☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ ☆☆☆

สอบถามเทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร เชิญห้องนี้เลย
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

48.เทคนิคการขี่จักรยาน BMX

รูปภาพ

เทคนิคการขี่จักรยาน BMX

อันที่จริงการขี่จักรยาน BMX ก็ไม่ต่างจากกีฬาจักรยานประเภทอื่น ๆ มากนักคือต้องอาศัยแรงปั่นจากขาของเรา ๆ ท่าน ๆ ในการพารถให้วิ่งออกไป แต่อาจจะมีบางอย่างที่เป็นจุดต่างออกไปบ้าง ดังนั้นลองมาดูกันว่ามันมีเทคนิคอะไรที่เราต้องเรียนรู้และฝึกฝนเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญเพื่อการขับขี่อย่างสนุกสนานและเพื่อความเป็นเลิศในการแข่งขัน

1. การออกตัวจากจุดสตาร์ท
รูปภาพจุดสตาร์ทซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นทางลาดชันลงเขา เพื่อให้จักรยาน BMX มีความเร็วพอที่จะกระโดนข้ามเนินต่าง ๆ ได้ ทันที่ที่ออกตัวมาได้ โดยจะมีเกทสตาร์ทเป็นตัวกั้นไว้ ซึ่งเทคนิคที่ควรฝึกฝนก็คือการทรงตัวบนจักรยานก่อนเกทสตาร์ทจะล้มลง วิธีการฝึกอยู่กับบ้านก็ไม่ยากให้เราเอาล้อหน้าชนกับกำแพงแล้วลองขึ้นไปยืนทรงตัวโดยใช้เท้าด้านที่เราถนัดกดลงบนบันไดจักรยานให้ล้อหน้ากดติดกับกำแพงโดยไม่ให้รถจักรยานล้ม เริ่มจากแค่ 4-5 วินาที แล้วจากนั้นก็เพิ่มเวลาเป็น 10-15 วินาที ค่อย ๆ ฝึกวันละนิดไม่นานก็จะชินกับการทรงตัวและทำได้ไม่ยาก การฝึกอาจดูยากแต่ถ้าคุณได้ไปลองทำที่สนามแข่งขันที่มีเกทสตาร์ทจริง ๆ มันจะทำงานกว่าพื้นราบมาก ๆ เพราะทางลาดชันจะช่วยกดรถให้อยู่นิ่ง และทำให้เราทรงตัวอยู่บนรถได้นานกว่า ก็ลองเอาไปฝึกกันดูนะครับ

2. การขับขี่ในทางโค้ง
รูปภาพการขี่ BMX เรซซิ่งเป็นการขี่ที่ใช้ความเร็วค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงต้องมีการสร้างทางรับความเร็วตามทางโค้งต่าง ๆ ไว้หรือที่เรียกว่าแบงค์ เพื่อให้รถจักรยานสามารถที่จะทำความเร็วได้ต่อเนื่อง เพื่อรองรับการจั๊มป์เนินระยะไกล ดังนั้นการขับขี่ในทางโค้งที่มีแบงค์รองรับจึงมีความสำคัญมาก ๆ ดังนั้นจึงต้องมีการฝึกฝนการเลี้ยวโค้งด้วยความเร็ว โดยจะมีหลักในการฝึกฝนดังนี้

- ตำแหน่งการยืน ควรจะอยู่ประมาณกิ่งกลางรถไม่ทิ้งน้ำหนักไปด้านหน้าหรือหลังมากเกินไป ย่อเขาลงเล็กน้อยเพื่อช่วยลดแรงกระแทก และที่สำคัญต้องเตรียมพร้อม เมื่อเวลารถวิ่งตั้งตรงได้ต้องรีบใช้จังหวะนี้เริ่มปั่นทำความเร็วมากขึ้นเพื่อการจั๊มป์เนินระยะไกลหรือการลุยบนลูกระนาดจะเป็นไปได้อย่างราบรื่น
- การเอียงรถเข้าโค้ง อันนี้จะมากน้อยขึ้นอยู่กับความเร็วที่เราวิ่งเข้าหาแบงค์ ถ้ารถเราวิ่งมาเร็วมากก็ต้องเอียงรถเข้าหาโค้งด้านในมาก เพื่อป้องกันแรงเหวี่ยงจะพารถเราแหกโค้งออกไป ที่สำคัญตำแหน่งของบันไดรถจักรยานจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ขนานกับพื้นหรือบันไดด้านในโค้งจะต้องอยู่สูงกว่าด้านนอก เพื่อป้องกันบันไดครูดกับพื้นด้านในโค้งที่เราเลี้ยว จนอาจจะทำให้รถเราเสียหลังล้มลงได้
- การเลือกไลน์ในทางโค้ง การเลือกทางที่จะวิ่งในโค้งแบงค์ก็มีความสำคัญไม่น้อย เพราะในทางโค้งจะมีจังหวะที่ใช้ในการแซงผ่านกันอยู่บ่อยครั้งมาก ๆ และเพื่อเป็นการสร้างโอกาสในการแซงผ่านคันอื่น ๆ แบบโดยจะมีไลน์ที่นิยมใช้เพื่อเลี้ยวโค้งอยู่ 2-3 แบบ
- ไลน์แบบวิ่งตามโค้งด้านนอกตามแนวแบงค์ไลนนี้จะช่วยรักษาความเร็วให้รถจักรยานมีความเร็วสม่ำเสมอและเราจะสามารถปั่นรถออกไปเพื่อสร้างความเร็วได้ต่อเนื่อง ซึ่งปกติก็จะใช้ไลน์แบบนี้กันแทบจะทุกคน
- ไลน์แบบวิ่งเข้าตัดเข้าโค้งด้นในไปบานออกด้านนอก ไลน์แบบนี้จะใช้เพื่อการแซงคันหน้าโดยคันที่อยู่ด้านหลังจะขี่เข้าไปบังไลน์คันที่นำอยู่ด้านหน้า เมื่อคันหน้าเสียจังหวะเราก็อาศัยจังหวะนี้แซงผ่านไปก่อนได้
- ไลน์แบบวิ่งขึ้นไปด้านนอกของแบงค์แล้วตัดลงกลางแบงค์ วิธีนี้จะทำยากกว่าเพราะเราจะต้องฝืนกับแรงเหวี่ยงของรถเพื่อบังคับให้รถเลี้ยวลงมาทันทีเพื่อจะตั้งหลักให้รถตรงแล้วปั่นออกไปให้ได้ก่อนคันที่นำหน้าเราอยู่
ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนว่าผู้ขับขี่จะใช้วิธีใด ไม่มีข้อจำกัดตายตัว และควรจะประเมินสถานการณ์ว่าถ้าจะทำการแซงผ่านแบบนี้จะทำให้เกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกันล้มด้วยไหม ถ้าคิดว่าไม่คุ้มที่จะแซงก็ควรหาโอกาสในโค้งต่อไปจะดีกว่า เพราะถ้าเกิดล้มลงก็จะเสียโอกาสในการแข่งขันต่อไปอย่างแน่นอน

3. การขี่บนเนินลูกระนาด
รูปภาพวิธีการคงไม่ต่างกับการขี่แบบอื่น ๆ มากนักคือหลัก ๆ ก็ยังคงเน้นการยืนเป็นหลักแต่จะเน้นไปที่การใช้แขนและขาของเราแทนช็อคอัพเนื่องจากรถ BMX ไม่มีช็อคหน้าหลัง จึงต้องใช้ร่างกายเราแทนช็อค โดยมีวิธีการดังนี้ ยืนขี่รถเข้าหาเนิน เมื่อล้อหน้าปีนขึ้นไปบนด้านหน้าของลูกระนาดให้งอแขนลง เมื่อล้อหน้าผ่านไปยังด้านหลังก็ให้เหยียดแขนนอกไปอย่างรวดเร็ว ส่วนขาหลังก็ต้องย่อขึ้นลงตามจังหวะแบบเดียวกับแขนของเรา คือเมื่อล้อหลังปีนขึ้นด้านหน้าเนินก็ย่อขาลง เมื่อล้อหลังข้ามไปด้านหลังเนินก็เหยียดเขาออกไป ยิ่งเราออกแรงกดแรงผลักที่แขนและขามากและเร็วขึ้นเท่าไหร่ ก็จะทำให้รถจักรยานสามารถวิ่งผ่านลูกระนาดไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเทคนิคนี้นักกีฬาก็ต้องมีการฝึกฝนอยู่เป็นประจำจนเกิดความเคยชินและมีความชำนาญ

4. การกระโดดเนินระยะไกล
รูปภาพBMX ถ้าจะไม่พูดถึงการกระโดดข้ามเนินสูง ๆ ไกล ๆ ก็คงจะแปลกไปเพราะนี่คือความตื่นเต้นและท้าทายในเกมส์กีฬาชนิดนี้เลยก็ว่าได้ แต่ว่ากว่าแต่ละคนจะสามารถทำได้นั้นต้องได้รับการฝึกฝนทักษะด้านนี้เป็นอย่างดีจนเกิดความชำนาญ โดยการกระโดดเนินระยะไกลสามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้
เริ่มจากพื้นฐานแรกคือการหัดทำการหิ้วรถให้ลอยอยู่กับพื้นให้ได้ หรือฝรั่งเขาเรียกว่า “บันนี่ฮ็อป” โดยมีการฝึกดังนี้
- อันดับแรกเราต้องยกล้อหน้าให้ได้ก่อน วิธีฝึกเราต้องยืนขี่รถด้วยความเร็วเล็กน้อย โดยให้บันไดอยู่ขนานกับพื้น จากนั้นก็ให้ออกแรกยกล้อหน้าให้ลอยขึ้นจากพื้นพอสมควร อาจจะทำโดยหาท่อนไม้หรือสิ่งของที่ไม่สูงมากมาวางไว้แล้วพอรถวิ่งมาใกล้ ๆ ก็ให้ดึงล้อหน้าข้ามไปให้ได้ ฝึกแบบนี้จนสามารถยกล้อข้ามสิ่งกีดขวางได้เป็นอันจบ
- ต่อไปเราจะมาฝึกการยกล้อหลัง วิธีทำคือยืนขี่เหมือนวิธีแรก แต่คราวนี้ไม่ต้องเร็วมาก วิธีการเริ่มจากตั้งบันไดให้ขนานกับพื้นทั้งสองข้าง จากนั้นมือทั้งสองข้างกำแฮนด์ให้แน่น ๆ กว่าปกติ ส่วนปลายเท้างุ้มจิกลงไปด้านหน้ารถ บิดมือทั้งสองข้างขั้นพร้อม ๆ กันในเวลาเดียวกัน ฝ่าเท้าเราก็ต้องงัดบันไดขึ้นไปด้านหลัง จะทำให้ล้อหลังลอยขึ้นได้ ฝึกฝนบ่อย ๆ ก็จะสามารถยกได้ทุกครั้งโดยจะใช้วิธีการวางสิ่งกีดขวางเพื่อฝึกฝนแบบยกหน้าก็ได้ครับ คือเมื่อยกล้อหน้าข้ามไปได้ ทิ้งจังหวะนิดหนึ่งก็ยกล้อหลังข้ามตาม
- รวมสองล้อให้เป็นหนึ่งเดียว จากบทฝึกที่ผ่านมา ต่อไปเราจะเอาสองวิธีนี้มารวมกันเพื่อจะได้ยกได้ทั้งสองล้อพร้อม ๆ กัน วิธีการคือยืนขี่รถมาด้วยความเร็วพอประมาณ แล้วลองสร้างเส้นหรือวางสิ่งกีดขวางเล็ก ๆ เอาไว้ เมื่อล้อหน้าวิ่งเข้ามาใกล้จุดที่เราสร้างไว้ก็ให้ดึงหน้ารถให้ลอยสูงขึ้นพร้อมกันนั้นก็ต้องยกล้อหลังตามขึ้นมาติด ๆ กัน รถก็จะลอยข้ามสิ่งกีดขวางได้ทั้งสองล้อ โดยในการฝึกขั้นตอนนี้อาจจะฝึกโดยทรงตัวอยู่บนรถแล้วหิ้วรถให้ล้อลอยทั้งสองก่อนก็ได้ เมื่อชำนาญแล้วค่อยฝึกทำแบบที่รถวิ่งมาด้วยความเร็วจะปลอดภัยกว่านะครับ เทคนิคนี้ถ้าเป็นบันไดแบบคลิปเลสจะทำได้ง่ายกว่าครับ เพราะว่าถ้าเราแค่ย่อขาและกระโดดขึ้น รถจะลอยติดเท้าเราขึ้นมาเอง

แต่ว่าทำไมเราต้องฝึกพื้นฐานแบบนี้ก่อนจะไปหัดกระโดดเนิน นั่นก็เพราะในการกระโดดเนินนั้นมีทั้งความเร็ง ความสูง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการเสียหลักได้ง่ายเมื่อรถเราลอยอยู่กลางอากาศ ถ้าเราไม่ฝึกพื้นฐานให้ดีเสียก่อน อีกทั้งในการกระโดดเนินไม่ได้ใช้แค่ความเร็วอย่างเดียวแล้วจะกระโดดเนินได้ ในบางจังหวะเราอาจจะต้องใช้เทคนิคบันนี่ฮ็อปหรือการหิ้วรถเพื่อให้รถสามารถลอยได้สูงและไกลเพื่อการเคลียร์เนินจั๊มป์ระยะไกลได้ด้วยในบางกรณี

ข้อมูลจาก Thai Cycling Club ขอบคุณมากครับ
แก้ไขล่าสุดโดย อู๊ด-พีระ เมื่อ 03 มิ.ย. 2011, 21:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

49.เฟรมจักรยานเสือภูเขาที่ทำด้วยอะไรดี

จักรยานเสือภูเขา

รูปภาพ
ไทยทาเนียม (Titanium) เฟรมที่หลาย ๆ คนปรารถนา
เมื่อพูดถึง ไททาเนียม นักนักจักรยานน้อยคนนักที่ไม่รู้จักคำนี้ เพราะเฟรมจักรยานที่ผลิตขึ้นมาจากวัสดุประเภทนี้ย่อมเป็นที่ปรารถนาของบรรดา นักนักจักรยานทุกคน จะเป็นเพราะเหตุใดที่หลาย ๆ คนเพ่งสายตาและความรู้สึกมาที่ ไททาเนียม หากจะมองด้วยสายตามันก็ไม่ได้วิเศษไปกว่าเฟรมที่ใช้วัสดุอื่น ๆ ผลิตขึ้นมามากมายนัก

รูปภาพ
ไททาเนียม Titanium) เป็นธาตุในโลหะที่ถูกค้นพบในปี ค.ศ.1797 โดย William Gregor เป็นโลหะที่มีแสงเป็นประกายขาวคล้ายเงิน มีความทนทานต่อการสุกร่อนเป็นเยี่ยม ดัดโค้งงอได้ตามต้องการ เมื่อทไให้ร้อน มีน้ำหนัดเบา เมื่อทำให้เป็นวัตถุผสม มีความแข็งแรง ทนต่อการบิดดึงได้ดีมาก แต่ขึ้นรูปหรือเชื่อมต่อให้สวยงามได้ยาก ต้องใช้ผู้ชำนาญและอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อชนิดพิเศษ ส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ในการทำชิ้นส่วนของเครื่องบิน ยานอวกาศ เรือดำน้ำ ดาวเทียม รวมถึงรากฟันเทียม และบางส่วนของขีปนาวุธ นอกจากค้นพบได้ในโลกเราแล้ว ยังพบว่ามีอยู่ในดวงอาทิตย์ และดวงดาวต่าง ๆ อีกด้วย

ไททาเนียม เป็นวัตถุต้องห้าม ที่ต้องมีใบอนุญาตในการซื้อขาย มีราคาแพง ไม่มีขายตามร้านค้าวัสดุทั่วไป เหมือนกับเหล็กหรืออลูมิเนียม

รูปภาพ รูปภาพ
เฟรมจักรยานไททาเนียม
เฟรมไททาเนียมนั้นมีอยู่สองเกรดด้วยกัน คือ ท่อที่ผลิตในอเมริกา กับท่อที่ผลิตในประเทศจีนและรัสเซีย ข้อแตกต่างกันที่ต้นทุนการผลิตและคุณภาพ ราจึงแตกต่างกันมาก โดยปกติไททาเนียมจะมีส่วนผสมของโลหะสองชนิตามอัตราส่วนดังนี้ คือ
3AL/2.5V = (Aluminium = 3 % / Vanadium = 2.5 % ) ส่วนที่เหลือเป็น Titanium
4AL/6V = (Aluminium = 4 % / Vanadium = 4 % ) ส่วนที่เหลือเป็น Titaniuam
ท่อไททาเนียมที่ทำจากรัสเซีย มีทั้งสองชนิดเหมือนกัน แต่เมื่อทดสอบคุณภาพแล้วพบว่าท่อของรัสเซียมีคุณภาพด้วยกว่าที่ทำในอเาริกาถึง 40 % ในด้านความทนทานต่อแรงบิดดึง ส่วนท่อไททาเนียมที่ผลิตในประเทศจีนนั้น ใช้สวนผสม 3AL/2.5V ถึงแม้จะมีส่วนผสมทางเคมีอยู่ในระดับเดียวกัน กับมาตรฐานทั่วไป แต่พบว่าของจีนยังมีส่วนผสมอื่น ๆ ปนอยู่ ทำให้ความแข็งแรงด้อยไปกว่าที่ผลิตในรัสเซียเสียอีก จึงลงความเห็นว่า ท่อไททาเนียมทั้งที่ผลิตในรัสเซียและผลิตในประเทศจีน ยังมีคุณภาพและน้ำหนักไม่ดีเท่ากับที่ผลิตในอเมริกา

รูปภาพ
ในสหรัฐอเมริกา Sandvik คือผู้ผลิตท่อไททาเนียม ที่มีชื่อเสียงที่สุดรายหนึ่ง และเป็นที่นิยมสำหรับการนำมาทำเฟรมจักรยาน จึงมีการประมูลสิทธิ์ในการซื้อท่อ เพื่อไปใช้ในการทำจักรยานของตนแต่เพียงผู้เดียว อย่างไรก็ตาม Sandvik ไม่ใช่ผู้ผลิตท่อไททาเนียมรายเดียวในอเมริกา เช่น เฟรมชั้นยอดของ Merlin กลับไปใช้ท่อไททาเนียมของ Haynes ที่ผลิตในเมือง Arcadia รัฐ Louisiana ซึ่งเป็นแหล่งผลิตท่อไททาเนียมระดับท๊อป ราคาแพง คุณภาพเยี่ยมอีกยีห้อหนึ่ง

รูปภาพ
เหล็ก (Steel) เหล็กเป็นวัสดุดั้งเดิมในการใช้ทำตัวถังจักรยาน ให้ความรู้สึกที่ดีในการขับขี่ ควบคุมง่าย ขี่สนุก ให้ตัวดี ไม่แข็งกระด้าง แข็งแรง ทนทาน รับน้ำหนักได้ดี แต่ข้อเสียคือ มีน้ำหนักมาก ลำบากในการดูแลรักษา เพราะเป็นสนิมง่าย แต่ก็ยังมีผู้ผลิตที่ใช้เหล็กคุณภาพดี ทำรถจักรยานออกมาวางจำหน่ายไปไม่น้อยดีเดียว เช่น Breezer และ Voodoo และมีนักแข่ง และผู้ที่นิยมจักรยานไม่น้อยทีเดียวที่นิยมชมชอบ กับตัวถังจักรยานที่ผลิตจากเหล็ก แต่ด้วยคุณสมบัติของเหล็กตามที่ได้กล่าวไว้ว่า มีน้ำหนักมาก จึงไม่ค่อยมีนักแข่งนิยมใช้กันมากนัก เพราะยังมีวัสดุประเภทอื่นที่มีคุณภาพใกล้เคียง หรือดีกว่า ใช้ในการทำตังถังจักรยาน ประกอบกับข้อได้เปรีบยที่มีน้ำหนักน้อยกว่าตัวถังที่ทำด้วยเหล็ก ด้วยเหตุผลนี้ เหล็กจึงไม่ค่อยจะเป็นที่นิยมนำมาใช้เป็นวัสดุสำหรับผลิตจักรยานในเชิงการกีฬา เหล็กจึงเป็นที่นิยมในการผลิตตัวถังจักรยานในเชิงพาณิชย์โดยทั่วไปเสียมากกว่า ด้วยคุณสมบัติที่แข็งแกร่งของมัน เหล็กจึงยังสามารถครองตลาดจักรยาน ได้มาตั้งแแต่อตีดกาลจนถึงปัจจุบัน

รูปภาพ
โครโมลี่ (Chromoly) เป็นโลหะผสมระหว่างเหล็กกับโมลิบดีนั่ม (Molybdenum) มีน้ำหนักเบากว่าเหล็ก ท่อโครโมลี่ดี ๆ บางยีห้อมีน้ำหนักไม่ต่างจากไททาเนี่ยมเท่าไหร่นัก จุดเด็นของโครโมลี่ก็ให้ตัวดี ขี่สนุก แต่ข้อเสียคือ ดูแลรักษาค่อนข้างยากพอสมควร เป็นสนิมง่ายเหมือนเหล็กทั่ว ๆ ไป ถึงอย่างไรก็ยังเป็นที่นิยมของบรรดานักจักรยานที่แท้จริง หรือนักแข่งมากพอสมควร ท่อโครโมลี่ที่มีชื่อเสียงได้แก่ Ritchey / Reynolds และ Columbus เฟรมโครโมลี่ ราคาไม่แพงนัก ที่นิยมใช้กัน เห็นจะเป็นรถของ KHS โดยใช้ท่อของ True Temper

รูปภาพ
อลูมิเนียม (Aluminium) เป็นเฟรมยอดนิยมของบรรดานักจักรยานทั้งหลายแหล่ เพราะมีน้ำหนัดเบา ดูแลรักษาง่าย ไม่เป็นสนิม (แต่เกิดการผุกร่อนได้ อันเกิดจากอลูมิเนียมอ๊อกไซด์) มีให้เลือกหลายเกรด เช่น 6061 / 7005 / หรือ Elan3. / Elite สูตรผสมของท่อ Easton รถเฟรมอลูมิเนียมขี่ไม่ค่อยนิ่มนวลเหมือนเฟรมชนิดอื่น ค่อนข้างแข็งกระด้างเมื่อขับขี่ในทางวิบาก แต่กลับตรงกันข้ามขี่ได้ดีในทางเรียบและทางสูงชัน ราคาไม่แพง มีให้เลือกมากมายในท้องตลาด รูปร่างและสีสรรคสวยงามสดุดตาผู้พบเห็น
*** ข้อควรพึงระวังในการดูแลรักษา สำหรับผู้ใช้เฟรมที่ผลิตด้วยอลูมิเนียม เนื่องจากอลูมิเนียมสามารถเกิดการผุกร่อนได้ด้วยหลาย ๆ สาเหตุ แต่สาเหตุที่สำคัญที่สุดมักจะพบบ่อย ๆ คือไอน้ำจากน้ำเค็ม สำหรับผู้ที่อยู่ติดทะเล ควรหมั่นรักษาเช็ดทำความสะอาดด้วยทุกครั้งหลังจากการใช้งาน และที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้คือ เหงื่อจากตัวเราในระหว่างการขับขี่ หยดเหงื่อที่ไปโดยเฟรมอลูมิเนียมนั้น หากเราละเลยก็อาจจะทำให้เฟรมของเราเกิดการผุกร่อนได้เช่นกัน...

รูปภาพ
คาร์บอนไพเบอร์ (Carbon Fiber) เป็นอีกเทคโนโลยี่หนึ่ง ที่คิดค้นมาเพื่อทำเฟรมจักรยาน และประสบความสำเร็จมานานแล้ว และเป็นที่นิยมชื่นชอบของบรรดานักจักรยานโดยทั่วไปเช่นกัน เพราะมีข้อดีของวัสดุชนิดนี้คือ มันสามารถทำให้แข็งกระด้างมากหรือน้อย ทำให้เบามาก หรือนำไปเสริมในบางจุดที่ต้องรับแรงกระแทกมาก ๆ ได้ นอกจากนั้น ยังทนต่อการกัดกร่อนสูง ส่วนข้อเสียก็คือ มีราคารแพง เชื่อมต่อยาก ดังนั้น ตามข้อต่อที่รับแรงกระแทกสูง ๆ จะเกิดปัญหาได้ง่าย เขาจึงเลือกที่จะนำคาร์บอนไฟเบอร์ไปทำตัวถังประเภท โมโนค็อด (monocogne) หรือเฟรมชิ้นเดียวแทน ดังที่เห็นกันมากในรถฟูลซัสเพนชั่นโดยทั่ว ๆ ไป

http://web.agri.cmu.ac.th/agbike/bikenew/frame.htm

รูปภาพ รูปภาพ รูปภาพ
แก้ไขล่าสุดโดย อู๊ด-พีระ เมื่อ 07 พ.ค. 2011, 15:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

[img]http://www.thaimtb.com/forum/download/file.php?avatar=39565_1289133064.jpg[/img] Ton TWS เขียน:ได้ข้อมูลความรู้มากเลยครับ ขอบคุณครับ
ยินดีครับ!...ทำด้วยใจรัก...โอกาสหน้าเชิญใหม่ครับรูปภาพ
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

[img]http://www.thaimtb.com/forum/download/file.php?avatar=41909_1289481005.jpg[/img] Mr.green เขียน:ดีเยี่ยมครับ กลับมาทบทวนความหลังกันบ้างดีทั้งกับมือใหม่ด้วยครับขอบคุณมากครับ
ขอบคุณครับ!...Mr.greenรูปภาพ
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

50.เลือกซื้อขนาดจักรยานเสือภูเขาให้พอดีกับตัว

การเลือกรถจักรยานให้พอดีกับตัวคนขับขี่

รูปภาพคุณเชื่อไหมว่า ไม่มีใครถือสายวัดเข้าไปในร้าน ในตอนที่จะเลือกซื้อจักรยานคันแรก แล้วเชื่อไหมว่า แทบจะไม่มีใครเลยที่รู้จักว่า ชิ้นส่วนของจักรยานส่วนไหนเรียกว่าอะไรบ้าง

การเลือกรถจักรยานให้พอดีกับตัวคนขับขี่นั้นเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยจะง่ายนัก เพราะว่าถ้าจะต้องการให้พอดีลงตัวจริงๆก็คงต้องเป็นแบบcustom-made bikeหรือวัดตัวตัดกันเลย เพราะเขาจะวัดช่วงขา( inseem lenght ) ,วัดช่วงตัว( torso lenght ) ,วัดช่วงแขน ,วัดความกว้างของไหล่ฯลฯ เพื่อจะทำจักรยานที่มีความยาวของท่อต่างๆตรงกับขนาดของผู้ขับขี่มากที่สุด แต่
จักรยานประเภทนี้ไม่ใช่ว่าจะหากันง่ายๆ ส่วนราคานั้นก็แพงเอาเรื่องเลยทีเดียว ซึ่งถ้าใครเล่นจักรยานเสือหมอบเมื่อสมัยก่อน ก็คงรู้จักกับร้านจักรยานแถววรจักร ซึ่งรับวัดตัวตัดจักรยานกันเป็นอย่างดีซึ่งสมัยก่อนนั้นจักรยานสำเร็จรูปจากต่างประเทศมีราคาแพงมาก ซ้ำยังหาขนาดที่พอดีกับตัวไม่ง่ายนัก เพราะเสือหมอบจะseriousกับขนาดของรถเป็นอย่างมากผิดกับเสือภูเขา
ที่ยังมีความยืดหยุ่นกว่า แต่วัสดุที่จะหามาใช้นั้นเป็นเหล็กhigh tensile steel ซึ่งมีน้ำหนักค่อนข้างมาก ภายหลังนั้นได้เสื่อมความนิยมลง เนื่องจากรถสำเร็จรูปจากต่างประเทศมีราคาลดลง มีขนาดให้เลือกมากขึ้น รวมไปถึงน้ำหนักที่เบากว่า

คราวนี้เมื่อแบบวัดตัวตัดมีราคาแพง แต่แบบสำเร็จรูปมีราคาถูกลง คนจึงหันมาเล่นแบบสำเร็จรูปมากขึ้นซึ่งจักรยานพวกนี้จะคล้ายกับเสื้อผ้าสำเร็จรูปเช่นกัน คือทำมาเป็นขนาดแบบคร่าวๆ เช่น eXtraSmall , Small , Medium , Large , eXtraLarge ซึ่งแต่ละขนาดก็จะเหมาะสมกับคนที่มีความสูงอยู่ในช่วงที่เขากำหนด โดยที่ผู้ผลิตจะวัดสัดส่วนของประชากรในแต่ละกลุ่มช่วงความสูงนั้นๆแล้วจึงนำมาคำนวณหาค่าเฉลี่ย เพื่อจะได้จักรยานที่มีขนาดความยาวของท่อต่างๆใกล้เคียงกับสัดส่วนของคนในกลุ่มนั้นๆมากที่สุด ซึ่งในแต่ละยี่ห้อจะแตกต่างกันไปตามgeometry ที่เขาออกแบบไว้ และอาจจะแตกต่างกันในเรื่องของขนาดช่วงความสูงอีกด้วยซึ่งคล้ายๆกับเสื้อผ้าสำเร็จรูปนั่นแหละครับ

การกำหนดขนาดของจักรยานโดยการวัดความยาวของท่ออาน (seat tube) จากจุดกึ่งกลางของกระโหลก(bottom bracket)ไปยังสุดปลายของท่ออานหรือที่เรียกว่าCenter to topได้เป็นที่นิยมกันในหลายๆยี่ห้อ ซึ่งถ้าเป็นจักรยานในสมัยก่อนคงจะกะขนาดได้ไม่ยากนัก เพราะส่วนปลายของท่ออานจะโผล่พ้นขอบบนของท่อบน(top tube)ออกมาเพียงเล็กน้อย แต่
สำหรับเสือภูเขาในปัจจุบันคงจะบอกยากสักหน่อย เพราะว่าแต่ละยี่ห้อนั้นปลายของท่ออานที่โผล่พ้นออกมาจากขอบบนของท่อบนมีความสั้นยาวที่แตกต่างกันมาก จึงทำให้ไม่สามารถกะเกณฑ์ได้ว่าเฟรมขนาดเดียวกันในต่างยี่ห้อจะมีขนาดใกล้เคียงกันหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ในบางยี่ห้อก็ยังมีการวัดขนาดของจักรยานที่แตกต่างกันออกไป โดยจะวัดจากกึ่งกลางกระโหลก ไปยังกึ่งกลางของท่อบนตรงส่วนที่มาเชื่อมติดกับท่ออาน ซึ่งจะเรียกกันว่า Center to center แล้วนอกจาก
นี้บางยี่ห้อที่ท่อบนมีขนาดใหญ่ ก็อาจวัดจากกึ่งกลางกระโหลก ไปยังขอบบนของท่อบนตรงส่วนที่มาเชื่อมติดกับท่ออาน ถ้าเราจะเรียกว่าCenter to top of top tube ก็คงได้ครับ

รูปภาพดังนั้นจักรยานที่ต่างยี่ห้อกันเราอาจไม่รู้เลยว่าขนาดจะแตกต่างกันอย่างไรถ้าไม่รู้วิธีในการวัด เช่น DBR 16"กับTrek 16.5" ถ้าเอามาเทียบกันจะพบว่าDBR 16"มีขนาดใหญ่กว่าTrek 16.5 "อย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้เพราะDBR วัดจากCenter to center แต่Trek วัดจากCenter to top

รูปภาพไปดูเรื่องขนาดคนก่อนไหม?

คุณคิดว่าคนที่มีส่วนสูงเท่ากันจะมีขนาดของร่างกายเท่ากันไหม ก็คงจะบอกว่าไม่เท่ากันโดยเฉพาะถ้าเทียบระหว่าง คนไทยกับฝรั่ง แม้กระทั่งคนไทยกับคนไทยด้วยกัน ไม่ว่าระหว่างเพศเดียวกันหรือระหว่างเพศชายกับเพศหญิง

รูปภาพเขาแบ่งร่างกายออกเป็นส่วนๆยังไงบ้าง

inseem length เป็นความยาวช่วงขาที่วัดจากเป้ากางเกงไปยังส้นเท้าในท่ายืนเหยียดเข่าตรง ซึ่งจะมีวิธีวัดได้ง่ายๆและแม่นยำพอสมควรโดยไม่ต้องใช้เครื่องวัดตัว ใช้สมุดหรือหนังสือปกแข็ง ที่มีสันปกหนาประมาณ 1นิ้ว แล้วเอาขาหนีบเอาไว้ดันให้สันปกประชิดติดระหว่างขาให้แน่นที่สุด แล้วเอาขอบของสมุด (ด้านที่ตั้งฉากกับสันปก)ไปชนกับกำแพง ยืนตัวตรงส้นเท้าชิดพื้น กดสันปกให้ชิดหว่างขา แล้วขีดเส้นบนกำแพงในแนวเดียวกับสันปก วัดระยะทางระหว่างเส้นที่ขีดนี้กับพื้น ก็จะได้เป็นค่า inseem length ส่วนTorso length เป็นความยาวช่วงลำตัว โดยวัดจากไหล่ลงไปหาเป้ากางเกง ในทางปฏิบัตินั้นจะวัดในท่ายืนตรงแขน

สองข้างแนบลำตัว แล้ววัดระยะทางจากเป้ากางเกงขึ้นไปถึงขอบบนสุดของกระดูกกลางอก ( รอยบุ๋มระหว่างหัวของกระดูกไหปลาร้า ใต้คอลงมา ) ตำแหน่งนี้จะตรงแนวไหล่พอดีHead length เป็นความยาวช่วงคอ+ศีรษะArm length เป็นความยาวช่วงแขน โดยวัดจากไหล่ไปยังกึ่งกลางฝ่ามือ ในทางปฏิบัติจะวัดในท่ายืนกางแขนตั้งฉากกับลำตัว เหยียดแขนตรง มือกำดินสอ วัดระยะจากหัวไหล่ไปยังดินสอความกว้างของไหล่ จะวัดในท่ายืนตรงแขนสองข้างแนบชิดลำตัว แล้ววัดระยะห่างจากขอบนอกของหัวไหล่ทั้งสองข้าง

รูปภาพซึ่งในทางทฤษฎี เมื่อผู้ชายมีอายุย่างเข้าวัย 25 ปีหรือ ผู้หญิงมีอายุย่างเข้าวัย 20 ปี ส่วนสูงของร่างกายจะไม่เพิ่มขึ้นอีกจุดกึ่งกลางความสูงของร่างกายควรจะอยู่บริเวณขอบบนของเนินกระดูกหัวเหน่า( Pubic symphysis,ปลายลูกศรสีดำในรูปด้านขวามือ )แต่นั่นมันก็เป็นเพียงแค่ทฤษฎี เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นความยาวinseemควรจะเกือบเท่ากับครึ่งหนึ่งของความสูงรวมของร่างกาย ( ประมาณ46-48%ของความสูงรวม ) แต่ในคนไทยมักจะไม่เป็นเช่นนั้น เหตุผลสำคัญมาจากเรื่องของอาหารการกิน และการออกกำลังกายนี่แหละ ที่มีส่วนทำให้คนไทยโดยเฉลี่ยมีสัดส่วนช่วงขาที่ค่อนข้างจะสั้นทั้งผู้หญิงและผู้ชาย (ส่วนผู้หญิงที่เห็นช่วงขายาวๆนั้นก็ไม่ใช่ว่าจะมีให้เห็นบ่อยๆ
หรอกนะครับ ถ้าจะเห็นก็คงเห็นจากพวกดารานางแบบนี่แหละครับ)ถ้าเราลองมาดูพวกฝรั่ง ก็จะพบว่าโดยส่วนใหญ่แล้วฝรั่งจะดื่มนมเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าคนไทย รวมไปถึงมีการเน้น และปลูกฝังให้เด็กมีการออกกำลังกายหรือได้เล่นกีฬาเป็นประจำ กระดูกขาจึงรับแรงกระแทกจากพื้นดินอยู่เสมอๆ ส่งผลกระตุ้นให้มีการหลั่ง growth hormoneออกมาในสัดส่วนที่สูงกว่า ทำให้กระดูกท่อนยาว (long bone) เช่นกระดูกแขน,ขา ถูกกระตุ้นให้เจริญงอกยาวกว่าเด็กไทย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่จะเห็นคนไทยเรานั่งคุยกับฝรั่งในระดับศีรษะที่เท่ากันพอลุกขึ้นยืนคุยกัน ทำไมหัวเราอยู่แค่หูเขาเท่านั้น อะไรทำนองนั้นแหละครับส่วนใครจะว่าเป็นเรื่องของชาติพันธุ์ก็คงไม่ใช่เสียทั้งหมดเพราะฝรั่งที่มีสัดส่วนขาสั้นหลังยาวก็มีให้เห็นบ่อยไปถ้าชาติพันธุ์จะ
มามีส่วนเกี่ยวข้องก็คงเป็นเรื่องความสูงรวมๆนี่แหละครับที่พอจะเห็นกันได้ชัดเจนหน่อย( ลองมองย้อนหลังไปดูญี่ปุ่นในยุคก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่สองเปรียบเทียบกันสิครับ แล้วจะเข้าใจเรื่องอิทธิพลของอาหารและการออกกำลังกาย )

ความยาวแขนและความยาวช่วงขาจะมีความสัมพันธ์กันซึ่งคนที่ขายาวก็มักจะมีแขนที่ยาวด้วย และคนที่มีช่วงขาสั้นก็มักจะมีแขนที่สั้นด้วยเช่นกัน (เพราะว่าแขนและขา ต่างก็เป็นlong boneซึ่งจะได้รับอิทธิพลจากgrowth hormoneเช่นกัน ถ้าขาได้รับการกระตุ้นให้งอกยาวออก แขนก็จะได้รับเช่นกัน เพียงแต่ว่าสัดส่วนอาจจะแตกต่างกันในแต่ละคน และระหว่างเพศชายและหญิง )

inseem length จะมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจเลือกขนาดของจักรยาน โดยพิจารณาจากระยะห่างระหว่างท่อบนกับพื้นดิน (stand over height)ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับความปลอดภัย(จะกล่าวถึงในตอนต่อไป)แล้วยังมีผลต่อความยาวของหลักอานที่จะใช้ ส่วนtorso length + arm length จะเป็นตัวกำหนดการเลือกความยาวของท่อบน+ ความยาวของคอ (stem) รวมไปถึงมุมก้มมุมเงยของคอ(stem angle)

แล้วจักรยานหละมีอะไรมาเกี่ยวข้องบ้าง

ค่า Stand over height เป็นระยะห่างระหว่างขอบบนของท่อบน( Top tube ) กับพื้นดิน แล้วในทางปฎิบัติจะวัดตรงบริเวณไหนของท่อบน เพราะในเสือภูเขานั้นส่วนท่อบนจะลาดเทจากด้านหน้าลงมาหาท่ออาน(Seat tube)ซึ่งสเปคของแต่ละค่ายแทบจะไม่เหมือนกันเลย รวมไปถึงวิธีในการวัดด้วย โดยส่วนตัวแล้วจะใช้วิธีไปยืนคร่อมจักรยาน แล้วเอาหลังแตะกับส่วนหน้าสุดของอาน จากนั้นจึงวัดความสูงของท่อบนในตำแหน่งที่ตรงเป้ากางเกง ก็จะได้ค่าstand over height ใกล้เคียงความจริงที่ใช้งานที่สุด

Stand over height เป็นค่าความปลอดภัยขั้นพื้นฐานในการใช้จักรยาน ใน
ท่านั่งปั่นจักรยานที่ถูกต้องนั้น ปลายเท้า2ข้างของเราจะไม่สามารถสัมผัสพื้นได้การงจากจักรยานโดยวิธีพื้นฐานจะใช้การหยุดรถ แล้วลงจากอานมายืนคร่อมท่อบน โดยวิธีการนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเหลือระยะห่างระหว่าง เป้ากางเกงกับ ขอบบนของท่อบน พอสมควรสำหรับความปลอดภัย(โดยเฉพาะผู้ชาย)รูปภาพซึ่งจะได้กล่าวให้ทราบในตอนต่อไป

ค่าStand Over Height ในรถแต่ละคันจะมีความแตกต่างกันโดยมีผลมาจากมุมของท่ออาน(Seat tube angle,มุมที่ท่ออานทำกับแนวระนาบ) และ
ความยาวของท่ออานจากกึ่งกลางกระโหลกไปยังขอบบนของท่อบน หรือ
center to top of top tubeความสูงของกระโหลกจากพื้นดิน ในรถบางยี่ห้ออาจจะมีความสูงของกระโหลกจากพื้นดินค่อนข้างมาก เนื่องจากออกแบบให้ใช้กับภูมิประเทศที่มีก้อนหินใหญ่ เพื่อลดโอกาสที่ส่วนของกระโหลก บันได รวมไปถึงใบจานจะกระแทกกับก้อนหินระยะยุบตัวของชอคแอบซอบเบอร์หน้า (front shock absorber) ชอคหน้ารุ่นก่อนๆจะมีระยะยุบตัวที่ประมาณ 2นิ้วครึ่งหรือ 63 มม. ภายหลังได้มีการเพิ่มระยะยุบตัวขึ้นอีกเป็น 3นิ้วเศษหรือ 80 มม. ซึ่งทางRockshox เรียกมันว่า long travel shock absorber(อย่าสับสนไปแปลว่าชอคแอบซอบเบอร์สำหรับการเดินทางระยะไกลนะครับ เป็นคนละความหมายกันเลยทีเดียว) ในชอคประเภทหลังนี้จะมีความยาวของขาชอคในระยะพักมากกว่าพวกแรกประมาณกว่าครึ่งนิ้วหรือ17มม.ซึ่งจะทำให้ส่วนหน้าของจักรยานถูกยกสูงขึ้นด้วยรูปร่างของท่อบน( Top tube shape ) โดยทั่วไปจักรยานส่วนใหญ่จะใช้ท่อบนมีลักษณะเป็นท่อลาดตรงแต่ในปัจจุบันจักรยานหลายยี่ห้อและหลายรุ่นทีเดียวที่ทำท่อบนให้โค้งลงเพื่อชดเชยกับความสูงของกระโหลกและระยะยุบตัวของชอคหน้าที่เพิ่มขึ้น จึงคล้ายๆกับจะเป็นการเอาใจคนที่มีช่วงขาสั้น ไปกลายๆ
ค่า Effective top tube length หรือ Horizontal top tube length ถ้าเราวัดความยาวของท่อบนตามความยาวจริง( actual length ) เราอาจจะไม่
สามารถบอกได้ว่ารถคันนี้มีช่วงยาวจริงๆสักแค่ไหน และไม่สามารถเทียบระยะห่างระหว่างท่อคอ(head tube)กับอานได้เพราะว่าในจักรยานแต่ละขนาด มุมลาดของท่อบนจะแตกต่างกัน ทำให้การวัดความยาวจริงๆไม่ได้ประโยชน์อะไรเราจึงต้องวัดความยาวของท่อบนตามแนวราบแทน โดยวัดความยาวของเส้นที่ลากจากจุดกึ่งกลางตรงบริเวณปลายท่อบนเชื่อมกับท่อคอ ตามแนวขนานกับพื้นราบไปจนถึงกึ่งกลางของท่ออาน หรือหลักอาน(seat post) ความยาวที่วัดได้นี้เรียกว่า"effective top tube length"หรือ"horizontal top tube length"ซึ่งในบางยี่ห้ออาจจะวัดแตกต่างกันไปEffective top tube lengthจะเป็นค่าที่ใช้พิจารณาประกอบการเลือกขนาดรถให้เหมาะสมกับตัวเรา

รูปภาพรูปภาพ

ความยาวและมุมก้มเงยของคอ ( stem length and stem angle ) โดยปกติแล้วคอ (stem) ที่ติดมากับรถจะมีความยาว และมุมเฉลี่ยสำหรับคนที่
อยู่ในช่วงความสูงเฉลี่ยของรถขนาดนั้นๆและจะเหมาะสมกับลักษณะการใช้รถด้วย เช่น รถเพื่อการออกกำลังกาย หรือ รถเพื่อการแข่งขัน คอมีค่าความยาวหลากหลายขนาด โดยสากลจะวัดจากจุดศูนย์กลางของด้านที่จับกับแกนชอค ไปยังจุดศูนย์กลางของด้านที่จับกับแฮนด์ (handle bar) อาจ
จะมีค่าตั้งแต่ 75 - 150 มม. ในแต่ละยี่ห้อจะแบ่งขั้นความยาว (Increment )
ไม่เท่ากัน

มุมก้มเงยของคอ เป็นมุมที่แนวแกนของคอทำกับเส้นที่ลากตั้งฉากกับแกนชอค(ดูรูปด้านบนประกอบ)ซึ่งจะมีค่าหลากหลายตามแต่ละยี่ห้อ ในบางยี่ห้อยังอาจจะวัดมุมที่แนวแกนของคอทำมุมกับแกนชอคแทน เช่น 90 องศาก็จะเท่ากับ 0 องศา ของแบบแรก ) ถ้าต้องการมุมที่ก้มลง หรือมุมติดลบก็ให้กลับคว่ำคอลง

มุมก้มเงยของคอนั้นเราสามารถเลือกเปลี่ยนเพื่อให้เหมาะสมกับความยาวช่วงตัวช่วงแขน และลักษณะลีลา รวมไปถึงนิสัยใจคอในการขับขี่ ของผู้ขับขี่เอง แฮนด์ ( handle bar )แฮนด์โดยทั่วไปจะมีความกว้างอยู่ในช่วง 21-24" แฮนด์มีอยู่ 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ แฮนด์ตรง ซึ่งที่จริงแล้วมันก็ไม่ได้ตรงเหมือนชื่อ เพราะมีมุมเอนไปด้านหลังอาจจะตั้งแต่ 0 ไปจนถึง 12 องศาแฮนด์ยกหรือที่เรียกว่าแฮนด์ปีกนก (มันคงจะคล้ายจริงๆกระมัง) จะเห็น
ได้ในรถกลุ่มdownhill หรือ freeride ซึ่งเป็นแฮนด์ที่นั่งขี่สบายค่าอื่นๆความยาวของช่วงล้อ(wheel base),ความยาวของตะเกียบโซ่(chain stay),มุมท่ออาน(seat tube angle), มุมท่อคอ(head tube angle)คงจะขอละเอาไว้ เนื่องจากเราไม่สามารถไปกำหนดกะเกณฑ์กับมันได้ เพราะว่ามันจะขึ้นกับการออกแบบรถรุ่นนั้นๆว่า ต้องการจะให้เป็นรถเพื่อใช้ในการแข่งขัน หรือ รถเพื่อออกกำลังกาย หรือ Sport utility หรือเป็นCity bike ตัวอย่างเช่นรถที่ออกแบบมาสำหรับเป็นรถแข่งจะมีช่วงล้อที่สั้นกว่า มีมุมท่อคอและมุมท่ออานที่ชันกว่ารถที่ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับออกกำลังกาย เพราะรถแข่งย่อมเน้นที่ความคล่องแคล่วและปราดเปรียว ต่างจากรถที่ใช้ในการออกกำลังกายซึ่งเน้นที่การขี่ง่าย และเสถียรภาพของการทรงตัว อันนี้คงจะขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการเลือกซื้อรถของเรา
รูปภาพ
แล้วตัวของเราหละปรับแต่งอะไรได้บ้าง

คงจะต้องเรียนให้ทราบตรงๆว่าคงจะปรับแต่งอะไรไม่ได้มากไปกว่าที่เป็นอยู่หรอกครับ(ยกเว้นจะมีใครบริจาคให้ทุนไปเกิดใหม่อะไรทำนองนั้นแหละ)เมื่อรู้ว่าปรับแต่งอะไรไม่ได้อีกแล้วก็คงจะต้องยอมรับสังขารของเราแหละ สิ่งแรกที่อยากจะแนะนำก็คือลองวัดวามยาวช่วงขาดูก่อนไหมครับว่ามันสั้นหรือยาวได้ส่วนหรือไม่ เพราะว่าอย่างน้อยมันก็มีส่วนช่วยให้ตัดสินใจเลือกรถได้ง่ายขึ้นบ้าง

คราวนี้ก็คงถึงเวลาที่จะเสียเงินซื้อรถกันหละสิ คงตัดสินใจกันได้แล้วนะครับว่า จะซื้อรถเพื่อเอาไปทำอะไรดี จะเอาไปใช้จ่ายตลาด ออกกำลังกาย หรือ มากไปกว่านั้น อันนี้คงต้องแล้ว แต่ใจและงบประมาณกันแล้วหละครับหาร้านที่เชื่อใจได้(พิสูจน์กันเอาเองนะครับ) เลือกรถที่ถูกใจทั้งยี่ห้อ รุ่น สีสัน อุปกรณ์ที่ติดมากับรถ ของแถมแล้วก็ต้องเลือกให้ได้ขนาดที่พอดีกับตัว
ของเรา ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญทีเดียวเลย เพราะว่าอุปกรณ์อื่นๆถ้าไม่พอใจก็พอจะเปลี่ยนกันตรงนั้นได้เลยหรือไม่ก็อาจจะupgradeกันใหม่ได้ในภายหลัง แต่สำหรับเฟรมแล้วถือว่าเป็นหัวใจ หลักของจักรยานเลยทีเดียว ถ้าซื้อผิดขนาดก็คงแก้ไขอะไรได้ยาก แต่ก็แปลกที่คนส่วนมากมักจะซื้อรถที่มีขนาดใหญ่กว่าสัดส่วนของตัวเอง

บังเอิญคุณไปพบจักรยานที่ถูกใจเข้าแล้วหละ คราวนี้จะรู้ได้ยังไงหละว่ามันได้ขนาดพอดีหรือเปล่าขั้นแรกคือให้คุณถอดรองเท้าออกแล้วลองไปยืนคร่อมท่อบนของจักรยานคันนั้น ถ้าคุณเป็นคนที่มีสัดส่วนของร่างกาย รวมไปถึงความยาวช่วงขาที่ไม่ได้เบี่ยงเบนต่างไปจากค่าเฉลี่ยปกติของกลุ่มประชากรที่มีความสูงเท่าๆกับคุณแล้ว ขนาดของจักรยานเสือภูเขาที่ออกแบบมาให้คุณใช้นั้นควรจะมีระยะห่างวัดจากท่อบนถึงเป้ากางเกงของคุณอยู่ในช่วง 2 - 4 นิ้ว ( inseem length ยาวกว่า stand over height2 - 4 นิ้ว ) แต่บางครั้งอาจจะมีปัญหาสำหรับบางคน เช่น ผมมีส่วนสูง167.5ซม. inseemยาว 79ซม.หรือ 31นิ้วนิดๆ แต่ยังสามารถยืนคร่อม Klein attitude'98size M (ซึ่งออกแบบมาสำหรับคนที่สูง 170 - 177 ซม)ได้สบาย โดยยังเหลือระยะห่าง 2 นิ้ว ในขณะที่ถ้ามายืนคร่อมsize S (ซึ่งออกแบบมาสำหรับคนที่สูง 162 - 170 ซม)จะเหลือระยะห่างร่วมๆ 4 นิ้ว ผมอาจ
จะเลือกSize M ที่ดูสวยกว่า (รถsize ใหญ่กว่าจะดูสวยกว่ารถsizeเล็ก) คนส่วนใหญ่ก็มักจะเผลอเลือกรถที่ใหญ่กว่าตัวเองเสมอๆ เพราะนอกจากจะดูสวยแล้ว ก็ยังขี่ได้ง่ายในทางเรียบหรือทางตรง แต่ถ้ามาดูกันลึกๆก็จะพบว่า รถsize M มันใหญ่กว่าผมเล็กน้อยเพราะว่าในการเอื้อมจับแฮนด์ผมจะต้องโน้มตัวไปด้านหน้ามากกว่าที่ควร อยู่เล็กน้อยตรงกันข้ามกับรถsize S ซึ่งนั่งได้สบายกว่า หลังอาจจะตั้งไปนิดหนึ่งแต่ก็ไม่ใช่ปัญหาเพราะเรายังปรับแต่งมันได้อีก สำหรับคนที่มีinseem length สั้นเกินกว่าที่ควรจะเป็นการเลือกขนาดโดยใช้วิธียืนคร่อมเพื่อดูระยะห่างเช่นคนทั่วๆไปนั้น ก็อาจจะได้รถที่เล็กเกินไปและคนที่มีinseem length ยาวเกินกว่าที่ควรจะเป็นการเลือกขนาดโดยใช้วิธียืนคร่อมเพื่อดูระยะห่างเช่นคนทั่วๆไปนั้น ก็อาจจะได้รถที่รถที่ใหญ่เกินไปทางออกสำหรับคนกลุ่มนี้ ก็คือจะต้องไปเทียบกับคนที่มีส่วนสูงใกล้เคียงกันว่าเขาขี่รถขนาดไหนลงตัว แล้วเอามาดัดแปลงให้เข้ากับตัวเอง หรืออาจต้องหาทางออกด้วยการวัดตัวตัดจักรยานกัน ( แพงนะ )

รถใหญ่กว่าตัวเล็กน้อย กับรถเล็กกว่าตัวเล็กน้อยมันต่างกันอย่างไรหลายๆคนคงอาจจะคล้ายกับผมที่มีปัญหาในการเลือกรถที่มีขนาดคร่อมsize ซึ่ง
พูดง่ายๆว่า ส่วนสูงของร่างกายเราสามารถขี่รถได้ 2ขนาด เช่น คร่อมกลางระหว่างsize S กับsize M เรามาดูข้อแตกต่างเปรียบเทียบกันดีกว่าครับ
รถที่ใหญ่กว่าตัวเล็กน้อย มีข้อดี ได้แก่ดูสวย ขี่ออกกำลังกายหรือเดินทางในทางเรียบสบาย รถนิ่งไม่ค่อยแกว่งไปมาข้อเสียที่สำคัญคือ จะเป็นรถที่ขาดความคล่องตัวโดยเฉพาะการเข้าโค้งที่ความเร็วสูง หรือ การเลี้ยวในที่คับแคบ เช่น ในทางSingle tract (ทางแคบๆที่รถจะผ่านไปได้ทีละคัน) และที่สำคัญก็คือในกรณีที่ต้องการไปลุยในทางโหดๆหรือทางที่มีหินก้อนใหญ่ๆ ระยะห่างระหว่างเป้ากางเกงกับท่อบนอาจจะไม่มากพอ ที่จะให้ความปลอดภัยได้ในขณะที่รถที่เล็กกว่าตัวเล็กน้อย ข้อเสียจะมีก็เพียงแค่ดูไม่สวยนัก ท่อบนที่ลาดลงมากๆทำให้ดูไม่ค่อยจะขลัง เวลาปั่นด้วยความเร็ว รถจะไม่ค่อยนิ่ง หรืออาจจะรู้สึกแกว่งๆข้อดีที่สำคัญคือ จะว่องไวในทางโค้ง ทรงตัวหรือเลี้ยงตัวได้ดีในทางแคบรวมไปถึงระยะปลอดภัยที่เหลือเฟือสำหรับการลุยข้อสรุปคือคุณควรจะเลือกรถที่มีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่คุณยังขี่ได้อย่างสบาย (ถ้าหากคร่อมsize ก็ควรเลือกขนาดเล็กกว่าไว้จะดีกว่าครับ)
ขั้นที่สองคุณต้องลองมันดูดัวยตัวของคุณเอง เริ่มต้นด้วยการลองปั่นมันไปรอบๆร้าน ดูว่าท่านั่งและความรู้สึกในการบังคับควบคุมเป็นอย่างไร ซึ่งสำหรับผู้ที่ไม่เคยลองมาก่อนอาจจะเป็นเรื่องที่ยากมากสักหน่อย คงต้องอาศัยคนขาย( ซึ่งควรจะไว้ใจได้ ) หรือเพื่อนผู้มีประสพการณ์เป็นผู้ช่วยสังเกตให้ว่าท่านั่งเป็นอย่างไร ท่านั่งที่เหมาะสมนั้นแนวหลังจะทำมุมกับพื้นราบ 45 ํ ศอกจะหย่อนเล็กน้อยไม่ใช่เหยียดตรงจนสุด ส่วนท่านั่งที่ไม่
เหมาะสมนั้นตัวคุณเองอาจจะไม่รู้สึกอะไรในช่วงแรก (เพราะความรู้สึกอยากจะเสียตังค์ซื้อมันมาบดบัง) แต่หลังจากที่ปั่นไปได้สักพักหนึ่ง มันจะเริ่มมีอาการปวดเมื่อยเอว,หลังไหล่,คอ ซึ่งนั่นก็มักจะหลังจากที่คุณจ่ายเงินซื้อมันกลับไปปั่นที่บ้านแล้วเท่านั้น

มันอาจจะใจร้ายไปสักนิด ที่จะบอกว่าคุณจะต้องเป็นผู้สรุปเองว่าพอใจกับรถคันนั้นหรือไม่ เพราะว่าคุณเป็นผู้จ่ายเงิน มิใช่เพื่อนหรือคนขาย ถ้าแน่ใจว่ารถคันนั้นมีขนาดพอดีกับตัวของคุณเองและเป็นที่ถูกใจจริงๆ ก็ซื้อมัน ส่วนเรื่องท่านั่งที่อาจจะรู้สึกว่ายังไม่ค่อยจะลงตัวเท่าไรนัก เรายังสามารถปรับแต่งมันได้อีกพอสมควร

ข้อมูลจาก http://www.bikeloves.com/trick/trick02.shtml ขอบคุณมากครับ
แก้ไขล่าสุดโดย อู๊ด-พีระ เมื่อ 29 มิ.ย. 2011, 11:21, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
Kan-
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1608
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ค. 2010, 16:51
team: แสงเพชร
Bike: TREK 2.5 TREK 8500 TREK 8900 Specialized SL3 tamrac S-Work กำลังหา TREK 6.9 SSL

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย Kan- »

สุดยอดมากครับ
ทำงานเห็นแก่หน้า...!จะต้องตามแก้ปัญหาไม่รู้จบ...!

บันทึก VDO การปั่นของผมครับ http://goo.gl/DCNt3D
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

การติดตามภาพถ่ายล่าสุดจากดาวเทียม

(ภาพนี้เคลื่อนไหวได้ตามสถานการณ์จริงทุก 4-6 ชั่วโมง Auto image)

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ
http://www.dwr.go.th/weblink/ThaiWeatherSat.html
แก้ไขล่าสุดโดย อู๊ด-พีระ เมื่อ 12 มิ.ย. 2012, 15:20, แก้ไขแล้ว 6 ครั้ง
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

51.การเลือกจักรยานเสือภูเขาให้เหมาะกับตัวเรา

เสือภูเขา เพื่อการออกกำลังกาย

รูปภาพ

หลายคนที่ซื้อจักรยานคงทราบกันดีว่า เป็นเรื่องที่ละเอียดพอสมควรในการที่จะได้จักรยานที่เหมาะกับเราจริงๆ เพราะการเลือกจักรยานมีอีกหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นประเภทจักรยาน ส่วนสูง สัดส่วนแขนขา สไตล์การปั่น และความชอบส่วนบุคคล (สี, วัสดุเฟรม, ระบบเบรค, …) แค่ฟังก็ปวดหัวแล้ว

ในหัวข้อเรื่องนี้ (Bicycle fitting) จะว่ากันง่ายๆ ก่อน เป็นการแนะนำขนาดเฟรมรถจักรยานอย่างเบื้องต้นว่าจักรยานไซส์ประมาณไหนจะเหมาะกับขนาดตัวเรา เพื่อให้ผู้ซื้อมีแนวทางก่อนไปทดลองคร่อม ขี่ และปั่นด้วยตัวเองที่ร้านจักรยาน ก่อนที่จะควักสตางค์ออกจากกระเป๋า ซื้อมาแล้วปั่นไม่สบายจะช้ำใจซะเปล่าๆ

จักรยานมีหลายประเภทให้เลือก หลังจากตัดสินใจได้แล้วว่าจะซื้อจักรยานแบบไหน ก็มาถึงการเลือกขนาด หรือไซส์จักรยานให้เหมาะสมกับสรีระของผู้ขี่ จะทำให้ปั่นได้อย่างสบาย ปั่นได้ถูกท่าและเร็วขึ้น การเลือกไซส์จักรยานผิดอาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คอ หลัง แขน ฯลฯ จนหมดสนุกกับการปั่นไปเลย

เขาวัดไซส์จักรยานกันอย่างไร?

รูปภาพ

ไซส์ของจักรยานวัดกันที่ท่อนั่ง ฝรั่งเรียก “Seat tube” คือส่วนของเฟรมจักรยานท่อนที่เราใช้เสียบอานจักรยาน (ดูภาพประกอบ)เริ่มต้นวัดจากกลางกระโหลก ลากยาวขึ้นไปจนถึงปลายท่อด้านบนที่ใช้เสียบหลักอาน หน่วยที่ใช้ในการวัดไซส์ก็ต่างกันไปตามผู้ผลิตเฟรมจักรยาน หน่วยหลักๆ คือ เซนติเมตร (Cm.) นิ้ว (Inch.) และขนาด XS, S, M, L, XL ถึงแม้ว่าไซส์ คือความยาวของ Seat tube นั่นไม่ได้หมายความว่าขนาดเฟรมจะแตกต่างกันเฉพาะความยาวของ Seat tube เท่านั้น ส่วนอื่นๆ ของเฟรมก็จะใหญ่เล็ก สั้นยาว ลดหลั่นตามกันไปด้วย
เลือกไซส์จักรยานให้เข้ากับความสูง
เพื่อให้ได้ไซส์จักรยานที่เหมาะกับผู้ขี่ ควรที่จะวัดความสูงผู้ขี่อย่างถูกต้อง

วิธีวัดความสูงให้ยืนเท้าเปล่า เอาหลังชิดกำแพง ให้เท้าทั้งสองข้างชิดกัน ไหล่ตึง เอาดินสอวางเหนือหัว แล้วขีดเส้นเป็นเครื่องหมายไว้บนฝาผนัง ใช้สายวัดดูความสูงที่ได้

ตารางขนาดเสือภูเขาสำหรับผู้ชาย (ฮาร์ดเทล และฟูลซัส)|Men’s mountain bike sizing chart (hardtail & full suspension)
ความสูงผู้ขี่/Rider Height ขนาดเฟรมที่เหมาะสม/Frame Size Suggested
ความสูง ซม. Inches Size
148 – 158 13 – 14 XS
158 – 168 15 – 16 S
168 – 178 17 – 18 M
178 – 185 19 – 20 L
158 – 193 21 – 22 XL

http://bkbike.com/?p=814
แก้ไขล่าสุดโดย อู๊ด-พีระ เมื่อ 07 พ.ค. 2011, 15:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
รูปประจำตัวสมาชิก
อู๊ด-พีระ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2225
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 11:45
team: หน่วยบริการข้อมูลสังกัดอ่างทองไบค์
Bike: (ขอสงวนลิขสิทธิ์)

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย อู๊ด-พีระ »

ครับผม...!รูปภาพ
[u][color=#008000]บทความที่น่าทบทวน[/color] [color=#FFFFFF]ฉบับปรับปรุง[/color][/u] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800368#p3800368][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#00FFFF]รอบขาศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการปั่นจักรยานสู่ความเป็นเลิศ(4)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3802514#p3802514][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFF00]เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน(18)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4067995#p4067995][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#0000FF]เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา(71)[/color][/url] [url=http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=4401526#p4401526][color=#FF0000]คลิ๊ก>>>[/color][color=#FFFFBF]ฟื้นสภาพตัวเอง หลังปั่นหนักให้เป็น(107)[/color][/url][color=#BFBFBF].........................................................................[/color][color=#BFBFBF] เขียน:[/color]และอีกมากมาย...คลิ๊ก>>>สารบัญ คำภีร์เสือภูเขา-เสือหมอบ ฯลฯ New!
eleven_eleven
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 244
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ค. 2009, 10:37
ตำแหน่ง: เชียงใหม่
ติดต่อ:

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย eleven_eleven »

แน่นอนจริงๆ เยี่ยมมากครับ ;)
รูปประจำตัวสมาชิก
sunsurn(จ่าเป้)
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1544
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ส.ค. 2008, 06:30
Tel: 081-7858094
team: ESSO UTTARADIT
Bike: M5 XT group set แต่เบรคหน้าเป็น deore
ตำแหน่ง: ลับแล อุตรดิตถ์

Re: ☆☆☆ คำภีร์เสือภูเขา ☆☆☆

โพสต์ โดย sunsurn(จ่าเป้) »

:D
ทริปนี้เหนื่อยกว่าพิชิตดอยอินทนนท์ http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 6&t=205674
เช็คพัสดุ http://track.thailandpost.co.th/trackin ... px?lang=th
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร”