☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

สอบถามเทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร เชิญห้องนี้เลย
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

66.การเปลี่ยนยางในรถจักรยาน

[youtube]Om9c8VWYPSo&feature=player_embedded#![/youtube]
แก้ไขล่าสุดโดย อู๊ด-พีระ เมื่อ 08 พ.ค. 2011, 09:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

67.การถอดและใส่ยาง TUBELESS

[youtube]ezWGvf_KQec&feature=player_embedded[/youtube]
แก้ไขล่าสุดโดย อู๊ด-พีระ เมื่อ 08 พ.ค. 2011, 09:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
bigauud
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 41
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.ค. 2010, 15:18
Tel: 0896196029
team: Naklang Bike
Bike: RIDLEY FENIX
ติดต่อ:

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย bigauud »

:) :) ขอบคุณข้อมูลที่ให้ความกระจ่างครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
bigauud
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 41
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.ค. 2010, 15:18
Tel: 0896196029
team: Naklang Bike
Bike: RIDLEY FENIX
ติดต่อ:

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย bigauud »

ได้ความรู้มากครับ
ถ้าจำไม่ได้จะมาอ่านใหม่ครับ
:P :P
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

[img]http://www.thaimtb.com/forum/download/file.php?avatar=38461_1295074905.jpg[/img] bigauud เขียน: :) :) ขอบคุณข้อมูลที่ให้ความกระจ่างครับ
[img]http://www.thaimtb.com/forum/download/file.php?avatar=38461_1295074905.jpg[/img] bigauud เขียน:ได้ความรู้มากครับ
ถ้าจำไม่ได้จะมาอ่านใหม่ครับ
:P :P
[img]http://www.thaimtb.com/forum/download/file.php?avatar=38461_1295074905.jpg[/img] bigauud เขียน: สุดยอดพระคำภีร์ เกล็ดความรู้ดีๆที่่มีต่อชาวเสือครับ
ขอให้พี่มีแต่ความสุขความเจริญ และสุขภาพแข็งแรง
ครับผม
:mrgreen: :mrgreen:
สวัสดีครับ!...ขอบคุณครับคำอวยพร...ถ้ามีเวลาแวะเข้ามาทักทายกันได้ครับ...ทางเรายินดีเสมอรูปภาพ
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

68.“ภูเขา” อุปสรรคที่เอาชนะได้

รูปภาพ

“ภูเขา” อุปสรรคที่เอาชนะได้

การแข่งขันจักรยานทางไกลระดับโลกหลายๆรายการที่เราได้ดูจากดีวีดี อาทีเช่น Tour de France, Giro d’Italia, Vuelta สิ่งที่ค่อนข้างจะเหมือนกันคือตำแหน่งผู้ชนะเลิศเวลารวมมักจะตัดสินกันที่สเตจภูเขา ไม่ใช่ว่านักจักรยานระดับนี้ทุกคนจะขึ้นเขาได้เก่งและอึด แต่นักจักรยานเหล่านี้มีจุดประสงค์ต่างกัน ส่วนใหญ่ต้องทำหน้าที่ช่วยเหลือและดูแลกัปตันทีมให้บรรลุเป้าหมาย ดังนั้นพวกเขาไม่มีทางเลี่ยงแต่จะต้องหมั่นฝึกซ้อมเพื่อเอาตัวรอดจากสเตจภูเขาในสภาพที่ยังสมบูรณ์พอที่จะเป็นตัวช่วยกัปตันทีมของตนเองได้จนตลอดเส้นทาง ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เวลา 20 วัน

นักจักรยานอย่างพวกเรามีจุดประสงค์ต่างจากนักแข่งมืออาชีพ เรามักจะชอบการเข้าร่วมการขี่ในเส้นทางที่แตกต่างกันไป มีความท้าทายแตกต่างกัน และสนุกกับการขี่ก่อนที่จะจบอย่างแฮ้ปปี้เอนดิ้ง แต่ภูเขาเป็นคำที่แสลงใจสิงห์ทางเรียบส่วนใหญ่โดยเฉพาะผู้ที่มีนิวาสถานอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งนานๆทีจึงจะมีโอกาสที่จะได้ไปขี่จักรยานขึ้นเขาสักทีนอกจากจะตั้งใจจริงๆ

ตามที่เราทราบกันแล้วว่าเส้นทางขี่ชิมาโนเซนทิวรี่ ของเราจะมีระดับความยากขึ้นในสนามที่ 3 และ 4 ซึ่งตีความง่ายๆว่าต้องมีคำว่าขึ้นเขามาเกี่ยวข้องด้วยอย่างแน่นอน แม้ว่าผู้ที่ทำการสำรวจเส้นทางจะชอบบอกเราว่าทางลง(เข็น)อย่างเดียว ทางที่ดีคือเราต้องเตรียมตัวให้พร้อม อย่างน้อยควรจะพาตนเองขึ้นเขาได้ตลอดรอดฝั่งโดยที่เท้าไม่แตะพื้นเลย

การซ้อมสำหรับขึ้นเขานั้นผู้ที่อยู่ต่างจังหวัดชนิดที่ออกจากบ้านเลี้ยวขวาไปอีก 5 กม.ก็เจอภูเขาแล้วก็สามารถฝึกซ้อมได้ง่ายกว่าผู้ที่อยู่ในเมืองหรือจังหวัดที่เป็นพื้นที่ราบ ส่วนจะซ้อมแบบไหนให้ได้ผลคงจะต้องขอยกไปคุยกันหลังจากที่บริการให้กับนักจักรยานที่ต้องอาศัยเทรนเนอร์ก่อน

ปัญหาของการฝึกซ้อม

นักจักรยานบางท่านอาจมีปัญหาจากการซ้อมเช่นการบาดเจ็บหรือโอเวอร์เทรนด์ ปัญหาของการบาดเจ็บส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการใช้เกียร์หนักเกินไปหรือตั้งโหลดหนักเกินไป หากเป็นการขี่ขึ้นเขาก็เป็นการใช้เกียร์หนักเกินกำลัง นอกจากนี้การปรับตั้งตำแหน่งที่ถูกต้องก็เป็นส่วนสำคัญที่จะหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บได้ นักจักรยานหลายคนไม่ได้ให้ความสนใจกับการปรับตำแหน่งบนจักรยานคันที่ติดตั้งบนเทรนเนอร์ ให้มีสัดส่วนเหมือนกับจักรยานคันที่ขี่อยู่จริง ด้วยคิดว่าต้องการซ้อมให้เกิดความแข็งแกร่งหรือทนทานก็เป็นการเพียงพอ นอกจากจะทำให้การฝึกซ้อมไม่ได้ผลเต็มที่แล้วยังอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บกล้ามเนื้อหรือข้อเข่าได้ หากไม่มีเวลาก็สามารถนำจักรยานคู่ใจเข้ามาที่โปรไบค์เพื่อให้เราปรับตำแหน่งต่างๆให้ถูกต้องได้

อาการโอเวอร์เทรนด์เกิดจากหลายสาเหตุตั้งแต่การฝืนใช้ตารางซ้อมหนักเกินไป ส่วนใหญ่มักเกิดจากการใช้เกียร์หรือโหลดที่หนักอย่างต่อเนื่องจนอัตราการเต้นของหัวใจเกินขีดที่ร่างกายรับได้ บางคนอยากเก่งเร็วเบิ้ลตารางซ้อมจนเดี้ยงก็มี การฝืนซ้อมหลังจากอดนอนหรือแม้กระทั่งการจัดการเรื่องการรับประทานอาหารรวมทั้งการดื่มน้ำก่อน ระหว่างหรือหลังการฝึกซ้อมที่ไม่เพียงพอหรือโดยความเข้าใจผิดเช่นยิ่งดื่มน้ำน้อยยิ่งอึด ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่เกิดขึ้นบ่อยโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีภูมิอากาศร้อน ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มการซ้อมจักรยานไม่ว่าจะซ้อมในพื้นที่ของตนเองหรือซ้อมบนเทรนเนอร์ นักจักรยานต้องตระหนักอยู่เสมอว่าเรามาเล่นกีฬาขี่จักรยานเพื่ออะไร เป้าหมายในการซ้อมเทรนเนอร์ที่จะกล่าวถึงต่อจากนี้เพื่อให้นักจักรยานที่ตั้งใจจะขี่ระยะ 100 กม. สามารถขี่ได้ครบระยะและสามารถผ่านเส้นทางที่เป็นเขาได้และไม่เกิดอาการช๊อต

รูปภาพ

การซ้อมเทรนเนอร์สำหรับขึ้นเขานั้นมีองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการด้วยกันซึ่งจะรวมอยู่ในการซ้อมชุดเดียวกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาไปพร้อมๆกัน

1.ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ Muscle strength
การฝึกเพื่อให้เกิดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหากเปรียบแล้วคล้ายกับการฝึกยกน้ำหนัก การขึ้นเขาที่มีความชันมากๆ แม้จักรยานที่ใช้จะมีเกียร์ที่มีอัตราทดขนาด 34/27 แล้วก็ตาม แต่เมื่อเจอกับเขาหรือเนินที่มีความชันขนาด 7% - 8% ขึ้นไป กล้ามเนื้อต้องทำงานหนักแน่นอน ยิ่งชันก็รู้สึกต้องออกแรงมากขึ้นกว่าจะปั่นได้แต่ละรอบ แต่นักจักรยานที่ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมาได้ระดับหนึ่งอาจจะรู้สึกว่าไม่หนักมากเมื่อเทียบกับผู้ที่ฝึกมาน้อยกว่า เรียกว่าได้เปรียบกว่าเช่นสามารถใช้เกียร์ที่หนักกว่าเล็กน้อยและยังมีเกียร์เหลือให้ใช้ตอนใกล้จบอีก บางคนอาจใช้เกียร์ขนาดเท่ากับคนที่ฝึกน้อยกว่าแต่สามารถปั่นด้วยรอบขาที่สูงกว่าเล็กน้อย แต่ผลที่ได้คือเมื่อถึงยอดเขาหรือยอดเนินยาวๆนักจักรยานที่มีกล้ามเนื้อที่เตรียมตัวมาดีกว่าจะสดชื่นกว่า

การฝึกซ้อมเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ จึงจำเป็นต้องทำเป็นทีละขั้นทีละตอนอย่างใจเย็น เพื่อให้ร่างกายมีโอกาสรับทราบว่าจะมีการฝึกกล้ามเนื้อ และเปิดโอกาสให้ร่างกายเริ่มเสริมสร้างกล้ามเนื้อและส่วนประกอบอื่นๆเพื่อมารองรับการฝึกที่จะดำเนินซ้ำอีก การฝึกซ้อมแบบก้าวกระโดดหากพื้นฐานไม่แน่นเพียงพออาจเห็นผลดีในช่วงแรก แต่โอกาสบาดเจ็บมีมาก นักจักรยานที่เพิ่งเริ่มฝึกจำเป็นจะต้องเรียนรู้ขีดความสามารถของตนเอง และปรับโหลดหรือเกียร์ที่ใช้ในการฝึกซ้อมให้สามารถปฏิบัติได้ครบตามเวลาและอัตราการเต้นของหัวใจที่กำหนดอย่างเคร่งครัด

2.ความทนทาน Endurance
การฝึกซ้อมที่จำเป็นต้องทำคู่ขนานกับการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคือการฝึก endurance การฝึกชนิดนี้มีนิยามที่ค่อนข้างจะกว้างขวาง เพราะการฝึกความทนมีทั้งในระดับแอโรบิคและอะนาโรบิค แต่ในที่นี้เราจะเริ่มกันที่ฝึกความทนทานในระดับแอโรบิคก่อน ในภายหลังที่ร่างกายมีความแข็งแกร่งมากขึ้นจึงจะเริ่มฝึกระดับอะนาโรบิคที่ค่อยนข้างจะโหดเอาการ หากเราเจอเขาหรือเนินที่ไม่ยาวนักตีเสียว่าสัก 200 เมตร นักจักรยานหลายคนสามารถใช้ความแข็งแรงอัดขึ้นสู่ยอดเนินได้ในระยะเวลาสั้นๆ แต่หากเขายาวสัก 1.5 กม. นอกจากจะต้องแข็งแรงแล้ว ต้องมีความทนทานด้วย กล่าวคือสามารถยืนระยะการขึ้นเขาได้จนจบ เช่นเดียวกัน นักจักรยานที่มีความทนทานมากกว่า มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมากกว่า เมื่อปั่นด้วยรอบขาและใช้เกียร์ที่พอเหมาะ ก็จะยืนระยะได้จนถึงยอดเขาแบบสบายๆ

การฝึกซ้อมชนิดนี้จะใช้ระยะเวลาการฝึกซ้อมต่อเซ็ทยาวกว่าแบบแรก แต่ใช้เกียร์ที่เบากว่าและรอบขาที่สูงกว่า โดยเน้นที่การรักษาอัตราการเต้นของหัวใจเป็นหลัก หากนักจักรยานมีความใจเย็นพอที่จะเดินไปทีละขั้น ในระยะเวลาที่ค่อยๆผ่านไป จะพบว่า ด้วยอัตราการเต้นของหัวใจคงเดิม จะสามารถใช้รอบขาสูงขึ้นได้ หรือใช้เกียร์ที่หนักขึ้นได้ เรียกว่าได้ power output มากขึ้น และเมื่อจบการฝึกซ้อมแต่ละครั้งจะมีสภาพร่างกายที่สบายๆ อัตราการเต้นของหัวใจจะลดลงได้เร็วขึ้นหลังการซ้อมแต่ละเซ็ทจบลง และอัตราการเต้นของหัวใจเมื่ออยู่เฉยๆหรือเมื่อตื่นนอนจะต่ำลง
>>>>> ดาวน์โหลดตารางซ้อมเทรนเนอร์สำหรับการปั่นขึ้นเขาได้ที่นี่ <<<<<

คำถามที่มักจะถามกันบ่อยๆเกี่ยวกับการซ้อม

1. ควรจะซ้อมตารางขึ้นเขาถี่มากน้อยเพียงใด?
การซ้อมตารางขึ้นเขานั้นถือว่าเป็นการซ้อมที่ค่อนข้างจะหนัก ดังนั้นจึงไม่ควรซ้อมเกินสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และจะต้องไม่ซ้อม 2 วันติดต่อกัน ควรจะมีการพักระหว่างวันด้วยการซ้อมแบบแอโรบิค เพื่อเสริมความแข็งแรงของระบบแอโรบิคในร่างกาย ซึ่งหมายความว่าการควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 70-75% เท่านั้น

2. จะทราบได้อย่างไรว่าโหลดหรือเกียร์ที่เซ็ทไว้หนัก หรือเบาไปอย่างไร?
สิ่งที่ต้องย้ำเตือนตนเองอยู่เสมอคือ การซ้อมนั้นเป็นการฝึก ไม่ใช่การทำร้ายร่างกาย ดังนั้นผู้ที่ฝึกซ้อมเท่านั้นที่จะรู้ว่าเกียร์ที่ใช้แต่ละเกียร์หรือโหลดที่ใช้ หนักหรือเบาเกินไปอย่างไร โชคดีที่มีอุปกรณ์วัดอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งเราจะสังเกตุว่าจะต้องคุมให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ คือที่ 85%ของอัตราการเต้นสูงสุด หากอัตราการเต้นของหัวใจเริ่มเพิ่มสูงมีอยู่สองวิธีที่จะลดได้คือการลดรอบขา ซึ่งไม่แนะนำเพราะการควบคุมรอบขาเป็นสิ่งจำเป็น อีกวิธีหนึ่งคือการลดเกียร์หรือโหลด การลดโหลดจะทำให้ความหนืดเปลี่ยนแปลงมากเกินไป ดังนั้นจึงแนะนำให้ลดเกียร์แต่รักษารอบขาเอาไว้

3. ระหว่างวันที่เว้นว่างไม่ได้ซ้อมตารางขึ้นเขาควรจะทำอะไร?
การฝึกเบสิคบวกกับการซ้อมระบบแอโรบิคดังที่กล่าวไว้ในหัวข้อที่ 1. เป็นทางเลือกที่ดี (ตารางการฝึกเบสิคและแอโรบิคสามารถดูได้ในตารางถัดไป) แต่จะต้องไม่ลืมตัวหักโหมเกินไป ในช่วงต้นอาจจะซ้อมแค่เบสิค หลังจากผ่านไปสักสองหรือสามสัปดาห์ หลังจากที่ร่างกายเริ่มพัฒนาขึ้น การเพิ่มการซ้อมแอโรบิคเข้าไปในตารางซ้อม จะช่วยให้ร่างกายพัฒนาได้เร็วขึ้นอีกโดยเฉพาะเรื่องความแข็งแรงของหัวใจ แต่ทั้งนี้หมายความว่านักจักรยานต้องหาโอกาสออกขี่ระยะทางไกลในวันหยุดสุดสัปดาห์ด้วย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความเคยชินที่ร่างกายต้องทำงานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ

4. ใช้จักรยานเฟรมคาร์บอนคันเก่งซ้อมเทรนเนอร์ได้หรือไม่?
ไม่แนะนำอย่างยิ่งเพราะเฟรมคาร์บอนนั้น แม้จะมีความเหนียวและแข็งแรง แต่หมายถึงการที่เฟรมมีอิสระในการเคลื่อนไหว การยึดเฟรมเข้ากับเทรนเนอร์จะทำให้การเคลื่อนไหวของเฟรมมีขีดจำกัด ซึ่งอาจทำให้เฟรมเสียหายได้ จึงแนะนำให้ใช้จักรยานเฟรมเหล็กหรือเฟรมอัลลอยที่ราคาไม่แพงมากนัก แต่ต้องเซ็ทช่วงต่างๆให้เหมือนกับคันที่ใช้ประจำทุกประการ เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อชุดเดียวกันให้พร้อมที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อออกขี่จริง
แก้ไขล่าสุดโดย อู๊ด-พีระ เมื่อ 08 พ.ค. 2011, 09:42, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
Reaw
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 137
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 พ.ย. 2010, 15:53
Tel: 0818788015
team: ตา-ยาย เมืองย่า
Bike: merida 1-20,spe m5,gary

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย Reaw »

ติดตามอ่านทุกตอนครับ

ขอชื่นชมอย่างมากๆๆๆๆ
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

69.เกียร์รุ่นต่างๆ ของ Shimano สำหรับ MTB มันต่างกันอย่างไร

วันนี้เรามาคุยกันเรื่องของเกียร์กันดีกว่าครับ จักรยานแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ ราคาก็ไม่เท่ากัน บางคนอาจจะได้ยินโฆษณา 24 ,27 speed หรือ 8 เกียร์ 9 เกียร์ มันคืออะไรกันแน่

มาว่ากันเรื่องของการนับเกียร์ก่อนครับ
จักรยานทั่วไป จะมีเกียร์เรียงลำดับกันดังนี้ คือ 18,21,24,27 ซึ่งที่มาก็คือ ปกติจานหน้าจะมี 3 ใบ และจำนวนจานหลังก็จะแตกต่างกันออกไป เช่นหากเกียร์หลังหากมี 6 ใบก็เท่ากับ 3x6 =18 เกียร์ หรือปัจจุบันเกียร์สูงสุดมี 9 ใบ ก็เท่ากับ 3x9 = 27 เกียร์นั่นเอง กล่าวคือ จานหน้า 1 ใบ เปลี่ยน speed จากเกียร์หลังได้ 9 speed นั่นเอง เพราะฉนั้นหากเราไปซื้อจักรยาน แล้วร้านบอกว่า 24 speed ก็หมายถึง เกียร์หลังมี 8 ใบนั่นเอง

ในปัจจุบัน จักรยานเสือภูเขา มีเกียร์สูงสุดแค่ 27 เกียร์ (เกียร์หลังสูงสุดแค่ 9 ใบ) ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ในการออกแบบเกียร์หลังให้มีใบมากๆนั้น มีจำกัด และขนาดของโซ่ก็ต้องเล็กตามไปด้วย ซึ่งโซ่ที่ใช้ในปัจจุบัน หากใช้ 24 เกียร์ โซ่จะหน้ากว่า เกียร์ 27 เกียร์ โดย 27 เกียร์ต้องใช้โซ่ รหัส HG ซึ่งจะบางกว่าโซ่ทั่วไป

จำไว้ให้ดีว่าชิ้นส่วนของเกียร์แต่ละรุ่นนั้น ไม่ได้มีแค่เฉพาะเกียร์เท่านั้น แต่มีด้วยกันถึง 10 ชิ้นคือ จานหน้า , จานหลัง , โซ่ , มือเบรค , มือเกียร์ , ดุมหน้า , ดุมหลัง , สับจานหน้า , ตีนผี และ ก้ามเบรค

รูปภาพ

การกำหนดประเภทของเกียร์
ปัจจุบันจะมีเกียร์ที่ทำมาจำหน่ายและนิยมใช้กันสองยี่ห้อครับ คือ


Shimano การเปลี่ยนเกียร์จะใช้ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้เป็นตัวเปลี่ยนเกียร์ทีละขึ้น ทั้งจานหน้าและจานหลัง
รูปภาพรูปภาพ

SRAM การเปลี่ยนเกียร์จะใช้วิธีบิดหนุน ที่แฮนด์จักรยาน ซึ่งเปลี่ยนได้เร็วกว่าแบบ Shimano เราเรียกว่า Grip Shift
รูปภาพรูปภาพ

ในที่นี้ผมจะกล่าวถึง Shimano อย่างเดียวครับ เนื่องจากมีผู้นิยมใช้มากกว่า SRAM ซึ่งผลิตสำหรับระดับแข่งขันมากกว่า Shimano ซึ่งทำเกือบทุกๆรุ่นของจักรยาน

ประเภทของเกียร์ Shimano
เกียร์ของ Shimano เป็นที่รู้จักกันดีในตลาดจักรยานบ้านเรา และเป็นที่นิยมไปทั่วโลก ทั้งเรื่องของประสิทธิภาพ ราคา ความแข็งแรง โดยผมจะพูดถึงเกียร์ที่เป็นมาตรฐานสำหรับจักรยานเสือภูเขาในระดับราคา ปานกลาง คือตั้งแต่ 1 หมื่นบาทขึ้นไปครับ เพราะจักรยานที่ ราคาถูกกว่านี้ เกียร์ของ Shimano จะเป็นรุ่นที่ไม่มีข้อมูลของเกียร์เลย เนื่องจากทำเพื่อรถราคาถูก และวัสดุที่ใช้ทำไม่เหมาะกับการเอามาลุย ตามป่าเขาครับ เหมาะที่จะเอาไปขี่ตามถนน หรือหมู่บ้านมากกว่า โดยผมจะพูดถึงเกียร์ที่ราคาถูกที่สุด และใช้กับจักรยานราคาต่างๆกันไปด้วยเลย

1. Shimano Tourneyรูปภาพ
เป็นเกียร์ที่ถูกที่สุดของ Shimano ที่มีติดอยู่ในจักรยานราคา 6-8 พันบาทในบ้านเรา มีผลิดอยู่ไม่กี่ชิ้น คือมือเกียร์ เฟืองหลัง โซ่ สับจานหน้า สับจานหลัง ใช้กับจักรยานราคาถูก มีผลิตตั้งแต่ 5 , 6 และ 7 เกียร์ (15,18,21 speed) หากพบเกียร์ชื่อนี้อยู่ในราคาจักรยานที่แพงกว่าหมื่น ก็ควรเลือกจักรยานคันอื่นเถอะครับ เพราะจะได้เกียร์ดีกว่านี้แน่นอน และรถที่ใช้เกียร์นี้ไม่เหมาะใช้ในการแข่งขัน หรือขี่ตามภูเขา เนื่องจากเปลี่ยนเกียร์บนเขาทำได้ยาก

2. Shimano Altusรูปภาพ
เป็นเกียร์ระดับที่เริ่มใช้สำหรับ การขี่เสือภูเขา ตามป่า หรือทางออฟโรดได้ แต่ยังไม่ดีนัก ส่วนใหญ่ติดมากับจักรยานราคา 1 หมื่นต้นๆ และมีแค่ 7 เกียร์เท่านั้น (21 speed) โดยส่วนมากจะนิยมผสมเกียร์ Altus กับเกียร์ในระดับสูงกว่า เพื่อให้จักรยานมีประสิทธิภาพมากขั้น เช่น จานหน้าใช้ Altus จานหลังใช้ที่สูงกว่า เช่น Acera สำหรับเกียร์ Altus นั้น ถือว่าเป็นเกียร์ในระดับต้นของจักรยานเสือภูเขาเลยทีเดียว และผลิตครบทั้ง 10 ชิ้น

3. Shimano Aceraรูปภาพ
เป็นเกียร์ระดับต้น ที่สูงกว่า Altus เหมาะกับการขี่เสือภูเขาแบบท่องเที่ยว ตามป่าเขา ไม่เน้นใช้งานหนัก มีเกียร์สูงสุด 8 เกียร์ (24 speed) จะพบเห็นติดกับจักรยานในราคาประมาณ 15,000 บาท สามารถขี่ตามป่าเขาได้ดี แต่ช่วงขึ้นเนินหรือภูเขา การเปลี่ยนเกียร์อาจไม่นิ่มนวล หรือใส่เกียร์ไม่เข้า เวลาโซ่ตึงมากๆ

4. Shimano Alivioรูปภาพ
เป็นเกียร์ระดับต้นที่สูงกว่า Acera เหมาะกับการขี่เสือภูเขาแบบท่องเที่ยวตามป่าเขา ใช้งานหนักได้ดีพอควร (ใหม่ๆ) มีเกียร์สูงสุด 8 เกียร์ จะติดกับจักรยานราคา 15,000-18,000 เหมาะกับมือใหม่ที่ขี่บนถนน ทางลูกรัง ตามป่าเขา ซิงเกิลแทรก การเปลี่ยนเกียร์นุ่มนวลพอควร แต่หากขึ้นเขา อาจจะใส่เกียร์ไม่เข้าในบางจังหวะ เมื่อใช้งานไปนานๆ จานหน้าจะสึก และเกียร์จะเข้าได้ยากขึ้น

5. Shimano Deoreรูปภาพ
เป็นเกียร์ระดับกลาง หรือ 9 เกีบร์ระดับต้น เป็นเกียร์ที่ขยับจาก 8 เกียร์มาเป็น 9 เกียร์ ใช้งานได้ดีในทุกพื้นที่ และใช้เข้าแข่งขันได้ ส่วนใหญ่ราคาจักรยานที่ใส่เกียร์ Deore นี้จะราคาประมาณ 18,000-25,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนชิ้นส่วนของเกียร์ที่ใส่กับจักรยาน ในปีใหม่ๆ Deore ได้เพิ่ม Disk Brek เข้ามาด้วย ทำให้มีทางเลือกสำหรับคนงบน้อยได้มากขึ้น จานหน้าของ Deore จะเป็นหมุดดันโซ่ ซึ่งดีกว่าเกียร์ระดับต่ำกว่าที่ใช้ปั้มขึ้นรูปโลหะที่สึกหรอได้ง่าย การเปลี่ยนระดับเกียร์จากเกียร์รุ่น 8 เกียร์มาเป็น Deore นั้น จะต้องเปลี่ยนโซ่ด้วย มาเป็น รหัส HG เนื่องจากจานหลังจะแคบกว่า 8 เกียร์

6. Shimano Deore LXรูปภาพ
เป็นเกียร์ระดับสูงที่ใช้กับการแข่งขัน หรือขี่ในสภาพลุยๆ ใช้งานหนักปานกลาง มี 9 เกียร์ ราคาจักรยานที่ใส่ XL จะราคาตั้งแต่ 25,000 บาทขึ้นไป ชิ้นส่วนของเกียร์เน้นที่ความแข็งแรง ความนุ่มนวลในการเข้าเกียร์ น้ำหนักที่เบาลง วัสดุที่ใช้ทำเกียร์ LX จะแข็งแรงขึ้น แต่น้ำหนักลดลงกว่าเกียร์แบบที่กล่าวมาข้างต้นพอควร ผู้มีงบปานกลางหากต้องเปลี่ยนเกียร์จักรยานที่ใช้อยู่ ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ก็แนะนำ LX ครับ ทั้งชุด 10 ชิ้นราคาประมาณ 25,000 บาท (ประมาณนะครับ) Deore LX ถือว่าเป็นเกียร์มาตรฐานที่สุด ที่ใช้ในการแข่งขันครับ

7. Shimano Deore XTรูปภาพ
เป็นเกียร์ระดับแข่งขัน ที่พัฒนามาเพื่อการแข่งขันที่ใช้งานหนัก ความแข็งแรงเพิ่มขึ้น คงทนมากขึ้น และนำหนักจะเบาขึ้น การขึ้นรูปวัสดุจะมีความละเอียดมากขึ้น สามารถเข้าเกียร์ได้นุ่มนวลและเร็วมาก เหมาะกับผู้ที่ต้องการจักรยานที่ใช้ลุยแบบหนักๆ ราคาจักรยานที่ใช้ Deore XT นี้จะอยู่ที่ 40,000 บาทขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับยี่ห้อจักรยานและการผสมกันระหว่างอะไหล่ตัวอื่นๆด้วย ใครต้องการให้รถตัวเองมีประสิทธิภาพสูงสุด ก็ใช้ XT นี่แหละครับ

8. Shimano Deore XTRรูปภาพ
ชุดเกียร์ระดับ Top สุดของ Shimano ซึ่งทำเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของเกียร์ และน้ำหนักที่เบาลง โดย XTR นี้จะ Design ขึ้นมาเป็นพิเศษ สำหรับการแข่งขัน เพราะมีการขึ้นรูปที่ละเอียดมาก วัสดุที่ใช้ก็เป็นเกรดที่แข็งแรงมาก ราคาเกียร์ทั้งชุด 10 ชิ้นประมาณ 50,000 บาท ส่วนใหญ่นักแข่งทั่วไป นิยมใช้ผสมกันระหว่าง XT และ XTR ใครเปลี่ยนครบ 10 ชิ้น น้ำหนักรถคงเบาลงไปเยอะเลยครับ อ้อ XTR ยังมีตีนผีที่เราเรียกว่าระบบ Reverse ครับ คือแทนที่จะใช้นิ้วโป้งเปลี่ยนเกียร์หลังให้เบาลง ก็สลับกันครับ ใช้นิ้วชี้เปลี่ยนเกียร์เบาแทนโดยใช้สปริงเป็นตัวช่วยเปลี่ยนเกียร์ ซึ่งผมก็ใช้รุ่นนี้ดีเหมือนกันครับ ก็แล้วแต่คนชอบครับ และ XTR ยังมีแบบตีนผี ขาสั้นขายาวด้วยนะครับ เลือกใช้กันตามชอบครับ

ทั้งหมดนี้ก็คือระดับเกียร์ทั้งหมดของเกียร์ Shimano ที่นิยมใช้ในวงการจักรยานบ้านเรา หวังว่ามือใหม่หลายๆท่าน คงจะเข้าใจเกียร์จักรยานมากขึ้นนะครับ เวลาเราไปซื้อรถใหม่ ก็ให้ดูเกียร์ก่อนเลย ว่าแต่ละชิ้นนั้น ใช้ของอะไร ส่วนใหญ่จะนิยมเปลี่ยนบางชิ้น ตอนที่ซื้อ เพราะจะเคลมราคาของที่ติดรถได้ด้วย สำหรับมือใหม่ที่มีเงินสัก 20,000 ขึ้นไป ผมแนะนำให้เปลี่ยน ตีนผีเป็น XT หรือ XTR (1,800-3,500 บาท) เพราะการเปลี่ยนเกียร์ทำได้นุ่มนวลมาก ส่วนจานหน้า เราไม่ได้เปลี่ยนเกียร์บ่อยเท่าไหร่ ระดับ Deore จานสีดำก็เหลือเฟือครับ โซ่ก็ใช้ไปก่อน หากขาดค่อยใช้ของ XTR (900 บาท) จะแข็งแรงมาก หรือมีเงินอีกนิด ผมแนะนำให้เปลี่ยนเฟืองหลัง เป็นของ XT (2,300 บาท) ไปด้วยตอนซื้อจักรยานเลย เท่านี้ระบบเกียร์ของคุณก็ถือว่าสุดยอดแล้วครับ

ปล. ยังมีเกียร์ Shimano อีกตัวคือ Airlines ที่ใช้ลมในการเปลี่ยนเกียร์ ซึ่งผมเองก็ยังไม่เคยเห็นใครใช้เหมือนกัน เพราะการขี่แต่ละครั้ง ต้องเอาถังลมเล็กๆ ติดรถไปด้วย เพื่อใช้ในการเปลี่ยนเกียร์ครับ
แก้ไขล่าสุดโดย อู๊ด-พีระ เมื่อ 08 พ.ค. 2011, 09:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

Reaw เขียน:ติดตามอ่านทุกตอนครับ

ขอชื่นชมอย่างมากๆๆๆๆ
ขอบคุณมาก!...ครับผมรูปภาพ
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

[img]http://www.thaimtb.com/forum/download/file.php?avatar=23659_1259106143.jpg[/img] HAPPY FEET เขียน:มาขอเก็บข้อมูล
ขอบพระคุณ เนื้อหาดีๆๆครับ :)
ได้เลยครับผม!...ขอบคุณครับรูปภาพ
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

70.DRINKING FOR CYCLING - PART 1

นักกีฬาจำนวนมากมักจะให้ความสำคัญกับการฝึกซ้อมเป็นอันดับแรก ส่วนมากมักจะเน้นที่ตารางซ้อมที่เชื่อว่าจะทำให้สมรรถนะทางกีฬาดีขึ้น หลายคนไม่ว่าจะเป็นนักกีฬาสมัครเล่นหรือแม้กระทั่งนักกีฬาอาชีพโดยเฉพาะในบ้านเราแทบจะไม่คำนึงถึงคือเรื่องการกิน ร่างกายหากจะเปรียบก็เหมือนกับรถยนต์ที่ต้องการเชื้อเพลิงชั้นดีเพื่อรีดสมรรถนะของเครื่องยนต์ออกมาได้เต็มที่ ร่างกายของนักกีฬาก็เช่นเดียวกัน หากได้รับอาหารหรือน้ำที่ไม่เหมาะสมก็สะดุดได้ และนอกจากจะไม่สามารถรีดความเก่งออกมาได้เต็มที่แล้ว ยังลามไปถึงคุณภาพของการฝึกซ้อมอย่างต่อเนื่องและไม่มีวันไปถึงดวงดาวหรือจุดหมายที่ต้องการได้ เรามาดูกันว่าเฉพาะเรื่องอาหารการกินของผู้ที่เล่นกีฬา หรือนักจักรยานอย่างพวกเรามีอะไรกันมากมายนักหนาจึงต้องระมัดระวังหรือวางแผนกันขนาดนี้
รูปภาพ
1.น้ำ
สิ่งที่นักจักรยานต้องฝึกและค้นหาด้วยตัวเองให้พบคือการกินหรือดื่มน้ำในปริมาณและเวลาที่เหมาะสม สำหรับนักจักรยาน การถามไถ่ผู้ที่ชำนาญหรือผู้ที่มีประสพการณ์เป็นเรื่องที่ไม่เสียหาย นักจักรยานหลายคนอาจดื่มน้ำน้อยเกินไปหรือไม่ก็มากเกินไปโดยไม่จำเป็น เราเคยได้ยินโค้ชบางท่านสั่งให้นักกีฬาอดน้ำขณะฝึกซ้อมเพื่อให้เกิดความ “อึด” หรือเพื่อนๆหลายคนที่ออกกำลังกายด้วยกันบอกให้ดื่มน้ำเยอะๆเข้าไว้ ความหวังดีของทั้งโค้ชและเพื่อนเหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่ดี แต่ทั้งมีผลต่อคุณภาพของการฝึกซ้อมโดยตรงรวมทั้งเพาะบ่มความเข้าใจผิดๆโดยไม่รู้ตัว ร่างกายของคนเราเมื่อเกิดสภาพขาดน้ำเมื่อใดมีโอกาสน๊อคได้ง่ายๆ คล้ายกับรถยนต์ซึ่งมีระบบตัดการทำงานของเครื่องยนต์เมื่อน้ำในระบบระบายความร้อนขาดหายไป ร่างกายคนก็เช่นเดียวกันเมื่อถึงจุดที่ทนไม่ไหวก็จะหยุดการทำงาน

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือนักไตรกีฬาระดับโลก Paula Newby-Fraser ซึ่งเข้าร่วมการแข่งขันไตรกีฬาชิงแชมป์โลกที่ฮาวายในปี 1995 เพื่อทำสถิติเป็นแชมป์สมัยที่ 9 ขณะที่จบช่วงของจักรยานซึ่งนักไตรกีฬาต้องขี่เป็นระยะทาง 180 กิโลเมตร เธอนำหน้า Karen Smyers อยู่กว่า 11 นาที แต่ในช่วงของการวิ่งระยะ 42.195 กิโลเมตรเธอได้รับการบอกกล่าวจากทีมงานว่า Smyers กำลังทำเวลาไล่เธอเข้ามาเรื่อยๆ สิ่งที่เธอทำคือโกยอ้าวโดยไม่แวะจุดให้น้ำหลายจุด นั่นคือกับดักที่เธอต้องจดจำไปอีกนาน ที่ระยะไม่ถึง 400 เมตรหน้าเส้นชัย แชมป์สมัยที่ 9 ตรงข้างหน้า แต่เธอหมดเรี่ยวแรงเอาดื้อๆ เริ่มวิ่งเป๋ไปเป๋มา เริ่มควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ เซถลาเข้าหา Karn Smyers ที่กำลังเร่งความเร็วแซงจนเกือบชนกัน ในที่สุดเธอถูกประคองให้นั่งลงข้างทาง เธอใช้เวลาอีกกว่า 20 นาทีที่จะค่อยๆกระย่องกระแย่งเข้าเส้นชัยเป็นอันดับที่ 4 อย่างสบักสบอม เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่านักกีฬาที่ขาดน้ำมักจะไปไม่รอด หลังจากเหตุการณ์นี้ Fraser ไม่สามารถทำเวลาดีๆได้อีกต่อไป
มีผลการวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับการดื่มน้ำขณะแข่งขันของนักกีฬาประเภทที่ต้องใช้ความอดทนเช่นการวิ่งมาราธอนหรือการขี่จักรยานทางไกล ผลปรากฏว่านักกีฬาที่อยู่ระดับแถวหน้ามีแนวโน้มว่าจะดื่มน้ำน้อยเกินไป เนื่องจากภาวะบีบคั้นจากการแข่งขัน และนักกีฬากลุ่มกลางไปจนถึงแถวหลังหรือพวกเราท่าน กลับจะดื่มน้ำเกินความจำเป็นเนื่องจากมีเวลาเยอะและไม่ซีเรียสกับผลการแข่งขันเท่าใดนันนอกจากเวลาที่ตั้งเป้าไว้

เกิดอะไรขึ้น เมื่อดื่มน้ำเกินความจำเป็น นักวิจัยพบว่าการดื่มน้ำมากเกินความจำเป็นทำให้เกิดการเจือจางของโซเดียมและอิเลคโตรไลท์สในกระแสเลือด ซึ่งเป็นผลเสียเช่นเดียวกับสภาวะการขาดน้ำ เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดอาการตะคริวขึ้นได้เช่นกัน น้ำที่ขังในกะเพาะเนื่องจากอิเลคโตรไลท์สต่ำ ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตช้าเกินไป ทำให้พุงป่องทำให้เกิดอาการแน่นจุกเสียด จะค่อยๆถูกถ่ายเทไปยังไตและกะเพาะปัสสาวะจนต้องหยุดเพื่อถ่ายเททดความอึดอัด นักจักรยานหลายคนเข้าใจผิดเมื่อเกิดตะคริวจนไม่สามารถแข่งขันจนจบหรือเกิดอาการล้าจนสูญเสียความเร็ว มักจะกลับมาคิดว่า อาจจะเป็นเพราะดื่มน้ำน้อยเกินไป ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด การแข่งขันหรือการขี่จักรยานกับกลุ่มครั้งต่อไปก็จะดื่มน้ำมากขึ้น ลองคิดดูว่าการมีน้ำในกะเพาะกระฉอกก่อกแก่กตลอดเวลา แถมยังโดยตะคริวเล่นงานอีก แล้วจะโทษอะไรต่อ จะเห็นว่าทั้งการขาดน้ำหรือการดื่มน้ำมากเกินความจำเป็น หรือดื่มปริมาณมากๆในครั้งเดียว ล้วนมีผลเสียต่อสมรรถภาพทางการกีฬา แล้วเท่าใดจึงจะพอ?
รูปภาพ
สำหรับนักจักรยานโดยเฉลี่ยแล้วควรจะดื่มน้ำอย่างน้อย 500-750 ซีซี/ชั่วโมงในขณะแข่งขัน ออกรอบขี่จักรยานหรือฝึกซ้อม ขึ้นอยู่กับรูปร่างของนักจักรยาน สภาพอากาศและลักษณะของเส้นทาง รวมทั้งความเร็ว
หากเป็นนักกีฬารูปร่างเล็กแต่ต้องขี่จักรยานในสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส น้ำปริมาณ 500 ซีซีคงจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ ยิ่งเป็นการขี่จักรยานด้วยความเร็วสูงยิ่งต้องการน้ำมากขึ้น แต่ไม่ควรจะเกิน 750 (+ - 80) ซีซี/ชั่วโมง มากกว่านั้นก็อาจจะเกิดผลที่ไม่ต้องการให้เกิดได้
ในกรณีจำเป็นเช่นอากาศร้อนจัด กลุ่มขี่จักรยานขี่ด้วยความเร็วสูง หรือเส้นทางเป็นภูเขา ร่างกายต้องการน้ำปริมาณมากขึ้น ควรจะเพิ่มเครื่องดื่มเกลือแร่เพื่อคุมปริมาณโซเดียมและอิเลคโตรไลท์สใน กระแสเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ช่วงหน้าร้อนที่อุณหภูมิสูง แดดร้อนจัด นักจักรยานไม่ควรประมาท ขวดน้ำจักรยานที่มีแพร่หลายในท้องตลาดมีขนาดความจุ ตั้งแต่ 500+ซีซี ถึง 650 ซีซี นักจักรยานควรจะเลือกที่จะเผื่อเหลือเผื่อขาดไว้ก่อน อย่างน้อยควรจะวางแผนที่จะหยุดพักเพื่อเติมน้ำระหว่างทางเป็นระยะๆ หากไม่มั่นใจสภาพเส้นทางควรจะน้ำขวดน้ำอย่างน้อยขวดขนาด 500 ซีซี 2 ใบติดจักรยานไปด้วย
สำหรับผู้ที่ถนัดออฟโรด ขอแนะนำให้ใช้เป้น้ำซึ่งสามารถจุน้ำได้มากถึง 2000 ซีซี ติดตัวไปด้วย เพราะเส้นทางออฟโรดส่วนใหญ่จะไม่มีจุดให้แวะพักเพื่อเติมน้ำในกระติกได้เหมือนกับเส้นทางบนถนน นักจักรยานไม่ว่าจะสมัครเล่นหรืออาชีพควรจะคำนึงถึงความจริงที่ว่าร่างกายของเราไม่ใช่เครึ่องจักรที่ไม่มีวันสูญสลาย ความจริงแล้วร่างกายเปราะบางกว่าที่คิด บางครั้งผลเสียไม่ได้แสดงให้เห็นในทันทีทันใด แต่มักจะถูกสะสมจนประสิทธิภาพในการฝึกซ้อมตกต่ำ เกิดอาการโอเวอร์เทรน และไม่สามารถคืนฟอร์มเก่งได้ในที่สุด ถ้าไม่ค้นพบสาเหตุที่แท้จริง

ครั้งหน้าเราจะมาดูกันว่าน้ำตาลมีคุณประโยชน์และโทษอย่างไร
แก้ไขล่าสุดโดย อู๊ด-พีระ เมื่อ 08 พ.ค. 2011, 09:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
kobfujar
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3594
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ม.ค. 2011, 11:41
Bike: Bridgestone DiamondRock ชมพู-ดำ(เก่าๆ)
ตำแหน่ง: ถ.ประชาชื่น ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย kobfujar »


อ่านไปแล้ว...ต้องกลับมาอ่านอีกรอบแน่นอน ให้ความรู้ดีมาก
ขอบคุณ มากๆๆๆๆๆๆๆๆเลยครับ.....

:D :D
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร”