิดด้านข้าง เมื่อโซ่ได้รับแรงบิด ข้อโซ่จะเป็นบริเวณที่ต้องเผชิญกับความเครียดและแรงเค้น เมื่อโลหะที่เป็นแผ่นประกับ(outer plate)ตรงบริเวณข้อโซ่ได้สะสมความเครียดและแรงเค้นจนถึงจุดที่เกิดอาการล้าตัวแล้ว แกนข้อโซ่ก็จะถูกบิดให้หลุดออกมา ก็จะเกิดอาการที่เรียกว่า "โซ่ขาด"

การบิดของโซ่จะเกิดเกือบตลอดเวลาของการใช้งาน โดยการบิดตัวด้านข้างจะเกิดขึ้นในขณะที่ใช้อัตราทดที่มีแนวโซ่เบี่ยงเบน ยิ่งเบี่ยงเบนมากก็จะบิดตัวมาก (การบิดด้านข้างของโซ่จะทำให้มีแรงต่อฟันของจานหน้าและเฟืองหลังที่เกี่ยวข้องด้วย) ส่วนการบิดเกลียวจะเกิดขึ้นในขณะที่มีการเปลี่ยนตำแหน่งจานหน้า แรงบิดเกลียวที่กระทำต่อโซ่ในขณะเปลี่ยนตำแหน่งจาน
หน้านี้จะเพิ่มขึ้นตามแรงที่เรากดบันได

การใช้ตำแหน่งเกียร์ที่เหมาะสม
โดยพิจารณาจากแนวโซ่การเลือกใช้ตำแหน่งเกียร์ที่เหมาะสมโดยพิจารณาจากแนวโซ่เป็นเหตุผลหลักนั้น จะช่วยยืดอายุการใช้งานในระยะยาวของระบบเกียร์ไม่ว่าจะเป็น โซ่ หรือชุดจานหน้าหรือเฟืองหลัง

ถ้าพิจารณาจากรูปจะเห็นได้ว่าที่ตำแหน่งเกียร์ 1-3 , 2-5 และ 3-7 แนวโซ่แทบจะเป็นเส้นตรงเลยทีเดียวเมื่อเราใช้เกียร์ 2-7 ทำความเร็วได้พอสมควรแล้ว และต้องการจะทำความเร็วเพิ่มขึ้นอีก เราอาจจะเลือกเปลี่ยนเกียร์เป็น 3-6 ซึ่งจะให้อัตราทดที่เพิ่มขึ้นและต่อเนื่องคล้ายกับอัตราทดในเกียร์2-8 แต่แนวโซ่ไม่เบี่ยงเบนไปมาก หรือ คุณกำลังจะปั่นขึ้นเนินด้วยตำแหน่งเกียร์ 2-3 และเห็นว่าเนินนี้ยังอีกยาวทั้งมีแนวโน้มว่าคุณจะต้องใช้เกียร์ที่ต่ำกว่านี้อีกในการจะเอาชนะ แทนที่คุณจะเปลี่ยนเป็นเกียร์ที่ต่ำกว่านี้ด้วยการใช้เกียร์ 2-2 ผมแนะนำให้คุณเปลี่ยนไปเล่นเกียร์ 1-5 แทนจะดีกว่า นอกจากเรื่องอัตราทดและแนวโซ่แล้วยังจะมีสิ่งที่หลายคนนึกไม่ถึง

ระบบเกียร์จัการยาน
เทคนิคการเลือกใช้ตำแหน่งสับจานหน้าในสถานะการณ์ต่างๆ การเปลี่ยนตำแหน่งสับจานหน้านั้น ไม่ใช่สิ่งที่กระทำได้สะดวก รวดเร็วเหมือนอย่างการเปลี่ยนตำแหน่งเฟืองหลัง เพราะระยะห่างระหว่างใบจานหน้า รวมไปถึงความแตกต่างระหว่างจำนวนฟันของใบจานหน้าแต่ละใบ ผิดกับชุดเฟืองหลังที่จะอยู่ชิดกันกว่ารวมไปถึงจำนวนฟันที่ต่อเนื่องกันมากกว่า

การพิจารณาเลือกใช้และการตัดสินเปลี่ยนตำแหน่งจานหน้าในแต่ละสถานการณ์อาจจะแตกต่างกันไปสำหรับหลายๆคน แต่ก็ยังคงมีเหตุผลหลักๆที่คนส่วนใหญ่ยอมรับมัน

1. สำหรับทางเรียบ คุณจะใช้จานกลางหรือจานใหญ่ก็สุดแล้วแต่ระดับความเร็วที่คุณใช้และแนวโซ่ที่จะเบี่ยงเบน เช่นถ้าคุณเกาะกลุ่มในทางเรียบที่ความเร็วประมาณ 29-31กม/ชมแช่เป็นทางยาว แทนที่คุณจะใช้ตำแหน่งเกียร์ 2-9 ซึ่งแนวโซ่จะเบี่ยงเบนไปมาก ก็ควรจะเลือกใช้ตำแหน่งเกียร์ 3-7 ซึ่งแนวโซ่จะเป็นเส้นตรง

2. สำหรับทางลงเขา ควรใช้จานใหญ่ที่สุด ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึง ระดับความเร็วที่คุณกำลังปั่นส่งเพื่อลงเขาเท่านั้นหรือแม้จะเพียงปล่อยไหลลงเขาก็ตาม เพราะว่าถ้าหากมีการล้มเกิดขึ้นโซ่ที่มาอยู่ในตำแหน่งจาน3 จะป้องกันขาของคุณจากความคมของยอดฟันใบจาน ซึ่งคมพอที่บาดขาคุณลงไปถึงกล้ามเนื้อได้

3. # สำหรับกรณีขึ้นเขา คุณอาจจะมีแรงมากพอที่จะใช้จานกลางปั่นขึ้นเขาได้โดยตลอด และคิดว่าการเปลี่ยนมาใช้จานเล็กจะทำให้เสียเวลา ขอเพียงแค่คุณแรงถึง และแนวของโซ่ไม่เบี่ยงไปมากนักก็คงจะไม่เป็นไรมากเท่าไหร่ แต่ถ้าเกิดคุณขึ้นเขาด้วยเกียร์ 2-1หละครับผมว่าคุณใช้เกียร์ 1-4 จะไม่ดีกว่าหรือ อัตราทดใกล้เคียงกันแถมแนวโซ่ยังไม่เบี่ยงด้วย โซ่ในระบบเกียร์ 27 speeds จะบางกว่าโซ่ของระบบเกียร์ 24 speeds หรือระบบเดิมประมาณ0.6mm และต้องยอมรับว่าความแข็งแรงย่อมจะลดลงเป็นธรรมดา ซึ่งได้รับการยืนยันจากผู้ใช้หลายๆคนว่าโซ่ของระบบใหม่ขาดง่ายกว่าระบบเดิม แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นโซ่ใหม่หรือโซ่เดิม โอกาสโซ่ขาดอันเกิดจากการใช้งานที่ผิดวิธีย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ โซ่ขาดในระหว่างขึ้นเขาเป็นเหตุการณ์ที่พบได้เรื่อยๆ ไม่ใช่ว่าข้อโซ่ทนแรงดึงไม่ไหว แต่ข้อโซ่ทนแรงบิดไม่ไหวต่างหาก คุณรู้หรือไม่ว่า โซ่จะบิดเกลียวและบิดตัวด้านข้างอย่างมากในขณะที่มีการเปลี่ยนตำแหน่งจานหน้า ถ้าบวกด้วยการออกแรงดึงโซ่อย่างหนัก เช่น ลดจานหน้าลงมาในขณะที่ขายังกดบันไดอย่างหนักเพื่อที่จะเอาชนะเนินสูงให้ได้ก็อาจจะทำให้ข้อโซ่บิดจนหลุดออกมาได้ ขณะที่การเปลี่ยนตำแหน่งเฟืองหลังนั้นจะทำได้ง่ายกว่า โซ่จะบิดตัวน้อยกว่า เนื่องจากระยะห่างระหว่างเฟืองแต่ละแผ่นมีน้อยกว่าระยะห่างระหว่างใบจานวิธีที่ควรทำในระหว่างการขึ้นเขาก็คือ

* พิจารณาจากรอบขาและแรงที่เรายังมีอยู่
* ถ้าเนินที่เห็นข้างหน้า หนักหนากว่าที่จะใช้จาน2ได้ตลอดเนิน ก็ให้เปลี่ยนเป็นจาน1 เมื่อยังมีแรงและรอบขาเหลืออยู่ โดยลดแรงกดที่บันไดลงก่อน อย่าเปลี่ยนจานหน้าในขณะที่กำลังจะหมดแรงส่ง เพราะนั่นหมายถึงว่าคุณกำลังออกแรงย่ำบันไดอย่างหนักโดยที่บันไดแทบจะไม่ขยับเลย ซึ่งนั่นหมายถึงว่าแรงตึงภายใน
* โซ่จะสูงมากจนน่าเป็นห่วงที่จะทำให้ข้อโซ่อ้าได้ จากนั้นมาเล่นรอบโดยการเปลี่ยนตำแหน่งเฟืองหลังโดยใช้เฟืองที่เล็กลงก่อนเพื่อลดอาการ"หวือ"ของขาจากการที่ลดจานหน้าลง แล้วจึงเลือกเปลี่ยนตำแหน่งเฟือง
หลังไปตามสถานะการณ์ แต่หลักการยังคงเหมือนเดิมคือ ให้เปลี่ยนเกียร์ในขณะที่ยังมีแรงหรือรอบขาเหลืออยู่ อย่าเปลี่ยนในขณะที่กำลังจะหมดแรงส่งด้วยเหตุผลที่เหมือนกับการสับจาน ถึงแม้ว่าจะไม่มีผลให้โซ่ขาดต่อหน้าต่อตาแต่จะบั่นทอนอายุการใช้งานลงอย่างคาดไม่ถึง (อาจจะเจอโซ่ขาดเอาดื้อๆขณะที่กำลังปั่นทั้งๆที่ไม่ได้เปลี่ยนเกียร์เลย ) และต้องลดแรงกดที่บันไดในเวลาเปลี่ยนเกียร์เช่นกัน

ข้อสรุป

* เลือกใช้เกียร์ให้เหมาะสมกับสภาพเส้นทางและสภาพตัวคุณเอง พยายามหลีกเลี่ยงการใช้เกียร์ที่หนักแรงโดยไม่จำเป็น เก็บข้อเข่าคุณไว้ใช้ตอนอายุมากๆดีกว่า
* เลือกอัตราทดที่โซ่ไม่เบี่ยงเบนมาก เพื่อยืดอายุการใช้งานของโซ่ และลดการสึกหรอของจานหน้าและเฟืองหลัง
* เกียร์ 1-9 และ 3-1 ไม่ใช่เกียร์สำหรับใช้งาน แต่เกียร์1-9 มีไว้สำหรับเก็บรถเพื่อพักสปริงสับจานและตีนผี และระวังอย่าเผลอใช้เกียร์ 3-1
* การเปลี่ยนเกียร์ ไม่ว่าจะเปลี่ยนตำแหน่งจานหน้าหรือเฟืองหลัง ให้ลดแรงกดที่บันได
* ในขณะลงเขา เปลี่ยนจานหน้ามาไว้ที่จาน3 เสมอ โซ่จะคลุมยอดฟันคมๆของจาน3 ไม่ให้มาเกี่ยวขาเราในเวลาที่ล้ม
* ในขณะขึ้นเขา ควรจะเปลี่ยนมาใช้จาน1ในช่วงที่ยังมีรอบขาเหลืออยู่ ทางที่ดีแล้วควรจะ
เปลี่ยนมาใช้จาน1เสียแต่เนิ่น แล้วมาไล่เฟืองหลัง การเปลี่ยนตำแหน่งเฟืองหลังในขณะขึ้นเขา ทำได้ง่ายกว่าการเปลี่ยน


รูปภาพ

รูปภาพ

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 21 ธ.ค. 2010, 13:59
โดย อู๊ด-พีระ

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์: 21 ธ.ค. 2010, 16:31
โดย อู๊ด-พีระ
Reaw เขียน:รวมคำภีร์เสือภูเขา Print ไว้เป็นเล่มแล้วครับ
ได้เลย...ครับผม!รูปภาพ