ชักชวนนักไตรกีฬาแลกเปลี่ยนความรู้ อุปกรณ์ การฝึกซ้อมและอื่นๆ

สอบถามเทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร เชิญห้องนี้เลย
griz
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4122
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 20:05
ติดต่อ:

Re: ชักชวนนักไตรกีฬาแลกเปลี่ยนความรู้ อุปกรณ์ การฝึกซ้อมและอื่นๆ

โพสต์ โดย griz »

หน้าตาก็ใกล้เคียงกับคนนี้ :mrgreen:
รูปภาพ
ไฟล์แนบ
tria_1.jpg
tria_1.jpg (53.42 KiB) เข้าดูแล้ว 904 ครั้ง
"You're better than you think you are. You can do more than you think you can."
If you're a triathlete, we're families.
griz
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4122
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 20:05
ติดต่อ:

Re: ชักชวนนักไตรกีฬาแลกเปลี่ยนความรู้ อุปกรณ์ การฝึกซ้อมและอื่นๆ

โพสต์ โดย griz »

แต่แก่กว่าเยอะแค่นั้น.. :ugeek:
tria_2.jpg
tria_2.jpg (61.48 KiB) เข้าดูแล้ว 1133 ครั้ง
"You're better than you think you are. You can do more than you think you can."
If you're a triathlete, we're families.
beeggs
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3183
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.ย. 2008, 16:51
Tel: 0947963336
team: kNightBIKE
Bike: oltre, cervelo s5, super6 evo, canyon ult slx
ติดต่อ:

Re: ชักชวนนักไตรกีฬาแลกเปลี่ยนความรู้ อุปกรณ์ การฝึกซ้อมและอื่นๆ

โพสต์ โดย beeggs »

พี่grizใส่ดุมตัวนี้แข่งเลยเหรอครับ
เคยลองแล้วหนักดีครับ :shock: ต่อไปไม่เอาอีกแล้ว :lol:
วัยทำงาน มีแรง มีตังค์ ไม่มีเวลา
griz
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4122
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 20:05
ติดต่อ:

Re: ชักชวนนักไตรกีฬาแลกเปลี่ยนความรู้ อุปกรณ์ การฝึกซ้อมและอื่นๆ

โพสต์ โดย griz »

beeggs เขียน:พี่grizใส่ดุมตัวนี้แข่งเลยเหรอครับ
เคยลองแล้วหนักดีครับ :shock: ต่อไปไม่เอาอีกแล้ว :lol:
สนามแรกน่ะครับ เลยลองใส่ดุมวัดค่าต่างๆ เอาไว้เป็นข้อมูลน่ะครับ..เพราะซ้อมจริงก็ไม่มีโอกาสที่จะทำ 3 อย่างในวันเดียว..
หนักอย่างที่ว่าไว้เลย :mrgreen: แต่ที่น่าเจ็บใจคือตอนแข่งจริง ตื่นเต้นจนลืมเปิดเครื่องซะนี่ :oops:
"You're better than you think you are. You can do more than you think you can."
If you're a triathlete, we're families.
griz
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4122
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 20:05
ติดต่อ:

Re: ชักชวนนักไตรกีฬาแลกเปลี่ยนความรู้ อุปกรณ์ การฝึกซ้อมและอื่นๆ

โพสต์ โดย griz »

ได้เห็นจักรยานของคุณหมอสวยมากๆ
งานแข่งเดือนก่อนมีสาวกค่ายเดียวกับคุณหมอ S2 S1 P2 เอารูปมาฝาก
ไฟล์แนบ
cervelo.jpg
cervelo.jpg (56.56 KiB) เข้าดูแล้ว 1111 ครั้ง
"You're better than you think you are. You can do more than you think you can."
If you're a triathlete, we're families.
beeggs
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3183
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.ย. 2008, 16:51
Tel: 0947963336
team: kNightBIKE
Bike: oltre, cervelo s5, super6 evo, canyon ult slx
ติดต่อ:

Re: ชักชวนนักไตรกีฬาแลกเปลี่ยนความรู้ อุปกรณ์ การฝึกซ้อมและอื่นๆ

โพสต์ โดย beeggs »

Lactic-Anaerobic Training

การฝึก Lactic-anaerobic เป็นการฝึกเพื่อให้ร่างกายคุ้นเคยและทนทานต่อการสะสมของกรด Lactic acid อีกทั้งจะทำให้เกิดการพัฒนาต่อสมรรถภาพของกล้ามเนื้อและระบบประสาทของเราด้วย

Lactic-anaerobic training มีอยู่ 2 วิธี คือ Interval training และ Race pace training

สำหรับ Interval training แยกได้เป็น 2 แบบ คือ แบบ Regular interval และ แบบ Additional resistance interval training

การฝึกนั้น ไม่ว่าจะเป็น Interval training หรือ Race pace training ต่างก็เป็นการฝึกที่จะต้องทำให้ อัตราการเต้นของหัวใจสูง(มาก) อย่างไรก็ตามการฝึกชนิดนี้ อัตราความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจะมีมาก วิธีที่จะป้องกันการบาดเจ็บจากการฝึกชนิดนี้ ก็คือ ก่อนการฝึกจะต้องทำการ Warm up ให้เพียงพอ ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 15 – 20 นาทีและหลังจากการฝึกก็จะต้องทำการ Cool dawn อีกประมาณ 10 – 15 นาที

การฝึก Interval training จะ ให้ได้ผลสูงสุดก็ต่อเมื่อฝึกในระดับเดียวกับระดับ Lactic acid threshold (LT) หรือ เหนือกว่าระดับ Lactic acid threshold (LT) เล็กน้อย หรือ ฝึกให้หัวใจเต้นอยู่ในระดับ 80 % - 90 % ของ MHR (Maximum Heart Rate)

ฝากลิงค์มีประโยชน์
http://www.thaitriathlon.org/article/de ... aining.htm
วัยทำงาน มีแรง มีตังค์ ไม่มีเวลา
griz
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4122
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 20:05
ติดต่อ:

Re: ชักชวนนักไตรกีฬาแลกเปลี่ยนความรู้ อุปกรณ์ การฝึกซ้อมและอื่นๆ

โพสต์ โดย griz »

ขอบคุณคุณหมอมากที่นำข้อมูลมาฝาก..

อย่างที่คุณหมอเตือนไว้ฝึกแบบนี้เสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บมาก..
ตัวเองเคยประสบอาการบาดเจ็บมาแล้ว..จากการฝึกแบบนี้..

ก่อนฝึกควรศึกษาให้ดีนะครับ..เขาแนะนำว่าการฝึกแบบนี้ผู้ฝึกต้องมีชั่วโมงบินสูงแล้ว..
ไม่ว่าจะเป็นว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน วิ่ง.. โดยเฉพาะวิ่งอาการบาดเจ็บจะมาเยือนเร็วกว่าแบบอื่น..เพราะมีแรงกระแทกมากกว่า..
อีกอย่างที่จะเล่าสู่กันก็คือการฝึกชนิดนี้ ต้องรู้จะครับฝึกเพื่อเหนือการฝึกปกติเพื่อให้ร่างกายปรับตัวในทางที่ดีขึ้น..ควรฝึกกี่ครั้งต่อสัปดาห์ลองดูกัน ฝึกแบบนี้ทุกวัน..ร่างกายจะไม่มีเวลาจะพัฒนา..
เคยอบรมที่การกีฬาแห่งประเทศไทย วิทยากรแนะนำว่าร่างกายเราจะพัฒนาในวันที่เราหยุดพัก..แต่การหยุดพักมิใช่การหยุดซ้อมนะ..
อีกคำพูดที่ชอบ ไม่ใช่เพียงแค่ฝึกซ้อม แต่ต้องฝึกซ้อมให้ถูกวิธีด้วยจึงประสบความสำเร็จสูงสุด..
ฝึกน้อยไปแค่ 10% ยังดีเสียกว่าฝึกมากเกินไป 1% นะ..

ปล.คุณหมอเคยนำลิงค์ที่ป๋าลูแนะนำเกี่ยวกับเรื่องผนังหัวใจโตจากการออกกำลังกาย.. ผมหาไม่เจอแล้ว..รบกวนส่งลิงค์มาอีกครั้งนะครับ
ขอบคุณมาก
"You're better than you think you are. You can do more than you think you can."
If you're a triathlete, we're families.
griz
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4122
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 20:05
ติดต่อ:

Re: ชักชวนนักไตรกีฬาแลกเปลี่ยนความรู้ อุปกรณ์ การฝึกซ้อมและอื่นๆ

โพสต์ โดย griz »

เจอลิงค์แล้ว การลงข้อความนี้มิได้มีเจตนาร้ายใดๆต่อผู้เสียชีวิต และขอแสดงความเสียใจแด่ครอบครัวคุณโต้งด้วย..

ขออนุญาตเจ้าของบทความและเจ้าของเวปไซค์ที่ลงไ้ว้
http://www.bikecrazyclub.com/board/view ... 1365#p1365
ป๋าลู
Bikeloves.com & BPMTB.net Webmaster
griffin / อ๊อด
webmaster bikecrazyclub


ข้อมูลเบื้องต้นและสาเหตุการเสียชีวิตของนักกีฬา

โพสต์โดย griffin » เสาร์ 03 ต.ค. 2009 4:27 pm
*** นี่ คือข้อมูลที่ผมเห็นว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมาก สำหรับนักปั่นและนักกีฬา ทุกชนิด โดยป๋าลูได้เข้ามาแสดงความเสียใจในกระทู้เพื่อนนักปั่นในทีม bikecrazyclub เสียชีวิต และได้ให้ข้อมูลสำคัญไว้เกี่ยวกับการออกกำลัง เลยขอดึงข้อมูลนี้แยกออกมาอีกกระทู้หนึ่งเพื่อจะได้ค้นหาเจอได้ง่ายๆ สำหรับเพื่อนนักปั่นท่านอื่น ขอขอบคุณป๋าลูสำหรับข้อมูลดีๆ มากครับ

ขอแสดงว่านับถือและขอขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ
griffin / อ๊อด
webmaster bikecrazyclub
*
*
*
ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ
โดย lucifer » เสาร์ 03 ต.ค. 2009 8:53 am

ตามคุณอ๊อดเข้ามา เลยเพิ่งทราบเหตุการณ์

ดู แล้วอจ.โต้ง อายุเพียงแค่ 32ปีเท่านั้น ไม่น่าจะมาด่วนจากครอบครัวและเพื่อนฝูงไปด้วยวัยเพียงเท่านี้เลยนะครับ สมมติฐานเบื้องต้นของการเสียชีวิตน่าจะมาจาก HOCM ( Hypertrophic Obstructive CardioMyopathy ) ซึ่งจะเหมือนกับการเสียชีวิตของนักฟุตบอลในลีคต่างประเทศที่เคยเป็นข่าวดััง เมื่อในอดีต

ดูจากรูปร่างของอจ.โต้งแล้ว เป็นคนฟิตมากๆ และแข็งแรงมากๆ แต่สำหรับความแข็งแรงอันได้จากการออกกำลังกายหนักๆติดต่อกันมากๆ ( เช่น การอัดลากนำกลุ่ม หรือ อัดปั่นขึ้นเขา อันเป็นลักษณะที่พวกเราชาวเสือภูเขาชอบทำกันบ่อยๆ ) ซึ่งเป็นรูปแบบหลักของการออกกำลังกายในแบบ Anaerobic exercise ( คล้ายกับการวิ่งไล่บอลของนักบอลอาชีพ ที่จะวิ่งกันเต็มพิกัดตลอดเวลาในสนาม ) ซึ่งจะแตกต่างไปจากการออกกำลังกายในลักษณะ Aerobic exercise ( เช่นการปั่นจักรยานทางราบ ในระดับความเร็วที่ปั่นไปสามารถพูดคุยกันไปได้โดยไม่หอบ และปั่นติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง ) ระดับของอัตราการเต้นของหัวใจจะเป็นตัวบอกที่ดี และเชื่อถือได้ ซึ่งการออกกำลังกายในลักษณะที่หนักๆ ต่อเนื่องกันนานๆ มักจะมีระดับการเต้นของหัวใจที่มากกว่า 92 %ของอัตราชีพจรสูงสุด ( แช่ที่ขีดแดง )

การออกกำลังกายในลักษณะของการแช่ที่ขีดแดงเป็นประจำ นั้น หากกระทำต่อเนื่องเป็นเวลาติดต่อกันเนิ่นนานนับปี อาจจะดูเหมือนว่ากล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องจะมีความแข็งแรงมาก และอาจจะดูเหมือนกับว่ากล้ามเนื้อหัวใจจะเพิ่มความแข็งแรงด้วย

เพียง แต่ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวใจที่ได้จากการออกกำลังกายแบบแช่ที่ขีดแดง นี้ จะมีผลทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีขนาดใหญ่และหนาตัวขึ้นในทุกทิศทุกทาง ( ผิดกับการออกกำลังกายแบบaerobic กล้ามเนื้อหัวใจจะมีการหนาตัวขึ้น แต่ไม่ได้มากมายนัก และห้องหัวใจจะมีการขยายตัวมากขึ้น ทำให้ห้องหัวใจสามารถรับเลือดได้มากขึ้น และมีแรงฉีดเลือดมากขึ้น ) การที่กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวขึ้นทุกทิศทุกทาง จะส่งผลเสียทำให้ปริมาตรห้องหัวใจไม่ได้ขยายเพิ่มขึ้นมากเหมือนกับการออก กำลังในลักษณะของaerobic เพราะเมื่อกล้ามเนืื้อหัวใจหนาตัวขึ้น ก็มีส่วนที่หนาตัวลุกล้ำเข้าไปในส่วนของห้องหัวใจ ทำให้ปริมาตรเลือดที่สามารถรับได้ และฉีดออกไปนั้น มิได้เพิ่มมากขึ้นในสัดส่วนที่ควรจะได้

สำหรับในนักกีฬาบางคน การหนาตัวของกล้ามเนื้อหัวใจอาจจะลุกล้ำเข้าไปขัดขวางบริเวณ outlet ของหัวใจห้องล่างซ้าย ทำให้ทางออกคับแคบลงและเป็นอุปสรรคต่อการส่งเลือดออกจากหัวใจ เพียงแต่ว่าในสภาวะปกติ หรือการออกกำลังกายในระดับที่หัวใจยังไม่เต้นเร็วมากจนเกินไป อาการแสดงของปัญหาดังกล่าวก็อาจจะยังไม่คุกคามต่อชีวิต

แต่ในกรณีที่ หัวใจต้องเต้นเร็วมากๆ และต่อเนื่องกันนานๆ ก็จะทำให้ปัญหาดังกล่าวเริ่มคุกคามต่อชีวิต เพราะเมื่อหัวใจเต้นเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ เวลาในการที่เลือดจะเข้าไปบรรจุในหัวใจห้องล่างซ้ายจะเริ่มสั้นลง และหากเต้นเร็วมากเกินกว่าจุดวิกฤติ เลือดที่เข้าไปบรรจุในห้องหัวใจห้องล่างซ้ายก็จะลดลง เมื่อลดลงก็จะทำให้ปริมาตรส่งออกของเลือดที่ออกจากหัวใจลดลงตามไปด้วย ผลคือหัวใจจะยิ่งเต้นให้เร็วขึ้นอีกเพื่อเพิ่มปริมาณเลือดส่งออกต่อนาทีให้ เพิ่มขึ้นเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

ปัญหาคือ ทางออกที่มันแคบอยู่แล้ว จะแคบลงไปอีก เพราะเมื่อเลือดถูกส่งออกไปจากหัวใจด้วยความเร็วที่สูงขึ้น ความดันภายในoutletจะลดลง (หลักการทางวิทยาศาสตร์ เข้าใจยากหน่อยครับ ) ความดันในส่วนโดยรอบของoutletก็จะมากกว่าและบีบทำให้ทางออกที่แคบอยู่แล้ว ให้แคบลงไปอีก

ผลก็คือ ปริมาตรเลือดที่ส่งออกจากหัวใจจะลดลงจนถึงจุดวิกฤติ และเพราะปากทางเข้าของหลอดเลือดที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ จะอยู่ใกล้ๆกับทางออกของเลือดที่ส่งออกจากหัวใจ เมื่อทุกอย่างถูกรบกวน ปริมาณเลือดที่กล้ามเนื้อหัวใจได้รับก็จะถูกกระทบไปด้วย

อาการแสดงใน ช่วงแรกมักจะมาด้วยหัวใจที่เต้นผิดจังหวะแบบอันตราย หรือที่เรียกว่า Ventricular fibrillation ซึ่งจะยิ่งทำให้เลือดออกจากหัวใจลดลง หรือ แทบจะไม่มีเลือดออกจากหัวใจ จนทำให้คุกคามต่อชีวิต

การช่วยเหลือในเบื้องต้นจำเป็นต้องใช้เครื่องช้อคไฟฟ้า ยิ่งปล่อยไว้เนิ่นนาน การพยากรณ์โรคก็จะแย่ลง

ใน ความเป็นจริงแล้ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่แทบจะไม่มีโอกาสที่จะได้รับการรักษาที่ทันท่วงที เพราะไม่มีทางที่จะเข็นเครื่องช็อคไฟฟ้าไปถึงที่เกิดเหตุได้ภายในเวลา 2-3นาทีอย่างแน่นอน แม้แต่ในสนามแข่งบอลที่มีทีมแพทย์และพยาบาลสแตนด์บายอยู่ตลอดเวลา ก็ยังไม่ทันการ เพราะอาการหน้ามืดเป็นลม หมดสติของผู้ป่วย จะเกิดขึ้นหลังจากที่ปริมาณเลือดส่งออกจากหัวใจลดลงจนเกินจุดวิกฤติไปแล้ว ทั้งสิ้น และมักจะใช้เวลาสักพักหนึ่งในการวินิจฉัยแยกโรคจากการเป็นลมหมดสติธรรมดา

---------------------------------------------------------------------------------------
ชีวิตจริงของเรานั้น ไม่สามารถใช้ความรู้สึกในการบอกวัดจุดวิกฤติของร่างกายได้เสมอไป
"listen your body" อาจจะใช้ได้ในบางกรณี แต่ไม่ทุกกรณี



ขอให้คุณงามความดีที่อจ.โต้งได้กระทำไว้ ได้แปรเปลี่ยนมาเป็นบุญกุศล หนุนนำให้ดวงวิญญาณไปสถิตย์ยังภพและภูมิที่ดีด้วยเถิด

ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวและเพื่อนฝูงของอจ.โต้ง มา ณ ที่นี้ด้วยครับ

ป๋าลู
Bikeloves.com & BPMTB.net Webmaster
"You're better than you think you are. You can do more than you think you can."
If you're a triathlete, we're families.
go-x
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 50
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 09:46
Tel: 081-6799250
Bike: trek,tank,wheeler,missile,gt,jamis,la,hilight,cortina

Re: ชักชวนนักไตรกีฬาแลกเปลี่ยนความรู้ อุปกรณ์ การฝึกซ้อมและอื่นๆ

โพสต์ โดย go-x »

ได้แต่ฝึกซ้อม ยังไม่เคยลงแข่งเลย
ไฟล์แนบ
tri3.jpg
tri3.jpg (35.78 KiB) เข้าดูแล้ว 1017 ครั้ง
tri1.jpg
tri1.jpg (30.02 KiB) เข้าดูแล้ว 1017 ครั้ง
griz
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4122
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 20:05
ติดต่อ:

Re: ชักชวนนักไตรกีฬาแลกเปลี่ยนความรู้ อุปกรณ์ การฝึกซ้อมและอื่นๆ

โพสต์ โดย griz »

ลองดูครับคุณ go-x ผมทีแรกก็ไม่ได้คิดแข่ง..แต่อยากลองเพื่อดูเวลา..เหมือนกับเช็คร่างกายด้วยว่าสมบูรณ์ขนาดไหน..พอลองแล้วครั้งแรกก็ติดใจ
กลับมาทบทวนข้อผิดพลาด ทำแบบซ้อมใหม่ สร้างแรงจูงใจ..แข่งแล้วเวลาไม่ดี..กลับมาก็ซ้อมมากขึ้น..
แข่งครั้งที่สองเวลาดีขึ้น 10 นาที เพราะว่าซ้อมบ่อยขึ้น..และเน้นส่วนที่เราช้า..
ตอนี้ได้สร้างแรงจูงใจครั้งใหม่อีก อยากขยับเข้าไปอีกระดับเข้าสู่ระยะ standard หรือ โอลิมปิค..
"You're better than you think you are. You can do more than you think you can."
If you're a triathlete, we're families.
griz
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4122
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 20:05
ติดต่อ:

Re: ชักชวนนักไตรกีฬาแลกเปลี่ยนความรู้ อุปกรณ์ การฝึกซ้อมและอื่นๆ

โพสต์ โดย griz »

คุณ go-x อยากถามเรื่องการเซตรถหน่อย..
สังเกตุว่าจักรยาน 1.ใช้หลักอานเยื้องหลัง 2.สเตมยาวเท่าไหร่..100 มม.ป่าว
1.อยากทราบว่าเวลาหมอบแบบใช้ไตรบาร์ ถนัดไหม..
2.เคยลองเลื่อนเบาะหรือกลับหลักอานแบบเยื้องหน้าไหม..
3.ความรู้สึก..ปั่นนานกว่าชม. แล้วลองวิ่งแล้วรู้สึก วิ่งสบายไหม..

ขอบคุณครับ
อยากได้ข้อมูล ไว้เซตรถตัวเอง..ตอนนี้หาข้อมูลและอุปกรณ์(ไตรบาร์)อยู่
"You're better than you think you are. You can do more than you think you can."
If you're a triathlete, we're families.
go-x
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 50
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 09:46
Tel: 081-6799250
Bike: trek,tank,wheeler,missile,gt,jamis,la,hilight,cortina

Re: ชักชวนนักไตรกีฬาแลกเปลี่ยนความรู้ อุปกรณ์ การฝึกซ้อมและอื่นๆ

โพสต์ โดย go-x »

สวัสดีครับคุณgriz ผมใช้เน็ทไม่บ่อยครับ เลยตอบคุณgrizช้า ต้องขอโทษด้วยครับ
1.หลักอานเป็นแบบธรรมดาครับ
2.ผมใช้stemยาว 60 mm. ครับ
ผมเซ็ทรถแบบปกติครับ คือขึ้นนั่งบนอาน ขาบรรไดดิ่งกับพื้น ส้นเท้าแตะลูกบรรไดพอดี ขาบรรไดขนานกับพื้น หัวเข่ากับแกนลูกบรรไดดิ่งพอดี
จากนั้นก็จับไตรบาร์ ปรับสูงต่ำจนแนวลำตัวขนานกับพื้น แล้วดูการค้ำข้อศอกกับบาร์ว่าสบายไหม ของผมมาลงตัวที่ stem ขนาด 60mm. ครับ
พอลองขี่จริง " ก้นชอบขยับมาข้างหน้า (นั่งไม่เต็มอาน) จึงเลื่อนเบาะไปข้างหน้าอีก 1 cm." จึงลงตัวสำหรับผมครับ
จากการซ้อม ขี่จักรยาน 40 km.แล้ววิ่ง 10 km. (ไม่ได้ว่ายน้ำ) ถ้าใช้รอบขา 88-95 วิ่งไม่ค่อยไหว พอใช้รอบขา 80-85 วิ่งพอไหวครับ(วิ่งไม่เก่ง)
ป.ล. เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ
เพิ่มเติมข้อสังเกตุนะครับ
ถ้าเป็นชุดไตรบาร์แท้ แผ่นรองศอกจะตรงกับแนวบาร์ครับ แต่ปลายแฮนด์ส่วนจับเบรคจะยาวกว่าของรถถนน
ถ้าเป็นชุดเสริม ใช้ติดกับรถถนน แผ่นรองศอกจะล้ำมาด้านหลัง เพื่อชดเชยกับความยาวของ stem ครับ
ไฟล์แนบ
tri18.jpg
tri18.jpg (30.65 KiB) เข้าดูแล้ว 936 ครั้ง
tri15.jpg
tri15.jpg (29.74 KiB) เข้าดูแล้ว 935 ครั้ง
tri13.jpg
tri13.jpg (28.24 KiB) เข้าดูแล้ว 936 ครั้ง
tri12.jpg
tri12.jpg (28.07 KiB) เข้าดูแล้ว 936 ครั้ง
griz
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4122
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 20:05
ติดต่อ:

Re: ชักชวนนักไตรกีฬาแลกเปลี่ยนความรู้ อุปกรณ์ การฝึกซ้อมและอื่นๆ

โพสต์ โดย griz »

ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล
"You're better than you think you are. You can do more than you think you can."
If you're a triathlete, we're families.
beeggs
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3183
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.ย. 2008, 16:51
Tel: 0947963336
team: kNightBIKE
Bike: oltre, cervelo s5, super6 evo, canyon ult slx
ติดต่อ:

Re: ชักชวนนักไตรกีฬาแลกเปลี่ยนความรู้ อุปกรณ์ การฝึกซ้อมและอื่นๆ

โพสต์ โดย beeggs »

ไปซ้อมวิ่งมาครับ หลังจากห่างหายไปเป็นปี
ปวดขามากครับ ใช้กล้ามเนื้อคนละส่วนกับขี่จักรยานเลยครับ ปกติวิ่ง 10K ใช้เวลา 47.นาที
หลังจากไม่วิ่งมานาน แต่คิดว่าขี่จักรยานเกือบทุกวันๆละชั่วโมงกว่าๆ

ไปวิ่งดู 5K ใช้เวลาไปครึ่งชั่วโมงกว่า

ว้าว ความเหนื่อยหนักกว่าจักรยานเยอะเลย ได้ข้อสังเกตุว่าเวลาปั่นจักรยาน HR ไม่ได้เท่าตอนวิ่งเลย :oops:
วัยทำงาน มีแรง มีตังค์ ไม่มีเวลา
NAINANA
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ส.ค. 2008, 20:52
Tel: 0818704391
team: ฉายเดียวดีกว่าครับ
Bike: -marawuti / kuhawara / bridgestone
ตำแหน่ง: บางบอน
ติดต่อ:

Re: ชักชวนนักไตรกีฬาแลกเปลี่ยนความรู้ อุปกรณ์ การฝึกซ้อมและอื่นๆ

โพสต์ โดย NAINANA »

หวัดดีครับ อยากทราบงานแข่งภายในประเทศ ปีหน้านะครับมีที่ไหนบ้าง
แล้วที่ภูเก็ตเขารับสมัครกันทางไหนบ้างครับ เปิดไปเจอแต่ภาษาอังกฤษเลยโง่เลยแนะนำหน่อยครับ
อยากไปแข่งจัง
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร”