☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

สอบถามเทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร เชิญห้องนี้เลย
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

52.คุยกันเรื่องของเกียร์จักรยานเสือภูเขาครับ

เกียร์จักรยานเสือภูเขา รูปภาพ

วันนี้เรามาคุยกันเรื่องของเกียร์กันดีกว่าครับ จักรยานแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ ราคาก็ไม่เท่ากัน บางคนอาจจะได้ยินโฆษณา 24 ,27 speed หรือ 8 เกียร์ 9 เกียร์ มันคืออะไรกันแน่
มาว่ากันเรื่องของการนับเกียร์ก่อน

จักรยานทั่วไป จะมีเกียร์เรียงลำดับกันดังนี้ คือ 18,21,24,27 ซึ่งที่มาก็คือ ปกติจานหน้าจะมี 3 ใบ และจำนวนจานหลังก็จะแตกต่างกันออกไป เช่นหากเกียร์หลังหากมี 6 ใบก็เท่ากับ 3x6 =18 เกียร์ หรือปัจจุบันเกียร์สูงสุดมี 9 ใบ ก็เท่ากับ 3x9= 27 เกียร์นั่นเอง
กล่าว คือ จานหน้า 1 ใบ เปลี่ยน speed จากเกียร์หลังได้ 9 speed นั่นเองเพราะฉนั้นหากเราไปซื้อจักรยาน แล้วร้านบอกว่า 24 speed ก็หมายถึง เกียร์หลังมี 8 ใบนั่นเองในปัจจุบัน จักรยานเสือภูเขา มีเกียร์สูงสุดแค่ 27 เกียร์ (เกียร์หลังสูงสุดแค่ 9 ใบ) ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ในการออกแบบเกียร์หลังให้มีใบมากๆนั้น มีจำกัด และขนาดของโซ่ก็ต้องเล็กตามไปด้วยซึ่งโซ่ที่ใช้ในปัจจุบัน หากใช้ 24 เกียร์ โซ่จะหน้ากว่า เกียร์ 27 เกียร์
โดย 27 เกียร์ต้องใช้โซ่ รหัส HG ซึ่งจะบางกว่าโซ่ทั่วไป จำไว้ให้ดีว่าชิ้นส่วนของเกียร์แต่ละรุ่นนั้นไม่ได้มีแค่เฉพาะเกียร์เท่า นั้น แต่มีด้วยกันถึง 10 ชิ้นคือจานหน้า , จานหลังโซ่ , มือเบรค , มือเกียร์ , ดุมหน้า , ดุมหลัง , สับจานหน้า , ตีนผี และ ก้ามเบรค
การ กำหนดประเภทของเกียร์

ปัจจุบันจะมีเกียร์ที่ทำมาจำหน่ายและนิยมใช้กันสองยี่ห้อครับ คือ
- Shimano การเปลี่ยนเกียร์จะใช้ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้เป็นตัวเปลี่ยนเกียร์ทีละขึ้น ทั้งจานหน้าและจานหลัง
- SRAM การเปลี่ยนเกียร์จะใช้วิธีบิดหนุน ที่แฮนด์จักรยาน ซึ่งเปลี่ยนได้เร็วกว่าแบบ Shimano เราเรียกว่า Grip Shift
ในที่นี้ผมจะกล่าวถึง Shimano อย่างเดียวครับ เนื่องจากมีผู้นิยมใช้มากกว่า SRAM ซึ่งผลิตสำหรับระดับแข่งขันมากกว่า Shimano ซึ่งทำ
เกือบทุกๆรุ่นของจักรยาน
ประเภทของเกียร์ Shimano
เกียร์ของ Shimano เป็นที่รู้จักกันดีในตลาดจักรยานบ้านเรา และเป็นที่นิยมไปทั่วโลก ทั้งเรื่องของประสิทธิภาพ ราคา ความแข็งแรงโดยผมจะ
พูดถึงเกียร์ที่เป็น มาตรฐานสำหรับจักรยานเสือภูเขาในระดับราคา ปานกลาง คือตั้งแต่ 1 หมื่นบาทขึ้นไปครับ เพราะจักรยานที่ ราคาถูกกว่านี้ เกียร์ของ Shimano จะเป็นรุ่นที่ไม่มีข้อมูลของเกียร์เลย เนื่องจากทำเพื่อรถราคาถูก และวัสดุที่ใช้ทำไม่เหมาะกับการเอามาลุย ตามป่าเขาครับ เหมาะที่จะเอา
ไป ขี่ตามถนน หรือหมู่บ้านมากกว่า โดยผมจะพูดถึงเกียร์ที่ราคาถูกที่สุด และใช้กับจักรยานราคาต่างๆกันไปด้วยเลย
1). Shimano Tourney
เป็นเกียร์ที่ถูกที่สุดของ Shimano ที่มีติดอยู่ในจักรยานราคา 6-8 พันบาทในบ้านเรา มีผลิดอยู่ไม่กี่ชิ้น คือมือเกียร์ เฟืองหลัง โซ่ สับจานหน้า สับจานหลัง ใช้กับจักรยานราคาถูก มีผลิตตั้งแต่ 5 , 6 และ 7 เกียร์ (15,18,21 speed) หากพบเกียร์ชื่อนี้อยู่ในราคาจักรยานที่แพงกว่าหมื่น ก็ควร
เลือกจักรยาน คันอื่นเถอะครับ เพราะจะได้เกียร์ดีกว่านี้แน่นอน และรถที่ใช้เกียร์นี้ไม่เหมาะใช้ในการแข่งขัน หรือขี่ตามภูเขา เนื่องจากเปลี่ยนเกียร์บน
เขาทำได้ยาก
2). Shimano Altus
เป็นเกียร์ระดับที่เริ่มใช้สำหรับ การขี่เสือภูเขา ตามป่า หรือทางออฟโรดได้ แต่ยังไม่ดีนัก ส่วนใหญ่ติดมากับจักรยานราคา 1 หมื่นต้นๆ และมีแค่ 7 เกียร์เท่านั้น (21 speed) โดยส่วนมากจะนิยมผสมเกียร์ Altus กับเกียร์ในระดับสูงกว่า เพื่อให้จักรยานมีประสิทธิภาพมากขั้น เช่น จานหน้าใช้
Altus จานหลังใช้ที่สูงกว่า เช่น Acera สำหรับเกียร์ Altus นั้น ถือว่าเป็นเกียร์ในระดับต้นของจักรยานเสือภูเขาเลยทีเดียว และผลิตครบทั้ง 10 ชิ้น
3). Shimano Acera
เป็นเกียร์ระดับต้น ที่สูงกว่า Altus เหมาะกับการขี่เสือภูเขาแบบท่องเที่ยว ตามป่าเขา ไม่เน้นใช้งานหนัก มีเกียร์สูงสุด 8 เกียร์ (24 speed) จะพบ
เห็น ติดกับจักรยานในราคาประมาณ 15,000 บาท สามารถขี่ตามป่าเขาได้ดี แต่ช่วงขึ้นเนินหรือภูเขา การเปลี่ยนเกียร์อาจไม่นิ่มนวล หรือใส่เกียร์ไม่เข้า เวลาโซ่ตึงมากๆ
4). Shimano Alivio
เป็นเกียร์ระดับต้นที่สูงกว่า Acera เหมาะกับการขี่เสือภูเขาแบบท่องเที่ยวตามป่าเขา ใช้งานหนักได้ดีพอควร (ใหม่ๆ) มีเกียร์สูงสุด 8 เกียร์ จะติดกับจักรยานราคา 15,000-18,000 เหมาะกับมือใหม่ที่ขี่บนถนน ทางลูกรัง ตามป่าเขา ซิงเกิลแทรก
การเปลี่ยน เกียร์นุ่มนวลพอควร แต่หากขึ้นเขา อาจจะใส่เกียร์ไม่เข้าในบางจังหวะ เมื่อใช้งานไปนานๆ จานหน้าจะสึก และเกียร์
จะเข้าได้ยากขึ้น
5). Shimano Deore
เป็นเกียร์ระดับกลาง หรือ 9 เกีบร์ระดับต้น เป็นเกียร์ที่ขยับจาก 8 เกียร์มาเป็น 9 เกียร์ ใช้งานได้ดีในทุกพื้นที่ และใช้เข้า
แข่งขันได้ ส่วนใหญ่ราคาจักรยานที่ใส่เกียร์ Deore นี้จะราคาประมาณ 18,000-25,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนชิ้นส่วน
ของ เกียร์ที่ใส่กับจักรยาน ในปีใหม่ๆ Deore ได้เพิ่ม Disk Brek เข้ามาด้วย ทำให้มีทางเลือกสำหรับคนงบน้อยได้มากขึ้น
จานหน้าของ Deore จะเป็นหมุดดันโซ่ ซึ่งดีกว่าเกียร์ระดับต่ำกว่าที่ใช้ปั้มขึ้นรูปโลหะที่สึกหรอได้ง่าย การเปลี่ยนระดับเกียร์
จากเกียร์รุ่น 8 เกียร์มาเป็น Deore นั้น จะต้องเปลี่ยนโซ่ด้วย มาเป็น รหัส HG เนื่องจากจานหลังจะแคบกว่า 8 เกียร์
6). Shimano Deore LX
เป็นเกียร์ระดับสูงที่ใช้กับการแข่งขัน หรือขี่ในสภาพลุยๆ ใช้งานหนักปานกลาง มี 9 เกียร์ ราคาจักรยานที่ใส่ XL จะราคา
ตั้งแต่ 25,000 บาทขึ้นไป ชิ้นส่วนของเกียร์เน้นที่ความแข็งแรง ความนุ่มนวลในการเข้าเกียร์ น้ำหนักที่เบาลง วัสดุที่ใช้ทำเกียร์ LX จะแข็งแรงขึ้น แต่น้ำหนักลดลงกว่าเกียร์แบบที่กล่าวมาข้างต้นพอควร ผู้มีงบปานกลางหากต้องเปลี่ยนเกียร์จักรยานที่ใช้อยู่ ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ก็แนะนำ LX ครับ ทั้งชุด 10 ชิ้นราคาประมาณ 25,000 บาท (ประมาณนะครับ) Deore LX ถือว่าเป็นเกียร์มาตรฐานที่สุด ที่ใช้ในการแข่งขันครับ

7). Shimano Deore XT
เป็นเกียร์ระดับแข่งขัน ที่พัฒนามาเพื่อการแข่งขันที่ใช้งานหนัก ความแข็งแรงเพิ่มขึ้น คงทนมากขึ้น และนำหนักจะเบาขึ้น การขึ้นรูปวัสดุจะมีความละเอียดมากขึ้น สามารถเข้าเกียร์ได้นุ่มนวลและเร็วมาก เหมาะกับผู้ที่ต้องการจักรยานที่ใช้ลุยแบบหนักๆ
ราคาจักรยานที่ใช้ Deore XT นี้จะอยู่ที่ 40,000 บาทขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับยี่ห้อจักรยานและการผสมกันระหว่างอะไหล่ตัวอื่นๆ
ด้วย ใครต้องการให้รถตัวเองมีประสิทธิภาพสูงสุด ก็ใช้ XT นี่แหละครับ
Cool. Shimano Deore XTR
ชุดเกียร์ระดับTop สุดของ Shimano ซึ่งทำเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของเกียร์ และน้ำหนักที่เบาลงโดย XTR นี้จะ Design ขึ้นมาเป็นพิเศษ สำหรับการแข่งขัน เพราะมีการขึ้นรูปที่ละเอียดมาก วัสดุที่ใช้ก็เป็นเกรดที่แข็งแรงมาก ราคาเกียร์ทั้งชุด 10 ชิ้นประมาณ 50,000 บาท ส่วนใหญ่นัก
แข่งทั่วไป นิยมใช้ผสมกันระหว่าง XT และ XTR ใครเปลี่ยนครบ 10 ชิ้น น้ำหนักรถคงเบาลงไปเยอะเลยครับ อ้อ XTR ยังมีตีนผีที่เราเรียกว่าระบบ Reverse ครับ คือแทนที่จะใช้นิ้วโป้งเปลี่ยนเกียร์หลังให้เบาลง ก็สลับกันครับ ใช้นิ้วชี้เปลี่ยนเกียร์เบาแทนโดยใช้สปริงเป็นตัวช่วยเปลี่ยนเกียร์ซึ่งผม
ก็ ใช้รุ่นนี้ดีเหมือนกันครับ ก็แล้วแต่คนชอบครับ และ XTR ยังมีแบบตีนผี ขาสั้นขายาวด้วยนะครับ เลือกใช้กันตามชอบครับ
ทั้งหมดนี้ก็คือระดับเกียร์ทั้งหมดของเกียร์ Shimano ที่นิยมใช้ในวงการจักรยานบ้านเรา หวังว่ามือใหม่หลายๆท่าน คงจะเข้าใจเกียร์จักรยาน
มากขึ้นนะครับ เวลาเราไปซื้อรถใหม่ ก็ให้ดูเกียร์ก่อนเลย ว่าแต่ละชิ้นนั้น ใช้ของอะไร ส่วนใหญ่จะนิยมเปลี่ยนบางชิ้น ตอนที่ซื้อ เพราะจะเคลมราคาของ
ที่ติดรถ ได้ด้วย สำหรับมือใหม่ที่มีเงินสัก 20,000 ขึ้นไป ผมแนะนำให้เปลี่ยน ตีนผีเป็น XT หรือ XTR (1,800-3,500 บาท) เพราะการเปลี่ยนเกียร์
ทำได้ นุ่มนวลมาก ส่วนจานหน้า เราไม่ได้เปลี่ยนเกียร์บ่อยเท่าไหร่ ระดับ Deore จานสีดำก็เหลือเฟือครับ โซ่ก็ใช้ไปก่อน หากขาดค่อยใช้ของ XTR
(900 บาท) จะแข็งแรงมาก หรือมีเงินอีกนิด ผมแนะนำให้เปลี่ยนเฟืองหลัง เป็นของ XT (2,300 บาท) ไปด้วยตอนซื้อจักรยานเลย เท่านี้ระบบเกียร์
ของคุณก็ถือว่า สุดยอดแล้วครับ
ปล. ยังมีเกียร์ Shimano อีกตัวคือ Airlines ที่ใช้ลมในการเปลี่ยนเกียร์ ซึ่งผมเองก็ยังไม่เคยเห็นใครใช้เหมือนกัน เพราะการขี่แต่ละครั้ง ต้องเอาถังลมเล็กๆ ติดรถไปด้วย เพื่อใช้ในการเปลี่ยนเกียร์ครับ

ข้อมูลจาก : เว็บไซด์ชมรมจักรยาน WeekendHobboy

ถูกใจบทความขอคำว่าขอบคุณนะครับทำให้มีกำลังใจขึ้นเยอะเลยครับ
แก้ไขล่าสุดโดย อู๊ด-พีระ เมื่อ 08 พ.ค. 2011, 09:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

[img]http://www.thaimtb.com/forum/download/file.php?avatar=16866_1291869019.png[/img] eleven_eleven เขียน:แน่นอนจริงๆ เยี่ยมมากครับ ;)
ขอบคุณครับ!...โอกาสหน้าเชิญใหม่ครับรูปภาพ
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
keree
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 11528
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 08:22
Tel: 0878926437
team: คีรีรัฐไบค์คลับ
Bike: TCR.Advanced ATX.LE
ติดต่อ:

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย keree »

ของดี ขอบคุณครับ :)
osk 103

ฉลาดคิดรอบรู้เป็นครูสอน จะนั่งนอนรู้ตนบนวิถี
รบกี่ครั้งยั้งจิตคิดให้ดี สติมีสอนตนย่อมพ้นภัย

(ศิวกรณ์)
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

53.รองเท้าจักรยาน...ใส่แล้วต้องล้มถึงจะใส่เป็น

วันนี้เพิ่งถอยมาอีก 1 อย่างสำหรับอุปกรณ์จักรยาน
นั่นก็คือรองเท้าคลิปเลส สำหรับใส่ปั่นจักรยาน ยี่ห้อ Shimano MT21/ บันไดคลิปเลส Shimano M520 พร้อม คลีทธรรมดา (Cleat) 1 คู่ (2 อย่างหลัง มีแถมมากับรถ)

รูปภาพ

Cleat เป็นแผ่นโลหะ ที่ติดพื้นรองเท้า เมื่อวางเท้าลงบนบันได Cleat จะทำหน้าที่ ล๊อคให้เท้าและรองเท้า อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

รูปภาพ

บันไดคลิปเลส เป็นบันไดที่ถูกออกแบบมาให้มีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Cleat retaining unit ซึ่งจะทำหน้าที่ล๊อคตัว Cleat ที่อยู่ใต้พื้นรองเท้าให้ติดอยู่บนบันได... (เอ๊ะ...เหมือนเดิม ไม่รู้จะพูดทำไม)

รูปภาพ

ประโยชน์....ทำให้สามารถปั่นจักรยานด้วยการ" ถีบ" และ "ดึง" บันได ด้วยกล้ามเนื้อด้านหน้า และด้านหลังขา ได้อย่างต่อเนื่อง (ถ้าไม่มี... เราก็ใช้ได้แค่กล้ามเนื้อด้านหน้าขา แค่ชิ้นเดียว)

ปัญหา.... สำหรับมือใหม่หัดใส่
1.ใส่ไม่ค่อยจะเข้า... แต่ไม่ยากนักกดๆ บันไดไปมันก็เข้าล๊อคดัง "คลิก"
2.ปลดไม่เป็น... ขึ้นไปใส่คลิปดัง "คลิกๆ" ทั้ง 2 ด้านแล้ว ออกปั่นเลย แต่ไม่ได้หัดปลด... ผลก็คือล้มไป 1 โครม ตอนนี้รู้แล้ว ว่าวิธีปลดออกต้องบิดขาให้เหมือนเวลาขยี้ก้นบุหรี่ มันถึงจะหลุด
3.ลืมปลดก่อนจอด... ได้ของใหม่มา ปั่นอย่างซิ่งเลย ทำความเร็วได้เพิ่มขึ้นจากเดิมได้ด้วย แต่ด้วยความเพลิน ตอนจะจอดรถเข้าบ้าน ทำให้ลืมปลดคลิป.... ผลคือขาขวาเป็นหมูแดงไปอีกนิดหน่อย บาร์เอนถลอกไปอีกแถบ
เฮ้อ... เจ็บแล้วจำจริงๆ งานนี้้
แก้ไขล่าสุดโดย อู๊ด-พีระ เมื่อ 08 พ.ค. 2011, 09:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
สิงห์-บ้านบึงพระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 146
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ส.ค. 2010, 11:56
Tel: 081xxxxxxx
team: มากับพระ
Bike: เหล็ก+อลูมิเนียม

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย สิงห์-บ้านบึงพระ »

โอ้ :D ได้ความรู้ :) มากขึ้น ขอบพระคุณสิ่งที่นำเสนอ สวัสดีปีใหม่ 2554
ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อสุขภาพที่ดี
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

54.การเตรียมตัวให้พร้อมในการปั่นจักรยานทางไกล

รูปภาพ

การเตรียมตัวให้พร้อมในการเดินทางไกล.....
๑. ต้องมีความพร้อมของร่างกายและมีประสบการณ์ปั่นจักรยาน
ได้อย่างน้อยวันละ 30-40กิโลเมตร
๒. มีมนุษย์สัมพันธ์และสามารถปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นหรือผู้ร่วมเดินทางได้ดี
๓. รู้จักการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและดูแลตนเองในสถานการณ์ยากลำบากได้พอสมควร
๔. ร่วมรักษาภาพพจน์และเอกลักษณ์ไทย มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้ร่วมทาง
๕. ยินดีปฏิบัติตามเสียงสมาชิกส่วนใหญ่

........อุปกรณ์ที่ผู้ร่วมเดินทางต้องเตรียมไปเอง ....
๑. จักรยานเสือภูเขา
๒. สูบลม, กระติกน้ำ, ชุดปะยางและปะแจซ่อมแบบพกพา
๓. เป้เพื่อใส่สัมภาระ
๔. ไมล์วัดระยะทางปั่น
๕. ยางในรถจักรยานสำหรับขนาดของล้อรถตัวเอง ๑ เส้น
๖. ที่ตัดต่อโซ่
๗. หมวกกันน็อค, ไฟหน้า, ไฟท้ายรถ
๘. ไฟฉายติดตัว, เทียนไข, ไฟแช๊ค, มีดพก, รองเท้าแตะ, ผงซักฟอก
๙. ถุงพลาสติกใหญ่สำหรับรองใส่เสื้อผ้าก่องลงเป้สัมภาระ
๑๐. เสื้อกันหนาวและถุงเท้า/หมวกไหมพรมสำหรับกันหนาว
๑๑. ยาสามัญและยาประจำตัว
๑๒. เสื้อผ้าที่แห้งง่าย น้ำหนักเบา
๑๓. ต้องคิดเสมอว่าจะพยายามพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด
๑๔. ควรเตรียมแผนการปั่นและศึกษาข้อมูลแผนที่เส้นทางปั่นก่อนออกเดินทางเสมอ
๑๕. ตรวจสอบรถจักรยาน, เครื่องมือจักรยาน และเป้สัมภาระทั้งก่อนออกเดินทางและเสร็จสิ้นการเดินทาง ของแต่ละวัน
๑๖. ต้องปฏิบัติตามกฎจราจรของประเทศนั้นๆ และยึดถือกฎแห่งความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด
เช่น ตามช่องทาง, ปั่นชิดขอบทาง, หรือไม่ปั่นเข้ากลางถนน รวมทั้งการให้สัญญาณเลี้ยวหรือการแซงขึ้นหน้า
๑๗.ควรเติมน้ำให้เต็มกระติกน้ำไว้เสมอทุกครั้งที่มีโอกาส
๒๘.ไม่ควรหักโหมหรือเร่งการปั่นจักรยานในช่วงเริ่มออกตัว
๒๙.ควรสลับตำแหน่งนำหน้าและหลังกันเป็นระยะ เพื่อผู้ตามหลังจะช่วยตรวจสอบสภาพรถและอุปกรณ์ของคันด้านหน้า
๒o.เมื่อปั่นเข้าทางแยกต้องแน่ใจว่าเพื่อร่วมทาง ที่ตามหลังมารู้ดีว่าคุณปั่นเข้าทางแยกใด ถ้าไม่แน่ใจให้ทำเครื่องหมายสังเกตหรือรอเพื่อนร่วมทางก่อน
๒๑.ทักทายหรือทำความคุ้นเคยกับเพื่อนร่วมทาง รวมทั้งชาวบ้าน และเตรียมขนมสำหรับแจกเด็กๆ ระหว่างทาง
๒๒.อย่างน้อยต้องมีอาหารหรือเสบียงอาหารสำหรับหนึ่งมื้อ ของตัวเองเสมอ ในระหว่างปั่นทางไกลในเป้สัมภาระ
๒๓.พยายามจดจำเส้นทางที่ผ่านมาและควรรู้เสมอว่าคุณกำลังปั่นอยู่ในตำแหน่งใดของพื้นที่

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

คือตัวอย่างที่ทัวร์โดยจักรยานครับ


ปั่นเที่ยวให้สนุกสนาน ลุกนั่งสะบาย สไตล์ Joe konan
วันที่ 18 ก.พ 2554 ถึงวันที่ 27 ก.พ 2554 ใช้เวลา 9 คึน 10 วัน
เชิญพี่น้อง ชาวเสือออกทริปทางไกล ไทย-ลาว-เวียดนามกลาง
มุกดาหาร-สุวรรณเขต-ดองฮา-เว้-ดานัง-ฮอยอัน
ขากลับนั่งรถยนต์กลับ ฮอยอัน-สุวรรณเขต-มุกดาหาร

ค่าใช้จ่าย ตลอดการเดินทาง...17,200 บาท...
-ค่าอาหารทุกเมื้อตั้งแต่ข้ามไปลาว และเวียดนาม
-ค่าโรงแรม พัก2 คนต่อห้องตลอดที่ลาว และเวียดนาม
-ค่าน้ำดื่มตลอดเส้นทาง

...ค่าใช้จ่ายที่ต้องออกเอง..
ทางเราผู้จัดจะอำนวยความสะดวก
ติดต่อไว้ล่วงหน้า คิดตามความเป็นจริง..
-ค่าธรรมเนียมข้ามแดนลาว เวียดนาม
-ค่าเรือโดยสาร ข้ามไปฝั่งลาว ทั้งไปและกลับ
-ค่ารถสองแถวไปด่านลาวบาว ทั้งไปและกลับ
-ค่ารถตู้ จากฮอยอันมาด่านลาวบาว

ทริปนี้..วางแผนโดยตาเสี่ยวภูธร แถมเป็น ไกด์ กิตติมศักดิ์นำทัพ
ผมบังคับตาเสี่ยวให้ช่วยงานนี้โดยฉะเพราะ
...นี้คือโปรแกรมคร้าวๆ จะลงให้ระเอียดทีหลัง...
วันที 18 ก.พ. 2554 เวลา7.00 น พบกันที่ด่านท่าเรือมุกดาหาร
นั่งเรือข้ามไปด่านลาว ต่อสองแถวไปด่านเวียดนาม(ด่านลาวบาว)
วันที 19 ก.พ. 2554 ปั่นข้ามด่านลาวบาว ไปดองฮา 85 กม.
วันที 20 ก.พ. 2554 เที่ยวเส้นแบ่งเขตแดนเวียดนามเหนือ ใต้
อุโมงวินม๊อก กลับค้างคืน ดองฮา 110 กม.
วันที 21 ก.พ. 2554 ดองฮา เว้ 74 กม.
วันที 22 ก.พ. 2554 เทียวเมืองเว้ วัดเทียนมู่ ร่องเรือยามราตรี
วันที 23 ก.พ. 2554 เมืองเว้ ดานัง 98 กม.
วันที 24 ก.พ. 2554 เที่ยวดานัง บ่ายไป ฮอยอัน 30 กม.
วันที 25 ก.พ. 2554 เที่ยวฮอยอัน
วันที 26 ก.พ. 2554 นั่งรถกลับสุวรรณเขต ค้างคืน
วันที 27 ก.พ. 2554 เที่ยวสุวรรณเขต บ่ายนั่งเรือกลับไทย
แยกย้ายกลับบ้าน
แก้ไขล่าสุดโดย อู๊ด-พีระ เมื่อ 08 พ.ค. 2011, 09:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

[img]http://www.thaimtb.com/forum/download/file.php?avatar=20067_1278850727.gif[/img] keree เขียน:ของดี ขอบคุณครับ :)
ครับผม!...ยินดีครับ...โอกาสหน้าเชิญใหม่ครับรูปภาพ
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

[img]http://www.thaimtb.com/forum/download/file.php?avatar=39922_1282839263.jpg[/img] สิงห์-บ้านบึงพระ เขียน:โอ้ :D ได้ความรู้ :) มากขึ้น ขอบพระคุณสิ่งที่นำเสนอ สวัสดีปีใหม่ 2554
ครับผม!...ขอบคุณครับ...โอกาสหน้าเชิญใหม่ครับรูปภาพ
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

55.การใช้ยางทิวเลส สำหรับมือใหม่ครับ

รูปภาพ
ขอนำเสนอวิธีการใส่ยางทิวเลส และ การเติมน้ำยาทิวเลส สำหรับคนที่ไม่เคยทำมาให้ดูน่ะครับ

รูปภาพรูปภาพ
หัวใจสำคัญของระบบยางทิวเลสมีอยู่สามส่วนคือ
1.ขอบล้อที่ออกแบบให้เก็บลมได้ดี
2.ยางที่ออกแบบมาให้เก็บลมได้ดี และ ยิ่งมีการเติมน้ำยากันยางซึมเข้าไปด้วยก็จะเป็นระบบที่สมบูรณ์แบบ
3.วาล์วเติมลมยางที่ปิดสนิท
ในภาพเป็นรูปวาล์วลมของล้อ XT 08 ที่ใส่มาจากโรงงานแล้ว ในกรณีท่านที่ต้องการใช้ยางในก็ถอดวาล์วนี้ออกแล้วก็สอดวาล์วของยางในเข้าไปแทน

รูปภาพ
นี่คือโฉมหน้าของน้ำยากันยางซึม ยี่ห้อแสตน เป้นยี่ห้อที่นิยมใช้กันทั่วโลก

รูปภาพ
เริ่มขันตอนแรกก็แล้วกันครับ ให้ทำการใส่ขอบยางด้านในด้านหนึ่งลงไปในวงล้อก่อน
วงล้อทิวเลสจะมีร่องอยู่ตรงตลาง และ จะมีขอบด้านข้างที่สูงกว่าร่อง ก็เพราะว่า
ร่องตรงกลางเอาไว้ให้ใส่และถอดยางได้ง่าย
ส่วนขอบด้านข้างที่มีระดับสูงกว่าร่องตรงกลางนั้นเอาไว้เวลาเติมลมเข้าไปในล้อยางจะได้พองตัวกับขอลล้ออย่างแน่นหนาเพื่อที่จะได้เก้บลมได้อยู่
ดังนั้นเวลาถอดยางจุ๊บเลส จะต้องทำการดันขอบยางในตกร่องกลางวงล้อก่อน เพื่อที่จะได้ถอดยางได้สะดวกขึ้น

รูปภาพ
ทำการเขย่าขวดน้ำยาเพื่อให้เนื้อน้ำยาเข้ากัน

รูปภาพ
เติมน้ำยาใส่ถ้วยตวง

รูปภาพ
เติมน้ำยาใส่ยางในบริมาณ 1 ถ้วยต่อ 1 วงล้อ

รูปภาพ
จากนั้นก็ใส่ขอบยางด้านที่เหลือเข้าไปในวงล้อ ตรงนั้นตอนนี้ต้องระวังน้ำยาที่เติมเข้าไปในยางไม่ให้หก
เมื่อใส่ขอบยางทั้งสองขอบเข้าไปในวงล้อแล้วให้ทำการใช้มือจัดยางให้บนออกนิดหนึ่ง
แล้วทำการสูบลมเข้าไป ยางก็จะเปล่งขึ้นเต็มขอบ
ที่ขอบยางจะมีเส้น อยู่เส้นหนึงเอาไว้ตรวจสอบว่าขอบยางขึ้นขอบเสมอเท้ากันหรือเปล่า แรกๆในการเติมลมให้เติมลมด้วยแรงดัน 50 PSI เพื่อให้ยางขึ้นขอบเสมอกัน เวลารถวิ่งล้อจะได้กลมไม่แกว่างไปมา ระหว่างที่เติมอาจจะมีเสียงยางดังลั่นขึ้นมา ไม่ต้องตกใจครับ เป้นปกติของยางจุ๊บเลส เวลายางขึ้นขอบจะมีเสียงดังขึ้นมา บางเป็นบางครั้ง

รูปภาพ
ตรวสอบให้ทั้งทั้งวงและ ทั้งสองด้านว่ายางขึ้นขอบเสมอเท่ากันแล้ว
แค่นี้ก็ได้ล้อพร้อมใช้แล้วครับ

รูปภาพ
แถมให้อีกนิดหนึ่งครับ การใส่จุ๊บลมของ Tubeless ต้องใส่ให้สนิทน่ะครับ วงล้อถึงจะเก็บลมอยู่

รูปภาพ
รูปตัดขวางแสดงขั้นตอนแสดงการใส่ยางจุ๊บเลส

รูปภาพ
ส่วนนี้เป็นภาพตัดขวางแสดงการถอดยางจุ๊บเลสครับ

ข้อมูลจาก ตาโจ ขอบคุณมากครับ
แก้ไขล่าสุดโดย อู๊ด-พีระ เมื่อ 08 พ.ค. 2011, 10:04, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

56.ระบบที่ใช้ในการฝึกซ้อมปั่นจักรยาน

รูปภาพ

ระบบที่ใช้ในการฝึกซ้อม
1.Recovery(REC)(ระบบการฟื้นคืนสู่สภาพปกติ) ต่ำกว่า 60 %
2.Low intensity Endurance (ระบบความทนทานในระดับต่ำ) 60 - 75%
3.high intensity Endurance(ระบบความทนทานในระดับสูง) 75 - 80%
.Recovery(REC)(การฟื้นคืนสู่สภาพปกติ)
การขี่จักรยานเพื่อฟื้นคืนสภาพเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมากเพราะการปั่นเบาๆเกียร์สบายๆอัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ หลังจากที่เราทำการฝึกช้อมหรือแข่งขันอย่างเข้มข้นกรดที่เหลือจากขบวนการเผาผลาญพลังงานคือกรดแลคติกที่ตกค้างอยู่ตามกล้ามเนื้อและระบบการไหลเวียนของเหลวในร่างกายรวมถึงในเลือด ที่แผ่กระจายไปทั่วกล้ามเนื้อนี้หัวใจจะสูบฉีดเลือดไหลเวียนแบบสบายๆมีความสุข นำพาสิ่งที่มีคุณค่าทางสารอาหาร,ออกซิเจนและจะทำการ เคลื่อนย้ายของเสียที่เกิดจากการออกกำลังในความเข้มข้นระดับสูง อย่างรวดเร็วการขี่ฟื้นคืนสู่สภาพควรทำหลังแข่งขันเสร็จหรือซ้อมหนักนอกเหนือจากการ cool down(ลดระดับความหนักของการปั่นลง)ถ้าหนักมากเช้าควรขี่ recovery ประมาณ 30 นาที และเช้าอีกวันปั่นประมาณ30-60 นาที แต่ถ้าต้องการฝึกความชำนาญในการเลี้ยวหรือควบคุมรถการเต้นของหัวใจต่ำกว่า 60 % ของอัตราการเต้นของหัวใจที่สงวนไว้เพื่อฝึกซ้อม(หัวใจเต้นสูงสุด - หัวใจเต้นตอนตื่นเช้า)ดูที่หัวข้อ การใช้ MAXIMUM HEART RATE ไปคำนวนเปอร์เซ็นต์ในการฝึกซ้อม
Recovery(REC)(การฟื้นคืนสู่สภาพปกติ)
ความเข้มข้นของการฝึก...อัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่า 60 %
ระยะเวลาการฝึก...........30 - 2 ชั่วโมง
ความถี่ต่อ 1 สัปดาห์.......1- 3 วันต่อสัปดาห์แล้วแต่ช่วงฝึกหนัก ปานกลาง เบา
สภาพพื้นที่ใช้ฝึก...........บนถนนหรือทางราบเรียบลูกรังหรือทางป่าที่ไม่เป็นลูกคลื่นขึ้นลง
รอบขา.......................80-100 รอบต่อนาที rpm เกียร์เบาเน้นพัฒนารอบขาและการผ่อนคลาย(คลายไม่คลายอยู่ที่ตัวเรา คุณผ่อนคลายหรือยัง?)
ชนิดของพลังงานหลักที่ใช้..ระบบแอโรบิคใช้ไขมันเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลือน

เยาวชน:1-2 ชั่วโมง, สุภาพสตรี:1-2 ชั่วโมง, ผู้เริ่มต้นปั่นใหม่ 30 นาที-1 ชั่วโมง นักกีฬา 1 - 2 ชั่วโมง

Lowintensity

2.Low intensity Endurance (ระบบความทนทานในระดับต่ำ) 60 - 75%
ระบบการทำงานนี้เป็นระบบที่ทำง่ายแต่บางที่เราก็ไม่ชอบเพราะคิดว่ามันปั่นไม่ค่อยเร็วกลัวว่าขี่มากแล้วจะทำให้ปั่นช้าแต่แท้จริงแล้วการปั่นความเร็วในระดับปานกลางนี้มีประโยชน์มากมายซ่อนอยู่ เปรียบเสมือนโครงสร้างของบ้านต้องเริ่มตั้งแต่ปรับพื้นดิน ตั้งเสาก็คือความแข็งแรง เทคานบ้านเพื่อรองรับน้ำหนักบ้านทั้งหมดคือ Low intensity Endurance ก็คือพื้นฐานของความทนทาน ถ้าเรามีความอดทน ความทนทานเราก็จะพัฒนาสิ่งต่างๆได้ทุกอย่างคุณว่าจริงหรือเปล่าครับ
แต่โดยปกติเวลาคุณซ้อมคุณจะไม่ยอมใครมีเท่าไหร่ก็ปั่นผลัดกันขึ้นเร็วลงเร็วจนหมดไม่ค่อยมีโอกาสที่จะปั่นLow intensity Endurance เพราะฉะนั้นต้องตกลงกันก่อนที่จะปั่นเพื่อพัฒนาต้องควบคุมความเร็วเพื่ออะไร คำตอบคือเพื่อสอนให้ร่างกายเรารู้จักเรียนรู้ในการเผาผลาญไขมันมาเป็นพลังงานผลที่ตามมาคือน้ำหนักตัวค่อยๆลดลง อย่างมีระบบไม่เพลียเหมือนการควบคุมอาหาร มีหลอดเลือดที่สะอาดมีไขมันอุดตันน้อยการสูบฉีดโลหิตมีประสิทธิภาพสมบูรณ์มากขึ้น ระบบหัวใจแข็งแรงเกิดกรด แลคติกขึ้นในปริมาณที่เหมาะสม ร่างกายมีโอกาสในการเรียนรู้ที่จะขจัดมันออกจากร่างกายได้มากขึ้นหรือง่ายและ เคยชินนั้นเอง ร่างกายจะใช้พลังงานน้อยแต่มีคุณค่ามากกว่าในการเปลี่ยนการเผาผลาญไขมัน ไกลโคเจนคือพลังานที่สำรองไว้ที่มีค่ามากต่อตัวเราเมื่อต้องการความเร็วที่เพิ่มขึ้นหรือความเข้มข้นขึ้นไกลโคเจนจะถูกนำออกมาใช้แต่พลังงานตัวนี้มีอยู่จำกัดเราจะใช้เวลาที่จำเป็นเช่นการออกตัวเพื่อเกาะกลุ่ม การฉีกหนีจากกลุ่ม การเร่งเพื่อเข้าเส้นชัยหรือแม้แต่ การเกาะคนที่เขามีความเร็วสูงมากกว่าเรา ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็เหมือนเรามีเงินเหรียญและแบงค์อยู่ในตัวเวลาเราเดินทางเราก็จะเลือกใช้เงินเหรียญก่อนเพราะเราจะได้ไม่หนักตัว มันคือ fat (ไขมัน) แบงค์ก็เอาไว้ใช้เวลาจำเป็นเพราะจ่ายง่ายจ่ายเร็วเปรียบเหมือน glycogen higher octane การขี่Low intensity Endurance นี้จะทำกันในช่วงการเตรียมตัวระยะแรก general preparation ประมาณ 6-7 อาทิตย์และประมาณ 16 อาทิตย์ในหนึ่งฤดูการแข่งขันหรือ 10 อาทิตย์สำหรับมือโปรที่จะฝึกระบบนี้ครับรายละเอียดคงต้องเพิ่มเติมตอนหลังเอาเป็นว่าขี่ช้าลงบ้างแล้วจะพัฒนาไปสู่การปั่นเร็วขึ้นได้ครับ
ความเข้มข้นของการฝึก...อัตราการเต้นของหัวใจ 60 - 75%
ระยะเวลาการฝึก...........1- 4ชั่วโมง
ความถี่ต่อ 1 สัปดาห์....... 5วันต่อสัปดาห์แล้วแต่ช่วงฝึกหนัก ปานกลาง เบารักษาสภาพก่อนแข่งขัน
สภาพพื้นที่ใช้ฝึก...........บนถนนหรือทางราบเรียบลูกรังหรือทางป่าที่ไม่เป็นลูกคลื่นขึ้นลง
รอบขา.......................80-100 รอบต่อนาที rpm เกียร์ปานกลางไม่หนักแต่มีรอบเน้นพัฒนารอบขา
ชนิดของพลังงานหลักที่ใช้..ระบบแอโรบิคใช้ไขมันเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนก่อนควรมีอาหารขนมปังหรือผลไม้พกไปทานหลังปั่นผ่านไป 40-50 นาทีเพื่อเป็นพลังงานชดเชยสำรอง

เยาวชน:2-3 ชั่วโมง, สุภาพสตรี:1-3 ชั่วโมง, ผู้เริ่มต้นปั่นใหม่ 1-2 ชั่วโมง นักกีฬา
2-4ชั่วโมง
.
3.high intensity Endurance(ระบบความทนทานในระดับสูง) 75 - 80%

ระบบการทำงานนี้เราค่อนข้างจะคุ้นเคยและปั่นผ่านอยู่ในย่านนี้บ่อยๆคนที่ปั่นในย่านนี้ได้ดีจะเป็นผู้ที่ขี่ไทม์ไทรอัลได้ดี ทางไกลก็ดี ถ้าสนามไหนมีทางราบ มาก ไม่กระตุก บ่อย ตำแหน่งของเขามักออกมาดี แต่ละสนามไม่แน่นอนมืออาชีพจะขี่ได้แถบทุกเส้นทางแต่ตอนนี้เราไม่ต้องสนใจมืออาชีพเพราะเรากำลังจะเป็นมืออาชีพได้เหมือนกัน เกาะกลุ่มตอนออกตัวไม่ได้ ตามกลุ่มไม่ได้ตลอด หนีเดี่ยวก็ไม่พ้นไปได้ไม่ไกลก็มอบตัวให้กลุ่มทำไมเป็นเช่นนั้นทุกอย่างมีเหตุและผล สาเหตุเพราะเราไม่ได้ฝึกให้ร่างกายได้คุ้นเคยกับความเร็วที่ค่อนข้างสูงเป็นเวลานาน ขี่ longEndurance ก็ยังไม่ถูกวิธียังระบายให้ระบบนี้ยังไม่เข้มพอ เพราะไม่ได้ฝึกนำกลุ่มให้เร็วและยาวขึ้นแต่ขึ้นไปลากสั้นแล้วจี้เร็วร่างกายก็ไม่ชินความเร็วสักที ไทม์ไทรอัลก็ไม่ได้จับเวลา 10 Km เพื่อเช็คร่างกายว่าพัฒนาขึ้นเท่าไหร่ มี จักรยานยนต์แต่ก็ยังนำมาใช้จี้ไม่เป็นลืมไปเลยครับเริ่มใหม่ ฝึกปั่นนำให้เร็วขึ้นยาวขึ้น เหนื่อยลงมาพักนำเร็วและลากยาวขึ้นเรื่อยๆ อยู่ที่ 75-80%ตลอดทาง และฝึกขี่ไทม์ไทรอัลมากขึ้นครับแล้วคุณจะพัฒนาระบบhigh intensity Enduranceได้ดีขึ้น รูปแบบตัวอย่างการปั่น 15นาที X4 เที่ยว 20 นาที x 3 เที่ยว 30 นาที X 2 เที่ยว 1ชมX2เที่ยว ระหว่างเที่ยวพัก 5 - 10 นาที
ความเข้มข้นของการฝึก...อัตราการเต้นของหัวใจ 75 - 80 %
ระยะเวลาการฝึก...........40 - 60 นาที
ความถี่ต่อ 1 สัปดาห์....... ไม่เกิน 2 วันต่อสัปดาห์แล้วแต่ช่วงฝึกหนัก ปานกลาง เบารักษาสภาพก่อนแข่งขัน
สภาพพื้นที่ใช้ฝึก...........บนถนนหรือทางเขาที่ขึ้นยาวไม่เป็นลูกคลื่นขึ้นลงขุรขระ
รอบขา.......................80-100 รอบต่อนาที rpm เกียร์ปานกลางไม่หนักแต่มีรอบเน้นพัฒนารอบขา
ชนิดของพลังงานหลักที่ใช้..ระบบแอโรบิค/ไกลโคเจน ใช้ไขมันเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนก่อนควรมีอาหารขนมปังหรือผลไม้พกไปทานหลังปั่นผ่านไป 40-50 นาทีเพื่อเป็นพลังงานชดเชยสำรอง

เยาวชน:45 -60 นาที , สุภาพสตรี:30-60 นาที ผู้เริ่มต้นปั่นใหม่ 15-30 นาที นักกีฬา
1-2 ชั่วโมง
(เมื่อคุณปั่นอยู่ในเกมส์การแข่งขันได้นานขึ้นและจบการแข่งขันให้มากขึ้นคุณกำลังจะประสบความสำเร็จ) คุณทำได้ครับ you can do it..
แก้ไขล่าสุดโดย อู๊ด-พีระ เมื่อ 08 พ.ค. 2011, 09:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร”