วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

สอบถามเทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร เชิญห้องนี้เลย
รูปประจำตัวสมาชิก
พล 347
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1101
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 20:24
team: 347 Cycling Team
Bike: Cannondale EVO
ติดต่อ:

วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย พล 347 »

ปั่นประเภทจัดหนัก -โหด ไกล และ บ่อย ๆ ทำร้ายหัวใจกันเกินไปมั๊ย???
Are endurance athletes hurting their hearts by repeatedly pushing beyond what is normal?
Words by Chris Case.

บทความนี้เผยแพร่ในวารสาร Velo news กลางปี 2015 ได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายท่ามกลางหมู่นักปั่น มีการตื่นตัวให้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมมากขึ้น ในเรื่องภาวะคลื่นหัวใจผิดปกติกับนักปั่นจัดหนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ผู้สูงวัย

ผมอ่านแล้วแปลเอานะครับ ไม่ได้มีความรู้เรื่องนี้เท่าไร ถูกผิดไม่ว่ากัน อาศัยว่าอยู่ในวัยเสี่ยงเท่านั้นเอง ใครสนใจอ่านต้นฉบับที่นี่เลยครับ
From <http://velonews.competitor.com/cycling-extremes>
clip_image002.jpg
clip_image002.jpg (14.32 KiB) เข้าดูแล้ว 30056 ครั้ง
ยามเช้าที่สดใสสวยงามท่ามกลางฤดูร้อนกลางเดือนกรกฏา ปี 2013 แสงอาทิตย์ส่องสว่างสะท้อนเทือกเขาหินสีแดงเข้มเหนือเมืองโบวเดอร์ โคโลราโด้ เลนนาร์ด ซินน์ กูรูนักปั่นชื่อดัง ผู้ก่อตั้งซินน์ไซคลิ่ง ทีมงานรุ่นเดอะแห่ง Velo News ผู้หลงรักการปั่นประเภทจัดหนักเป็นชีวิตจิตใจ และอดีตนักปั่นสังกัดทีมชาติ USA กำลังก้มหน้าก้มตาปั่นไต่เทือกเขาแฟลกสต๊าฟที่เขาหลงไหล เป็นการไต่เขาธรรมดาที่ทำมาครั้งแล้วครั้งเล่าเป็นร้อย ๆ ครั้งแล้ว

...เพียงแต่ครั้งนี้...ไม่เหมือนเดิม...

...และหารู้ไม่ ชีวิตของเขากำลังจะเปลี่ยนไปตลอดกาล..

...เมื่อเสียงหัวใจเขาเริ่มเต้นดังยังกะเสียงข้าวโพดคั่วแตก ตัวเลขฮาร์ดเรทมันกระโดดโลดเต้นพุ่งพรวดจากปกติ 155 ไปถึง 218 ครั้งต่อนาทีและแช่ยาวอยู่ตรงนั้น แน่นอนเขากลับเมินเฉยและละเลยที่จะตอบสนองต่อสิ่งที่ร่างกายเขาฟ้องมาแต่อย่างใด...

เขารู้สึกตัวอีกครั้งที่ห้องฉุกเฉิน รพ ท้องถิ่นบ่ายวันนั้น ถูกนำเข้าหอพักผู้ป่วยโรคหัวใจทันที แม้ว่าเขารับฟังในคำวินิจฉัยของทั้งหมอห้องฉุกเฉินและหมอโรคหัวใจ แต่ใจเขาก็ยังคงรู้สึกค้านและละเลยคำเตือนของหมอเหล่านั้น

หลังจากยอมพักฟื้นระยะหนึ่งเพื่อเอาใจคำสั่งหมอ เขากลับไปซ้อมปั่นและแข่งต่อเหมือนเดิม เพียงแต่คราวนี้หมอบังคับให้เขาพกสายอิเล็คโตรดและเครื่องวัดคลื่นหัวใจอันพะรุงพะรังติดตัวไปด้วยความหวังว่าอาการหัวใจซึ่งกระโดดโลดเต้นไปที่ 200 กว่าจะเกิดขึ้นอีกครั้งและหมอจะได้วิเคราะห์ได้ดีขึ้น ซึ่งสร้างความรำคาญให้กับเขาพอสมควรเมื่อเริ่มปั่นหนักขึ้นและหนักขึ้น แต่ที่สร้างความอึดอัดหาวเรอมากกว่านั้นก็ตอนที่เขาเริ่มได้รับโทรศัพท์ดึก ๆ บ่อยขึ้นจากพยาบาลที่ได้รับมอบหมายให้เฝ้าดูสัญญาณ EKG ระยะไกลจากเครื่องของเขา

ข่าวร้ายที่เขาได้รับแจ้งเสมอ ๆ คือ เขามีภาวะหัวใจหยุดเต้นชั่วคราวเป็นเวลา 2-3 วินาที
clip_image004.jpg
clip_image004.jpg (13.35 KiB) เข้าดูแล้ว 30056 ครั้ง
3 เดือนผ่านไป ย่างเดือนตุลาฯ ซินน์ได้รับผลวิเคราะห์อย่างเป็นทางการ ยืนยันว่าเขาเป็น Multifocal Atrial Tachycardia ซึ่งเป็นอาการว่าด้วยหัวใจ คลื่นหัวใจ โหนด คลัสเตอร์ ตัวควบคุมการเต้นหัวใจ อันเป็นภาวะการเต้นหัวใจสับสนประเภทหนึ่ง เอาเป็นว่าผมไม่แปลศัพท์พวกนี้ก็แล้วกัน มันยาก

และนั่นก็เพียงพอที่ทำให้เขาหันมาสนใจคำเตือนของหมออย่างจริงจังมากขึ้นและเริ่มหยุดการแข่งขัน ลดอันดับตัวเองจากนักแข่งล่ารางวัล ยกเลิกการฝึกซ้อมแบบโหด ๆ หันมาเปลี่ยนแปลงชีวิตหลาย ๆ ด้าน เริ่มยอมรับตัวเองว่าเขาจะหันกลับใช้ชีวิตแบบเดิม ๆ ที่เคยทำมาไม่ได้อีกต่อไป ถ้าคิดยังอยากจะมีชีวิตอยู่

วิถีแห่งจักรยานที่ผ่านมากำลังไล่ล่าชีวิตเขาหรือ?

ซินน์ไม่โดดเดี่ยวโด่เด่ในเรื่องนี้ ในช่วงที่เขากำลังปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอยู่นั้น เขาเริ่มติดต่อเพื่อนฝูงนักปั่นเก่า ๆ ที่เคยแข่งขันด้วยกันสมัยหนุ่ม ๆ ที่ยังคงปั่นกันอยู่อย่างหนักหน่วงและต่อเนื่องในวัยย่าง 50 พบว่าหลายคนรวมทั้งเพื่อนร่วมทีมเขาเองด้วย ส่ออาการคล้าย ๆ กัน บางคนที่เป็นหนักกว่าด้วยก็มี มันไม่ได้เป็นแค่เรื่องบังเอิญเสียแล้ว เขาเป็นหนึ่งในหลาย ๆ คนทีเดียว

ไมค์ เอ็นดิคอต หนึ่งในนั้น เขาเป็นนักปั่นประเภทจัดหนักมาตั้งแต่วัยรุ่น
"โดยนิสัย ผมชอบปั่นจักรยาน และใช้การแข่งเป็นการซ้อม ในขณะหลายคนซ้อมเพื่อแข่ง ผมใช้การแข่งเพื่อจะบอกตัวเองว่าฟิตขนาดไหน แถมยังชอบกิจกรรมกลางแจ้งหลายอย่างมาก" ไมค์เล่าให้ฟัง
ไมค์ใช้เวลา 6 เดือนหน้าหนาวแข่งสกีครอสคันครีและสกีจั๊ม และอีก 6 เดือนแข่งจักรยาน สรุปทั้งปีไม่เคยหยุดและยังทำงานหนักเพื่อเลี้ยงชีพด้วย

มันเหมือนกับจุดไฟเผาเทียนทั้งสองด้านพร้อม ๆ กัน แน่นอนเขามีชีวิตที่ดี๊ดี แต่เขากำลังทำร้ายมันโดยไม่รู้ตัว
และแล้ว วันหนึ่งในปี 2005 ขณะแข่งสกีแถวหุบเขา เฟรเซอ โคโลราโด เรื่องเล่าเดิม ๆ ก็เกิดขึ้น มันเปลี่ยนแปลงชีวิตเขาตลอดกาล

คืนก่อนแข่ง เขานอนไม่ค่อยหลับเท่าไร ซึ่งเป็นเรื่องปกติ อาจตื่นเต้นมากไปหน่อย ไม่กินมื้อเช้ามากนัก เขาซดกาแฟไปสองแก้วก่อนแข่งชั่วโมงนึง ตามด้วยเจลให้พลังงานประเภทมีคาเฟอิน อุณหภูมิใกล้เคียงศูนย์ ท้องฟ้าไร้แดดโดยสิ้นเชิง หิมะตกเบา ๆ บรรยากาศช่างเป็นใจเหลือเกินสำหรับพายุร้าย ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในชีวิต

มันเป็นการแข่งขันที่สนุกมาก แต่ขณะที่เขากำลังไล่สกีขึ้น ๆ ลง ๆ ในทันใดนั้นเองเริ่มรู้สึกแปลก ๆ บางอย่างไม่ปกติ รู้สึกได้ถึงบางสิ่งเต้นตึงตังภายในทรวงอก ไม่เจ็บ ไม่ปวด แต่เริ่มรู้สึกมึน เวียนหัวตาลาย คล้าย ๆ คนเมาเหล้า พยายามฝืนตัวยืนไว้หรือไม่งั้นอาจล้ม รู้สึกแปลก ๆ ในหัวใจ นักสกีคนอื่นเริ่มแซงไปจนหมด ในที่สุดเขาล้มนอนลงท่ามกลางหิมะ เริ่มไม่รู้สึกตัว หายใจติดขัด พยายามเรียกให้คนช่วย แต่ไม่มีเสียงออกมา ได้แต่ยกมือโบกไปมา เริ่มรู้สึกว่าตัวเองกำลังจะตาย
โชคเขายังดี เพื่อนสองคนที่คูลดาวน์หลังจากเข้าเส้นชัยไปแล้วหันมาเห็นเข้า
clip_image006.jpg
clip_image006.jpg (12.77 KiB) เข้าดูแล้ว 30056 ครั้ง
ไมค์ถูกตรวจพบมีอาการ ventricular tachycardia (VT) ภาวะหัวใจด้านซ้ายเต้นเร็วผิดปกติ ( fast heart rhythm, that originates in one of the ventricles of the heart) ซึ่งเสี่ยงต่อหัวใจวายและทำให้ตายได้ (potentially life-threatening) ไมค์อายุเพิ่ง 50 เขารอดตายอย่างหวุดหวิด และนั่นเป็นเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตเขาไปตลอดกาล

เรื่องของหัวใจกับจักรยาน

จักรยานเป็นกีฬาที่ไม่เหมือนกีฬาประเภทอื่นเท่าไรนักก็ตรงที่เรื่องจัดหนักนี่แหละ นอกเหนือการฝึกซ้อมอย่างหนักในวันธรรมดาแล้ว ทริปจัดหนักช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์อย่างน้อย 4-6 ชั่วโมงหรือปั่นมันทั้งวันยังเป็นเรื่องธรรมดาไป สำหรับนักแข่งแล้วนี่เป็นวิธีเดียว การฝึกซ้อมกันหนัก ๆ เพื่อรับมือกับการแข่งขันที่รออยู่ข้างหน้านั่นเอง
clip_image008.jpg
clip_image008.jpg (16.95 KiB) เข้าดูแล้ว 30056 ครั้ง
แต่ฟิตจัดสำหรับการแข่งขันไม่ได้หมายถึงสุขภาพที่ดีเยี่ยมเสมอไปหรอกหรือ

มีเรื่องราวมากมายที่บ่งชี้ว่านักกีฬาระดับโปรไม่ได้มีสุขภาพที่ดีเสมอไป นักวิ่งมาราธอนระดับโลก อัลเบอโต้ ซัลซาอายุ 48 หัวใจหยุดเต้นไปถึง 14 นาทีก่อนที่เส้นเลือดที่อุดตันถูกทะลวงด้วยแพทย์สามารถช่วยชีวิตเขาไว้ได้ ไมก้า ทรู นักวิ่งไกลกว่ามาราธอนวิ่งได้แค่ 12 ไมล์ในงานแข่งนิวเม็กซิโก ก่อนจะถูกพบตายคาสนามวิ่ง

ย้อนหลังไปนานกว่านี้ 490 ปีก่อนคริสตกาลโน่น นักวิ่งส่งสารอายุ 40 ต้นตำนานวิ่งมาราธอนตายหลังจากส่งสารเรื่องกรีกชนะสงครามมาราธอนกับเอเธน หมอนี่วิ่งสองวันกว่า 240 กม. เพื่อขอความช่วยเหลือจากสปาตา และวิ่งกลับอีก 42 กมและตายทันทีที่ถึงจุดหมาย (นี่เป็นที่มาว่าทำไมวิ่งมาราธอนต้องเป็น42 กม.) น่าเศร้าที่เรากลับรำลึกถึงการตายของเขาด้วยการจัดวิ่งมาราธอนเป็นประเพณี

การตายเหล่านี้ดูน่ากลัวมากขึ้นเมื่อเห็นว่าผู้ตายล้วนแล้วแต่เป็นนักกีฬาที่ฟิตสุดยอด แข็งแรงสุดขีดกันทั้งนั้น แล้วการออกกำลังกายไม่ได้ช่วยให้หัวใจแข็งแรงขึ้นหรอกหรือ???

หลายปีมานี้เหล่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจทำการศึกษาผู้ออกกำลังกายสุดโต่งเหล่านี้และได้สมมุติฐานเบื้องต้นว่าภาวะการตายเหล่านั้นไม่ใช้เรื่องแปลกแต่อย่างใด บางครั้งเรื่องดี ๆ ที่ล้นไปก็ทำให้"สำลัก"ได้หากมันเป็นเรื่องของ "หัวใจ"
หัวใจ ชิ้นส่วนเดียวของคนเราเต้นเป็นจังหวะต่อเนื่องมากกว่า 100,000 ครั้งต่อวันโดยไม่หยุดพัก แม้ขณะนั่งพักหัวใจยังคงปั๊มเลือดมากถึง 5 ลิตรต่อนาทีไปสูบฉีดร่างกาย และอาจสูงถึง 25-30 ลิตรขณะวิ่งหรือปั่นทีเดียว หัวใจมนุษย์ถูกสร้างให้ทำงานหนักสูงขนาดนี้เชียวหรือ หลาย ๆ ชั่วโมงอย่างต่อเนื่องและทุก ๆ วัน โดยเฉพาะนักกีฬาที่ชอบจัดหนักและแข่งขันต่อเนื่องมาหลายปี หัวใจพวกเขาทำงานหนักเลยขีดความสามารถมาตลอด ใช่สิ่งนี้หรือไม่ที่กำลังคร่าชีวิตเขาอยู่

เพื่อให้เข้าใจเรื่องราวเหล่านี้มากขึ้นอีกสักนิด คงหนีไม่พ้นที่ต้องมาทำความรู้จักเจ้าหัวใจน้อย ๆ นี้บ้าง
หัวใจมีการทำงานอยู่สองระบบ ระบบแรกคือระบบลำเลียงเลือด (plumbing)และระบบที่สองที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักเท่าไรคือระบบไฟฟ้าครับ

ระบบลำเลียงเลือดประกอบด้วยเส้นเลือดและสี่ห้องหัวใจที่ทำหน้าที่สูบฉีด เท่าที่เราเรียนกันมาคร่าว ๆ ห้องด้านขวา ฉีดเลือดดำที่ใช้แล้วไปปอด ขณะที่หัวใจฝั่งซ้ายสูบฉีดเลือดแดงรับมาจากปอดไปสู่ร่างกาย ในภาวะปกติ การเต้นของหัวใจในการสูบฉีดของแต่ละห้องเป็นจังหวะจะโคนสอดคล้องกันหมด

หนึ่งในห้าของคนเป็นโรคหัวใจมีโอกาสเกิด ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden cardiac heath) ได้ แต่โอกาสที่จะเกิดขณะกำลังออกกำลังกายอยู่นั้นน้อยมาก ถ้าจะมีบ้างก็เป็นพวกหัวใจวาย ซึ่งก็มักจะมีสาเหตุมาจากภาวะไขมันสะสมในหลอดเลือดซึ่งทำให้หลอดเลือดหนาและตีบตัน (Atherosclerosis) เสียมากกว่า
clip_image010.jpg
clip_image010.jpg (13.3 KiB) เข้าดูแล้ว 30056 ครั้ง
โรคหัวใจอันเกิดจากการเต้นที่ผิดปกตินั้นสลับซับซ้อนขึ้นไปอีก นี่เองที่ระบบไฟฟ้าของหัวใจเข้ามาเกี่ยวข้อง อันว่าสรีระวิทยาของร่างกายคนเรานั้น เมื่อทำงานในภาวะปกติทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประจุไฟฟ้า ซึ่งสามารถตรวจจับได้ หัวใจก็เช่นเดียวกัน ทุกครั้ง ที่หัวใจเต้นจะมีการเปลี่ยนแปลงประจุไฟฟ้าเกิดขึ้น ในคนที่สุขภาพปกติดี รูปร่างของคลื่นประจุไฟฟ้หัวใจมีรูปแบบ แพทเทิร์นที่ชัดเจน และเมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้น ก็สามารถบอกได้จากรูปคลื่นไฟฟ้าได้ โดยทฤษฎีแล้วมันบอกอะไรได้เยอะมาก และใช้กันแพร่หลายในการตรวจสุขภาพหัวใจ

ทีนี้เมื่อเราซ้อมกันหนัก ๆ หัวใจก็มีการปรับตัวตาม ที่เจอบ่อย ๆ คือหัวใจจะเต้นช้าลงขณะพัก ก็เพราะว่ามันแข็งแรงขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่ที่หลายคนเจอเพิ่มก็คือเต้นช้ามาก ๆ เหมือนจะเกิดการเต้นข้ามจังหวะ (skipping a beat) แต่ภาวะพวกนี้ก็ไม่มีอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด

Overdose เมื่ออะไร ๆ มันมากเกินไป?

การเติบโตของวงการออกกำลังกายโดยเฉพาะจักรยานเกิดขึ้นทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย ผมยังจำได้ว่า 10 ปีที่แล้วงานปั่นขึ้นดอยอินทนนท์มีคนขี่ต่ำกว่า 200 คน มาปีนี้ (2016) มียอดผู้ร่วมปั่นมากกว่า 5000 คน โตมากกว่า 25 เท่าในรอบสิบปีทีเดียว ข่าวเรื่องนักปั่น นักวิ่ง นักฟุตบอลระดับโลกล้มตายคาสนามมีให้เห็นอย่างสม่ำเสมอ ทั้งเมืองไทยและเมืองนอก ส่งผลให้มีการศึกษาวิจัยเรื่องผลกระทบข้างเคียงต่อหัวใจของการออกกำลังกายหนัก การใช้งานหัวใจอย่างสุดโต่ง จากต่ำสุดโต่งสู่สูงสุดโต่ง จากต่ำกว่า 60 สู่สูงกว่า 200 ครั้งต่อนาที เริ่มเป็นจริงเป็นจังมากขึ้น

หัวใจเองก็เริ่มปรับตัวเองให้โตขึ้น ผนังหนาขึ้น แข็งแรงขึ้น และตอบสนองต่ออะดรีนาลีนหลั่งได้รวดเร็วขึ้น เราเรียกเรื่องพวกนี้ว่าความฟิต แต่มันจะเป็นเรื่องสุขภาพที่ดีขึ้นหรือไม่นั้น ยังเป็นที่ถกเถียงกัน

สังคมนักวิทยาศาสตร์การกีฬาเคยมีตำตอบชัดเจนไหม ว่าการออกกำลังกายมากแค่ไหนจึงจะถือว่ามาก ควรใช้เวลากี่ชั่วโมง หรือหนักเบาแค่ไหน ทั้งมือใหม่และโปรทั้งหลาย "แม่รง ไม่มีว่ะ" เป็นคำตอบที่ชัดเจนที่สุด มันเป็นคำถามโลกแตกจริง ๆ เพราะสิ่งที่พวกนักปั่นสุดโต่งเหล่านี้ทำหรือซ้อมอยู่ในปัจจุบัน มันโหดมากกว่าสิ่งที่เรียกว่าปกติในอดีตมากนัก ซึ่งน่าเป็นห่วงว่าอาจส่ออาการความเสียหายกับหัวใจ แม้พวกเขาจะสังเกตความผิดปกติหรือสัญญาณเตือนเหล่านี้ได้บ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็มักเพิกเฉยและละเลยที่จะให้ความสนใจกับมัน
clip_image012.jpg
clip_image012.jpg (12.09 KiB) เข้าดูแล้ว 30056 ครั้ง

Atrial Fibrillation (AF) เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหนึ่ง พบในหมู่นักกีฬาประเภทจัดหนักต่อเนื่องและยาวนานสูงถึง 5 เท่าของคนปกติ ข้อสังเกตุที่น่าสนใจอันหนึ่งคือ คนหนุ่มที่ออกกำลังกายน้อยมีความเสี่ยงต่อ AF น้อย คนสูงอายุที่ออกกำลังหนักมากมีความเสี่ยงต่อ AF มากขึ้น
แม้งานวิจัยเหล่านี้จะไม่สมบูรณ์มากนัก มีจุดอ่อนและถูกโจมตี มีข้อโต้แย้งได้ แต่ภาพรวมแล้วก็ยังบ่งชี้ว่าพวกออกกำลังกายหนักมีโอกาสเกิด AF ได้

บางทีกรณีศึกษาที่น่าสนใจกว่า น่าจะเป็นการทดลองกับหนู ตีพิมพ์ในวารสาร Circulation ปี 2010 โดยจับหนูกลุ่มหนึ่งมาวิ่งวันละชั่วโมง 5วันต่อสัปดาห์นาน 16 สัปดาห์ และเปรียบเทียบกับหนูอีกกลุ่มที่ให้นั่งกินนอนกินเฉย ๆ ผลปรากฎว่าหนูกลุ่มออกกำลังกายหนักส่ออาการหัวใจและโครงสร้างภายในเสียหายทุกรูปแบบ เช่น enhanced vagal tone, atrial dilation, atrial fibrosis, and vulnerability to pacing-induced AF (ผมไม่แปลนะครับ ศัพท์แพทย์พวกนี้ ใครสนใจถามอากู๋เอาเอง)
clip_image014.jpg
clip_image014.jpg (9.97 KiB) เข้าดูแล้ว 30056 ครั้ง
เอาเป็นว่า อาการข้างบนนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องที่หัวใจหยุดเต้นได้ และถึงแม้ว่าหลังจากให้หนูทดลองหยุดออกกำลังกายแล้ว อาการบางอย่างหายไป แต่หลายอย่างยังคงอยู่ เป็นไปได้มั๊ยว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับหนูทดลองจะเกิดขึ้นกับคนเราได้เช่นกัน เมื่อออกไปปั่นทุก ๆ วันก่อนทำงาน หลังเลิกงานและจัดหนักทุกเสาร์อาทิตย์ ไม่ว่าฝนจะตกแดดจะออก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

สิ่งที่หัวใจต้องเผชิญก็คือเต้นมากขึ้นแรงขึ้น สร้างแรงบีบคลายได้มากขึ้น คลื่นไฟฟ้าไหลผ่านมากขึ้นทำงานในโซนอันคราย ขณะเดียวก็พัฒนาให้เต้นช้าลงเมื่อพัก ดูแล้วเป็นเรื่องที่ดีทั้งนั้น ซึ่งก็คล้าย ๆ กับสิ่งที่ ซินน์ และอีกหลาย ๆ คนเป็น และก็ไม่มีอะไรเลยที่จะเป็นสาเหตุของอาการเหล่านี้ได้ พวกเชาไม่มีโรคความดันโลหิตสูง ไม่เป็นเบาหวาน ไม่อ้วน ไม่มีไขมันเกิน และไม่ดื่มอัลกอฮอล์มากนัก (แค่เบียร์ดำนิดหน่อย อิอิ) โรคส่วนใหญ่ทีรู้กันว่าอาจเป็นสาเหตุของโรคหัวใจได้ พวกเขาไม่มีเลย สิ่งเดียวที่พวกเขาเป็นคือออกกำลังอย่างหนัก โคตรหนัก นานหลายปี

ยิ่งซ้อมปั่นมาก หนักมาก เร็วมากขึ้นเท่าไร พวกเขาก็ปั่นดีขึ้นเท่านั้น ลงสนามแข่งเมื่อไร ยีนโพเดี้ยมเมื่อนั้น ผ่านไปหลาย ๆ ปี เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่ทำงานหนักเกินอย่างต่อเนื่องเริ่มเสียหายเอาได้ ในช่วงอายุ 20-30 ปี ความเสียหายชั่วคราวเหล่านี้ ร่างกายสามารถซ่อมแซมเองได้ เมื่อได้รับการพักฟื้นที่ถูกต้อง แต่เมืออายุ 50 ปีขี้นไป ความเสียหายที่เกิดจากกีฬาที่พวกเขารัก การปั่นที่พวกเขาหลงใหล ประกอบกับการพักฟื้นที่ไม่สมบูรณ์อย่างต่อเนื่อง ยาวนาน ทำให้เกิดสภาวะกล้ามเนื้อหัวใจล้า เคลื่อนไหวลำบาก (stiff muscle)

งานวิจัยอีกชิ้นที่น่าสนใจ ตีพิมพ์ในวารสาร Applied Physiology ศึกษาโครงสร้างและการทำงานของหัวใจของนักแข่งตัวยง ช่วงอายุ 50-67 ปี ผลตรวจ MRI บอกว่า 50%พบความบกพร่องของเซลล์กล้ามเนื้อที่อาจเกี่ยวข้องกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจแข็งเป็นพังผืด ในขณะผลจากกลุ่มคนรุ่นเดียวกันที่ไม่ออกกำลังกายหนัก ไม่แข่งขัน และกลุ่มคนหนุ่ม ไม่พบซักคนเดียว รายงานนี้ยังบอกด้วยว่าภาวะการเป็นพังผืดว่าจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นกับจำนวนปี และจำนวนครั้งของมาราธอนหรืออุลตร้ามาราธอน ที่พวกเขาทำไว้เลยทีเดียว
clip_image016.jpg
clip_image016.jpg (60.75 KiB) เข้าดูแล้ว 30056 ครั้ง
แต่งานวิจัยบางเรื่องดูเหมือนจะขัดแย้งกัน อย่างนักปั่นตูว์ เดอ ฟร้องค์ และอดีตโปรหลายคนอายุยืนกว่าคนทั่วไปโดยเฉลี่ย และมีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจน้อยมาก แต่แม้ว่าคนพวกนี้จะปั่นเยอะก็จริงสมัยยังเป็นโปร แต่พวกเขาส่วนใหญ่ก็หยุดปั่นเมื่ออายุมากขึ้น และนั่นอาจจะเป็นคำตอบ เมื่อเทียบกับนักปั่นที่ยังคงปั่นสมบุกสมบันตอนอายุเยอะ ด้วยความคิดที่ว่าถ้าพวกเขาซ้อมอย่างคอนทาดอร์แล้วพวกเขาจะปั่นเก่งอย่างเขา ปีแล้วปีเล่า ปัญหามันเลยเหมือนดินพอกหางหมู

แม้ว่าจะไม่มีข้อสงสัยเลยว่าการออกกำลังกายเป็นวิธีเดียวที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการดูแลสุขภาพหัวใจ ทำให้อายุยืนยาว แต่ทุก ๆ ครั้งที่มีหัวข้อว่าด้วยเรื่องการออกกำลังหนัก ๆ ที่ทำร้ายสุขภาพหัวใจ ก็มักจะมีรายงานอย่างน้อยหนึ่งหรือสองชิ้นที่ชี้ไปในทางตรงข้าม ข้อโต้แย้งจะตามมาเสมอ ดราม่าดีมั๊ย

แต่ ถ้าจะเปรียบเทียบการออกกำลังเป็นเหมือนกับให้ยา มากกว่าไม่ได้แปลว่าดีกว่าเสมอไป มันอาจมีช่วงระยะหนึ่งที่เมื่อมากไป ดีกลับเป็นร้าย คุณกลับเป็นโทษ เพียงแต่ระยะที่จะบอกว่าเพียงพอแล้วนั่นมันอยู่ตรงไหนกันแน่ วิทยาศาสตร์เองยังไม่สามารถระบุได้

The perfect storm

ในกรณีของไมค์ ถ้าเขาได้รับการตรวจหัวใจก่อนลงแข่ง ก็คงไม่เจออะไรอยู่ดี ผลการตรวจจะบอกว่าเขาคึกและแข็งแรงยังกะม้าแข่ง ผลคลื่นหัวใจคงจะปกติ ร่างกายทุกระบบทำงานสมบูรณ์ดีเลิศ ซึ่งก็เหมือนกับนักกีฬาทั่วไปในวัยนี้ ตอนนั้นถ้ามีใครไปบอกเขาว่า ไมค์เอ็งซ้อมหนักเกินไปแล้ว พักเสียบ้าง เขาคงไม่เชื่อฟังอยู่ดี ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาของคนกำลังห้าว สนุกสนานกับชีวิตกลางแจ้งเช่นเขา ถึงวันนี้เขาได้แต่คร่ำครวญ why me ทำไมฉัน ทำไมถึงเกิดกับฉัน ทำไมถึงทำกับฉันได้
clip_image018.jpg
clip_image018.jpg (5.88 KiB) เข้าดูแล้ว 30056 ครั้ง
ไมค์ผ่านกระบวนการรักษาอันยืดยาว และน่าสะพึงกลัว เพื่อจำลองสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นกับเขา (ภาวะหัวใจหยุดเต้นขั่วคราว) ในห้องแลป เขาถูก อัดฉีด อะดีนารีน คาเฟอิน ช๊อดไฟฟ้า สารพัดวิธี เพื่อกระตุ้นหัวใจเขาให้เต้นไปที่มากกว่า 200 ครั้งต่อนาที เพื่อให้มันหยุดทำงาน ว่าง่าย ๆ เค้นให้เขาตายให้ได้ ว่างั้นเถอะ ได้ผลมั่งไม่ได้ผลมั่ง โดยมีสายเซนเซอร์แปะอยู่รอบตัว ลองคิดดูมันทรมานขนาดไหน

ปี 2009 ห้าปีให้หลัง แล้วความพยายามของบรรดาหมอก็ประสบความสำเร็จ ปัญหาหัวใจของไมค์ไม่ได้อยู่ที่ระบบลำเลียงโลหิต แต่อยู่ที่ระบบไฟฟ้า หลังจากผ่านขั้นตอนหนึ่งซึ่งกระตุ้นหัวใจเขาให้เต้นสูงถึง 300 ครั้งเป็นเวลา 4 ชั่วโมง ก่อนจะตรวจพบอาการผิดปกติ ที่เรียกว่า วงจรไฟฟ้าหัวใจ "ลัดวงจร"

ซินน์เองก็ไม่ได้โชคดีไปกว่าไมค์เท่าไร หลังจากที่พยายามล้มเหลวครั้งแล้วครั้ง บรรดาหมอก็ยังไม่สามารถตรวจพบอาการผิดปกติของวงจรไฟฟ้าหัวใจเขาได้ พวกเขาคล้ายกับหนูทดลองยา ความที่เป็นคนรุ่น สว แรก ๆ ที่ซ้อมกันหนัก
2 ปีผ่านไป ซินน์อายุย่าง 55 แล้ว แน่นอนว่าเขาคิดถึงอดีตอันโลดโผนแต่ทุกวันนี้เขาใช้ชีวิตธรรมดา ทำอาหารเช้า ขับรถ รับส่งภรรยาไปทำงาน แม้จะไม่ฟิตเหมือนเดิม แต่เขาก็ดูสุขภาพดีเหมือนคนทั่วไป

TAKING IT TO HEART
ว่าด้วยเรื่องของหัวใจ
ความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนของหัวใจ ร่างกาย สรีรวิทยา รวมถึงกรรมพันธุ์ ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะวิเคราะว่าเมื่อไรตัวร้ายอันใดบ้างที่อาจเป็นสาเหตุใหัหัวใจหยุดทำงานโดยเฉียบพลันได้ หรือว่ามันอาจเป็นกรรมพันธุ์เป็นหลัก หรือเสี่ยงต่อความดันสูง หรือคอเลสเตอรอล หรือว่าการก่อตัวของ plaque ในเส้นเลือด สิ่งเล็กน้อยเหล่านี้หรือว่าความเครียด คาเฟอีนหรือ อากาศร้อนไป หรือหนาวไป หรือว่าทุกสิ่งทุกอย่างรวมกัน

50 ปีแห่งงานวิจัยก็ยังไม่คืบหน้ามากนัก บทสรุปของงานวิจัยหลายชิ้น มักลงเอยด้วยคำว่า ต้องการวิจัยเพิ่มเติมเสมอ ยังไงก็ตามแต่ ข้อเท็จจริงก็คือมีนักกีฬาเจ็บ ตาย หรือพิการ เพราะเหตุจากหัวใจผิดปกติ

เราเคยออกกำลังหนักขนาดเหมือนกับได้ยินหัวใจเต้นทะลุออกมาข้างนอกไหม บางทีเราอาจมองข้ามไป เราเป็นนักปั่นขาแรง แข็งแรง ฟิต เรื่องนี้ไม่น่าเกิดกับเราหรอก เราไม่ไม่ใช่คนแรก และไม่ใช่คนสุดท้ายด้วย ที่ละเลยเรื่องพวกนี้ มันอาจไม่่มีอะไรก็ได้
clip_image020.jpg
clip_image020.jpg (12.8 KiB) เข้าดูแล้ว 30056 ครั้ง
แล้วเท่าไรล่ะจึงจะถือว่ามากเกินไป how much is too much เส้นแบ่งมันอยู่ตรงไหน มันก็ไม่เคยมีคำตอบเรื่องเส้นแบ่งที่ชัดเจน เส้นมันเป็นสีเทาเสมอ แต่ถ้าเรามีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ บางทีเราอาจข้ามเส้นแบ่งไปแล้วก็ได้ ข้อเท็จจริงก็คือการออกกำลังเป็นเรื่องดีเสมอ คนที่มีปัญหามักเป็นคนที่ทำมันมากเกินไป

กรณีของซินน์และไมค์ อาจเป็นแค่ สองในหลายพันคนก็ได้ แต่คนที่ได้รับรู้เรื่องราวของพวกเขามักจะปรับเปลี่ยนวิถีการฝึกซ้อมเสียใหม่ นั่นก็คือให้ความสำคัญกับการพักฟื้นมากขึ้น

เราอาจจะพอรู้บ้างว่าออกกำลังกายแค่ไหนน้อยไป
และเราอาจจะพอมีไอเดียบ้างแหละว่าแค่ไหนมากเกินไป
แม้ว่าเส้นแบ่งกั้นตรงกลางจะกว้างมากก็ตาม
แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยมากเกินไปก็คือ การพักฟื้น ยอมรับซะ

บางครั้งวิถืแห่งจักรยานก็พาเราไปไกลเกิน

We might know what is too little exercise;
we have a good idea what is too much;
but there’s a large space in between.
And you can never rest too much.
Embrace it.

Sometimes, cycling can take us too far.
[homeimg=300,250]http://www.thaimtb.com/forum/picture_mt ... 933104.jpg[/homeimg]
แก้ไขล่าสุดโดย พล 347 เมื่อ 15 ก.ย. 2017, 14:32, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
minginho
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 65
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ต.ค. 2015, 11:47
ติดต่อ:

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย minginho »

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ
TBK
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 122
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ค. 2011, 22:45
Tel: 081 835 8486
team: Cool70
Bike: Surly
ติดต่อ:

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย TBK »

ขอบคุณครับ
autsada
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 22
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2014, 10:26

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย autsada »

ดีมากๆ ครับ่
ช่วยเตือนสติได้ดี ผมกำลังเป็นคนหนึ่งล่ะที่ปั่นเยอะขี้นๆ ฟิตขึ้น ปั่นสนุกขึ้น เลยอยากฟิตให้มากกว่านี้อีก
เคยกังวลเรื่องปั่นเยอะเกินไปหรือปล่าว แต่ก็ละเลยมาตลอด
บทความนี้ช่วยกระตุกอีกที
อายุเลยเลขสี่แล้ว สุขภาพสำคัญกว่าความฟิต
ต้องอยู่ในความพอดี
เสือรถพ่วง
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1373
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2010, 21:20
Tel: 0819555673
team: SAHAKIJ JOHO..KORATBIKE... P.C.S.Clycling Team Korat
Bike: KONA KHS TREK GIANT SCOTT ANCHOR

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย เสือรถพ่วง »

ขอบคุณมากมากครับพี่พล ที่ได้นำบทความดีดี มาให้อ่านครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
พล 347
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1101
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 20:24
team: 347 Cycling Team
Bike: Cannondale EVO
ติดต่อ:

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย พล 347 »

ข้อมูลนีก็น่าสนใจครับ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia)
https://www.bangkokhospital.com/pacific ... ns-Treated
รูปประจำตัวสมาชิก
dspyrogira
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 294
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ย. 2015, 21:28
team: KKM MkIII - จักรยานกลัวเมีย ที่3
Bike: Bianchi Kuma / infinite Spad_Comp
ติดต่อ:

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย dspyrogira »

ขอบคุณมากครับ ..
ขาอ่อนๆ อยากไป BRM200 :D
รูปประจำตัวสมาชิก
winhaha
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 544
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ย. 2014, 21:27

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย winhaha »

อ่านแล้วกลัวเลย แต่ไม่รู้จะทำไง หัวใจอยู่โซน 4-5 ตลอดเลย แค่ออกตัวเริ่มปั่นก็ 140 ละ :cry:
ขายติมเรื่อย............ไป
Hxs
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 509
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ม.ค. 2016, 08:28
Bike: Avenger R8
ตำแหน่ง: Louiaiana

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย Hxs »

ผมก็คงต้องลดบ้างแล้วหละ Resting HR=56 แต่ปั่นจักรยานปาไป 190กว่า
แบบนี้นานๆไม่น่าจะดี
13725057_10153778424452061_1790993918267573526_o.jpg
13725057_10153778424452061_1790993918267573526_o.jpg (45 KiB) เข้าดูแล้ว 84559 ครั้ง
ตัวเล็กก็ยอมรับความจริงบ้าง อย่าหลอกตัวเองแล้วใช้อุปกรณ์ไซส์เกินตัวเลย
สูง 169cm, frame size=50, crank length=165mm, bar width=38cm
tho
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 148
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ย. 2013, 07:48
Tel: 0818111326
team: มือใหม่
Bike: ว่าไปเรื่อย
ตำแหน่ง: ลาดพร้าว

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย tho »

ขอขอบคุณสำหรับบทความดีๆ เตือนให้เรา สว.ระวังตัว
46g
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 691
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ส.ค. 2008, 13:12
Tel: 081 910 0287
team: -
Bike: สองล้อ

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย 46g »

ขอบคุณครับ
Niwetsuri
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 24
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2015, 17:08
Tel: 0972973539
team: NA
Bike: Bianchi Jab 27.2/CAAD 10
ตำแหน่ง: Navamin 111 Buengkhum Bangkok
ติดต่อ:

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย Niwetsuri »

ขอบคุณครับ ความรู้ดีๆ แต่สงสัยเครื่องวัดการเต้นของหัวใจที่เรานักปั่นใช้กันเชื่อถือได้ขนาดไหนนะ ผมอายุ 55 ปี บางวัน HR ขึ้นไป 160 ขาก็ยังไหว หายใจก็ยังทัน แต่ต้องเบารอบขาลงเพราะเครื่องเตือนการเต้นของตัวใจนี่แหละครับ
Akkharanan108
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2015, 19:37
Bike: Giant XTC 27.5 2016

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย Akkharanan108 »

ขอบคุณครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
s.sarawut
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 72
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ส.ค. 2014, 08:28
Tel: 0632514299
team: STV แสนราชสีห์ เมืองพล /ทีมจักรยานตำรวจภูธรภาค4
Bike: Kaze Race Kanon
ตำแหน่ง: สถานีตำรวจภูธรพล 123/23 อ.พล จ.ขอนแก่น 40120

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย s.sarawut »

ทางสายกลาง
ไม่มาก ไม่น้อย
ไม่ตึงเกิน ไม่ย่อนไป

ขอบคุณครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
Korkiert
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 86
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ส.ค. 2015, 13:14
Tel: 0894658901
team: pattani
Bike: trek alr 5

Re: วูบ หัวใจวาย กับนักปั่น เรื่องไกลตัวจริงหรือ?

โพสต์ โดย Korkiert »

สุดยอดครับ
ขอบคุณครับ
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร”