วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

สอบถามเทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร เชิญห้องนี้เลย
รูปประจำตัวสมาชิก
tum13
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3569
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2008, 08:10
Tel: 0819095957
team: รวมมิตร , ดอนเมือง , รามอินทรา, 347 Cycling Team
ติดต่อ:

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย tum13 »

ขอบคุณ คุณพล สำหรับบทความนี้
capture-20160804-124044.jpg
capture-20160804-124044.jpg (27.77 KiB) เข้าดูแล้ว 7510 ครั้ง
ผมเองก็คงต้องเบาๆกับการจัด ทริปจัดหนักบ้าง ส่วนคุณพล ก็ลดการเก็บถ้วยรางวัลเพื่อรักษาชีวิตให้ยาวนานเช่นกัน นะ ฮาๆๆๆเพราะเรามันหนุ่มเหลือน้อยแล้ว
รูปประจำตัวสมาชิก
พล 347
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1101
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 20:24
team: 347 Cycling Team
Bike: Cannondale EVO
ติดต่อ:

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย พล 347 »

ขอบคุณครับพี่ตุ้ม จัดหนัก 555
แต่ว่าอีก 2-3 เสาร์ขอจัดไปเขาอีโต้นะครับ ลองสนามแข่งหน่อย
jumpoln
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 พ.ค. 2014, 15:15
Tel: 0819925152
team: ชมรรมจักรยานธ.ก.ส.จังหวัดเชียงใหม่
Bike: TREK,GIANT
ติดต่อ:

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย jumpoln »

ขอบคุณมากครับ สำหรับบทความดีๆ
autsada
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 22
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2014, 10:26

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย autsada »

lucifer เขียน:อ่านแล้ว ไม่ไลค์หรอก แต่เลิฟ เลยหละ

เป็นอุทธาหรณ์ที่ดีสำหรับ สว.ขาแกร่งทุกคน
ที่ออกกำลังกายประจำ หรือ หนักประจำแค่ไหนก็ตาม โดยเฉพาะประเภทแช่โซน 4 หรือ 5 ก็ยังเฉยๆ
ถ้ามีโอกาสก็ควรจะขึ้นไปวิ่งบนสายพานให้หมอหัวใจดูบ้างก็ดีนะครับ อย่าถือว่าฉันแข็งแรงเกินคนวัยเดียวกันที่ไม่ออกกำลังกาย

การทำ exercise stress test จะเป็นสิ่งที่จำลองสภาวะจริงๆที่เราประสพอยู่ ยิ่งถ้าคุยกับหมอหัวใจด้วยว่า ปกติเราปั่นจักรยานแช่HR อยู่ใน zone 4 - 5 ประจำ เขาจะได้มั่นใจในระดับหนึ่งที่จะทดสอบเราในระดับ Metz ที่สูงมากพอ ( บางคนไม่เคยมีประวัติออกกำลังกายเลย บางครั้งจะทำถึงแค่เกณฑ์ที่หมอตั้งใจไว้เท่านั้น แต่อาจจะไม่ใช่ zone สูงสุดที่เราเคยทำได้ )

คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เริ่มผิดปกติในขณะที่ออกกำลังกายหนักๆ จะเป็นตัวบอกภาวะผิดปกติของระบบ conducting system หรือ การนำไฟฟ้าในหัวใจได้เป็นอย่างดี

ในขณะที่การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในขณะนอนนิ่งๆนั้น อาจจะไม่สามารถบอกอะไรได้เลย

ส่วนการทำ Echocardiogram หรือ พูดสั้นๆว่า echo จะเป็นตัวบอกกายวิภาคและการทำงานของลิ้นหัวใจ การทำงานของผนังหัวใจ Flowการไหลของเลือด ซึ่งโดยรวมแล้วจะสามารถบอกถึง พยาธิสภาพของหัวใจได้ดีมากๆเช่นกัน


บางคนลงทุนเรื่องจักรยานแพงๆ แต่ไม่ลงทุนเรื่องอุปกรณ์พื้นฐานอย่าง HRM กันก็มี
สว.แถวบ้านผม อายุ 62 แล้ว ปั่นกับแกทางตรงๆยาวๆนี่ ต้องร้องขอชีวิตกันเลย นักปั่นหญิงล่าถ้วยในทีมเองก็ยังร้องจ๊ากเสมอๆเวลาปั่นด้วยกันกับแก

สิ่งที่พวกเราห่วงกันแต่แกไม่แคร์ก็คือ แกไม่เคยใช้ HRM แกมีแค่ไมล์วัดความเร็วทั้งสิ้น และเชื่อว่าที่แรงนั้น คือ ความแรงบนzone 5 โดยที่ยังแช่ค้างในโซน5 ต่อเนื่องนานๆ ระยะหลังๆเริ่มมีเหตุพิสูจน์ความเชื่อของผมก็คือ แกแผ่วลงเร็วมาก แป้กในหลายๆงาน เชื่อว่าหนักเกินไป แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ พักน้อยเกินไป

ชาว สว. นักปั่นทุกท่าน จงอย่าตั้งในความประมาทแห่งชีวิตนะครับ

"จักรยานอาจจะเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งชีวิต แต่ทั้งชีวิตมิได้มีแต่เพียงจักรยาน"
วลีอมตะ จากเพื่อนร่วมอุดมการณ์ท่านหนึ่งของผม

ขอรบกวนถามคุณหมอนิดนึงนะครับ ว่านอกจากความหนักแล้ว ความนาน เป็นผลเสียมากน้อยแค่ไหนครับ
ผมอายุ 42 ปี ไปปั่นที่ sky lane อาทิตย์ละครั้ง แต่ละครั้งก็ปั่นยาว 6 รอบ แบบไม่พักเลย ใช้เวลาประมาณสี่ชั่วโมงครึ่ง แต่จะไม่ปั่นที่โซนสูงมากนัก จะคุมหัวใจไม่ให้เกิน 150 bpm (ค่าเฉลี่ยจะอยู่ประมาณ 130-140 bpm มีช่วงสั้นๆ ที่สูงกว่า 150 บ้าง)
เคยอ่านบทความเตือนใจประเภทนี้หลายครั้ง และก็กังวลมาตลอด ไม่อยากเป็นคนแข็งแรงที่อายุสั้น
ปั่น 5-6 รอบจนติดและเป็นความชอบไปแล้ว จะให้ลดมาปั่น 3-4 รอบ ก็ยังทำใจไม่ค่อยได้
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย lucifer »

อายุ 42 ปี ต้องดูสุขภาพโดยรวมด้วยว่าเป็นเช่นไรนะครับ

ออกกำลังกายลักษณะนี้ เขาเรียกว่ากลุ่ม weekend worrior มีการศึกษาบางรายงานเคยตีพิมพ์ไว้ว่า ออกกำลังกายหนักครั้งเดียวต่อสัปดาห์ ครั้งละมากกว่า 3500 cal ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ แต่มันก็เป็นการศึกษาในลักษณะ retrospective คือ ศึกษาย้อนหลัง แล้วก็ไม่ได้ควบคุมปัจจัยอื่นๆ เพราะคนกลุ่มนี้มักจะเป็นกลุ่มคนทำงานสำนักงาน ที่ จ.-ส. ไม่มีเวลาว่าง และมักจะมีสุขภาพเดิมที่ไม่ดี บางคนก็ไขมันสูง บางคนก็สูบบุหรี่ ดังนั้นการศึกษาพวกนี้จึงต้องคิดถึงปัจจัยเสี่ยงในกลุ่มประชากรที่เขาศึกษากันด้วย เพราะฝรั่งกับคนไทยเอง life style ก็ไม่เหมือนกัน

บทความที่คุณพล เรียบเรียงมานี้ โดยรวมแล้วกล่าวถึงผลการออกกำลังกายหนักๆนานๆ และต่อเนื่องกันจนแทบไม่ได้พัก ซึ่งจะเจอกับพวกนักไตรกีฬา หรือ นักวิ่งมาราธอนระดับล่าถ้วยและเงินรางวัลครับ สำหรับพวกเรานั้นหรือกลุ่มสว.วัยเกิน 50 ก็ให้ระมัดระวังกันไว้

****************************************************************

ประสพการณ์ในการใช้ power meter ทำให้ผมได้รู้จักเครื่องมืออันหนึ่ง คือ ค่า TSS หรือ Training stress score ซึ่งมันเป็นค่าที่ได้จากการคำนวณจากความหนัก และระยะเวลา โดยเอาพื้นฐานของค่า FTP ซึ่งเป็นความสามารถเฉพาะของตัวเราเอง ถ้าหากเราหมั่นทดสอบ FTP ทุกๆ 1 -1.5 เดือน ค่าTSSที่ได้ก็จะแม่นยำครับ

ค่า TSS บอกให้รู้ว่า การออกกำลังกายในขณะนั้นหนักมากน้อยแค่ไหน เพราะมันสามารถคำนวณให้ดูกันในขณะนั้นผ่านพวก garmin ได้เลย อย่างน้อยมันก็บอกหละว่า ถ้าพรุ่งนี้ต้องทำงาน แค่นี้ก็น่าจะเบาๆลงได้แล้ว ​( แต่ต้องเข้าใจ และแปลผลเป็น )

และที่สำคัญ TSS ช่วยให้เรากะเกณฑ์ได้ว่า ควรจะพักแค่ไหน และเมื่อเอามันมาคำนวณด้วยโปรแกรมบางอัน หรือ กรณีของStava premium ซึ่งแค่upload ข้อมูลการปั่นขึ้นไป ถ้าค่า FTP ที่เรากรอกลงไปเป็นค่าที่ถูกต้อง หรือ ใกล้เคียง โปรแกรมมันก็จะคำนวณสร้างเป็นกราฟให้ดูว่า เราซ้อมสะสมกันมาได้ประโยชน์แค่ไหน ล้าสะสมแค่ไหน และสรุปว่าควรจะไปต่อ ควรจะพัก หรือ ควรจะเบาลง อะไรพวกนี้ แต่สำหรับ weekend worrior ก็อาจจะไม่ได้ประโยชน์อะไร เพราะมีเวลาพัก 6 วัน ผลที่ได้ก็จะลดน้อยลงหมด ดังนั้นการออกกำลังกายในลักษณะนี้จึงต้องระมัดระวังเรื่องความหนักให้ดี เพราะจะให้ผลต่อการเพิ่ม aerobic capacity ไม่มากนัก เนื่องจาก พอหยุดพักไปเกิน 3 วัน ผลของการฝึกก็จะลดน้อยลง

อายุ 42 ปี ถ้าว่าตาม Max HR จากการคำนวณ ก็คงอยู่แถวๆ180 ( จริงๆแล้วอาจจะเคยพบว่ามันมากกว่านั้นก็ได้ ,​เพราะอย่างผม อายุ 55 ยังปาเข้าไป 183 bpm , ค่าจากการคำนวณไม่ค่อยแม่นเท่าไหร่สำหรับคนที่ออกกำลังกายมาตั้งแต่อายุวัยรุ่น ,​ผมเอง Max HR เปลี่ยนแปลงน้อยมาก 10 กว่าปีก่อน เคยทำได้ 186 ปัจจุบันล่าสุดเมื่อไม่กี่เดือนมา ก็ทะลุไป 183 หรือ 184 นี่ไม่ได้จำซะด้วย ต้องไปแกะ garmin connect ดู )

130 - 140 มันก็ควรจะป้วนเปี้ยนอยู่แถวๆ zone 2 เท่านั้นแหละ มองโดยองค์รวมแล้ว ก็ต้องดูว่าค่า RPE อยู่แค่ไหน แต่คิดว่า น่าจะไม่เหนื่อยนะ ปั่นไปคุยไปและหัวเราะกับเพื่อนในกลุ่มได้อย่างสบายๆ ปั่นแบบนี้ 6 รอบ ก็ไม่ใช่ปัญหาหรอกครับ
ไฟล์แนบ
Screen Shot 2559-08-06 at 07.50.27.png
Screen Shot 2559-08-06 at 07.50.27.png (53.23 KiB) เข้าดูแล้ว 7502 ครั้ง
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
autsada
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 22
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2014, 10:26

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย autsada »

lucifer เขียน:อายุ 42 ปี ต้องดูสุขภาพโดยรวมด้วยว่าเป็นเช่นไรนะครับ

ออกกำลังกายลักษณะนี้ เขาเรียกว่ากลุ่ม weekend worrior มีการศึกษาบางรายงานเคยตีพิมพ์ไว้ว่า ออกกำลังกายหนักครั้งเดียวต่อสัปดาห์ ครั้งละมากกว่า 3500 cal ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ แต่มันก็เป็นการศึกษาในลักษณะ retrospective คือ ศึกษาย้อนหลัง แล้วก็ไม่ได้ควบคุมปัจจัยอื่นๆ เพราะคนกลุ่มนี้มักจะเป็นกลุ่มคนทำงานสำนักงาน ที่ จ.-ส. ไม่มีเวลาว่าง และมักจะมีสุขภาพเดิมที่ไม่ดี บางคนก็ไขมันสูง บางคนก็สูบบุหรี่ ดังนั้นการศึกษาพวกนี้จึงต้องคิดถึงปัจจัยเสี่ยงในกลุ่มประชากรที่เขาศึกษากันด้วย เพราะฝรั่งกับคนไทยเอง life style ก็ไม่เหมือนกัน

บทความที่คุณพล เรียบเรียงมานี้ โดยรวมแล้วกล่าวถึงผลการออกกำลังกายหนักๆนานๆ และต่อเนื่องกันจนแทบไม่ได้พัก ซึ่งจะเจอกับพวกนักไตรกีฬา หรือ นักวิ่งมาราธอนระดับล่าถ้วยและเงินรางวัลครับ สำหรับพวกเรานั้นหรือกลุ่มสว.วัยเกิน 50 ก็ให้ระมัดระวังกันไว้

****************************************************************

ประสพการณ์ในการใช้ power meter ทำให้ผมได้รู้จักเครื่องมืออันหนึ่ง คือ ค่า TSS หรือ Training stress score ซึ่งมันเป็นค่าที่ได้จากการคำนวณจากความหนัก และระยะเวลา โดยเอาพื้นฐานของค่า FTP ซึ่งเป็นความสามารถเฉพาะของตัวเราเอง ถ้าหากเราหมั่นทดสอบ FTP ทุกๆ 1 -1.5 เดือน ค่าTSSที่ได้ก็จะแม่นยำครับ

ค่า TSS บอกให้รู้ว่า การออกกำลังกายในขณะนั้นหนักมากน้อยแค่ไหน เพราะมันสามารถคำนวณให้ดูกันในขณะนั้นผ่านพวก garmin ได้เลย อย่างน้อยมันก็บอกหละว่า ถ้าพรุ่งนี้ต้องทำงาน แค่นี้ก็น่าจะเบาๆลงได้แล้ว ​( แต่ต้องเข้าใจ และแปลผลเป็น )

และที่สำคัญ TSS ช่วยให้เรากะเกณฑ์ได้ว่า ควรจะพักแค่ไหน และเมื่อเอามันมาคำนวณด้วยโปรแกรมบางอัน หรือ กรณีของStava premium ซึ่งแค่upload ข้อมูลการปั่นขึ้นไป ถ้าค่า FTP ที่เรากรอกลงไปเป็นค่าที่ถูกต้อง หรือ ใกล้เคียง โปรแกรมมันก็จะคำนวณสร้างเป็นกราฟให้ดูว่า เราซ้อมสะสมกันมาได้ประโยชน์แค่ไหน ล้าสะสมแค่ไหน และสรุปว่าควรจะไปต่อ ควรจะพัก หรือ ควรจะเบาลง อะไรพวกนี้ แต่สำหรับ weekend worrior ก็อาจจะไม่ได้ประโยชน์อะไร เพราะมีเวลาพัก 6 วัน ผลที่ได้ก็จะลดน้อยลงหมด ดังนั้นการออกกำลังกายในลักษณะนี้จึงต้องระมัดระวังเรื่องความหนักให้ดี เพราะจะให้ผลต่อการเพิ่ม aerobic capacity ไม่มากนัก เนื่องจาก พอหยุดพักไปเกิน 3 วัน ผลของการฝึกก็จะลดน้อยลง

อายุ 42 ปี ถ้าว่าตาม Max HR จากการคำนวณ ก็คงอยู่แถวๆ180 ( จริงๆแล้วอาจจะเคยพบว่ามันมากกว่านั้นก็ได้ ,​เพราะอย่างผม อายุ 55 ยังปาเข้าไป 183 bpm , ค่าจากการคำนวณไม่ค่อยแม่นเท่าไหร่สำหรับคนที่ออกกำลังกายมาตั้งแต่อายุวัยรุ่น ,​ผมเอง Max HR เปลี่ยนแปลงน้อยมาก 10 กว่าปีก่อน เคยทำได้ 186 ปัจจุบันล่าสุดเมื่อไม่กี่เดือนมา ก็ทะลุไป 183 หรือ 184 นี่ไม่ได้จำซะด้วย ต้องไปแกะ garmin connect ดู )

130 - 140 มันก็ควรจะป้วนเปี้ยนอยู่แถวๆ zone 2 เท่านั้นแหละ มองโดยองค์รวมแล้ว ก็ต้องดูว่าค่า RPE อยู่แค่ไหน แต่คิดว่า น่าจะไม่เหนื่อยนะ ปั่นไปคุยไปและหัวเราะกับเพื่อนในกลุ่มได้อย่างสบายๆ ปั่นแบบนี้ 6 รอบ ก็ไม่ใช่ปัญหาหรอกครับ
ขอบคุณมากครับ คุณหมอตอบเร็วมาก :lol:

สุขภาพโดยรวมค่อนข้างดีครับ ไม่มีปัญหาสุขภาพมาก่อน ไม่อ้วน ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ และไม่มีปัญหาเรื่องเวลาพักผ่อนด้วยครับ และก็ออกกำลังกายมาตลอดตั้งแต่สมัยวัยรุ่น เมื่อก่อนเป็นเล่นฟุตบอล

ปัจจุบัน วันธรรมดาปั่นเทรนเนอร์ตอนเช้า 4 วัน วันละ 1 ชั่วโมง (เน้น interval) ตอนเย็นเล่นเวท 2 วัน วันละครึ่งชั่วโมง

วันปั่นยาวสุดสัปดาห์ ก็ตามที่คุณหมอว่าแหละครับ ความหนักประมาณโซน 3 ปั่นไปคุยไปได้ เคยได้ Max HR 178 ตอนไปแข่งครับ

ค่อยสบายใจหน่อยครับ ดูเหมือนจะไม่ได้หนักเกินไป
waranon1974
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 722
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ม.ค. 2013, 18:48
Bike: Super Six EVO Hi-Mod
ตำแหน่ง: 111/11 ถนนรัษฎา ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง 92000
ติดต่อ:

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย waranon1974 »

ขอบคุณมากครับ
กระทู้ทรงคุณค่า
jiabhooligan
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 539
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.พ. 2013, 15:25
team: Crazy Bike Phuket
ติดต่อ:

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย jiabhooligan »

:)
จักยานที่ดีที่สุดคือจักรยานที่ใช้บ่อยที่สุด
รูปประจำตัวสมาชิก
daen
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 68
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ม.ค. 2011, 16:34
Tel: 0892764464
team: ชมรมจักรยาน จ.หนองบัวลำภู
Bike: เสือลุ่มภู

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย daen »

สุดยอด ครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
jongrak003
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 14
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 มิ.ย. 2016, 08:16
Bike: trek 4300

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย jongrak003 »

ขอบคุณครับ เตือนสติได้ดีเลยครับ ผมปั่นอยู๋146-162 สูงก้อ170กว่าา ครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
badminton
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1665
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ส.ค. 2008, 10:38
team: Aonang Jewelry
Bike: จักรยานตราจระเข้

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย badminton »

อาทิตย์ที่ผ่านมาตอนเย็นๆก็ไปออกกำลังกายตามปกติระหว่างทางก็เห็นเพื่อนนักปั่นจักรยานกลุ่มหนึ่งประมาณ 10 กว่าคนกำลังช่วยเหลือเพื่อนคนหนึ่งที่นอนอยู่ ก็เลยจอดเข้าไปถามดูว่าโดนรถเฉี่ยวหรือว่าเกี่ยวกันล้มเพื่อนในกลุ่มบอกว่าแกวูบไป ดูจากอาการก็สาหัสอยู่ สักพักแกก็ลุกขึ้นนั่งเริ่มพูดคุยได้ แกก็เล่าให้ฟังว่าพออัดขึ้นเนินตามเพื่อนมาถึงยอดเนินแล้วปล่อยรถให้ไหลลงมาสักพักแกก็วูบไปเลย ก็ยังโชคดีที่ไม่มีรถตามหลังมา อายุก็ประมาณ 40 ต้นๆได้
รูปประจำตัวสมาชิก
อ๊อดบางโพ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 577
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 09:33
Tel: 0841581313
team: พระราม5
Bike: giant
ติดต่อ:

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย อ๊อดบางโพ »

ขอบคุณครับพี่กำลังจะขึ้น50ปีคิดๆอยู่ว่าจะกลับมาแข่งบ้างเพื่อดูความฟิตของตัวเองสงสัยคงต้องเบาลงดีกว่าเอาสนุกๆดีกว่าครับเราไม่รู้ว่าระบบหัวใจจะผิดจังหวะหรือ ไขมันหรือริ้มเลือดจะไปอุดตันในเส้นเลือดเส้นไหน ขอบคุณครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
Natveerothai
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 73
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2015, 19:01
team: OSK Cycling club
Bike: Merida TFS 500
ตำแหน่ง: Buengkum Bangkok

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย Natveerothai »

ขอบคุณมากครับ
bre_th
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ต.ค. 2014, 11:18
Bike: De Rosa, Colnago eXtralight, TOEI Randonneur, Boardwalk, Traincle, Dahon Classic, Hon Classic
ติดต่อ:

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย bre_th »

เยี่ยมเลยครับ อ่านแล้วได้ความรู้เยอะดีครับ
บรรศักดิ์
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2059
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 เม.ย. 2012, 11:51
Tel: 0812683291
Bike: Araya Excella Race, Tern Clutch, Splading, Bridgestone Grandtech

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย บรรศักดิ์ »

ขอบคุณครับ ของผมปั่นช้าๆไม่เกิน 20 เมื่อยขามากๆก็หยุด ถ้าออกอาการหาวน้ำตาไหลเมื่อไรก็เลิก แสดงว่าร่างกายเริ่มไม่ไหวแล้ว ขี่รถกลับบ้านได้เลย
ขี่จนกว่าจะหมดแรง
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร”